เมดเลย์ความเห็นนักวิชาการรุ่นใหม่ ปฏิรูปการเมืองไทย ปฏิรูปอะไรก่อนดี
ภายหลังจากกระแสการปฏิรูปการเมืองถูกจุดขึ้นจากฝ่ายต่อต้านรัฐบาล และได้รับการขานรับจากทั้งสื่อและภาคประชาสังคม กระทั่งวันนี้นายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ ชินวัตรยังออกมาแถลง เสนอเป็นวาระแห่งชาติ อย่างไรก็ตาม สิ่งที่กำลังต้องการปฏิรูปในเมืองไทยย่อมมีมากกว่าแค่ตระกูลชินวัตร และการเลือกตั้งที่ถูกกล่าวหาว่าไม่บริสุทธิ์ยุติธรรม
ประชาไท ระดมความเห็นจากบรรดานักวิชาการรุ่นใหม่ จากหลากหลายมหาวิทยาลัย เสนอมุมมองของพวกเขาต่อประเด็นการปฏิรูปการเมือง ซึ่งสะท้อนสิ่งที่ต้องปฏิรูปในการเมืองไทยอย่างหลากหลาย อาทิ อำนาจนอกระบบเลือกตั้ง, การเรียนการสอนที่มีข้อเท็จจริงเพียงชุดเดียว, การ “ยกตนเหนือกว่าของคนเมือง” เป็นต้น อย่างไรก็ตาม สกู๊ปชิ้นนี้ไม่ได้ลงในรายละเอียดกระบวนการปฏิรูป และระยะเวลาที่เหมาะสม ขณะที่ผู้ให้สัมภาษณ์บางรายยืนยันว่า การปฏิรูปจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อหลังการเลือกตั้งไปแล้วเท่านั้น
ภาณุวัฒน์ พันธุ์ประเสริฐ รัฐศาสตร์ ม. เชียงใหม่
ถ้าให้เลือกปฏิรูปอย่างเดียวอาจจะน้อยไป จริงๆ คิดว่ามีหลายอย่างที่ควรทำพร้อมๆ กัน แต่ถ้าให้เลือกอย่างเดียวคืออยากปฏิรูปสิ่งที่เรียกอย่างกว้างๆ ว่า "อำนาจนอกระบบ" หรือ "พลังอนุรักษ์นิยม" คือควรหาวิธีที่ทำให้กลุ่มคนเหล่านี้เข้าใจบ้างว่าการแทรกแซงในการเมืองนั้น มีแต่จะเป็นผลเสียต่อระบอบประชาธิปไตย ซึ่งแน่นอนว่าถ้าจะเปลี่ยนทัศนคติคนก็คงทำได้ยาก ดังนั้นอาจต้องหาวิธีการทั้งระยะสั้นและระยะยาวทำควบคู่กันไป
เก่งกิจ กิติเรียงลาภ สังคมศาสตร์ ม. เชียงใหม่- ความขัดแย้งทางการเมืองไทยในปัจจุบันมีรากมาจากความเหลื่อมล้ำแตกต่างทางชนชั้นสุดขั้ว ระหว่างคนชั้นสูงและคนชั้นกลางระดับบน กับคนชั้นล่างทั้งในเมืองและชนบท หากจะปฏิรูปสังคมไทย และหากต้องการแก้ปัญหาความขัดแย้งทางการเมือง ต้องมีนโยบายหรือแนวทางลดความเหลื่อมล้ำที่เป็นรูปธรรม โดยเฉพาะแนวนโยบายสวัสดิการที่รับรองรายได้ขั้นต่ำของคนทุกคน หรือที่เรียกว่า basic income ที่คนทุกคนต้องมีรายได้ในระดับที่จะมีชีวิตที่ดีและพัฒนาศักยภาพตนเองได้ การลดช่องว่างทางสังคมด้วยมาตรการที่เป็นรูปธรรมจะทำให้ความขัดแย้งในระดับ ของรัฐที่ฝ่ายหนึ่งรังเกียจคนจนที่มีเสียงในสภาผ่านการเลือกตั้งลดลง และทำให้ทุกฝ่ายพึ่งพานโยบายสังคมที่มีลักษณะอุปถัมภ์ลดลงด้วย พรรคการเมืองจะเข้ามาอยู่ในเวทีที่การแข่งขันทางนโยบายเพื่อพัฒนาแนวทาง มาตรการทางสังคมและเศรษฐกิจอื่นๆภายใต้กรอบกติกามากขึ้น และจะไม่หันไปใช้วิธีนอกสภาเพื่อล้มระบอบทั้งระบอบแบบที่เกิดขึ้น
ธร ปิติดล เศรษฐศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์ - ปัญหาที่ผมเห็นว่าสำคัญที่สุดในเวลานี้ที่ต้องแก้ไขเพื่อให้สังคมไทยเดิน ต่อไปได้ คือต้องแก้ไข "โลกทรรศน์ อุดมการณ์ และวิธีการทำความเข้าใจต่อการเมือง" โดยเฉพาะ(แต่ไม่จำกัดเฉพาะ)กับคนชั้นกลางในประเทศไทย ผมมองว่าปัญหานี้หยั่งรากมาจากระบบการศึกษาและการเสพสื่อที่อุดมไปด้วยพร อพพากันดาที่ตกทอดมาจากยุคเผด็จการ ทำให้คนจำนวนมากยังไม่สามารถยอมรับในการอยู่ร่วมกันภายใต้ระบบประชาธิปไตย ที่คนมีสิทธิเท่าเทียมกันได้ เกิดอาการโหยหาเผด็จการคนดีอยู่เรื่อย