ปฏิรูป! การเมืองไทย เปลี่ยนผ่านสาธารณสุข
ที่ผ่านมา...คนไทยขัดแย้งกันมามาก เพราะความเห็นที่แตกต่างกันในเรื่องการให้ความสำคัญต่อ “ประชาธิปไตย” ... ซึ่งเน้นการปกครองด้วยเสียงข้างมากผ่านการเลือกตั้ง กับ “นิติรัฐ”... ซึ่งเน้นการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ
ดร.สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ ประธานทีดีอาร์ไอ บอกว่า อันที่จริงเราไม่น่าจะต้องถูกบังคับให้เลือกเอาอย่างใดอย่างหนึ่งระหว่าง ประชาธิปไตยกับนิติรัฐ เพราะทั้งสองอย่างต่างสนับสนุนซึ่งกันและกัน
“ผม ไม่เชื่อว่าเราจะสามารถสร้างประชาธิปไตยได้โดยไม่มีนิติรัฐ เช่นเดียวกับที่เราจะไม่สามารถสร้างนิติรัฐโดยไม่มีประชาธิปไตย แต่การจะตกลงกันในรูปธรรมว่า ควรมีกลไกในระบอบประชาธิปไตยอย่างไร ที่สามารถสร้างการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐในบริบทของประเทศ ไทย...น่าจะไม่ใช่เรื่องง่าย ที่เราจะสามารถหาคำตอบได้ในไม่กี่วัน แต่ต้องอาศัยการเรียนรู้ของทุกฝ่ายในสังคมอีกพอสมควร การกำหนดเป้าหมายว่าจะต้องแพ้ชนะกันในไม่กี่วัน จึงไม่สอดคล้องกับความเป็นจริงและเป็นอันตรายมาก”
สุดท้าย...สังคม ไทยควรช่วยกันป้องกันไม่ให้ความขัดแย้งทางการเมืองพัฒนาไปสู่การนองเลือด หรือสงครามกลางเมือง ซึ่งจะสร้างบาดแผลให้ประเทศไทยมากกว่า และฟื้นฟูประเทศกลับมาได้ยากกว่าวิกฤติเศรษฐกิจที่เคยเกิดขึ้น
ในรอบปีที่ผ่านมา...ความสนใจด้าน “การเมือง” และ “เศรษฐกิจ” มีมากจนคนลืมงานด้านสังคม นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข สะท้อนว่า กระทรวงสาธารณสุขมีผลงานมากมายที่เกิดการเปลี่ยนแปลง ชวนให้ติดตามว่าในอนาคตจะสานต่อไปในทิศทางใด
พัฒนาระบบประกันสุขภาพ - ปัจจุบันประชาชนไทยมีหลักประกันสุขภาพ จำนวน 64.8099 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 99.90 ของประชากรผู้มีสิทธิทั้งประเทศ 64.8759 ล้านคน รัฐบาล ได้ บูรณาการสิทธิประโยชน์ของระบบหลักประกันสุขภาพทั้งสามระบบ ผู้เจ็บป่วยฉุกเฉินถึงแก่ชีวิตได้รับการรักษาทุกโรงพยาบาลโดยไม่ต้องถาม สิทธิ เริ่มมาตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2555...เพิ่มคุณภาพของระบบบริการในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า โดยบูรณาการ สิทธิ ลดความเหลื่อมล้ำ 3 กองทุน ภายใต้โครงการ “เจ็บป่วยฉุกเฉินถึงชีวิต ไม่ถามสิทธิ ใกล้ที่ไหน ไปที่นั่น”
นพ.ณรงค์ บอกว่า งานพัฒนาสุขภาพตามกลุ่มวัย เป็นอีกสิ่งสำคัญในการทำงานคู่ขนานไปกับการรักษาอาการเจ็บป่วยเฉพาะหน้า อาทิ กลุ่มวัยทำงาน การป้องกันโรคมะเร็งที่สำคัญของสตรี ได้แก่การคัดกรองมะเร็งปากมดลูก 76 จังหวัด ตรวจคัดกรองสตรีกลุ่มเป้าหมายอายุ 30-60ปี
