รัฐบาลจีนตั้งจุดฉุกเฉินรองรับ “เด็กทารกป่วย-พิการ” ที่พ่อแม่จีนสมัยใหม่แอบทิ้งไว้ข้างถนน

แสดงความคิดเห็น

จุดรับฉุกเฉินสำหรับเด็กทารกที่ถูกทอดทิ้ง “เกาะทารกปลอดภัย” ของจีน

รอยเตอร์ - ในยุคปัจจุบันที่ถึงแม้นโยบายมีบุตรคนเดียวที่ผ่อนคลายลง แต่ถึงกระนั้นพ่อแม่ชาวจีนสมัยใหม่ยังคงแอบนำทารกแรกคลอดทิ้งไว้ในที่ สาธารณะ เช่น ถังขยะ หรือบนรถไฟ ซึ่งกระแสทิ้งเด็กทารกเพศหญิงเช่นในอดีต ได้เปลี่ยนเป็นการทิ้งทารกแรกคลอดที่พิการ หรือป่วยแทนจากสาเหตุขาดระบบประกันสุขภาพที่ดีในจีน ทำให้รัฐบาลจีนต้องมีนโยบายรองรับเด็กทารกที่ทอดทิ้งนี้โดยการตั้งจุดฉุกเฉิน ซึ่งเรียกว่า“เกาะทารกปลอดภัย”เพื่อให้เด็กทารกถูกทิ้งในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม

ฟางฟาง ทารกจีนเพศหญิงที่เพิ่งลืมตาดูโลกได้ไม่กี่วันหลังจากที่เธอถูกทิ้งไว้ใน ช่วงอุณหภูมิที่ติดลบช่วงปีใหม่ทางภาคเหนือของจีน แต่กระนั้น ฟางฟาง ถือว่าโชคดีกว่าทารกอื่นๆ ที่ถูกทิ้งไว้ในห้องน้ำ หรือบนรถไฟ เพราะครอบครัวของเธอได้แอบทิ้งเธอไว้ที่จุดรับฉุกเฉินสำหรับเด็กทารกที่ถูกทอดทิ้ง ซึ่งทางการจีนได้มีนโยบายขึ้นในปี2013เพื่อรองรับเด็กทารกที่ครอบครัวไม่ต้องการ

ภายในสถานที่รับทารกที่ถูกทิ้งของจีน โดยพบว่ามีจำนวนทารกแรกคลอดหลายสิบคนถูกแอบทิ้งไว้ที่ “เกาะทารกปลอดภัย” ที่สร้างขึ้นในปลายปี 2013 “เราต้องการสร้างจุดแรกรับฉุกเฉินพวกนี้ขึ้นเพื่อต้องการให้ทารกแรกคลอดนั้น จะถูกทิ้งในสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัย” จาง มิน ผู้อำนวยการศูนย์แรกรับเด็กกำพร้าของเมืองเทียนจินกล่าว ฟางฟาง ที่ถูกทิ้งไว้ในกระเป๋าเดินทางถูกส่งเข้ามายัง “เกาะทารกปลอดภัย” ที่ภายในทาสีชมพูมีเตียงเด็กทารกและเครื่องให้ความอบอุ่นแก่ทารกตั้งอยู่ภายใน

ในประเทศจีน สื่อมวลชนมักรายงานถึงสภาพโหดร้ายของทารกจีนจำนวนมากที่ถูกทอดทิ้งที่มี ปัญหามาจากแม่ชาวจีนอายุน้อยที่ไม่ตระหนักว่าพวกเธอได้ตั้งครรภ์ และให้กำเนิดทารกเพศหญิงที่ไม่ต้องการในสังคมจีนที่ยังคงต้องการทารกเพศชาย ไว้สืบสกุล ซึ่งในกรณีหนึ่งที่เกิดขึ้นกับทารกเพศชายโดนทิ้งไว้ที่ทิ้งขยะที่ชาน เมืองกรุงปักกิ่ง และเป็นที่น่าเสียดายที่เด็กทารกเพศชายรายนี้ต้องจบชีวิตไป และในกรณีอื่น นักผจญเพลิงจีนต้องช่วยเหลือทารกที่ถูกทิ้งจากระบบระบายน้ำสาธารณะ

