เปิดมุมมอง'อานันท์'ฝ่าวิกฤติการเมือง
เปิดมุมมอง'อานันท์'ฝ่าวิกฤติการเมือง : สัมภาษณ์พิเศษโดยนายเทพชัย หย่อง บรรณาธิการอำนวยการเครือเนชั่น นายอานันท์ ปันยารชุน อดีตนายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์พิเศษ นายเทพชัย หย่อง บรรณาธิการอำนวยการเครือเนชั่น เกี่ยวกับสถานการณ์การเมือง โดยคม ชัด ลึก นำเสนอเป็น 2 ตอน
ตอนแรก อดีตนายกรัฐมนตรีมองชุมนุมตามแนวทางอารยะขัดขืนว่า เป็นเรื่องปกติในระบอบประชาธิปไตย ขอให้ทั้งสองฝ่ายหาทางออกคุยกันและหันมาแก้ที่ต้นเหตุปัญหาเชิงโครงสร้าง และตอนที่ 2 ฉบับวันพรุ่งนี้ อดีตนายกรัฐมนตรียังเสนอให้ "นายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์" แสดงบทบาทในฐานะนายกรัฐมนตรีมากกว่านี้ เพื่อให้ประชาชนเชื่อได้ว่าไม่ได้ทำเพื่อ "ทักษิณ"
มองถึงทางออกกับสถานการณ์การเมืองในขณะนี้อย่างไร คนที่จะตอบคำถามนี้ได้ดีคือคุณสุเทพ เทือกสุบรรณ กับทางฝ่ายรัฐบาล เพราะเป็นการต่อสู้กันระหว่างสองฝ่าย ผมไม่ทราบจริงๆ เลย แต่ผมมองเหตุการณ์ทั้งหมดว่า บางครั้งบางคราวเราอาจจะตื่นตระหนกเกินขอบเขต ยกตัวอย่างในเรื่องการเดินขบวนทุกประเทศก็ทำกัน ดูประวัติศาสตร์ตามประเทศต่างๆ ในประเทศสหรัฐอเมริกาสมัยผิวขาวผิวดำต่อสู้กัน และมีการเดินขบวนเป็นล้านไปที่วอชิงตัน ไปขอพบประธานาธิบดีเคนเนดี้ และขอคำมั่นสัญญาจากประธานาธิบดีเคนเนดี้ว่าจะจัดการเรื่องกฎหมายที่เรียก ว่า civil rights ให้เสร็จสิ้นไป เพื่อให้ความเป็นธรรมกับคนผิวดำ ซึ่งประธานาธิบดีเคนเนดี้ก็รับไป แต่ก็มีชีวิตอยู่ได้ไม่นานพอที่จะทำเรื่องนี้ให้สำเร็จ และส่งต่อให้ประธานาธิบดีจอห์นสัน ซึ่งนำเรื่องเข้าสู่รัฐสภา และออกมาเป็น civil rights bill (กฎหมายสิทธิพลเมือง) ปี 1964 ประเทศอื่นก็เหมือนกัน อย่างประเทศอินเดียก็มีการเดินขบวนสมัยของคานธี จนทำให้เกิดอารยะขัดขืนขณะนี้ถือเป็นเรื่องปกติในระบอบประชาธิปไตย
เป็นเรื่องปกติ ในอังกฤษที่มีปัญหาเรื่องนิวเคลียร์ ประชาชนเห็นว่าฝ่ายรัฐบาลเข้าไปใกล้ชิดกับรัฐบาลอเมริกัน ก็มีการเดินขบวนเป็นล้านเหมือนกัน นักเรียนจากมหาวิทยาลัยก็ไปเดินขบวนเหมือนกัน ดังนั้นเราจะต้องคำนึงว่ามันเป็นของธรรมดา อย่าไปมองว่าเป็นการล้มระบอบ หรือไม่เป็นไปตามกติกา ประเทศที่เป็นต้นฉบับของรัฐธรรมนูญประชาธิปไตยของ Westminster ในอังกฤษ หรือระบบประธานาธิบดีที่อเมริกา ก็มีการเดินขบวน ฝรั่งเศส กรีซ ก็มีการเดินขบวน แต่ที่สำคัญที่สุด ผมพอใจคือ การเดินขบวนครั้งนี้ปราศจากอาวุธ เสียงอาจจะมากไปในเรื่องของนกหวีด หรือ การเล่นระเริงดนตรีมากไป หรืออะไรต่างๆ แต่ผมมองว่าเป็นเรื่องปลีกย่อย ตราบใดที่เป็นการชุมนุมโดยสงบ ปราศจากอาวุธ แต่ผมก็ต้องชมรัฐบาลที่เขาพยายามไม่ทำอะไรที่เกินขอบเขต ดังนั้นโอกาสที่จะปะทะกันผมว่ามีน้อยกว่าที่คนคิด แต่แน่ล่ะ ถ้าเผื่อฟังวาทกรรมของแต่ละฝ่ายทั้งสองเวที หรือในรัฐสภา ความดุเดือด ความรุนแรงมันมีในทางภาษา ทางวาทกรรม ตรงนี้ยังมีความหวังว่าจะไม่นำไปสู่การแตกหักอย่างจริงจังที่มีการสู้รบกัน บนถนน ผมไม่คิดว่าน่าจะเป็นไปได้ยังมองโลกในแง่ดีอยู่ อ่านข่าวนี้ทั้งหมด คลิก… http://www.tddf.or.th/uploadedfiles/2013-11-29__295__.doc (ขนาดไฟล์: 595968)
ขอบคุณ... http://www.komchadluek.net/detail/20131129/173830.html (ขนาดไฟล์: 167)
(ข่าวสดออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 29 พ.ย.56)
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
เปิดมุมมอง'อานันท์'ฝ่าวิกฤติการเมือง เปิดมุมมอง'อานันท์'ฝ่าวิกฤติการเมือง : สัมภาษณ์พิเศษโดยนายเทพชัย หย่อง บรรณาธิการอำนวยการเครือเนชั่น นายอานันท์ ปันยารชุน อดีตนายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์พิเศษ นายเทพชัย หย่อง บรรณาธิการอำนวยการเครือเนชั่น เกี่ยวกับสถานการณ์การเมือง โดยคม ชัด ลึก นำเสนอเป็น 2 ตอน ตอนแรก อดีตนายกรัฐมนตรีมองชุมนุมตามแนวทางอารยะขัดขืนว่า เป็นเรื่องปกติในระบอบประชาธิปไตย ขอให้ทั้งสองฝ่ายหาทางออกคุยกันและหันมาแก้ที่ต้นเหตุปัญหาเชิงโครงสร้าง และตอนที่ 2 ฉบับวันพรุ่งนี้ อดีตนายกรัฐมนตรียังเสนอให้ "นายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์" แสดงบทบาทในฐานะนายกรัฐมนตรีมากกว่านี้ เพื่อให้ประชาชนเชื่อได้ว่าไม่ได้ทำเพื่อ "ทักษิณ" มองถึงทางออกกับสถานการณ์การเมืองในขณะนี้อย่างไร คนที่จะตอบคำถามนี้ได้ดีคือคุณสุเทพ เทือกสุบรรณ กับทางฝ่ายรัฐบาล เพราะเป็นการต่อสู้กันระหว่างสองฝ่าย ผมไม่ทราบจริงๆ เลย แต่ผมมองเหตุการณ์ทั้งหมดว่า บางครั้งบางคราวเราอาจจะตื่นตระหนกเกินขอบเขต ยกตัวอย่างในเรื่องการเดินขบวนทุกประเทศก็ทำกัน ดูประวัติศาสตร์ตามประเทศต่างๆ ในประเทศสหรัฐอเมริกาสมัยผิวขาวผิวดำต่อสู้กัน และมีการเดินขบวนเป็นล้านไปที่วอชิงตัน ไปขอพบประธานาธิบดีเคนเนดี้ และขอคำมั่นสัญญาจากประธานาธิบดีเคนเนดี้ว่าจะจัดการเรื่องกฎหมายที่เรียก ว่า civil rights ให้เสร็จสิ้นไป เพื่อให้ความเป็นธรรมกับคนผิวดำ ซึ่งประธานาธิบดีเคนเนดี้ก็รับไป แต่ก็มีชีวิตอยู่ได้ไม่นานพอที่จะทำเรื่องนี้ให้สำเร็จ และส่งต่อให้ประธานาธิบดีจอห์นสัน ซึ่งนำเรื่องเข้าสู่รัฐสภา และออกมาเป็น civil rights bill (กฎหมายสิทธิพลเมือง) ปี 1964 ประเทศอื่นก็เหมือนกัน อย่างประเทศอินเดียก็มีการเดินขบวนสมัยของคานธี จนทำให้เกิดอารยะขัดขืนขณะนี้ถือเป็นเรื่องปกติในระบอบประชาธิปไตย เป็นเรื่องปกติ ในอังกฤษที่มีปัญหาเรื่องนิวเคลียร์ ประชาชนเห็นว่าฝ่ายรัฐบาลเข้าไปใกล้ชิดกับรัฐบาลอเมริกัน ก็มีการเดินขบวนเป็นล้านเหมือนกัน นักเรียนจากมหาวิทยาลัยก็ไปเดินขบวนเหมือนกัน ดังนั้นเราจะต้องคำนึงว่ามันเป็นของธรรมดา อย่าไปมองว่าเป็นการล้มระบอบ หรือไม่เป็นไปตามกติกา ประเทศที่เป็นต้นฉบับของรัฐธรรมนูญประชาธิปไตยของ Westminster ในอังกฤษ หรือระบบประธานาธิบดีที่อเมริกา ก็มีการเดินขบวน ฝรั่งเศส กรีซ ก็มีการเดินขบวน แต่ที่สำคัญที่สุด ผมพอใจคือ การเดินขบวนครั้งนี้ปราศจากอาวุธ เสียงอาจจะมากไปในเรื่องของนกหวีด หรือ การเล่นระเริงดนตรีมากไป หรืออะไรต่างๆ แต่ผมมองว่าเป็นเรื่องปลีกย่อย ตราบใดที่เป็นการชุมนุมโดยสงบ ปราศจากอาวุธ แต่ผมก็ต้องชมรัฐบาลที่เขาพยายามไม่ทำอะไรที่เกินขอบเขต ดังนั้นโอกาสที่จะปะทะกันผมว่ามีน้อยกว่าที่คนคิด แต่แน่ล่ะ ถ้าเผื่อฟังวาทกรรมของแต่ละฝ่ายทั้งสองเวที หรือในรัฐสภา ความดุเดือด ความรุนแรงมันมีในทางภาษา ทางวาทกรรม ตรงนี้ยังมีความหวังว่าจะไม่นำไปสู่การแตกหักอย่างจริงจังที่มีการสู้รบกัน บนถนน ผมไม่คิดว่าน่าจะเป็นไปได้ยังมองโลกในแง่ดีอยู่ อ่านข่าวนี้ทั้งหมด คลิก… http://www.tddf.or.th/uploadedfiles/2013-11-29__295__.doc ขอบคุณ... http://www.komchadluek.net/detail/20131129/173830.html (ข่าวสดออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 29 พ.ย.56)
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)