นอกจากนี้การอยู่ในสภาพดังกล่าวยังนำไปสู่การขาดความสามารถในการคิดเชิง วิเคราะห์และวิพากษ์ด้วยตนเอง จนหลงติดหล่มอยู่กับอคติและมายาคติที่ต่อต้านประชาธิปไตยมากมาย เช่น ปัญหาหลักของประชาธิปไตยไทยอยู่ที่คนชนบทขาดการศึกษาและถูกซื้อเสียง โดยไม่สนใจจะตั้งคำถามต่อความเชื่อเหล่านี้ และที่สำคัญที่สุด การอยู่ในโลกทรรศน์ที่เน้นแต่คุณค่าความดีแบบราชาชาตินิยม ยังมักจะทำลายความสามารถพื้นฐานในการเข้าอกเข้าใจในความเป็นมนุษย์เท่าๆกัน ของคนอื่นๆในสังคมและการอดทนต่อความแตกต่างทางความคิด อันจะเห็นได้จากปรากฏการณ์ที่มีคนเที่ยวป่าวประกาศเอาความจงรักภักดีมาไล่กด หัวกลุ่มคนที่ตนเองเป็นศัตรูทางการเมืองและ/หรือคนที่มองปัญหาต่างไปจากตน เอง
ตฤณ ไอยะรา อาจารย์หลักสูตรรัฐศาสตร์ สำนักวิชาศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ - สิ่งที่ควรกระทำเป็นลำดับแรกๆ ของการปฏิรูปการเมือง คือพรรคการเมือง ซึ่งเป็นกลไกอันสำคัญในการเปลี่ยนสิทธิและเสรีภาพทางการเมืองของปุถุชนให้กลายเป็นคุณภาพชีวิตที่จับต้องได้ โดยจำเป็นต้องมีกลไกหรือกระบวนการที่ทำให้พรรคการเมืองยึดโยงกับปุถุชนมาก ขึ้นพร้อมไปกับเลิกการพึ่งพิงวิธีการที่ไม่เป็นไปตามครรลองประชาธิปไตย เพื่อนำไปสู่การแข่งขันทางนโยบายที่ทำให้ประชาชนมีตัวเลือกทางนโยบายที่หลาก หลายและตอบสนองต่อโจทย์ในการดำเนินชีวิตของพวกเขา แน่นอนว่าความเห็นประการนี้อาจดูซ้ำซากไปบ้าง แต่มันคงยากที่จะปฏิเสธว่าพรรคการเมืองคือรากฐานสำคัญประการหนึ่งของระบอบ ประชาธิปไตย
จันจิรา สมบัติพูนศิริ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และศูนย์ข่าวสารสันติภาพ - สิ่งที่คิดว่าควรได้รับการใส่ใจ หากมีการปฏิรูปใดๆเกิดขึ้นคือ โครงสร้างสังคมวัฒนธรรมของกรุงเทพฯ แม้ว่าประเด็นนี้จะดูขัดกระแสปฎิรูปประเทศไทย แต่ข้าพเจ้าเห็นว่าอาการ “ยกตนเหนือกว่าของคนเมือง” (urban superiority) เป็นส่วนหนึ่งของความอดรนทนไม่ได้กับความต่าง รวมถึงในการกดคนชนบทให้ต่ำกว่าตนใหหลายสถานการณ์ สิ่งเหลานี้เป็นผืนดินที่หล่อเลี้ยงวัฒนธรรมอำนาจนิยมในสังคมไทย ทั้งยังผลักให้ความขัดแย้งทางการเมืองที่ดำรงมาหลายปีแหลมคมขึ้นด้วยการกัน คนชนบทออกไปจากกระบวนตัดสินใจทางการเมือง
ในฐานะคนกรุง ข้าพเจ้าเห็นว่าความมหัศจรรย์ของกรุงเทพฯ คือการเป็นสังคมที่เปิดรับผู้มาเยือนจากต่างถิ่น (นิตยสาร Forbes จัดให้กรุงเทพฯ เป็นเมืองที่มีผู้มาท่องเที่ยวมากที่สุดในปี 2556) ชุมชนชาติพันธุ์ต่างๆ ในกรุงเทพฯ เช่นจีน อินเดีย อาหรับ และญี่ปุ่น รวมถึงการอยู่ร่วมกันระหว่างคนกรุงเทพฯ และ “คนอื่น” เหล่านี้สะท้อนการแบ่งปันพื้นที่ทั้งทางกายภาพและทางจินตนากรรมกับกลุ่มคน ที่ต่างจากตน กระนั้นก็ดี อคติของคนกรุงเกี่ยวกับคนต่างจังหวัดเข้มข้นขึ้นสวนทางกับความเป็น cosmopolitan ในฐานะเมืองท่องเที่ยวระดับโลก โดยเฉพาะในการประท้วงครั้งล่าสุด คนกรุงซึ่งเป็นผู้ประท้วงส่วนใหญ่ยังคงมีมโนภาพเกี่ยวกับคนชนบทว่าล้าหลัง ไม่มีการศึกษา ยากจน และถูกนักการเมือง “ซื้อ” ได้ง่าย วิธีคิดเช่นนี้เชื่อมโยงกับอคติต่อนักการเมืองและระบอบประชาธิปไตย ตรรกะง่ายๆ คือประชาธิปไตยให้ความสำคัญกับเสียงส่วนมาก แต่เสียงส่วนมากในประเทศไทยคือเสียงจากชนบท ซึ่งยัง “ไม่พร้อม” (เพราะ “โง่” “จน” ฯลฯ) ฉะนั้นประเทศไทยจึงยังไม่ “โต” พอที่จะรับประชาธิปไตยเต็มใบ นี่นำไปสู่การไม่ยอมรับรัฐบาลที่มาจากเสียงส่วนใหญ่คือคนชนบท ความขัดแย้งที่เราเผชิญมาหลายปี ในทางหนึ่ง สะท้อนความปรารถนาทางการเมืองของคนชนบทที่ดังขึ้น ทว่าเมื่อสียงนี้แทรกเข้ามาในพื้นที่กรุงเทพฯ คนกรุงยังคงได้ยินเสียงเหล่านั้นว่าเป็นเสียงของผู้ไม่พร้อมจะกำหนดชะตา ชีวิตทางการเมืองของตนเอง
