เอ็นจีโอรณรงค์สังคมเลิกใช้คำว่า"ปัญญาอ่อน" ชี้ดูหมิ่นศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์
เมื่อวันที่ 1 มีนาคม น.ส.โรสซาลีน่า อเล็กซานเดอร์ แมคเคย์ ประธาน มูลนิธิเดอะเรนโบว์รูม เปิดเผยว่า มูลนิธิเดอะเรนโบว์ฯ ร่วมมือกับ หน่วยงานต่างๆทั้งมิวเซียมสยาม สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติและชมรมเมืองไทยเข้าใจออทิสติกจะจัดงาน ฉลองวันดาวน์ซินโดรมโลกวันที่ 21 มีนาคมนี้ ด้วยการเริ่มรณรงค์ให้สังคมไทยเลิกใช้คำว่า “ ปัญญาอ่อน ” (ป.ญ.อ.) ซึ่งเป็นคำที่ดูหมิ่นศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ และในสังคมเรามักใช้คำเหล่านี้ในลักษณะของการตำหนิว่ากล่าวบุคคลอื่นในทางที่ไม่ดี ทั้งนี้ เพื่อต้องการให้สังคมมีความรู้ความเข้าใจในศักยภาพที่แท้จริงของบุคคล และไม่ไปจำกัดความสามารถด้วยการวินิจฉัยทางการแพทย์ซึ่งมักจะใช้คำพูดหรือ ระบุว่า เด็กที่มีความต้องการพิเศษเหล่านี้มีความแตกต่างกับเด็กทั่วไป ทั้งที่ความจริงแล้วเขาก็เหมือนกันเด็กทั่วไปแต่อาจมีข้อจำกัดทางพัฒนาการ ที่ต้องใช้เวลามากกว่าเด็กอื่นๆ แต่หากได้รับความช่วยเหลือทางด้านพัฒนาการอย่างทันท่วงที เด็กเหล่านี้ก็สามารถมีพัฒนาการที่ใกล้เคียงกับเด็กวัยเดียวกัน
"ทางมูลนิธิเดอะ เรนโบว์ฯ ต้องการเรียกร้องให้หน่วยงานในสังคมที่เกี่ยวข้องทั้งกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) สื่อสารมลชน โดยเฉพาะกลุ่มแพทย์ พยาบาล ซึ่งมีหน้าที่วินิจฉัยอาการต่างๆ ทางการแพทย์ เปลี่ยนคำวินิจฉัยหรือคำพูด จากคำว่า โรค ภาวะบกพร่องทางร่างกายต่าง ๆ และคำว่า ปัญญาอ่อน รวมถึงในเอกสารทางการแพทย์ และเอกสารทางวิชาการก็ควรหลีกเลี่ยงคำเหล่านี้ ไปใช้คำอื่นที่สื่อความหมายในเชิงบวก เพื่อให้พ่อ แม่ที่มีลูกที่เป็นเด็กที่มีความต้องการพิเศษ มีความเข้าใจในเชิงบวกเกี่ยวกับเรื่องนี้ ไม่ใช่พอฟังคำวินิจฉัยของแพทย์ แล้วตกใจ จิตตก ทั้งที่ยังไม่ทราบว่า ภาวะดาวน์ซินโดรม หรือออทิสติกเป็นอย่างไร เป็นการสร้างข้อจำกัดทางศักยภาพของเด็ก เมื่อเศร้า จิตตก พ่อแม่มักจะละเลยการดูแลเด็กเหล่านี้เพื่อให้มีพัฒนาการที่ดีในช่วงแรก ซึ่งเป็นช่วงที่สำคัญ ทั้งที่ความจริงแล้วเด็กเหล่านี้สามารถทำอะไรได้หลายอย่าง เช่นเดียวกับเด็กทั่วไปอาจจะไม่เก่งคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ แต่เด็กหลายคนมีศักยภาพทางดนตรี กีฬา ศิลปะ" ประธานมูลนิธิเดอะ เรนโบว์ฯ กล่าว
มติชนออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 1 มี.ค.57
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
