′ยูเอ็น′ ห่วงการเมืองไทย ใช้ภาษาเหยียดเพศหญิง

แสดงความคิดเห็น

ผู้หญิงแต่งตัวแฟชั่น

เมื่อวันที่ 25 มกราคม นางโรเบอร์ต้า คล้าค ผู้อำนวยการองค์การเพื่อการส่งเสริมความเสมอภาคระหว่างเพศและเพิ่มพลังของ ผู้หญิงแห่งสหประชาชาติ (UN Women) สำนักงานภาคพื้นเอเชียและแปซิฟิก และผู้แทนประจำประเทศไทย แถลงว่า ในช่วงเวลาใดที่มีการโต้แย้งทางการเมือง ผู้หญิงที่อยู่บนเส้นทางการเมืองสามารถตกเป็นเป้าหมายของภาพเหมารวมและการละเมิดเหยียดหยามด้วยเหตุแห่งความเป็นผู้หญิงและหากยังมีเสียงเพียงจำนวน น้อย ที่ออกมาพูดถึงความเสมอภาคและการเคารพให้เกียรติ สถานะความเท่าเทียมของผู้หญิงในสังคม ก็ ย่อมจะถูกสั่นคลอน

การ์ตูนวาดเด็กผู้หญิง นางโรเบอร์ต้ากล่าวว่า "ประเทศไทยก็เหมือนที่อื่นๆ ในโลก ที่ผู้หญิงเข้ามามีส่วนร่วมและเป็นผู้นำทางการเมืองอยู่น้อย ส่วนหนึ่งเป็นเพราะการเลือกปฏิบัติต่อผู้หญิงและวัฒนธรรมทางการเมืองที่ลดค่าของผู้หญิง ตลอดจนเป็นอุปสรรคต่อการสร้างผลงาน ผู้หญิงจำนวนไม่น้อยลังเลที่จะเข้าสู่เส้นทางการเมืองเพราะเกรงว่าจะถูกคุก คาม กลั่นแกล้ง และเหยียดหยาม เพราะเหตุแห่งทางเพศและความเป็นผู้หญิง ด้วยเหตุนี้ การเพิ่มการมีส่วนร่วมทางการเมืองของผู้หญิงจึงเป็นเครื่องบ่งชี้ประการ หนึ่งว่ามีความเสมอภาคระหว่างเพศหรือไม่ อนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีในทุกรูปแบบ (CEDAW) ซึ่งประเทศไทยเข้าเป็นภาคีตั้งแต่ปี 2528 เรียกร้องให้มีการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อผู้หญิงในบทบาทสาธารณะและบทบาททางการเมือง การเลือกปฏิบัติดังกล่าวเกิดขึ้นเมื่อมีการกล่าวถึงหรือปฏิบัติต่อผู้หญิง อย่างไม่เป็นธรรม โดยมีเจตนาหรือส่งผลที่จะจำกัดหรือทำให้ผู้หญิงไม่สามารถเข้าถึงสิทธิมนุษย ชน และอยู่ได้อย่างมีศักดิ์ศรีเพราะเหตุแห่งเพศ"

"ความเสียเปรียบข้างต้นจะขจัดให้หมดไปได้ ก็ต่อเมื่อรัฐ ชุมชน และปัจเจกบุคคล จะต้องเปลี่ยนแบบแผนความประพฤติทางสังคมและวัฒนธรรมของผู้ชายและผู้หญิง ซึ่งอยู่บนพื้นฐานของความคิดเกี่ยวกับความต่ำต้อยหรือความสูงส่งของอีกเพศ หนึ่ง ในบริบทสถานการณ์ทางการเมืองของประเทศไทยในปัจจุบัน นับเป็นความน่ากังวลอย่างยิ่งยวด ที่ได้พบว่ามีการใช้ภาษาที่เหยียดหยามก้าวร้าวต่อผู้หญิงด้วยเหตุแห่งเพศและ ความเป็นผู้หญิงเพื่อแต้มต่อในวาระทางการเมือง ข้อความแสดงความเห็นและภาพอันมีเนื้อหาดูถูกเหยียดหยามทางเพศและหลู่เกียรติ ลดค่าของผู้หญิง ด้วยเหตุแห่งเพศและบทบาทของความเป็นผู้หญิงนี้ ไม่ควรจะเป็นที่อดทน และไม่ควรได้รับการส่งเสริม ประเทศไทยมีความก้าวหน้าอยู่มาก ทั้งในด้านกฎหมายและนโยบายเพื่อสร้างหลักประกันส่งเสริมให้ผู้หญิงมีพลังและ สร้างความเสมอภาคระหว่างเพศ ความก้าวหน้าดังกล่าวจะเพิ่มขยายต่อไปได้ ต่อเมื่อผู้หญิงจำนวนมากขึ้นเข้ามามีส่วนร่วมและมีบทบาทสร้างสรรค์กระบวนการ ทางการเมืองและการบริหารจัดการทั้งในพื้นที่สาธารณะและพื้นที่ส่วนตัว เพื่อให้สิ่งเหล่าเกิดขึ้นได้ เราต้องมีสภาวะแวดล้อมที่เคารพในสิทธิและศักดิ์ศรีของทุกๆ คน" นางโรเบอร์ต้ากล่าว

ผู้หญิงแต่งตัวแฟชั่น

ขอบคุณ http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1390651771&grpid=03&catid=&subcatid=

(matichonออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 25 ม.ค.57 )

