การปฏิรูปการเมืองต้องอาศัยการปฏิรูปกิจการยุติธรรม
การปฏิรูปการเมือง ไม่อาจเกิดขึ้นที่นักการเมือง พรรคการเมือง หรือรัฐสภา ซึ่งเป็นผู้ที่อิงอาศัยประโยชน์จากสภาพที่ไม่มีการปฏิรูปในปัจจุบัน แต่อาจจะมีได้ ก็ต่อเมือเป็นการปฏิรูปโดยประชาชน แต่การปฏิรูปจาก ประชาชนจะมีได้ ก็ต่อเมื่อประชาชนมีความเชื่อมั่นในสิทธิและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของตน และเชื่อมั่นในความสามารถใช้สิทธิ ปกป้องสิทธิ และบังคับสิทธิของตนได้อย่างมีเหตุมีผล และเคารพสิทธิของผู้อื่นไปในขณะเดียวกัน แต่การจะเกิดสภาพเช่นนี้ได้ ประชาชนต้องผ่านกระบวนการเรียนรู้ให้สามารถรู้และเข้าใจกระบวนการปกป้องและ บังคับสิทธิของตนได้อย่างเชื่อมือ
เปรียบเสมือน คนไทยที่หุงข้าวเป็น ทำกับข้าวเป็น อยู่ที่ไหนก็ดัดแปลงสิ่งของรอบตัวมารับใช้การหาอยู่หากินได้ โดยไม่ยุ่งยากขัดเขิน ถ้าคนไทยรู้จักและเข้าใจกลไกของความเป็นธรรมถึงขั้นรู้ได้ใช้เป็น บังคับสิทธิของตนเองได้ การปฏิรูปการเมือง การปฏิรูปสังคม และการทำให้เกิดเป็นจริงในทางปฏิบัติจึงจะเกิดขึ้นได้ และเกิดผลสะเทือนต่อเนื่องผลักดันให้สังคมเปลี่ยนแปลงไปทั้งสังคมได้
หัวใจ ของการปฏิรูปการเมืองจึงอยู่ที่การปฏิรูปความรู้ความเข้าใจ และความเชื่อมั่นต่อความเป็นธรรม การเข้าถึงความเป็นธรรม และการบังคับสิทธิให้เกิดความเป็นธรรมได้ด้วยน้ำมือของประชาชนเอง
คำถามหลักของการปฏิรูปจึงอยู่ที่ว่า: ทำอย่างไรจึงจะทำให้ระบบกฎหมายและความเป็นธรรมอันควรจะเป็นรากฐานของสังคม และองคาพยพของรัฐในปัจจุบันและอนาคตจึงจะไม่เป็นของไกลตัว แต่เป็นจริงชนิดที่รู้สึกได้และดำรงอยู่ในชีวิตประจำวันของชาวไทยอย่างมี ชีวิตชีวา ไม่เฉื่อยชา ถูกบิดเบือน และใช้เป็นเครื่องมือในทางทุจริตได้โดยง่ายอย่างที่ปรากฏอยู่ในเวลานี้?
