"บกพร่องทางสติปัญญา" เปลี่ยนทรรศนะ-ปฏิบัติ ด้วยดีไหม?

แสดงความคิดเห็น

เด็กหญิงยืนเอามือปิดหน้า

เห็นด้วยเป็นอย่างยิ่ง กับการออกมารณรงค์ให้สังคมไทยเลิกใช้คำว่า "ปัญญาอ่อน" (ป.ญ.อ.) ที่เป็นคำดูหมิ่นศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ โดยมูลนิธิเดอะเรนโบว์ รูม และอีกหลายองค์กรโดยขอให้บัญญัติศัพท์ใหม่ที่เหมาะสมกว่า เพื่อสร้างความเข้าใจเชิงบวกแก่สังคม เนื่องในวันดาวน์ซินโดรมโลกวันที่ 21 มีนาคม

ทันทีที่การเรียกร้องผ่านไป หลายองค์กรที่เกี่ยวข้องออกมายืนยันเป็นพัลวันว่า เลิกใช้คำว่าปัญญาอ่อนในเอกสารทางการแพทย์ เอกสารทางวิชาการ และสารบบไปนานแล้ว แต่ยังมีอีกบางองค์กรตีกลับถามหาคำที่เหมาะสมทั้งเสนอทางออกที่แท้จริง ด้วยการให้รณรงค์ปรับเปลี่ยนเจตคติพฤติกรรมของคนในสังคม เพราะมองว่าเปลี่ยนที่มุมมองและการกระทำ "สำคัญกว่า" เปลี่ยนคำพูดที่เป็นปลายทางของการแสดงออกเป็นไหนๆ

นายสุชาติ โอวาทวรรณสกุล นายกสมาคมเพื่อคนพิการสติปัญญาแห่งประเทศไทยเผยว่า จริงๆ เรื่องคำพูดนี้มีปัญหาอยู่ อย่างพ่อแม่เมื่อพบว่าลูกมีสติปัญญาต่ำ ถูกตีตราว่าปัญญาอ่อน เริ่มแรกพ่อแม่จะเริ่มจิตตกก่อน ซึ่งเมื่อมาเจอคำแบบนี้ยิ่งทำให้ไม่อยากพาลูกออกนอกบ้านเลยเพราะเจตคติสังคมมองอาการนี้ในแง่ลบ

"ลูกชายผมก็เป็นดาวน์ซินโดรม ซึ่งบ่งบอกโรคโดยหน้าตา อย่างช่วงเล็กที่หมอบอกว่าเป็นโรคนี้ แม่ของน้องร้องไห้ ซึ่งเป็นปีกว่าจะทำใจได้ ขณะที่บางคนเมื่อพบว่าลูกมีอาการอย่างนี้ ถึงกับครอบครัวแตกแยกก็มี เพราะต่างโทษกันไปมาระหว่างพ่อแม่ ทำให้หลายครอบครัว นอกจากลูกจะมีปัญหาเรื่องสติปัญญาแล้ว ผู้ใหญ่ก็มีปัญหาเรื่องสติปัญญาตามมาด้วย"

นายกสมาคมฯจึงแนะว่า หากจะเปลี่ยนก็ต้องเริ่มที่ "พ่อแม่" โดยเสนอคำพูดที่ใช้กับเด็กกลุ่มนี้ว่า "เด็กพิเศษ"

"เด็กพิเศษเป็นคำที่มองในเชิงบวก ผมชอบมากกว่าคำว่าเด็กพิการเสียอีก ซึ่งการใช้คำเชิงบวก จะทำให้กำลังใจดีขึ้น อย่างคำว่าเด็กพิเศษมีความหมายว่า เด็กกลุ่มนี้สามารถฝึกฝนได้ เขาก็จะมีกำลังใจ"

