ขจัดอุปสรรคคนพิการ‘เปิดโอกาส’สู่สังคมเป็นสุขร่วมกัน
“เพื่อเป็นการขจัดอุปสรรค เปิดโอกาสให้กับคนพิการ อยากจะเรียกร้องสังคมให้ช่วยเหลือคนพิการในหลาย ๆ เรื่อง อาทิ การสนับสนุนทางด้านการศึกษา การเข้าถึงสิ่งอำนวยความสะดวกในการขนส่งมวลชน หรือทางสาธารณะต่าง ๆ ที่อำนวยความสะดวกแก่คนพิการ อย่างทางลาด เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับคนพิการที่จะสามารถออกมาใช้ชีวิตภายนอกได้อย่าง ปลอดภัย และเท่าเทียม”
... นี่เป็นส่วนหนึ่งจากเสียงของ อรุณวดี ลิ้มอังกูร ประธานฝ่ายสตรี เด็ก และเยาวชน สมาคมคนพิการแห่งประเทศไทย ที่ระบุไว้บนเวทีเสวนาหัวข้อ “ขจัดอุปสรรค เปิดโอกาส...สู่สังคมอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกัน” เนื่องในโอกาสที่สำนักงานส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) ร่วมกับสมาคมสภาคนพิการทุกประเภทแห่งประเทศไทย จัดงาน “วันคนพิการสากล ประจำปี พ.ศ. 2556” ภายใต้แนวคิดเดียวกับหัวข้อเสวนา โดยมี พงศ์เทพ เทพกาญจนา รักษาการรองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานเปิดงาน พร้อมด้วย ปวีณา หงสกุล รักษาการรัฐมนตรีว่าการกระทรวง พม.
บนเวทีเสวนา ประธานฝ่ายสตรี เด็ก และเยาวชน สมาคมคนพิการแห่งประเทศไทย ยังระบุไว้อีกว่า...แม้ทุกวันนี้สังคมไทยมีการช่วยเหลือคนพิการมากขึ้น เมื่อเทียบกับ 10 ปีที่แล้ว ไม่ว่าจะเป็นด้านสิ่งอำนวยความสะดวก หรือทัศนคติ มุมมองต่อคนพิการ ที่ดีขึ้น แต่...’อยากให้สังคมเปิดโอกาสแก่คนพิการมากกว่านี้ เพื่อที่จะให้คนพิการสามารถออกมาใช้ชีวิตภายนอกได้อย่างมีความสุข และมีประโยชน์ต่อสังคม“
ทั้งนี้ กับด้านสิ่งอำนวยความสะดวกคนพิการนั้น วันทนีย์ พันธชาติ ผู้อำนวยการฝ่ายอาวุโส ฝ่ายวิจัย ประยุกต์ และบริการทดสอบและประเมินเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวก ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) ระบุไว้ในงานนี้ว่า... ปัจจุบันนวัตกรรมและเทคโนโลยีสำหรับผู้พิการพัฒนาไปได้ไกลแล้ว ยกตัวอย่างเช่น คีย์บอร์ดที่ทำงานด้วยการส่งเสียง แต่ในประเทศไทยปัจจุบันยังติดขัดเรื่องของภาษา
อย่างไรก็ตาม ด้านสาธารณสุข มีการรณรงค์เรื่องให้ขาเทียมคนที่ขาพิการทุกคนโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ด้านการศึกษา มีงบประมาณเพื่อนักเรียนที่มีความต้องการพิเศษ ด้านการเข้าถึงข้อมูลสารสนเทศ มีกฎกระทรวงของกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และแผนแม่บทของ กสทช. ที่กำหนดว่าทุกคนต้องสามารถเข้าถึงข้อมูลสารสนเทศอย่างเท่าเทียม ซึ่งสำหรับผู้พิการนั้น มีการผลิตหนังสือเสียงเพื่อผู้พิการสายตา หรือมีบริการล่ามออนไลน์เพื่อคนหูหนวก ซึ่งใช้มาแล้ว 2 ปี แต่ละปีมีผู้พิการทางการได้ยินใช้บริการราว 60,000 ราย
