ความขัดแย้งทางการเมืองส่วนกลางกับความรุนแรงในสามจังหวัดชายแดนใต้

แสดงความคิดเห็น

ขอสันติ คืนสู่สามจังหวัดชายแดนใต้

ดวงยิหวา อุตรสินธุ์ : ในขณะที่คนไทยในส่วนของภาคอื่นของประเทศกำลังต่อสู้กันเพื่อนามธรรมกับคำ ว่า "ประชาธิปไตย" คนในพื้นที่สามจังหวัดภาคใต้กำลังต่อสู้กับการที่จะได้มีชีวิตรอดปลอดภัยกัน แบบวันต่อวัน

วินสตัน เชอร์ชิล (Winston Churchill) อดีตนายกรัฐมนตรีอังกฤษผู้ล่วงลับได้กล่าวไว้ว่า “Healthy citizens are the greatest asset any country can have.” นั่นคือ ประชาชนที่ถือว่าสุขภาพสุขสมบูรณ์ดีถือเป็นสิ่งที่มีค่าที่สุดที่ประเทศนั้น พึงจะมี แต่เมื่อหันมามองปัญหาความขัดแย้งและความรุนแรงที่เกิดขึ้นทางตอนใต้ของ ประเทศไทยนับตั้งแต่ปี 2547 จนถึงปัจจุบัน จำนวนประชาชนผู้เคราะห์ร้ายที่เสียชีวิตในเขตพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ขณะนี้แตะที่เกือบ 6,000 ศพ บาดเจ็บกว่าหนึ่งหมื่นราย หากอดีตนายกรัฐมนตรีอังกฤษท่านนี้รู้คงเบะปากพร้อมส่ายหน้าอย่างอิดหนาระอาใจให้กับความไร้ซึ่งประสิทธิภาพในการบริหารแก้ไขปัญหาความขัดแย้งในเขต พื้นที่ปลายด้ามขวานของรัฐบาลไทยทุกรัฐบาลที่ผ่านมา

ทหารให้ความคุ่มกัน เด็กนักเรียนในสามจังหวัดชายแดนใต้ เนื่องเพราะขณะนี้การเมืองไทยไม่นิ่ง เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในพื้นที่สามจังหวัดนับวันจึงมีแต่จะเลวร้ายลงเรื่อยๆ ในขณะที่ทางฝ่าย กปปส. นำโดยลุงกำนันกำลังปราศรัยอย่างเผ็ดร้อน รวมพลมวลมหาประชาชนต่อต้านระบอบทักษิณ กับทางฝ่ายรัฐบาลนำโดยนายกรัฐมนตรีหญิงยิ่งลักษณ์ที่ไม่มีทีท่าว่าจะเดือด เนื้อร้อนใจกับเรื่องใดๆ นั้น มีฝ่ายใดบ้างที่ให้ความสนใจกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในสามจังหวัดชายแดนใต้ อย่างจริงจัง ไม่ว่าจะเป็นเหตุการณ์ที่หลายฝ่ายเห็นว่าเป็นเจ้าหน้าที่รัฐที่ใส่ชุดดำ กับรถที่นั่งกันมาประมาณ 8 คัน กราดยิงหมู่บ้านก่อนที่จะไล่ล่าจับกุมคนในหมู่บ้านไปหนึ่งคน ณ หมู่บ้านแห่งหนึ่งที่จังหวัดปัตตานีเมื่อกลางเดือนมกราคมที่ผ่านมา

หรือ จะเป็นเหตุการณ์ที่มีการขว้างระเบิดใส่เจ้าหน้าที่รัฐที่อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานีก่อนวันเลือกตั้งหนึ่งวัน เป็นเหตุให้เจ้าหน้าที่เสียชีวิต 4 ราย และได้รับบาดเจ็บ 5 ราย และล่าสุด ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่สร้างความเศร้าสลดใจให้กับผู้คนที่ได้รับข่าวคือ การที่เด็กน้อยสามรายถูกยิงตายคาบ้านพักที่อำเภอบาเจาะ จังหวัดนราธิวาส เมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ ซึ่งขณะนี้ยังไม่ทราบว่าเป็นฝีมือของฝ่ายใด