การดูแลและเฝ้าระวังสตรีไทยจากมะเร็งเต้านม โดยส่งเสริมให้ตรวจเต้านมด้วยตนเอง...พบความผิดปกติของก้อนในระยะเริ่มแรก ซึ่งรักษาให้หายได้ ผลการดำเนินงานที่ผ่านมาใน 4 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดเชียงใหม่ นครราชสีมา พระนครศรีอยุธยา และสุราษฎร์ธานี จำนวน 2,400 คน พบว่า สตรีอายุ 30-70 ปี ตรวจเต้านมด้วยตนเองร้อยละ 74.4และ มีการตรวจเป็นประจำเดือนละ 1 ครั้ง ร้อยละ 52 แต่ก็พบว่ามีเพียงร้อยละ 21 ที่ตรวจเต้านมด้วยตนเองได้อย่างถูกต้อง
ถัดมา... กลุ่มเด็กและสตรี เด็กปฐมวัยมีพัฒนาการเหมาะสมตามวัยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นร้อยละ 67.7 ส่วนการเจริญเติบโตของเด็กพบเด็กอ้วน ร้อยละ 6.9 เด็กเตี้ย ร้อยละ 9.1
“คลินิก วัยรุ่น : Psychosocial Clinic” มีการจัดตั้งใน โรงพยาบาลชุมชน (รพช.) 632 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 86.584 โดยใช้บริการให้คำปรึกษาที่มีอยู่ เชื่อมโยงกับบริการ คลินิก OSCC To Be NumberOne คลินิกยาเสพติด...เอดส์ คลินิกอดบุหรี่ และบริการแผนกต่างๆ
สุดท้ายกลุ่ม... ผู้สูงอายุ - พัฒนาศักยภาพบุคลากรด้านสุขภาพจิตและจิตเวชในพื้นที่เครือข่ายบริการการดูแล ผู้สูงอายุ การป้องกันและช่วย เหลือผู้มีภาวะซึมเศร้าในโรงพยาบาลชุมชน ผลการดำเนินงาน... ผู้ป่วยซึมเศร้าทั้งประเทศที่เข้าถึงบริการดูแลรักษา ร้อยละ 31.57 มากกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ร้อยละ 31
“เราพัฒนาระบบผู้สูงอายุระยะยาวด้วยการจัดตั้งศูนย์ดูแลกลางวันในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ตำบล ซึ่งขณะนี้มีตำบลส่งเสริม สุขภาพต้นแบบผ่านเกณฑ์การดูแลสุขภาพผู้สูงอายุระยะยาวแล้ว 91 แห่ง”
นอกจากนี้ยังมี การพัฒนาคุณภาพหน่วยบริการและเครือข่าย ซึ่งกระทรวงสาธารณสุขได้ให้ความสำคัญในการพัฒนาคุณภาพของสถานพยาบาลในการ ดูแลผู้ป่วยที่ป่วยด้วยโรคสำคัญ เพื่อลดอัตราการเสียชีวิต ลดภาวะแทรกซ้อน และเพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย ใน10 สาขา
อาทิ การพัฒนาการดูแลในโรคมะเร็ง ซึ่งเป็นสาเหตุการตายอันดับ 1 ของประชากรไทย ปัจจุบันนี้สามารถดำเนินการให้มีการจัดบริการผ่าตัดมะเร็ง บริการให้ยาเคมีบำบัดในโรงพยาบาลจำนวน 79 แห่ง ครอบคลุม 12 เขตสุขภาพ และบริการรังสีรักษาจำนวน 9 แห่ง 8 เขตสุขภาพ
การบริการระบบฉุกเฉิน และอุบัติเหตุ - พัฒนาระบบส่งต่อและการแพทย์ฉุกเฉิน สามารถช่วยชีวิตหรือยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย...การพัฒนาบริการ ในโรงพยาบาลชุมชนขนาดใหญ่และกลาง ให้สามารถผ่าตัดโรคไส้ติ่ง และผ่าตัดคลอดได้โดยผู้ป่วยไม่ต้องเสียเวลาเดินทางไปยังโรงพยาบาลในจังหวัด
การบริการในโรคตา ได้กำหนดให้มีศูนย์โรคตา ระดับ 1 ให้ครบทั้ง 12 เขตสุขภาพ เพิ่มอัตราการคัดกรองการวัดสายตาในผู้ป่วยอายุ60ปีขึ้นไป, การบริการผู้ป่วยโรคไต ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังที่ได้รับการบำบัดทดแทนไตในสิทธิ สปสช.