“นวัตกรรมมีส่วนช่วย เติมเต็มให้ชีวิตคนพิการดีขึ้น ทางเนคเทคเองก็ผลิตขาเทียมให้กับคนไทยในราคาที่ไม่แพง ซึ่งเป็นสวัสดิการของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) รวมไปถึงการแจกเครื่องช่วยฟังแบบดิจิตอลให้แก่ผู้พิการทางการได้ยิน 100,000 เครื่อง นอกจากนี้ ยังมีการผลิตโปรแกรมการเรียนสำหรับผู้มีภาวะการเรียนบกพร่อง ทั้งนี้เพื่อการ ขจัดอุปสรรคของผู้พิการ…” ...ทางเนคเทค ระบุ และว่า... ในอนาคต เนคเทคมีงานสำหรับคนพิการอีกมากมาย เช่น ทำอี-บุ๊ก เพื่อช่วยผู้พิการที่สูงอายุ, ทำวิดีโอภาษามือ สำหรับคนหูหนวก ผ่านโทรศัพท์มือถือสมาร์ทโฟน, ร่วมมือกับสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินในการทำบริการช่วยเหลือคนหูหนวก เหล่านี้เป็นการ “ขจัดอุปสรรค เปิดโอกาส” ขณะที่เอกชนก็ร่วม “สู่สังคมอยู่เย็นเป็นสุข”
อย่าง บมจ.บิ๊กซี ซูเปอร์เซ็นเตอร์ ซึ่ง ดร.เนติธร ประดิษฐ์สาร ผู้อำนวยการองค์กรสัมพันธ์ ระบุว่า...ทางบิ๊กซีมีนโยบาย เพิ่มโอกาสให้กับคนพิการ ด้วยการจ้างงานด้วยวิธีจับคู่งานตามความสามารถและความสนใจ เพื่อให้คนพิการมีความภาคภูมิใจ และมีศักดิ์ศรี ซึ่งตามกฎหมายจะต้องจ้างคนพิการ 1 คนต่อพนักงาน 100 คน แต่บิ๊กซีจ้างในสัดส่วนที่มากกว่า คือ 1 : 50 และระยะยาวอาจมีการจ้างในสัดส่วนมากขึ้นได้
“นอกจากความถนัด ความสนใจ ความสามารถ ทางบริษัทก็คำนึงถึงความเหมาะสมด้วย เช่น คนที่พิการทางการได้ยิน ไปทำงานแผนกเช็กสต๊อก แผนกเบเกอรี่ หรือจัดของเข้าชั้น ซึ่งบริษัทก็ ให้สิทธิ สวัสดิการ เลื่อนตำแหน่ง เหมือนพนักงานปกติทั่วไป ด้วย”
…ดร.เนติธร ระบุ พร้อมทั้งบอกว่า... บริษัทเชื่อมั่นว่า ผู้พิการมีความสามารถ ซึ่งผลตอบรับก็ดีมาก จึงมีอัตราการจ้างงานคนพิการเพิ่มขึ้นทุก ๆ ปี และในฐานะที่คลุกคลีตรงนี้มานาน อยากให้กำลังใจผู้พิการทุกคนในการที่จะก้าวพ้นอุปสรรค อยู่ร่วมในสังคมได้อย่างปกติสุข
ด้าน โสภณ ฉิมจินดา พิธีกรรายการครอบครัวเดียวกัน สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส ระบุว่า...ทุกวันนี้สื่อเปิดกว้าง ยอมรับเรื่องราวอิสรภาพคนพิการมากขึ้น ซึ่งเป็นเรื่องที่ดี อย่างไรก็ตาม สิ่งที่สำคัญและมีค่าในการให้โอกาสคนพิการ คือ ให้คนพิการได้มีงานทำ เพื่อจะเลี้ยงดูตัวเองได้ ให้โอกาสและสร้างโอกาส คนพิการทุกคนมีศักย ภาพในตัวเอง ถ้าสังคมให้โอกาส ให้หน้าที่การงานที่เหมาะสม คนพิการ ทุกคนสามารถทำได้ดี ขจัดอุปสรรค เปิดโอกาส“ ให้กับ ’ผู้พิการ“ ช่วยกันมาก ๆ เพื่อ ’อยู่เย็นเป็นสุขร่วมกัน“.