ที่มา: matichonออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 25 ม.ค.57
วันที่โพสต์: 26/01/2557 เวลา 02:52:25 ดูภาพสไลด์โชว์ ′ยูเอ็น′ ห่วงการเมืองไทย ใช้ภาษาเหยียดเพศหญิง

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

ผู้หญิงแต่งตัวแฟชั่น เมื่อวันที่ 25 มกราคม นางโรเบอร์ต้า คล้าค ผู้อำนวยการองค์การเพื่อการส่งเสริมความเสมอภาคระหว่างเพศและเพิ่มพลังของ ผู้หญิงแห่งสหประชาชาติ (UN Women) สำนักงานภาคพื้นเอเชียและแปซิฟิก และผู้แทนประจำประเทศไทย แถลงว่า ในช่วงเวลาใดที่มีการโต้แย้งทางการเมือง ผู้หญิงที่อยู่บนเส้นทางการเมืองสามารถตกเป็นเป้าหมายของภาพเหมารวมและการละเมิดเหยียดหยามด้วยเหตุแห่งความเป็นผู้หญิงและหากยังมีเสียงเพียงจำนวน น้อย ที่ออกมาพูดถึงความเสมอภาคและการเคารพให้เกียรติ สถานะความเท่าเทียมของผู้หญิงในสังคม ก็ ย่อมจะถูกสั่นคลอน การ์ตูนวาดเด็กผู้หญิงนางโรเบอร์ต้ากล่าวว่า "ประเทศไทยก็เหมือนที่อื่นๆ ในโลก ที่ผู้หญิงเข้ามามีส่วนร่วมและเป็นผู้นำทางการเมืองอยู่น้อย ส่วนหนึ่งเป็นเพราะการเลือกปฏิบัติต่อผู้หญิงและวัฒนธรรมทางการเมืองที่ลดค่าของผู้หญิง ตลอดจนเป็นอุปสรรคต่อการสร้างผลงาน ผู้หญิงจำนวนไม่น้อยลังเลที่จะเข้าสู่เส้นทางการเมืองเพราะเกรงว่าจะถูกคุก คาม กลั่นแกล้ง และเหยียดหยาม เพราะเหตุแห่งทางเพศและความเป็นผู้หญิง ด้วยเหตุนี้ การเพิ่มการมีส่วนร่วมทางการเมืองของผู้หญิงจึงเป็นเครื่องบ่งชี้ประการ หนึ่งว่ามีความเสมอภาคระหว่างเพศหรือไม่ อนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีในทุกรูปแบบ (CEDAW) ซึ่งประเทศไทยเข้าเป็นภาคีตั้งแต่ปี 2528 เรียกร้องให้มีการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อผู้หญิงในบทบาทสาธารณะและบทบาททางการเมือง การเลือกปฏิบัติดังกล่าวเกิดขึ้นเมื่อมีการกล่าวถึงหรือปฏิบัติต่อผู้หญิง อย่างไม่เป็นธรรม โดยมีเจตนาหรือส่งผลที่จะจำกัดหรือทำให้ผู้หญิงไม่สามารถเข้าถึงสิทธิมนุษย ชน และอยู่ได้อย่างมีศักดิ์ศรีเพราะเหตุแห่งเพศ" "ความเสียเปรียบข้างต้นจะขจัดให้หมดไปได้ ก็ต่อเมื่อรัฐ ชุมชน และปัจเจกบุคคล จะต้องเปลี่ยนแบบแผนความประพฤติทางสังคมและวัฒนธรรมของผู้ชายและผู้หญิง ซึ่งอยู่บนพื้นฐานของความคิดเกี่ยวกับความต่ำต้อยหรือความสูงส่งของอีกเพศ หนึ่ง ในบริบทสถานการณ์ทางการเมืองของประเทศไทยในปัจจุบัน นับเป็นความน่ากังวลอย่างยิ่งยวด ที่ได้พบว่ามีการใช้ภาษาที่เหยียดหยามก้าวร้าวต่อผู้หญิงด้วยเหตุแห่งเพศและ ความเป็นผู้หญิงเพื่อแต้มต่อในวาระทางการเมือง ข้อความแสดงความเห็นและภาพอันมีเนื้อหาดูถูกเหยียดหยามทางเพศและหลู่เกียรติ ลดค่าของผู้หญิง ด้วยเหตุแห่งเพศและบทบาทของความเป็นผู้หญิงนี้ ไม่ควรจะเป็นที่อดทน และไม่ควรได้รับการส่งเสริม ประเทศไทยมีความก้าวหน้าอยู่มาก ทั้งในด้านกฎหมายและนโยบายเพื่อสร้างหลักประกันส่งเสริมให้ผู้หญิงมีพลังและ สร้างความเสมอภาคระหว่างเพศ ความก้าวหน้าดังกล่าวจะเพิ่มขยายต่อไปได้ ต่อเมื่อผู้หญิงจำนวนมากขึ้นเข้ามามีส่วนร่วมและมีบทบาทสร้างสรรค์กระบวนการ ทางการเมืองและการบริหารจัดการทั้งในพื้นที่สาธารณะและพื้นที่ส่วนตัว เพื่อให้สิ่งเหล่าเกิดขึ้นได้ เราต้องมีสภาวะแวดล้อมที่เคารพในสิทธิและศักดิ์ศรีของทุกๆ คน" นางโรเบอร์ต้ากล่าว ผู้หญิงแต่งตัวแฟชั่น ขอบคุณ… http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1390651771&grpid=03&catid=&subcatid= (matichonออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 25 ม.ค.57 )

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...