จับภาพ"การเมืองไทย" ...เมื่อนายกฯ"ยุบสภา"

แสดงความคิดเห็น

ศาลรัฐธรรมนูญ

การเมืองไทยจะเดินไปทางไหน หลังจากที่ นายสุเทพ เทือกสุบรรณ แกนนำม็อบต้านร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม ประกาศทุบหม้อข้าว บุกทำเนียบรัฐบาล 9 ธ.ค. เพื่อทำศึกสุดท้าย โค่นล้มระบอบทักษิณ แนวทางของกลุ่มเคลื่อนไหว ก็คือ ให้รัฐบาลลาออก แต่ไม่ให้รักษาการ เพื่อให้มีการตั้งสภาประชาชน รัฐบาลประชาชนมาปฏิรูปการเมือง

ที่น่าสนใจก็คือ หากนายกฯ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ตัดสินใจยุบสภา แทนที่จะลาออก ผลที่จะตามมาคืออะไร มีกระแสข่าวระบุว่า แม้รัฐบาลยุบสภา แต่ก็ไม่แน่ว่าจะมีการเลือกตั้ง หรือมีเลือกตั้งเกิดขึ้น แต่จะมีปัญหาแทรกซ้อนตามมา

เทียบเคียงกับเหตุการณ์ในปี 2549 หลังจากเกิดการขับไล่รัฐบาลพรรคไทยรักไทยของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อย่างหนัก พ.ต.ท.ทักษิณได้ยุบสภาเมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2549 และกำหนดให้มีการเลือกตั้งในวันที่ 2 เมษายน 2549 พรรคประชาธิปัตย์กับพรรคร่วมฝ่ายค้านเดิมอีก 2 พรรค คือ พรรคชาติไทย และพรรคมหาชน คว่ำบาตรการเลือกตั้งในครั้งนั้นด้วยการไม่ส่งผู้สมัครลงเลือกตั้ง โดย ให้เหตุผลว่ารัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณยุบสภาโดยไม่ชอบธรรม และต่อมามีคำวินิจฉัยของศาลให้การเลือกตั้ง 2 เมษายน พ.ศ.2549 เป็นโมฆะ เนื่องจากคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) จัดการเลือกตั้งไม่ถูกต้องตามกฎหมาย เช่น มีการหันคูหาเลือกตั้งที่ทำให้การลงคะแนนไม่เป็นการลงคะแนนลับ

ไม่กี่เดือนจากนั้น เกิดการรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 คำถามคือ เหตุการณ์ที่พรรคต่างๆ จะไม่ลงเลือกตั้ง หากมีการยุบสภายังมีโอกาสเกิดขึ้นหรือไม่ นายจาตุรนต์ ฉายแสง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ในฐานะอดีตสมาชิกพรรคไทยรักไทย กล่าวว่า ขณะนี้ ไม่มีใครบอกได้ แต่ถ้าหากถามผม ผมคิดว่า ก็ยังมีความเป็นไปได้ที่บางพรรคการเมืองจะไม่ส่งลงสมัคร เพราะการเคลื่อนไหวที่ผ่านมา คือ การมุ่งไปสู่การเปลี่ยนระบบ ที่มิใช่วิถีทางของรัฐธรรมนูญนี้ ถ้าพรรคนี้เห็นว่า แม้เลือกตั้งเขาก็ไม่ชนะอยู่ดี เมื่อถามว่า หากสถานการณ์เป็นไปดังนี้ คือ ยุบสภาแต่มีพรรคการเมืองไม่ส่งผู้สมัครลงรับเลือกตั้ง จะทำให้เกิดสุญญากาศทางการเมืองขึ้นหรือไม่

นายจาตุรนต์กล่าวว่า ตนไม่ได้เสนอให้ยุบสภา แต่หากถามตามคำถามนี้ก็เชื่อว่าจะมีการเลือกตั้งกันไป ซึ่งก็จะต้องยอมรับว่าจะทำให้เกิดความอ่อนไหวทางการเมืองสูง และเสี่ยงต่อการที่จะนำไปสู่การยึดอำนาจได้อีกเหมือนปี 2549

ขณะที่ วีรพัฒน์ ปริยวงศ์ นักกฎหมายอิสระ มองประเด็นนี้ว่า ผมว่ารัฐบาลไม่มีปัญหากับการจะไปสู้ศึกเลือกตั้ง ปัญหามันอยู่ที่กลุ่มการเมืองอื่นๆ มากกว่า เพราะฉะนั้นวันนี้ทางออกก็คือ การยุบสภา ถามว่าหากมีพรรคการเมืองไม่ส่งผู้สมัคร ทำให้เกิดสุญญากาศควรหาทางออกอย่างไร

