ความเห็นเชิงวิพากษ์ ต่อวงการการเมืองภาคพลเมือง

แสดงความคิดเห็น

โดย : เนติลักษณ์ นีระพล

การเมืองภาคพลเมืองมีความหมายหลากหลายตามเป้าหมายที่แตกต่างกันเช่น

1.การเมืองภาคปริมณฑลสาธารณะ (Public sphere) ที่มุ่งสร้างพื้นที่เวที กลไกส่วนกลางที่ไม่ใช่รัฐสภาที่จะถกเถียงสร้างประเด็นต่างๆขยายสิทธิอำนาจต่างๆที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม

2.การเมืองภาคประชาสังคม (Civil Society) หรือการเมืองภาคพลเมือง (Citizen politics) ที่เน้นการมีส่วนร่วมที่แข็งขันของบุคคลองค์การต่าง ๆ ในสังคมที่จะถกเถียงและบรรลุข้อตกลงในประเด็นปัญหาต่าง ๆหรือผลักดันบางประเด็นให้เป็นนโยบายของรัฐ

3.การเมืองภาคประชาชน (People’s politics) หรือขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมรูปแบบใหม่ (New Social Movement) ที่มุ่งเคลื่อนไหวสร้างจิตสำนึกในประเด็นผลประโยชน์ร่วมของมนุษยชาติ ได้แก่ สภาพแวดล้อมโลก สภาพทุนโลก การคัดต้านโลกาภิวัตน์ เป็นต้น

(ที่มา : ศรัณยุ หมั้นทรัพย์. “การศึกษาเพื่อสร้างพลเมือง : ฐานรากของการเมืองภาคพลเมือง,” วารสารสถาบันพระปกเกล้า. 6,2. กรุงเทพฯ : สถาบันพระปกเกล้า, 2550. หน้า 101-115.)

ในประเทศไทยในปัจจุบันการให้ความหมายต่อการเมืองภาคพลเมืองเปิดกว้างที่มีความหมายรวมทั้งการเคลื่อนไหวของภาคประชาสังคม NGO ชุมชนท้องถิ่นจัดการตนเอง กลุ่มเครือข่ายภาคพลเมือง ในบางครั้งมีการให้ความหมายไปถึงการออกมาชุมนุมทางการเมืองที่มีกลุ่มการ เมืองอยู่เบื้องหลังก็ถูกเหมาว่าเป็นการเมืองภาคพลเมืองด้วย

การเมืองภาคพลเมืองในความรู้ความเข้าใจของคนที่สนใจการเมืองหรือแม้แต่คนทั่วไป แทบจะเป็นแดนสนธยาที่ไม่มีคนรู้จักหรือมีความเข้าใจมากนัก มีการเคลื่อนไหวกันในวงจำกัด (อาจมีคนบอกว่าวงกว้างแต่ก็เป็นวงกว้างที่จำกัดอยู่ดี) ผู้เคลื่อนไหวทางการเมืองภาคพลเมืองประกอบด้วยบุคคลที่พอจะจำแนกอย่างคร่าวๆได้ดังนี้

1.กลุ่มเครือข่ายสภาองค์กรชุมชน ภายใต้สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชนหรือ (พอช.)

2.กลุ่มนักวิชาการที่ทำงานเครือข่ายร่วมกับภาคพลเมือง

3.เครือข่ายจังหวัดจัดการตนเอง

4.กลุ่มเครือข่าย NGO ที่รวมตัวเคลื่อนไหวในประเด็นต่างๆ ที่โดดเด่นคือ ประเด็นเกี่ยวกับการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ

หลังจากมีรัฐธรรมนูญ 50 อำนาจฝ่ายรัฐพยายามยิ่งในการหนุนเสริมพลังการเมืองภาคพลเมือง มีการจัดตั้งองค์กรที่สนับสนุนการเคลื่อนของขบวนการเมืองภาคประชาชนคือ สภาพัฒนาการเมืองและกองทุนพัฒนาการเมืองภาคพลเมือง (www.pdc.go.th) สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน รวมถึงองค์กรที่เน้นใช้กระบวนการการเมืองภาคพลเมืองในการเคลื่อนงานอัน ได้แก่เครือข่ายตระกูล ส. เช่น สสส. สปสช. อสม. สปร. รวมถึงคณะกรรมการปฏิรูปกฎหมายที่ปัจจุบันก็ให้ความสำคัญกับภาคพลเมือง การสนับสนุนดังกล่าวอาจจะต้องมีการศึกษาอย่างลึกซึ้งว่าวิธีการดังกล่าวส่ง เสริมให้การเมืองภาคประชาชนเข้มแข็งขึ้นหรืออ่อนแอลงอย่างไรจะได้กล่าวถึงในอีกวาระหนึ่งโดยละเอียด