อย่างไรก็ตาม เป็นที่น่าแปลกใจว่า ตัวเลขเด็กกำพร้าในจีนมีจำนวนลดลงตั้งแต่ปี 2005 แต่กระนั้นทางการจีนได้ประเมินว่า แต่ละปีทางการจีนต้องรับภาระเด็กทารกแรกคลอดที่ถูกทิ้งถึง 10,000 คนต่อปี และช่วงหลังจากที่เศรษฐกิจจีนเติบโตจนก้าวขึ้นมาเป็นมหาอำนาจทางเศรษฐกิจอันดับ 2 ของโลก แนวโน้มของเพศทารกที่ถูกทอดทิ้งที่แต่เดิมจะเป็นเพศหญิงนั้นกลับพบว่า เปลี่ยนไป โดยทารกทั้งเพศชาย และหญิงนั้นถูกทอดทิ้งในสัดส่วนที่มากเท่ากัน ซึ่งพบว่าส่วนมากทารกที่ถูกทอดทิ้งนั้นป่วยหนักหรือไม่ก็พิการ

ทารกฟาฟาง ถือว่าเป็นทารกรายแรกที่ถูกทิ้งไว้ที่ “เกาะทารกปลอดภัย” ในเมืองเทียนจิน โดยทางการจีนพบว่า ฟางฟาง นั้นป่วยเป็นโรคดาวน์ซินโดรม และโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด ซึ่งเจ้าหน้าที่รัฐบาลจีนย้ำว่า โครงการจุดแรกรับทารกแรกคลอดนี้จำเป็นสำหรับทารกทอดทิ้งที่ป่วย และพิการ ซึ่งส่วนใหญ่แล้วทารกพวกนี้ต้องการการรักษาพยาบาลในทันที ซึ่งแต่ละจังหวัดในจีนต้องตั้ง “เกาะทารกปลอดภัย” อย่างน้อย 2 แห่งก่อนสิ้นปี2014 “ในรายเด็กทารกแรกคลอดที่พิการมากๆ หากถูกพบช้าไป 10 นาที อาจไม่สามารถช่วยชีวิตเด็กทารกพวกนั้นไว้ได้”จีกางเจ้าหน้าที่ประจำแผนกศูนย์เด็กกำพร้าและการอุปการะเผย

อย่างไรก็ตาม นโยบายการสร้าง “เกาะทารกปลอดภัย” นั้นมีหลายฝ่ายเกรงว่าอาจเป็นกระแสที่กระตุ้นให้พ่อแม่ชาวจีนสมัยใหม่ทิ้ง ทารกที่พวกเขาไม่ต้องการมากขึ้น ซึ่งในหลายแห่งที่เริ่มเปิด มีทารกถูกทอดทิ้งส่งเข้ามาเป็นจำนวนมากภายใต้การจับจ้องของสื่อมวลชนจีน แต่หลังจากนั้น ตัวเลขของทารกที่ถูกทิ้งไว้มีจำนวนลดลง จี กาง เผยต่อ ซึ่งเจ้าหน้าที่ของจีนยังกล่าวย้ำว่า แต่การที่มีจุดรับทารกจะไม่ทำให้พ่อแม่จีนมีความต้องการทิ้งเด็กทารกมากขึ้น แต่จะทำให้รัฐบาลทราบตัวเลขที่แท้จริงของทารกที่ถูกทอดทิ้ง ซึ่งในขณะนี้ยังยากที่จะประเมิน

