ประชาธิปไตยพิการ รัฐบาลอัมพาต
ผ่าสถานการณ์เลือกตั้ง “เดี้ยง” เสี่ยงสุญญากาศอำนาจผ่าน ไปแบบทุลักทุเล ต้องบันทึกไว้ในหน้าประวัติศาสตร์ว่า การเลือกตั้ง 2 กุมภาพันธ์ 2557 เป็นการเลือกตั้งที่ปั่นป่วน วุ่นวาย รุนแรง พิลึกพิลั่น เข้าขั้น “อัปยศ” ที่สุดของการเมืองไทยในรอบหลายทศวรรษ ที่แน่ๆ หย่อนบัตรเลือกตั้งกันไปแล้ว ก็ยังประกาศผลไม่ได้ เพราะยังขาดคะแนนเลือกตั้งล่วงหน้าที่ยังจัดกันไม่ได้ และอีกหลายเขตเลือกตั้งในกรุงเทพฯและหลายพื้นที่ที่ประกาศงดลงคะแนนเพราะ ม็อบบุกปิด กับอีก 28 เขตเลือกตั้งใน 9 จังหวัดภาคใต้ที่ไม่มีผู้สมัคร และ นั่นก็มีผลกระทบเป็นลูกโซ่ถึงการนับคะแนน ส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อ ที่ตามกฎหมายถ้าขาดแม้แต่เขตเดียวก็ประกาศผล 125 ส.ส.ปาร์ตี้ลิสต์ไม่ได้สะดุดปมล็อก ติดบล็อกแทบทุกจุดสุดท้ายก็เปิดประชุมสภาผู้แทนราษฎรไม่ได้ โหวตเลือกนายกรัฐมนตรีไม่ได้ ตามรูปการณ์อีกยาวไกลกับการจะได้รัฐบาลใหม่เข้ามาบริหารประเทศ
เรื่องของเรื่อง แกะรอยตามข้อมูลที่นายภุชงค์ นุตราวงศ์ เลขาธิการคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) สรุปข้อมูลการเลือกตั้งทั่วไปอย่างเป็นทางการ ในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ จำนวน 68จังหวัด โดยไม่รวม 9 จังหวัดภาคใต้ที่มีผู้สมัคร ส.ส.เขตโดยจำนวน ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 43,024,786 คน มีผู้มาใช้สิทธิ เลือกตั้ง 20,530,359 คน คิดเป็น 47.72 เปอร์เซ็นต์ แบ่งเป็นบัตรดี 14,645,812 ใบ คิดเป็น 71.34 เปอร์เซ็นต์ บัตรเสีย 2,458,461ใบ คิดเป็น 11.97 เปอร์เซ็นต์ ผู้ไม่ประสงค์ลงคะแนน หรือโหวตโน จำนวน 3,426,080 ใบ คิดเป็น 16.69 เปอร์เซ็นต์
กรุงเทพมหานครมีผู้ออกมาใช้สิทธิเลือกตั้ง 1,133,296คน คิดเป็น 25.94 เปอร์เซ็นต์ จากจำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั้งหมด 4,369,120 คน เป็นบัตรดี 775,821 บัตร คิดเป็น 68.46 เปอร์เซ็นต์ ขณะที่บัตรเสีย 90,923 บัตร คิดเป็น 8.02 เปอร์เซ็นต์ จำนวนบัตรไม่ประสงค์ลงคะแนน 266,552 บัตร คิดเป็น 23.52 เปอร์เซ็นต์
ภาคเหนือมีผู้มาใช้สิทธิมากที่สุด 56.02 เปอร์เซ็นต์ ขณะที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีจำนวนบัตรดีมากที่สุด 81.03 เปอร์เซ็นต์ ส่วนบัตรเสียมากที่สุดตกเป็นของภาคใต้ 16.53 เปอร์เซ็นต์ ตามตัวเลขที่ก้ำกึ่ง ไม่สามารถชี้วัดได้ว่ากระแสประชาชนส่วนใหญ่เทไปข้างไหน แต่ที่ชัดเจนก็คือมีการแบ่งเป็น “ภาคนิยม” สังเกต คะแนนพรรคเพื่อไทยจะแปรผันตามสถิติคนออกมาใช้สิทธิเลือกตั้งหนาแน่นในภาค อีสาน ภาคเหนือ ภาคกลางส่วนภาคใต้กับกรุงเทพฯประชาชนออกมาใช้สิทธิเบาบางโน้มเอนไปทางแนวทาง ของม็อบ กปปส.และฐานเสียงของพรรคประชาธิปัตย์
