มองศาสนาในวิกฤติทางการเมือง

แสดงความคิดเห็น

พระสงฆ์ เดินบิณฑบาต ท่ามกลางวิกฤติกาลทางการเมืองที่เกิดความวุ่นวายและปานปลายไปจนถึงมีผู้ เสียชีวิตเพราะเหตุปะทะกันระหว่างเจ้าหน้าที่รัฐกับผู้ชุมชุมของกลุ่ม กปปส สิ่งที่มวลมหาคนไทยทั้งประเทศต้องการมากที่สุดในเวลานี้ คือ การหาทางออกให้กับทุกฝ่ายโดยไม่ให้เกิดความรุนแรงในรูปแบบต่างๆขึ้นในประเทศ อีก ทางออกเดียวที่เป็นผลดีกับทุกฝ่ายและหลีกเลี่ยงจากความรุนแรงได้ ดีที่สุด คือ “การพูดคุยเจรจา” แล้วนำข้อเสนอของทุกฝ่ายไปสู่ “การปฏิรูป”

แน่นอนว่าจะไม่มีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้ตามที่ตนต้องการทั้งหมดและทุกฝ่ายจะต้อง เดินหน้าหาจุดร่วมที่พอจะไปด้วยกันได้ โดยสถาบันใดสถาบันหนึ่งจะต้องทำหน้าที่ประสานงานให้เกิดการพูดคุยเจรจา เพื่อหาทางออกให้กับทุกฝ่าย มองไปรอบตัว ว่าสถาบันใดในสังคมที่เหมาะสมกับบทบาทดังกล่าว โดยที่ทุกฝ่ายในสังคมให้การยอมรับและเชื่อมั่นว่าจะเป็นคนกลางในวง “เจรจา”

ที่ผ่านมาหลายภาคส่วนในสังคมเสนอตัวเป็นเจ้าภาพในการเจรจา ดังปรากฏในสื่อต่างๆ เช่น กองทัพ และ 7 องค์กรภาคธุรกิจ ซึ่งรัฐบาลเองก็ตอบรับด้วยการร่างกรอบการปฏิรูปเสนอต่อคณะรัฐมนตรีให้อนุมัติ แต่ดูเหมือนจะไม่ได้ผลเท่าที่ควรเนื่องจาก กลุ่ม กปปส โดยการนำของ คุณสุเทพ เทือกสุบรรณ ไม่ค่อยไว้ใจเจ้าภาพเจ้าภาพมักนักประกอบกับกลุ่ม กปปส เองก็คงก็คงมองว่า ข้อเสนอของตนคงไม่ได้รับการยอมรับในวงเจรจา

เวลาเด็กทะเลาะกันแล้วเพื่อน มาห้ามมักจะไม่ค่อยได้ผล ต้องให้คนที่เด็กเคารพนับถือ เช่น พ่อ แม่ ครู มาห้ามจึงจะยอมหยุด ฉันใดก็ฉันนั้น ในสถานการณ์ที่สถาบันสำคัญๆใน สังคมถูกทำลายความน่าเชื่อถือด้วยข้อหา “เลือกข้าง” ในความเข้าใจของผู้เขียนแล้ว ผู้เขียนมองว่าสถาบันที่เปรียบเหมือน ผู้หลักผู้ใหญ่ในครอบครัวที่เป็นเหมือน หลักเป็นฐานให้กับลูกหลานในยามที่เกิดความระสับระสั่นในสังคม คือ สถาบันศาสนา โดยเฉพาะศาสนาพุทธ ที่มีรากฐานทาง ประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม สังคม ควบคู่กับสังคมไทยมาช้านาน แต่เหตุใดในยามวิกฤติบ้านเมืองเช่น นี้ เราไม่เคยเป็นแม้แถลงการณ์ประณามความรุนแรง จากมหาเถรสมาคมซึ่งเป็นฝ่ายบริหารของคณะสงฆ์เข้ามามีบทบาทกับการจัดการความ ขัดแย้งทางการเมือง

