ชวนแบ่งปัน ‘ให้ชีวิตใหม่’ ผู้ป่วยเด็กหัวใจพิการ
แม้จะผ่านวันแห่งความรักมาแล้ว แต่ยังถืออยู่ในเดือนที่อบอวลไปด้วยความรัก และการให้ความรักนี้ไม่ได้จำกัดแค่เพียงรักระหว่างหนุ่มสาว แต่ยังรวมไปถึงการให้ความรักทุกรูปแบบ ทั้งรักครอบครัว รักเพื่อนพ้อง
ในโอกาสนี้ห้างสรรพสินค้าโรบินสันจึงเชิญชวนให้ทุกคนแสดงออกถึงความรัก และแบ่งปันความรักสู่สังคม ภายใต้โครงการ “Robinson : We Care We Share มอบหัวใจดวงใหม่ให้น้องน้อย” สนับสนุนให้กับ ผู้ป่วยเด็กหัวใจพิการตั้งแต่กำเนิดที่อยู่ในความดูแลของ “มูลนิธิเด็กโรคหัวใจฯ” (ในพระอุปถัมภ์ของสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยา ณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์) ณ แผนกเด็กโรคหัวใจ โรงพยาบาลเกษมราษฎร์ ประชาชื่น โดยพร้อมมอบเงินสมทบทุนจากแคมเปญ “Season of Love” พร้อมนำตุ๊กตาหมีน้อยส่งรัก “Bear with Love” ตัวแทนแห่งความรักอันบริสุทธิ์ ไปมอบให้กับเด็กด้อยโอกาสที่ป่วยเป็นโรคหัวใจพิการตั้งแต่กำเนิด และเข้ารับการผ่าตัดเปลี่ยนหัวใจดวงใหม่ ภายใต้ความดูแลของ มูลนิธิเด็กโรคหัวใจฯ
ศาสตราจารย์นายแพทย์บุญชอบ พงษ์พาณิชย์ ประธานมูลนิธิเด็กโรคหัวใจฯ กล่าวถึงสถานการณ์ของเด็กที่เป็นโรคหัวใจว่า ในปีหนึ่ง ๆ ประเทศไทยมีเด็กเกิดเป็นโรคหัวใจพิการตั้งแต่กำเนิดกว่า 7,000-8,000 คน (ร้อยละ 0.8–1.0 ของการเกิดมีชีวิต มีโรคหัวใจพิการตั้งแต่กำเนิด) และโรคหัวใจพิการตั้งแต่กำเนิดเพียงร้อยละ 5 เท่านั้น ที่สามารถป้องกันได้ เช่น เกิดจากมารดาที่มีเชื้อหัดเยอรมันระหว่างตั้งครรภ์ในช่วง 3- 4 เดือนแรกอีกร้อยละ 95 ไม่ทราบสาเหตุ จำนวนเด็กเกิดใหม่ที่เป็นโรคหัวใจร้อยละ 50 หรือกว่า 3,500 คน ต้องได้รับการรักษา โดยการผ่าตัด หรือ ใช้สายสวนหัวใจ, ปัญหาสำคัญอีกประการหนึ่งของเด็กผู้ป่วยโรคหัวใจ คือ ร้อยละ 20 เป็นผู้พิการซ้ำซ้อน จำเป็นต้องได้รับการผ่าตัดโดยทีมแพทย์ผู้ชำนาญเป็นพิเศษ ซึ่งต้องได้รับการผ่าตัดภายในอายุ 1 ปี หรือบางรายภายใน 1 เดือน มิฉะนั้นจะเสียชีวิตหรือผ่าตัดไม่ได้ นอกจากนี้ยังมีเด็กโรคหัวใจในชนบทอีกมากที่ยังไม่ได้เข้ารับการตรวจรักษา บางรายยังไม่ทราบว่าเป็นโรคหัวใจ
จากปัญหาดังกล่าว มูลนิธิเด็กโรคหัวใจฯ จึงได้ร่วมมือกับโรงพยาบาลและสถาบันต่าง ๆ ที่สามารถผ่าตัดเด็กโรคหัวใจได้ดำเนินโครงการผ่าตัดเด็กโรคหัวใจนอกเวลาราชการขึ้น ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2545 เช่น หลัง 16.30 น. ของวันทำงาน และเสาร์-อาทิตย์ ก็นำเด็กพันกว่าคนที่เหลือมารับการผ่าตัดนอกเวลา ทำให้สถิติของการรักษาเด็กได้เพิ่มมากขึ้น ลดภาวะแทรกซ้อนและลดอัตราการเสียชีวิตทำให้เด็กมีสุขภาพ และคุณภาพชีวิตที่ดี และดำเนินงานอย่างต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน
มูลนิธิเด็กโรคหัวใจฯ จะสนับสนุนเงินค่าผ่าตัดให้กับโรงพยาบาลรัฐ 20 แห่ง และโรงพยาบาลเอกชน อีก 5 แห่ง ที่เข้าร่วมโครงการฯ โดยมีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเป็นผู้พิจารณาความเหมาะสม เด็ก 1 ราย ใช้งบในการผ่าตัดหัวใจ 20,000 บาท ต่อราย (ปกติค่าใช้จ่ายในการผ่าตัดหัวใจ รายละ 400,000-1,000,000 บาท) ทางโครงการฯ จะรับผู้ป่วยเด็กด้วยการลงพื้นที่ออกตรวจสุขภาพเด็กทั่วประเทศ และทางผู้ปกครองเขียนจดหมายคำร้องขอมายังมูลนิธิ ซึ่งทั้ง 2 วิธีจะมีคณะกรรมการพิจารณาคัดกรองเด็กที่ป่วยและให้การสนับสนุน โดย รพ. ที่เข้าร่วมโครงการฯ ที่อยู่ใกล้พื้นที่ดำเนินการต่อไป
คุณกาญจนวรรณ ผู้บริหารโรบินสัน กล่าวว่า การผ่าตัดผู้ป่วยเด็กโรคหัวใจแต่ละรายมีค่าใช้จ่ายสูงมาก ทำให้ผู้ป่วยที่มีฐานะยากจนขาดโอกาสที่จะได้รับการรักษาอย่างรวดเร็ว โครงการมอบหัวใจดวงใหม่ให้น้องน้อย ในครั้งนี้ หวังว่าจะเป็นส่วนหนึ่งที่จะทำให้เด็กด้อยโอกาสที่ป่วยด้วยโรคหัวใจพิการฯ มีโอกาสได้ผ่าตัดเปลี่ยนหัวใจดวงใหม่ ช่วยเติมรอยยิ้มให้เค้าเติบโตขึ้นอย่างสดใสและแข็งแรงใช้ชีวิตได้อย่างคน ปกติ และอยากขอเชิญชวนให้ทุก ๆ คน เข้ามาช่วยสนับสนุนกันเยอะ ๆ เพื่อเพิ่มโอกาสทางสังคมให้กับเยาวชนเหล่านี้ เพราะยังมีผู้ป่วยที่รอคอยความช่วยเหลืออยู่อีกมาก
เด็กชายภูริภัทร สมัครดี หรือ น้องกาฟิลด์ อายุ 4 ขวบ 6 เดือน เป็นหนึ่งในผู้ป่วยโรคหัวใจพิการมาแต่กำเนิด และเพิ่งรับการผ่าตัดเมื่อวันที่ 20 ม.ค. 57 โดยนางนรินทร์ สมัครดี คุณแม่น้องกาฟิลด์ กล่าวว่า ดีใจมากที่ได้รับความช่วยเหลือจากทางมูลนิธิฯ ครอบครัวมีความเป็นห่วงและกังวลอย่างมาก เพราะหากต้องรอคิวการรักษาเป็นเวลานาน น้องอาจไม่สามารถรอไหวจริง ๆ ต้องขอขอบคุณ รวมถึงแพทย์ พยาบาล และทีมงานทุกคนจริง ๆ ที่ให้โอกาสและให้ความช่วยเหลือในครั้งนี้ ทำให้น้องกาฟิลด์ ได้มีโอกาสมีชีวิตต่อไปดังเช่นเด็กปกติทั่วไป
ศาสตราจารย์นายแพทย์บุญชอบ กล่าวว่า แนวทางแก้ปัญหาโรคหัวใจผิดปกติในเด็ก ต้องแก้ตั้งแต่ต้นทาง เริ่มจากการคัดกรองผู้ป่วยจากทีมแพทย์และพยาบาลที่มีความเชี่ยวชาญ เนื่องจากเด็กกว่า 40% ไม่รู้ตัวว่าเป็นโรคหัวใจหรือขาดการรักษาอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ยากต่อการเข้าถึงเทคโนโลยีการรักษาที่ทันสมัย จึงต้องเร่งฝึกอบรมบุคลากรคัดกรองเด็กป่วยเป็นโรคหัวใจ ให้สามารถใช้อุปกรณ์ตรวจคลื่นเสียงหัวใจและวินิจฉัยโรคได้อย่างแม่นยำ รวมทั้งใช้จิตวิทยากระตุ้นให้คนไข้เข้ารับการตรวจรักษาให้เร็วที่สุด การให้ แม้เพียงเล็ก ๆ น้อย ๆ แต่ก็สร้างความสุขอันยิ่งใหญ่ให้เกิดขึ้น ทั้งกับผู้ให้และผู้รับ.