นพ.ณรงค์ บอกอีกว่า เกี่ยวกับการ ดูแลทารกแรกเกิด ประเทศไทยมีทารกคลอดมีชีพเฉลี่ยปีละ 800,000 ราย พบทารกที่มีน้ำหนักตัวน้อยกว่า 2,500 กรัม ถึงร้อยละ 10.60 โดยสาเหตุการเสียชีวิตคือเกิดก่อนกำหนดและน้ำหนักแรกเกิดน้อย มีภาวะพร่องออกซิเจน หรือโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด จึงได้พัฒนาการดูแลผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน รวมถึงโรคหัวใจทุกชนิดที่เป็นสาเหตุการตายอันดับ 3 ของคนไทย
นับรวมไปถึง...การแก้ไขและป้องกันปัญหายาเสพติดเป็น “วาระแห่งชาติ”, โครงการมหกรรม “10,000 ดวงใจ ปลอดภัย ด้วยพระบารมี” ถวายแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ลดอัตราการเสียชีวิตจากโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันแบบรุนแรง
โครงการ ฟันเทียมพระราชทานและการส่งเสริมสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ, โครงการสายใยรักแห่งครอบครัวในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระบรม โอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร และ...จิ๊กซอว์ชิ้นเล็กๆ ที่ส่งเสริมนโยบายในภาพใหญ่ การผลิตบุคลากรด้านสาธารณสุขให้มีความพอเพียงและกระจายไปในชนบท พัฒนาขีดความสามารถของอาสาสมัครสาธารณสุข, การสร้างสุขภาพลดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง...บูรณาการสร้างสุขภาพดีวิถีชีวิตไทย สร้างมาตรฐานความปลอดภัยด้านอาหาร...ตรวจเฝ้าระวังคุณภาพและความปลอดภัยของอาหาร ทั้งที่ผลิต...นำเข้าจากต่างประเทศ ซึ่งทั้งหมดเหล่านี้เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นแล้วในระบบสาธารณสุขไทยเพื่อประชาชน คนไทย
นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวทิ้งท้าย “การเมืองไทย” กำลังเข้าสู่ยุคปฏิรูป เปลี่ยนผ่าน...ขณะที่ประเทศ ไทยจะต้องเดินหน้าพัฒนาต่อไป ไม่ให้ถอยหลังเข้าคลอง สิทธิ-ประโยชน์ในการรักษาพยาบาล ดูแลสุขภาพคนไทย...เป็นแค่จิ๊กซอว์เดียวในอีกหลายๆ ชิ้น ที่จะต้องเดินหน้าต่อไปไม่ให้ถดถอย
ขอบคุณ... http://www.thairath.co.th/column/pol/page1scoop/392997 (ขนาดไฟล์: 167)
( ไทยรัฐออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 1 ม.ค.57 )
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
นายแพทย์ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ที่ผ่านมา...คนไทยขัดแย้งกันมามาก เพราะความเห็นที่แตกต่างกันในเรื่องการให้ความสำคัญต่อ “ประชาธิปไตย” ... ซึ่งเน้นการปกครองด้วยเสียงข้างมากผ่านการเลือกตั้ง กับ “นิติรัฐ”... ซึ่งเน้นการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ ดร.สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ ประธานทีดีอาร์ไอ บอกว่า อันที่จริงเราไม่น่าจะต้องถูกบังคับให้เลือกเอาอย่างใดอย่างหนึ่งระหว่าง ประชาธิปไตยกับนิติรัฐ เพราะทั้งสองอย่างต่างสนับสนุนซึ่งกันและกัน “ผม ไม่เชื่อว่าเราจะสามารถสร้างประชาธิปไตยได้โดยไม่มีนิติรัฐ เช่นเดียวกับที่เราจะไม่สามารถสร้างนิติรัฐโดยไม่มีประชาธิปไตย แต่การจะตกลงกันในรูปธรรมว่า ควรมีกลไกในระบอบประชาธิปไตยอย่างไร ที่สามารถสร้างการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐในบริบทของประเทศ ไทย...น่าจะไม่ใช่เรื่องง่าย ที่เราจะสามารถหาคำตอบได้ในไม่กี่วัน แต่ต้องอาศัยการเรียนรู้ของทุกฝ่ายในสังคมอีกพอสมควร การกำหนดเป้าหมายว่าจะต้องแพ้ชนะกันในไม่กี่วัน จึงไม่สอดคล้องกับความเป็นจริงและเป็นอันตรายมาก” สุดท้าย...