′สมคิด จาตุศรีพิทักษ์′ แนะ 5 เงื่อนไขปฏิรูปประเทศ เร่งแก้ปัญหาความรุนแรงทางการเมือง

แสดงความคิดเห็น

สมคิด จาตุศรีพิทักษ์

เมื่อวันที่ 24 ก.พ. ที่ห้องกมลมาศ ร.ร.เดอะสุโกศล สถาบันอิศรา มูลนิธิพัฒนาสื่อมวลชนแห่งประเทศไทย ร่วมกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) จัดเวทีสาธารณะ "ก้าวใหม่ประเทศไทย เดินหน้าสู่โหมด (Mode) ปฏิรูป" ทั้งนี้ นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ อดีตรองนายกรัฐมนตรี ได้กล่าวปาฐกถาหัวข้อ "สู่การปฏิรูปที่ปฏิบัติได้จริง : GETTING REFORM RIGHT" ว่า เงื่อนไขสำคัญในการปฏิรูปให้เกิดขึ้นจริงมี 5 เงื่อนไขที่ต้องเร่งดำเนินการ โดยเฉพาะเรื่องของสถานการณ์ความรุนแรงทางการเมือง ซึ่งเป็นเงื่อนไขแรกจะต้องยุติโดยเร็ว เพราะตอนนี้ได้ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจ และไม่ใช่แค่พียงเกิดการถดถอย แต่กำลังทรุด เพราะปัจจัยสนับสนุนการเจริญเติบโต ทั้ง การส่งออก การใช้จ่ายภาครัฐ การบริโภคในประเทศ และการลงทุน กำลังผุกร่อนไม่มีแรงผลักดันเพียงพอ สะท้อนให้เห็นจากตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ในปี 56 ขยายตัวได้เพียง 2.9% เท่านั้น

“ตอนนี้ถือว่าย่ำแย่แล้ว ในเดือนม.ค.-ก.พ.ที่ผ่านมา เศรษฐกิจไทยกำลังหดตัวลึกลงไป รอดูจากผลประกอบการ หรือยอดขายของเอกชนในช่วง 2-3 เดือนนี้ได้ว่าจะลดลงอย่างไร ส่วนปัญหาเรื่องข้าวถือเป็นเรื่องใหญ่ เพราะอย่างน้อยมีชาวนาและคนในครอบครัวกว่า 30-40 ล้านคน ถ้าไม่มีกำลังใช้จ่ายจะเกิดวิกฤตขึ้นอย่างแน่นอน แม้ว่าในปี 2540 ประเทศไทยจะรอดมาได้เพราะชาวนาไม่ได้รับผลกระทบ แต่ก็เป็นเรื่องน่าเป็นห่วง เหมือนกับคำกล่าวหนึ่งที่บอกว่า ชาวนาตาย 1 คน พ่อค้าตาย 100 คน เพราะส่งผลกระทบหมดถ้าชาวนาไม่มีกำลังซื้อ ขณะเดียวกันสินค้าที่ขายดีช่วงวิกฤต ทั้งเครื่องดื่มบำรุงกำลัง บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ตอนนี้ยอดขายก็ทรุด หมายความว่ารายได้เริ่มหายไป ”

ทั้งนี้ ภายใต้ภาวะความรุนแรงทางการเมืองที่เกิดขึ้น ยังส่งผลให้การลงทุนจากต่างชาติชะงักลงอย่างแน่นอน โดยการตั้งความหวังว่าจะมีโครงการขอส่งเสริมการลงทุนจากนักลงทุนต่างชาติ ประมาณ 400,000-500,000 ล้านบาทในปีนี้ คงเป็นเหมือนฝันกลางวัน ปฏิกิริยาลูกโซ่ของปัจจัยต่างๆ เหล่านี้ ทำให้เศรษฐกิจไทยจมดิ่งและลึกลงไป เหมือนกับก้อนน้ำแข็งละลาย ขณะที่ภาพความรุนแรงที่ปรากฏขึ้นยังกระทบอย่างรุนแรงต่อความมั่นใจในระดับสากลที่มีต่อเมืองไทย ยิ่งเวลานี้ในช่วงที่ต้องมีการเซ็นสัญญาระหว่างประเทศ คงไม่มีประเทศใดเชื่อเครดิตประเทศไทยอีกต่อไป เพราะเป็นประเทศที่ไม่มีรัฐบาล และไม่รู้ว่าปัญหาจะจบเมื่อใด และตอนนี้ประเทศได้เปิดประตูเข้าไปสู่การเป็นรัฐล้มเหลวแล้วจึงไม่ควรก้าว ลึกไปกว่านี้อีก

