วีรพัฒน์ ปริยวงศ์ ชี้ทางออกการเมือง
หมายเหตุ - นายวีรพัฒน์ ปริยวงศ์ นักกฎหมายอิสระ ให้สัมภาษณ์ "มติชน" ถึงแนวทางทางออกของสถานการณ์การเมือง จากกรณีนายสุเทพ เทือกสุบรรณ เลขาธิการ กปปส. เสนอให้มีนายกฯพระราชทาน โดยยกเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 รวมทั้งแนวทางการแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 291 เพื่อเขียนบทเฉพาะกาลใหม่- แนวที่ขอให้มีนายกฯพระราชทานโดยยกเหตุการณ์ 14 ตุลา 2516
วิธีที่บอกว่าให้ใช้เหตุการณ์ในอดีตนั้น - เหตุการณ์ในอดีตไม่ใช่ตัวอย่างที่ดี แต่เป็นตัวอย่างของความวุ่นวายในบ้านเมือง ที่ไม่สามารถมีทางออกได้และเวลานั้นไม่เหมือนเวลานี้ แม้เวลานั้นจะมี อ.สัญญา ธรรมศักดิ์ แต่ก็มีสภานิติบัญญัติ มีประธานสภานิติบัญญัติที่จะเป็นผู้ลงนามสนองพระบรมราชโองการ แต่กรณีแบบนั้นอ้างไม่ได้ทั้งปวง เพราะวัตถุประสงค์ของ นายสุเทพ เทือกสุบรรณ คือการล้มรัฐบาล วิธีการเหล่านั้นคงไม่มีประโยชน์อะไร เพราะสุดท้ายจะทำสำเร็จหรือไม่ก็จะเกิดความวุ่นวายต่อไปจนกว่ารัฐบาลจะล้ม หรือกลับมาไม่ได้ และถ้าเจตนาที่แท้จริงเป็นเช่นนั้นก็ไม่มีอะไรที่จะต้องคุยกัน แต่หากวัตถุประสงค์ของนายสุเทพคือการปฏิรูปประเทศไทยให้พัฒนาขึ้นก็ไม่ต้องเสียเวลาไปทำอะไรให้วุ่นวาย มาตรา 7 ใช้ไม่ได้ เลิกพูดเรื่องมาตรา 7 ได้แล้ว เพราะในอดีตตอนนั้นเป็นวิกฤตทางการเมือง มีการเปลี่ยนแปลงอำนาจทางการเมืองที่ผิดแปลกไปจากรัฐธรรมนูญ อะไรที่ผิดปกติจากอดีตก็ไม่ควรเอามาทำให้เป็นเรื่องปกติ
นายสุเทพแค่บอกให้ชัดมาว่านายสุเทพต้องการปฏิรูปประเทศไทยในรูปแบบไหน ซึ่งวันนี้ก็ได้อธิบายมาบ้างแล้ว 6 แนวทาง เช่น ปฏิรูปการเลือกตั้งให้โปร่งใส ปฏิรูปตำรวจไม่ให้อยู่ภายใต้การครอบงำของนักการเมือง ปฏิรูปผู้ว่าราชการจังหวัดให้มาจากประชาชน วิธีที่ง่ายที่สุดโดยไม่ต้องไปเสียเวลาล้มรัฐบาล คือนายสุเทพเรียกร้องให้รัฐบาลเปิดเวทีหาทางออกทั้ง 6 เรื่องที่นายสุเทพเสนอมา เช่น ต้องการให้มีการเลือกตั้งที่โปร่งใสก็ให้รัฐบาลไปเชิญ กกต. 5 คน ที่กำลังจะเข้ามาใหม่ มาหารือกันว่า ถ้าเราจะแก้ไขเพิ่มเติมเกี่ยวกับกฎหมายการเลือกตั้งหรือแก้ไขตัวรัฐธรรมนูญ ที่ทำให้การเลือกตั้งสุจริตมากขึ้นคืออะไรแล้วทำเป็นข้อเสนอออกมา
