แผนการกระจายอำนาจของไทย
อย่าไปวิตกกับเหตุการณ์ทางการเมืองที่เกิดขึ้นเลย เพราะอะไร จะเกิดก็ต้องเกิด ปล่อยให้แต่ละฝ่ายแย่งอำนาจกันต่อไป! แปลกตรงที่ว่าอำนาจปกครองประเทศนั้นเป็นของประชาชนแท้ๆ แต่ทำไม ปล่อยให้คนไม่กี่คนไปแอบอ้างได้ คงจะต้องพิจารณาแล้วว่าประเทศไทยจะเป็นประชาธิปไตยหรือเป็นเผด็จการ
มองไปยังอนาคตดีกว่า มีความสุขกว่ามาก ในวันนี้จึงนำเรื่องสำคัญของประเทศมาให้พิจารณา เพราะประชาชนส่วนใหญ่ยังไม่เข้าใจในรายละเอียด เป็นเรื่อง สำคัญของการเมือง การปกครองของประเทศไทยในอนาคต
การกระจายอำนาจเป็นสัญลักษณ์อย่างหนึ่งของการปกครองในระบอบประชาธิปไตย! ในอดีตที่ผ่านมารัฐบาลไทยยังหวงอำนาจไว้ที่ส่วนกลาง ไม่ไว้วางใจที่จะกระจายอำนาจไปสู่ท้องถิ่น เพื่อให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการปกครองมากนัก! แต่พลิกแพลงให้คนอื่นเห็นว่าประเทศไทยมีการกระจายอำนาจ แต่แท้จริงเป็นการแบ่งอำนาจบางอย่างไปให้ท้องถิ่นช่วยทำมากกว่า ส่งผลให้ท้องถิ่นไทยขาดการพัฒนาที่ถูกแนวทาง ไม่มีความเสมอภาคในการกระจายรายได้ และกระจายความเจริญไปสู่ท้องถิ่น ทำให้ประเทศไทยมีความเจริญเป็นบางจุด ขึ้นอยู่กับทรัพยากรทางธรรมชาติที่แต่ละแห่งมี ประชาชนไทยได้รับบริการสาธารณะจากรัฐที่แตกต่างกัน เป็นอุปสรรคอย่างยิ่งในการพัฒนาประเทศ!
ประเทศไทยจึงเป็นประเทศที่อยู่ในลักษณะกำลังพัฒนา รัฐธรรมนูญ 2540 เป็นฉบับแรกที่บรรจุเนื้อหาของการกระจายอำนาจที่เหมาะสม และเป็นสากลมากกว่าทุกฉบับที่เคยมีมา! ทำให้ประชาชนในท้องถิ่นได้มีส่วนร่วม และโอกาสในการปกครองตนเองมากขึ้น จนถึงปัจจุบันสามารถศึกษาวิเคราะห์ได้ว่า มีทั้งส่วนดีและส่วนเสีย แต่แนวโน้มการปกครองประเทศจะเป็นไปในทางการกระจายอำนาจการปกครองไปสู่ท้อง ถิ่นให้มากขึ้นเรื่อยๆ รัฐบาลกลางจึงมีความจำเป็นที่จะวางกรอบในการบริหารงานท้องถิ่น เพื่อให้ผู้บริหารท้องถิ่นยึดถือและปฏิบัติ เพราะจะต้องให้สอดคล้องกับแผนในระดับชาติด้วย
คณะกรรมการกระจายอำนาจให้แก่ท้องถิ่น ซึ่งมีนายกรัฐมนตรี หรือรองนายกฯ ที่ได้รับมอบหมายเป็นประธาน เป็นองค์กรสำคัญที่จะวางรูปแบบในการดำเนินการ เพื่อให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) นำไปปฏิบัติ โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อความสุขของประชาชนในท้องถิ่น โดยเฉพาะการจัดสรรงบประมาณเพื่อให้ผู้บริหารท้องถิ่นนำไปดำเนินการตามความ ต้องการของประชาชนในแต่ละท้องถิ่น ซึ่งแต่ละแห่งอาจจะมีความแตกต่างกันหรือเหมือนกัน ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจและสังคม!
