"เธียเตอร์สายรุ้ง" ละครเวทีโชว์พลังเด็กพิเศษ

แสดงความคิดเห็น

เพราะว่าคำพูดสามารถทำร้ายคนได้ และคำว่า "ปัญญาอ่อน" เป็นคำที่ดูหมิ่นศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สมควรเลิกใช้ โครงการศิลปะการสร้างสายรุ้ง : ละครเวที "เธียเตอร์สายรุ้ง" จึงเกิดขึ้น เป็นการแสดงแนวทดลองของศิลปินในหลายๆ แขนง ร่วมกับเด็กๆ ที่มีความต้องการพิเศษ เด็กทั่วไป และผู้ใหญ่ซึ่งเป็นอาสาสมัคร เนื้อหาหลักรณรงค์ให้เลิกใช้คำพูดกระทบใจเด็กๆ โดยเฉพาะคำว่าปัญญาอ่อน ละครเวที "เธียเตอร์สายรุ้ง" ได้แรงบันดาลใจจากเด็ก การเคลื่อนไหวที่เป็นธรรมชาติและถูกสร้างสรรค์เพื่อให้พวกเขาสามารถใช้ศักยภาพของตนได้สูงสุด

ละครเวที "เธียเตอร์สายรุ้ง" จะจัดแสดงฉลองวันดาวน์ซินโดรมโลกในวันเสาร์ที่ 22 และอาทิตย์ที่ 23 มีนาคม พ.ศ.2557 เวลา 16.00 น. ที่มิวเซียมสยาม และกระบวนการทำงานทั้งหมดในโครงการจะถูกบันทึกเพื่อผลิตเป็นสารคดีชุด "เธียเตอร์สายรุ้ง" ฉายรอบปฐมทัศน์ในเทศกาลหนังออทิสซึมของชมรมเมืองไทยเข้าใจออทิสซึม ในวันเสาร์ที่ 26 เมษายนนี้ ที่พารากอนซีนีเพล็กซ์ เนื่องในโอกาสเดือนออทิสซึมโลก กิจกรรมนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการศิลปะการสร้างสายรุ้ง ครั้งที่ 2 ของมูลนิธิเดอะ เรนโบว์ รูม ภายใต้การพัฒนาโดยอาร์ต คอนเน็กชั่น ด้วยความร่วมมือของสถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติและชมรมเมืองไทยเข้าใจออทิสซึม

โรสซาลีนา อเล็กซานเดอร์ ประธานมูลนิธิเดอะ เรนโบว์ รูม กล่าวว่า เด็กมีคุณค่าและความหมายเกินจะละเลย สังคมของเราเลือกที่จะจำกัดศักยภาพของเด็กบางคนที่เกิดมาด้วยคำว่าปัญญาอ่อน และด้วยคำคำเดียวกันนี้ที่ใช้วินิจฉัยภาวะของเด็ก เราก็ใช้ตำหนิบุคคลที่เราอยากให้รู้สึกด้อยหรือต่ำต้อยในด้านความคิดและการกระทำเป็นคำที่ผู้ใช้จะพูดเมื่อต้องการทำร้ายความรู้สึกผู้อื่นให้เจ็บปวด

"คำพูดเล็กๆ น้อยๆสามารถทำร้ายจิตใจกันได้ และพ่อแม่ต้องรับผลคำพูดนี้ก่อนลูก เด็กบางคนเกิดมาด้วยโครงสร้างของร่างกายที่แตกต่าง การเชื่อมโยงของสมอง หรือการเรียนรู้ที่แตกต่าง หากมีคำพูดที่ส่งผลต่อทัศนคติเชิงลบมากระทบจิตใจ ไม่เฉพาะลูกเท่านั้น แต่ศักยภาพในการพัฒนาเด็กของพ่อแม่ก็จะลดถอยไปด้วย และที่สำคัญกำลังใจที่จะทุ่มเทพลังความรักอย่างสุดความสามารถเพื่อพัฒนา ศักยภาพของลูกๆ ให้ได้เต็มที่ตั้งแต่ช่วงแรกๆ ของชีวิต กลับสูญเสียไปกับการไว้อาลัยความฝัน ฉะนั้น จำเป็นต้องสร้างความเข้าใจในเชิงบวกเกี่ยวกับความต้องการพิเศษทางด้านพัฒนา และพฤติกรรมให้กับครอบครัวและสังคม" ประธานมูลนิธิเดอะเรนโบว์รูมหวังว่าละครและสารคดีชุดนี้จะสร้างความเข้าใจที่ถูกต้อง

