ยุทธศาสตร์'ยอม-ยัน-แยก'วัดใจปปช. : ขยายปมร้อน
สถานการณ์การเมืองในช่วงที่กระแสข่าว "คุยกันแล้ว" กระหึ่ม ยังคงอยู่ในช่วงที่เรียกว่า ไม่มีใครคิดว่าตัวเองเพลี่ยงพล้ำ สถานการณ์ที่ต่างก็มั่นใจว่า "เอาอยู่" เมื่อมีการสื่อสารกันจึงเป็นเรื่องของการเสนอเงื่อนไขสูงสุด เพราะเชื่อว่า เป็นเงื่อนไขที่อีกฝ่ายไม่อาจปฏิเสธ
เมื่อฝ่ายหนึ่งขอให้รักษาการนายกฯ ลาออก คำตอบจาก "ดูไบ" ที่ให้มาดูเหมือนจะโอนอ่อนผ่อนตามพร้อมลาขาด แต่กลับยื่นเงื่อนไขกลับมาว่า ว่าที่นายกฯ คนใหม่ ไม่ว่าจะเป็นในลักษณะไหน มาจากรูปแบบอะไร "ดูไบ" ขอจัดให้เอง สถานการณ์ขณะนี้จึงเป็นไปในลักษณะที่ว่า "3 ย."
1. "ยอม" นั่นคือ ยินยอมให้รักษาการนายกรัฐมนตรี ลาออกได้ แต่คนใหม่ที่จะขึ้นมา ขอบริหารจัดการเอง นั่นก็ทำให้หลายคนมองไปว่า ชื่อนั่นนี่ที่ข่าวสะพัดในก่อนหน้านี้คือ คนที่ "ดูไบ" ขึ้นป้ายเอาไว้ ไม่ว่าจะเป็น วิษณุ เครืองาม ชัชชาติ สุทธิพันธุ์ แม้กระทั่ง สุวัจน์ ลิปตพัลลภ ก็มีชื่อติดโผกับเขาด้วย
2. "ยัน" ยุทธศาสตร์นี้ก็คือ ให้ รักษาการนายกฯ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ยื้อต่อไปเรื่อยๆ ไม่ต้องลาออกหรือไปรับเงื่อนไขอะไร ถึงแม้ว่าวันหนึ่งที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) จะลงดาบมาในคดีใดก็แล้วแต่ ทำให้ต้องหยุดการปฏิบัติหน้าที่ ก็ให้ตั้ง "มือรอง" ขึ้นมารักษาการรองนายกฯ ขณะนี้มี 2 คนที่ ถูกวางเอาไว้ในก่อนหน้านี้ หนึ่งคือ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง ผอ.ศรส. รายนี้ได้รับการยอมรับจากเจ้าหน้าที่ตำรวจพอสมควร เนื่องจากเป็นตำรวจเก่า อีกหนึ่งคือ สุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล รองนายกฯ และรมว.ต่างประเทศ ปัจจุบันมีตำแหน่ง ประธานที่ปรึกษา ศรส.อีกตำแหน่ง เพียงแต่ว่าทั้งสองคนนั้นมีปัญหานิดหน่อยที่บางเรื่องยังมีความเห็นต่างกันอยู่ แต่หากถึงเวลาสถานการณ์มาถึงจริง ก็เลือกใครสักคนขึ้นมาทำหน้าที่แทน
3. "แยก" ยุทธศาสตร์นี้เป็นเรื่องมวลชนโดยเฉพาะ เพราะล่าสุดคำสั่งได้ออกมาแล้ว หลังจากที่ก่อนหน้านี้เกิดอาการ "ชะงัก" ในหลายส่วนโดยเฉพาะฝ่ายการเมืองในช่วงก่อนการเลือกตั้ง ที่ขณะนั้น ยังมองไม่เห็นทางออกจากวงกตมองไม่เห็นปลายทางของการเลือกตั้ง
ล่าสุด ปัญหาเหล่านี้ได้เริ่มคลี่คลาย เมื่อถูกกระตุ้นให้เห็น "หายนะ" ที่จะมาถึงก่อนผลการเลือกตั้งจะเสร็จสิ้นลง นั่นก็คือ ดาบขององค์กรอิสระ โดยเฉพาะ ป.ป.ช.ที่จะฟันฉับในกรณีการโหวตผ่านการแก้ไขรัฐธรรมนูญในก่อนหน้านี้ที่หลาย คนยังเชื่อว่า น่าจะถูกส่งไปให้วุฒิสภาทำการถอดถอน และมีการตีความเอาไว้แล้วว่า เสียงที่จะถอดถอนนั้นจะต้องเป็นเสียง 2 ใน 3 ของจำนวนเสียงของวุฒิสภา ไม่ใช่ 2 ใน 3 ของเสียงที่มีอยู่