และนอกจากนี้พบว่า ถึงแม้จีนจะมีมูลนิธิการกุศล และโครงการประกันสุขภาพของรัฐที่ช่วยเหลือผู้ป่วย และพิการเป็นจำนวนมาก แต่ทว่าไม่มีความเป็นเอกภาพ ซึ่งจีนยังขาดความเป็นเอกภาพของสวัสดิการสังคมรัฐ ซึ่งจะช่วยเหลือไม่ให้ผู้ปกครองชาวจีนต้องจำใจทอดทิ้งบุตรหลานที่ป่วย หรือพิการของพวกเขา และทางรัฐบาลไม่จำเป็นต้องสร้างจุดฉุกเฉินรับทารกแรกคลอดเป็นจำนวนมากเช่น นี้

กล่องรับทารกที่ถูกทิ้งของเยอรมัน และเปรียบเทียบกับจุดฉุกเฉินรับเด็กแรกคลอดเยอรมนีที่ตั้งอยู่ในโรงพยาบาล เซนต์โยเซฟ โดยจุดรับแรกคลอดของโรงพยาบาลนี้จะคล้ายกับช่องรับคืนหนังสือของห้องสมุด สาธารณะที่จะเป็นเพียงกล่องโลหะเปิดได้ ซึ่งมีหมอนติดอยู่ภายใน และพ่อแม่ชาวเยอรมันที่ไม่ต้องการทารกของตนเองสามารถหย่อนทารกไว้ในกล่อง และจะมีเสียงดังเตือนขึ้นเพื่อให้เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลทราบว่ามีเด็กทารกแรกคลอดได้ถูกนำมาทิ้ง

โดยผู้ปกครองของทารกมีเวลา 8 สัปดาห์ในการเปลี่ยนใจที่จะขอรับบุตรของตนเองกลับคืนก่อนที่เด็กจะถูกนำไป เลี้ยงโดยรัฐ และติดต่อหาครอบครัวอุปการะต่อไป ในเยอรมนีนั้นต่างจากจีนตรงที่ไม่กังวลว่า จุดรับทารกฉุกเฉินจะส่งเสริมให้ผู้ปกครองทอดทิ้งทารกให้เป็นภาระของรัฐมากขึ้น แต่ทว่า ในเยอรมนีกลับมีความวิตกว่าเด็กทารกที่ถูกทอดทิ้งนั้นจะถูกนำส่งโดยบิดาหรือญาติของทารก แทนที่จะเป็นมารดาของหนูน้อยเนื่องจากระบบจุดฉุกเฉินของเยอรมนีนั้นประกันความเป็นส่วนตัวที่เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลไม่สามารถเห็นหน้าผู้นำทารกมาทิ้งไว้ได้ ซึ่งผู้ที่นำทารกมาทิ้งจะได้อ่านหนังสือคำเตือน 8 สัปดาห์ที่ติดไว้ก่อนที่เขา หรือเธอจะตัดสินใจหย่อนทารกลงในกล่องรับเด็ก โดยทั่วประเทศเยอรมนีมีจุดฉุกเฉินรับทารกแรกคลอดที่ไม่ต้องการราว99แห่ง

ภายในจุดรับฉุกเฉินสำหรับทารกที่ไม่ต้องการในเยอรมัน และล่าสุด ต้นปี 2013 นายกรัฐมนตรีเยอรมนี อังเกลา แมร์เคิล ได้ออกกฎหมายใหม่เพื่อแก้ปัญหาจุดฉุกเฉินรับทารกโดยอนุญาตให้หญิงเยอรมัน สามารถคลอดบุตรได้ในโรงพยาบาลไม่ต้องแจ้งชื่อ และนามสกุลให้ผู้อื่นภายนอกโรงพยาบาลทราบ ซึ่งข้อมูลนั้นจะถูกเก็บไว้เป็นเวลา 16 ปี เพื่อให้เด็กทารกที่ถูกทอดทิ้งได้ทราบถึงข้อมูลแม่ผู้ให้กำเนิดในภายหลัง

ขอบคุณ... http://manager.co.th/Around/ViewNews.aspx?NewsID=9570000013084 (ขนาดไฟล์: 167)

ASTVผู้จัดการออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 3 ก.พ.57

ที่มา: ASTVผู้จัดการออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 3 ก.พ.57
วันที่โพสต์: 4/02/2557 เวลา 04:55:29 ดูภาพสไลด์โชว์ รัฐบาลจีนตั้งจุดฉุกเฉินรองรับ “เด็กทารกป่วย-พิการ” ที่พ่อแม่จีนสมัยใหม่แอบทิ้งไว้ข้างถนน

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

จุดรับฉุกเฉินสำหรับเด็กทารกที่ถูกทอดทิ้ง “เกาะทารกปลอดภัย” ของจีน รอยเตอร์ - ในยุคปัจจุบันที่ถึงแม้นโยบายมีบุตรคนเดียวที่ผ่อนคลายลง แต่ถึงกระนั้นพ่อแม่ชาวจีนสมัยใหม่ยังคงแอบนำทารกแรกคลอดทิ้งไว้ในที่ สาธารณะ เช่น ถังขยะ หรือบนรถไฟ ซึ่งกระแสทิ้งเด็กทารกเพศหญิงเช่นในอดีต ได้เปลี่ยนเป็นการทิ้งทารกแรกคลอดที่พิการ หรือป่วยแทนจากสาเหตุขาดระบบประกันสุขภาพที่ดีในจีน ทำให้รัฐบาลจีนต้องมีนโยบายรองรับเด็กทารกที่ทอดทิ้งนี้โดยการตั้งจุดฉุกเฉิน ซึ่งเรียกว่า“เกาะทารกปลอดภัย”เพื่อให้เด็กทารกถูกทิ้งในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม ฟางฟาง ทารกจีนเพศหญิงที่เพิ่งลืมตาดูโลกได้ไม่กี่วันหลังจากที่เธอถูกทิ้งไว้ใน ช่วงอุณหภูมิที่ติดลบช่วงปีใหม่ทางภาคเหนือของจีน แต่กระนั้น ฟางฟาง ถือว่าโชคดีกว่าทารกอื่นๆ ที่ถูกทิ้งไว้ในห้องน้ำ หรือบนรถไฟ เพราะครอบครัวของเธอได้แอบทิ้งเธอไว้ที่จุดรับฉุกเฉินสำหรับเด็กทารกที่ถูกทอดทิ้ง ซึ่งทางการจีนได้มีนโยบายขึ้นในปี2013เพื่อรองรับเด็กทารกที่ครอบครัวไม่ต้องการ ภายในสถานที่รับทารกที่ถูกทิ้งของจีน โดยพบว่ามีจำนวนทารกแรกคลอดหลายสิบคนถูกแอบทิ้งไว้ที่ “เกาะทารกปลอดภัย” ที่สร้างขึ้นในปลายปี 2013 “เราต้องการสร้างจุดแรกรับฉุกเฉินพวกนี้ขึ้นเพื่อต้องการให้ทารกแรกคลอดนั้น จะถูกทิ้งในสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัย” จาง มิน ผู้อำนวยการศูนย์แรกรับเด็กกำพร้าของเมืองเทียนจินกล่าว ฟางฟาง ที่ถูกทิ้งไว้ในกระเป๋าเดินทางถูกส่งเข้ามายัง “เกาะทารกปลอดภัย” ที่ภายในทาสีชมพูมีเตียงเด็กทารกและเครื่องให้ความอบอุ่นแก่ทารกตั้งอยู่ภายใน ในประเทศจีน สื่อมวลชนมักรายงานถึงสภาพโหดร้ายของทารกจีนจำนวนมากที่ถูกทอดทิ้งที่มี ปัญหามาจากแม่ชาวจีนอายุน้อยที่ไม่ตระหนักว่าพวกเธอได้ตั้งครรภ์ และให้กำเนิดทารกเพศหญิงที่ไม่ต้องการในสังคมจีนที่ยังคงต้องการทารกเพศชาย