ถ้าอยากได้ตำรวจที่ไม่อยู่ภายใต้นักการเมือง ก็เชิญผู้บังคับบัญชาตำรวจทั้งหลาย อดีตอธิบดีกรมตำรวจ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติทั้งอดีตและปัจจุบัน มาคุยกันว่าถ้าจะปฏิรูปโครงสร้างตำรวจจะมีสิ่งใดที่ทำได้บ้าง เช่นเดียวกัน เรื่องผู้ว่าราชการจังหวัด ก็ไปเชิญผู้ว่าฯทั่วประเทศมาหารือกัน หรือมีสูตรอื่นที่จะทำให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมมากขึ้นโดยไม่ต้องเลือกตั้ง เพราะในเชิงทฤษฎีหากรัฐบาลกลางตั้งมาโดยรัฐสภาที่มาจากประชาชนทั้งประเทศ แล้วไปให้แต่ละจังหวัดเลือกตั้งผู้ว่าฯเอง ถ้าเกิดความขัดแย้งกันจะมีปัญหาเกิดขึ้นตามมาเพราะโดยหลักการแล้วรัฐบาลต้องปกครองทั้งประเทศได้ เพราะระดับที่ใกล้ชิดกับประชาชน หรือที่เรียกว่าการปกครองส่วนท้องถิ่นมีบทบัญญัติรับรองไว้อยู่แล้ว ขอเสนอว่าแทนที่จะให้ประชาชนไปเลือกก็ให้สิทธิประชาชนในการเข้าชื่อถอดถอนผู้ว่าราชการจังหวัดได้ มีกระบวนการถอดถอนที่ง่ายขึ้นเพื่อให้ผู้ว่าฯหันไปดูแลประชาชนของตน
ข้อเสนอที่ให้แก้รัฐธรรมนูญมาตรา 291 เพื่อเพิ่มบทเฉพาะกาล - ข้อเสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 291 แก้ไขบทเฉพาะกาลของรัฐธรรมนูญก็ได้ว่าให้มีสภาประชาชนเพิ่มเข้ามา ควรระบุด้วยว่า สภาประชาชนมีหน้าตาอย่างไร เป็นมาอย่างไร ประกอบด้วยใครบ้าง จะอยู่ในตำแหน่งนานเท่าไหร่ นี่เป็นสิ่งที่นายสุเทพต้องไปเสนอให้ชัดเจน แต่ถ้าไม่ชัดเจน คนจึงไม่เข้าใจว่านายสุเทพต้องการอะไร แล้วแต่ละคนก็ใช้คำว่าสภาประชาชนแตกต่างกันออกไป หากนายสุเทพจริงใจก็เสนอเรื่องเหล่านี้ไปยังรัฐบาล หากนายสุเทพไม่เสนอก็จะเป็นเครื่องบ่งชี้ว่านายสุเทพไม่จริงใจ และเป็นหุ่นเชิดให้ "อำนาจมืด" ซึ่งหมายถึง กลุ่มประชาชนคนธรรมดา ที่นึกว่าตัวเองเป็นอภิสิทธิ์ชน นึกว่าตัวเองต้องมีสิทธิ มีเสียงมากกว่าคนทั่วไป และก็ใช้อำนาจในวงราชการ ทหาร ตำรวจ กลุ่มธุรกิจโดยการรวมกลุ่มกันออกมาปลุกระดมประชาชนให้ล้มรัฐบาล
อีกวิธีการหนึ่ง นอกจากแก้ไขมาตรา 291 คือ นายสุเทพควรจะใช้เวทีของนายสุเทพ สนับสนุนการลงมติวาระ 3 ให้มี ส.ส.ร. แล้วจากนั้นเมื่อประชาชนจะไปเลือก ส.ส.ร. นายสุเทพก็โปรดส่งมวลมหาประชาชนของนายสุเทพไปเดินขบวนเรียกร้องให้ ส.ส.ร.เป็นคนมาแก้ไขรัฐธรรมนูญให้มีสภาประชาชน เพราะ ส.ส.ร.จะเป็นใครก็ได้ มวลมหาประชาชนจะส่งตัวแทนไปลงสมัครเป็น ส.ส.ร.ก็ได้ แล้วไปสู้กันในเวที ส.ส.ร. ทำได้เลย……….ยังมีความหวัง และเชื่อในใจลึกๆ ว่านายสุเทพยังมีเจตนาดีต่อประเทศ การพูดคุยและหาทางออก วันนี้ทุกอย่างขึ้นอยู่กับนายสุเทพแล้วว่าจะแสดงออกถึงความจริงใจในการปฏิรูปประเทศอย่างไร
( มติชนออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 7 ธ.ค.56 )
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