ผู้ทำงานการเมืองภาคพลเมือง นั้นมีความหลากหลาย โดยนับจากที่มาในวงการที่เขาเหล่านั้นสังกัดอยู่ มาจาก NGO ระดับท้องถิ่น ระดับชาติ นักวิชาการเครือข่าย ปราชญ์ชาวบ้าน นักการเมืองท้องถิ่นผู้พลาดหวังจากการเลือกตั้งในพื้นที่ หรือแม้กระทั้งนักการเมืองระดับชาติที่อาจมีความมุ่งหวังในการพัฒนาการเมือง โดยผ่านกระบวนการนี้หรืออาจเพียงเป็นผู้หาที่ยืนในวงการเมืองเพื่อสร้างฐาน ทางการเมืองของตน จากความหลากหลายในที่มา จึงมีความคิดแบ่งแยกอยู่ในสังคมของการเมืองภาคพลเมือง ผู้มาจากนักวิชาการหรือนักการเมืองมักจะให้ความสำคัญกับความเห็นของคนที่มา จากกลุ่มอื่นๆค่อนข้างน้อย แม้จะเปิดรับฟังความเห็นบ้างแต่ก็ไม่ได้ให้ความสำคัญอย่างจริงจัง ยึดมั่นในทฤษฎีและกฎหมายเป็นหลัก ส่วนผู้มาจาก NGO ทั้งในระดับท้องถิ่นและระดับชาติบางส่วนก็มักจะมีทัศนคติที่ต่อต้านรัฐ และยึดมั่นในความคิดของตนอย่างมั่นคงมักจะตั้งคำถามต่อกระบวนการอันยุ่งยากซับซ้อนของระบบราชการและกฎหมาย

จุดอ่อนอย่างสำคัญของการเมืองภาคพลเมืองที่เห็นได้ชัดคือการยึดมั่นรักษาเขตแดน ทางสังคมการเมืองของตนอย่างเข้มแข็งและไม่พยายามในการขยายเขตแดนของตนไปสู่ สังคมการเมืองอื่นๆ การเมืองภาคพลเมืองมักเคลื่อนไหวในสังคมต่างจังหวัดอย่างเข้มแข็งต่อเนื่อง แต่ในทางกลับกันในสังคมเมืองทั้งเมืองในต่างจังหวัดและรวมถึงกรุงเทพมหานคร น้อยคนที่จะรู้ถึงการมีตัวตนอยู่ของการเมืองภาคพลเมืองหรือมีความเข้าใจใน นิยามเป็นอย่างอื่น (เช่นเข้าใจว่าเป็นเรื่องของการชุมนุมทางการเมืองเพียงอย่างเดียว) ทำให้การขับเคลื่อนงานใดๆก็ตามต้องเริ่มต้นจากการอธิบายความเสมอว่าการเมือง ภาคพลเมืองคืออะไร เปรียบเหมือนการนับ 1- 10 แต่ทุกครั้งเริ่มนับ1เพียงอย่างเดียวไม่เคยถึง2เสียที

สังคมการเมืองภาคพลเมือง มีความมุ่งหวังที่จะพัฒนาการเมืองในระดับชาติ หากจะให้ประสบผลสำเร็จนั้นต้องมุ่งพัฒนาวิธีการเชิงรุกในการสร้างความตื่น ตัวทางการเมืองและที่สำคัญยิ่งการปรับทัศนคติเข้าหากันของผู้อยู่ในสังคมการ เมืองภาคพลเมืองเองและพยายามขยายความรู้ความเข้าใจไปสู่สังคมการเมืองอื่น ให้มากขึ้น เปิดรับวิธีการใหม่ๆเพื่อในการรุกเข้าไปสู่สังคมอื่นๆ สังคมการเมืองภาคพลเมืองต้องแสวงหาความรู้เพื่อทำความเข้าใจการเมืองระดับ ชาติการเมืองระหว่างประเทศโดยเฉพาะในภูมิภาคใกล้เคียง รวมถึงต้องมีความเข้าใจในความสัมพันธ์เชิงอำนาจของอำนาจรัฐ อำนาจทุน และพยายามทำความเข้าใจของคนในทุกระดับ แสวงหาแนวคิด ความรู้ที่หลากหลาย การเมืองภาคพลเมืองไม่ควรติดยึดกับแนวคิดแบบชุมชนนิยมมากจนไม่สามารถก้าวออก ไปไหนได้

ขอบคุณ... hhttp://prachatai.com/journal/2014/03/52213 (ขนาดไฟล์: 167)

ประชาไทออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 11 มี.ค.57

ที่มา: ประชาไทออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 11 มี.ค.57
วันที่โพสต์: 12/03/2557 เวลา 04:11:00

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

โดย : เนติลักษณ์ นีระพล การเมืองภาคพลเมืองมีความหมายหลากหลายตามเป้าหมายที่แตกต่างกันเช่น 1.การเมืองภาคปริมณฑลสาธารณะ (Public sphere) ที่มุ่งสร้างพื้นที่เวที กลไกส่วนกลางที่ไม่ใช่รัฐสภาที่จะถกเถียงสร้างประเด็นต่างๆขยายสิทธิอำนาจต่างๆที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม 2.การเมืองภาคประชาสังคม (Civil Society) หรือการเมืองภาคพลเมือง (Citizen politics) ที่เน้นการมีส่วนร่วมที่แข็งขันของบุคคลองค์การต่าง ๆ ในสังคมที่จะถกเถียงและบรรลุข้อตกลงในประเด็นปัญหาต่าง ๆหรือผลักดันบางประเด็นให้เป็นนโยบายของรัฐ 3.การเมืองภาคประชาชน (People’s politics) หรือขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมรูปแบบใหม่ (New Social Movement) ที่มุ่งเคลื่อนไหวสร้างจิตสำนึกในประเด็นผลประโยชน์ร่วมของมนุษยชาติ ได้แก่ สภาพแวดล้อมโลก สภาพทุนโลก การคัดต้านโลกาภิวัตน์ เป็นต้น (ที่มา : ศรัณยุ หมั้นทรัพย์. “การศึกษาเพื่อสร้างพลเมือง : ฐานรากของการเมืองภาคพลเมือง,” วารสารสถาบันพระปกเกล้า. 6,2. กรุงเทพฯ : สถาบันพระปกเกล้า, 2550. หน้า 101-115.) ในประเทศไทยในปัจจุบันการให้ความหมายต่อการเมืองภาคพลเมืองเปิดกว้างที่มีความหมายรวมทั้งการเคลื่อนไหวของภาคประชาสังคม NGO ชุมชนท้องถิ่นจัดการตนเอง กลุ่มเครือข่ายภาคพลเมือง ในบางครั้งมีการให้ความหมายไปถึงการออกมาชุมนุมทางการเมืองที่มีกลุ่มการ เมืองอยู่เบื้องหลังก็ถูกเหมาว่าเป็นการเมืองภาคพลเมืองด้วย การเมืองภาคพลเมืองในความรู้ความเข้าใจของคนที่สนใจการเมืองหรือแม้แต่คนทั่วไป แทบจะเป็นแดนสนธยาที่ไม่มีคนรู้จักหรือมีความเข้าใจมากนัก มีการเคลื่อนไหวกันในวงจำกัด (อาจมีคนบอกว่าวงกว้างแต่ก็เป็นวงกว้างที่จำกัดอยู่ดี) ผู้เคลื่อนไหวทางการเมืองภาคพลเมืองประกอบด้วยบุคคลที่พอจะจำแนกอย่างคร่าวๆได้ดังนี้ 1.กลุ่มเครือข่ายสภาองค์กรชุมชน ภายใต้สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชนหรือ (พอช.) 2.กลุ่มนักวิชาการที่ทำงานเครือข่ายร่วมกับภาคพลเมือง 3.เครือข่ายจังหวัดจัดการตนเอง 4.กลุ่มเครือข่าย NGO ที่รวมตัวเคลื่อนไหวในประเด็นต่างๆ ที่โดดเด่นคือ ประเด็นเกี่ยวกับการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ หลังจากมีรัฐธรรมนูญ 50 อำนาจฝ่ายรัฐพยายามยิ่งในการหนุนเสริมพลังการเมืองภาคพลเมือง มีการจัดตั้งองค์กรที่สนับสนุนการเคลื่อนของขบวนการเมืองภาคประชาชนคือ สภาพัฒนาการเมืองและกองทุนพัฒนาการเมืองภาคพลเมือง (www.pdc.go.th) สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน รวมถึงองค์กรที่เน้นใช้กระบวนการการเมืองภาคพลเมืองในการเคลื่อนงานอัน ได้แก่เครือข่ายตระกูล ส. เช่น สสส. สปสช. อสม. สปร. รวมถึงคณะกรรมการปฏิรูปกฎหมายที่ปัจจุบันก็ให้ความสำคัญกับภาคพลเมือง