เพื่อ ตอบคำถามนี้ จะต้องมีการกำหนดเจตจำนงทางการเมืองอันแน่วแนที่จะดำเนินการทั้งปวงเพื่อ ผลักดันการปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมให้การปกครองโดยกฎหมายซึมซับเข้าไปสู่ สังคมไทยจนกลายเป็น “เลือดและเนื้อ” ของชาวไทยให้ได้ การปฏิรูปเช่นนี้จะมีได้ภายใต้หลักการสำคัญอย่างน้อย 3 ประการ “สร้าง กระบวนการยุติธรรมที่สอดคล้องกับความต้องการของประชาชน” ด้วยการขยายโอกาสเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม และเสริมสร้างเครือข่ายให้ความช่วยเหลือประชาชนทางกฎหมายครั้งใหญ่ “สร้างกลไกยุติธรรมถ้วนหน้า” เพื่อให้ประชาชนเห็นประจักษ์ว่า กระบวนการยุติธรรมนั้นไม่ห่างเหินประชาชน ลึกลับหรือเข้าใจยาก แต่เป็นกระบวนการที่ใช้ง่าย เข้าใจง่าย และไว้ใจได้
“ปฏิรูปชุมชนวิชาชีพทางกฎหมายเพื่อสนับสนุนกระบวนการยุติธรรม” ด้วยการปฏิรูปการศึกษากฎหมาย และขยายเครือข่ายการให้บริการทางกฎหมายที่ได้มาตรฐานให้ทั่วถึงทั้งประเทศ คือต้องมีผู้ประกอบวิชาชีพกฎหมายที่มีคุณภาพได้มาตรฐาน มีการปรับปรุงคุณภาพอย่างต่อเนื่อง ทั้งความรู้ทางกฎหมาย ทางจริยธรรม ทางวัฒนธรรม และมนุษยธรรม พร้อมทั้งมีจำนวนเพียงพอและสามารถตอบสนองความต้องการของสังคม และมีการสื่อสารสร้างเสริมความเข้าใจอันดีระหว่างผู้ประกอบวิชาชีพกฎหมายกับสาธารณชนอยู่เสมอ
“จัดตั้งกระบวนการยุติธรรมที่มีอาศัยประชาชนเป็นรากฐาน” ด้วย การจัดระเบียบการมีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการยุติธรรมและกระบวนการระงับ ข้อพิพาทนอกระบบราชการครั้งใหญ่ ทั้งนี้เพื่อนำไปสู่การสร้างสังคมที่ประชาชนเป็นเจ้าของและเป็นฐานสนับสนุน ความยุติธรรมอย่างแท้จริง …โดย กิตติศักดิ์ ปรกติ
ขอบคุณ... http://prachatai.com/journal/2013/11/50089 (ขนาดไฟล์: 167)
( ประชาไทออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 1 ธ.ค.56 )
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
ตราชั่ง การปฏิรูปการเมือง ไม่อาจเกิดขึ้นที่นักการเมือง พรรคการเมือง หรือรัฐสภา ซึ่งเป็นผู้ที่อิงอาศัยประโยชน์จากสภาพที่ไม่มีการปฏิรูปในปัจจุบัน แต่อาจจะมีได้ ก็ต่อเมือเป็นการปฏิรูปโดยประชาชน แต่การปฏิรูปจาก ประชาชนจะมีได้ ก็ต่อเมื่อประชาชนมีความเชื่อมั่นในสิทธิและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของตน และเชื่อมั่นในความสามารถใช้สิทธิ ปกป้องสิทธิ และบังคับสิทธิของตนได้อย่างมีเหตุมีผล และเคารพสิทธิของผู้อื่นไปในขณะเดียวกัน แต่การจะเกิดสภาพเช่นนี้ได้ ประชาชนต้องผ่านกระบวนการเรียนรู้ให้สามารถรู้และเข้าใจกระบวนการปกป้องและ บังคับสิทธิของตนได้อย่างเชื่อมือ ภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ตเปรียบเสมือน คนไทยที่หุงข้าวเป็น ทำกับข้าวเป็น อยู่ที่ไหนก็ดัดแปลงสิ่งของรอบตัวมารับใช้การหาอยู่หากินได้ โดยไม่ยุ่งยากขัดเขิน