ศิลปินในโครงการมีทั้งด้านศิลปะการแสดงและดนตรี ชนะ เสวิกุล โปรดิวเซอร์ สายงานเพลง GMM Grammy ผู้ร่วมสร้างสรรค์การแสดง บอกว่า จากประสบการณ์ใช้ศิลปะและเพลงเพื่อพัฒนาการเด็กที่มีความต้องการพิเศษ คาดว่าจะเกิดสิ่งที่ไม่คาดคิดขึ้น แต่บอกไม่ได้ว่าอะไร สิ่งที่เราทำคือการเตรียมความพร้อมเด็กๆให้มีสมาธิมีความกล้าที่เหลืออยู่บนเวทีตนเองมั่นใจน้องๆทำได้

"มีหลายคนชอบถามจะมีอะไรพิเศษในวันนั้น ผมตอบไม่มีอะไรพิเศษ มีแต่เรื่องธรรมดาที่เด็กๆ เขาทำกัน เพราะพวกเขาคือเด็กธรรมดา" ชนะกล่าว และยังบอกด้วยเขาเป็นออทิสซึม วัยเด็กชอบพูดคนเดียว แต่เติบโตเรียนจบใช้ชีวิตปกติเป็นโปรดิวเซอร์และนักเขียนได้

ด้าน สมชาย ลีลาลักษณ์สกุล หรือ ครูเบิ้ม กลุ่มละครเพื่อการเรียนรู้บางเพลย์ เผยว่า กลุ่มละครของเราทำงานกับเด็กและเยาวชนมาตลอด สำหรับโครงการละครเวทีนี้ศิลปินทำงานกับเด็กพิเศษและเด็กทั่วไป เราจะได้เห็นกระบวนการทางการละครช่วยในพัฒนาการของเด็ก เราเริ่มซ้อมละครแล้ว พบว่าเด็กทั้งสองกลุ่มทำงานร่วมกันได้ดี รู้จักหน้าที่ตนเอง สนุกสนาน และสามารถอยู่ในสังคมได้อย่างสบาย "ไม่เน้นเด็กๆ ทำโชว์ให้ผู้ชมแต่เป็นกระบวนการที่มุ่งพัฒนาผู้เล่นละครมากกว่า"สมชายกล่าว

กายกรรมคือศิลปะอีกแขนงที่ชวนให้เด็กๆ ทำงานร่วมกับศิลปินเพื่อค้นหาศักยภาพตนเอง ราชนิกร แก้วดี ศิลปินแนวหน้าของไทย กล่าวว่า ตนเลือกทำงานกับน้องๆ ที่มีความบกพร่องทางด้านกล้ามเนื้อ จะสอนกายกรรม ซึ่งเน้นการออกกำลังกายเป็นหลักควบคู่กับการใช้อุปกรณ์ ใช้กล้ามเนื้อทั้งมัดเล็กและมัดใหญ่ แต่แท้จริงเริ่มจากใจที่อยากใช้กล้ามเนื้อก่อน

"ตอนฝึกซ้อมไม่รู้สึกว่าพวกเขาบกพร่อง น้องๆ ปีนป่ายขึ้นไปโดยอัตโนมัติ มีจังหวะที่เราปีนขึ้นสูงให้ดู เด็กๆ ดึงผ้าแสดงออกถึงความเป็นห่วงจนต้องลงมา ซึ่งพวกเขาเข้าสวมกอดทันที" ราชนิกร หรือ 'ครูเล้ง'ของเด็กเผยความรู้สึก

กระบวนการทำงานศิลปะทั้งหมดในโครงการ "เธียเตอร์สายรุ้ง" จะถูกบันทึกเป็นสารคดีเพื่อฉายในเทศกาลหนังออทิสซึมของไทย รณิษฐา จริตกุล ผู้กำกับภาพยนตร์ รับหน้าที่กำกับและผลิตหนังสารคดีชุดนี้ กล่าวว่า จากกระบวนการทำงานของศิลปินร่วมกับเด็กพิเศษ เด็กทั่วไป ทำให้ได้รู้ว่าเด็กๆ เป็นครูเรา ได้เปิดโลกทัศน์ใหม่ และมีความเข้าใจตัวเองมากขึ้น โครโมโซมของเด็กพิเศษที่เกินมาดีที่สุดแล้ว สารคดีนี้จะเห็นถึงศักยภาพของเด็กๆ ผู้ชมจะถูกปลุกเร้าด้วยสารของการให้เกียรติ หลีกเลี่ยงการดูหมิ่นศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์.