พระสงฆ์ จำนวนหลายรูป แม้รัฐธรรมนูญจะไม่ได้บัญญัติหน้าที่ของศาสนาด้านการเมืองเอาไว้ ก็ตามแต่เมื่อสังคมไทยไม่ค่อยมีสำนึกร่วมกับรัฐธรรมนูญอยู่แล้ว ไม่เช่นนั้นคงไม่ถูกฉีกทิ้งฉีกขวางมาแล้วถึง 17 ฉบับ แม้แต่ฉบับปัจจุบันจะถูกฉีกหรือไม่ยังไม่มีใครมั่นใจได้ แม้จะไม่ใช่วิธีการทางกฎหมายแต่ก็เป็นวิธีการทางวัฒนธรรมในนามของความเป็น ไทย (อย่างที่ชอบอ้างกัน) ในอดีตพระสงฆ์ที่มีบทบาทสำคัญกับการแก้ไขปัญหา และช่วยคลี่คลายปัญหาทางการเมืองต่างๆเช่น สมเด็จพระพุทธจารย์ (โต พรมรังสี) ดังที่ผู้สนใจประวัติศาสตร์บ้านเมืองทราบดี แน่นอนว่า สถานการณ์และปัจจัยแวดล้อมต่างย่อมเปลี่ยนไปตามยุคสมัย ในทัศนะของ ผู้เขียนมองว่า สาเหตุสำคัญที่ทำให้ศาสนาพุทธในฐานปัจจัยแวดล้อมทางการเมืองสูญเสียพลังขับเคลื่อนในการเสนอตัวเป็นกลางในการแก้ปัญหาความขัดแย้งในวิกฤติบ้านเมืองที่ ผ่านมา อาจมาจากหลายสาเหตุแต่ผู้เขียนจะยกประเด็นสำคัญมาให้ผู้อ่านช่วยขบคิดและถกเถียงกันดังต่อไปนี้

ศาสนาในฐานะอุดมการณ์รัฐ - นับแต่อดีตที่ผ่านมาชน ชั้นปกครองไทยได้ใช้อุดมการณ์ศาสนาพุทธเป็นเครื่องมือในการเสริมสร้างอำนาจ และประกอบความชอบธรรมในกับกลุ่มตนมาโดยตลอด โดยวิธีการผูกขาดการตีความชุดคำสอนทางศาสนาเฉพาะคำสอนในหมวดเกี่ยวกับ “กรรม” ชนชั้นปกครองพยายามปลูกฝั่งความเชื่อในลักษณะว่า คนจะจน จะรวย จะสูง จะต่ำ และจะเป็นผู้ปกครองหรือถูกปกครอง ล้วนถูกกำหนดแล้วจาก “กรรม” ในอดีตชาติ ซึ่งการปลูกฝั่งในลักษณะดังกล่าวทำให้ประชาชนในยุคหนึ่งจำนนต่อ “กรรม” และยกเรื่องบ้านเมืองให้เป็นเรื่องของเจ้าคนในคน ซึ่งผลจากการปลูกฝั่งดังกล่าวทำให้ต้นกล้าแห่งประชาธิปไตยในสังคมไทยขาดการ เจริญเติบโต ทั้งๆที่ อายุอานามก็ปาเข้าไปแล้ว 80 ปี ดังเห็นได้จากวาทะกรรมของชนชั้นที่ได้เปรียบในสังคมที่ว่า หนึ่งคนหนึ่งเสียใช้ไม่ได้กับสังคมไทย , คนชนบทไม่มีความรู้เรื่องประชาธิปไตย , เสียงของคนต่างจังหวัดมีคุณภาพไม่เท่าเสียงของคนกรุงเทพ ,ถ้ากุลีมีเสียงเท่าบัณฑิตจะเรียนเป็นบัณฑิตให้เหนื่อยทำไม

