สปสช.ฟังเสียงปรับบริการ
นพ.จรัล ตฤณวุฒิพงษ์ ประธานคณะอนุกรรมการสื่อสารและประชาสัมพันธ์ กรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ กล่าวว่า ตาม พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2545 มาตรา 18 (13) ได้กำหนดให้คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ รับฟังความคิดเห็นทั่วไปในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าเป็นประจำทุกปี โดยในปี 2557 นี้ สปสช.ได้จัดให้มีกระบวนการรับฟังความเห็นโดยขยายวงพื้นที่รับฟังความเห็น ครอบคลุมทั้ง 13 เขตทั่วประเทศ ผลสรุป ที่ได้ บอร์ด สปสช.จะนำไปปรับปรุงคุณภาพมาตรฐานบริการสาธารณสุขในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น เพื่อตอบสนองทั้งผู้ให้และผู้รับบริการที่สอดคล้องกัน ผลักดันข้อเสนอนโยบายที่สำคัญสู่การสร้างนโยบายสาธารณะด้านหลักประกันสุขภาพของประเทศต่อไป
นพ.จรัลกล่าวต่อว่า ส่วนกลุ่มเป้าหมายในการรับฟังความเห็นต่อระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า คือ 1.ผู้ให้บริการด้านสาธารณสุข ได้แก่ ผู้แทนหน่วยบริการสาธารณสุขทุกระดับ ผู้แทนองค์กรวิชาชีพต่างๆ 2.ผู้รับบริการ 3.ผู้แทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และ 4.ผู้มีส่วนได้เสีย เช่น นักวิชาการ หรือผู้ทรงคุณวุฒิที่เกี่ยวข้อง โดยเริ่มต้นรับฟังความเห็น ตั้งแต่วันที่ 5 มี.ค. พื้นที่เขต 11 จ.สุราษฎร์ธานี ต่อเนื่องจนครบ 13 เขต ก่อนเปิดรับฟังความเห็นระดับประเทศวันที่ 14 พ.ค. นี้ โดยจะเน้นประเด็นที่นำไปสู่การปรับปรุงบริการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค โดยเฉพาะการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น
ขอบคุณ... http://goo.gl/fOCMXg (ขนาดไฟล์: 0 )
ข่าวสดออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 10 มี.ค.57
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
นพ.จรัล ตฤณวุฒิพงษ์ ประธานคณะอนุกรรมการสื่อสารและประชาสัมพันธ์ กรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ กล่าวว่า ตาม พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2545 มาตรา 18 (13) ได้กำหนดให้คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ รับฟังความคิดเห็นทั่วไปในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าเป็นประจำทุกปี โดยในปี 2557 นี้ สปสช.ได้จัดให้มีกระบวนการรับฟังความเห็นโดยขยายวงพื้นที่รับฟังความเห็น ครอบคลุมทั้ง 13 เขตทั่วประเทศ ผลสรุป ที่ได้ บอร์ด สปสช.จะนำไปปรับปรุงคุณภาพมาตรฐานบริการสาธารณสุขในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น เพื่อตอบสนองทั้งผู้ให้และผู้รับบริการที่สอดคล้องกัน ผลักดันข้อเสนอนโยบายที่สำคัญสู่การสร้างนโยบายสาธารณะด้านหลักประกันสุขภาพของประเทศต่อไป นพ.จรัลกล่าวต่อว่า ส่วนกลุ่มเป้าหมายในการรับฟังความเห็นต่อระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า คือ 1.ผู้ให้บริการด้านสาธารณสุข ได้แก่ ผู้แทนหน่วยบริการสาธารณสุขทุกระดับ ผู้แทนองค์กรวิชาชีพต่างๆ 2.ผู้รับบริการ 3.ผู้แทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และ 4.ผู้มีส่วนได้เสีย เช่น นักวิชาการ หรือผู้ทรงคุณวุฒิที่เกี่ยวข้อง โดยเริ่มต้นรับฟังความเห็น ตั้งแต่วันที่ 5 มี.ค. พื้นที่เขต 11 จ.สุราษฎร์ธานี ต่อเนื่องจนครบ 13 เขต ก่อนเปิดรับฟังความเห็นระดับประเทศวันที่ 14 พ.ค. นี้ โดยจะเน้นประเด็นที่นำไปสู่การปรับปรุงบริการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค โดยเฉพาะการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น ขอบคุณ... http://goo.gl/fOCMXg ข่าวสดออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 10 มี.ค.57
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)