สังคม ไทยควรช่วยกันป้องกันไม่ให้ความขัดแย้งทางการเมืองพัฒนาไปสู่การนองเลือด หรือสงครามกลางเมือง ซึ่งจะสร้างบาดแผลให้ประเทศไทยมากกว่า และฟื้นฟูประเทศกลับมาได้ยากกว่าวิกฤติเศรษฐกิจที่เคยเกิดขึ้น ในรอบปีที่ผ่านมา...ความสนใจด้าน “การเมือง” และ “เศรษฐกิจ” มีมากจนคนลืมงานด้านสังคม นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข สะท้อนว่า กระทรวงสาธารณสุขมีผลงานมากมายที่เกิดการเปลี่ยนแปลง ชวนให้ติดตามว่าในอนาคตจะสานต่อไปในทิศทางใด พัฒนาระบบประกันสุขภาพ - ปัจจุบันประชาชนไทยมีหลักประกันสุขภาพ จำนวน 64.8099 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 99.90 ของประชากรผู้มีสิทธิทั้งประเทศ 64.8759 ล้านคน รัฐบาล ได้ บูรณาการสิทธิประโยชน์ของระบบหลักประกันสุขภาพทั้งสามระบบ ผู้เจ็บป่วยฉุกเฉินถึงแก่ชีวิตได้รับการรักษาทุกโรงพยาบาลโดยไม่ต้องถาม สิทธิ เริ่มมาตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2555...เพิ่มคุณภาพของระบบบริการในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า โดยบูรณาการ สิทธิ ลดความเหลื่อมล้ำ 3 กองทุน ภายใต้โครงการ “เจ็บป่วยฉุกเฉินถึงชีวิต ไม่ถามสิทธิ ใกล้ที่ไหน ไปที่นั่น” นพ.ณรงค์ บอกว่า งานพัฒนาสุขภาพตามกลุ่มวัย เป็นอีกสิ่งสำคัญในการทำงานคู่ขนานไปกับการรักษาอาการเจ็บป่วยเฉพาะหน้า อาทิ กลุ่มวัยทำงาน การป้องกันโรคมะเร็งที่สำคัญของสตรี ได้แก่การคัดกรองมะเร็งปากมดลูก 76 จังหวัด ตรวจคัดกรองสตรีกลุ่มเป้าหมายอายุ 30-60ปี การดูแลและเฝ้าระวังสตรีไทยจากมะเร็งเต้านม โดยส่งเสริมให้ตรวจเต้านมด้วยตนเอง...พบความผิดปกติของก้อนในระยะเริ่มแรก ซึ่งรักษาให้หายได้ ผลการดำเนินงานที่ผ่านมาใน 4 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดเชียงใหม่ นครราชสีมา พระนครศรีอยุธยา และสุราษฎร์ธานี จำนวน 2,400 คน พบว่า สตรีอายุ 30-70 ปี ตรวจเต้านมด้วยตนเองร้อยละ 74.4และ มีการตรวจเป็นประจำเดือนละ 1 ครั้ง ร้อยละ 52 แต่ก็พบว่ามีเพียงร้อยละ 21 ที่ตรวจเต้านมด้วยตนเองได้อย่างถูกต้อง ถัดมา... กลุ่มเด็กและสตรี เด็กปฐมวัยมีพัฒนาการเหมาะสมตามวัยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นร้อยละ 67.7 ส่วนการเจริญเติบโตของเด็กพบเด็กอ้วน ร้อยละ 6.9 เด็กเตี้ย ร้อยละ 9.1 พยาบาลภายในโรงพยาบาล “คลินิก วัยรุ่น : Psychosocial Clinic” มีการจัดตั้งใน โรงพยาบาลชุมชน (รพช.) 632 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 86.584 โดยใช้บริการให้คำปรึกษาที่มีอยู่ เชื่อมโยงกับบริการ คลินิก OSCC To Be NumberOne คลินิกยาเสพติด...เอดส์ คลินิกอดบุหรี่ และบริการแผนกต่างๆ สุดท้ายกลุ่ม... ผู้สูงอายุ - พัฒนาศักยภาพบุคลากรด้านสุขภาพจิตและจิตเวชในพื้นที่เครือข่ายบริการการดูแล ผู้สูงอายุ การป้องกันและช่วย เหลือผู้มีภาวะซึมเศร้าในโรงพยาบาลชุมชน ผลการดำเนินงาน... ผู้ป่วยซึมเศร้าทั้งประเทศที่เข้าถึงบริการดูแลรักษา ร้อยละ 31.57 มากกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ร้อยละ 31 “เราพัฒนาระบบผู้สูงอายุระยะยาวด้วยการจัดตั้งศูนย์ดูแลกลางวันในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ตำบล ซึ่งขณะนี้มีตำบลส่งเสริม สุขภาพต้นแบบผ่านเกณฑ์การดูแลสุขภาพผู้สูงอายุระยะยาวแล้ว 91 แห่ง” นอกจากนี้ยังมี การพัฒนาคุณภาพหน่วยบริการและเครือข่าย