หากกรุงเทพฯให้พื้นที่กับ “คนอื่น” ในนัยของชุมชนชาติพันธุ์อื่นและนักท่องเที่ยวจากหลากดินแดนได้ การโอ้มอุ้ม “ความเป็นชนบท” เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของกรุงเทพฯ ก็อาจไม่ใช่เรื่องยากเกินไป? ในระยะยาว สิ่งที่ต้องทำคือ “ให้การศึกษา” คนกรุงเทพฯ เกี่ยวกับชนบทที่เปลี่ยนไป (อาจฟังยอกย้อนแต่ข้าพเจ้าหมายความเช่นนั้นจริงๆ!) ผ่านการปรับเปลี่ยนตำราเรียนหรือกระทั่งโครงเรื่องละครหลังข่าว เป็นต้น ในระยะสั้น คนกรุงอาจจต้องเริ่มคิดเกี่ยวกับพื้นที่กรุงเทพฯ (ในทางกายภาพ) เสียใหม่ ขณะนี้การประท้วงกลายเป็นเครื่องมือสนทนาของกลุ่มที่มีแนวคิดทางการ เมืองอย่างน้อยสองฝักฝ่ายซึ่งต่างอ้างเป้าหมายในการสร้างความเข้มแข็งให้แก่ สังคมการเมืองไทย ฉะนั้นคนกรุงอาจต้องแบ่งปันกรุงเทพฯ ในฐานะพื้นที่ทางกายภาพกับผู้ซึ่งมาจากที่อื่นหากแต่ต้องการเปล่งความ ปรารถนาทางการเมืองของตนให้คนส่วนกลางได้สดับฟัง การแบ่งปันนี้ยังรวมถึงความสร้างความเข้าใจว่า “คนชนบท” มีสิทธิ์เสียงเท่าคนกรุง ตลอดจนให้ที่ทางกับวัฒนธรรมการชุมนุมประท้วงของชนบทซึ่งคนกรุงรู้สึกไม่คุ้น เคย ในแง่นี้ ผุ้ชุมนุมจากต่างจังหวัดจึงมิใช่แค่ผู้มาเยือน แต่คือเจ้าของพื้นที่กรุงเทพฯ เหมือนกัน
อันธิฌา แสงชัย คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ - เราควรปฏิรูปอะไร? และอย่างไร? ถ้าคิดแบบเร็วๆและค่อนข้างหยาบดิฉันขอเสนอ 2 ประเด็น ประเด็นที่ 1 ความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในปัจจุบันไม่ควรมองด้านเดียว มันไม่ใช่แค่ปัญหาเชิงโครงสร้าง ปัญหาความชอบธรรม ความเป็นธรรม ระบอบทักษิณ สถาบันการเมือง ตุลาการ การคอรัปชั่นหรือแม้แต่สถาบันกษัตริย์ จุดเชื่อมโยงของความคิดและชุดคุณค่าของคนในสังคมที่กำลังแตกสลายออกจากกัน นั้นเป็นผลจากปัจจัยทั้งหมดที่ว่ามา มันสร้างความกลัวขึ้นเต็มไปหมด “ฉันกลัวอะไร?” “คุณกลัวอะไร?” กลัวทักษิณ กลัวรัฐประหาร กลัวไม่ได้เลือกตั้ง กลัวการคอรัปชั่น กลัวสถาบันอันเป็นที่รักจะถูกทำลาย ความกลัวนี้สำคัญ เพราะในที่สุดมันเป็นที่มาของรอยแยกเหล่านั้น เป็นสิ่งที่ขับดันให้ต่างฝ่ายต้องออกมาต่อสู้ โจทย์ของการปฏิรูปจึงต้องแก้ไขเยียวยาความกลัวทั้งหลาย คนที่ต้องการล้มระบอบทักษิณ คุณจะทำอย่างไรกับคนที่เขาต้องการเลือกตั้ง? คนที่เดินหน้าเลือกตั้ง คุณจะทำอย่างไรกับการคอรัปชั่นและนักการเมืองที่ใช้อำนาจ? จะตอบคำถามที่น่ากังวลใจของอีกฟากฝั่งความคิดได้อย่างไร? ที่ต้องเน้นตรงนี้คือการปฏิรูปใดๆก็ตามที่ไปเพิ่มพูนความกลัวแบบใดแบบหนึ่ง มันไม่ใช่การปฏิรูป แต่เป็นทางตันที่นำไปสู่ความรุนแรงในสังคม การปฏิรูปต้องคุยกันได้ ณ เวลานี้เราต้องการพื้นที่กลางและทุกฝ่ายจำเป็นต้องหัดรับฟัง คุณเสนอความต้องการของคุณได้แต่ต้องตอบคำถามความกังวลใจของอีกฝ่ายด้วย และประเด็นที่ 2 อย่างเป็นรูปธรรม ไม่ใช่แค่ฝ่ายการเมืองเท่านั้นที่ต้องปฏิรูป