ขอบคุณ... http://thaipost.net/x-cite/050314/86950 (ขนาดไฟล์: 167)

ไทยโพสต์ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 5 มี.ค.57

ที่มา: ไทยโพสต์ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 5 มี.ค.57
วันที่โพสต์: 5/03/2557 เวลา 03:08:49

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

เพราะว่าคำพูดสามารถทำร้ายคนได้ และคำว่า "ปัญญาอ่อน" เป็นคำที่ดูหมิ่นศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สมควรเลิกใช้ โครงการศิลปะการสร้างสายรุ้ง : ละครเวที "เธียเตอร์สายรุ้ง" จึงเกิดขึ้น เป็นการแสดงแนวทดลองของศิลปินในหลายๆ แขนง ร่วมกับเด็กๆ ที่มีความต้องการพิเศษ เด็กทั่วไป และผู้ใหญ่ซึ่งเป็นอาสาสมัคร เนื้อหาหลักรณรงค์ให้เลิกใช้คำพูดกระทบใจเด็กๆ โดยเฉพาะคำว่าปัญญาอ่อน ละครเวที "เธียเตอร์สายรุ้ง" ได้แรงบันดาลใจจากเด็ก การเคลื่อนไหวที่เป็นธรรมชาติและถูกสร้างสรรค์เพื่อให้พวกเขาสามารถใช้ศักยภาพของตนได้สูงสุด ละครเวที "เธียเตอร์สายรุ้ง" จะจัดแสดงฉลองวันดาวน์ซินโดรมโลกในวันเสาร์ที่ 22 และอาทิตย์ที่ 23 มีนาคม พ.ศ.2557 เวลา 16.00 น. ที่มิวเซียมสยาม และกระบวนการทำงานทั้งหมดในโครงการจะถูกบันทึกเพื่อผลิตเป็นสารคดีชุด "เธียเตอร์สายรุ้ง" ฉายรอบปฐมทัศน์ในเทศกาลหนังออทิสซึมของชมรมเมืองไทยเข้าใจออทิสซึม ในวันเสาร์ที่ 26 เมษายนนี้ ที่พารากอนซีนีเพล็กซ์ เนื่องในโอกาสเดือนออทิสซึมโลก กิจกรรมนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการศิลปะการสร้างสายรุ้ง ครั้งที่ 2 ของมูลนิธิเดอะ เรนโบว์ รูม ภายใต้การพัฒนาโดยอาร์ต คอนเน็กชั่น ด้วยความร่วมมือของสถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติและชมรมเมืองไทยเข้าใจออทิสซึม โรสซาลีนา อเล็กซานเดอร์ ประธานมูลนิธิเดอะ เรนโบว์ รูม กล่าวว่า เด็กมีคุณค่าและความหมายเกินจะละเลย สังคมของเราเลือกที่จะจำกัดศักยภาพของเด็กบางคนที่เกิดมาด้วยคำว่าปัญญาอ่อน และด้วยคำคำเดียวกันนี้ที่ใช้วินิจฉัยภาวะของเด็ก เราก็ใช้ตำหนิบุคคลที่เราอยากให้รู้สึกด้อยหรือต่ำต้อยในด้านความคิดและการกระทำเป็นคำที่ผู้ใช้จะพูดเมื่อต้องการทำร้ายความรู้สึกผู้อื่นให้เจ็บปวด "คำพูดเล็กๆ น้อยๆสามารถทำร้ายจิตใจกันได้ และพ่อแม่ต้องรับผลคำพูดนี้ก่อนลูก เด็กบางคนเกิดมาด้วยโครงสร้างของร่างกายที่แตกต่าง การเชื่อมโยงของสมอง หรือการเรียนรู้ที่แตกต่าง หากมีคำพูดที่ส่งผลต่อทัศนคติเชิงลบมากระทบจิตใจ ไม่เฉพาะลูกเท่านั้น แต่ศักยภาพในการพัฒนาเด็กของพ่อแม่ก็จะลดถอยไปด้วย และที่สำคัญกำลังใจที่จะทุ่มเทพลังความรักอย่างสุดความสามารถเพื่อพัฒนา ศักยภาพของลูกๆ ให้ได้เต็มที่ตั้งแต่ช่วงแรกๆ ของชีวิต กลับสูญเสียไปกับการไว้อาลัยความฝัน ฉะนั้น จำเป็นต้องสร้างความเข้าใจในเชิงบวกเกี่ยวกับความต้องการพิเศษทางด้านพัฒนา