มองให้เป็น'ประเทศไทยขาขึ้น'

แสดงความคิดเห็น

ศาลรัฐธรรมนูญ

หลายคนมาบ่นกับผมถึงเหตุการณ์ต่างๆ ของบ้านเมือง ที่มีทั้งการประท้วง การชุมนุม และการปะทะกันระหว่างฝ่ายสนับสนุนรัฐบาลและต่อต้านรัฐบาล คนจำนวนมากต่างกังวลว่าจะลุกลามบานปลายไปสู่ความขัดแย้งที่อาจรุนแรงเหมือนตัวอย่างในยูเครน หรือหลายประเทศ ที่มีการสู้รบกันเป็นสงครามกลางเมือง แต่สำหรับผมกลับมองตรงข้ามและเห็นว่าปรากฏการณ์วันนี้เป็นช่วง “รอยต่อที่สำคัญ" สำหรับการพัฒนาสังคมและการเมืองของประเทศไทย

เพราะในหลายประเทศที่มีการพัฒนาถึงขั้นที่เรียกได้ว่า คนส่วนใหญ่เรียนรู้ถึงสิ่งผิดชอบชั่วดี เข้าใจเรื่องส่วนตัวส่วนรวม ล้วนแต่ผ่านวิกฤติการณ์ที่มีความคับขันเฉกเช่นเดียวกับสังคมเรามาก่อน ตัวอย่างที่ผมมักนึกถึง เพราะเคยเรียนรู้จากข้อมูลต่างๆ ทางวิชาการ คือ ประเทศเยอรมนี ที่ระบบตรวจสอบนักการเมืองของเขามีความเข้มงวดไม่ต่างกับของเรา เขามีระบบที่บ้านเราเรียกว่า “ศาลรัฐธรรมนูญ" ที่มีความเข้มแข็ง แต่ในขณะเดียวกัน คนเป็นนักการเมืองของเขาก็ได้รับความคุ้มครองให้รอดพ้นจากการถูกตรวจสอบที่ ไม่เป็นไปตามทำนองคลองธรรม บนพื้นฐานหลักคิดที่เขาเชื่อว่า “คนที่มาทำงานรับใช้สาธารณะหรือสังคม" จะต้องมีมาตรฐานทางจริยธรรมคุณธรรมสูงหรือเหนือกว่าชาวบ้านชาวช่องทั่วๆไป

นั่นคือเหตุผลที่เขาไม่สกัดกั้นการตรวจสอบ แต่เขาเคยผ่านกระบวนการคล้ายๆ บ้านเรามาก่อน และพบปัญหาคล้ายๆ กัน กระทั่งวันหนึ่งเขามั่นใจว่า คนของเขาอยู่ในข่ายที่สามารถวางใจได้ว่าจะไม่ประพฤติปฏิบัตินอกรีตนอกรอยใน สิ่งที่มนุษย์ปุถุชนพึงรู้และทราบได้ ไม่ต้องเอาหลักกฎบัตรกฎหมายใดๆ มาอ้างอิง มีความละอายเกรงกลัวต่อสิ่งที่ผิดต่อศีลธรรมจรรยา อย่างที่ทางพุทธศาสนาเราเรียกว่า “ความีหิริโอตัปปะ" เขาจึงมีเกราะคุ้มครองการฟ้องร้องดำเนินคดีหรือมีกระบวนการกลั่นกรองต่อการ ดำเนินการกับบุคคลสาธารณะ อย่างผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองทั้งหลาย ดังเคยเรียนให้ทราบก่อนหน้านี้ว่า ไม่จำเป็นต้องแปลกใจที่เหตุใดคนเหล่านี้ของประเทศที่เราเรียกว่ามีความเจริญ ทางความรู้สึกนึกคิดสติปัญญา จึงสามารถรู้ได้เองว่าตนได้ทำการละเมิดล่วงเกินสิ่งที่คนส่วนใหญ่รับรู้และ เข้าใจได้ว่าเป็นสิ่งไม่ถูกต้อง ไม่เสียเวลาต้องขึ้นโรงศาลหรือมีกระบวนการตรวจสอบที่ต้องมาวินิจฉัยตีความให้วุ่นวาย