ดิฉันมองว่าทุกสถาบันทางสังคมก็ต้องยอมรับการปฏิรูปด้วย ทหาร ตุลาการ องค์กรอิสระ การศึกษา ศาสนา หรือแม้แต่สถาบันกษัตริย์ก็ถึงเวลาแล้วที่จะต้องทำให้เกิดกลไกการตรวจสอบที่ เชื่อถือได้ การปฏิรูปควรเป็นนโยบายของทุกพรรคการเมืองที่ไปทำการบ้านแล้วให้ประชาชนเป็น ผู้ตัดสินใจผ่านการลงประชามติ สุดท้ายหากต้องการเดินหน้าปฏิรูปประเทศมีสามสิ่งที่ทุกฝ่ายควรถือไว้เป็นธง (1) เคารพกติกาโดยใช้กลไกที่มีอยู่ (2) ยอมรับอำนาจของประชาชน และ (3) ยึดหลักการประชาธิปไตย ผิดจากนี้ก็มองไม่เห็นทางลงแบบไหนที่ไม่ใช่ความรุนแรงค่ะ
ลลิตา หิงคานนท์ ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม - ดิฉันมองว่ามองว่าสังคมไทยต้องการการปฏิรูปในสองระดับ (layer) ด้วยกัน ระดับแรกคือระดับที่เป็นรูปธรรมหน่อย และระดับต่อมาคือระดับที่เป็นนามธรรมหรือเป็น "อุดมคติ" อาจจะปรับได้เล็กน้อย แต่ต้องใช้เวลามากพอสมควร ในส่วนที่เป็นนามธรรมนั้น ดิฉันเห็นว่าการปฏิรูปต้องไม่ใช่การปฏิรูปเฉพาะสถาบันทางการเมืองเท่านั้น แต่ต้องปรับรื้อและปรับแก้กันทั้งระบบ เราปฏิเสธไม่ได้ว่าสถาบันอื่น ๆ ทั้งสถาบันทางการศึกษา สถาบันสงฆ์ และกระทรวงทบวงกรมต่าง ๆ ถูกสูบเข้าไปให้เล่นการเมืองหมดแล้ว เห็นได้จากการที่ข้าราชการประจำวิ่งเต้นตำแหน่งกับนักการเมืองได้ในปัจจุบัน ตำแหน่งผู้บริหารตามมหาวิทยาลัยทุกวันนี้ก็เต็มไปด้วยการวิ่งเต้นและการยึด ติดกับ "ความอาวุโส" อย่างเหนียวแน่น สถาบันเหล่านี้จึงไม่ได้ผู้ที่มีความรู้ความสามารถอย่างแท้จริงเข้าไปบริหาร งาน ตำแหน่งผู้บริหารเหล่านี้ควรเป็นตำแหน่งที่มาจากการเลือกตั้ง โดยเปิดโอกาสให้คนทุกคนในองค์กรนั้นมีสิทธิได้เลือกผู้บริหารของตนเองอย่าง โปร่งใส ส่วนในระดับที่สองคือระดับที่เป็นอุดมคติหรือคุณธรรม-จริยธรรมนั้น ดิฉันเป็นว่าปัญหาของสังคมไทยเกิดจากสถาบันครอบครัวเป็นอันดับแรก ไม่ใช่บอกว่าสถาบันครอบครัวไทยไม่ดี ไม่อบอุ่น แต่ปัญหาอยู่ที่สถาบันครอบครัวไทยอบอุ่นจนเกินไป เกิดค่านิยมที่ฝังหัวต่อ ๆ กันมาจากรุ่นสู่รุ่นว่า "เถียงพ่อแม่เป็นบาป" หรือ "เด็กก็ควรอยู่ส่วนเด็ก" ความคิดเหล่านี้ทำให้เด็กไม่ได้ถูกปลูกฝังให้คิดแบบวิพากย์ ทำอะไรเรื่อย ๆ ตามที่พ่อแม่เห็นว่าดี โดยที่เขาอาจจะไม่ชอบเลยก็ได้ นอกจากนี้สังคมไทยโดยเฉพาะสังคมคนเมือง ยังชอบสปอยล์เด็ก ขออะไรก็ให้ พ่อแม่ซื้อไอโฟนให้ลูกใช้ตั้งแต่อยู่ประถมก็มี สิ่งเหล่านี้ทำให้เด็กไทยมีปัญหา "หนักไม่เอาเบาไม่สู้" ประวัติศาสตร์ไทยเองก็ไม่เคยมีประวัติของความสูญเสียหรือการล้างเผ่าพันธุ์ อย่างที่เพื่อนบ้านเราประสบ (อย่าอ้างว่าเราเคยเสียกรุงศรีอยุธยามาแล้วถึงสองครั้ง เพราะสงครามคราวเสียกรุงฯ สร้างความสูญเสียต่อชีวิตและทรัพย์สินน้อยมากเมื่อเทียบกับสงครามเวียตนาม สงครามกลางเมืองในลาว หรือในกัมพูชา) เยาวชนหรือแม้แต่ผู้ใหญ่เองจึงไม่เคยตระหนักว่าความลำบากนั้นเป็นอย่างไร ทั้งหมดนี้มันทำให้คนไทยมีความเป็น "ไทย ๆ" สูง นอกจากจะไม่เขาใจความลำบากแล้ว ยังดูถูกเพื่อนบ้านว่าต่ำต้อยกว่าตนเองมาตลอด ครอบครัวจึงควรส่งเสริมให้เด็ก ๆ แสดงออก ให้เห็นคุณค่าของเงิน ให้เด็ก ๆ หางานพิเศษทำได้ เป็นต้น ดิฉันอาจจะพูดในแนวอุดมคติมากเกินไป แต่ทุกวันนี้นักวิเคราะห์หลายคนก็เห็นตรงกันว่าวิกฤตการณ์ทางการเมืองไทยมัน สื่อให้เห็นถึงการแบ่งแยกชนชั้นอย่างมีนัยยะสำคัญในสังคมไทย เพราะพ่อแม่และคนในเมืองยังมีทัศนคติแบบนี้อยู่ ประเทศนี้คงไม่สามารถเข้าสู่ยุคปฏิรูปได้อย่างจริงจัง หากไม่มีกระบวนการ "ละลายพฤติกรรม" ที่ดิฉันกล่าวมาไปบ้าง