นั่นก็หมายความว่า ต่อให้หยุดการปฏิบัติหน้าที่ เรื่องถอดถอนวุฒิสภาก็ยังเป็นเรื่องที่ "เพ้อฝัน" อยู่ดี ป้องกันแน่นหนาเสียอย่างนี้มีหรือที่ ป.ป.ช.เขาจะไม่รู้ เพราะฉะนั้นความเป็นไปได้ที่จะส่งส่วนน้อยไปให้วุฒิสภาถอดถอนจึงเป็นไปได้ สูง หรือไม่ก็ไม่ส่งไปให้เลย แต่กลับยื่นเรื่องให้ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองให้เอา ผิดทางอาญาเลย ถ้าผิดจริงก็ไม่ต้องคิดอะไรมาก ดาบเดียวจบทั้งชีวิต ! เพราะคุณสมบัติของผู้สมัครรับเลือกตั้ง หรือกระทั่งของรัฐมนตรี จะต้องไม่เคยต้องโทษเช่นนี้มาก่อน โอ้โลมปฏิโลมกันอย่างนี้ วันก่อนก็เลยเห็นอดีตส.ส.อีสานขึ้นเวทีประกาศสู้ตาย ตามบัญชาของคนแดนไกล ว่าถ้าไม่สู้ ก็ตายหมู่แน่นอน จากนี้ไปก็คงจะได้เห็นว่า ในพื้นที่ต่างๆ ในภาคอีสานก็คงจะได้เห็นการจัดตั้งมวลชนขึ้นมาอีกครั้ง ภาคเหนือก็คงไม่แตกต่างกันเพราะรับรู้โดยทั่วกันแล้วว่าไม่สู้ก็อยู่ไม่ได้
ส่วน กปปส.นั้น ยังคงถูกประเมินในระดับที่ "ไม่ใช่ภัยคุกคามที่เป็นอันตราย" เพราะยังคงยุทธศาสตร์ "รุก" และ "ไล่" ที่เมื่อฝ่ายรักษาการรัฐบาลปฏิเสธ ก็ไม่อาจทำอย่างไรต่อไปได้ สุเทพ เทือกสุบรรณ เองต่างหากที่ต้องระมัดระวังตัวเป็นพิเศษ ระวังทั้งจากภายนอกม็อบ ส่วนภายในก็ต้องคอยบริหารจัดการ เพราะฝ่ายซ้ายใน กปปส.นั้นยังมุ่งหวังการเร่งเกมเพื่อดีลให้เร็วที่สุด เพราะเชื่อมั่นแล้วว่า สภาพของรัฐบาลในขณะนี้แทบจะบริหารสั่งการอะไรไม่ได้แล้ว แต่ทว่า สุเทพ ก็รู้ดีว่า การทำเช่นนั้น รังแต่จะนำไปสู่การล่มสลายของ กปปส.ที่เพียรฟูมฟักขึ้นมาจนเป็นการชุมนุมครั้งประวัติศาสตร์ แนวทางที่ สุเทพ พยายามย้ำหลายต่อหลายครั้งว่า เสร็จสิ้นการชุมนุม (ชนะ) ก็จะวางมือทางการเมืองทันที นั่นจึงเป็นทางออกที่สุดสวย และสลัดหลุดจากทั้งแรงกดดันภายใน และภายนอก นั่นอาจเป็นเพราะเห็นตัวอย่างมาแล้วเมื่อครั้งการชุมนุมของกลุ่มพันธมิตร ประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ที่สภาพของแกนนำภายหลังการชุมนุนั้นดูไม่จืด
สำหรับท่าทีของกองทัพ สัปดาห์ที่ผ่านมาก็ยังคงรักษาความคงเส้นคงวาไว้เช่นเดิม คือ เกาะติดสถานการณ์ไปเรื่อยๆ และคาดว่าสัปดาห์นี้จะยังคงเป็นเช่นเดิม สถานการณ์บ้านเมืองในวันนี้ องค์กรอิสระยังคงเป็นจุดชี้ขาด ออกมาแถลงความคืบหน้าเมื่อใด ต้องมีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งดิ้นทุกครั้งไป !....โดยศรุติ ศรุตา
ขอบคุณ… http://www.komchadluek.net/detail/20140218/179184.html#.UwLCSvvInZ4 (ขนาดไฟล์: 167)
(คมชัดลึกออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 17 ก.พ.57)