นายวีรพัฒน์กล่าวว่า ถ้าเป็นเช่นนั้นจริง ส.ส.ที่ยังเชื่อในระบบรัฐสภาก็ควรจะออกมาลาออก และออกมาตั้งพรรคใหม่เป็นพรรคการเมืองเลือกตั้งใหม่ที่มีคุณภาพ เป็นพรรคการเมืองที่มีความสร้างสรรค์ แล้วก็ให้ประชาชนเลือกว่าจะรับพรรคใหม่นี้ได้หรือไม่ หรือถ้ายังมีความจริงใจก็เสนอมาว่า ถ้าเราจะเลือกตั้งแล้ว ควรมีวิธีการอย่างไรที่สบายใจ และการเลือกตั้งนั้นควรจะบริสุทธ์ยุติธรรม ควรเสนอมาตรการอะไรในการป้องกันการทุจริต ถ้ามีการเลือกตั้งจะเอาอย่างไรก็บอกมา ออกแบบมา เพราะถ้าไม่บอกไม่พูดไม่ทำอะไร มันก็ไปไหนไม่ได้

ส่วน นายวิโรจน์ อาลี อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์ เห็นว่า หากเกิดการบอยคอตเลือกตั้ง การเมืองไทยจะกลับไปสู่ปี 2549 นำไปสู่ความวุ่นวายต่างๆ ผมคิดว่าสิ่งที่เขาต้องการคือกลับไปโมเดล 14 ต.ค.เลย ความต้องการของเขาอย่างหนึ่งก็คือ มีนายกฯพระราชทาน แล้วก็มีกระบวนการกลไกต่างๆ ที่คอยจัดการพรรคเพื่อไทยแล้ว ในขณะนี้เราพอที่จะเดาได้ คือเขาก็ต้องการที่จะหลีกหนีออกจากระบบการเลือกตั้งที่ต้องการเสียงส่วนใหญ่ พยายามปฏิรูปประชาธิปไตยโดยการตั้งสภาประชาชน ซึ่งจะทำให้ระบบมันซับซ้อน สับสนมากขึ้นไปอีก

ปัญหามันอยู่ที่สองส่วนด้วยกัน คืออยู่ที่รัฐบาล และรัฐธรรมนูญปี 50 ที่เป็นปัญหามาเรื่อยๆ มันเป็นรัฐธรรมนูญที่แฝงความเป็นเผด็จการและไม่มีความไว้เนื้อเชื่อใจต่อระบอบ การเมืองการปกครองสักเท่าไหร่ ซึ่งนำไปสู่ปัญหาที่สอง คือถูกออกแบบมาเพื่อให้ศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจเหนือกว่าสถาบันทางการเมือง อื่นๆ หรือฝ่ายอื่นๆ ฝ่ายบริหาร หรือฝ่ายอำนาจนิติบัญญัติ ทางแก้ปัญหานี้ ผมคิดว่ามาคุยกันที่ตัวระบบหรือตัวระบอบ โดยที่ทำอย่างไรก็ได้ที่ยึดโยงไปที่ประชาชนให้ได้มากที่สุด ให้ประชาชนได้เข้ามาตรวจสอบ เข้ามามีส่วนร่วมทางการเมืองโดยตรงมากขึ้นภายในระบบไม่ใช่การจัดตั้งสภาประชาชน ต้องกลับไปอยู่ในเกมสำคัญที่สุดคือ เกมประชาธิปไตย ถ้าวันนี้คุณสุเทพอ้างคนส่วนมากไม่เห็นด้วยกับตัวนโยบาย ไม่เห็นด้วยกับการทุจริตคอร์รัปชั่นของรัฐบาลนี้ก็ไม่มีปัญหา กลับไปเลือกตั้งใหม่

มองในแง่ดี พรรคไหนจะลงเลือกตั้ง มันไม่มีปัญหา ประชาธิปไตยมันมีกลไกในทางระบอบที่สามารถกลับไปถามฉันทามติของประชาชนส่วนมาก ผมว่าอย่างนี้ดี ถ้าเป็นอย่างอื่นอาจนำไปสู่ความขัดแย้งอีกต่อไปในอนาคตอีก อาจารย์รัฐศาสตร์ มธ.กล่าว และนี่คือภาพของการเมืองในอนาคตข้างหน้า ที่ยังไม่มีใครแน่ใจว่าจะเกิดอะไรขึ้น

ขอบคุณ http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1386550785&grpid=&catid=02&subcatid=0202 (ขนาดไฟล์: 167)

(มติชนออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 8 ธ.ค.56 )