การแช่แข็งคณะสงฆ์ผ่านโครงสร้างการบริหาร - นับ ตั้งแต่จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ยกร่างและประกาศพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 เพื่อให้สอดคล้องกับการปกครองบ้านเมืองแบบเผด็จการเบ็ดเสร็จตามที่ตนนิยม นั้น การบริหารงานคณะสงฆ์ก็ตกอยู่ในมือของกรรมมหาเถรสมาคมซึ่งเป็นเพียงกลุ่ม บุคคลหนึ่งในองค์กรสงฆ์เท่านั้น ลักษณะการจัดโครงสร้างการบริหารโดยคนกลุ่มเดียวตามแบบ “อนาธิปไตย” ส่งผลให้สถาบันสงฆ์ในสังคมไทยขาดพลังในการขับเคลื่อนทางสังคมและการนำระบบ สมณศักดิ์มาเป็นเกณฑ์ในการพิจารณาความดีความชอบให้กับพระสงฆ์ ทำให้พระสงฆ์เบนความสนใจจากงานเพื่อสังคมไปสู่การแสวงหาสมณศักดิ์ซึ่งเป็น ที่มาของ ลาภสักการะและอำนาจในวงการสงฆ์

ดังเหตุที่กล่าวมาทำให้คณะ สงฆ์โดยการนำของมหาเถรสมาคมขาดพลังและบารมีในการขับเคลื่อนสังคมในด้านต่างๆ ซึ่งไม่ตอบสนองต่อความต้องการของของสังคม ในการเป็นตัวกลางประสานให้เกิดการพูดคุยในยามบ้านเมืองแตกแยกดังเช่นใน ปัจจุบัน ไม่ว่า กปปส รัฐบาล หรือภาคส่วนใดจะปฏิรูปไปในทิศทางและในเรื่องใดก็แล้วแต่….ฝากปฏิรูป องค์กรสงฆ์ ด้วยครับ

ขอบคุณ... http://prachatai.com/journal/2014/01/50852 (ขนาดไฟล์: 167)

( ประชาไทออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 1 ม.ค.57 )

ที่มา: ประชาไทออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 1 ม.ค.57
วันที่โพสต์: 2/01/2557 เวลา 03:38:47 ดูภาพสไลด์โชว์ มองศาสนาในวิกฤติทางการเมือง

