อนาคต การเมือง อนาคต ประชาธิปัตย์ บนฐาน อนิจจัง
การตัดสินใจของพรรคประชาธิปัตย์ ในการลงมติเห็นชอบ "บอยคอต" ไม่ลงเลือกตั้งในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2557 เฉียบขาด มั่นคง แม้ครั้งนี้มิได้เป็นครั้งแรกหากกล่าวสำหรับพรรคประชาธิปัตย์ เพราะเคยมีมติเช่นนี้มาแล้วอย่างน้อยก็ 2 คราว 1 เมื่อปี 2495 ยุคของ นายควง อภัยวงศ์ 1 เมื่อปี 2549 ยุคของ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ กล่าวสำหรับ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะนี่เป็นการตัดสินใจครั้งที่ 2 อันเป็นสถานการณ์ที่เกือบเหมือนกับเมื่อปี 2549 แต่ก็ไม่เหมือนทุกอย่าง เหมือนตรงที่ยังคงเป็นการประท้วงและมีเป้าหมายอยู่กับสิ่งที่เรียกว่า "ระบอบทักษิณ" แต่ไม่เหมือนตรงที่1 ไม่ได้รับความเห็นชอบจากพรรคการเมืองอื่น 1 เป็นการบอยคอตประสานกันไปกับการเคลื่อนไหวชุมนุมทางการเมือง อาศัยการเมือง "ข้างถนน" ล้มการเมืองใน "ระบบ"
ความโน้มเอียงอย่างสำคัญของพรรคประชาธิปัตย์ในการตัดสินใจครั้งนี้ สะท้อนความโน้มเอียงที่จะดำเนินการเมืองในแบบ "ข้างถนน" นั่นคือ โน้มเอียงไปทาง "พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย" การจัดตั้ง "คณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงประเทศไทย ให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์อันมีพระ มหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข" หรือ "กปปส." คือ บทบาทในลักษณะแห่ง "อวตาร" เป็นอวตารแห่งพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย มิได้เป็นอวตารแห่งพรรคประชาธิปัตย์ แต่ "อวตาร" นี้ก็ยากที่ "ประชาธิปัตย์" จะปฏิเสธความรับผิดชอบได้ ทุกการเคลื่อนไหวของ "กปปส." จึงแนบแน่นกับ "ประชาธิปัตย์"ไม่เพียงเพราะนาย
สุเทพ เทือกสุบรรณ เคยเป็นเลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ หากแต่แกนนำทั้งหลายล้วนเคยเป็น ส.ส.ของพรรคประชาธิปัตย์ ทั้งยังน่าจะเป็น "สมาชิก" ของ "พรรคประชาธิปัตย์" อยู่ หากการเคลื่อนไหวบนท้องถนนของ กปปส.และพรรคประชาธิปัตย์ประสบชัยชนะได้ความสำเร็จก็ไม่มีปัญหา เพราะคงเข้าไปเสพเสวยความสำเร็จได้โดยดี แต่ถ้า "ล้มเหลว" และ "พ่ายแพ้" เล่า มีความเป็นไปได้ว่า ไม่ว่า นายสุเทพ เทือกสุบรรณ ที่นำ กปปส. ไม่ว่า นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ที่เป็นหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ล้วนตีตั๋วชนิด"วันเวย์"
นั่นก็คือ คิดเอาเองด้วยความมั่นใจเป็นอย่างสูงว่าจะต้องได้ชัยชนะ สามารถโค่น น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร สามารถล้มล้างสิ่งที่เรียกว่า "ระบอบทักษิณ" ได้ มั่นใจเพราะตื่นเต้นกับ "มวลมหาประชาชน" มั่นใจเพราะมั่นใจใน "แบ๊กอัพ" หรือ "เส้น" ที่เคยก่อการจนประสบความสำเร็จมาแล้วในเดือนกันยายน 2549 จึง "แก้ผ้า" แทงหวยอย่างชนิด "หมดตัว" เพราะหากไม่มีความมั่นใจอย่าว่าแต่ นายสุเทพ เทือกสุบรรณ เลย แม้กระทั่งกองเชียร์ซึ่งเคยเล่นบท "อีแอบ" อย่างยาวนาน ไม่ว่าจะเป็น "อธิการบดี" ไม่ว่าจะเป็น "คุณหมอ" ไม่ว่าจะเป็น "นักธุรกิจ" คงไม่กล้า "เปิดหน้า" ออกมาชัดแจ๋ว ระดับนี้
กระนั้น ลักษณะ "ยืดเยื้อ" ที่รัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ยื้อจากวันที่ 8 ตุลาคม เรื่อยมาจนถึงจะสิ้นปี 2556 ก็ไม่ควรมองข้าม อาจ "ยื้อ" จนถึง "2 กุมภาพันธ์" หากการสมัครรับเลือกตั้งประสบผลสำเร็จ หากมีการเลือกตั้งทั่วไปในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ ไม่ ว่าผลการเลือกตั้งจะออกมาอย่างไร แต่อนาคต กปปส.ก็อยู่ในจุดที่ไม่แน่นอน และอาจทำให้อนาคตพรรคประชาธิปัตย์อยู่ในจุดที่ไม่แน่นอนไปด้วย "ผล" เช่นนี้ "ประชาธิปัตย์" คิดไว้บ้างไหม
(มติชนออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 28 ธ.ค.56 )
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
