เตรียมระดมสมอง หาคำแทน "ปัญญาอ่อน" "บกพร่อง" และ"เด็กพิเศษ" ก่อนชงหน่วยงานที่เกี่ยวข้องปรับแก้
เมื่อวันที่ 3 มีนาคม น.ส.โรสซาลีน่า อเล็กซานเดอร์ แมคเคย์ ในประธาน มูลนิธิเดอะ เรนโบว์ รูม กล่าวในการแถลงโครงการศิลปะการสร้างสายรุ้ง:ละครเวที "เธียเตอร์สายรุ้ง" ว่า ในโครงการศิลปะการสร้างสายรุ้ง เลือกที่จะทำงานกับศิลปินในหลายแขนง เพื่อให้ศิลปินได้มีโอกาสได้สัมผัสกับเด็ก เห็นศักยภาพ และความเป็นไปได้ของเด็ก ๆ และสะท้อนประสบการณ์เหล่านั้น ออกมาในงานศิลปะที่ตนเองถนัด เพราะศิลปะเป็นศาสตร์สากล โดยละครเวทีเธียเตอร์สายรุ้งเป็นหนึ่งในกิจกรรมของโครงการ มีเนื้อหาหลักในการรณรงค์ให้เลิกใช้คำพูดทำร้ายเด็ก โดยเฉพาะคำว่าปัญญาอ่อน เนื่องจากคำพูดเล็ก ๆ สามารถทำร้ายจิตใจกันได้ พ่อแม่ต้องรับผลของคำพูดเหล่านี้ก่อนที่ลูก ๆ จะรู้เรื่อง ลูกบางคนเกิดมาด้วยโครงสร้างของร่างกาย การเชื่อมโยงของสมอง หรือการเรียนรู้ที่แตกต่าง ดังนั้นหากมีคำพูดที่ส่งผลในเชิงลบไม่เพียงแต่ศักยภาพของลูกเท่านั้นที่ถูก จำกัดด้วยคำว่าปัญญาอ่อน แต่รวมถึงศักยภาพของความเป็นพ่อแม่ด้วยที่ได้รับผลกระทบทำให้ขาดกำลังใจในการทุ่มเทความสามารถเพื่อพัฒนาศักยภาพของลูก
นาง วรนันท์ ประเสริฐเมธ นักจิตวิทยา ผู้ร่วมก่อตั้งมูลนิธิ เดอะ เรนโบว์ รูม กล่าวว่า ขณะนี้ทางมูลนิธิฯ กำลังรวบรวมหาคำที่เหมาะสมเพื่อเสนอให้หน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องทั้ง กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) ราชบัณฑิตยสถาน กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วน นำไปปรับใช้แทนคำใช้ที่ใช้เรียกเด็ก ที่มีภาวะความต้องการพิเศษต่าง ๆ ทั้ง ออทิสติก ดาวน์ซินโดรม หรือเด็กที่มีภาวะความต้องการพิเศษด้านอื่น ๆ เช่น ตาบอด หูหนวก ฯลฯ ใหม่ ทั้งนี้เพื่อให้สังคมเข้าใจในพัฒนาการเรียนรู้ของเด็กเหล่านี้ในเชิงบวกมาก ยิ่งขึ้น โดยเฉพาะ คำว่า "บกพร่อง" หรือ "เด็กพิเศษ" ซึ่งทำให้เขามีความแตกต่างกับเด็กอื่น ๆ และถือเป็นคำที่กระทบต่อความรู้สึกของพ่อแม่ หากสามารถหาคำที่เหมาะสมมาแทนคำเหล่านี้ได้ จะช่วยสร้างความเข้าใจในเชิงบวกเพื่อเข้ามาช่วยดูแลเด็กเหล่านี้ ให้มีพัฒนาการดียิ่งขึ้น
ทั้งนี้ในวงการแพทย์ เลิกใช้คำว่า "ปัญญาอ่อน" มานานกว่า 10 ปี แล้ว แต่ก็ยังมีคำว่า "บกพร่อง" หรือ "เด็กพิเศษ" ซึ่งดิฉันในฐานะนักจิตวิทยา เข้าใจว่าในวงการแพทย์ จำเป็นต้องมีศัพท์วิชาการที่เข้าใจตรงกัน แต่การสื่อสารอาจจะต้องหาศัพท์ใหม่ที่ไม่ไปกระทบความรู้สึกของพ่อ แม่ หรือคนในครอบครัวที่มีลูกเป็นเด็กที่มีภาวะความต้องการพิเศษ อย่างเช่น การที่จะบอกพ่อแม่ว่า ลูกของเขา "เป็นออทิสติก" ก็อาจจะเลี่ยงไปใช้คำว่า "มีภาวะ" แทน หากใช้คำว่า "เป็น" เหมือนเป็นการตีตรายางไปแล้วว่าเด็กเป็นอย่างนั้น แต่ถ้าเปลี่ยนมาใช้ "มี" จะทำให้คนฟังรู้สึกว่าเด็กสามารถพัฒนาได้เช่นเดียวกันเด็กอื่น ๆ ดังนั้นหากมีคำที่ใช้แทนภาวะที่เด็กเหล่านี้ ที่เป็นความรู้สึกในเชิงบวกเป็นก็จะเป็นเรื่องดี"นางวรนันท์กล่าว และว่าส่วนคำที่เหมาะสมนั้น คงต้องระดมความคิดเห็นจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง เพื่อหาคำที่สั้น และง่ายต่อความเข้าใจของคนส่วนใหญ่ในสังคม
มติชนออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 3 มี.ค.57
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