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

พระสงฆ์ เดินบิณฑบาตท่ามกลางวิกฤติกาลทางการเมืองที่เกิดความวุ่นวายและปานปลายไปจนถึงมีผู้ เสียชีวิตเพราะเหตุปะทะกันระหว่างเจ้าหน้าที่รัฐกับผู้ชุมชุมของกลุ่ม กปปส สิ่งที่มวลมหาคนไทยทั้งประเทศต้องการมากที่สุดในเวลานี้ คือ การหาทางออกให้กับทุกฝ่ายโดยไม่ให้เกิดความรุนแรงในรูปแบบต่างๆขึ้นในประเทศ อีก ทางออกเดียวที่เป็นผลดีกับทุกฝ่ายและหลีกเลี่ยงจากความรุนแรงได้ ดีที่สุด คือ “การพูดคุยเจรจา” แล้วนำข้อเสนอของทุกฝ่ายไปสู่ “การปฏิรูป” แน่นอนว่าจะไม่มีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้ตามที่ตนต้องการทั้งหมดและทุกฝ่ายจะต้อง เดินหน้าหาจุดร่วมที่พอจะไปด้วยกันได้ โดยสถาบันใดสถาบันหนึ่งจะต้องทำหน้าที่ประสานงานให้เกิดการพูดคุยเจรจา เพื่อหาทางออกให้กับทุกฝ่าย มองไปรอบตัว ว่าสถาบันใดในสังคมที่เหมาะสมกับบทบาทดังกล่าว โดยที่ทุกฝ่ายในสังคมให้การยอมรับและเชื่อมั่นว่าจะเป็นคนกลางในวง “เจรจา” ที่ผ่านมาหลายภาคส่วนในสังคมเสนอตัวเป็นเจ้าภาพในการเจรจา ดังปรากฏในสื่อต่างๆ เช่น กองทัพ และ 7 องค์กรภาคธุรกิจ ซึ่งรัฐบาลเองก็ตอบรับด้วยการร่างกรอบการปฏิรูปเสนอต่อคณะรัฐมนตรีให้อนุมัติ แต่ดูเหมือนจะไม่ได้ผลเท่าที่ควรเนื่องจาก กลุ่ม กปปส โดยการนำของ คุณสุเทพ เทือกสุบรรณ ไม่ค่อยไว้ใจเจ้าภาพเจ้าภาพมักนักประกอบกับกลุ่ม กปปส เองก็คงก็คงมองว่า ข้อเสนอของตนคงไม่ได้รับการยอมรับในวงเจรจา เวลาเด็กทะเลาะกันแล้วเพื่อน มาห้ามมักจะไม่ค่อยได้ผล ต้องให้คนที่เด็กเคารพนับถือ เช่น พ่อ แม่ ครู มาห้ามจึงจะยอมหยุด ฉันใดก็ฉันนั้น ในสถานการณ์ที่สถาบันสำคัญๆใน สังคมถูกทำลายความน่าเชื่อถือด้วยข้อหา “เลือกข้าง” ในความเข้าใจของผู้เขียนแล้ว ผู้เขียนมองว่าสถาบันที่เปรียบเหมือน ผู้หลักผู้ใหญ่ในครอบครัวที่เป็นเหมือน หลักเป็นฐานให้กับลูกหลานในยามที่เกิดความระสับระสั่นในสังคม คือ สถาบันศาสนา โดยเฉพาะศาสนาพุทธ ที่มีรากฐานทาง ประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม สังคม ควบคู่กับสังคมไทยมาช้านาน แต่เหตุใดในยามวิกฤติบ้านเมืองเช่น นี้ เราไม่เคยเป็นแม้แถลงการณ์ประณามความรุนแรง จากมหาเถรสมาคมซึ่งเป็นฝ่ายบริหารของคณะสงฆ์เข้ามามีบทบาทกับการจัดการความ ขัดแย้งทางการเมือง พระสงฆ์ จำนวนหลายรูป แม้รัฐธรรมนูญจะไม่ได้บัญญัติหน้าที่ของศาสนาด้านการเมืองเอาไว้ ก็ตามแต่เมื่อสังคมไทยไม่ค่อยมีสำนึกร่วมกับรัฐธรรมนูญอยู่แล้ว ไม่เช่นนั้นคงไม่ถูกฉีกทิ้งฉีกขวางมาแล้วถึง 17 ฉบับ แม้แต่ฉบับปัจจุบันจะถูกฉีกหรือไม่ยังไม่มีใครมั่นใจได้ แม้จะไม่ใช่วิธีการทางกฎหมายแต่ก็เป็นวิธีการทางวัฒนธรรมในนามของความเป็น ไทย (อย่างที่ชอบอ้างกัน) ในอดีตพระสงฆ์ที่มีบทบาทสำคัญกับการแก้ไขปัญหา และช่วยคลี่คลายปัญหาทางการเมืองต่างๆเช่น สมเด็จพระพุทธจารย์ (โต