ท่านกำนันสุเทพ กับท่านนายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ สองฝ่ายที่ห้ำหั่นใส่กันต่างอ้างกันว่าสู้เพื่อประชาชน ไฉนเลยจึงแทบจะไม่เคยเอ่ยถึงคนที่ถูกฆ่าตายรายวันในพื้นที่สามจังหวัดชายแดน ภาคใต้ อยากฝากเรียนถามคุณสุเทพ เทือกสุบรรณว่าขณะที่ท่านดำรงตำแหน่งเป็นรองนายกรัฐมนตรีฝ่ายความมั่นคงภาย ใต้นายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นั้น ท่านมีผลงานอะไรบ้างในการที่จะพยายามดับปัญหาไฟใต้ นอกเหนือไปจากการที่แค่ได้ประกาศใช้พ.ร.ก.ฉุกเฉินอย่างต่อเนื่องทุกสามเดือน

กลุ่ม กปปส. ต่อต้านรัฐบาล หรือทางฝ่ายรัฐบาลเพื่อไทยเอง ที่พยายามจัดให้มีการตั้งโต๊ะเจรจาระหว่างฝ่ายรัฐบาลกับฝ่ายบีอาร์เอ็นก็ เกรงว่าจะล้มไม่เป็นท่า เพราะไม่มีความต่อเนื่องและขาดความจริงใจที่จะสานต่อการเจรจาให้ถึงที่สุด จนถึงตอนนี้ ทั้งสองฝ่ายควรที่จะยอมรับได้แล้วว่าที่ผ่านมานั้น เพียงแค่อ้างใช้เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในพื้นที่สามจังหวัดเป็นเครื่องมือใน การสาดโคลนใส่กันและกัน เพียงเพื่อยกหางให้กับฝ่ายของตัวเอง และเพียงแต่คอยที่จะหาทางเพิ่มคะแนนเสียงให้กับฝ่ายของตัวเอง เพราะโดยแท้จริงแล้ว จากผลงานการบริหารจากทั้งทางฝ่ายอดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ อดีตนายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์ และนายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ ไม่มีฝ่ายใดมีความสุจริตใจที่จะแก้ไขปัญหาสามจังหวัดชายแดนภาคใต้เลยแม้แต่น้อย

ไม่อยากจะกล่าวหา แต่จำต้องแสดงความคิดเห็นออกมาว่า รัฐบาลไทยวางบทบาทตนเองที่นับได้ว่าสองมาตรฐานอย่างชัดเจน ตัวอย่างที่เห็นได้อย่างสุดโต่งคือที่จังหวัดพะเยา กรณีที่มีมือดีขึงป้ายผ้าว่า ขอแยกประเทศเพราะประเทศนี้ไม่มีความยุติธรรม บนสะพานลอยถนนสายหลักกรุงเทพฯ - พะเยา - เชียงราย ตำรวจภูธรเมืองพะเยาเพียงแค่ทำการปลดป้ายลง ลองนึกกลับกันดูว่า หากมีป้ายดังกล่าวติดหราบนสะพานลอยกลางถนนสายหลักใจกลางเมืองจังหวัดปัตตานี โดยคนที่ขึงป้ายผ้าผืนดังกล่าวเป็นชาวบ้านมลายูมุสลิมสักคนหนึ่งในพื้นที่ท่านว่าจะเป็นอย่างไร?

