‘อบรมบ่มฝัน’ เพื่อคนพิการหัวใจรักดนตรี
‘ดนตรี’ เป็นเครื่องมืออีกอย่างหนึ่งที่สามารถสร้างความสุขให้แก่ผู้คนในสังคมได้ เพราะ ‘ดนตรี’ คือ สื่อที่ทรงพลัง เป็นเครื่องมือในการถ่ายทอดอารมณ์ความรู้สึก ช่วยบอกเล่าเรื่องราวต่าง ๆ ได้อย่างลึกซึ้ง เข้าใจง่าย และเข้าถึงผู้คนทุกระดับ
เมื่อเร็ว ๆ นี้ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับ เครือข่ายศิลปะดนตรีคนพิการ และ มูลนิธิเพื่อเด็กพิการ จัดงานพิธีมอบประกาศเกียรติบัตร กิจกรรม “อบรมบ่มฝัน” โครงการพัฒนาศักยภาพด้านดนตรี เพื่อส่งเสริมพัฒนาศักยภาพด้านดนตรีของคนพิการและไม่พิการให้มีคุณภาพ สามารถนำไปประกอบอาชีพต่อไปได้
มานิดา โศภิษฐพงศ์ ผู้ประสานงานโครงการพัฒนาศักยภาพด้านดนตรี กล่าวว่า ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมานั้น ทางเครือข่ายศิลปะดนตรีคนพิการ ได้จัดกิจกรรมเพื่อขับเคลื่อนงานด้านดนตรีและศิลปะอย่างต่อเนื่อง การทำงานทุกขั้นตอนนั้น เครือข่ายศิลปะดนตรีคนพิการให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมและการริเริ่มทำงาน ต่าง ๆ ของคนพิการ ทั้งในระดับการตัดสินใจและระดับปฏิบัติงาน เพื่อให้การขับเคลื่อนครั้งนี้ เป็นงานที่ขับเคลื่อนโดยคนพิการอย่างแท้จริง
สำหรับกิจกรรม “อบรมบ่มฝัน” มีเป้าหมายเพื่อพัฒนาและยกระดับทักษะความสามารถด้านดนตรีให้แก่ผู้ร่วม โครงการทั้งผู้พิการและผู้ไม่พิการ ด้วยการเรียนรู้กับวิทยากรผู้เชี่ยวชาญด้านต่าง ๆ ในวงการดนตรี โดยใช้ระยะเวลาอบรมประมาณ 1 ปี แบ่งเป็นหลักสูตรต่าง ๆ เช่น แต่งเพลง ร้องเพลง กีตาร์ คีย์บอร์ด บันทึกเสียง ฯลฯ ตลอดจนพัฒนาบุคลิกภาพและการแสดง
“การจัดกิจกรรมให้ทั้งคนที่พิการและไม่พิการได้อยู่ร่วมกัน ถือเป็นอีกหนึ่งจุดมุ่งหมายที่สำคัญ ซึ่งผลลัพธ์ที่ได้นอกจากการได้พัฒนาทักษะด้านดนตรีแล้ว นั่นคือความช่วยเหลือเกื้อกูล ทำให้เกิดมิตรภาพระหว่างคนที่มีสภาพร่างกายต่างกัน แต่มีหัวใจรักดนตรีเหมือนกัน” มานิดา กล่าว
อัญชลี สีแสงอินทร์ หรือ ปิง นักศึกษาผู้เข้าร่วมโครงการ บอกว่า หากพูดถึง ‘เสียงดนตรี’ ถือเป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติ ที่อยู่ใกล้ตัวเรา และมีความผูกพันกันมายาวนานตั้งแต่แรกเกิด เช่น จะได้ยินเสียงเห่กล่อมตอนเป็นเด็กนอนอยู่ในเปล ซึ่งส่วนตัวแล้วเมื่อได้ยินเสียงดนตรีใด ๆ ก็ตาม จะรู้สึกเหมือนมีอะไรมา
กระตุ้นให้รู้สึกสดชื่น จิตใจสบาย
สำหรับสาเหตุที่ปิงตัดสินใจเข้าร่วมโครงการ อันดับแรกคืออยากได้ประสบการณ์ที่ดีด้านดนตรีเพื่อพัฒนาความสามารถที่มีให้ ดีเพิ่มขึ้น และสิ่งสำคัญคือการเรียนรู้การอยู่ร่วมกันกับผู้พิการ ที่หลายคนอาจมองว่ายาก แต่สำหรับปิงแล้ว เขามองว่าไม่ว่าร่างกายจะต่างกันแค่ไหน แต่ทุกคนล้วนมีสิ่งที่เหมือนกัน ก็คือความเป็นคนดนตรี “เมื่อได้อยู่ร่วมกันกับผู้พิการแล้วตนรู้สึกว่าเขาเหล่านั้นมีจิตใจที่เต็ม เปี่ยมไปด้วยกำลังใจ ความพยายามไม่ย่อท้อ และที่สำคัญคือความสามารถที่ไม่ได้ด้อยไปกว่าคนธรรมดาเลย” นักศึกษาผู้เข้าร่วมโครงการ กล่าวด้วยรอยยิ้ม