ผมเองมีโอกาสได้เดินทางไปทัศนศึกษาในประเทศอย่างสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี และอีกหลายประเทศในสหภาพยุโรป ตั้งแต่สมัยเรียนหนังสืออยู่ในสหราชอาณาจักร ก่อนเดินทางไปไหนมาไหนเราต้องศึกษาเรียนรู้สังคมและวัฒนธรรมประจำถิ่นของ ประเทศดังกล่าวเพื่อการปฏิบัติตนได้อย่างไม่เคอะเขิน พบว่า หลายๆ เรื่องเป็นมาตรฐานทางสังคมที่ประเทศซึ่งอยู่ในเกณฑ์การพัฒนาที่สูงมากมักมี เหมือนๆ กัน คือ “ความมีระเบียบวินัยทั้งต่อตนเองและส่วนรวม” ไม่ว่าจะเป็นการกิน เที่ยว ทำกิจธุระเป็นเวร่ำเวลา” บทลงโทษต่อการละเมิดสิทธิผู้อื่นหรือการไม่เคารพต่อส่วนรวมจะมีบทลงโทษ รุนแรง ตัวอย่างที่เห็นได้ชัด คือ หากมีการขับรถเฉี่ยวชนรถยนต์ที่ไม่มีคนขับขี่อยู่ตามถนนหนทาง ผู้ที่ขับชนจะต้องทิ้งชื่อที่อยู่เอาไว้ให้เจ้าของรถผู้เสียหายติดตามได้ เพื่อแสดงความรับผิดชอบ คนที่ละเมิดข้อปฏิบัติหากจับได้ในภายหลังจะถูกดำเนินคดีทั้งแพ่งและอาญาขั้นสูงสุด

ผมไม่ต้องการมาให้กำลังใจพวกเราว่า สิ่งที่ผ่านมาในช่วงหลายเดือนแห่งสภาวะสับสนวุ่นวายและดูเหมือนเป็นเรื่อง แตกแยกทางสังคมอย่างรุนแรง จะเป็นสิ่งที่เป็นสัญญาณอันตรายหรือภัยคุกคามไปเสียทั้งหมด เพราะหากพิจารณาอย่างละเอียดถี่ถ้วน สิ่งที่เกิดขึ้นน่าจะเป็นนิมิตหมายให้ทุกคนได้ตระหนักทั่วกันว่า หากเราอดทนอดกลั้นและเรียนรู้ที่จะใช้กฎหมายอย่างถูกต้องเป็นธรรม และผู้ซึ่งเป็นผู้เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทั้งหมดในฐานะ “ตัวแสดงหลัก” บนความขัดแย้งที่เกิดขึ้นจะเข้าใจและยอมรับถึงสภาวะการพัฒนาส่งผ่านไปสู่ สิ่งที่ดีกว่า จะร่วมกันแสดงความรับผิดชอบและยึดหลักเมตตาธรรมคุณธรรมที่จะต้องมีการเสีย สละเพื่อส่วนรวมให้มากเข้าไว้ เราจะได้พบว่า ปรากฏการณ์ดังกล่าวในช่วงที่ผ่านมา คือ วิถีทางแห่งการพัฒนาการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตยที่ทุกประเทศในโลก เคยผ่านพบและเคยได้รับประสบการณ์คล้ายๆ กับประเทศไทยมาก่อน จึงอย่าเพิ่งร่ำลือกันไปไกลว่า เรื่องราวในวันนี้จะเป็นสิ่งที่ทำให้สังคมถึงกับแตกสลายไปต่อหน้าต่อตา

ขอบคุณ... http://www.komchadluek.net/mobile/detail/20140314/180801.html (ขนาดไฟล์: 167)

คมชัดลึกออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 14 มี.ค.57

ที่มา: คมชัดลึกออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 14 มี.ค.57
วันที่โพสต์: 14/03/2557 เวลา 02:47:21 ดูภาพสไลด์โชว์ มองให้เป็น'ประเทศไทยขาขึ้น'

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

ศาลรัฐธรรมนูญ หลายคนมาบ่นกับผมถึงเหตุการณ์ต่างๆ ของบ้านเมือง ที่มีทั้งการประท้วง การชุมนุม และการปะทะกันระหว่างฝ่ายสนับสนุนรัฐบาลและต่อต้านรัฐบาล คนจำนวนมากต่างกังวลว่าจะลุกลามบานปลายไปสู่ความขัดแย้งที่อาจรุนแรงเหมือนตัวอย่างในยูเครน หรือหลายประเทศ ที่มีการสู้รบกันเป็นสงครามกลางเมือง แต่สำหรับผมกลับมองตรงข้ามและเห็นว่าปรากฏการณ์วันนี้เป็นช่วง “รอยต่อที่สำคัญ" สำหรับการพัฒนาสังคมและการเมืองของประเทศไทย เพราะในหลายประเทศที่มีการพัฒนาถึงขั้นที่เรียกได้ว่า คนส่วนใหญ่เรียนรู้ถึงสิ่งผิดชอบชั่วดี เข้าใจเรื่องส่วนตัวส่วนรวม ล้วนแต่ผ่านวิกฤติการณ์ที่มีความคับขันเฉกเช่นเดียวกับสังคมเรามาก่อน ตัวอย่างที่ผมมักนึกถึง เพราะเคยเรียนรู้จากข้อมูลต่างๆ ทางวิชาการ คือ ประเทศเยอรมนี ที่ระบบตรวจสอบนักการเมืองของเขามีความเข้มงวดไม่ต่างกับของเรา เขามีระบบที่บ้านเราเรียกว่า “ศาลรัฐธรรมนูญ" ที่มีความเข้มแข็ง แต่ในขณะเดียวกัน คนเป็นนักการเมืองของเขาก็ได้รับความคุ้มครองให้รอดพ้นจากการถูกตรวจสอบที่ ไม่เป็นไปตามทำนองคลองธรรม บนพื้นฐานหลักคิดที่เขาเชื่อว่า “คนที่มาทำงานรับใช้สาธารณะหรือสังคม" จะต้องมีมาตรฐานทางจริยธรรมคุณธรรมสูงหรือเหนือกว่าชาวบ้านชาวช่องทั่วๆไป นั่นคือเหตุผลที่เขาไม่สกัดกั้นการตรวจสอบ แต่เขาเคยผ่านกระบวนการคล้ายๆ บ้านเรามาก่อน และพบปัญหาคล้ายๆ กัน กระทั่งวันหนึ่งเขามั่นใจว่า คนของเขาอยู่ในข่ายที่สามารถวางใจได้ว่าจะไม่ประพฤติปฏิบัตินอกรีตนอกรอยใน สิ่งที่มนุษย์ปุถุชนพึงรู้และทราบได้ ไม่ต้องเอาหลักกฎบัตรกฎหมายใดๆ มาอ้างอิง มีความละอายเกรงกลัวต่อสิ่งที่ผิดต่อศีลธรรมจรรยา อย่างที่ทางพุทธศาสนาเราเรียกว่า “ความีหิริโอตัปปะ" เขาจึงมีเกราะคุ้มครองการฟ้องร้องดำเนินคดีหรือมีกระบวนการกลั่นกรองต่อการ ดำเนินการกับบุคคลสาธารณะ อย่างผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองทั้งหลาย ดังเคยเรียนให้ทราบก่อนหน้านี้ว่า ไม่จำเป็นต้องแปลกใจที่เหตุใดคนเหล่านี้ของประเทศที่เราเรียกว่ามีความเจริญ ทางความรู้สึกนึกคิดสติปัญญา จึงสามารถรู้ได้เองว่าตนได้ทำการละเมิดล่วงเกินสิ่งที่คนส่วนใหญ่รับรู้และ เข้าใจได้ว่าเป็นสิ่งไม่ถูกต้อง ไม่เสียเวลาต้องขึ้นโรงศาลหรือมีกระบวนการตรวจสอบที่ต้องมาวินิจฉัยตีความให้วุ่นวาย ผมเองมีโอกาสได้เดินทางไปทัศนศึกษาในประเทศอย่างสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี และอีกหลายประเทศในสหภาพยุโรป ตั้งแต่สมัยเรียนหนังสืออยู่ในสหราชอาณาจักร ก่อนเดินทางไปไหนมาไหนเราต้องศึกษาเรียนรู้สังคมและวัฒนธรรมประจำถิ่นของ ประเทศดังกล่าวเพื่อการปฏิบัติตนได้อย่างไม่เคอะเขิน พบว่า หลายๆ เรื่องเป็นมาตรฐานทางสังคมที่ประเทศซึ่งอยู่ในเกณฑ์การพัฒนาที่สูงมากมักมี เหมือนๆ กัน คือ “ความมีระเบียบวินัยทั้งต่อตนเองและส่วนรวม” ไม่ว่าจะเป็นการกิน เที่ยว ทำกิจธุระเป็นเวร่ำเวลา” บทลงโทษต่อการละเมิดสิทธิผู้อื่นหรือการไม่เคารพต่อส่วนรวมจะมีบทลงโทษ รุนแรง ตัวอย่างที่เห็นได้ชัด คือ หากมีการขับรถเฉี่ยวชนรถยนต์ที่ไม่มีคนขับขี่อยู่ตามถนนหนทาง ผู้ที่ขับชนจะต้องทิ้งชื่อที่อยู่เอาไว้ให้เจ้าของรถผู้เสียหายติดตามได้ เพื่อแสดงความรับผิดชอบ คนที่ละเมิดข้อปฏิบัติหากจับได้ในภายหลังจะถูกดำเนินคดีทั้งแพ่งและอาญาขั้นสูงสุด ผมไม่ต้องการมาให้กำลังใจพวกเราว่า สิ่งที่ผ่านมาในช่วงหลายเดือนแห่งสภาวะสับสนวุ่นวายและดูเหมือนเป็นเรื่อง แตกแยกทางสังคมอย่างรุนแรง จะเป็นสิ่งที่เป็นสัญญาณอันตรายหรือภัยคุกคามไปเสียทั้งหมด เพราะหากพิจารณาอย่างละเอียดถี่ถ้วน สิ่งที่เกิดขึ้นน่าจะเป็นนิมิตหมายให้ทุกคนได้ตระหนักทั่วกันว่า หากเราอดทนอดกลั้นและเรียนรู้ที่จะใช้กฎหมายอย่างถูกต้องเป็นธรรม และผู้ซึ่งเป็นผู้เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทั้งหมดในฐานะ “ตัวแสดงหลัก” บนความขัดแย้งที่เกิดขึ้นจะเข้าใจและยอมรับถึงสภาวะการพัฒนาส่งผ่านไปสู่ สิ่งที่ดีกว่า จะร่วมกันแสดงความรับผิดชอบและยึดหลักเมตตาธรรมคุณธรรมที่จะต้องมีการเสีย สละเพื่อส่วนรวมให้มากเข้าไว้ เราจะได้พบว่า ปรากฏการณ์ดังกล่าวในช่วงที่ผ่านมา คือ วิถีทางแห่งการพัฒนาการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตยที่ทุกประเทศในโลก เคยผ่านพบและเคยได้รับประสบการณ์คล้ายๆ กับประเทศไทยมาก่อน จึงอย่าเพิ่งร่ำลือกันไปไกลว่า เรื่องราวในวันนี้จะเป็นสิ่งที่ทำให้สังคมถึงกับแตกสลายไปต่อหน้าต่อตา ขอบคุณ... http://www.komchadluek.net/mobile/detail/20140314/180801.html คมชัดลึกออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 14 มี.ค.57

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...