หรือกรณีปิดศาลากลางจังหวัดปัตตานี โดยกลุ่มผู้ชุมนุม กปปส. ทุกอย่างเรียบร้อยดี ไม่มีเหตุการณ์ความรุนแรงปะทะกันของฝ่ายใด แต่ทำไมการชุมนุมอย่างสงบของชาวบ้านมลายูมุสลิมหน้าศาลากลางจังหวัดปัตตานี เมื่อปี 2518 จึงนำไปสู่การตามไล่ล่าสั่งเก็บผู้ชุมนุมปราศรัยบนเวที หรือกระทั่งกรณีการชุมนุมอย่างสงบหน้าที่ทำการอำเภอตากใบเมื่อปี 2547 ถึงนำมาสู่ความหวั่นวิตกของเจ้าหน้าที่รัฐไทยจนนำไปสู่การกวาดล้างผู้ชุมนุม จนเสียชีวิตถึง 85 ศพ? การที่ประชาชนมลายูมุสลิมในพื้นที่สามจังหวัดจับกลุ่มร่วมชุมนุมเรียกร้อง ความเป็นธรรมอย่างสงบในหลายๆ ครั้งที่ผ่านมานั้น แตกต่างจากการประท้วงเรียกร้องทางการเมืองกับกลุ่มผุ้ชุมนุม กปปส.ตรงไหน? ทำไมถึงมีการจัดการที่ต่างกันจากทางฝ่ายรัฐ? ทำไมถึงมีชะนักติดหลังกับความคิดที่ว่า ชนมลายูมุสลิมจะอยากแบ่งแยกดินแดนอยู่ท่าเดียว?

กลุ่มประชาชน เสื้อแดง ประเด็นหลักอีกประเด็นหนึ่งของบทความนี้ มีความประสงค์ที่จะอยากส่งเสียงตะโกนเรียกร้องให้คนทั่วไปในประเทศไทยหันมา ให้ความสนใจกับความรุนแรงในพื้นที่สามจังหวัดบ้าง อยากจะสวนกระแสสังคมโดยตั้งคำถามว่า “คนไทยที่อยู่นอกเหนือจาก พื้นที่สามจังหวัดชายแดนใต้อย่าง ยะลา ปัตตานี นราธิวาส ในช่วงเวลานี้ ที่กำลังสะบัดธงชาติไทยพลิ้วไสวไปมากลางถนนในกรุงเทพฯ ภาคเหนือ ภาคอีสาน และภาคใต้ตอนบน จะมีสักกี่คนกันเชียวที่ให้ความสนใจกับเหตุการณ์การฆ่ากันตายรายวันใน พื้นที่สามจังหวัดชายแดนใต้?”

มีการรวมพลออกมาชุมนุมต่อต้าน พ.ร.บ.นิรโทษกรรม แต่ไม่มีใครสนใจที่จะอยากออกมาชุมนุมเรียกร้องให้ยกเลิกพ.ร.ก.ฉุกเฉินให้กับ ประชาชนพี่น้องในสามจังหวัดชายแดนใต้ที่ต้องทนกับมันมานับตั้งแต่ปี 2548

คนเสื้อแดงเจ็บแค้นกับการถูกปราบปรามจนมีคนตายจากการชุมนุมปี 2553 จำนวน 91 ศพ แต่ไม่มีใครสนใจกับการที่คนทางสามจังหวัดชายแดนใต้ตายเกือบ 6,000 ศพ

ในหลายหลายครั้งผู้เขียนได้ลองนั่งสังเกตการณ์ผ่านสื่อออนไลน์ ไม่ว่าจะเป็นจากข่าวกระแสหลัก และจากการแชร์ข่าวต่างๆ ที่ผ่านตาในช่วงนี้ จนตั้งข้อสังเกตได้ว่า คนในพื้นที่เขตสามจังหวัดกับคนทั่วไปของประเทศไทยมวลรวมอย่างไรก็ยากที่จะ ปรับความรู้สึก “ร่วม” ไปในทิศทางเดียวกันได้ ยามที่ทางฟากกรุงเทพฯ ประสบเหตุกับการปาระเบิด อย่างเช่นกรณีที่ถนนบรรทัดทอง คนในพื้นที่กรุงเทพฯ และพื้นที่อื่นๆ ของประเทศไทยจะมีความรู้สึกเป็นส่วนร่วมสูงมาก แต่พอมีเหตุการณ์ระเบิด ฆ่ากัน ยิงกันตายในเขตสามจังหวัดชายแดนใต้ คนในพื้นที่จากส่วนอื่นของประเทศไทยดูเสมือนว่าจะไม่ได้มีส่วนร่วมรับรู้กับ ความเป็นความตายของคนในแถบพื้นที่ใต้สุดของประเทศเท่าไหร่