กองเชียร์ใครกองเชียร์มัน ซึ่ง จริงๆ มันก็เป็นมาแบบนี้อยู่แล้ว จากการสะท้อนผ่านการเลือกตั้ง 3-4 รอบที่ผ่านมา ผลการเลือกตั้งในภาคเหนือ ภาคอีสาน ภาคกลาง จะตรงกันข้ามกับภาคใต้และ กทม.แยกขั้ว แบ่งประเทศออกเป็นเสี่ยงๆ ชัดเจน สรุป การเลือกตั้งในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ท่ามกลางสงครามความแตกแยกทางความคิด ว่ากันจริงๆ ก็เป็นแค่กิจกรรมของฝ่ายรัฐบาลที่สามารถลากเกมฝ่ากระแสต้านมาได้แบบถูลู่ ถูกัง ไม่ต้องพูดถึงการตั้งรัฐบาลใหม่เหมือนการเลือกตั้งในภาวะปกติ เพราะมันยังคงเต็มไปด้วยคำถามว่า เลือกตั้งจบเมื่อไหร่ “ม็อบกำนัน” จะเลิกตอนไหน แต่อย่างไรก็ตาม ตราบใดที่รัฐธรรมนูญยังมีผลบังคับใช้ทุกอย่างก็ต้องดำเนินไปตามครรลองของระบบภายใต้กติกาประชาธิปไตย ฝ่ายที่เกี่ยวข้องไม่กล้าเสี่ยงละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ ในส่วนของการเลือกตั้งที่ยังติดปัญหา ไม่จบสิ้นกระบวนการก็เป็นหน้าที่ของ กกต.ที่จะต้องดำเนินการจัดการเลือกตั้งใหม่ในส่วนของ 28 เขตเลือกตั้งที่ไร้ผู้สมัคร หน่วยเลือกตั้งที่ปิดลงคะแนนไม่ได้ รวมถึงปมลักลั่น การลงคะแนนเลือกตั้งล่วงหน้าที่ต้องเลื่อนออกมาหลังวันเลือกตั้งทั่วประเทศ แม้จะสุ่มเสี่ยงกับประเด็นเลือกตั้งโมฆะก็ตามที ตามเงื่อนเวลาถ้าประเมินอย่างที่นายสมชัย ศรีสุทธิยากร กกต.ฝ่ายบริหารกิจการเลือกตั้งระบุไว้อย่างน้อยก็ประมาณ 4–6เดือนเป็นอย่างต่ำ ซึ่งก็ไม่แน่ว่าจะปิดกล่องลงคะแนนกันได้หรือไม่ แต่ นั่นก็คงไม่ใช่ปัญหาสำหรับรัฐบาล ไม่ว่ากระบวนการเลือกตั้งจะจบเมื่อไหร่ นายกฯยิ่งลักษณ์และ ครม.ก็จะยึดรัฐธรรมนูญเป็นขอนเกาะลอยคอ ตีกรรเชียง ยื้ออำนาจรักษาการไปเรื่อยๆ ขณะที่ฝ่ายของ “ม็อบกำนัน” นายสุเทพ เทือกสุบรรณ เลขาธิการกปปส. ก็ประกาศชุมนุมกดดันต่อไม่หยุด จนกว่านายกฯยิ่งลักษณ์จะลาออกจากรักษาการ