ไว้สืบสกุล ซึ่งในกรณีหนึ่งที่เกิดขึ้นกับทารกเพศชายโดนทิ้งไว้ที่ทิ้งขยะที่ชาน เมืองกรุงปักกิ่ง และเป็นที่น่าเสียดายที่เด็กทารกเพศชายรายนี้ต้องจบชีวิตไป และในกรณีอื่น นักผจญเพลิงจีนต้องช่วยเหลือทารกที่ถูกทิ้งจากระบบระบายน้ำสาธารณะ อย่างไรก็ตาม เป็นที่น่าแปลกใจว่า ตัวเลขเด็กกำพร้าในจีนมีจำนวนลดลงตั้งแต่ปี 2005 แต่กระนั้นทางการจีนได้ประเมินว่า แต่ละปีทางการจีนต้องรับภาระเด็กทารกแรกคลอดที่ถูกทิ้งถึง 10,000 คนต่อปี และช่วงหลังจากที่เศรษฐกิจจีนเติบโตจนก้าวขึ้นมาเป็นมหาอำนาจทางเศรษฐกิจอันดับ 2 ของโลก แนวโน้มของเพศทารกที่ถูกทอดทิ้งที่แต่เดิมจะเป็นเพศหญิงนั้นกลับพบว่า เปลี่ยนไป โดยทารกทั้งเพศชาย และหญิงนั้นถูกทอดทิ้งในสัดส่วนที่มากเท่ากัน ซึ่งพบว่าส่วนมากทารกที่ถูกทอดทิ้งนั้นป่วยหนักหรือไม่ก็พิการ ทารกฟาฟาง ถือว่าเป็นทารกรายแรกที่ถูกทิ้งไว้ที่ “เกาะทารกปลอดภัย” ในเมืองเทียนจิน โดยทางการจีนพบว่า ฟางฟาง นั้นป่วยเป็นโรคดาวน์ซินโดรม และโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด ซึ่งเจ้าหน้าที่รัฐบาลจีนย้ำว่า โครงการจุดแรกรับทารกแรกคลอดนี้จำเป็นสำหรับทารกทอดทิ้งที่ป่วย และพิการ ซึ่งส่วนใหญ่แล้วทารกพวกนี้ต้องการการรักษาพยาบาลในทันที ซึ่งแต่ละจังหวัดในจีนต้องตั้ง “เกาะทารกปลอดภัย” อย่างน้อย 2 แห่งก่อนสิ้นปี2014 “ในรายเด็กทารกแรกคลอดที่พิการมากๆ หากถูกพบช้าไป 10 นาที อาจไม่สามารถช่วยชีวิตเด็กทารกพวกนั้นไว้ได้”จีกางเจ้าหน้าที่ประจำแผนกศูนย์เด็กกำพร้าและการอุปการะเผย อย่างไรก็ตาม นโยบายการสร้าง “เกาะทารกปลอดภัย” นั้นมีหลายฝ่ายเกรงว่าอาจเป็นกระแสที่กระตุ้นให้พ่อแม่ชาวจีนสมัยใหม่ทิ้ง ทารกที่พวกเขาไม่ต้องการมากขึ้น ซึ่งในหลายแห่งที่เริ่มเปิด มีทารกถูกทอดทิ้งส่งเข้ามาเป็นจำนวนมากภายใต้การจับจ้องของสื่อมวลชนจีน แต่หลังจากนั้น ตัวเลขของทารกที่ถูกทิ้งไว้มีจำนวนลดลง จี กาง เผยต่อ ซึ่งเจ้าหน้าที่ของจีนยังกล่าวย้ำว่า แต่การที่มีจุดรับทารกจะไม่ทำให้พ่อแม่จีนมีความต้องการทิ้งเด็กทารกมากขึ้น แต่จะทำให้รัฐบาลทราบตัวเลขที่แท้จริงของทารกที่ถูกทอดทิ้ง ซึ่งในขณะนี้ยังยากที่จะประเมิน และนอกจากนี้พบว่า ถึงแม้จีนจะมีมูลนิธิการกุศล และโครงการประกันสุขภาพของรัฐที่ช่วยเหลือผู้ป่วย และพิการเป็นจำนวนมาก แต่ทว่าไม่มีความเป็นเอกภาพ ซึ่งจีนยังขาดความเป็นเอกภาพของสวัสดิการสังคมรัฐ ซึ่งจะช่วยเหลือไม่ให้ผู้ปกครองชาวจีนต้องจำใจทอดทิ้งบุตรหลานที่ป่วย หรือพิการของพวกเขา และทางรัฐบาลไม่จำเป็นต้องสร้างจุดฉุกเฉินรับทารกแรกคลอดเป็นจำนวนมากเช่น นี้ กล่องรับทารกที่ถูกทิ้งของเยอรมัน และเปรียบเทียบกับจุดฉุกเฉินรับเด็กแรกคลอดเยอรมนีที่ตั้งอยู่ในโรงพยาบาล เซนต์โยเซฟ โดยจุดรับแรกคลอดของโรงพยาบาลนี้จะคล้ายกับช่องรับคืนหนังสือของห้องสมุด สาธารณะที่จะเป็นเพียงกล่องโลหะเปิดได้ ซึ่งมีหมอนติดอยู่ภายใน และพ่อแม่ชาวเยอรมันที่ไม่ต้องการทารกของตนเองสามารถหย่อนทารกไว้ในกล่อง และจะมีเสียงดังเตือนขึ้นเพื่อให้เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลทราบว่ามีเด็กทารกแรกคลอดได้ถูกนำมาทิ้ง โดยผู้ปกครองของทารกมีเวลา 8 สัปดาห์ในการเปลี่ยนใจที่จะขอรับบุตรของตนเองกลับคืนก่อนที่เด็กจะถูกนำไป เลี้ยงโดยรัฐ และติดต่อหาครอบครัวอุปการะต่อไป ในเยอรมนีนั้นต่างจากจีนตรงที่ไม่กังวลว่า จุดรับทารกฉุกเฉินจะส่งเสริมให้ผู้ปกครองทอดทิ้งทารกให้เป็นภาระของรัฐมากขึ้น แต่ทว่า ในเยอรมนีกลับมีความวิตกว่าเด็กทารกที่ถูกทอดทิ้งนั้นจะถูกนำส่งโดยบิดาหรือญาติของทารก แทนที่จะเป็นมารดาของหนูน้อยเนื่องจากระบบจุดฉุกเฉินของเยอรมนีนั้นประกันความเป็นส่วนตัวที่เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลไม่สามารถเห็นหน้าผู้นำทารกมาทิ้งไว้ได้ ซึ่งผู้ที่นำทารกมาทิ้งจะได้อ่านหนังสือคำเตือน 8 สัปดาห์ที่ติดไว้ก่อนที่เขา หรือเธอจะตัดสินใจหย่อนทารกลงในกล่องรับเด็ก โดยทั่วประเทศเยอรมนีมีจุดฉุกเฉินรับทารกแรกคลอดที่ไม่ต้องการราว99แห่ง ภายในจุดรับฉุกเฉินสำหรับทารกที่ไม่ต้องการในเยอรมัน และล่าสุด ต้นปี 2013 นายกรัฐมนตรีเยอรมนี อังเกลา แมร์เคิล ได้ออกกฎหมายใหม่เพื่อแก้ปัญหาจุดฉุกเฉินรับทารกโดยอนุญาตให้หญิงเยอรมัน สามารถคลอดบุตรได้ในโรงพยาบาลไม่ต้องแจ้งชื่อ และนามสกุลให้ผู้อื่นภายนอกโรงพยาบาลทราบ ซึ่งข้อมูลนั้นจะถูกเก็บไว้เป็นเวลา 16 ปี เพื่อให้เด็กทารกที่ถูกทอดทิ้งได้ทราบถึงข้อมูลแม่ผู้ให้กำเนิดในภายหลัง ขอบคุณ... http://manager.co.th/Around/ViewNews.aspx?NewsID=9570000013084 ASTVผู้จัดการออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 3 ก.พ.57

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...