เช่นนี้แล้ว จะไม่ให้คนในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนใต้รู้สึกว่าตัวเองเป็นพลเมืองชั้นสองได้อย่างไร ประกอบกับขณะนี้มีวาทกรรมว่าด้วยเรื่องการรักชาติหรือไม่รักชาติ กล่าวหาสาดทอใส่กันประหนึ่งว่า ถูกตราหน้าว่าเป็นคอมมิวนิสต์สมัยสงครามเย็น ซึ่งแต่ละคนก็มีความเข้าใจกับคำว่า “ชาติ” ต่างกันไปหลากหลายรูปแบบ จากเรื่องราวต่างๆ ที่เกิดขึ้น จากการเปรียบเทียบประเด็นต่างๆ ให้เห็นเป็นที่ประจักษ์ ภายใต้บริบทของคำว่า “ชาติ” ที่นักเลงคีย์บอร์ดในสังคมออนไลน์ และผู้ปราศรัยบนเวทีทางการเมืองของทั้งสองฝ่าย ขณะนี้กำลังใช้กล่าวหาด่าทอกันอย่างเมามันใส่กันและกัน อยากถามว่าคนในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนใต้ถือเป็นส่วนหนึ่งของ “ชาติ” ด้วยหรือไม่

ความหมายของสีบนผืนผ้าธงชาติไทยที่ให้ความสำคัญกับ ชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ บางครั้งให้อดคิดไม่ได้ว่า “ประชาชน” และโดยเฉพาะ “ประชาชนในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนใต้” อยู่ตรงจุดไหนของผืนผ้าลายทางน้ำเงิน ขาว แดงผืนนี้

ขอบคุณ... http://www.prachatai.com/journal/2014/02/51659 (ขนาดไฟล์: 167)

(ประชาไทออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 5 ก.พ.57)

ที่มา: ประชาไทออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 5 ก.พ.57
วันที่โพสต์: 7/02/2557 เวลา 03:54:48 ดูภาพสไลด์โชว์ ความขัดแย้งทางการเมืองส่วนกลางกับความรุนแรงในสามจังหวัดชายแดนใต้

