ทางออกในรัฐธรรมนูญ
ถึงแม้นายสุเทพ เทือกสุบรรณ เลขาธิการ กปปส. จะประกาศ “ชัยชนะ”บางส่วน ไปแล้ว หลังจากฝ่ายรัฐบาลเปิดประตูรับกลุ่มผู้ชุมนุมต่อต้านให้เข้าไปในกองบัญชาการ ตำรวจนครบาลและทำเนียบรัฐบาล โดยไม่มีการต่อต้าน แต่เป็นเพียงชัยชนะ “เชิงสัญลักษณ์” ยังห่างไกลจากข้อเรียกร้องขอตั้งสภาประชาชน และตั้งรัฐบาลบริหารประเทศชั่วคราว
ถึงแม้นายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ ชินวัตร ประกาศจะยอมรับทางออกที่คนส่วนใหญ่ยอมรับ ไม่ว่าจะเป็นการลาออกหรือการยุบสภา จะไม่ติดยึดและเป็นปัญหาเสียเอง แต่ก็ปฏิเสธข้อเสนอเรื่องสภาประชาชนและการคืนอำนาจให้ประชาชน โดยอ้างว่าไม่มีบทกฎหมายหรือรัฐธรรมนูญรองรับ จึงมอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรีหารือกับนักวิชาการและกลุ่มอื่นๆ
ไม่น่าเชื่อว่าพรรคเพื่อไทยซึ่งสืบทอดคำขวัญ “คิดใหม่ทำใหม่” มาจากพรรคไทยรักไทย จะขัดสนจนปัญญาคิดไม่ออกว่าจะออกจากวิกฤติการเมืองได้อย่างไร ทั้งๆที่เคยแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 291 เพื่อยกเลิกรัฐธรรมนูญปัจจุบัน และยกร่างรัฐธรรมนูญใหม่ และต้องถือว่าเป็นการคิดใหม่ทำใหม่ เพราะมาตรา 291 ไม่มีบทบัญญัติให้แก้ไขรัฐธรรมนูญทั้งฉบับ
แม้แต่การออกกฎหมายนิรโทษกรรม ระดับผู้นำของรัฐบาลก็เคยคิดนอกกรอบหลังจากที่ผลักดันผ่านรัฐสภาไม่สำเร็จ จึงคิดจะออกเป็น “พระราชกำหนด” หรือ พ.ร.ก. แทนที่จะผ่านคณะรัฐมนตรี ตามปกติ แต่ให้ผ่านสภากลาโหม ขอความเห็นชอบจากบรรดาผู้นำเหล่าทัพ เพื่อไม่ให้ถูกต่อต้านทั้งในและนอกสภา แต่เคราะห์ดีที่ความแตกเสียก่อนจึงถูกระงับไป
การผ่าทางตันวิกฤติการเมือง ถ้าไม่อาจกระทำได้ตรงๆ ตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ อาจจะต้องใช้วิธีคิดใหม่ทำใหม่ หรือคิดนอกกรอบ แต่อิงบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ เช่น เลขาธิการ กปปส.เชื่อว่าอาจตั้งสภาประชาชน และรัฐบาลชั่วคราวได้ ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 3 และ 7 โดยปฏิบัติตามประเพณีประชาธิปไตย ถ้าไม่มีบทบัญญัติชัดแจ้งในรัฐธรรมนูญ
เช่นเดียวกับที่ประชุม อธิการบดีมหาวิทยาลัยทั่วประเทศ เสนอให้นายกรัฐมนตรียุบสภาและลาออก เพื่อเปิดทางให้จัดตั้งรัฐบาลแห่งชาติ บริหารประเทศเป็นการชั่วคราว จนกว่าจะมีการเลือกตั้งใหม่และ ศ.ดร.สมบัติ ธำรงธัญวงศ์ อดีตอธิการบดีสถาบันนิด้า เสนอให้ใช้มาตรา 3 เพื่อจัดตั้งรัฐบาลแห่งชาติ ทั้งหมดนี้ล้วนแต่เชื่อว่าถูกต้องตามรัฐธรรมนูญ รัฐบาลจะต้องไม่อ้างรัฐธรรมนูญให้เป็นปัญหาหรืออุปสรรคในการแก้วิกฤติประเทศชาติ จะต้องไม่มองในมิติทางกฎหมายเพียงอย่างเดียว แต่ต้องมองมิติทางการเมืองหรือรัฐศาสตร์ด้วย และรัฐบาลจะต้องมีจุดยืนที่มั่นคง ไม่กลับไปกลับมา เหมือนกับที่รองนายกรัฐมนตรี ผอ.ศอ.รส.คนใหม่ อ้างว่ายังไม่มีเหตุต้องยุบสภา สวนทางกับคำกล่าวของนายกรัฐมนตรี
ขอบคุณ... http://www.thairath.co.th/column/pol/editor/387344 (ขนาดไฟล์: 167)
(ไทยรัฐออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 11 ธ.ค.56)
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