รัฐบาลจึงกำหนดให้มีการร่างแผนการกระจายอำนาจ เพื่อเป็นกรอบหรือแนวทางในการพิจารณาของผู้บริหารท้องถิ่นเพื่อนำไปปฏิบัติ โดยมีจุดมุ่งหมายอยู่ที่ความสะดวกสบายในการดำเนินชีวิตของประชาชนในแต่ละ ท้องถิ่นตามความเหมาะสม ไม่ว่าจะเป็นโครงสร้างพื้นฐานหรือคุณภาพชีวิต ทั้งนี้โดยหลักการแล้ว บริการสาธารณะต้องคำนึงถึงความต้องการของประชาชนในท้องถิ่นเป็นหลัก!
แผนการกระจายอำนาจเริ่มตั้งแต่ฉบับที่ 1 ซึ่งผ่านสภาฯ และประกาศในราชกิจจา เมื่อปี 43 และสิ้นสุดแผนในปี 47 แต่ปรากฏว่าล้มเหลวเป็นส่วนใหญ่ เนื่องจากภารกิจของรัฐที่กำหนดให้ถ่ายโอนแก่ท้องถิ่นเพื่อดำเนินการนั้น ไม่ได้เป็นไปตามแผนซึ่งกำหนดไว้! เนื่องมาจากรัฐบาลกลางเองยังหวงอำนาจอยู่ ไม่ยอมทำตามแผนการกระจายอำนาจที่กำหนดไว้
บ้านเมืองมีปัญหาไประยะหนึ่ง การกระจายอำนาจไปสู่ท้องถิ่นก็พลอยหยุดชะงักไปด้วย จนกระทั่งเกิดแผนการกระจายอำนาจฉบับที่ 2 ขึ้น เมื่อปี 51 สิ้นสุดแผนในปี 53 ส่วนใหญ่ของแผนฉบับนี้เป็นการผลักดันให้มีการถ่ายโอนภารกิจให้ท้องถิ่นตาม แผน 1 ซึ่งมีความบกพร่องในการปฏิบัติ เนื่องจากรัฐบาลไม่ให้ความสนใจที่จะกระจายอำนาจให้แก่ท้องถิ่นบริหารจัดการอาจเป็นเพราะไม่ไว้ใจหรือไม่เชื่อในความสามารถ แต่ในความเห็นของผมนั้นเป็นเพราะส่วนราชการต่างๆ ยังหวงอำนาจและผลประโยชน์อยู่ การกระจายอำนาจของไทยจึงไม่มีความก้าวหน้า
เมื่อสิ้นสุดแผน 2 รัฐบาลประชาธิปัตย์ก็ได้กำหนดให้มีการร่างแผน 3 เพื่อนำไปสู่การปฏิบัติ แต่ไม่แล้วเสร็จ จึงทำให้รัฐบาลปัจจุบันต้องดำเนินการต่อ ซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบของ รมต.วรวัจน์ ได้มีการตั้งอนุกรรมการขึ้นมา 2 ชุด เพื่อแยกกันทำงานจะได้เร็วขึ้น ชุดหนึ่งนั้นพิจารณาด้านสังคม อีกชุดหนึ่งพิจารณาด้านเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อม ยังไม่ได้พิจารณาให้แล้วเสร็จก็ปรากฏว่ามีการเปลี่ยนรัฐมนตรีที่รับผิดชอบ โดยให้รองนายกฯ พงศ์เทพ เป็นประธานกรรมการกระจายอำนาจแทนนายกรัฐมนตรี มี รมต.วรเทพ ดูแลเรื่องเงิน แผน 3 จึงถูกหยิบยกขึ้นมาพิจารณา เพื่อดำเนินการให้แล้วเสร็จ โดยมี รศ.อัษฎางค์ ปาณิกบุตร เป็นประธานคณะอนุกรรมการฯ
หลังจากใช้ระยะเวลาปรับแต่งไม่นานก็เสร็จสิ้นสมบูรณ์และได้นำเสนอต่อคณะ กรรมการกระจายอำนาจอนุมัติ ปัจจุบันอยู่ในขั้นตอนที่จะเสนอคณะรัฐมนตรีอนุมัติ ถ้า ครม.เมื่อใดก็นำส่งสภาฯ ให้ความเห็นชอบ เพื่อประกาศในราชกิจจานุเบกษา ซึ่งเป็นขั้นตอนสุดท้าย จึงจะนำไปปฏิบัติได้ (มีขั้นตอนคล้ายกฎหมาย เพื่อให้เกิดการยอมรับ)
แผนการกระจายอำนาจฉบับที่ 3 นี้ มีระยะเวลาตั้งแต่ 2557-61 เนื้อหาส่วนใหญ่เป็นการวางกรอบเพื่อให้รัฐบาลดำเนินการให้เป็นไปตามแผนการ กระจายอำนาจฉบับที่ 1 และ 2 ซึ่งรัฐบาลยังละเลยไม่ปฏิบัติ รวมทั้งต้องพิจารณาถ่ายโอนภารกิจใหม่ๆ ซึ่งควรจะปล่อยให้เป็นอำนาจหน้าที่ของท้องถิ่นด้วย เช่น การจราจรใน กทม.และเมืองใหญ่ๆ หรือการโอน ขสมก.ไปอยู่ในความรับผิดชอบของ กทม. เป็นต้น
ที่เป็นเรื่องสำคัญเปรียบเหมือนกับเป็นหัวใจของการกระจายอำนาจก็คือ ต้องมีการแก้กฎหมายให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์หรือเจตนารมณ์ในระบอบ ประชาธิปไตย เพราะเท่าที่ผ่านมารัฐบาลและฝ่ายนิติบัญญัติร่วมมือกันไม่เอากฎหมายที่ เกี่ยวข้องกับการกระจายอำนาจเข้าสู่การพิจารณาในสภาฯ แม้ว่าบางเรื่องเขียนไว้ในรัฐธรรมนูญก็ไม่นำมาดำเนินการ (ตั้งแต่รัฐบาลที่แล้วจนถึงชุดปัจจุบัน) ประชาชนทั่วไปอาจไม่สนใจในเรื่องการปกครองตนเอง แต่ผู้บริหารท้องถิ่นและข้าราชการท้องถิ่นเองก็ไม่สนใจในเรื่องนี้เช่นเดียว กัน! แผน 3 จึงได้กำหนดความสำคัญของการแก้กฎหมายด้วยว่าเรื่องใดก่อนหลัง ซึ่งไม่แน่ใจเหมือนกันว่าฝ่ายนิติบัญญัติของไทยจะให้ความสนใจแค่ไหน
ถ้ามีโอกาสก็จะพูดให้ ครม.ฟังในเรื่องนี้ ในฐานะผู้มีส่วนร่วมในการร่างแผนฯ ฉบับนี้ (ถ้าเขาเชิญ เมื่อเรื่องนี้เข้า ครม.)