นายวีรพัฒน์ ปริยวงศ์ นักกฎหมายอิสระ หมายเหตุ - นายวีรพัฒน์ ปริยวงศ์ นักกฎหมายอิสระ ให้สัมภาษณ์ "มติชน" ถึงแนวทางทางออกของสถานการณ์การเมือง จากกรณีนายสุเทพ เทือกสุบรรณ เลขาธิการ กปปส. เสนอให้มีนายกฯพระราชทาน โดยยกเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 รวมทั้งแนวทางการแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 291 เพื่อเขียนบทเฉพาะกาลใหม่- แนวที่ขอให้มีนายกฯพระราชทานโดยยกเหตุการณ์ 14 ตุลา 2516 วิธีที่บอกว่าให้ใช้เหตุการณ์ในอดีตนั้น - เหตุการณ์ในอดีตไม่ใช่ตัวอย่างที่ดี แต่เป็นตัวอย่างของความวุ่นวายในบ้านเมือง ที่ไม่สามารถมีทางออกได้และเวลานั้นไม่เหมือนเวลานี้ แม้เวลานั้นจะมี อ.สัญญา ธรรมศักดิ์ แต่ก็มีสภานิติบัญญัติ มีประธานสภานิติบัญญัติที่จะเป็นผู้ลงนามสนองพระบรมราชโองการ แต่กรณีแบบนั้นอ้างไม่ได้ทั้งปวง เพราะวัตถุประสงค์ของ นายสุเทพ เทือกสุบรรณ คือการล้มรัฐบาล วิธีการเหล่านั้นคงไม่มีประโยชน์อะไร เพราะสุดท้ายจะทำสำเร็จหรือไม่ก็จะเกิดความวุ่นวายต่อไปจนกว่ารัฐบาลจะล้ม หรือกลับมาไม่ได้ และถ้าเจตนาที่แท้จริงเป็นเช่นนั้นก็ไม่มีอะไรที่จะต้องคุยกัน แต่หากวัตถุประสงค์ของนายสุเทพคือการปฏิรูปประเทศไทยให้พัฒนาขึ้นก็ไม่ต้องเสียเวลาไปทำอะไรให้วุ่นวาย มาตรา 7 ใช้ไม่ได้ เลิกพูดเรื่องมาตรา 7 ได้แล้ว เพราะในอดีตตอนนั้นเป็นวิกฤตทางการเมือง มีการเปลี่ยนแปลงอำนาจทางการเมืองที่ผิดแปลกไปจากรัฐธรรมนูญ อะไรที่ผิดปกติจากอดีตก็ไม่ควรเอามาทำให้เป็นเรื่องปกติ นายวีรพัฒน์ ปริยวงศ์ นักกฎหมายอิสระ นายสุเทพแค่บอกให้ชัดมาว่านายสุเทพต้องการปฏิรูปประเทศไทยในรูปแบบไหน ซึ่งวันนี้ก็ได้อธิบายมาบ้างแล้ว 6 แนวทาง เช่น ปฏิรูปการเลือกตั้งให้โปร่งใส ปฏิรูปตำรวจไม่ให้อยู่ภายใต้การครอบงำของนักการเมือง ปฏิรูปผู้ว่าราชการจังหวัดให้มาจากประชาชน วิธีที่ง่ายที่สุดโดยไม่ต้องไปเสียเวลาล้มรัฐบาล คือนายสุเทพเรียกร้องให้รัฐบาลเปิดเวทีหาทางออกทั้ง 6 เรื่องที่นายสุเทพเสนอมา เช่น ต้องการให้มีการเลือกตั้งที่โปร่งใสก็ให้รัฐบาลไปเชิญ กกต. 5 คน ที่กำลังจะเข้ามาใหม่ มาหารือกันว่า ถ้าเราจะแก้ไขเพิ่มเติมเกี่ยวกับกฎหมายการเลือกตั้งหรือแก้ไขตัวรัฐธรรมนูญ ที่ทำให้การเลือกตั้งสุจริตมากขึ้นคืออะไรแล้วทำเป็นข้อเสนอออกมา ถ้าอยากได้ตำรวจที่ไม่อยู่ภายใต้นักการเมือง ก็เชิญผู้บังคับบัญชาตำรวจทั้งหลาย อดีตอธิบดีกรมตำรวจ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติทั้งอดีตและปัจจุบัน มาคุยกันว่าถ้าจะปฏิรูปโครงสร้างตำรวจจะมีสิ่งใดที่ทำได้บ้าง เช่นเดียวกัน เรื่องผู้ว่าราชการจังหวัด ก็ไปเชิญผู้ว่าฯทั่วประเทศมาหารือกัน