แม้ปัจจุบันคนกลุ่มนี้ได้รับการยอมรับมากขึ้น แต่ก็ยังมีคนบางกลุ่มที่ยัง "ไม่เข้าใจ" เช่น ที่โรงเรียนหากเด็กถูกเพื่อนล้อว่าปัญญาอ่อน เด็กก็ไม่อยากไปโรงเรียน เหตุนี้ทำให้เด็กกลุ่มดาวน์ซินโดรม ออทิสติกหลายคนหันหลังให้โรงเรียนแม้แต่กลุ่มพิการทางการเคลื่อนไหวก็มีปัญหานี้เช่นกัน

"ที่ผ่านมาเราพยายามรณรงค์ในโรงเรียนและเพิ่มหลักสูตรเพื่อให้เด็กเข้าใจคนพิการและเปิดใจยอมรับเด็กพิการหรือเด็กพิเศษ นอกจากนี้กำลังเรียกร้องให้สื่อไม่นำเด็กพิเศษไปล้อเล่นให้เป็นเรื่องตลกขบขันและนักการเมืองไม่นำคำนี้ไปว่ากล่าวหาใคร"

สำคัญที่สุด "อยากให้คำเรียกนี้หายไปจากสังคม" ผศ.ระพีพร ศุภมหิธร หัวหน้าศูนย์วิจัยการศึกษาเพื่อเด็กที่ต้องการความช่วยเหลือพิเศษ โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (มก.) เผยว่า ก่อนอื่นต้องแยกแยะว่าออทิสติกกับปัญญาอ่อนเป็นคนละโรคกัน ออทิสติกเป็นความบกพร่องของทักษะทางการสื่อสารและทักษะสังคมไม่ใช่ความบกพร่องทางสติปัญญาเหมือนดาวน์ซินโดรม

"การใช้คำว่า ′บกพร่องทางสติปัญญา′ จะให้ความหมายเหมาะสมกว่า คำว่า ′ปัญญาอ่อน′ เพราะเมื่อได้ยินยังพอเข้าใจว่าคนที่บกพร่องสามารถพัฒนาได้"

กระนั้น ผศ.ระพีพร มีความเห็นว่า รณรงค์ให้เปลี่ยนคำอย่างเดียว แต่ไม่เปลี่ยนทัศนคติและการปฏิบัติตัวต่อผู้บกพร่องคิดว่าน่าจะได้ประโยชน์ไม่เต็มที่

"การจะรณรงค์เรื่องนี้ให้สำเร็จ เริ่มแรกต้องทำให้สังคมเห็นความสำคัญของการช่วยเหลือและพัฒนาก่อน เพราะเมื่อคนเข้าใจทุกอย่างมันจะง่ายขึ้น"

ยกตัวอย่างเด็กออทิสติกที่โรงเรียนสาธิต ม.เกษตร ผศ.ระพีพรเล่าว่า เด็กออทิสติกที่นี่อาจมีปัญหาบางประเด็นที่มาจากผลกระทบของโรค แต่โดยรวมเขาก็สามารถใช้ชีวิตได้ใกล้เคียงกับเด็กปกติทั่วไป โดยเด็กจะได้รับโอกาสเรียนต่อระดับปริญญาตรีของ มก. ซึ่งดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2545 ซึ่งขณะนี้มีนิสิตออทิสติกศึกษาจบไปแล้ว 8 รุ่น "ลูกศิษย์ครึ่งหนึ่งที่จบไปมีงานทำ อีกครึ่งทำงานแล้วลาออกไปก็มี ขณะที่มี 2 คนศึกษาต่อจนจบปริญญาโท อย่างคนแรกจบด้านวิศวกรรมเว็บไซต์ ตอนนี้ประกอบอาชีพอิสระด้านการออกแบบ ส่วนอีกคนจบด้านโบราณคดี ตอนนี้ทำงานอยู่อุทยานแห่งชาติประวัติศาสตร์ จังหวัดพระนครศรีอยุธยาซึ่งทำงานได้ดีมากและเป็นคนตั้งใจทำงาน"