เกม “ขึงพืด” อำนาจยังคงดำเนินต่อไป ไฟต์บังคับ ต่างฝ่ายต่างถอยไม่ได้ ในสถานการณ์ที่วิกฤติความขัดแย้งทางการเมืองกำลังส่งผลสะเทือนหนักหน่วง รุนแรงขึ้นทุกขณะ กระทบไปหมดทุกภาคส่วนของประเทศไทย สังคมแตกแยก แบ่งเป็นภาคนิยม ปะทุสงครามชนชั้น เศรษฐกิจ กำลังดำดิ่ง ตามคาดการณ์ของกูรูประเมินตัวเลขการเจริญเติบโตเหลือแค่ร้อยละ 1.5–2 เท่านั้น ถ้าม็อบยังยืดเยื้อต่อไปกู่ไม่กลับแน่ กับสภาพความเป็นจริงที่พ่อค้า แม่ค้า แท็กซี่ สามล้อ คนงานรับจ้าง พนักงานห้างร้าน ประชาชนหาเช้ากินค่ำ กำลังอยู่ในภาวะหากินฝืดเคือง
ความเดือดร้อนลามถึงปากท้อง ยิ่งกระตุกอารมณ์เครียดกับภาวะความวุ่นวายทางการเมืองที่ไม่รู้จุดจบสิ้น แต่ นั่นก็ยังไม่เท่าปมร้อนดุเดือดเลยก็คือปัญหาโครงการรับจำนำข้าวที่ไม่มีเงิน จ่ายให้ชาวนา อันเป็นผลจากสถานะของรัฐบาลรักษาการที่มีอำนาจลอยๆ ทำอะไรได้ไม่เต็มไม้เต็มมือ ตกอยู่ในสภาพ “ปูเดี้ยง” ขาดสภาพคล่อง จะใช้เงินของแบงก์รัฐทั้งธนาคารออมสินกับธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การ เกษตร (ธ.ก.ส.) ก็โดนต้านจากสหภาพฯที่เป็นแนวร่วมของม็อบ กปปส. ครั้นจะหันไปพึ่งธนาคารพาณิชย์ก็ไม่มีเครดิต แบงก์ไม่กล้าปล่อยกู้ ข้าวที่เก็บไว้ในสต๊อกก็ระบายไม่ทันติดปัญหาข้อกฎหมาย เรื่องจีทูจี ชาวนา เดือดร้อน จำนำข้าวแล้วไม่ได้เงิน ในขณะที่ฤดูปลูกข้าวใหม่ก็ใกล้เข้ามาแล้ว ทำให้เกิดภาพม็อบชาวนาประท้วงปิดถนนทั้งภาคเหนือตอนล่าง ภาคกลาง ภาคตะวันตก จังหวะผสมโรงพอดีกับม็อบ กปปส.ที่โดดออกมาเป็นแนวร่วมม็อบชาวนา เคลื่อนไหวกดดันรัฐบาลให้ลาออก เพื่อให้รัฐบาลใหม่เข้ามาบริหารจัดการจ่ายเงินโครงการจำนำข้าว กลายเป็นคนละเรื่องเดียวกัน เพิ่มแรงกดดันรัฐบาล “ยิ่งลักษณ์” ตกอยู่ในสถานการณ์ลำบาก แต่ที่สาหัสกว่าก็คือชาวบ้านตาดำๆ โดยปรากฏการณ์ที่เห็นได้ชัดกับสภาพที่วิกฤติการเมืองยืดเยื้อ แม้จะผ่านการเลือกตั้งแล้วก็ไม่มีผลแพ้ชนะกับฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดแต่ที่แพ้แน่ๆ ก็คือประเทศชาติและประชาชนคนไทย และก็เป็นอะไรที่ยังประเมินตอนจบไม่ได้ ตามจังหวะก็แค่ผ่านจุดพลิกผันเลือกตั้งวันที่ 2 กุมภาพันธ์ไปแล้ว ต้องปรับเกมสู้กันใหม่
แน่นอนรัฐบาลต้องกอดรัฐธรรมนูญ อิงกฎหมายเพื่อสู้กับแรงเสียดทานจากฝ่ายต้าน พร้อมกับโอกาสเสี่ยงพลิกคว่ำพลิกหงายจากองค์กรอิสระ ในขณะที่พรรคประชาธิปัตย์ได้ส่งนายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองหัวหน้าพรรค ไปติดตามความคืบหน้าจาก ป.ป.ช.กรณียื่นถอดถอนนายกฯยิ่งลักษณ์ออกจากตำแหน่ง เปลี่ยนมาเร่งจังหวะองค์กรอิสระเป็น “ตัวช่วย” ปิดเกม อีก ทางหนึ่ง “กำนันเทพ” ก็ประกาศไล่ล่า ตามกดดันนายกฯยิ่งลักษณ์และทีมงาน ครม.ไปทุกที่ ส่งหนังสือแจ้งให้นายกฯและ ครม.หยุดปฏิบัติงาน ขู่เลยว่า ถ้าไม่หยุดการกระทำใดๆ จะต้องถือเป็นความผิดและต้องรับผิดชอบทั้งทางแพ่งและอาญา