เด็กหนุ่มยืนใช้มือชี้ไปด้านหน้า เมื่อวันที่ 1 มีนาคม น.ส.โรสซาลีน่า อเล็กซานเดอร์ แมคเคย์ ประธาน มูลนิธิเดอะเรนโบว์รูม เปิดเผยว่า มูลนิธิเดอะเรนโบว์ฯ ร่วมมือกับ หน่วยงานต่างๆทั้งมิวเซียมสยาม สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติและชมรมเมืองไทยเข้าใจออทิสติกจะจัดงาน ฉลองวันดาวน์ซินโดรมโลกวันที่ 21 มีนาคมนี้ ด้วยการเริ่มรณรงค์ให้สังคมไทยเลิกใช้คำว่า “ ปัญญาอ่อน ” (ป.ญ.อ.) ซึ่งเป็นคำที่ดูหมิ่นศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ และในสังคมเรามักใช้คำเหล่านี้ในลักษณะของการตำหนิว่ากล่าวบุคคลอื่นในทางที่ไม่ดี ทั้งนี้ เพื่อต้องการให้สังคมมีความรู้ความเข้าใจในศักยภาพที่แท้จริงของบุคคล และไม่ไปจำกัดความสามารถด้วยการวินิจฉัยทางการแพทย์ซึ่งมักจะใช้คำพูดหรือ ระบุว่า เด็กที่มีความต้องการพิเศษเหล่านี้มีความแตกต่างกับเด็กทั่วไป ทั้งที่ความจริงแล้วเขาก็เหมือนกันเด็กทั่วไปแต่อาจมีข้อจำกัดทางพัฒนาการ ที่ต้องใช้เวลามากกว่าเด็กอื่นๆ แต่หากได้รับความช่วยเหลือทางด้านพัฒนาการอย่างทันท่วงที เด็กเหล่านี้ก็สามารถมีพัฒนาการที่ใกล้เคียงกับเด็กวัยเดียวกัน "ทางมูลนิธิเดอะ เรนโบว์ฯ ต้องการเรียกร้องให้หน่วยงานในสังคมที่เกี่ยวข้องทั้งกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) สื่อสารมลชน โดยเฉพาะกลุ่มแพทย์ พยาบาล ซึ่งมีหน้าที่วินิจฉัยอาการต่างๆ ทางการแพทย์ เปลี่ยนคำวินิจฉัยหรือคำพูด จากคำว่า โรค ภาวะบกพร่องทางร่างกายต่าง ๆ และคำว่า ปัญญาอ่อน รวมถึงในเอกสารทางการแพทย์ และเอกสารทางวิชาการก็ควรหลีกเลี่ยงคำเหล่านี้ ไปใช้คำอื่นที่สื่อความหมายในเชิงบวก เพื่อให้พ่อ แม่ที่มีลูกที่เป็นเด็กที่มีความต้องการพิเศษ มีความเข้าใจในเชิงบวกเกี่ยวกับเรื่องนี้ ไม่ใช่พอฟังคำวินิจฉัยของแพทย์ แล้วตกใจ จิตตก ทั้งที่ยังไม่ทราบว่า ภาวะดาวน์ซินโดรม หรือออทิสติกเป็นอย่างไร เป็นการสร้างข้อจำกัดทางศักยภาพของเด็ก เมื่อเศร้า จิตตก พ่อแม่มักจะละเลยการดูแลเด็กเหล่านี้เพื่อให้มีพัฒนาการที่ดีในช่วงแรก ซึ่งเป็นช่วงที่สำคัญ ทั้งที่ความจริงแล้วเด็กเหล่านี้สามารถทำอะไรได้หลายอย่าง เช่นเดียวกับเด็กทั่วไปอาจจะไม่เก่งคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ แต่เด็กหลายคนมีศักยภาพทางดนตรี กีฬา ศิลปะ" ประธานมูลนิธิเดอะ เรนโบว์ฯ กล่าว ขอบคุณ... http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1393670521&grpid=03&catid=&subcatid=m มติชนออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 1 มี.ค.57
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)