ผศ.ระพีพรเชื่อว่าหากเด็กออทิสติกได้รับการพัฒนา เขาก็ใช้ชีวิตได้ปกติ โดยที่ความสามารถไม่ได้ด้อยไปกว่าคนทั่วไป เพราะนักเรียนออทิสติกบางคนไอคิวมากกว่า 120 ฉะนั้น คนที่อยู่รอบข้างต้องเข้าใจประเมินหาจุดเด่นจุดด้อยจากนั้นนำจุดด้อยมาร่วมกันพัฒนา

"ออทิสติกเป็นความผิดปกติที่สมองที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่สามารถพัฒนาได้ ซึ่งหากคนรอบข้างเข้าใจและร่วมกันพัฒนาเขาให้เต็มศักยภาพเขาก็จะสามารถใช้ชีวิตในสังคมได้"

ปิดท้าย นางนภา เศรษฐกร ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ (พก.) กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) เผยว่า การปรับเจตคติของคนในสังคมเป็นสิ่งสำคัญ เพราะหากทุกคนมีเจตคติเชิงสร้างสรรค์ว่าคนพิการคือพลัง เป็นพลังใหม่ของสังคมและคนพิการทุกคนพัฒนาได้มากน้อยแล้วแต่ลักษณะความพิการซึ่งเมื่อเชื่อมั่นอย่างนี้หมด

"ทุกคนจะมีทรรศนะเชิงบวกต่อคนพิการนำไปสู่การเปิดโอกาสให้คนพิการต่างๆ อาทิ เข้าร่วมกิจกรรมทางสังคม งานชุมนุม ทางศาสนา รวมถึงงานประชุมสัมมนาและร่วมกำหนดนโยบายของคนพิการด้วย"

"ซึ่งจะทำให้เขามีกำลังใจ การพัฒนาก็จะเร็วขึ้น" สิ่งสำคัญที่สุด คือความเข้าใจในเชิงสร้างสรรค์

ขอบคุณ... http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1394078771#

ประชาชาติธุรกิจออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 6 มี.ค.57

ที่มา: ประชาชาติธุรกิจออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 6 มี.ค.57
วันที่โพสต์: 7/03/2557 เวลา 02:57:27 ดูภาพสไลด์โชว์ "บกพร่องทางสติปัญญา" เปลี่ยนทรรศนะ-ปฏิบัติ ด้วยดีไหม?