เราจะพบข่าวในสื่อมวลชนเสมอว่า มีนักวิชาการ องค์กรชุมชน และผู้บริหารท้องถิ่น พูดถึงเรื่องการกระจายอำนาจให้แก่ท้องถิ่น ซึ่งมีแต่ความเคลื่อนไหว แต่ไม่มีการปฏิบัติ ระยะหลังมีการคิดในเรื่องจังหวัดจัดการตนเอง จนมีการผลักดันให้เป็นกฎหมาย เป็นร่าง พ.ร.บ.จัดการตนเองของนครเชียงใหม่ หรือร่าง พ.ร.บ.จัดการตนเองของคณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย หรือการที่สมาชิกสภาพัฒนาการเมืองแต่ละท้องถิ่นได้ไปจัดเสวนาในเรื่องให้ ชุมชนสามารถจัดการตนเองได้
อีกประการหนึ่งก็คือ การจัดการปกครองตนเองด้วยการกำหนดให้เป็นเขตปกครองพิเศษ เช่น กทม. หรือพัทยา โดยมีการดำเนินการที่เป็นรูปธรรมบ้าง เช่น แม่สอด แหลมฉบัง เป็นรูปของการร่างกฎหมายเช่นเดียวกัน ส่วนที่เป็นข่าวมานานแล้ว แต่ยังไม่เป็นรูปร่างก็คือ นครรัฐปัตตานี และบางจังหวัดของภาคใต้ ซึ่งผู้เขียนเห็นว่าเป็นการตื่นตัวของสังคมไทยในเรื่องการกระจายอำนาจ
เรื่องการกระจายอำนาจไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่สังคมไทย แม้แต่นักวิชาการก็ยังไม่ตกผลึกในเรื่องรายละเอียด เพราะค่อนข้างสลับซับซ้อน โดยเฉพาะทัศนคติของข้าราชการซึ่งมีมานาน และคิดว่าอำนาจในการบริหารราชการแผ่นดินควรอยู่ที่ส่วนกลางเท่านั้น จึงทำให้การกระจายอำนาจของไทยมีอุปสรรค
อยากให้รัฐบาลกลางได้คิดว่าการปกครองตนเองของท้องถิ่นนั้นเป็นการช่วย แบ่งเบาภารกิจของรัฐบาลกลางไปได้มาก เพราะคนในท้องถิ่นย่อมรู้ปัญหาของตนเองดีกว่าผู้อื่น ต้องปล่อยให้เขาคิดเป็น ทำเป็น! ประชาชนเป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตย ก็ควรมีสิทธิ์ในการจัดการปกครองตนเองพอสมควร ตามทฤษฎีของการกระจายอำนาจนั้น ถ้าปล่อยให้ท้องถิ่นมีอำนาจมากเกินไปก็จะเกิดผลกระทบกับอธิปไตยของประเทศ โดยเฉพาะท้องถิ่นที่มีชนกลุ่มน้อยที่แข็งแรง ในขณะเดียวกัน ถ้ากระจายอำนาจน้อยไปโดยที่ส่วนกลางยังหวงอำนาจอยู่ ก็จะเกิดอุปสรรคในการกระจายอำนาจ โดยเฉพาะความเสมอภาคในการได้รับบริการจากรัฐ เช่นประเทศไทยในปัจจุบัน!
รัฐบาลไทยต้องทบทวนในเรื่องนี้อย่างเร่งด่วน! เพราะเรามีจุดอ่อนและข้อบกพร่องมากในการกระจายอำนาจมาตลอดระยะเวลา 15 ปีที่ผ่านมา ที่เป็นเรื่องสำคัญมากก็คือ กระทรวงมหาดไทยไปควบคุมในเรื่องการบริหารงานตามอำนาจหน้าที่มากเกินไป แต่กลับไปปล่อยปละละเลยในเรื่องการบริหารงานบุคคล ในความเป็นจริงต้องกลับกัน เพราะบุคลากรท้องถิ่นเป็นพลังสำคัญในการให้บริการสาธารณะ
งบประมาณที่รัฐบาลแบ่งให้ท้องถิ่นในการปกครองตนเอง ในปีงบประมาณ 57 มีกว่า 5 แสนล้านบาท! ถ้าไม่รีบจัดการให้เป็นระบบที่ควรจะเป็นเท่ากับปล่อยให้ประชาชนในท้องถิ่น หลายสิบล้านคนต้องได้รับความทุกข์ เดือดร้อนในการดำเนินชีวิตต่อไป!