ศาสวัต บุญศรี อาจารย์ประจำคณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยศิลปากร - ในฐานะอาจารย์สอนด้านสื่อ ต้องปฏิรูปวิธีการเรียนการสอนให้เลิกสอนอะไรเป็นชุดเดียวก่อนครับ ผมว่ามันเป็นปัญหาที่เราจะฆ่ากันแบบทุกวันนี้น่ะครับ
เอกรินทร์ ต่วนศิริ อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ มอ. ปัตตานี - การปฎิรูป ควรทำหลังจากการเลือกตั้ง แน่นอน วันที่ 2 กพ. 57 เป็นวันเลือกตั้ง ของปวงประชาชนไทย การปฎิรูป ควรจัดระดับความความสำคัญและคำนึงถึงบริบทของสังคมการเมือง หากต้องเลือกการปฎิรูปอย่างแรก หลังจากการเลือกตั้ง ควรต้อง "ปฎิรูปการเมือง" เช่น เรื่อง รัฐธรรมนูญ การกระจายอำนาจ เรื่องการกระจายอำนาจ อยากเห็นพรรคการเมืองใหญ่พูดตรงๆ เช่น การเลือกตั้งผู้ว่าฯและในกรณีสามจังหวัด เขตการปกครองพิเศษ
ณัฐกร วิทิตานนท์ สำนักวิชานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง - การปฏิรูปเพื่อให้เกิดการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น ถือเป็นเรื่องสำคัญอย่างหนึ่ง ที่จริงมุมมองที่หลายคนคิดก็คือการป้องกันรัฐประหารนั้น รูปแบบหนึ่งก็คือทำให้ท้องถิ่นใหญ่ขึ้น ทำให้มีอำนาจ เพื่อลดบทบาทการเมืองส่วนกลาง ถ้าประเทศมีการกระจายอำนาจ การรัฐประหารจะทำได้ยาก เพราะเมื่อรัฐประหารแล้ว ที่เคยยึดอำนาจได้เลยทีเดียวนั้นก็จะยากขึ้น คณะรัฐประหารจะใช้บังคับกฎหมายทั่วประเทศไม่ได้ จะไม่ราบคาบเหมือนทุกครั้ง
แต่ก่อนนั้นหลังเหตุการณ์พฤษภาคม 2535 มีการรณรงค์ให้มีการกระจายอำนาจ เลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัด เพื่อป้องกันการผูกขาดอำนาจ ป้องกันรัฐประหาร เพราะเดิมอำนาจส่วนกลางเป็นใหญ่ อย่างไรก็ตามรัฐบาลผสมในเวลานั้นนำข้อเสนอทางนโยบายไปปฏิบัติอีกแบบ กลายเป็นกระจายอำนาจระดับให้มีองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) แต่ต่อมา รัฐธรรมนูญปี 2540 ก็มีเนื้อหาส่งเสริมการกระจายอำนาจ ซึ่งผลของรัฐธรรมนูญ 2540 สร้างการเปลี่ยนแปลงได้มาก
ผลของรัฐธรรมนูญ 2540 นั้น ทำให้ในปี 2542 มี "พ.ร.บ.กำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น" กำหนดให้ภายในปี 2549 ท้องถิ่นต้องมีสัดส่วนงบประมาณร้อยละ 35 เมื่อเทียบกับส่วนกลาง และตั้งแต่ปี 2542 เป็นต้นมาท้องถิ่นได้รับงบประมาณจากส่วนกลางมากขึ้นจนได้สัดส่วนร้อยละ 25 ในปี 2549 และรัฐบาลในเวลานั้นพยายามผลักดันให้มีการถ่ายโอนหน่วยงานสาธารณสุขและการ ศึกษาให้มาสังกัดท้องถิ่นเพื่อที่จะถ่ายโอนงบประมาณให้ได้ในสัดส่วนร้อยละ 35 ตามที่ พ.ร.บ.กระจายอำนาจกำหนด แต่มีข้าราชการไม่เห็นด้วย ไม่ต้องการย้ายมาสังกัดท้องถิ่น
อย่างไรก็ตามเกิดรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 เสียก่อน และกฎหมายแรกๆ ที่สภานิติบัญญัติแห่งชาติผลักดันก็คือแก้ไข พ.ร.บ.กระจายอำนาจ โดยแก้ไขไม่ให้กำหนดเงื่อนเวลาของการถ่ายโอนงบประมาณเอาไว้ ทำให้ทุกวันนี้สัดส่วนงบประมาณที่ท้องถิ่นได้รับเพิ่มขึ้นทุกปี แต่เพิ่มไม่ถึงร้อยละ 1 เป็นเพียงเลขจุดทศนิยมเท่านั้น ทุกวันนี้สัดส่วนงบประมาณที่ท้องถิ่นได้รับจากส่วนกลางอยู่ที่ร้อยละ 27 คือเพิ่มขึ้นแค่ร้อยละ 2 เท่านั้นในรอบ 7 ปี