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

ขอสันติ คืนสู่สามจังหวัดชายแดนใต้ ดวงยิหวา อุตรสินธุ์ : ในขณะที่คนไทยในส่วนของภาคอื่นของประเทศกำลังต่อสู้กันเพื่อนามธรรมกับคำ ว่า "ประชาธิปไตย" คนในพื้นที่สามจังหวัดภาคใต้กำลังต่อสู้กับการที่จะได้มีชีวิตรอดปลอดภัยกัน แบบวันต่อวัน วินสตัน เชอร์ชิล (Winston Churchill) อดีตนายกรัฐมนตรีอังกฤษผู้ล่วงลับได้กล่าวไว้ว่า “Healthy citizens are the greatest asset any country can have.” นั่นคือ ประชาชนที่ถือว่าสุขภาพสุขสมบูรณ์ดีถือเป็นสิ่งที่มีค่าที่สุดที่ประเทศนั้น พึงจะมี แต่เมื่อหันมามองปัญหาความขัดแย้งและความรุนแรงที่เกิดขึ้นทางตอนใต้ของ ประเทศไทยนับตั้งแต่ปี 2547 จนถึงปัจจุบัน จำนวนประชาชนผู้เคราะห์ร้ายที่เสียชีวิตในเขตพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ขณะนี้แตะที่เกือบ 6,000 ศพ บาดเจ็บกว่าหนึ่งหมื่นราย หากอดีตนายกรัฐมนตรีอังกฤษท่านนี้รู้คงเบะปากพร้อมส่ายหน้าอย่างอิดหนาระอาใจให้กับความไร้ซึ่งประสิทธิภาพในการบริหารแก้ไขปัญหาความขัดแย้งในเขต พื้นที่ปลายด้ามขวานของรัฐบาลไทยทุกรัฐบาลที่ผ่านมา ทหารให้ความคุ่มกัน เด็กนักเรียนในสามจังหวัดชายแดนใต้เนื่องเพราะขณะนี้การเมืองไทยไม่นิ่ง เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในพื้นที่สามจังหวัดนับวันจึงมีแต่จะเลวร้ายลงเรื่อยๆ ในขณะที่ทางฝ่าย กปปส. นำโดยลุงกำนันกำลังปราศรัยอย่างเผ็ดร้อน รวมพลมวลมหาประชาชนต่อต้านระบอบทักษิณ กับทางฝ่ายรัฐบาลนำโดยนายกรัฐมนตรีหญิงยิ่งลักษณ์ที่ไม่มีทีท่าว่าจะเดือด เนื้อร้อนใจกับเรื่องใดๆ นั้น มีฝ่ายใดบ้างที่ให้ความสนใจกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในสามจังหวัดชายแดนใต้ อย่างจริงจัง ไม่ว่าจะเป็นเหตุการณ์ที่หลายฝ่ายเห็นว่าเป็นเจ้าหน้าที่รัฐที่ใส่ชุดดำ กับรถที่นั่งกันมาประมาณ 8 คัน กราดยิงหมู่บ้านก่อนที่จะไล่ล่าจับกุมคนในหมู่บ้านไปหนึ่งคน ณ หมู่บ้านแห่งหนึ่งที่จังหวัดปัตตานีเมื่อกลางเดือนมกราคมที่ผ่านมา หรือ จะเป็นเหตุการณ์ที่มีการขว้างระเบิดใส่เจ้าหน้าที่รัฐที่อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานีก่อนวันเลือกตั้งหนึ่งวัน เป็นเหตุให้เจ้าหน้าที่เสียชีวิต 4 ราย และได้รับบาดเจ็บ 5 ราย และล่าสุด ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่สร้างความเศร้าสลดใจให้กับผู้คนที่ได้รับข่าวคือ การที่เด็กน้อยสามรายถูกยิงตายคาบ้านพักที่อำเภอบาเจาะ จังหวัดนราธิวาส เมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ ซึ่งขณะนี้ยังไม่ทราบว่าเป็นฝีมือของฝ่ายใด ท่านกำนันสุเทพ กับท่านนายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ สองฝ่ายที่ห้ำหั่นใส่กันต่างอ้างกันว่าสู้เพื่อประชาชน ไฉนเลยจึงแทบจะไม่เคยเอ่ยถึงคนที่ถูกฆ่าตายรายวันในพื้นที่สามจังหวัดชายแดน ภาคใต้ อยากฝากเรียนถามคุณสุเทพ เทือกสุบรรณว่าขณะที่ท่านดำรงตำแหน่งเป็นรองนายกรัฐมนตรีฝ่ายความมั่นคงภาย ใต้นายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นั้น ท่านมีผลงานอะไรบ้างในการที่จะพยายามดับปัญหาไฟใต้ นอกเหนือไปจากการที่แค่ได้ประกาศใช้พ.