พูดไปพูดมา ก็ไม่ลืมเรียกให้ทหารออกมายืนข้างมวลมหาประชาชนเล่นเอาเถิดเจ้าล่อกับ “สารวัตรเหลิม” ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รมว.แรงงาน ในฐานะผู้อำนวยการ ศรส.ที่ขู่ออกอากาศวันละ 3 เวลาหลังอาหาร ให้ “ม็อบกำนัน” เลิกชุมนุม รัฐบาลจะทวงคืนพื้นที่ราชการ ถ้าขัดขืนจะดำเนินการตามกฎหมายอย่างเฉียบขาด ฝ่ายรัฐบาลก็ใช้ตำรวจเป็นกองกำลังหลักในการบล็อกม็อบไม่ให้อาละวาด ภายหลังศาลอาญาอนุมัติหมายจับนายสุเทพกับ 18 แกนนำม็อบ กปปส.ฐานละเมิด พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ดึงจังหวะหยั่งเชิง วัดใจกันไป ไม่ผิดจากที่หลายฝ่ายประเมิน “เฉลิม-สุเทพ” มวยถูกคู่ ไก่เห็นตีนงู งูเห็นนมไก่ กลัวๆ กล้าๆ ประจันหน้ากันแบบป๊อดๆ แน่นอน ตามรูปการณ์ที่ประเมินได้ การต่อสู้โดย “สันติอหิงสา” ไม่มีทางจบเกมในระยะเวลาอันสั้น แม้แต่ “นักวิชาการเสื้อกั๊ก” อย่างนายธีรยุทธ บุญมี เจ้าของทฤษฎี “มะม่วงสุก” ก็ยอมรับว่า เป็นเรื่องยากมากที่จะรอให้มะม่วงงอมแล้วหล่นลงมาจากต้นเอง
จุดเปลี่ยนการเมืองจริงๆ มักจะอยู่ที่เหตุรุนแรงถึงขั้นนองเลือด ซึ่งก็เห็นจากความพยายามจุดชนวน “น้ำผึ้งหยดเดียว” ที่มีมาตลอด ตั้งแต่การรับสมัครเลือกตั้งที่ศูนย์เยาวชนไทย-ญี่ปุ่น ดินแดง ก็มีการปะทะระหว่างเจ้าหน้าที่ตำรวจกับม็อบ คปท.แนวร่วมฮาร์ดคอร์ ม็อบ กปปส. มีผู้เสียชีวิตไปฝ่ายละ 1 ราย ทั้งตำรวจและม็อบ มา ถึงวันเลือกตั้งล่วงหน้าก็มีเหตุการณ์ปะทะกันอย่างรุนแรงที่บางนาระหว่างม็อบกปปส.กับฝ่ายตรงข้าม ทำให้แกนนำม็อบกปท.โดนยิงตายคารถปราศรัยและ วันสุกดิบก่อนหย่อนบัตรเลือกตั้งวันที่ 2 กุมภาพันธ์ ก็มีสงครามย่อยๆ ที่เขตหลักสี่ ระหว่างแนวร่วมม็อบเสื้อแดงที่ต้องการไปเปิดหน่วยเลือกตั้งที่โดนม็อบ กปปส.นำโดย “พุทธอิสระ”ปิดล้อมสำนักงานเขตหลักสี่ไว้ ในฉากที่ไอ้โม่งชุดดำถือปืนกล ปืนสั้น วิ่งกันเพ่นพ่าน ผลของการปะทะมีเหยื่อเป็นชายชราโดนยิงที่คอ กลายเป็นอัมพาต เกมแลกเลือดเกิดขึ้นทุกช็อตของการเลือกตั้ง มีทั้งเจ็บทั้งตายแต่ก็ยังไม่มีเหตุพลิกผันแต่อย่างใด
นี่ แหละที่ต้องจับตา ในเมื่อแนวร่วมม็อบบาดเจ็บล้มตายยังไม่เป็นผล น้ำผึ้งหยดเดียวจุดเหตุจลาจลไม่ติด ตามรูปการณ์ก็อาจจะต้องใช้น้ำผึ้งหลายหยด หรือเปลี่ยนเป้าหมายไปที่แกนนำ ตามเงื่อนไข ไม่นองเลือด ไม่เกิดจุดเปลี่ยน.