และพฤติกรรมให้กับครอบครัวและสังคม" ประธานมูลนิธิเดอะเรนโบว์รูมหวังว่าละครและสารคดีชุดนี้จะสร้างความเข้าใจที่ถูกต้อง ศิลปินในโครงการมีทั้งด้านศิลปะการแสดงและดนตรี ชนะ เสวิกุล โปรดิวเซอร์ สายงานเพลง GMM Grammy ผู้ร่วมสร้างสรรค์การแสดง บอกว่า จากประสบการณ์ใช้ศิลปะและเพลงเพื่อพัฒนาการเด็กที่มีความต้องการพิเศษ คาดว่าจะเกิดสิ่งที่ไม่คาดคิดขึ้น แต่บอกไม่ได้ว่าอะไร สิ่งที่เราทำคือการเตรียมความพร้อมเด็กๆให้มีสมาธิมีความกล้าที่เหลืออยู่บนเวทีตนเองมั่นใจน้องๆทำได้ "มีหลายคนชอบถามจะมีอะไรพิเศษในวันนั้น ผมตอบไม่มีอะไรพิเศษ มีแต่เรื่องธรรมดาที่เด็กๆ เขาทำกัน เพราะพวกเขาคือเด็กธรรมดา" ชนะกล่าว และยังบอกด้วยเขาเป็นออทิสซึม วัยเด็กชอบพูดคนเดียว แต่เติบโตเรียนจบใช้ชีวิตปกติเป็นโปรดิวเซอร์และนักเขียนได้ ด้าน สมชาย ลีลาลักษณ์สกุล หรือ ครูเบิ้ม กลุ่มละครเพื่อการเรียนรู้บางเพลย์ เผยว่า กลุ่มละครของเราทำงานกับเด็กและเยาวชนมาตลอด สำหรับโครงการละครเวทีนี้ศิลปินทำงานกับเด็กพิเศษและเด็กทั่วไป เราจะได้เห็นกระบวนการทางการละครช่วยในพัฒนาการของเด็ก เราเริ่มซ้อมละครแล้ว พบว่าเด็กทั้งสองกลุ่มทำงานร่วมกันได้ดี รู้จักหน้าที่ตนเอง สนุกสนาน และสามารถอยู่ในสังคมได้อย่างสบาย "ไม่เน้นเด็กๆ ทำโชว์ให้ผู้ชมแต่เป็นกระบวนการที่มุ่งพัฒนาผู้เล่นละครมากกว่า"สมชายกล่าว กายกรรมคือศิลปะอีกแขนงที่ชวนให้เด็กๆ ทำงานร่วมกับศิลปินเพื่อค้นหาศักยภาพตนเอง ราชนิกร แก้วดี ศิลปินแนวหน้าของไทย กล่าวว่า ตนเลือกทำงานกับน้องๆ ที่มีความบกพร่องทางด้านกล้ามเนื้อ จะสอนกายกรรม ซึ่งเน้นการออกกำลังกายเป็นหลักควบคู่กับการใช้อุปกรณ์ ใช้กล้ามเนื้อทั้งมัดเล็กและมัดใหญ่ แต่แท้จริงเริ่มจากใจที่อยากใช้กล้ามเนื้อก่อน "ตอนฝึกซ้อมไม่รู้สึกว่าพวกเขาบกพร่อง น้องๆ ปีนป่ายขึ้นไปโดยอัตโนมัติ มีจังหวะที่เราปีนขึ้นสูงให้ดู เด็กๆ ดึงผ้าแสดงออกถึงความเป็นห่วงจนต้องลงมา ซึ่งพวกเขาเข้าสวมกอดทันที" ราชนิกร หรือ 'ครูเล้ง'ของเด็กเผยความรู้สึก กระบวนการทำงานศิลปะทั้งหมดในโครงการ "เธียเตอร์สายรุ้ง" จะถูกบันทึกเป็นสารคดีเพื่อฉายในเทศกาลหนังออทิสซึมของไทย รณิษฐา จริตกุล ผู้กำกับภาพยนตร์ รับหน้าที่กำกับและผลิตหนังสารคดีชุดนี้ กล่าวว่า จากกระบวนการทำงานของศิลปินร่วมกับเด็กพิเศษ เด็กทั่วไป ทำให้ได้รู้ว่าเด็กๆ เป็นครูเรา ได้เปิดโลกทัศน์ใหม่ และมีความเข้าใจตัวเองมากขึ้น โครโมโซมของเด็กพิเศษที่เกินมาดีที่สุดแล้ว สารคดีนี้จะเห็นถึงศักยภาพของเด็กๆ ผู้ชมจะถูกปลุกเร้าด้วยสารของการให้เกียรติ หลีกเลี่ยงการดูหมิ่นศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์. ขอบคุณ... http://thaipost.net/x-cite/050314/86950 ไทยโพสต์ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 5 มี.ค.57

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...