ร.ก.ฉุกเฉินอย่างต่อเนื่องทุกสามเดือน กลุ่ม กปปส. ต่อต้านรัฐบาล หรือทางฝ่ายรัฐบาลเพื่อไทยเอง ที่พยายามจัดให้มีการตั้งโต๊ะเจรจาระหว่างฝ่ายรัฐบาลกับฝ่ายบีอาร์เอ็นก็ เกรงว่าจะล้มไม่เป็นท่า เพราะไม่มีความต่อเนื่องและขาดความจริงใจที่จะสานต่อการเจรจาให้ถึงที่สุด จนถึงตอนนี้ ทั้งสองฝ่ายควรที่จะยอมรับได้แล้วว่าที่ผ่านมานั้น เพียงแค่อ้างใช้เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในพื้นที่สามจังหวัดเป็นเครื่องมือใน การสาดโคลนใส่กันและกัน เพียงเพื่อยกหางให้กับฝ่ายของตัวเอง และเพียงแต่คอยที่จะหาทางเพิ่มคะแนนเสียงให้กับฝ่ายของตัวเอง เพราะโดยแท้จริงแล้ว จากผลงานการบริหารจากทั้งทางฝ่ายอดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ อดีตนายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์ และนายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ ไม่มีฝ่ายใดมีความสุจริตใจที่จะแก้ไขปัญหาสามจังหวัดชายแดนภาคใต้เลยแม้แต่น้อย ไม่อยากจะกล่าวหา แต่จำต้องแสดงความคิดเห็นออกมาว่า รัฐบาลไทยวางบทบาทตนเองที่นับได้ว่าสองมาตรฐานอย่างชัดเจน ตัวอย่างที่เห็นได้อย่างสุดโต่งคือที่จังหวัดพะเยา กรณีที่มีมือดีขึงป้ายผ้าว่า ขอแยกประเทศเพราะประเทศนี้ไม่มีความยุติธรรม บนสะพานลอยถนนสายหลักกรุงเทพฯ - พะเยา - เชียงราย ตำรวจภูธรเมืองพะเยาเพียงแค่ทำการปลดป้ายลง ลองนึกกลับกันดูว่า หากมีป้ายดังกล่าวติดหราบนสะพานลอยกลางถนนสายหลักใจกลางเมืองจังหวัดปัตตานี โดยคนที่ขึงป้ายผ้าผืนดังกล่าวเป็นชาวบ้านมลายูมุสลิมสักคนหนึ่งในพื้นที่ท่านว่าจะเป็นอย่างไร? หรือกรณีปิดศาลากลางจังหวัดปัตตานี โดยกลุ่มผู้ชุมนุม กปปส. ทุกอย่างเรียบร้อยดี ไม่มีเหตุการณ์ความรุนแรงปะทะกันของฝ่ายใด แต่ทำไมการชุมนุมอย่างสงบของชาวบ้านมลายูมุสลิมหน้าศาลากลางจังหวัดปัตตานี เมื่อปี 2518 จึงนำไปสู่การตามไล่ล่าสั่งเก็บผู้ชุมนุมปราศรัยบนเวที หรือกระทั่งกรณีการชุมนุมอย่างสงบหน้าที่ทำการอำเภอตากใบเมื่อปี 2547 ถึงนำมาสู่ความหวั่นวิตกของเจ้าหน้าที่รัฐไทยจนนำไปสู่การกวาดล้างผู้ชุมนุม จนเสียชีวิตถึง 85 ศพ? การที่ประชาชนมลายูมุสลิมในพื้นที่สามจังหวัดจับกลุ่มร่วมชุมนุมเรียกร้อง ความเป็นธรรมอย่างสงบในหลายๆ ครั้งที่ผ่านมานั้น แตกต่างจากการประท้วงเรียกร้องทางการเมืองกับกลุ่มผุ้ชุมนุม กปปส.ตรงไหน? ทำไมถึงมีการจัดการที่ต่างกันจากทางฝ่ายรัฐ? ทำไมถึงมีชะนักติดหลังกับความคิดที่ว่า ชนมลายูมุสลิมจะอยากแบ่งแยกดินแดนอยู่ท่าเดียว? กลุ่มประชาชน เสื้อแดง ประเด็นหลักอีกประเด็นหนึ่งของบทความนี้ มีความประสงค์ที่จะอยากส่งเสียงตะโกนเรียกร้องให้คนทั่วไปในประเทศไทยหันมา ให้ความสนใจกับความรุนแรงในพื้นที่สามจังหวัดบ้าง อยากจะสวนกระแสสังคมโดยตั้งคำถามว่า “คนไทยที่อยู่นอกเหนือจาก พื้นที่สามจังหวัดชายแดนใต้อย่าง ยะลา ปัตตานี นราธิวาส ในช่วงเวลานี้ ที่กำลังสะบัดธงชาติไทยพลิ้วไสวไปมากลางถนนในกรุงเทพฯ ภาคเหนือ ภาคอีสาน และภาคใต้ตอนบน จะมีสักกี่คนกันเชียวที่ให้ความสนใจกับเหตุการณ์การฆ่ากันตายรายวันใน พื้นที่สามจังหวัดชายแดนใต้?” มีการรวมพลออกมาชุมนุมต่อต้าน พ.ร.บ.นิรโทษกรรม แต่ไม่มีใครสนใจที่จะอยากออกมาชุมนุมเรียกร้องให้ยกเลิกพ.ร.ก.ฉุกเฉินให้กับ ประชาชนพี่น้องในสามจังหวัดชายแดนใต้ที่ต้องทนกับมันมานับตั้งแต่ปี 2548 คนเสื้อแดงเจ็บแค้นกับการถูกปราบปรามจนมีคนตายจากการชุมนุมปี 2553 จำนวน 91 ศพ แต่ไม่มีใครสนใจกับการที่คนทางสามจังหวัดชายแดนใต้ตายเกือบ 6,000 ศพ ในหลายหลายครั้งผู้เขียนได้ลองนั่งสังเกตการณ์ผ่านสื่อออนไลน์ ไม่ว่าจะเป็นจากข่าวกระแสหลัก และจากการแชร์ข่าวต่างๆ ที่ผ่านตาในช่วงนี้ จนตั้งข้อสังเกตได้ว่า คนในพื้นที่เขตสามจังหวัดกับคนทั่วไปของประเทศไทยมวลรวมอย่างไรก็ยากที่จะ ปรับความรู้สึก “ร่วม” ไปในทิศทางเดียวกันได้ ยามที่ทางฟากกรุงเทพฯ ประสบเหตุกับการปาระเบิด อย่างเช่นกรณีที่ถนนบรรทัดทอง คนในพื้นที่กรุงเทพฯ และพื้นที่อื่นๆ ของประเทศไทยจะมีความรู้สึกเป็นส่วนร่วมสูงมาก แต่พอมีเหตุการณ์ระเบิด ฆ่ากัน ยิงกันตายในเขตสามจังหวัดชายแดนใต้ คนในพื้นที่จากส่วนอื่นของประเทศไทยดูเสมือนว่าจะไม่ได้มีส่วนร่วมรับรู้กับ ความเป็นความตายของคนในแถบพื้นที่ใต้สุดของประเทศเท่าไหร่ เช่นนี้แล้ว จะไม่ให้คนในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนใต้รู้สึกว่าตัวเองเป็นพลเมืองชั้นสองได้อย่างไร ประกอบกับขณะนี้มีวาทกรรมว่าด้วยเรื่องการรักชาติหรือไม่รักชาติ กล่าวหาสาดทอใส่กันประหนึ่งว่า ถูกตราหน้าว่าเป็นคอมมิวนิสต์สมัยสงครามเย็น ซึ่งแต่ละคนก็มีความเข้าใจกับคำว่า “ชาติ” ต่างกันไปหลากหลายรูปแบบ จากเรื่องราวต่างๆ ที่เกิดขึ้น จากการเปรียบเทียบประเด็นต่างๆ ให้เห็นเป็นที่ประจักษ์ ภายใต้บริบทของคำว่า “ชาติ” ที่นักเลงคีย์บอร์ดในสังคมออนไลน์ และผู้ปราศรัยบนเวทีทางการเมืองของทั้งสองฝ่าย ขณะนี้กำลังใช้กล่าวหาด่าทอกันอย่างเมามันใส่กันและกัน อยากถามว่าคนในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนใต้ถือเป็นส่วนหนึ่งของ “ชาติ” ด้วยหรือไม่ ความหมายของสีบนผืนผ้าธงชาติไทยที่ให้ความสำคัญกับ ชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ บางครั้งให้อดคิดไม่ได้ว่า “ประชาชน” และโดยเฉพาะ “ประชาชนในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนใต้” อยู่ตรงจุดไหนของผืนผ้าลายทางน้ำเงิน ขาว แดงผืนนี้ ขอบคุณ... http://www.prachatai.com/journal/2014/02/51659 (ประชาไทออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 5 ก.พ.57)

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...