ขอบคุณ… http://www.thairath.co.th/column/pol/wikroh/402172 (ขนาดไฟล์: 167)
( ไทยรัฐออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 7 ก.พ.58 )
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
กลุ่ม กปปส.ต่อต้านรัฐบาล ผ่าสถานการณ์เลือกตั้ง “เดี้ยง” เสี่ยงสุญญากาศอำนาจผ่าน ไปแบบทุลักทุเล ต้องบันทึกไว้ในหน้าประวัติศาสตร์ว่า การเลือกตั้ง 2 กุมภาพันธ์ 2557 เป็นการเลือกตั้งที่ปั่นป่วน วุ่นวาย รุนแรง พิลึกพิลั่น เข้าขั้น “อัปยศ” ที่สุดของการเมืองไทยในรอบหลายทศวรรษ ที่แน่ๆ หย่อนบัตรเลือกตั้งกันไปแล้ว ก็ยังประกาศผลไม่ได้ เพราะยังขาดคะแนนเลือกตั้งล่วงหน้าที่ยังจัดกันไม่ได้ และอีกหลายเขตเลือกตั้งในกรุงเทพฯและหลายพื้นที่ที่ประกาศงดลงคะแนนเพราะ ม็อบบุกปิด กับอีก 28 เขตเลือกตั้งใน 9 จังหวัดภาคใต้ที่ไม่มีผู้สมัคร และ นั่นก็มีผลกระทบเป็นลูกโซ่ถึงการนับคะแนน ส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อ ที่ตามกฎหมายถ้าขาดแม้แต่เขตเดียวก็ประกาศผล 125 ส.ส.ปาร์ตี้ลิสต์ไม่ได้สะดุดปมล็อก ติดบล็อกแทบทุกจุดสุดท้ายก็เปิดประชุมสภาผู้แทนราษฎรไม่ได้ โหวตเลือกนายกรัฐมนตรีไม่ได้ ตามรูปการณ์อีกยาวไกลกับการจะได้รัฐบาลใหม่เข้ามาบริหารประเทศ เรื่องของเรื่อง แกะรอยตามข้อมูลที่นายภุชงค์ นุตราวงศ์ เลขาธิการคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) สรุปข้อมูลการเลือกตั้งทั่วไปอย่างเป็นทางการ ในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ จำนวน 68จังหวัด โดยไม่รวม 9 จังหวัดภาคใต้ที่มีผู้สมัคร ส.ส.เขตโดยจำนวน ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 43,024,786 คน มีผู้มาใช้สิทธิ เลือกตั้ง 20,530,359 คน คิดเป็น 47.72 เปอร์เซ็นต์ แบ่งเป็นบัตรดี 14,645,812 ใบ คิดเป็น 71.34 เปอร์เซ็นต์ บัตรเสีย 2,458,461ใบ คิดเป็น 11.97 เปอร์เซ็นต์ ผู้ไม่ประสงค์ลงคะแนน หรือโหวตโน จำนวน 3,426,080 ใบ คิดเป็น 16.69 เปอร์เซ็นต์ กรุงเทพมหานครมีผู้ออกมาใช้สิทธิเลือกตั้ง 1,133,296คน คิดเป็น 25.94 เปอร์เซ็นต์ จากจำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั้งหมด 4,369,120 คน เป็นบัตรดี 775,821 บัตร คิดเป็น 68.46 เปอร์เซ็นต์ ขณะที่บัตรเสีย 90,923 บัตร คิดเป็น 8.02 เปอร์เซ็นต์ จำนวนบัตรไม่ประสงค์ลงคะแนน 266,552 บัตร คิดเป็น 23.52 เปอร์เซ็นต์ ภาคเหนือมีผู้มาใช้สิทธิมากที่สุด 56.02 เปอร์เซ็นต์ ขณะที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีจำนวนบัตรดีมากที่สุด 81.03 เปอร์เซ็นต์ ส่วนบัตรเสียมากที่สุดตกเป็นของภาคใต้ 16.53 เปอร์เซ็นต์ ตามตัวเลขที่ก้ำกึ่ง ไม่สามารถชี้วัดได้ว่ากระแสประชาชนส่วนใหญ่เทไปข้างไหน แต่ที่ชัดเจนก็คือมีการแบ่งเป็น “ภาคนิยม” สังเกต คะแนนพรรคเพื่อไทยจะแปรผันตามสถิติคนออกมาใช้สิทธิเลือกตั้งหนาแน่นในภาค อีสาน ภาคเหนือ ภาคกลางส่วนภาคใต้กับกรุงเทพฯประชาชนออกมาใช้สิทธิเบาบางโน้มเอนไปทางแนวทาง ของม็อบ กปปส.และฐานเสียงของพรรคประชาธิปัตย์ กองเชียร์ใครกองเชียร์มัน ซึ่ง จริงๆ มันก็เป็นมาแบบนี้อยู่แล้ว จากการสะท้อนผ่านการเลือกตั้ง 3-4 รอบที่ผ่านมา ผลการเลือกตั้งในภาคเหนือ ภาคอีสาน ภาคกลาง จะตรงกันข้ามกับภาคใต้และ กทม.แยกขั้ว แบ่งประเทศออกเป็นเสี่ยงๆ ชัดเจน สรุป การเลือกตั้งในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ท่ามกลางสงครามความแตกแยกทางความคิด ว่ากันจริงๆ ก็เป็นแค่กิจกรรมของฝ่ายรัฐบาลที่สามารถลากเกมฝ่ากระแสต้านมาได้แบบถูลู่ ถูกัง ไม่ต้องพูดถึงการตั้งรัฐบาลใหม่เหมือนการเลือกตั้งในภาวะปกติ เพราะมันยังคงเต็มไปด้วยคำถามว่า เลือกตั้งจบเมื่อไหร่ “ม็อบกำนัน” จะเลิกตอนไหน แต่อย่างไรก็ตาม ตราบใดที่รัฐธรรมนูญยังมีผลบังคับใช้ทุกอย่างก็ต้องดำเนินไปตามครรลองของระบบภายใต้กติกาประชาธิปไตย ฝ่ายที่เกี่ยวข้องไม่กล้าเสี่ยงละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ ในส่วนของการเลือกตั้งที่ยังติดปัญหา ไม่จบสิ้นกระบวนการก็เป็นหน้าที่ของ กกต.ที่จะต้องดำเนินการจัดการเลือกตั้งใหม่ในส่วนของ 28 เขตเลือกตั้งที่ไร้ผู้สมัคร หน่วยเลือกตั้งที่ปิดลงคะแนนไม่ได้ รวมถึงปมลักลั่น การลงคะแนนเลือกตั้งล่วงหน้าที่ต้องเลื่อนออกมาหลังวันเลือกตั้งทั่วประเทศ แม้จะสุ่มเสี่ยงกับประเด็นเลือกตั้งโมฆะก็ตามที ตามเงื่อนเวลาถ้าประเมินอย่างที่นายสมชัย ศรีสุทธิยากร กกต.ฝ่ายบริหารกิจการเลือกตั้งระบุไว้อย่างน้อยก็ประมาณ 4–6เดือนเป็นอย่างต่ำ ซึ่งก็ไม่แน่ว่าจะปิดกล่องลงคะแนนกันได้หรือไม่ แต่ นั่นก็คงไม่ใช่ปัญหาสำหรับรัฐบาล ไม่ว่ากระบวนการเลือกตั้งจะจบเมื่อไหร่ นายกฯยิ่งลักษณ์และ ครม.