ม็อบประท้วงรัฐบาลที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตยถึงแม้นายสุเทพ เทือกสุบรรณ เลขาธิการ กปปส. จะประกาศ “ชัยชนะ”บางส่วน ไปแล้ว หลังจากฝ่ายรัฐบาลเปิดประตูรับกลุ่มผู้ชุมนุมต่อต้านให้เข้าไปในกองบัญชาการ ตำรวจนครบาลและทำเนียบรัฐบาล โดยไม่มีการต่อต้าน แต่เป็นเพียงชัยชนะ “เชิงสัญลักษณ์” ยังห่างไกลจากข้อเรียกร้องขอตั้งสภาประชาชน และตั้งรัฐบาลบริหารประเทศชั่วคราว ถึงแม้นายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ ชินวัตร ประกาศจะยอมรับทางออกที่คนส่วนใหญ่ยอมรับ ไม่ว่าจะเป็นการลาออกหรือการยุบสภา จะไม่ติดยึดและเป็นปัญหาเสียเอง แต่ก็ปฏิเสธข้อเสนอเรื่องสภาประชาชนและการคืนอำนาจให้ประชาชน โดยอ้างว่าไม่มีบทกฎหมายหรือรัฐธรรมนูญรองรับ จึงมอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรีหารือกับนักวิชาการและกลุ่มอื่นๆ ไม่น่าเชื่อว่าพรรคเพื่อไทยซึ่งสืบทอดคำขวัญ “คิดใหม่ทำใหม่” มาจากพรรคไทยรักไทย จะขัดสนจนปัญญาคิดไม่ออกว่าจะออกจากวิกฤติการเมืองได้อย่างไร ทั้งๆที่เคยแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 291 เพื่อยกเลิกรัฐธรรมนูญปัจจุบัน และยกร่างรัฐธรรมนูญใหม่ และต้องถือว่าเป็นการคิดใหม่ทำใหม่ เพราะมาตรา 291 ไม่มีบทบัญญัติให้แก้ไขรัฐธรรมนูญทั้งฉบับ ม็อบประท้วงรัฐบาลที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย แม้แต่การออกกฎหมายนิรโทษกรรม ระดับผู้นำของรัฐบาลก็เคยคิดนอกกรอบหลังจากที่ผลักดันผ่านรัฐสภาไม่สำเร็จ จึงคิดจะออกเป็น “พระราชกำหนด” หรือ พ.ร.ก. แทนที่จะผ่านคณะรัฐมนตรี ตามปกติ แต่ให้ผ่านสภากลาโหม ขอความเห็นชอบจากบรรดาผู้นำเหล่าทัพ เพื่อไม่ให้ถูกต่อต้านทั้งในและนอกสภา แต่เคราะห์ดีที่ความแตกเสียก่อนจึงถูกระงับไป การผ่าทางตันวิกฤติการเมือง ถ้าไม่อาจกระทำได้ตรงๆ ตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ อาจจะต้องใช้วิธีคิดใหม่ทำใหม่ หรือคิดนอกกรอบ แต่อิงบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ เช่น เลขาธิการ กปปส.เชื่อว่าอาจตั้งสภาประชาชน และรัฐบาลชั่วคราวได้ ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 3 และ 7 โดยปฏิบัติตามประเพณีประชาธิปไตย ถ้าไม่มีบทบัญญัติชัดแจ้งในรัฐธรรมนูญ เช่นเดียวกับที่ประชุม อธิการบดีมหาวิทยาลัยทั่วประเทศ เสนอให้นายกรัฐมนตรียุบสภาและลาออก เพื่อเปิดทางให้จัดตั้งรัฐบาลแห่งชาติ บริหารประเทศเป็นการชั่วคราว จนกว่าจะมีการเลือกตั้งใหม่และ ศ.ดร.สมบัติ ธำรงธัญวงศ์ อดีตอธิการบดีสถาบันนิด้า เสนอให้ใช้มาตรา 3 เพื่อจัดตั้งรัฐบาลแห่งชาติ ทั้งหมดนี้ล้วนแต่เชื่อว่าถูกต้องตามรัฐธรรมนูญ รัฐบาลจะต้องไม่อ้างรัฐธรรมนูญให้เป็นปัญหาหรืออุปสรรคในการแก้วิกฤติประเทศชาติ จะต้องไม่มองในมิติทางกฎหมายเพียงอย่างเดียว แต่ต้องมองมิติทางการเมืองหรือรัฐศาสตร์ด้วย และรัฐบาลจะต้องมีจุดยืนที่มั่นคง ไม่กลับไปกลับมา เหมือนกับที่รองนายกรัฐมนตรี ผอ.ศอ.รส.คนใหม่ อ้างว่ายังไม่มีเหตุต้องยุบสภา สวนทางกับคำกล่าวของนายกรัฐมนตรี ขอบคุณ... http://www.thairath.co.th/column/pol/editor/387344 (ไทยรัฐออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 11 ธ.ค.56)
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)