ที่มา: มติชนออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 8 ธ.ค.56
วันที่โพสต์: 9/12/2556 เวลา 03:26:31 ดูภาพสไลด์โชว์ จับภาพ"การเมืองไทย" ...เมื่อนายกฯ"ยุบสภา"

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

ศาลรัฐธรรมนูญ การเมืองไทยจะเดินไปทางไหน หลังจากที่ นายสุเทพ เทือกสุบรรณ แกนนำม็อบต้านร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม ประกาศทุบหม้อข้าว บุกทำเนียบรัฐบาล 9 ธ.ค. เพื่อทำศึกสุดท้าย โค่นล้มระบอบทักษิณ แนวทางของกลุ่มเคลื่อนไหว ก็คือ ให้รัฐบาลลาออก แต่ไม่ให้รักษาการ เพื่อให้มีการตั้งสภาประชาชน รัฐบาลประชาชนมาปฏิรูปการเมือง ที่น่าสนใจก็คือ หากนายกฯ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ตัดสินใจยุบสภา แทนที่จะลาออก ผลที่จะตามมาคืออะไร มีกระแสข่าวระบุว่า แม้รัฐบาลยุบสภา แต่ก็ไม่แน่ว่าจะมีการเลือกตั้ง หรือมีเลือกตั้งเกิดขึ้น แต่จะมีปัญหาแทรกซ้อนตามมา เทียบเคียงกับเหตุการณ์ในปี 2549 หลังจากเกิดการขับไล่รัฐบาลพรรคไทยรักไทยของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อย่างหนัก พ.ต.ท.ทักษิณได้ยุบสภาเมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2549 และกำหนดให้มีการเลือกตั้งในวันที่ 2 เมษายน 2549 พรรคประชาธิปัตย์กับพรรคร่วมฝ่ายค้านเดิมอีก 2 พรรค คือ พรรคชาติไทย และพรรคมหาชน คว่ำบาตรการเลือกตั้งในครั้งนั้นด้วยการไม่ส่งผู้สมัครลงเลือกตั้ง โดย ให้เหตุผลว่ารัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณยุบสภาโดยไม่ชอบธรรม และต่อมามีคำวินิจฉัยของศาลให้การเลือกตั้ง 2 เมษายน พ.ศ.2549 เป็นโมฆะ เนื่องจากคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) จัดการเลือกตั้งไม่ถูกต้องตามกฎหมาย เช่น มีการหันคูหาเลือกตั้งที่ทำให้การลงคะแนนไม่เป็นการลงคะแนนลับ ไม่กี่เดือนจากนั้น เกิดการรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 คำถามคือ เหตุการณ์ที่พรรคต่างๆ จะไม่ลงเลือกตั้ง หากมีการยุบสภายังมีโอกาสเกิดขึ้นหรือไม่ นายจาตุรนต์ ฉายแสง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ในฐานะอดีตสมาชิกพรรคไทยรักไทย กล่าวว่า ขณะนี้ ไม่มีใครบอกได้ แต่ถ้าหากถามผม ผมคิดว่า ก็ยังมีความเป็นไปได้ที่บางพรรคการเมืองจะไม่ส่งลงสมัคร เพราะการเคลื่อนไหวที่ผ่านมา คือ การมุ่งไปสู่การเปลี่ยนระบบ ที่มิใช่วิถีทางของรัฐธรรมนูญนี้ ถ้าพรรคนี้เห็นว่า แม้เลือกตั้งเขาก็ไม่ชนะอยู่ดี เมื่อถามว่า หากสถานการณ์เป็นไปดังนี้ คือ ยุบสภาแต่มีพรรคการเมืองไม่ส่งผู้สมัครลงรับเลือกตั้ง จะทำให้เกิดสุญญากาศทางการเมืองขึ้นหรือไม่ นายจาตุรนต์กล่าวว่า ตนไม่ได้เสนอให้ยุบสภา แต่หากถามตามคำถามนี้ก็เชื่อว่าจะมีการเลือกตั้งกันไป ซึ่งก็จะต้องยอมรับว่าจะทำให้เกิดความอ่อนไหวทางการเมืองสูง และเสี่ยงต่อการที่จะนำไปสู่การยึดอำนาจได้อีกเหมือนปี 2549 ขณะที่ วีรพัฒน์ ปริยวงศ์ นักกฎหมายอิสระ มองประเด็นนี้ว่า ผมว่ารัฐบาลไม่มีปัญหากับการจะไปสู้ศึกเลือกตั้ง ปัญหามันอยู่ที่กลุ่มการเมืองอื่นๆ มากกว่า เพราะฉะนั้นวันนี้ทางออกก็คือ การยุบสภา ถามว่าหากมีพรรคการเมืองไม่ส่งผู้สมัคร ทำให้เกิดสุญญากาศควรหาทางออกอย่างไร นายวีรพัฒน์กล่าวว่า ถ้าเป็นเช่นนั้นจริง ส.