การสนับสนุนดังกล่าวอาจจะต้องมีการศึกษาอย่างลึกซึ้งว่าวิธีการดังกล่าวส่ง เสริมให้การเมืองภาคประชาชนเข้มแข็งขึ้นหรืออ่อนแอลงอย่างไรจะได้กล่าวถึงในอีกวาระหนึ่งโดยละเอียด ผู้ทำงานการเมืองภาคพลเมือง นั้นมีความหลากหลาย โดยนับจากที่มาในวงการที่เขาเหล่านั้นสังกัดอยู่ มาจาก NGO ระดับท้องถิ่น ระดับชาติ นักวิชาการเครือข่าย ปราชญ์ชาวบ้าน นักการเมืองท้องถิ่นผู้พลาดหวังจากการเลือกตั้งในพื้นที่ หรือแม้กระทั้งนักการเมืองระดับชาติที่อาจมีความมุ่งหวังในการพัฒนาการเมือง โดยผ่านกระบวนการนี้หรืออาจเพียงเป็นผู้หาที่ยืนในวงการเมืองเพื่อสร้างฐาน ทางการเมืองของตน จากความหลากหลายในที่มา จึงมีความคิดแบ่งแยกอยู่ในสังคมของการเมืองภาคพลเมือง ผู้มาจากนักวิชาการหรือนักการเมืองมักจะให้ความสำคัญกับความเห็นของคนที่มา จากกลุ่มอื่นๆค่อนข้างน้อย แม้จะเปิดรับฟังความเห็นบ้างแต่ก็ไม่ได้ให้ความสำคัญอย่างจริงจัง ยึดมั่นในทฤษฎีและกฎหมายเป็นหลัก ส่วนผู้มาจาก NGO ทั้งในระดับท้องถิ่นและระดับชาติบางส่วนก็มักจะมีทัศนคติที่ต่อต้านรัฐ และยึดมั่นในความคิดของตนอย่างมั่นคงมักจะตั้งคำถามต่อกระบวนการอันยุ่งยากซับซ้อนของระบบราชการและกฎหมาย จุดอ่อนอย่างสำคัญของการเมืองภาคพลเมืองที่เห็นได้ชัดคือการยึดมั่นรักษาเขตแดน ทางสังคมการเมืองของตนอย่างเข้มแข็งและไม่พยายามในการขยายเขตแดนของตนไปสู่ สังคมการเมืองอื่นๆ การเมืองภาคพลเมืองมักเคลื่อนไหวในสังคมต่างจังหวัดอย่างเข้มแข็งต่อเนื่อง แต่ในทางกลับกันในสังคมเมืองทั้งเมืองในต่างจังหวัดและรวมถึงกรุงเทพมหานคร น้อยคนที่จะรู้ถึงการมีตัวตนอยู่ของการเมืองภาคพลเมืองหรือมีความเข้าใจใน นิยามเป็นอย่างอื่น (เช่นเข้าใจว่าเป็นเรื่องของการชุมนุมทางการเมืองเพียงอย่างเดียว) ทำให้การขับเคลื่อนงานใดๆก็ตามต้องเริ่มต้นจากการอธิบายความเสมอว่าการเมือง ภาคพลเมืองคืออะไร เปรียบเหมือนการนับ 1- 10 แต่ทุกครั้งเริ่มนับ1เพียงอย่างเดียวไม่เคยถึง2เสียที สังคมการเมืองภาคพลเมือง มีความมุ่งหวังที่จะพัฒนาการเมืองในระดับชาติ หากจะให้ประสบผลสำเร็จนั้นต้องมุ่งพัฒนาวิธีการเชิงรุกในการสร้างความตื่น ตัวทางการเมืองและที่สำคัญยิ่งการปรับทัศนคติเข้าหากันของผู้อยู่ในสังคมการ เมืองภาคพลเมืองเองและพยายามขยายความรู้ความเข้าใจไปสู่สังคมการเมืองอื่น ให้มากขึ้น เปิดรับวิธีการใหม่ๆเพื่อในการรุกเข้าไปสู่สังคมอื่นๆ สังคมการเมืองภาคพลเมืองต้องแสวงหาความรู้เพื่อทำความเข้าใจการเมืองระดับ ชาติการเมืองระหว่างประเทศโดยเฉพาะในภูมิภาคใกล้เคียง รวมถึงต้องมีความเข้าใจในความสัมพันธ์เชิงอำนาจของอำนาจรัฐ อำนาจทุน และพยายามทำความเข้าใจของคนในทุกระดับ แสวงหาแนวคิด ความรู้ที่หลากหลาย การเมืองภาคพลเมืองไม่ควรติดยึดกับแนวคิดแบบชุมชนนิยมมากจนไม่สามารถก้าวออก ไปไหนได้ ขอบคุณ... hhttp://prachatai.com/journal/2014/03/52213 ประชาไทออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 11 มี.ค.57

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...