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี สถานการณ์การเมืองในช่วงที่กระแสข่าว "คุยกันแล้ว" กระหึ่ม ยังคงอยู่ในช่วงที่เรียกว่า ไม่มีใครคิดว่าตัวเองเพลี่ยงพล้ำ สถานการณ์ที่ต่างก็มั่นใจว่า "เอาอยู่" เมื่อมีการสื่อสารกันจึงเป็นเรื่องของการเสนอเงื่อนไขสูงสุด เพราะเชื่อว่า เป็นเงื่อนไขที่อีกฝ่ายไม่อาจปฏิเสธ เมื่อฝ่ายหนึ่งขอให้รักษาการนายกฯ ลาออก คำตอบจาก "ดูไบ" ที่ให้มาดูเหมือนจะโอนอ่อนผ่อนตามพร้อมลาขาด แต่กลับยื่นเงื่อนไขกลับมาว่า ว่าที่นายกฯ คนใหม่ ไม่ว่าจะเป็นในลักษณะไหน มาจากรูปแบบอะไร "ดูไบ" ขอจัดให้เอง สถานการณ์ขณะนี้จึงเป็นไปในลักษณะที่ว่า "3 ย." 1. "ยอม" นั่นคือ ยินยอมให้รักษาการนายกรัฐมนตรี ลาออกได้ แต่คนใหม่ที่จะขึ้นมา ขอบริหารจัดการเอง นั่นก็ทำให้หลายคนมองไปว่า ชื่อนั่นนี่ที่ข่าวสะพัดในก่อนหน้านี้คือ คนที่ "ดูไบ" ขึ้นป้ายเอาไว้ ไม่ว่าจะเป็น วิษณุ เครืองาม ชัชชาติ สุทธิพันธุ์ แม้กระทั่ง สุวัจน์ ลิปตพัลลภ ก็มีชื่อติดโผกับเขาด้วย 2. "ยัน" ยุทธศาสตร์นี้ก็คือ ให้ รักษาการนายกฯ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ยื้อต่อไปเรื่อยๆ ไม่ต้องลาออกหรือไปรับเงื่อนไขอะไร ถึงแม้ว่าวันหนึ่งที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) จะลงดาบมาในคดีใดก็แล้วแต่ ทำให้ต้องหยุดการปฏิบัติหน้าที่ ก็ให้ตั้ง "มือรอง" ขึ้นมารักษาการรองนายกฯ ขณะนี้มี 2 คนที่ ถูกวางเอาไว้ในก่อนหน้านี้ หนึ่งคือ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง ผอ.ศรส. รายนี้ได้รับการยอมรับจากเจ้าหน้าที่ตำรวจพอสมควร เนื่องจากเป็นตำรวจเก่า อีกหนึ่งคือ สุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล รองนายกฯ และรมว.ต่างประเทศ ปัจจุบันมีตำแหน่ง ประธานที่ปรึกษา ศรส.อีกตำแหน่ง เพียงแต่ว่าทั้งสองคนนั้นมีปัญหานิดหน่อยที่บางเรื่องยังมีความเห็นต่างกันอยู่ แต่หากถึงเวลาสถานการณ์มาถึงจริง ก็เลือกใครสักคนขึ้นมาทำหน้าที่แทน 3. "แยก" ยุทธศาสตร์นี้เป็นเรื่องมวลชนโดยเฉพาะ เพราะล่าสุดคำสั่งได้ออกมาแล้ว หลังจากที่ก่อนหน้านี้เกิดอาการ "ชะงัก" ในหลายส่วนโดยเฉพาะฝ่ายการเมืองในช่วงก่อนการเลือกตั้ง ที่ขณะนั้น ยังมองไม่เห็นทางออกจากวงกตมองไม่เห็นปลายทางของการเลือกตั้ง ล่าสุด ปัญหาเหล่านี้ได้เริ่มคลี่คลาย เมื่อถูกกระตุ้นให้เห็น "หายนะ" ที่จะมาถึงก่อนผลการเลือกตั้งจะเสร็จสิ้นลง นั่นก็คือ ดาบขององค์กรอิสระ โดยเฉพาะ ป.ป.ช.ที่จะฟันฉับในกรณีการโหวตผ่านการแก้ไขรัฐธรรมนูญในก่อนหน้านี้ที่หลาย คนยังเชื่อว่า น่าจะถูกส่งไปให้วุฒิสภาทำการถอดถอน และมีการตีความเอาไว้แล้วว่า เสียงที่จะถอดถอนนั้นจะต้องเป็นเสียง 2 ใน 3 ของจำนวนเสียงของวุฒิสภา ไม่ใช่ 2 ใน 3 ของเสียงที่มีอยู่ นั่นก็หมายความว่า ต่อให้หยุดการปฏิบัติหน้าที่ เรื่องถอดถอนวุฒิสภาก็ยังเป็นเรื่องที่ "เพ้อฝัน" อยู่ดี ป้องกันแน่นหนาเสียอย่างนี้มีหรือที่ ป.