ส.ที่ยังเชื่อในระบบรัฐสภาก็ควรจะออกมาลาออก และออกมาตั้งพรรคใหม่เป็นพรรคการเมืองเลือกตั้งใหม่ที่มีคุณภาพ เป็นพรรคการเมืองที่มีความสร้างสรรค์ แล้วก็ให้ประชาชนเลือกว่าจะรับพรรคใหม่นี้ได้หรือไม่ หรือถ้ายังมีความจริงใจก็เสนอมาว่า ถ้าเราจะเลือกตั้งแล้ว ควรมีวิธีการอย่างไรที่สบายใจ และการเลือกตั้งนั้นควรจะบริสุทธ์ยุติธรรม ควรเสนอมาตรการอะไรในการป้องกันการทุจริต ถ้ามีการเลือกตั้งจะเอาอย่างไรก็บอกมา ออกแบบมา เพราะถ้าไม่บอกไม่พูดไม่ทำอะไร มันก็ไปไหนไม่ได้ ส่วน นายวิโรจน์ อาลี อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์ เห็นว่า หากเกิดการบอยคอตเลือกตั้ง การเมืองไทยจะกลับไปสู่ปี 2549 นำไปสู่ความวุ่นวายต่างๆ ผมคิดว่าสิ่งที่เขาต้องการคือกลับไปโมเดล 14 ต.ค.เลย ความต้องการของเขาอย่างหนึ่งก็คือ มีนายกฯพระราชทาน แล้วก็มีกระบวนการกลไกต่างๆ ที่คอยจัดการพรรคเพื่อไทยแล้ว ในขณะนี้เราพอที่จะเดาได้ คือเขาก็ต้องการที่จะหลีกหนีออกจากระบบการเลือกตั้งที่ต้องการเสียงส่วนใหญ่ พยายามปฏิรูปประชาธิปไตยโดยการตั้งสภาประชาชน ซึ่งจะทำให้ระบบมันซับซ้อน สับสนมากขึ้นไปอีก ปัญหามันอยู่ที่สองส่วนด้วยกัน คืออยู่ที่รัฐบาล และรัฐธรรมนูญปี 50 ที่เป็นปัญหามาเรื่อยๆ มันเป็นรัฐธรรมนูญที่แฝงความเป็นเผด็จการและไม่มีความไว้เนื้อเชื่อใจต่อระบอบ การเมืองการปกครองสักเท่าไหร่ ซึ่งนำไปสู่ปัญหาที่สอง คือถูกออกแบบมาเพื่อให้ศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจเหนือกว่าสถาบันทางการเมือง อื่นๆ หรือฝ่ายอื่นๆ ฝ่ายบริหาร หรือฝ่ายอำนาจนิติบัญญัติ ทางแก้ปัญหานี้ ผมคิดว่ามาคุยกันที่ตัวระบบหรือตัวระบอบ โดยที่ทำอย่างไรก็ได้ที่ยึดโยงไปที่ประชาชนให้ได้มากที่สุด ให้ประชาชนได้เข้ามาตรวจสอบ เข้ามามีส่วนร่วมทางการเมืองโดยตรงมากขึ้นภายในระบบไม่ใช่การจัดตั้งสภาประชาชน ต้องกลับไปอยู่ในเกมสำคัญที่สุดคือ เกมประชาธิปไตย ถ้าวันนี้คุณสุเทพอ้างคนส่วนมากไม่เห็นด้วยกับตัวนโยบาย ไม่เห็นด้วยกับการทุจริตคอร์รัปชั่นของรัฐบาลนี้ก็ไม่มีปัญหา กลับไปเลือกตั้งใหม่ มองในแง่ดี พรรคไหนจะลงเลือกตั้ง มันไม่มีปัญหา ประชาธิปไตยมันมีกลไกในทางระบอบที่สามารถกลับไปถามฉันทามติของประชาชนส่วนมาก ผมว่าอย่างนี้ดี ถ้าเป็นอย่างอื่นอาจนำไปสู่ความขัดแย้งอีกต่อไปในอนาคตอีก อาจารย์รัฐศาสตร์ มธ.กล่าว และนี่คือภาพของการเมืองในอนาคตข้างหน้า ที่ยังไม่มีใครแน่ใจว่าจะเกิดอะไรขึ้น ขอบคุณ http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1386550785&grpid=&catid=02&subcatid=0202 (มติชนออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 8 ธ.ค.56 )

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...