พรมรังสี) ดังที่ผู้สนใจประวัติศาสตร์บ้านเมืองทราบดี แน่นอนว่า สถานการณ์และปัจจัยแวดล้อมต่างย่อมเปลี่ยนไปตามยุคสมัย ในทัศนะของ ผู้เขียนมองว่า สาเหตุสำคัญที่ทำให้ศาสนาพุทธในฐานปัจจัยแวดล้อมทางการเมืองสูญเสียพลังขับเคลื่อนในการเสนอตัวเป็นกลางในการแก้ปัญหาความขัดแย้งในวิกฤติบ้านเมืองที่ ผ่านมา อาจมาจากหลายสาเหตุแต่ผู้เขียนจะยกประเด็นสำคัญมาให้ผู้อ่านช่วยขบคิดและถกเถียงกันดังต่อไปนี้ ศาสนาในฐานะอุดมการณ์รัฐ - นับแต่อดีตที่ผ่านมาชน ชั้นปกครองไทยได้ใช้อุดมการณ์ศาสนาพุทธเป็นเครื่องมือในการเสริมสร้างอำนาจ และประกอบความชอบธรรมในกับกลุ่มตนมาโดยตลอด โดยวิธีการผูกขาดการตีความชุดคำสอนทางศาสนาเฉพาะคำสอนในหมวดเกี่ยวกับ “กรรม” ชนชั้นปกครองพยายามปลูกฝั่งความเชื่อในลักษณะว่า คนจะจน จะรวย จะสูง จะต่ำ และจะเป็นผู้ปกครองหรือถูกปกครอง ล้วนถูกกำหนดแล้วจาก “กรรม” ในอดีตชาติ ซึ่งการปลูกฝั่งในลักษณะดังกล่าวทำให้ประชาชนในยุคหนึ่งจำนนต่อ “กรรม” และยกเรื่องบ้านเมืองให้เป็นเรื่องของเจ้าคนในคน ซึ่งผลจากการปลูกฝั่งดังกล่าวทำให้ต้นกล้าแห่งประชาธิปไตยในสังคมไทยขาดการ เจริญเติบโต ทั้งๆที่ อายุอานามก็ปาเข้าไปแล้ว 80 ปี ดังเห็นได้จากวาทะกรรมของชนชั้นที่ได้เปรียบในสังคมที่ว่า หนึ่งคนหนึ่งเสียใช้ไม่ได้กับสังคมไทย , คนชนบทไม่มีความรู้เรื่องประชาธิปไตย , เสียงของคนต่างจังหวัดมีคุณภาพไม่เท่าเสียงของคนกรุงเทพ ,ถ้ากุลีมีเสียงเท่าบัณฑิตจะเรียนเป็นบัณฑิตให้เหนื่อยทำไม การแช่แข็งคณะสงฆ์ผ่านโครงสร้างการบริหาร - นับ ตั้งแต่จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ยกร่างและประกาศพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 เพื่อให้สอดคล้องกับการปกครองบ้านเมืองแบบเผด็จการเบ็ดเสร็จตามที่ตนนิยม นั้น การบริหารงานคณะสงฆ์ก็ตกอยู่ในมือของกรรมมหาเถรสมาคมซึ่งเป็นเพียงกลุ่ม บุคคลหนึ่งในองค์กรสงฆ์เท่านั้น ลักษณะการจัดโครงสร้างการบริหารโดยคนกลุ่มเดียวตามแบบ “อนาธิปไตย” ส่งผลให้สถาบันสงฆ์ในสังคมไทยขาดพลังในการขับเคลื่อนทางสังคมและการนำระบบ สมณศักดิ์มาเป็นเกณฑ์ในการพิจารณาความดีความชอบให้กับพระสงฆ์ ทำให้พระสงฆ์เบนความสนใจจากงานเพื่อสังคมไปสู่การแสวงหาสมณศักดิ์ซึ่งเป็น ที่มาของ ลาภสักการะและอำนาจในวงการสงฆ์ ดังเหตุที่กล่าวมาทำให้คณะ สงฆ์โดยการนำของมหาเถรสมาคมขาดพลังและบารมีในการขับเคลื่อนสังคมในด้านต่างๆ ซึ่งไม่ตอบสนองต่อความต้องการของของสังคม ในการเป็นตัวกลางประสานให้เกิดการพูดคุยในยามบ้านเมืองแตกแยกดังเช่นใน ปัจจุบัน ไม่ว่า กปปส รัฐบาล หรือภาคส่วนใดจะปฏิรูปไปในทิศทางและในเรื่องใดก็แล้วแต่….ฝากปฏิรูป องค์กรสงฆ์ ด้วยครับ ขอบคุณ... http://prachatai.com/journal/2014/01/50852 ( ประชาไทออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 1 ม.ค.57 )

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...