ส่วน เงื่อนไขที่ 2 เป็นเงื่อนไขของผู้นำและสภาวะผู้นำ ต้องมีผู้นำที่ไม่ใช่แค่นั่งเป็นประธาน แต่งตั้งคณะกรรมการ แต่ต้องเป็นผู้นำที่สามารถกำกับและขับเคลื่อนกลไกต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถแก้ไขปัญหาอุปสรรค มีวิสัยทัศน์เพียงพอ สามารถสื่อให้ประชาชนเห็นตามอย่างเข้าใจ ซึ่งเรื่องนี้เป็นเรื่องใหญ่ ที่ผ่านมาเรามักไม่ค่อยได้เห็นผู้นำที่นำความเปลี่ยนแปลงมาให้เห็น ดังนั้นหากจะปฏิรูปจริงต้องหาคนเหล่านี้ให้เจอก่อน ขณะที่เงื่อนไขที่ 3 เป็นการบริหารจัดการที่มุ่งหวังผลจริง โดยต้องมีจุดมุ่งหมายปฏิรูปเพื่ออะไร แบ่งงานออกมาให้ชัดเจน เช่น ปฏิรูปการศึกษา การเกษตร การคลัง และงบประมาณ โดยแต่ละเรื่องต้องมีผู้นำรับผิดชอบมาเป็นคนขับเคลื่อน โดยเป็นผู้มีความรู้สิ่งเหล่านั้น อาจเป็นรัฐมนตรีอาวุโส หรือผู้นำจากภายนอกที่มีคนยอมรับ และรายงานความคืบหน้าสู่สาธารณะด้วย โดยมีจุดมุ่งหมายที่นำไปสู่การออกกฎหมายที่ชัดเจน

ต่อมาเป็นเงื่อนไขของการขับเคลื่อนสังคม โดยการปฏิรูปไม่ใช่การแก้กฎหมาย แต่เป็นการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในสังคมจากจุดหนึ่งไปสู่จุดหนึ่งที่ดีกว่า สามารถทำให้รู้ว่าการปฏิรูปนี้เป็นเรื่องที่สำคัญสำหรับตัวเอง เช่น เรื่องคอร์รัปชั่น ต้องสร้างความเข้าใจให้ซึมซับไปในความรู้สึกของประชาชน ในสามารถช่วยกันแก้ไข นอกจากนี้ยังต้องให้พลังพลเมืองเข้ามามีส่วนร่วมในการปฏิรูปอย่างแท้จริง

ขณะที่เงื่อนไขสุดท้าย คือการมีภาคประชาสังคมที่เข้มแข็ง เพื่อดำเนินการปฏิรูป เพราะที่ผ่านมาแผนงานต่างๆมักถูกหยุดชะงักเมื่อเกิดเหตุการณ์บางอย่าง หรือจางหายไปตามระยะเวลา แต่ถ้าภาคประชาสังคม ทั้งประชาชน เอกชน และสื่อมวลชน เข้มแข็งจะไม่มีพลังไหนจะเข้ามาต่อต้านได้ และจะไม่มีรัฐบาลไหนมาเล่นลิเก ตั้งคณะกรรมการแล้วก็เลิกได้

ทั้งนี้ นายสมคิด ยังได้แสดงความเห็นสั้นๆต่อกรณีที่มีการเสนอนายกฯคนกลางก่อนปาฐกถา ว่า "ผมขอพูดในฐานะคนที่เคยอยู่ในกลไกอำนาจรัฐ ในฐานะประชาชนคนไทยที่อายุเริ่มเข้าสู่เกณฑ์ senior citizen กรุณาอย่าพูดถึงเรื่องนายกฯ หรือ แคนดิเดต เพราะคนอายุผมเท่านี้ควรอยู่ดูแลลูกหลานอยู่ที่บ้านจะดีกว่า"