ขอบคุณ... http://m.dailynews.co.th/Article.do?contentId=202889
เดลินิวส์ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 20 ธ.ค.56
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
ภาพวาดการ์ตูน คนพิการแต่ละประเภท “เพื่อเป็นการขจัดอุปสรรค เปิดโอกาสให้กับคนพิการ อยากจะเรียกร้องสังคมให้ช่วยเหลือคนพิการในหลาย ๆ เรื่อง อาทิ การสนับสนุนทางด้านการศึกษา การเข้าถึงสิ่งอำนวยความสะดวกในการขนส่งมวลชน หรือทางสาธารณะต่าง ๆ ที่อำนวยความสะดวกแก่คนพิการ อย่างทางลาด เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับคนพิการที่จะสามารถออกมาใช้ชีวิตภายนอกได้อย่าง ปลอดภัย และเท่าเทียม” ... นี่เป็นส่วนหนึ่งจากเสียงของ อรุณวดี ลิ้มอังกูร ประธานฝ่ายสตรี เด็ก และเยาวชน สมาคมคนพิการแห่งประเทศไทย ที่ระบุไว้บนเวทีเสวนาหัวข้อ “ขจัดอุปสรรค เปิดโอกาส...สู่สังคมอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกัน” เนื่องในโอกาสที่สำนักงานส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) ร่วมกับสมาคมสภาคนพิการทุกประเภทแห่งประเทศไทย จัดงาน “วันคนพิการสากล ประจำปี พ.ศ. 2556” ภายใต้แนวคิดเดียวกับหัวข้อเสวนา โดยมี พงศ์เทพ เทพกาญจนา รักษาการรองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานเปิดงาน พร้อมด้วย ปวีณา หงสกุล รักษาการรัฐมนตรีว่าการกระทรวง พม. บนเวทีเสวนา ประธานฝ่ายสตรี เด็ก และเยาวชน สมาคมคนพิการแห่งประเทศไทย ยังระบุไว้อีกว่า...แม้ทุกวันนี้สังคมไทยมีการช่วยเหลือคนพิการมากขึ้น เมื่อเทียบกับ 10 ปีที่แล้ว ไม่ว่าจะเป็นด้านสิ่งอำนวยความสะดวก หรือทัศนคติ มุมมองต่อคนพิการ ที่ดีขึ้น แต่...’อยากให้สังคมเปิดโอกาสแก่คนพิการมากกว่านี้ เพื่อที่จะให้คนพิการสามารถออกมาใช้ชีวิตภายนอกได้อย่างมีความสุข และมีประโยชน์ต่อสังคม“ ทั้งนี้ กับด้านสิ่งอำนวยความสะดวกคนพิการนั้น วันทนีย์ พันธชาติ ผู้อำนวยการฝ่ายอาวุโส ฝ่ายวิจัย ประยุกต์ และบริการทดสอบและประเมินเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวก ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) ระบุไว้ในงานนี้ว่า... ปัจจุบันนวัตกรรมและเทคโนโลยีสำหรับผู้พิการพัฒนาไปได้ไกลแล้ว ยกตัวอย่างเช่น คีย์บอร์ดที่ทำงานด้วยการส่งเสียง แต่ในประเทศไทยปัจจุบันยังติดขัดเรื่องของภาษา อย่างไรก็ตาม ด้านสาธารณสุข มีการรณรงค์เรื่องให้ขาเทียมคนที่ขาพิการทุกคนโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ด้านการศึกษา มีงบประมาณเพื่อนักเรียนที่มีความต้องการพิเศษ ด้านการเข้าถึงข้อมูลสารสนเทศ มีกฎกระทรวงของกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และแผนแม่บทของ กสทช. ที่กำหนดว่าทุกคนต้องสามารถเข้าถึงข้อมูลสารสนเทศอย่างเท่าเทียม ซึ่งสำหรับผู้พิการนั้น มีการผลิตหนังสือเสียงเพื่อผู้พิการสายตา