ขอบคุณ... http://www.dailynews.co.th/Content/Article/217160/index.html (ขนาดไฟล์: 167)
เดลินิวส์ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 20 ก.พ.57
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
คอลัมน์ หมายเหตุประชาชน แม้จะผ่านวันแห่งความรักมาแล้ว แต่ยังถืออยู่ในเดือนที่อบอวลไปด้วยความรัก และการให้ความรักนี้ไม่ได้จำกัดแค่เพียงรักระหว่างหนุ่มสาว แต่ยังรวมไปถึงการให้ความรักทุกรูปแบบ ทั้งรักครอบครัว รักเพื่อนพ้อง ในโอกาสนี้ห้างสรรพสินค้าโรบินสันจึงเชิญชวนให้ทุกคนแสดงออกถึงความรัก และแบ่งปันความรักสู่สังคม ภายใต้โครงการ “Robinson : We Care We Share มอบหัวใจดวงใหม่ให้น้องน้อย” สนับสนุนให้กับ ผู้ป่วยเด็กหัวใจพิการตั้งแต่กำเนิดที่อยู่ในความดูแลของ “มูลนิธิเด็กโรคหัวใจฯ” (ในพระอุปถัมภ์ของสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยา ณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์) ณ แผนกเด็กโรคหัวใจ โรงพยาบาลเกษมราษฎร์ ประชาชื่น โดยพร้อมมอบเงินสมทบทุนจากแคมเปญ “Season of Love” พร้อมนำตุ๊กตาหมีน้อยส่งรัก “Bear with Love” ตัวแทนแห่งความรักอันบริสุทธิ์ ไปมอบให้กับเด็กด้อยโอกาสที่ป่วยเป็นโรคหัวใจพิการตั้งแต่กำเนิด และเข้ารับการผ่าตัดเปลี่ยนหัวใจดวงใหม่ ภายใต้ความดูแลของ มูลนิธิเด็กโรคหัวใจฯ ศาสตราจารย์นายแพทย์บุญชอบ พงษ์พาณิชย์ ประธานมูลนิธิเด็กโรคหัวใจฯ กล่าวถึงสถานการณ์ของเด็กที่เป็นโรคหัวใจว่า ในปีหนึ่ง ๆ ประเทศไทยมีเด็กเกิดเป็นโรคหัวใจพิการตั้งแต่กำเนิดกว่า 7,000-8,000 คน (ร้อยละ 0.8–1.0 ของการเกิดมีชีวิต มีโรคหัวใจพิการตั้งแต่กำเนิด) และโรคหัวใจพิการตั้งแต่กำเนิดเพียงร้อยละ 5 เท่านั้น ที่สามารถป้องกันได้ เช่น เกิดจากมารดาที่มีเชื้อหัดเยอรมันระหว่างตั้งครรภ์ในช่วง 3- 4 เดือนแรกอีกร้อยละ 95 ไม่ทราบสาเหตุ จำนวนเด็กเกิดใหม่ที่เป็นโรคหัวใจร้อยละ 50 หรือกว่า 3,500 คน ต้องได้รับการรักษา โดยการผ่าตัด หรือ ใช้สายสวนหัวใจ, ปัญหาสำคัญอีกประการหนึ่งของเด็กผู้ป่วยโรคหัวใจ คือ ร้อยละ 20 เป็นผู้พิการซ้ำซ้อน จำเป็นต้องได้รับการผ่าตัดโดยทีมแพทย์ผู้ชำนาญเป็นพิเศษ ซึ่งต้องได้รับการผ่าตัดภายในอายุ 1 ปี หรือบางรายภายใน 1 เดือน มิฉะนั้นจะเสียชีวิตหรือผ่าตัดไม่ได้ นอกจากนี้ยังมีเด็กโรคหัวใจในชนบทอีกมากที่ยังไม่ได้เข้ารับการตรวจรักษา บางรายยังไม่ทราบว่าเป็นโรคหัวใจ จากปัญหาดังกล่าว มูลนิธิเด็กโรคหัวใจฯ จึงได้ร่วมมือกับโรงพยาบาลและสถาบันต่าง ๆ ที่สามารถผ่าตัดเด็กโรคหัวใจได้ดำเนินโครงการผ่าตัดเด็กโรคหัวใจนอกเวลาราชการขึ้น ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2545 เช่น หลัง 16.30 น. ของวันทำงาน และเสาร์-อาทิตย์ ก็นำเด็กพันกว่าคนที่เหลือมารับการผ่าตัดนอกเวลา ทำให้สถิติของการรักษาเด็กได้เพิ่มมากขึ้น ลดภาวะแทรกซ้อนและลดอัตราการเสียชีวิตทำให้เด็กมีสุขภาพ และคุณภาพชีวิตที่ดี และดำเนินงานอย่างต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน มูลนิธิเด็กโรคหัวใจฯ จะสนับสนุนเงินค่าผ่าตัดให้กับโรงพยาบาลรัฐ 20 แห่ง และโรงพยาบาลเอกชน อีก 5 แห่ง ที่เข้าร่วมโครงการฯ โดยมีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเป็นผู้พิจารณาความเหมาะสม เด็ก 1 ราย ใช้งบในการผ่าตัดหัวใจ 20,000 บาท ต่อราย (ปกติค่าใช้จ่ายในการผ่าตัดหัวใจ รายละ 400,000-1,000,000 บาท) ทางโครงการฯ จะรับผู้ป่วยเด็กด้วยการลงพื้นที่ออกตรวจสุขภาพเด็กทั่วประเทศ และทางผู้ปกครองเขียนจดหมายคำร้องขอมายังมูลนิธิ ซึ่งทั้ง 2 วิธีจะมีคณะกรรมการพิจารณาคัดกรองเด็กที่ป่วยและให้การสนับสนุน โดย รพ. ที่เข้าร่วมโครงการฯ ที่อยู่ใกล้พื้นที่ดำเนินการต่อไป คุณกาญจนวรรณ ผู้บริหารโรบินสัน กล่าวว่า การผ่าตัดผู้ป่วยเด็กโรคหัวใจแต่ละรายมีค่าใช้จ่ายสูงมาก ทำให้ผู้ป่วยที่มีฐานะยากจนขาดโอกาสที่จะได้รับการรักษาอย่างรวดเร็ว โครงการมอบหัวใจดวงใหม่ให้น้องน้อย ในครั้งนี้ หวังว่าจะเป็นส่วนหนึ่งที่จะทำให้เด็กด้อยโอกาสที่ป่วยด้วยโรคหัวใจพิการฯ มีโอกาสได้ผ่าตัดเปลี่ยนหัวใจดวงใหม่ ช่วยเติมรอยยิ้มให้เค้าเติบโตขึ้นอย่างสดใสและแข็งแรงใช้ชีวิตได้อย่างคน ปกติ และอยากขอเชิญชวนให้ทุก ๆ คน เข้ามาช่วยสนับสนุนกันเยอะ ๆ เพื่อเพิ่มโอกาสทางสังคมให้กับเยาวชนเหล่านี้ เพราะยังมีผู้ป่วยที่รอคอยความช่วยเหลืออยู่อีกมาก เด็กชายภูริภัทร สมัครดี หรือ น้องกาฟิลด์ อายุ 4 ขวบ 6 เดือน เป็นหนึ่งในผู้ป่วยโรคหัวใจพิการมาแต่กำเนิด และเพิ่งรับการผ่าตัดเมื่อวันที่ 20 ม.ค. 57 โดยนางนรินทร์ สมัครดี คุณแม่น้องกาฟิลด์ กล่าวว่า ดีใจมากที่ได้รับความช่วยเหลือจากทางมูลนิธิฯ ครอบครัวมีความเป็นห่วงและกังวลอย่างมาก เพราะหากต้องรอคิวการรักษาเป็นเวลานาน น้องอาจไม่สามารถรอไหวจริง ๆ ต้องขอขอบคุณ รวมถึงแพทย์ พยาบาล และทีมงานทุกคนจริง ๆ ที่ให้โอกาสและให้ความช่วยเหลือในครั้งนี้ ทำให้น้องกาฟิลด์ ได้มีโอกาสมีชีวิตต่อไปดังเช่นเด็กปกติทั่วไป ศาสตราจารย์นายแพทย์บุญชอบ กล่าวว่า แนวทางแก้ปัญหาโรคหัวใจผิดปกติในเด็ก ต้องแก้ตั้งแต่ต้นทาง เริ่มจากการคัดกรองผู้ป่วยจากทีมแพทย์และพยาบาลที่มีความเชี่ยวชาญ เนื่องจากเด็กกว่า 40% ไม่รู้ตัวว่าเป็นโรคหัวใจหรือขาดการรักษาอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ยากต่อการเข้าถึงเทคโนโลยีการรักษาที่ทันสมัย จึงต้องเร่งฝึกอบรมบุคลากรคัดกรองเด็กป่วยเป็นโรคหัวใจ ให้สามารถใช้อุปกรณ์ตรวจคลื่นเสียงหัวใจและวินิจฉัยโรคได้อย่างแม่นยำ รวมทั้งใช้จิตวิทยากระตุ้นให้คนไข้เข้ารับการตรวจรักษาให้เร็วที่สุด การให้ แม้เพียงเล็ก ๆ น้อย ๆ แต่ก็สร้างความสุขอันยิ่งใหญ่ให้เกิดขึ้น ทั้งกับผู้ให้และผู้รับ. ขอบคุณ... http://www.dailynews.co.th/Content/Article/217160/index.html เดลินิวส์ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 20 ก.พ.57
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)