หรือมีสูตรอื่นที่จะทำให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมมากขึ้นโดยไม่ต้องเลือกตั้ง เพราะในเชิงทฤษฎีหากรัฐบาลกลางตั้งมาโดยรัฐสภาที่มาจากประชาชนทั้งประเทศ แล้วไปให้แต่ละจังหวัดเลือกตั้งผู้ว่าฯเอง ถ้าเกิดความขัดแย้งกันจะมีปัญหาเกิดขึ้นตามมาเพราะโดยหลักการแล้วรัฐบาลต้องปกครองทั้งประเทศได้ เพราะระดับที่ใกล้ชิดกับประชาชน หรือที่เรียกว่าการปกครองส่วนท้องถิ่นมีบทบัญญัติรับรองไว้อยู่แล้ว ขอเสนอว่าแทนที่จะให้ประชาชนไปเลือกก็ให้สิทธิประชาชนในการเข้าชื่อถอดถอนผู้ว่าราชการจังหวัดได้ มีกระบวนการถอดถอนที่ง่ายขึ้นเพื่อให้ผู้ว่าฯหันไปดูแลประชาชนของตน นายวีรพัฒน์ ปริยวงศ์ นักกฎหมายอิสระ ข้อเสนอที่ให้แก้รัฐธรรมนูญมาตรา 291 เพื่อเพิ่มบทเฉพาะกาล - ข้อเสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 291 แก้ไขบทเฉพาะกาลของรัฐธรรมนูญก็ได้ว่าให้มีสภาประชาชนเพิ่มเข้ามา ควรระบุด้วยว่า สภาประชาชนมีหน้าตาอย่างไร เป็นมาอย่างไร ประกอบด้วยใครบ้าง จะอยู่ในตำแหน่งนานเท่าไหร่ นี่เป็นสิ่งที่นายสุเทพต้องไปเสนอให้ชัดเจน แต่ถ้าไม่ชัดเจน คนจึงไม่เข้าใจว่านายสุเทพต้องการอะไร แล้วแต่ละคนก็ใช้คำว่าสภาประชาชนแตกต่างกันออกไป หากนายสุเทพจริงใจก็เสนอเรื่องเหล่านี้ไปยังรัฐบาล หากนายสุเทพไม่เสนอก็จะเป็นเครื่องบ่งชี้ว่านายสุเทพไม่จริงใจ และเป็นหุ่นเชิดให้ "อำนาจมืด" ซึ่งหมายถึง กลุ่มประชาชนคนธรรมดา ที่นึกว่าตัวเองเป็นอภิสิทธิ์ชน นึกว่าตัวเองต้องมีสิทธิ มีเสียงมากกว่าคนทั่วไป และก็ใช้อำนาจในวงราชการ ทหาร ตำรวจ กลุ่มธุรกิจโดยการรวมกลุ่มกันออกมาปลุกระดมประชาชนให้ล้มรัฐบาล อีกวิธีการหนึ่ง นอกจากแก้ไขมาตรา 291 คือ นายสุเทพควรจะใช้เวทีของนายสุเทพ สนับสนุนการลงมติวาระ 3 ให้มี ส.ส.ร. แล้วจากนั้นเมื่อประชาชนจะไปเลือก ส.ส.ร. นายสุเทพก็โปรดส่งมวลมหาประชาชนของนายสุเทพไปเดินขบวนเรียกร้องให้ ส.ส.ร.เป็นคนมาแก้ไขรัฐธรรมนูญให้มีสภาประชาชน เพราะ ส.ส.ร.จะเป็นใครก็ได้ มวลมหาประชาชนจะส่งตัวแทนไปลงสมัครเป็น ส.ส.ร.ก็ได้ แล้วไปสู้กันในเวที ส.ส.ร. ทำได้เลย……….ยังมีความหวัง และเชื่อในใจลึกๆ ว่านายสุเทพยังมีเจตนาดีต่อประเทศ การพูดคุยและหาทางออก วันนี้ทุกอย่างขึ้นอยู่กับนายสุเทพแล้วว่าจะแสดงออกถึงความจริงใจในการปฏิรูปประเทศอย่างไร ขอบคุณ… http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1386343392&grpid=&catid=02&subcatid=0201 ( มติชนออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 7 ธ.ค.56 )
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)