จากนั้น เป็นการอภิปรายเรื่อง "สิ่งที่ต้องปฏิรูป...ปฏิรูปอะไร ปฏิรูปอย่างไร เริ่มต้นตรงไหน?" โดยนายพลเดช ปิ่นประทีป ผู้แทนองค์กรต่อต้านคอรัปชั่น มองว่า ไม่ว่าประเทศจะได้รัฐสภาหรือรัฐบาลตามปกติ หรือแบบประชาภิวัฒน์ จากการปฏิวัติโดยสันติของประชาชน ให้มีรัฐบาลมาจากบทเฉพาะกาลของรัฐธรรมนูญว่าด้วยการปฏิรูปประเทศ หรือได้มาจากการัฐประหาร ซึ่งมีความเป็นไปได้จริงใน3-4วันนี้ จากสภาวะบีบคั้นที่มีเด็กต้องเสียชีวิตจากควันหลงของเหตุการณ์การชุมนุมทาง การเมืองก็ตาม ถือเป็นเรื่องท้าทายความสามารถของรัฐบาลที่ได้ข้ามาทำหน้าที่ปฏิรูป ซึ่งแบ่งได้เป็น 3 ขั้น ขั้นแรกคือขั้นเปลี่ยนผ่านอำนาจที่ควรมีรัฐบาลเฉพาะกิจไม่เกิน 3 เดือนจากนี้ หรือ 3 สัปดาห์ได้ก็ยิ่งดี เพราะไม่เช่นั้นจะเกิดปัญหาใหม่ตามขึ้นมาเรื่อยๆ และจะกระทบภาวะเศรษฐกิจย่ำแย่ตาม ขั้นที่สอง ขั้นเปลี่ยนผ่านประเทศ หรือการปฏิรูปเฉพาะหน้า โดยสิ่งที่ต้องเร่งปฏิรูปคือ การปรับปรุงแก้ไขระบอบประชาธิปไตยตัวแทน การแก้ปัญหาทุจริตคอรัปชั่น การกระจายอำนาจ การปฏิรูปตำรวจ การจัดการต่อปัญหาทางการเมืองที่ยังมีความขัดแย้ง และในขั้นสุดท้าย ต้องปฏิรูปภาพรวม ทั้งด้านที่ดิน เกษตรกรรม ระบบภาษี เศรษฐกิจ พลังงาน การศึกษา การสื่อสาร โดยเฉพาะระบบสุขภาพ เพราะตั้งแต่ปี 2540 ที่ผ่านมา เราปฏิรรูปได้แค่ตัวรัฐธรรมนูญเท่านั้น แต่ไม่สามารถปฏิรูประบบสุขภาพ จิตสำนึกวิธีคิดของสังคมได้เลย