ก็จะยึดรัฐธรรมนูญเป็นขอนเกาะลอยคอ ตีกรรเชียง ยื้ออำนาจรักษาการไปเรื่อยๆ ขณะที่ฝ่ายของ “ม็อบกำนัน” นายสุเทพ เทือกสุบรรณ เลขาธิการกปปส. ก็ประกาศชุมนุมกดดันต่อไม่หยุด จนกว่านายกฯยิ่งลักษณ์จะลาออกจากรักษาการ เกม “ขึงพืด” อำนาจยังคงดำเนินต่อไป ไฟต์บังคับ ต่างฝ่ายต่างถอยไม่ได้ ในสถานการณ์ที่วิกฤติความขัดแย้งทางการเมืองกำลังส่งผลสะเทือนหนักหน่วง รุนแรงขึ้นทุกขณะ กระทบไปหมดทุกภาคส่วนของประเทศไทย สังคมแตกแยก แบ่งเป็นภาคนิยม ปะทุสงครามชนชั้น เศรษฐกิจ กำลังดำดิ่ง ตามคาดการณ์ของกูรูประเมินตัวเลขการเจริญเติบโตเหลือแค่ร้อยละ 1.5–2 เท่านั้น ถ้าม็อบยังยืดเยื้อต่อไปกู่ไม่กลับแน่ กับสภาพความเป็นจริงที่พ่อค้า แม่ค้า แท็กซี่ สามล้อ คนงานรับจ้าง พนักงานห้างร้าน ประชาชนหาเช้ากินค่ำ กำลังอยู่ในภาวะหากินฝืดเคือง ความเดือดร้อนลามถึงปากท้อง ยิ่งกระตุกอารมณ์เครียดกับภาวะความวุ่นวายทางการเมืองที่ไม่รู้จุดจบสิ้น แต่ นั่นก็ยังไม่เท่าปมร้อนดุเดือดเลยก็คือปัญหาโครงการรับจำนำข้าวที่ไม่มีเงิน จ่ายให้ชาวนา อันเป็นผลจากสถานะของรัฐบาลรักษาการที่มีอำนาจลอยๆ ทำอะไรได้ไม่เต็มไม้เต็มมือ ตกอยู่ในสภาพ “ปูเดี้ยง” ขาดสภาพคล่อง จะใช้เงินของแบงก์รัฐทั้งธนาคารออมสินกับธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การ เกษตร (ธ.ก.ส.) ก็โดนต้านจากสหภาพฯที่เป็นแนวร่วมของม็อบ กปปส. ครั้นจะหันไปพึ่งธนาคารพาณิชย์ก็ไม่มีเครดิต แบงก์ไม่กล้าปล่อยกู้ ข้าวที่เก็บไว้ในสต๊อกก็ระบายไม่ทันติดปัญหาข้อกฎหมาย เรื่องจีทูจี ชาวนา เดือดร้อน จำนำข้าวแล้วไม่ได้เงิน ในขณะที่ฤดูปลูกข้าวใหม่ก็ใกล้เข้ามาแล้ว ทำให้เกิดภาพม็อบชาวนาประท้วงปิดถนนทั้งภาคเหนือตอนล่าง ภาคกลาง ภาคตะวันตก จังหวะผสมโรงพอดีกับม็อบ กปปส.ที่โดดออกมาเป็นแนวร่วมม็อบชาวนา เคลื่อนไหวกดดันรัฐบาลให้ลาออก เพื่อให้รัฐบาลใหม่เข้ามาบริหารจัดการจ่ายเงินโครงการจำนำข้าว กลายเป็นคนละเรื่องเดียวกัน เพิ่มแรงกดดันรัฐบาล “ยิ่งลักษณ์” ตกอยู่ในสถานการณ์ลำบาก แต่ที่สาหัสกว่าก็คือชาวบ้านตาดำๆ โดยปรากฏการณ์ที่เห็นได้ชัดกับสภาพที่วิกฤติการเมืองยืดเยื้อ แม้จะผ่านการเลือกตั้งแล้วก็ไม่มีผลแพ้ชนะกับฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดแต่ที่แพ้แน่ๆ ก็คือประเทศชาติและประชาชนคนไทย