ถ้าคนไทยรู้จักและเข้าใจกลไกของความเป็นธรรมถึงขั้นรู้ได้ใช้เป็น บังคับสิทธิของตนเองได้ การปฏิรูปการเมือง การปฏิรูปสังคม และการทำให้เกิดเป็นจริงในทางปฏิบัติจึงจะเกิดขึ้นได้ และเกิดผลสะเทือนต่อเนื่องผลักดันให้สังคมเปลี่ยนแปลงไปทั้งสังคมได้ หัวใจ ของการปฏิรูปการเมืองจึงอยู่ที่การปฏิรูปความรู้ความเข้าใจ และความเชื่อมั่นต่อความเป็นธรรม การเข้าถึงความเป็นธรรม และการบังคับสิทธิให้เกิดความเป็นธรรมได้ด้วยน้ำมือของประชาชนเอง คำถามหลักของการปฏิรูปจึงอยู่ที่ว่า: ทำอย่างไรจึงจะทำให้ระบบกฎหมายและความเป็นธรรมอันควรจะเป็นรากฐานของสังคม และองคาพยพของรัฐในปัจจุบันและอนาคตจึงจะไม่เป็นของไกลตัว แต่เป็นจริงชนิดที่รู้สึกได้และดำรงอยู่ในชีวิตประจำวันของชาวไทยอย่างมี ชีวิตชีวา ไม่เฉื่อยชา ถูกบิดเบือน และใช้เป็นเครื่องมือในทางทุจริตได้โดยง่ายอย่างที่ปรากฏอยู่ในเวลานี้? เพื่อ ตอบคำถามนี้ จะต้องมีการกำหนดเจตจำนงทางการเมืองอันแน่วแนที่จะดำเนินการทั้งปวงเพื่อ ผลักดันการปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมให้การปกครองโดยกฎหมายซึมซับเข้าไปสู่ สังคมไทยจนกลายเป็น “เลือดและเนื้อ” ของชาวไทยให้ได้ การปฏิรูปเช่นนี้จะมีได้ภายใต้หลักการสำคัญอย่างน้อย 3 ประการ “สร้าง กระบวนการยุติธรรมที่สอดคล้องกับความต้องการของประชาชน” ด้วยการขยายโอกาสเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม และเสริมสร้างเครือข่ายให้ความช่วยเหลือประชาชนทางกฎหมายครั้งใหญ่ “สร้างกลไกยุติธรรมถ้วนหน้า” เพื่อให้ประชาชนเห็นประจักษ์ว่า กระบวนการยุติธรรมนั้นไม่ห่างเหินประชาชน ลึกลับหรือเข้าใจยาก แต่เป็นกระบวนการที่ใช้ง่าย เข้าใจง่าย และไว้ใจได้ มือประสาน “ปฏิรูปชุมชนวิชาชีพทางกฎหมายเพื่อสนับสนุนกระบวนการยุติธรรม” ด้วยการปฏิรูปการศึกษากฎหมาย และขยายเครือข่ายการให้บริการทางกฎหมายที่ได้มาตรฐานให้ทั่วถึงทั้งประเทศ คือต้องมีผู้ประกอบวิชาชีพกฎหมายที่มีคุณภาพได้มาตรฐาน มีการปรับปรุงคุณภาพอย่างต่อเนื่อง ทั้งความรู้ทางกฎหมาย ทางจริยธรรม ทางวัฒนธรรม และมนุษยธรรม พร้อมทั้งมีจำนวนเพียงพอและสามารถตอบสนองความต้องการของสังคม และมีการสื่อสารสร้างเสริมความเข้าใจอันดีระหว่างผู้ประกอบวิชาชีพกฎหมายกับสาธารณชนอยู่เสมอ “จัดตั้งกระบวนการยุติธรรมที่มีอาศัยประชาชนเป็นรากฐาน” ด้วย การจัดระเบียบการมีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการยุติธรรมและกระบวนการระงับ ข้อพิพาทนอกระบบราชการครั้งใหญ่ ทั้งนี้เพื่อนำไปสู่การสร้างสังคมที่ประชาชนเป็นเจ้าของและเป็นฐานสนับสนุน ความยุติธรรมอย่างแท้จริง …โดย กิตติศักดิ์ ปรกติ ขอบคุณ... http://prachatai.com/journal/2013/11/50089 ( ประชาไทออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 1 ธ.ค.56 )
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)