ทั้งนี้ต้องยอมรับว่ารัฐประหาร และการกระจายอำนาจเป็นสิ่งที่ไม่ไปด้วยกัน ล่าสุดมีข้อเสนอจาก นพ.ประเวศ วะสี ประธานคณะสมัชชาปฏิรูปประเทศ เสนอให้ปฏิรูปโครงสร้างอำนาจ ยกเลิกการปกครองส่วนภูมิภาค ให้เหลือแต่ส่วนกลางกับท้องถิ่น แต่ข้อเสนอก็มาเป็นพักๆ แล้ววูบไป ข้อสำคัญคือไม่มีพลังผลักดัน เช่นเดียวกับข้อเสนอ พ.ร.บ.จังหวัดจัดการตนเอง ให้มีการเลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัด ซึ่งมีการผลักดัน 40 กว่าจังหวัด แต่จะทำให้สำเร็จนั้นยาก เพราะการจะผลักดันให้มีการกระจายอำนาจต้องทำให้อยู่ในรัฐธรรมนูญ เหมือนรัฐธรรมนูญปี 2540 ส่วนข้อเสนอเลือกตั้งผู้ว่าราชการของ กปปส. นั้น เป็นเพราะต้องการเรียกความสนับสนุนเท่านั้น แต่ฐานคิดของ กปปส. ที่ไม่ต้องการให้มีการเลือกตั้งระดับประเทศ ดังนั้นจะไปด้วยกันกับการสนับสนุนให้เลือกตั้งระดับท้องถิ่นได้อย่างไร
ขอบคุณ… http://prachatai.com/journal/2013/12/50582 (ขนาดไฟล์: 167)
( ประชาไทออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 21 ธ.ค.56 )
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
ภายหลังจากกระแสการปฏิรูปการเมืองถูกจุดขึ้นจากฝ่ายต่อต้านรัฐบาล และได้รับการขานรับจากทั้งสื่อและภาคประชาสังคม กระทั่งวันนี้นายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ ชินวัตรยังออกมาแถลง เสนอเป็นวาระแห่งชาติ อย่างไรก็ตาม สิ่งที่กำลังต้องการปฏิรูปในเมืองไทยย่อมมีมากกว่าแค่ตระกูลชินวัตร และการเลือกตั้งที่ถูกกล่าวหาว่าไม่บริสุทธิ์ยุติธรรม ประชาไท ระดมความเห็นจากบรรดานักวิชาการรุ่นใหม่ จากหลากหลายมหาวิทยาลัย เสนอมุมมองของพวกเขาต่อประเด็นการปฏิรูปการเมือง ซึ่งสะท้อนสิ่งที่ต้องปฏิรูปในการเมืองไทยอย่างหลากหลาย อาทิ อำนาจนอกระบบเลือกตั้ง, การเรียนการสอนที่มีข้อเท็จจริงเพียงชุดเดียว, การ “ยกตนเหนือกว่าของคนเมือง” เป็นต้น อย่างไรก็ตาม สกู๊ปชิ้นนี้ไม่ได้ลงในรายละเอียดกระบวนการปฏิรูป และระยะเวลาที่เหมาะสม ขณะที่ผู้ให้สัมภาษณ์บางรายยืนยันว่า การปฏิรูปจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อหลังการเลือกตั้งไปแล้วเท่านั้น ภาณุวัฒน์ พันธุ์ประเสริฐ รัฐศาสตร์ ม. เชียงใหม่ ภาณุวัฒน์ พันธุ์ประเสริฐ รัฐศาสตร์ ม. เชียงใหม่ ถ้าให้เลือกปฏิรูปอย่างเดียวอาจจะน้อยไป จริงๆ คิดว่ามีหลายอย่างที่ควรทำพร้อมๆ กัน แต่ถ้าให้เลือกอย่างเดียวคืออยากปฏิรูปสิ่งที่เรียกอย่างกว้างๆ ว่า "อำนาจนอกระบบ" หรือ "พลังอนุรักษ์นิยม" คือควรหาวิธีที่ทำให้กลุ่มคนเหล่านี้เข้าใจบ้างว่าการแทรกแซงในการเมืองนั้น มีแต่จะเป็นผลเสียต่อระบอบประชาธิปไตย ซึ่งแน่นอนว่าถ้าจะเปลี่ยนทัศนคติคนก็คงทำได้ยาก ดังนั้นอาจต้องหาวิธีการทั้งระยะสั้นและระยะยาวทำควบคู่กันไป เก่งกิจ กิติเรียงลาภ สังคมศาสตร์ ม. เชียงใหม่ เก่งกิจ กิติเรียงลาภ สังคมศาสตร์ ม. เชียงใหม่- ความขัดแย้งทางการเมืองไทยในปัจจุบันมีรากมาจากความเหลื่อมล้ำแตกต่างทางชนชั้นสุดขั้ว ระหว่างคนชั้นสูงและคนชั้นกลางระดับบน กับคนชั้นล่างทั้งในเมืองและชนบท หากจะปฏิรูปสังคมไทย และหากต้องการแก้ปัญหาความขัดแย้งทางการเมือง ต้องมีนโยบายหรือแนวทางลดความเหลื่อมล้ำที่เป็นรูปธรรม โดยเฉพาะแนวนโยบายสวัสดิการที่รับรองรายได้ขั้นต่ำของคนทุกคน หรือที่เรียกว่า basic income ที่คนทุกคนต้องมีรายได้ในระดับที่จะมีชีวิตที่ดีและพัฒนาศักยภาพตนเองได้ การลดช่องว่างทางสังคมด้วยมาตรการที่เป็นรูปธรรมจะทำให้ความขัดแย้งในระดับ ของรัฐที่ฝ่ายหนึ่งรังเกียจคนจนที่มีเสียงในสภาผ่านการเลือกตั้งลดลง และทำให้ทุกฝ่ายพึ่งพานโยบายสังคมที่มีลักษณะอุปถัมภ์ลดลงด้วย พรรคการเมืองจะเข้ามาอยู่ในเวทีที่การแข่งขันทางนโยบายเพื่อพัฒนาแนวทาง มาตรการทางสังคมและเศรษฐกิจอื่นๆภายใต้กรอบกติกามากขึ้น และจะไม่หันไปใช้วิธีนอกสภาเพื่อล้มระบอบทั้งระบอบแบบที่เกิดขึ้น ธร ปิติดล เศรษฐศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์ - ปัญหาที่ผมเห็นว่าสำคัญที่สุดในเวลานี้ที่ต้องแก้ไขเพื่อให้สังคมไทยเดิน ต่อไปได้ คือต้องแก้ไข "โลกทรรศน์ อุดมการณ์ และวิธีการทำความเข้าใจต่อการเมือง" โดยเฉพาะ(แต่ไม่จำกัดเฉพาะ)กับคนชั้นกลางในประเทศไทย ผมมองว่าปัญหานี้หยั่งรากมาจากระบบการศึกษาและการเสพสื่อที่อุดมไปด้วยพร อพพากันดาที่ตกทอดมาจากยุคเผด็จการ ทำให้คนจำนวนมากยังไม่สามารถยอมรับในการอยู่ร่วมกันภายใต้ระบบประชาธิปไตย ที่คนมีสิทธิเท่าเทียมกันได้ เกิดอาการโหยหาเผด็จการคนดีอยู่เรื่อย นอกจากนี้การอยู่ในสภาพดังกล่าวยังนำไปสู่การขาดความสามารถในการคิดเชิง วิเคราะห์และวิพากษ์ด้วยตนเอง จนหลงติดหล่มอยู่กับอคติและมายาคติที่ต่อต้านประชาธิปไตยมากมาย เช่น ปัญหาหลักของประชาธิปไตยไทยอยู่ที่คนชนบทขาดการศึกษาและถูกซื้อเสียง โดยไม่สนใจจะตั้งคำถามต่อความเชื่อเหล่านี้ และที่สำคัญที่สุด การอยู่ในโลกทรรศน์ที่เน้นแต่คุณค่าความดีแบบราชาชาตินิยม ยังมักจะทำลายความสามารถพื้นฐานในการเข้าอกเข้าใจในความเป็นมนุษย์เท่าๆกัน ของคนอื่นๆในสังคมและการอดทนต่อความแตกต่างทางความคิด อันจะเห็นได้จากปรากฏการณ์ที่มีคนเที่ยวป่าวประกาศเอาความจงรักภักดีมาไล่กด หัวกลุ่มคนที่ตนเองเป็นศัตรูทางการเมืองและ/หรือคนที่มองปัญหาต่างไปจากตน เอง ตฤณ ไอยะรา อาจารย์หลักสูตรรัฐศาสตร์ สำนักวิชาศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ตฤณ ไอยะรา อาจารย์หลักสูตรรัฐศาสตร์ สำนักวิชาศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ - สิ่งที่ควรกระทำเป็นลำดับแรกๆ ของการปฏิรูปการเมือง คือพรรคการเมือง ซึ่งเป็นกลไกอันสำคัญในการเปลี่ยนสิทธิและเสรีภาพทางการเมืองของปุถุชนให้กลายเป็นคุณภาพชีวิตที่จับต้องได้ โดยจำเป็นต้องมีกลไกหรือกระบวนการที่ทำให้พรรคการเมืองยึดโยงกับปุถุชนมาก ขึ้นพร้อมไปกับเลิกการพึ่งพิงวิธีการที่ไม่เป็นไปตามครรลองประชาธิปไตย เพื่อนำไปสู่การแข่งขันทางนโยบายที่ทำให้ประชาชนมีตัวเลือกทางนโยบายที่หลาก หลายและตอบสนองต่อโจทย์ในการดำเนินชีวิตของพวกเขา แน่นอนว่าความเห็นประการนี้อาจดูซ้ำซากไปบ้าง แต่มันคงยากที่จะปฏิเสธว่าพรรคการเมืองคือรากฐานสำคัญประการหนึ่งของระบอบ ประชาธิปไตย จันจิรา สมบัติพูนศิริ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จันจิรา สมบัติพูนศิริ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และศูนย์ข่าวสารสันติภาพ - สิ่งที่คิดว่าควรได้รับการใส่ใจ หากมีการปฏิรูปใดๆเกิดขึ้นคือ โครงสร้างสังคมวัฒนธรรมของกรุงเทพฯ แม้ว่าประเด็นนี้จะดูขัดกระแสปฎิรูปประเทศไทย แต่ข้าพเจ้าเห็นว่าอาการ “ยกตนเหนือกว่าของคนเมือง” (urban superiority) เป็นส่วนหนึ่งของความอดรนทนไม่ได้กับความต่าง รวมถึงในการกดคนชนบทให้ต่ำกว่าตนใหหลายสถานการณ์ สิ่งเหลานี้เป็นผืนดินที่หล่อเลี้ยงวัฒนธรรมอำนาจนิยมในสังคมไทย ทั้งยังผลักให้ความขัดแย้งทางการเมืองที่ดำรงมาหลายปีแหลมคมขึ้นด้วยการกัน คนชนบทออกไปจากกระบวนตัดสินใจทางการเมือง ในฐานะคนกรุง ข้าพเจ้าเห็นว่าความมหัศจรรย์ของกรุงเทพฯ คือการเป็นสังคมที่เปิดรับผู้มาเยือนจากต่างถิ่น (นิตยสาร Forbes จัดให้กรุงเทพฯ เป็นเมืองที่มีผู้มาท่องเที่ยวมากที่สุดในปี 2556) ชุมชนชาติพันธุ์ต่างๆ ในกรุงเทพฯ เช่นจีน อินเดีย อาหรับ และญี่ปุ่น รวมถึงการอยู่ร่วมกันระหว่างคนกรุงเทพฯ และ “คนอื่น” เหล่านี้สะท้อนการแบ่งปันพื้นที่ทั้งทางกายภาพและทางจินตนากรรมกับกลุ่มคน ที่ต่างจากตน กระนั้นก็ดี อคติของคนกรุงเกี่ยวกับคนต่างจังหวัดเข้มข้นขึ้นสวนทางกับความเป็น cosmopolitan ในฐานะเมืองท่องเที่ยวระดับโลก โดยเฉพาะในการประท้วงครั้งล่าสุด คนกรุงซึ่งเป็นผู้ประท้วงส่วนใหญ่ยังคงมีมโนภาพเกี่ยวกับคนชนบทว่าล้าหลัง ไม่มีการศึกษา ยากจน และถูกนักการเมือง “ซื้อ” ได้ง่าย วิธีคิดเช่นนี้เชื่อมโยงกับอคติต่อนักการเมืองและระบอบประชาธิปไตย ตรรกะง่ายๆ คือประชาธิปไตยให้ความสำคัญกับเสียงส่วนมาก แต่เสียงส่วนมากในประเทศไทยคือเสียงจากชนบท ซึ่งยัง “ไม่พร้อม” (เพราะ “โง่” “จน” ฯลฯ) ฉะนั้นประเทศไทยจึงยังไม่ “โต” พอที่จะรับประชาธิปไตยเต็มใบ นี่นำไปสู่การไม่ยอมรับรัฐบาลที่มาจากเสียงส่วนใหญ่คือคนชนบท ความขัดแย้งที่เราเผชิญมาหลายปี ในทางหนึ่ง สะท้อนความปรารถนาทางการเมืองของคนชนบทที่ดังขึ้น ทว่าเมื่อสียงนี้แทรกเข้ามาในพื้นที่กรุงเทพฯ คนกรุงยังคงได้ยินเสียงเหล่านั้นว่าเป็นเสียงของผู้ไม่พร้อมจะกำหนดชะตา ชีวิตทางการเมืองของตนเอง หากกรุงเทพฯให้พื้นที่กับ “คนอื่น” ในนัยของชุมชนชาติพันธุ์อื่นและนักท่องเที่ยวจากหลากดินแดนได้ การโอ้มอุ้ม “ความเป็นชนบท” เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของกรุงเทพฯ ก็อาจไม่ใช่เรื่องยากเกินไป? ในระยะยาว สิ่งที่ต้องทำคือ “ให้การศึกษา” คนกรุงเทพฯ เกี่ยวกับชนบทที่เปลี่ยนไป (อาจฟังยอกย้อนแต่ข้าพเจ้าหมายความเช่นนั้นจริงๆ!) ผ่านการปรับเปลี่ยนตำราเรียนหรือกระทั่งโครงเรื่องละครหลังข่าว เป็นต้น ในระยะสั้น คนกรุงอาจจต้องเริ่มคิดเกี่ยวกับพื้นที่กรุงเทพฯ (ในทางกายภาพ) เสียใหม่ ขณะนี้การประท้วงกลายเป็นเครื่องมือสนทนาของกลุ่มที่มีแนวคิดทางการ เมืองอย่างน้อยสองฝักฝ่ายซึ่งต่างอ้างเป้าหมายในการสร้างความเข้มแข็งให้แก่ สังคมการเมืองไทย ฉะนั้นคนกรุงอาจต้องแบ่งปันกรุงเทพฯ ในฐานะพื้นที่ทางกายภาพกับผู้ซึ่งมาจากที่อื่นหากแต่ต้องการเปล่งความ ปรารถนาทางการเมืองของตนให้คนส่วนกลางได้สดับฟัง การแบ่งปันนี้ยังรวมถึงความสร้างความเข้าใจว่า “คนชนบท” มีสิทธิ์เสียงเท่าคนกรุง ตลอดจนให้ที่ทางกับวัฒนธรรมการชุมนุมประท้วงของชนบทซึ่งคนกรุงรู้สึกไม่คุ้น เคย ในแง่นี้ ผุ้ชุมนุมจากต่างจังหวัดจึงมิใช่แค่ผู้มาเยือน แต่คือเจ้าของพื้นที่กรุงเทพฯ เหมือนกัน อันธิฌา แสงชัย คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)