นายกฯ ยิ่งลักษณ์ หันมาสนใจในเรื่องนี้อย่างจริงจังเมื่อใดจะเป็นเครดิตของการบริหารราชการ แผ่นดิน! ขอเรียนว่าไม่ใช่เรื่องเล็ก แต่ถ้าทำให้เป็นระบบที่ดี เท่ากับว่านายกรัฐมนตรีสามารถได้ใจจากประชาชนทั้งประเทศ! คิดให้ลึกซึ้งครับ!....โดย รศ.อัษฎางค์ ปาณิกบุตร
ขอบคุณ... http://www.ryt9.com/s/bmnd/1784441
( บ้านเมืองออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 25 พ.ย.56 )
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
อย่าไปวิตกกับเหตุการณ์ทางการเมืองที่เกิดขึ้นเลย เพราะอะไร จะเกิดก็ต้องเกิด ปล่อยให้แต่ละฝ่ายแย่งอำนาจกันต่อไป! แปลกตรงที่ว่าอำนาจปกครองประเทศนั้นเป็นของประชาชนแท้ๆ แต่ทำไม ปล่อยให้คนไม่กี่คนไปแอบอ้างได้ คงจะต้องพิจารณาแล้วว่าประเทศไทยจะเป็นประชาธิปไตยหรือเป็นเผด็จการ มองไปยังอนาคตดีกว่า มีความสุขกว่ามาก ในวันนี้จึงนำเรื่องสำคัญของประเทศมาให้พิจารณา เพราะประชาชนส่วนใหญ่ยังไม่เข้าใจในรายละเอียด เป็นเรื่อง สำคัญของการเมือง การปกครองของประเทศไทยในอนาคต การกระจายอำนาจเป็นสัญลักษณ์อย่างหนึ่งของการปกครองในระบอบประชาธิปไตย! ในอดีตที่ผ่านมารัฐบาลไทยยังหวงอำนาจไว้ที่ส่วนกลาง ไม่ไว้วางใจที่จะกระจายอำนาจไปสู่ท้องถิ่น เพื่อให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการปกครองมากนัก! แต่พลิกแพลงให้คนอื่นเห็นว่าประเทศไทยมีการกระจายอำนาจ แต่แท้จริงเป็นการแบ่งอำนาจบางอย่างไปให้ท้องถิ่นช่วยทำมากกว่า ส่งผลให้ท้องถิ่นไทยขาดการพัฒนาที่ถูกแนวทาง ไม่มีความเสมอภาคในการกระจายรายได้ และกระจายความเจริญไปสู่ท้องถิ่น ทำให้ประเทศไทยมีความเจริญเป็นบางจุด ขึ้นอยู่กับทรัพยากรทางธรรมชาติที่แต่ละแห่งมี ประชาชนไทยได้รับบริการสาธารณะจากรัฐที่แตกต่างกัน เป็นอุปสรรคอย่างยิ่งในการพัฒนาประเทศ! ประเทศไทยจึงเป็นประเทศที่อยู่ในลักษณะกำลังพัฒนา รัฐธรรมนูญ 2540 เป็นฉบับแรกที่บรรจุเนื้อหาของการกระจายอำนาจที่เหมาะสม และเป็นสากลมากกว่าทุกฉบับที่เคยมีมา! ทำให้ประชาชนในท้องถิ่นได้มีส่วนร่วม และโอกาสในการปกครองตนเองมากขึ้น จนถึงปัจจุบันสามารถศึกษาวิเคราะห์ได้ว่า มีทั้งส่วนดีและส่วนเสีย แต่แนวโน้มการปกครองประเทศจะเป็นไปในทางการกระจายอำนาจการปกครองไปสู่ท้อง ถิ่นให้มากขึ้นเรื่อยๆ รัฐบาลกลางจึงมีความจำเป็นที่จะวางกรอบในการบริหารงานท้องถิ่น เพื่อให้ผู้บริหารท้องถิ่นยึดถือและปฏิบัติ เพราะจะต้องให้สอดคล้องกับแผนในระดับชาติด้วย คณะกรรมการกระจายอำนาจให้แก่ท้องถิ่น ซึ่งมีนายกรัฐมนตรี หรือรองนายกฯ ที่ได้รับมอบหมายเป็นประธาน เป็นองค์กรสำคัญที่จะวางรูปแบบในการดำเนินการ เพื่อให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) นำไปปฏิบัติ โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อความสุขของประชาชนในท้องถิ่น โดยเฉพาะการจัดสรรงบประมาณเพื่อให้ผู้บริหารท้องถิ่นนำไปดำเนินการตามความ ต้องการของประชาชนในแต่ละท้องถิ่น ซึ่งแต่ละแห่งอาจจะมีความแตกต่างกันหรือเหมือนกัน ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจและสังคม! รัฐบาลจึงกำหนดให้มีการร่างแผนการกระจายอำนาจ เพื่อเป็นกรอบหรือแนวทางในการพิจารณาของผู้บริหารท้องถิ่นเพื่อนำไปปฏิบัติ โดยมีจุดมุ่งหมายอยู่ที่ความสะดวกสบายในการดำเนินชีวิตของประชาชนในแต่ละ ท้องถิ่นตามความเหมาะสม ไม่ว่าจะเป็นโครงสร้างพื้นฐานหรือคุณภาพชีวิต ทั้งนี้โดยหลักการแล้ว บริการสาธารณะต้องคำนึงถึงความต้องการของประชาชนในท้องถิ่นเป็นหลัก! แผนการกระจายอำนาจเริ่มตั้งแต่ฉบับที่ 1 ซึ่งผ่านสภาฯ และประกาศในราชกิจจา เมื่อปี 43 และสิ้นสุดแผนในปี 47 แต่ปรากฏว่าล้มเหลวเป็นส่วนใหญ่ เนื่องจากภารกิจของรัฐที่กำหนดให้ถ่ายโอนแก่ท้องถิ่นเพื่อดำเนินการนั้น ไม่ได้เป็นไปตามแผนซึ่งกำหนดไว้! เนื่องมาจากรัฐบาลกลางเองยังหวงอำนาจอยู่ ไม่ยอมทำตามแผนการกระจายอำนาจที่กำหนดไว้ บ้านเมืองมีปัญหาไประยะหนึ่ง การกระจายอำนาจไปสู่ท้องถิ่นก็พลอยหยุดชะงักไปด้วย จนกระทั่งเกิดแผนการกระจายอำนาจฉบับที่ 2 ขึ้น เมื่อปี 51 สิ้นสุดแผนในปี 53 ส่วนใหญ่ของแผนฉบับนี้เป็นการผลักดันให้มีการถ่ายโอนภารกิจให้ท้องถิ่นตาม แผน 1 ซึ่งมีความบกพร่องในการปฏิบัติ เนื่องจากรัฐบาลไม่ให้ความสนใจที่จะกระจายอำนาจให้แก่ท้องถิ่นบริหารจัดการอาจเป็นเพราะไม่ไว้ใจหรือไม่เชื่อในความสามารถ แต่ในความเห็นของผมนั้นเป็นเพราะส่วนราชการต่างๆ ยังหวงอำนาจและผลประโยชน์อยู่ การกระจายอำนาจของไทยจึงไม่มีความก้าวหน้า เมื่อสิ้นสุดแผน 2 รัฐบาลประชาธิปัตย์ก็ได้กำหนดให้มีการร่างแผน 3 เพื่อนำไปสู่การปฏิบัติ แต่ไม่แล้วเสร็จ จึงทำให้รัฐบาลปัจจุบันต้องดำเนินการต่อ ซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบของ รมต.