สุทัศน์ วิมลสม หรือ เข้ม หนึ่งในผู้พิการที่เข้าร่วมโครงการ กล่าวว่า การเล่นดนตรีนอกจากจะช่วยเยียวยาจิตใจของผู้พิการได้แล้ว ยังจะช่วยพัฒนาศักยภาพของคนพิการให้มีความคล่องตัวขึ้น จนนำไปสู่การพัฒนาทักษะการเล่นดนตรีให้สามารถเล่นเป็นวง และแสดงในที่สาธารณะได้ในที่สุด ซึ่งสิ่งนี้เองที่จะช่วยสร้างความเชื่อมั่น ความภาคภูมิใจ และพัฒนาความสามารถด้านดนตรีและด้านอื่นๆ ต่อไปได้อีกมากมาย
“ต้องขอบคุณโครงการอบรมบ่มฝัน และเหล่าวิทยากรนักดนตรี ศิลปิน บุคคลผู้อยู่เบื้องหลังในวงการเพลง ที่ได้ให้ความกรุณามาถ่ายทอดเป็นความรู้ และประสบการณ์ เพราะจากความทุ่มเทและเสียสละของทุก ๆ ท่านทำให้เกิดเป็นกำลังอันมหาศาลที่มาช่วยผลักดันให้พวกเราก้าวเดินในสังคม ด้วยความมั่นใจยิ่งขึ้น” สุทัศน์ กล่าว แม้ดนตรีจะมีความหลากหลายทั้งประเภทและเนื้อหา แต่ดนตรีก็มีอะไรบางอย่างที่สามารถเชื่อมประสานกันได้ เปรียบเสมือนบุคคลที่มีความต่างทั้งร่างกาย ต่างทัศนคติแต่สามารถอยู่ร่วมกันได้ เสมือนคำกล่าวที่ว่า ดนตรีนั้นไร้พรมแดน.
article@dailynews.co.th
ขอบคุณ... http://m.dailynews.co.th/Article.do?contentId=205237
เดลินิวส์ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 29 ธ.ค.56
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
วงดนตรีคนตาบอด ‘ดนตรี’ เป็นเครื่องมืออีกอย่างหนึ่งที่สามารถสร้างความสุขให้แก่ผู้คนในสังคมได้ เพราะ ‘ดนตรี’ คือ สื่อที่ทรงพลัง เป็นเครื่องมือในการถ่ายทอดอารมณ์ความรู้สึก ช่วยบอกเล่าเรื่องราวต่าง ๆ ได้อย่างลึกซึ้ง เข้าใจง่าย และเข้าถึงผู้คนทุกระดับ เมื่อเร็ว ๆ นี้ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับ เครือข่ายศิลปะดนตรีคนพิการ และ มูลนิธิเพื่อเด็กพิการ จัดงานพิธีมอบประกาศเกียรติบัตร กิจกรรม “อบรมบ่มฝัน” โครงการพัฒนาศักยภาพด้านดนตรี เพื่อส่งเสริมพัฒนาศักยภาพด้านดนตรีของคนพิการและไม่พิการให้มีคุณภาพ สามารถนำไปประกอบอาชีพต่อไปได้ มานิดา โศภิษฐพงศ์ ผู้ประสานงานโครงการพัฒนาศักยภาพด้านดนตรี กล่าวว่า ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมานั้น ทางเครือข่ายศิลปะดนตรีคนพิการ ได้จัดกิจกรรมเพื่อขับเคลื่อนงานด้านดนตรีและศิลปะอย่างต่อเนื่อง การทำงานทุกขั้นตอนนั้น เครือข่ายศิลปะดนตรีคนพิการให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมและการริเริ่มทำงาน ต่าง ๆ ของคนพิการ ทั้งในระดับการตัดสินใจและระดับปฏิบัติงาน เพื่อให้การขับเคลื่อนครั้งนี้ เป็นงานที่ขับเคลื่อนโดยคนพิการอย่างแท้จริง สำหรับกิจกรรม “อบรมบ่มฝัน” มีเป้าหมายเพื่อพัฒนาและยกระดับทักษะความสามารถด้านดนตรีให้แก่ผู้ร่วม โครงการทั้งผู้พิการและผู้ไม่พิการ ด้วยการเรียนรู้กับวิทยากรผู้เชี่ยวชาญด้านต่าง