ขณะที่ นายไพโรจน์ พลเพชร กรรมการคณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย (คปก.) เห็นว่า สิ่งแรกที่ต้องปฏิรูปคือการทำลายสิ่งที่บ่มเพาะความเกลียดชังให้เกิดความ รุนแรง เพราะตั้งแต่ปัญหาความรุนแรงเมื่อปี 2548 จนถึงปัจจุบันประมาณสิบปีได้ แต่ความรุนแรงยังคงมีอยู่เพิ่มขึ้น นั่นเพราะยังมีผู้สนับสนุนการใช้ความรุนแรงอยู่ จะเห็นได้ว่าการชุมนุมทางการเมืองครั้งนี้ ก็มีผู้เสียชีวิตแล้ว 17 บาดเจ็บอีก 700 กว่าราย ขณะเดียวกัน สิ่งที่น่ากลัวตอนนี้คือการมีกองกำลังนอกกฎหมาย ซึ่งกระทำอะไรก็ไม่ผิด ได้รับการยกย่อง แถมสังคมลงโทษไม่ได้เลย ซึ่งแกนนำของทั้งสองฝ่ายก็เฉยเมยอีก บางครั้งก็สนับสนุน จึงต้องเร่งขจัดคความรุนแรงเหล่านี้ โดยอาจจะนำแนวทางที่คอป.เคยศึกษา หยิบยกแนวทางจากต่างประเทศมาใช้ในเรื่อง ยุติธรรมเชิงเปลี่ยนผ่านมาจัดการความขัดแย้ง ด้วยการลดโทษ ให้อภัยกัน จึงจะปรองดองกันได้ นอกจากนี้ ต้องมีกระบวนการเยียวยาผู้เสียหาย รวมถึงการสร้างความทรงจำร่วมของสังคม ให้ผู้เสียหายได้รู้สึกเหมือนเป็นวีรชนของสังคม ไม่ช่วีรชนของกลุ่ม มาเยียวยา ระลึกถึงกันเฉพาะกลุ่มแบบที่ผ่านๆมา เพื่อทำลายความรู้สึกเกลียดชังต่อกัน นอกจากนี้ ยังต้องปฏิรูปผู้ที่ชอบใช้ความรุนแรง เตือนสติประชาชนไม่ให้ปกป้องผู้ที่ใช้ความรุนแรงเพื่อให้ได้อำนาจและรักษา อำนาจ ไม่ใช่ไปสนับสนุนและขอบคุณผู้ใช้อาวุธกับอีกฝ่าย ซึ่งถึงเวลาแล้วที่ผู้นำทั้งสองฝ่ายต้องพูดเรื่องนี้อย่างจริงจัง ไม่ใช่ปากว่าตาขยิบ และอย่าดีใจกับการเสียชีวิตของอีกฝ่ายที่ไม่ควรเกิดขึ้นเช่นนี้ในสังคมไทย ถ้าหากทำแบบนี้ได้ เชื่อว่าการปฏิรูปประเทศก็จะเดินหน้าไปได้เช่นกัน

นาย เศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ ประธานกรรมการบริหารสถาบันอนาคตไทยศึกษา กล่าวว่า แนวทางในการปฏิรูปประเทศควรจะใช้การต่อยอดจากส่วนที่มีคณะกรรมการการชุด ต่างๆได้ศึกษามาก่อนหน้านี้แล้ว ไม่ควรจะใช้การศึกษาใหม่ตั้งแต่เริ่มต้น เพราะที่ผ่านมามีการทำงานของคณะกรรมการที่เกี่ยวข้องกับการปฏิรูปมาแล้วเป็น เวลากว่า 6 ปี 10 เดือนและใช้งบประมาณกว่า 1,300 ล้านบาท ทั้งนี้กระบวนการที่จะนำไปสู่การปฏิรูปในเชิงปฏิบัติต้องดำเนินการใน 3 เรื่อง คือ 1.ดำเนินการปฏิรูปโดยเร็ว โดยเลือกเฉพาะเรื่องที่มีความจำเป็นเร่งด่วนก่อน โดยมองว่าการปฏิรูปที่ควรจะทำเร่งด่วนและเป็นหัวใจมากที่สุดคือเรื่องของการ แก้ปัญหาคอร์รัปชั่น และเป็นหัวใจสำคัญของหารบริหารงานภาครัฐและเป็นปัญหาที่สั่งสมมายาวนาน นอกจากนั้นจะต้องมีการปฏิรูปนโยบายประชานิยม ซึ่งรัฐบาลจะต้องทำนโยบายประชานิยมในกรอบที่ผู้เสียภาษีรับได้ เช่น ต้องมีกรอบในเรื่องของวงเงินที่ชัดเจน ไม่ใช่การเซนต์เช็กเปล่า ซึ่งไม่รู้ว่าจะใช้งบประมาณเท่าไหร่จนเกิดความเสียหายต่อการคลังของประเทศ และต้องให้ความสำคัญของความโปร่งใสและเปิดเผยข้อมูลทั้งหมด เพื่อป้องกันการทุจริตคอร์รัปชั่น และกำหนดผู้ที่ต้องรับผิดชอบให้ชัดเจนว่าใครจะต้องรับผิดชอบเมื่อโครงการนี้ เสียหาย