การตัดสินใจของพรรคประชาธิปัตย์ ในการลงมติเห็นชอบ "บอยคอต" ไม่ลงเลือกตั้งในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2557 เฉียบขาด มั่นคง แม้ครั้งนี้มิได้เป็นครั้งแรกหากกล่าวสำหรับพรรคประชาธิปัตย์ เพราะเคยมีมติเช่นนี้มาแล้วอย่างน้อยก็ 2 คราว 1 เมื่อปี 2495 ยุคของ นายควง อภัยวงศ์ 1 เมื่อปี 2549 ยุคของ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ กล่าวสำหรับ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะนี่เป็นการตัดสินใจครั้งที่ 2 อันเป็นสถานการณ์ที่เกือบเหมือนกับเมื่อปี 2549 แต่ก็ไม่เหมือนทุกอย่าง เหมือนตรงที่ยังคงเป็นการประท้วงและมีเป้าหมายอยู่กับสิ่งที่เรียกว่า "ระบอบทักษิณ" แต่ไม่เหมือนตรงที่1 ไม่ได้รับความเห็นชอบจากพรรคการเมืองอื่น 1 เป็นการบอยคอตประสานกันไปกับการเคลื่อนไหวชุมนุมทางการเมือง อาศัยการเมือง "ข้างถนน" ล้มการเมืองใน "ระบบ" คณะพรรคประชาธิปัตย์ความโน้มเอียงอย่างสำคัญของพรรคประชาธิปัตย์ในการตัดสินใจครั้งนี้ สะท้อนความโน้มเอียงที่จะดำเนินการเมืองในแบบ "ข้างถนน" นั่นคือ โน้มเอียงไปทาง "พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย" การจัดตั้ง "คณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงประเทศไทย ให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์อันมีพระ มหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข" หรือ "กปปส." คือ บทบาทในลักษณะแห่ง "อวตาร" เป็นอวตารแห่งพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย มิได้เป็นอวตารแห่งพรรคประชาธิปัตย์ แต่ "อวตาร" นี้ก็ยากที่ "ประชาธิปัตย์" จะปฏิเสธความรับผิดชอบได้ ทุกการเคลื่อนไหวของ "กปปส." จึงแนบแน่นกับ "ประชาธิปัตย์"ไม่เพียงเพราะนาย สุเทพ เทือกสุบรรณ เคยเป็นเลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ หากแต่แกนนำทั้งหลายล้วนเคยเป็น ส.ส.ของพรรคประชาธิปัตย์ ทั้งยังน่าจะเป็น "สมาชิก" ของ "พรรคประชาธิปัตย์" อยู่ หากการเคลื่อนไหวบนท้องถนนของ กปปส.และพรรคประชาธิปัตย์ประสบชัยชนะได้ความสำเร็จก็ไม่มีปัญหา เพราะคงเข้าไปเสพเสวยความสำเร็จได้โดยดี แต่ถ้า "ล้มเหลว" และ "พ่ายแพ้" เล่า มีความเป็นไปได้ว่า ไม่ว่า นายสุเทพ เทือกสุบรรณ ที่นำ กปปส. ไม่ว่า นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ที่เป็นหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ล้วนตีตั๋วชนิด"วันเวย์" นั่นก็คือ คิดเอาเองด้วยความมั่นใจเป็นอย่างสูงว่าจะต้องได้ชัยชนะ สามารถโค่น น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร สามารถล้มล้างสิ่งที่เรียกว่า "ระบอบทักษิณ" ได้ มั่นใจเพราะตื่นเต้นกับ "มวลมหาประชาชน" มั่นใจเพราะมั่นใจใน "แบ๊กอัพ" หรือ "เส้น" ที่เคยก่อการจนประสบความสำเร็จมาแล้วในเดือนกันยายน 2549 จึง "แก้ผ้า" แทงหวยอย่างชนิด "หมดตัว" เพราะหากไม่มีความมั่นใจอย่าว่าแต่ นายสุเทพ เทือกสุบรรณ เลย แม้กระทั่งกองเชียร์ซึ่งเคยเล่นบท "อีแอบ" อย่างยาวนาน ไม่ว่าจะเป็น "อธิการบดี" ไม่ว่าจะเป็น "คุณหมอ" ไม่ว่าจะเป็น "นักธุรกิจ" คงไม่กล้า "เปิดหน้า" ออกมาชัดแจ๋ว ระดับนี้ กระนั้น ลักษณะ "ยืดเยื้อ" ที่รัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ยื้อจากวันที่ 8 ตุลาคม เรื่อยมาจนถึงจะสิ้นปี 2556 ก็ไม่ควรมองข้าม อาจ "ยื้อ" จนถึง "2 กุมภาพันธ์" หากการสมัครรับเลือกตั้งประสบผลสำเร็จ หากมีการเลือกตั้งทั่วไปในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ ไม่ ว่าผลการเลือกตั้งจะออกมาอย่างไร แต่อนาคต กปปส.ก็อยู่ในจุดที่ไม่แน่นอน และอาจทำให้อนาคตพรรคประชาธิปัตย์อยู่ในจุดที่ไม่แน่นอนไปด้วย "ผล" เช่นนี้ "ประชาธิปัตย์" คิดไว้บ้างไหม ขอบคุณ… http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1388217833&grpid=01&catid=&subcatid= (มติชนออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 28 ธ.ค.56 )
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)