ๆ ในวงการดนตรี โดยใช้ระยะเวลาอบรมประมาณ 1 ปี แบ่งเป็นหลักสูตรต่าง ๆ เช่น แต่งเพลง ร้องเพลง กีตาร์ คีย์บอร์ด บันทึกเสียง ฯลฯ ตลอดจนพัฒนาบุคลิกภาพและการแสดง “การจัดกิจกรรมให้ทั้งคนที่พิการและไม่พิการได้อยู่ร่วมกัน ถือเป็นอีกหนึ่งจุดมุ่งหมายที่สำคัญ ซึ่งผลลัพธ์ที่ได้นอกจากการได้พัฒนาทักษะด้านดนตรีแล้ว นั่นคือความช่วยเหลือเกื้อกูล ทำให้เกิดมิตรภาพระหว่างคนที่มีสภาพร่างกายต่างกัน แต่มีหัวใจรักดนตรีเหมือนกัน” มานิดา กล่าว อัญชลี สีแสงอินทร์ หรือ ปิง นักศึกษาผู้เข้าร่วมโครงการ บอกว่า หากพูดถึง ‘เสียงดนตรี’ ถือเป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติ ที่อยู่ใกล้ตัวเรา และมีความผูกพันกันมายาวนานตั้งแต่แรกเกิด เช่น จะได้ยินเสียงเห่กล่อมตอนเป็นเด็กนอนอยู่ในเปล ซึ่งส่วนตัวแล้วเมื่อได้ยินเสียงดนตรีใด ๆ ก็ตาม จะรู้สึกเหมือนมีอะไรมา กระตุ้นให้รู้สึกสดชื่น จิตใจสบาย สำหรับสาเหตุที่ปิงตัดสินใจเข้าร่วมโครงการ อันดับแรกคืออยากได้ประสบการณ์ที่ดีด้านดนตรีเพื่อพัฒนาความสามารถที่มีให้ ดีเพิ่มขึ้น และสิ่งสำคัญคือการเรียนรู้การอยู่ร่วมกันกับผู้พิการ ที่หลายคนอาจมองว่ายาก แต่สำหรับปิงแล้ว เขามองว่าไม่ว่าร่างกายจะต่างกันแค่ไหน แต่ทุกคนล้วนมีสิ่งที่เหมือนกัน ก็คือความเป็นคนดนตรี “เมื่อได้อยู่ร่วมกันกับผู้พิการแล้วตนรู้สึกว่าเขาเหล่านั้นมีจิตใจที่เต็ม เปี่ยมไปด้วยกำลังใจ ความพยายามไม่ย่อท้อ และที่สำคัญคือความสามารถที่ไม่ได้ด้อยไปกว่าคนธรรมดาเลย” นักศึกษาผู้เข้าร่วมโครงการ กล่าวด้วยรอยยิ้ม สุทัศน์ วิมลสม หรือ เข้ม หนึ่งในผู้พิการที่เข้าร่วมโครงการ กล่าวว่า การเล่นดนตรีนอกจากจะช่วยเยียวยาจิตใจของผู้พิการได้แล้ว ยังจะช่วยพัฒนาศักยภาพของคนพิการให้มีความคล่องตัวขึ้น จนนำไปสู่การพัฒนาทักษะการเล่นดนตรีให้สามารถเล่นเป็นวง และแสดงในที่สาธารณะได้ในที่สุด ซึ่งสิ่งนี้เองที่จะช่วยสร้างความเชื่อมั่น ความภาคภูมิใจ และพัฒนาความสามารถด้านดนตรีและด้านอื่นๆ ต่อไปได้อีกมากมาย “ต้องขอบคุณโครงการอบรมบ่มฝัน และเหล่าวิทยากรนักดนตรี ศิลปิน บุคคลผู้อยู่เบื้องหลังในวงการเพลง ที่ได้ให้ความกรุณามาถ่ายทอดเป็นความรู้ และประสบการณ์ เพราะจากความทุ่มเทและเสียสละของทุก ๆ ท่านทำให้เกิดเป็นกำลังอันมหาศาลที่มาช่วยผลักดันให้พวกเราก้าวเดินในสังคม ด้วยความมั่นใจยิ่งขึ้น” สุทัศน์ กล่าว แม้ดนตรีจะมีความหลากหลายทั้งประเภทและเนื้อหา แต่ดนตรีก็มีอะไรบางอย่างที่สามารถเชื่อมประสานกันได้ เปรียบเสมือนบุคคลที่มีความต่างทั้งร่างกาย ต่างทัศนคติแต่สามารถอยู่ร่วมกันได้ เสมือนคำกล่าวที่ว่า ดนตรีนั้นไร้พรมแดน. article@dailynews.co.th ขอบคุณ... http://m.dailynews.co.th/Article.do?contentId=205237 เดลินิวส์ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 29 ธ.ค.56
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)