ประชานิยมหากเป็นไปตามกฎกติกาก็ยังมีประโยชน์ เช่น โครงการ 30 บาทรักษาทุกโรค ที่มีการใช้เงินงบประมาณอย่างมีประโยชน์ต่อส่วนร่วมและมีความโปร่งใส อย่างไรก็ตาม ต้องมีการผลักดันนโยบายนี้ไปสู่สวัสดิการสังคมที่ครบถ้วนและมีคุณภาพดีขึ้น ซึ่งจะสามารถสร้างความมั่นใจได้ว่าเป็นโครงการที่ทุกคนสามารถเข้าถึง สวัสดิการสังคมได้อย่างเหมาะสมและเท่าเทียม 2.ต้องมีการกำหนดวัดผลและตัวชี้วัดที่ชัดเจนในการปฏิรูป โดยเน้นในเรื่องของผลการปฏิรูป เพื่อให้ฝ่ายขัดแย้งมีโอกาสในการตกลงกันในทิศทางที่เป็นไปได้มากขึ้น เช่นในเรื่องของการแก้ปัญหาคอร์รัปชั่นก็ให้มีอันดับที่ดีขึ้นในการจัด อันดับดัชนีคอร์รัปชั่นดีขึ้น และ 3.สร้างแรงจูงใจในการปฏิรูป โดยการทำแผนหรือข้อตกลงร่วมกันของฝ่ายที่เกี่ยวข้อง เช่น มาเลเซีย ใช้แผนปฏิรูปรัฐบาลและหน่วยราชการ และแผนที่มีความชัดเจนหน่วยงาน หน่วยงานต่างๆนำไปใช้ได้ และกำหนดผู้ที่มีหน้าที่รับผิดชอบเป็นรายบุคคลเพื่อให้มีคนที่จะต้องขับ เคลื่อนที่ชัดเจน (ที่มา:ข่าวสดออนไลน์)

ขอบคุณ... http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1393256167&grpid=03&catid=&subcatid= (ขนาดไฟล์: 167)

มติชนออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 25 ก.พ.57

ที่มา: มติชนออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 25 ก.พ.57
วันที่โพสต์: 27/02/2557 เวลา 04:06:04 ดูภาพสไลด์โชว์ ′สมคิด จาตุศรีพิทักษ์′ แนะ 5 เงื่อนไขปฏิรูปประเทศ เร่งแก้ปัญหาความรุนแรงทางการเมือง