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

เด็กหญิงยืนเอามือปิดหน้า เห็นด้วยเป็นอย่างยิ่ง กับการออกมารณรงค์ให้สังคมไทยเลิกใช้คำว่า "ปัญญาอ่อน" (ป.ญ.อ.) ที่เป็นคำดูหมิ่นศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ โดยมูลนิธิเดอะเรนโบว์ รูม และอีกหลายองค์กรโดยขอให้บัญญัติศัพท์ใหม่ที่เหมาะสมกว่า เพื่อสร้างความเข้าใจเชิงบวกแก่สังคม เนื่องในวันดาวน์ซินโดรมโลกวันที่ 21 มีนาคม ทันทีที่การเรียกร้องผ่านไป หลายองค์กรที่เกี่ยวข้องออกมายืนยันเป็นพัลวันว่า เลิกใช้คำว่าปัญญาอ่อนในเอกสารทางการแพทย์ เอกสารทางวิชาการ และสารบบไปนานแล้ว แต่ยังมีอีกบางองค์กรตีกลับถามหาคำที่เหมาะสมทั้งเสนอทางออกที่แท้จริง ด้วยการให้รณรงค์ปรับเปลี่ยนเจตคติพฤติกรรมของคนในสังคม เพราะมองว่าเปลี่ยนที่มุมมองและการกระทำ "สำคัญกว่า" เปลี่ยนคำพูดที่เป็นปลายทางของการแสดงออกเป็นไหนๆ นายสุชาติ โอวาทวรรณสกุล นายกสมาคมเพื่อคนพิการสติปัญญาแห่งประเทศไทยเผยว่า จริงๆ เรื่องคำพูดนี้มีปัญหาอยู่ อย่างพ่อแม่เมื่อพบว่าลูกมีสติปัญญาต่ำ ถูกตีตราว่าปัญญาอ่อน เริ่มแรกพ่อแม่จะเริ่มจิตตกก่อน ซึ่งเมื่อมาเจอคำแบบนี้ยิ่งทำให้ไม่อยากพาลูกออกนอกบ้านเลยเพราะเจตคติสังคมมองอาการนี้ในแง่ลบ "ลูกชายผมก็เป็นดาวน์ซินโดรม ซึ่งบ่งบอกโรคโดยหน้าตา อย่างช่วงเล็กที่หมอบอกว่าเป็นโรคนี้ แม่ของน้องร้องไห้ ซึ่งเป็นปีกว่าจะทำใจได้ ขณะที่บางคนเมื่อพบว่าลูกมีอาการอย่างนี้ ถึงกับครอบครัวแตกแยกก็มี เพราะต่างโทษกันไปมาระหว่างพ่อแม่ ทำให้หลายครอบครัว นอกจากลูกจะมีปัญหาเรื่องสติปัญญาแล้ว ผู้ใหญ่ก็มีปัญหาเรื่องสติปัญญาตามมาด้วย" นายกสมาคมฯจึงแนะว่า หากจะเปลี่ยนก็ต้องเริ่มที่ "พ่อแม่" โดยเสนอคำพูดที่ใช้กับเด็กกลุ่มนี้ว่า "เด็กพิเศษ" "เด็กพิเศษเป็นคำที่มองในเชิงบวก ผมชอบมากกว่าคำว่าเด็กพิการเสียอีก ซึ่งการใช้คำเชิงบวก จะทำให้กำลังใจดีขึ้น อย่างคำว่าเด็กพิเศษมีความหมายว่า เด็กกลุ่มนี้สามารถฝึกฝนได้ เขาก็จะมีกำลังใจ" แม้ปัจจุบันคนกลุ่มนี้ได้รับการยอมรับมากขึ้น แต่ก็ยังมีคนบางกลุ่มที่ยัง "ไม่เข้าใจ" เช่น ที่โรงเรียนหากเด็กถูกเพื่อนล้อว่าปัญญาอ่อน เด็กก็ไม่อยากไปโรงเรียน เหตุนี้ทำให้เด็กกลุ่มดาวน์ซินโดรม ออทิสติกหลายคนหันหลังให้โรงเรียนแม้แต่กลุ่มพิการทางการเคลื่อนไหวก็มีปัญหานี้เช่นกัน "ที่ผ่านมาเราพยายามรณรงค์ในโรงเรียนและเพิ่มหลักสูตรเพื่อให้เด็กเข้าใจคนพิการและเปิดใจยอมรับเด็กพิการหรือเด็กพิเศษ นอกจากนี้กำลังเรียกร้องให้สื่อไม่นำเด็กพิเศษไปล้อเล่นให้เป็นเรื่องตลกขบขันและนักการเมืองไม่นำคำนี้ไปว่ากล่าวหาใคร" สำคัญที่สุด "อยากให้คำเรียกนี้หายไปจากสังคม" ผศ.