วรวัจน์ ได้มีการตั้งอนุกรรมการขึ้นมา 2 ชุด เพื่อแยกกันทำงานจะได้เร็วขึ้น ชุดหนึ่งนั้นพิจารณาด้านสังคม อีกชุดหนึ่งพิจารณาด้านเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อม ยังไม่ได้พิจารณาให้แล้วเสร็จก็ปรากฏว่ามีการเปลี่ยนรัฐมนตรีที่รับผิดชอบ โดยให้รองนายกฯ พงศ์เทพ เป็นประธานกรรมการกระจายอำนาจแทนนายกรัฐมนตรี มี รมต.วรเทพ ดูแลเรื่องเงิน แผน 3 จึงถูกหยิบยกขึ้นมาพิจารณา เพื่อดำเนินการให้แล้วเสร็จ โดยมี รศ.อัษฎางค์ ปาณิกบุตร เป็นประธานคณะอนุกรรมการฯ หลังจากใช้ระยะเวลาปรับแต่งไม่นานก็เสร็จสิ้นสมบูรณ์และได้นำเสนอต่อคณะ กรรมการกระจายอำนาจอนุมัติ ปัจจุบันอยู่ในขั้นตอนที่จะเสนอคณะรัฐมนตรีอนุมัติ ถ้า ครม.เมื่อใดก็นำส่งสภาฯ ให้ความเห็นชอบ เพื่อประกาศในราชกิจจานุเบกษา ซึ่งเป็นขั้นตอนสุดท้าย จึงจะนำไปปฏิบัติได้ (มีขั้นตอนคล้ายกฎหมาย เพื่อให้เกิดการยอมรับ) แผนการกระจายอำนาจฉบับที่ 3 นี้ มีระยะเวลาตั้งแต่ 2557-61 เนื้อหาส่วนใหญ่เป็นการวางกรอบเพื่อให้รัฐบาลดำเนินการให้เป็นไปตามแผนการ กระจายอำนาจฉบับที่ 1 และ 2 ซึ่งรัฐบาลยังละเลยไม่ปฏิบัติ รวมทั้งต้องพิจารณาถ่ายโอนภารกิจใหม่ๆ ซึ่งควรจะปล่อยให้เป็นอำนาจหน้าที่ของท้องถิ่นด้วย เช่น การจราจรใน กทม.และเมืองใหญ่ๆ หรือการโอน ขสมก.ไปอยู่ในความรับผิดชอบของ กทม. เป็นต้น ที่เป็นเรื่องสำคัญเปรียบเหมือนกับเป็นหัวใจของการกระจายอำนาจก็คือ ต้องมีการแก้กฎหมายให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์หรือเจตนารมณ์ในระบอบ ประชาธิปไตย เพราะเท่าที่ผ่านมารัฐบาลและฝ่ายนิติบัญญัติร่วมมือกันไม่เอากฎหมายที่ เกี่ยวข้องกับการกระจายอำนาจเข้าสู่การพิจารณาในสภาฯ แม้ว่าบางเรื่องเขียนไว้ในรัฐธรรมนูญก็ไม่นำมาดำเนินการ (ตั้งแต่รัฐบาลที่แล้วจนถึงชุดปัจจุบัน) ประชาชนทั่วไปอาจไม่สนใจในเรื่องการปกครองตนเอง แต่ผู้บริหารท้องถิ่นและข้าราชการท้องถิ่นเองก็ไม่สนใจในเรื่องนี้เช่นเดียว กัน! แผน 3 จึงได้กำหนดความสำคัญของการแก้กฎหมายด้วยว่าเรื่องใดก่อนหลัง ซึ่งไม่แน่ใจเหมือนกันว่าฝ่ายนิติบัญญัติของไทยจะให้ความสนใจแค่ไหน ถ้ามีโอกาสก็จะพูดให้ ครม.