หรือมีบริการล่ามออนไลน์เพื่อคนหูหนวก ซึ่งใช้มาแล้ว 2 ปี แต่ละปีมีผู้พิการทางการได้ยินใช้บริการราว 60,000 ราย “นวัตกรรมมีส่วนช่วย เติมเต็มให้ชีวิตคนพิการดีขึ้น ทางเนคเทคเองก็ผลิตขาเทียมให้กับคนไทยในราคาที่ไม่แพง ซึ่งเป็นสวัสดิการของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) รวมไปถึงการแจกเครื่องช่วยฟังแบบดิจิตอลให้แก่ผู้พิการทางการได้ยิน 100,000 เครื่อง นอกจากนี้ ยังมีการผลิตโปรแกรมการเรียนสำหรับผู้มีภาวะการเรียนบกพร่อง ทั้งนี้เพื่อการ ขจัดอุปสรรคของผู้พิการ…” ...ทางเนคเทค ระบุ และว่า... ในอนาคต เนคเทคมีงานสำหรับคนพิการอีกมากมาย เช่น ทำอี-บุ๊ก เพื่อช่วยผู้พิการที่สูงอายุ, ทำวิดีโอภาษามือ สำหรับคนหูหนวก ผ่านโทรศัพท์มือถือสมาร์ทโฟน, ร่วมมือกับสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินในการทำบริการช่วยเหลือคนหูหนวก เหล่านี้เป็นการ “ขจัดอุปสรรค เปิดโอกาส” ขณะที่เอกชนก็ร่วม “สู่สังคมอยู่เย็นเป็นสุข” อย่าง บมจ.บิ๊กซี ซูเปอร์เซ็นเตอร์ ซึ่ง ดร.เนติธร ประดิษฐ์สาร ผู้อำนวยการองค์กรสัมพันธ์ ระบุว่า...ทางบิ๊กซีมีนโยบาย เพิ่มโอกาสให้กับคนพิการ ด้วยการจ้างงานด้วยวิธีจับคู่งานตามความสามารถและความสนใจ เพื่อให้คนพิการมีความภาคภูมิใจ และมีศักดิ์ศรี ซึ่งตามกฎหมายจะต้องจ้างคนพิการ 1 คนต่อพนักงาน 100 คน แต่บิ๊กซีจ้างในสัดส่วนที่มากกว่า คือ 1 : 50 และระยะยาวอาจมีการจ้างในสัดส่วนมากขึ้นได้ “นอกจากความถนัด ความสนใจ ความสามารถ ทางบริษัทก็คำนึงถึงความเหมาะสมด้วย เช่น คนที่พิการทางการได้ยิน ไปทำงานแผนกเช็กสต๊อก แผนกเบเกอรี่ หรือจัดของเข้าชั้น ซึ่งบริษัทก็ ให้สิทธิ สวัสดิการ เลื่อนตำแหน่ง เหมือนพนักงานปกติทั่วไป ด้วย” …ดร.เนติธร ระบุ พร้อมทั้งบอกว่า... บริษัทเชื่อมั่นว่า ผู้พิการมีความสามารถ ซึ่งผลตอบรับก็ดีมาก จึงมีอัตราการจ้างงานคนพิการเพิ่มขึ้นทุก ๆ ปี และในฐานะที่คลุกคลีตรงนี้มานาน อยากให้กำลังใจผู้พิการทุกคนในการที่จะก้าวพ้นอุปสรรค อยู่ร่วมในสังคมได้อย่างปกติสุข ด้าน โสภณ ฉิมจินดา พิธีกรรายการครอบครัวเดียวกัน สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส ระบุว่า...ทุกวันนี้สื่อเปิดกว้าง ยอมรับเรื่องราวอิสรภาพคนพิการมากขึ้น ซึ่งเป็นเรื่องที่ดี อย่างไรก็ตาม สิ่งที่สำคัญและมีค่าในการให้โอกาสคนพิการ คือ ให้คนพิการได้มีงานทำ เพื่อจะเลี้ยงดูตัวเองได้ ให้โอกาสและสร้างโอกาส คนพิการทุกคนมีศักย ภาพในตัวเอง ถ้าสังคมให้โอกาส ให้หน้าที่การงานที่เหมาะสม คนพิการ ทุกคนสามารถทำได้ดี ขจัดอุปสรรค เปิดโอกาส“ ให้กับ ’ผู้พิการ“ ช่วยกันมาก ๆ เพื่อ ’อยู่เย็นเป็นสุขร่วมกัน“. ขอบคุณ... http://m.dailynews.co.th/Article.do?contentId=202889 เดลินิวส์ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 20 ธ.ค.56
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)