ป.ช.เขาจะไม่รู้ เพราะฉะนั้นความเป็นไปได้ที่จะส่งส่วนน้อยไปให้วุฒิสภาถอดถอนจึงเป็นไปได้ สูง หรือไม่ก็ไม่ส่งไปให้เลย แต่กลับยื่นเรื่องให้ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองให้เอา ผิดทางอาญาเลย ถ้าผิดจริงก็ไม่ต้องคิดอะไรมาก ดาบเดียวจบทั้งชีวิต ! เพราะคุณสมบัติของผู้สมัครรับเลือกตั้ง หรือกระทั่งของรัฐมนตรี จะต้องไม่เคยต้องโทษเช่นนี้มาก่อน โอ้โลมปฏิโลมกันอย่างนี้ วันก่อนก็เลยเห็นอดีตส.ส.อีสานขึ้นเวทีประกาศสู้ตาย ตามบัญชาของคนแดนไกล ว่าถ้าไม่สู้ ก็ตายหมู่แน่นอน จากนี้ไปก็คงจะได้เห็นว่า ในพื้นที่ต่างๆ ในภาคอีสานก็คงจะได้เห็นการจัดตั้งมวลชนขึ้นมาอีกครั้ง ภาคเหนือก็คงไม่แตกต่างกันเพราะรับรู้โดยทั่วกันแล้วว่าไม่สู้ก็อยู่ไม่ได้ ส่วน กปปส.นั้น ยังคงถูกประเมินในระดับที่ "ไม่ใช่ภัยคุกคามที่เป็นอันตราย" เพราะยังคงยุทธศาสตร์ "รุก" และ "ไล่" ที่เมื่อฝ่ายรักษาการรัฐบาลปฏิเสธ ก็ไม่อาจทำอย่างไรต่อไปได้ สุเทพ เทือกสุบรรณ เองต่างหากที่ต้องระมัดระวังตัวเป็นพิเศษ ระวังทั้งจากภายนอกม็อบ ส่วนภายในก็ต้องคอยบริหารจัดการ เพราะฝ่ายซ้ายใน กปปส.นั้นยังมุ่งหวังการเร่งเกมเพื่อดีลให้เร็วที่สุด เพราะเชื่อมั่นแล้วว่า สภาพของรัฐบาลในขณะนี้แทบจะบริหารสั่งการอะไรไม่ได้แล้ว แต่ทว่า สุเทพ ก็รู้ดีว่า การทำเช่นนั้น รังแต่จะนำไปสู่การล่มสลายของ กปปส.ที่เพียรฟูมฟักขึ้นมาจนเป็นการชุมนุมครั้งประวัติศาสตร์ แนวทางที่ สุเทพ พยายามย้ำหลายต่อหลายครั้งว่า เสร็จสิ้นการชุมนุม (ชนะ) ก็จะวางมือทางการเมืองทันที นั่นจึงเป็นทางออกที่สุดสวย และสลัดหลุดจากทั้งแรงกดดันภายใน และภายนอก นั่นอาจเป็นเพราะเห็นตัวอย่างมาแล้วเมื่อครั้งการชุมนุมของกลุ่มพันธมิตร ประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ที่สภาพของแกนนำภายหลังการชุมนุนั้นดูไม่จืด สำหรับท่าทีของกองทัพ สัปดาห์ที่ผ่านมาก็ยังคงรักษาความคงเส้นคงวาไว้เช่นเดิม คือ เกาะติดสถานการณ์ไปเรื่อยๆ และคาดว่าสัปดาห์นี้จะยังคงเป็นเช่นเดิม สถานการณ์บ้านเมืองในวันนี้ องค์กรอิสระยังคงเป็นจุดชี้ขาด ออกมาแถลงความคืบหน้าเมื่อใด ต้องมีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งดิ้นทุกครั้งไป !....โดยศรุติ ศรุตา ขอบคุณ… http://www.komchadluek.net/detail/20140218/179184.html#.UwLCSvvInZ4 (คมชัดลึกออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 17 ก.พ.57)
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)