ฟังในเรื่องนี้ ในฐานะผู้มีส่วนร่วมในการร่างแผนฯ ฉบับนี้ (ถ้าเขาเชิญ เมื่อเรื่องนี้เข้า ครม.) เราจะพบข่าวในสื่อมวลชนเสมอว่า มีนักวิชาการ องค์กรชุมชน และผู้บริหารท้องถิ่น พูดถึงเรื่องการกระจายอำนาจให้แก่ท้องถิ่น ซึ่งมีแต่ความเคลื่อนไหว แต่ไม่มีการปฏิบัติ ระยะหลังมีการคิดในเรื่องจังหวัดจัดการตนเอง จนมีการผลักดันให้เป็นกฎหมาย เป็นร่าง พ.ร.บ.จัดการตนเองของนครเชียงใหม่ หรือร่าง พ.ร.บ.จัดการตนเองของคณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย หรือการที่สมาชิกสภาพัฒนาการเมืองแต่ละท้องถิ่นได้ไปจัดเสวนาในเรื่องให้ ชุมชนสามารถจัดการตนเองได้ อีกประการหนึ่งก็คือ การจัดการปกครองตนเองด้วยการกำหนดให้เป็นเขตปกครองพิเศษ เช่น กทม. หรือพัทยา โดยมีการดำเนินการที่เป็นรูปธรรมบ้าง เช่น แม่สอด แหลมฉบัง เป็นรูปของการร่างกฎหมายเช่นเดียวกัน ส่วนที่เป็นข่าวมานานแล้ว แต่ยังไม่เป็นรูปร่างก็คือ นครรัฐปัตตานี และบางจังหวัดของภาคใต้ ซึ่งผู้เขียนเห็นว่าเป็นการตื่นตัวของสังคมไทยในเรื่องการกระจายอำนาจ เรื่องการกระจายอำนาจไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่สังคมไทย แม้แต่นักวิชาการก็ยังไม่ตกผลึกในเรื่องรายละเอียด เพราะค่อนข้างสลับซับซ้อน โดยเฉพาะทัศนคติของข้าราชการซึ่งมีมานาน และคิดว่าอำนาจในการบริหารราชการแผ่นดินควรอยู่ที่ส่วนกลางเท่านั้น จึงทำให้การกระจายอำนาจของไทยมีอุปสรรค อยากให้รัฐบาลกลางได้คิดว่าการปกครองตนเองของท้องถิ่นนั้นเป็นการช่วย แบ่งเบาภารกิจของรัฐบาลกลางไปได้มาก เพราะคนในท้องถิ่นย่อมรู้ปัญหาของตนเองดีกว่าผู้อื่น ต้องปล่อยให้เขาคิดเป็น ทำเป็น! ประชาชนเป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตย ก็ควรมีสิทธิ์ในการจัดการปกครองตนเองพอสมควร ตามทฤษฎีของการกระจายอำนาจนั้น ถ้าปล่อยให้ท้องถิ่นมีอำนาจมากเกินไปก็จะเกิดผลกระทบกับอธิปไตยของประเทศ โดยเฉพาะท้องถิ่นที่มีชนกลุ่มน้อยที่แข็งแรง ในขณะเดียวกัน ถ้ากระจายอำนาจน้อยไปโดยที่ส่วนกลางยังหวงอำนาจอยู่ ก็จะเกิดอุปสรรคในการกระจายอำนาจ โดยเฉพาะความเสมอภาคในการได้รับบริการจากรัฐ เช่นประเทศไทยในปัจจุบัน! รัฐบาลไทยต้องทบทวนในเรื่องนี้อย่างเร่งด่วน! เพราะเรามีจุดอ่อนและข้อบกพร่องมากในการกระจายอำนาจมาตลอดระยะเวลา 15 ปีที่ผ่านมา
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)