และก็เป็นอะไรที่ยังประเมินตอนจบไม่ได้ ตามจังหวะก็แค่ผ่านจุดพลิกผันเลือกตั้งวันที่ 2 กุมภาพันธ์ไปแล้ว ต้องปรับเกมสู้กันใหม่ แน่นอนรัฐบาลต้องกอดรัฐธรรมนูญ อิงกฎหมายเพื่อสู้กับแรงเสียดทานจากฝ่ายต้าน พร้อมกับโอกาสเสี่ยงพลิกคว่ำพลิกหงายจากองค์กรอิสระ ในขณะที่พรรคประชาธิปัตย์ได้ส่งนายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองหัวหน้าพรรค ไปติดตามความคืบหน้าจาก ป.ป.ช.กรณียื่นถอดถอนนายกฯยิ่งลักษณ์ออกจากตำแหน่ง เปลี่ยนมาเร่งจังหวะองค์กรอิสระเป็น “ตัวช่วย” ปิดเกม อีก ทางหนึ่ง “กำนันเทพ” ก็ประกาศไล่ล่า ตามกดดันนายกฯยิ่งลักษณ์และทีมงาน ครม.ไปทุกที่ ส่งหนังสือแจ้งให้นายกฯและ ครม.หยุดปฏิบัติงาน ขู่เลยว่า ถ้าไม่หยุดการกระทำใดๆ จะต้องถือเป็นความผิดและต้องรับผิดชอบทั้งทางแพ่งและอาญา พูดไปพูดมา ก็ไม่ลืมเรียกให้ทหารออกมายืนข้างมวลมหาประชาชนเล่นเอาเถิดเจ้าล่อกับ “สารวัตรเหลิม” ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รมว.แรงงาน ในฐานะผู้อำนวยการ ศรส.ที่ขู่ออกอากาศวันละ 3 เวลาหลังอาหาร ให้ “ม็อบกำนัน” เลิกชุมนุม รัฐบาลจะทวงคืนพื้นที่ราชการ ถ้าขัดขืนจะดำเนินการตามกฎหมายอย่างเฉียบขาด ฝ่ายรัฐบาลก็ใช้ตำรวจเป็นกองกำลังหลักในการบล็อกม็อบไม่ให้อาละวาด ภายหลังศาลอาญาอนุมัติหมายจับนายสุเทพกับ 18 แกนนำม็อบ กปปส.ฐานละเมิด พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ดึงจังหวะหยั่งเชิง วัดใจกันไป ไม่ผิดจากที่หลายฝ่ายประเมิน “เฉลิม-สุเทพ” มวยถูกคู่ ไก่เห็นตีนงู งูเห็นนมไก่ กลัวๆ กล้าๆ ประจันหน้ากันแบบป๊อดๆ แน่นอน ตามรูปการณ์ที่ประเมินได้ การต่อสู้โดย “สันติอหิงสา” ไม่มีทางจบเกมในระยะเวลาอันสั้น แม้แต่ “นักวิชาการเสื้อกั๊ก” อย่างนายธีรยุทธ บุญมี เจ้าของทฤษฎี “มะม่วงสุก” ก็ยอมรับว่า เป็นเรื่องยากมากที่จะรอให้มะม่วงงอมแล้วหล่นลงมาจากต้นเอง จุดเปลี่ยนการเมืองจริงๆ มักจะอยู่ที่เหตุรุนแรงถึงขั้นนองเลือด ซึ่งก็เห็นจากความพยายามจุดชนวน “น้ำผึ้งหยดเดียว” ที่มีมาตลอด ตั้งแต่การรับสมัครเลือกตั้งที่ศูนย์เยาวชนไทย-ญี่ปุ่น ดินแดง ก็มีการปะทะระหว่างเจ้าหน้าที่ตำรวจกับม็อบ คปท.แนวร่วมฮาร์ดคอร์ ม็อบ กปปส. มีผู้เสียชีวิตไปฝ่ายละ 1 ราย ทั้งตำรวจและม็อบ มา
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)