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ เมื่อวันที่ 24 ก.พ. ที่ห้องกมลมาศ ร.ร.เดอะสุโกศล สถาบันอิศรา มูลนิธิพัฒนาสื่อมวลชนแห่งประเทศไทย ร่วมกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) จัดเวทีสาธารณะ "ก้าวใหม่ประเทศไทย เดินหน้าสู่โหมด (Mode) ปฏิรูป" ทั้งนี้ นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ อดีตรองนายกรัฐมนตรี ได้กล่าวปาฐกถาหัวข้อ "สู่การปฏิรูปที่ปฏิบัติได้จริง : GETTING REFORM RIGHT" ว่า เงื่อนไขสำคัญในการปฏิรูปให้เกิดขึ้นจริงมี 5 เงื่อนไขที่ต้องเร่งดำเนินการ โดยเฉพาะเรื่องของสถานการณ์ความรุนแรงทางการเมือง ซึ่งเป็นเงื่อนไขแรกจะต้องยุติโดยเร็ว เพราะตอนนี้ได้ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจ และไม่ใช่แค่พียงเกิดการถดถอย แต่กำลังทรุด เพราะปัจจัยสนับสนุนการเจริญเติบโต ทั้ง การส่งออก การใช้จ่ายภาครัฐ การบริโภคในประเทศ และการลงทุน กำลังผุกร่อนไม่มีแรงผลักดันเพียงพอ สะท้อนให้เห็นจากตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ในปี 56 ขยายตัวได้เพียง 2.9% เท่านั้น “ตอนนี้ถือว่าย่ำแย่แล้ว ในเดือนม.ค.-ก.พ.ที่ผ่านมา เศรษฐกิจไทยกำลังหดตัวลึกลงไป รอดูจากผลประกอบการ หรือยอดขายของเอกชนในช่วง 2-3 เดือนนี้ได้ว่าจะลดลงอย่างไร ส่วนปัญหาเรื่องข้าวถือเป็นเรื่องใหญ่ เพราะอย่างน้อยมีชาวนาและคนในครอบครัวกว่า 30-40 ล้านคน ถ้าไม่มีกำลังใช้จ่ายจะเกิดวิกฤตขึ้นอย่างแน่นอน แม้ว่าในปี 2540 ประเทศไทยจะรอดมาได้เพราะชาวนาไม่ได้รับผลกระทบ แต่ก็เป็นเรื่องน่าเป็นห่วง เหมือนกับคำกล่าวหนึ่งที่บอกว่า ชาวนาตาย 1 คน พ่อค้าตาย 100 คน เพราะส่งผลกระทบหมดถ้าชาวนาไม่มีกำลังซื้อ ขณะเดียวกันสินค้าที่ขายดีช่วงวิกฤต ทั้งเครื่องดื่มบำรุงกำลัง บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ตอนนี้ยอดขายก็ทรุด หมายความว่ารายได้เริ่มหายไป ” ทั้งนี้ ภายใต้ภาวะความรุนแรงทางการเมืองที่เกิดขึ้น ยังส่งผลให้การลงทุนจากต่างชาติชะงักลงอย่างแน่นอน โดยการตั้งความหวังว่าจะมีโครงการขอส่งเสริมการลงทุนจากนักลงทุนต่างชาติ ประมาณ 400,000-500,000 ล้านบาทในปีนี้ คงเป็นเหมือนฝันกลางวัน ปฏิกิริยาลูกโซ่ของปัจจัยต่างๆ เหล่านี้ ทำให้เศรษฐกิจไทยจมดิ่งและลึกลงไป เหมือนกับก้อนน้ำแข็งละลาย ขณะที่ภาพความรุนแรงที่ปรากฏขึ้นยังกระทบอย่างรุนแรงต่อความมั่นใจในระดับสากลที่มีต่อเมืองไทย ยิ่งเวลานี้ในช่วงที่ต้องมีการเซ็นสัญญาระหว่างประเทศ คงไม่มีประเทศใดเชื่อเครดิตประเทศไทยอีกต่อไป เพราะเป็นประเทศที่ไม่มีรัฐบาล และไม่รู้ว่าปัญหาจะจบเมื่อใด และตอนนี้ประเทศได้เปิดประตูเข้าไปสู่การเป็นรัฐล้มเหลวแล้วจึงไม่ควรก้าว ลึกไปกว่านี้อีก ส่วน เงื่อนไขที่ 2 เป็นเงื่อนไขของผู้นำและสภาวะผู้นำ ต้องมีผู้นำที่ไม่ใช่แค่นั่งเป็นประธาน แต่งตั้งคณะกรรมการ แต่ต้องเป็นผู้นำที่สามารถกำกับและขับเคลื่อนกลไกต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถแก้ไขปัญหาอุปสรรค มีวิสัยทัศน์เพียงพอ สามารถสื่อให้ประชาชนเห็นตามอย่างเข้าใจ ซึ่งเรื่องนี้เป็นเรื่องใหญ่ ที่ผ่านมาเรามักไม่ค่อยได้เห็นผู้นำที่นำความเปลี่ยนแปลงมาให้เห็น ดังนั้นหากจะปฏิรูปจริงต้องหาคนเหล่านี้ให้เจอก่อน ขณะที่เงื่อนไขที่ 3 เป็นการบริหารจัดการที่มุ่งหวังผลจริง โดยต้องมีจุดมุ่งหมายปฏิรูปเพื่ออะไร แบ่งงานออกมาให้ชัดเจน เช่น ปฏิรูปการศึกษา การเกษตร การคลัง และงบประมาณ โดยแต่ละเรื่องต้องมีผู้นำรับผิดชอบมาเป็นคนขับเคลื่อน โดยเป็นผู้มีความรู้สิ่งเหล่านั้น อาจเป็นรัฐมนตรีอาวุโส หรือผู้นำจากภายนอกที่มีคนยอมรับ และรายงานความคืบหน้าสู่สาธารณะด้วย โดยมีจุดมุ่งหมายที่นำไปสู่การออกกฎหมายที่ชัดเจน ต่อมาเป็นเงื่อนไขของการขับเคลื่อนสังคม โดยการปฏิรูปไม่ใช่การแก้กฎหมาย แต่เป็นการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในสังคมจากจุดหนึ่งไปสู่จุดหนึ่งที่ดีกว่า สามารถทำให้รู้ว่าการปฏิรูปนี้เป็นเรื่องที่สำคัญสำหรับตัวเอง เช่น เรื่องคอร์รัปชั่น ต้องสร้างความเข้าใจให้ซึมซับไปในความรู้สึกของประชาชน ในสามารถช่วยกันแก้ไข นอกจากนี้ยังต้องให้พลังพลเมืองเข้ามามีส่วนร่วมในการปฏิรูปอย่างแท้จริง ขณะที่เงื่อนไขสุดท้าย คือการมีภาคประชาสังคมที่เข้มแข็ง เพื่อดำเนินการปฏิรูป เพราะที่ผ่านมาแผนงานต่างๆมักถูกหยุดชะงักเมื่อเกิดเหตุการณ์บางอย่าง หรือจางหายไปตามระยะเวลา แต่ถ้าภาคประชาสังคม ทั้งประชาชน เอกชน และสื่อมวลชน เข้มแข็งจะไม่มีพลังไหนจะเข้ามาต่อต้านได้ และจะไม่มีรัฐบาลไหนมาเล่นลิเก ตั้งคณะกรรมการแล้วก็เลิกได้ ทั้งนี้ นายสมคิด ยังได้แสดงความเห็นสั้นๆต่อกรณีที่มีการเสนอนายกฯคนกลางก่อนปาฐกถา ว่า "ผมขอพูดในฐานะคนที่เคยอยู่ในกลไกอำนาจรัฐ ในฐานะประชาชนคนไทยที่อายุเริ่มเข้าสู่เกณฑ์ senior citizen กรุณาอย่าพูดถึงเรื่องนายกฯ หรือ แคนดิเดต เพราะคนอายุผมเท่านี้ควรอยู่ดูแลลูกหลานอยู่ที่บ้านจะดีกว่า" จากนั้น เป็นการอภิปรายเรื่อง "สิ่งที่ต้องปฏิรูป...ปฏิรูปอะไร ปฏิรูปอย่างไร เริ่มต้นตรงไหน?" โดยนายพลเดช ปิ่นประทีป ผู้แทนองค์กรต่อต้านคอรัปชั่น มองว่า ไม่ว่าประเทศจะได้รัฐสภาหรือรัฐบาลตามปกติ หรือแบบประชาภิวัฒน์ จากการปฏิวัติโดยสันติของประชาชน ให้มีรัฐบาลมาจากบทเฉพาะกาลของรัฐธรรมนูญว่าด้วยการปฏิรูปประเทศ หรือได้มาจากการัฐประหาร ซึ่งมีความเป็นไปได้จริงใน3-4วันนี้ จากสภาวะบีบคั้นที่มีเด็กต้องเสียชีวิตจากควันหลงของเหตุการณ์การชุมนุมทาง การเมืองก็ตาม ถือเป็นเรื่องท้าทายความสามารถของรัฐบาลที่ได้ข้ามาทำหน้าที่ปฏิรูป ซึ่งแบ่งได้เป็น 3 ขั้น ขั้นแรกคือขั้นเปลี่ยนผ่านอำนาจที่ควรมีรัฐบาลเฉพาะกิจไม่เกิน 3 เดือนจากนี้ หรือ 3 สัปดาห์ได้ก็ยิ่งดี เพราะไม่เช่นั้นจะเกิดปัญหาใหม่ตามขึ้นมาเรื่อยๆ และจะกระทบภาวะเศรษฐกิจย่ำแย่ตาม ขั้นที่สอง ขั้นเปลี่ยนผ่านประเทศ หรือการปฏิรูปเฉพาะหน้า โดยสิ่งที่ต้องเร่งปฏิรูปคือ การปรับปรุงแก้ไขระบอบประชาธิปไตยตัวแทน การแก้ปัญหาทุจริตคอรัปชั่น การกระจายอำนาจ การปฏิรูปตำรวจ การจัดการต่อปัญหาทางการเมืองที่ยังมีความขัดแย้ง และในขั้นสุดท้าย ต้องปฏิรูปภาพรวม ทั้งด้านที่ดิน เกษตรกรรม ระบบภาษี เศรษฐกิจ พลังงาน การศึกษา การสื่อสาร โดยเฉพาะระบบสุขภาพ เพราะตั้งแต่ปี 2540 ที่ผ่านมา เราปฏิรรูปได้แค่ตัวรัฐธรรมนูญเท่านั้น แต่ไม่สามารถปฏิรูประบบสุขภาพ จิตสำนึกวิธีคิดของสังคมได้เลย ขณะที่ นายไพโรจน์ พลเพชร กรรมการคณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย (คปก.) เห็นว่า สิ่งแรกที่ต้องปฏิรูปคือการทำลายสิ่งที่บ่มเพาะความเกลียดชังให้เกิดความ รุนแรง เพราะตั้งแต่ปัญหาความรุนแรงเมื่อปี 2548 จนถึงปัจจุบันประมาณสิบปีได้ แต่ความรุนแรงยังคงมีอยู่เพิ่มขึ้น นั่นเพราะยังมีผู้สนับสนุนการใช้ความรุนแรงอยู่ จะเห็นได้ว่าการชุมนุมทางการเมืองครั้งนี้ ก็มีผู้เสียชีวิตแล้ว 17 บาดเจ็บอีก 700 กว่าราย ขณะเดียวกัน สิ่งที่น่ากลัวตอนนี้คือการมีกองกำลังนอกกฎหมาย ซึ่งกระทำอะไรก็ไม่ผิด ได้รับการยกย่อง แถมสังคมลงโทษไม่ได้เลย ซึ่งแกนนำของทั้งสองฝ่ายก็เฉยเมยอีก บางครั้งก็สนับสนุน จึงต้องเร่งขจัดคความรุนแรงเหล่านี้ โดยอาจจะนำแนวทางที่คอป.เคยศึกษา หยิบยกแนวทางจากต่างประเทศมาใช้ในเรื่อง ยุติธรรมเชิงเปลี่ยนผ่านมาจัดการความขัดแย้ง ด้วยการลดโทษ ให้อภัยกัน จึงจะปรองดองกันได้ นอกจากนี้ ต้องมีกระบวนการเยียวยาผู้เสียหาย รวมถึงการสร้างความทรงจำร่วมของสังคม ให้ผู้เสียหายได้รู้สึกเหมือนเป็นวีรชนของสังคม ไม่ช่วีรชนของกลุ่ม มาเยียวยา ระลึกถึงกันเฉพาะกลุ่มแบบที่ผ่านๆมา เพื่อทำลายความรู้สึกเกลียดชังต่อกัน นอกจากนี้ ยังต้องปฏิรูปผู้ที่ชอบใช้ความรุนแรง เตือนสติประชาชนไม่ให้ปกป้องผู้ที่ใช้ความรุนแรงเพื่อให้ได้อำนาจและรักษา อำนาจ ไม่ใช่ไปสนับสนุนและขอบคุณผู้ใช้อาวุธกับอีกฝ่าย ซึ่งถึงเวลาแล้วที่ผู้นำทั้งสองฝ่ายต้องพูดเรื่องนี้อย่างจริงจัง ไม่ใช่ปากว่าตาขยิบ และอย่าดีใจกับการเสียชีวิตของอีกฝ่ายที่ไม่ควรเกิดขึ้นเช่นนี้ในสังคมไทย ถ้าหากทำแบบนี้ได้ เชื่อว่าการปฏิรูปประเทศก็จะเดินหน้าไปได้เช่นกัน นาย เศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ ประธานกรรมการบริหารสถาบันอนาคตไทยศึกษา กล่าวว่า แนวทางในการปฏิรูปประเทศควรจะใช้การต่อยอดจากส่วนที่มีคณะกรรมการการชุด ต่างๆได้ศึกษามาก่อนหน้านี้แล้ว ไม่ควรจะใช้การศึกษาใหม่ตั้งแต่เริ่มต้น เพราะที่ผ่านมามีการทำงานของคณะกรรมการที่เกี่ยวข้องกับการปฏิรูปมาแล้วเป็น เวลากว่า 6 ปี 10 เดือนและใช้งบประมาณกว่า 1,300 ล้านบาท ทั้งนี้กระบวนการที่จะนำไปสู่การปฏิรูปในเชิงปฏิบัติต้องดำเนินการใน 3 เรื่อง คือ 1.ดำเนินการปฏิรูปโดยเร็ว โดยเลือกเฉพาะเรื่องที่มีความจำเป็นเร่งด่วนก่อน

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...