ซึ่งกระทรวงสาธารณสุขได้ให้ความสำคัญในการพัฒนาคุณภาพของสถานพยาบาลในการ ดูแลผู้ป่วยที่ป่วยด้วยโรคสำคัญ เพื่อลดอัตราการเสียชีวิต ลดภาวะแทรกซ้อน และเพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย ใน10 สาขา อาทิ การพัฒนาการดูแลในโรคมะเร็ง ซึ่งเป็นสาเหตุการตายอันดับ 1 ของประชากรไทย ปัจจุบันนี้สามารถดำเนินการให้มีการจัดบริการผ่าตัดมะเร็ง บริการให้ยาเคมีบำบัดในโรงพยาบาลจำนวน 79 แห่ง ครอบคลุม 12 เขตสุขภาพ และบริการรังสีรักษาจำนวน 9 แห่ง 8 เขตสุขภาพ การบริการระบบฉุกเฉิน และอุบัติเหตุ - พัฒนาระบบส่งต่อและการแพทย์ฉุกเฉิน สามารถช่วยชีวิตหรือยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย...การพัฒนาบริการ ในโรงพยาบาลชุมชนขนาดใหญ่และกลาง ให้สามารถผ่าตัดโรคไส้ติ่ง และผ่าตัดคลอดได้โดยผู้ป่วยไม่ต้องเสียเวลาเดินทางไปยังโรงพยาบาลในจังหวัด การบริการในโรคตา ได้กำหนดให้มีศูนย์โรคตา ระดับ 1 ให้ครบทั้ง 12 เขตสุขภาพ เพิ่มอัตราการคัดกรองการวัดสายตาในผู้ป่วยอายุ60ปีขึ้นไป, การบริการผู้ป่วยโรคไต ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังที่ได้รับการบำบัดทดแทนไตในสิทธิ สปสช. นพ.ณรงค์ บอกอีกว่า เกี่ยวกับการ ดูแลทารกแรกเกิด ประเทศไทยมีทารกคลอดมีชีพเฉลี่ยปีละ 800,000 ราย พบทารกที่มีน้ำหนักตัวน้อยกว่า 2,500 กรัม ถึงร้อยละ 10.60 โดยสาเหตุการเสียชีวิตคือเกิดก่อนกำหนดและน้ำหนักแรกเกิดน้อย มีภาวะพร่องออกซิเจน หรือโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด จึงได้พัฒนาการดูแลผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน รวมถึงโรคหัวใจทุกชนิดที่เป็นสาเหตุการตายอันดับ 3 ของคนไทย ตึกกระทรวงสาธารณสุข นับรวมไปถึง...การแก้ไขและป้องกันปัญหายาเสพติดเป็น “วาระแห่งชาติ”, โครงการมหกรรม “10,000 ดวงใจ ปลอดภัย ด้วยพระบารมี” ถวายแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ลดอัตราการเสียชีวิตจากโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันแบบรุนแรง โครงการ ฟันเทียมพระราชทานและการส่งเสริมสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ, โครงการสายใยรักแห่งครอบครัวในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระบรม โอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร และ...จิ๊กซอว์ชิ้นเล็กๆ ที่ส่งเสริมนโยบายในภาพใหญ่ การผลิตบุคลากรด้านสาธารณสุขให้มีความพอเพียงและกระจายไปในชนบท พัฒนาขีดความสามารถของอาสาสมัครสาธารณสุข, การสร้างสุขภาพลดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง...บูรณาการสร้างสุขภาพดีวิถีชีวิตไทย สร้างมาตรฐานความปลอดภัยด้านอาหาร...ตรวจเฝ้าระวังคุณภาพและความปลอดภัยของอาหาร ทั้งที่ผลิต...นำเข้าจากต่างประเทศ ซึ่งทั้งหมดเหล่านี้เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นแล้วในระบบสาธารณสุขไทยเพื่อประชาชน คนไทย นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวทิ้งท้าย “การเมืองไทย” กำลังเข้าสู่ยุคปฏิรูป เปลี่ยนผ่าน...ขณะที่ประเทศ ไทยจะต้องเดินหน้าพัฒนาต่อไป ไม่ให้ถอยหลังเข้าคลอง สิทธิ-ประโยชน์ในการรักษาพยาบาล ดูแลสุขภาพคนไทย...เป็นแค่จิ๊กซอว์เดียวในอีกหลายๆ ชิ้น ที่จะต้องเดินหน้าต่อไปไม่ให้ถดถอย ขอบคุณ... http://www.thairath.co.th/column/pol/page1scoop/392997 ( ไทยรัฐออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 1 ม.ค.57 )
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)