เมื่อวันที่ 3 มีนาคม น.ส.โรสซาลีน่า อเล็กซานเดอร์ แมคเคย์ ในประธาน มูลนิธิเดอะ เรนโบว์ รูม กล่าวในการแถลงโครงการศิลปะการสร้างสายรุ้ง:ละครเวที "เธียเตอร์สายรุ้ง" ว่า ในโครงการศิลปะการสร้างสายรุ้ง เลือกที่จะทำงานกับศิลปินในหลายแขนง เพื่อให้ศิลปินได้มีโอกาสได้สัมผัสกับเด็ก เห็นศักยภาพ และความเป็นไปได้ของเด็ก ๆ และสะท้อนประสบการณ์เหล่านั้น ออกมาในงานศิลปะที่ตนเองถนัด เพราะศิลปะเป็นศาสตร์สากล โดยละครเวทีเธียเตอร์สายรุ้งเป็นหนึ่งในกิจกรรมของโครงการ มีเนื้อหาหลักในการรณรงค์ให้เลิกใช้คำพูดทำร้ายเด็ก โดยเฉพาะคำว่าปัญญาอ่อน เนื่องจากคำพูดเล็ก ๆ สามารถทำร้ายจิตใจกันได้ พ่อแม่ต้องรับผลของคำพูดเหล่านี้ก่อนที่ลูก ๆ จะรู้เรื่อง ลูกบางคนเกิดมาด้วยโครงสร้างของร่างกาย การเชื่อมโยงของสมอง หรือการเรียนรู้ที่แตกต่าง ดังนั้นหากมีคำพูดที่ส่งผลในเชิงลบไม่เพียงแต่ศักยภาพของลูกเท่านั้นที่ถูก จำกัดด้วยคำว่าปัญญาอ่อน แต่รวมถึงศักยภาพของความเป็นพ่อแม่ด้วยที่ได้รับผลกระทบทำให้ขาดกำลังใจในการทุ่มเทความสามารถเพื่อพัฒนาศักยภาพของลูก นาง วรนันท์ ประเสริฐเมธ นักจิตวิทยา ผู้ร่วมก่อตั้งมูลนิธิ เดอะ เรนโบว์ รูม กล่าวว่า ขณะนี้ทางมูลนิธิฯ กำลังรวบรวมหาคำที่เหมาะสมเพื่อเสนอให้หน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องทั้ง กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) ราชบัณฑิตยสถาน กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วน นำไปปรับใช้แทนคำใช้ที่ใช้เรียกเด็ก ที่มีภาวะความต้องการพิเศษต่าง ๆ ทั้ง ออทิสติก ดาวน์ซินโดรม หรือเด็กที่มีภาวะความต้องการพิเศษด้านอื่น ๆ เช่น ตาบอด หูหนวก ฯลฯ ใหม่ ทั้งนี้เพื่อให้สังคมเข้าใจในพัฒนาการเรียนรู้ของเด็กเหล่านี้ในเชิงบวกมาก ยิ่งขึ้น โดยเฉพาะ คำว่า "บกพร่อง" หรือ "เด็กพิเศษ" ซึ่งทำให้เขามีความแตกต่างกับเด็กอื่น ๆ และถือเป็นคำที่กระทบต่อความรู้สึกของพ่อแม่ หากสามารถหาคำที่เหมาะสมมาแทนคำเหล่านี้ได้ จะช่วยสร้างความเข้าใจในเชิงบวกเพื่อเข้ามาช่วยดูแลเด็กเหล่านี้ ให้มีพัฒนาการดียิ่งขึ้น ทั้งนี้ในวงการแพทย์ เลิกใช้คำว่า "ปัญญาอ่อน" มานานกว่า 10 ปี แล้ว แต่ก็ยังมีคำว่า "บกพร่อง" หรือ "เด็กพิเศษ" ซึ่งดิฉันในฐานะนักจิตวิทยา เข้าใจว่าในวงการแพทย์ จำเป็นต้องมีศัพท์วิชาการที่เข้าใจตรงกัน แต่การสื่อสารอาจจะต้องหาศัพท์ใหม่ที่ไม่ไปกระทบความรู้สึกของพ่อ แม่ หรือคนในครอบครัวที่มีลูกเป็นเด็กที่มีภาวะความต้องการพิเศษ อย่างเช่น การที่จะบอกพ่อแม่ว่า ลูกของเขา "เป็นออทิสติก" ก็อาจจะเลี่ยงไปใช้คำว่า "มีภาวะ" แทน หากใช้คำว่า "เป็น" เหมือนเป็นการตีตรายางไปแล้วว่าเด็กเป็นอย่างนั้น แต่ถ้าเปลี่ยนมาใช้ "มี" จะทำให้คนฟังรู้สึกว่าเด็กสามารถพัฒนาได้เช่นเดียวกันเด็กอื่น ๆ ดังนั้นหากมีคำที่ใช้แทนภาวะที่เด็กเหล่านี้ ที่เป็นความรู้สึกในเชิงบวกเป็นก็จะเป็นเรื่องดี"นางวรนันท์กล่าว และว่าส่วนคำที่เหมาะสมนั้น คงต้องระดมความคิดเห็นจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง เพื่อหาคำที่สั้น และง่ายต่อความเข้าใจของคนส่วนใหญ่ในสังคม ขอบคุณ... http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1393848011&grpid=&catid=19&subcatid=1904 มติชนออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 3 มี.ค.57
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)