ระพีพร ศุภมหิธร หัวหน้าศูนย์วิจัยการศึกษาเพื่อเด็กที่ต้องการความช่วยเหลือพิเศษ โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (มก.) เผยว่า ก่อนอื่นต้องแยกแยะว่าออทิสติกกับปัญญาอ่อนเป็นคนละโรคกัน ออทิสติกเป็นความบกพร่องของทักษะทางการสื่อสารและทักษะสังคมไม่ใช่ความบกพร่องทางสติปัญญาเหมือนดาวน์ซินโดรม "การใช้คำว่า ′บกพร่องทางสติปัญญา′ จะให้ความหมายเหมาะสมกว่า คำว่า ′ปัญญาอ่อน′ เพราะเมื่อได้ยินยังพอเข้าใจว่าคนที่บกพร่องสามารถพัฒนาได้" กระนั้น ผศ.ระพีพร มีความเห็นว่า รณรงค์ให้เปลี่ยนคำอย่างเดียว แต่ไม่เปลี่ยนทัศนคติและการปฏิบัติตัวต่อผู้บกพร่องคิดว่าน่าจะได้ประโยชน์ไม่เต็มที่ "การจะรณรงค์เรื่องนี้ให้สำเร็จ เริ่มแรกต้องทำให้สังคมเห็นความสำคัญของการช่วยเหลือและพัฒนาก่อน เพราะเมื่อคนเข้าใจทุกอย่างมันจะง่ายขึ้น" ยกตัวอย่างเด็กออทิสติกที่โรงเรียนสาธิต ม.เกษตร ผศ.ระพีพรเล่าว่า เด็กออทิสติกที่นี่อาจมีปัญหาบางประเด็นที่มาจากผลกระทบของโรค แต่โดยรวมเขาก็สามารถใช้ชีวิตได้ใกล้เคียงกับเด็กปกติทั่วไป โดยเด็กจะได้รับโอกาสเรียนต่อระดับปริญญาตรีของ มก. ซึ่งดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2545 ซึ่งขณะนี้มีนิสิตออทิสติกศึกษาจบไปแล้ว 8 รุ่น "ลูกศิษย์ครึ่งหนึ่งที่จบไปมีงานทำ อีกครึ่งทำงานแล้วลาออกไปก็มี ขณะที่มี 2 คนศึกษาต่อจนจบปริญญาโท อย่างคนแรกจบด้านวิศวกรรมเว็บไซต์ ตอนนี้ประกอบอาชีพอิสระด้านการออกแบบ ส่วนอีกคนจบด้านโบราณคดี ตอนนี้ทำงานอยู่อุทยานแห่งชาติประวัติศาสตร์ จังหวัดพระนครศรีอยุธยาซึ่งทำงานได้ดีมากและเป็นคนตั้งใจทำงาน" ผศ.ระพีพรเชื่อว่าหากเด็กออทิสติกได้รับการพัฒนา เขาก็ใช้ชีวิตได้ปกติ โดยที่ความสามารถไม่ได้ด้อยไปกว่าคนทั่วไป เพราะนักเรียนออทิสติกบางคนไอคิวมากกว่า 120 ฉะนั้น คนที่อยู่รอบข้างต้องเข้าใจประเมินหาจุดเด่นจุดด้อยจากนั้นนำจุดด้อยมาร่วมกันพัฒนา "ออทิสติกเป็นความผิดปกติที่สมองที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่สามารถพัฒนาได้ ซึ่งหากคนรอบข้างเข้าใจและร่วมกันพัฒนาเขาให้เต็มศักยภาพเขาก็จะสามารถใช้ชีวิตในสังคมได้" ปิดท้าย นางนภา เศรษฐกร ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ (พก.) กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) เผยว่า การปรับเจตคติของคนในสังคมเป็นสิ่งสำคัญ เพราะหากทุกคนมีเจตคติเชิงสร้างสรรค์ว่าคนพิการคือพลัง เป็นพลังใหม่ของสังคมและคนพิการทุกคนพัฒนาได้มากน้อยแล้วแต่ลักษณะความพิการซึ่งเมื่อเชื่อมั่นอย่างนี้หมด "ทุกคนจะมีทรรศนะเชิงบวกต่อคนพิการนำไปสู่การเปิดโอกาสให้คนพิการต่างๆ อาทิ เข้าร่วมกิจกรรมทางสังคม งานชุมนุม ทางศาสนา รวมถึงงานประชุมสัมมนาและร่วมกำหนดนโยบายของคนพิการด้วย" "ซึ่งจะทำให้เขามีกำลังใจ การพัฒนาก็จะเร็วขึ้น" สิ่งสำคัญที่สุด คือความเข้าใจในเชิงสร้างสรรค์ ขอบคุณ... http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1394078771# ประชาชาติธุรกิจออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 6 มี.ค.57

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...