ความเสี่ยงด้านสุขภาวะทางเพศกับคนหูหนวก

แสดงความคิดเห็น

สร้างความเข้าใจเรื่องความเสี่ยงด้านสุขภาวะทางเพศกับคนหูหนวก เพื่อความปลอดภัยทางเพศ ในสถานการณ์สังคมปัจจุบันที่มีสิ่งเร้าต่างๆ มากมาย กอปรกับช่องทางรับ-ส่งข้อมูลข่าวสารที่มากขึ้นและเข้าถึงได้อย่างง่ายดายส่งผลให้การอบรมเลี้ยงดูวัยรุ่น เพื่อให้เกิดความนึกคิดและพฤติกรรมที่เหมาะสมกับวัยเป็นเรื่องที่ท้าทาย สำหรับพ่อแม่ผู้ปกครองเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะการให้ความรู้แก่วัยรุ่นในการหลีกเลี่ยงการมีสัมพันธภาพทางเพศและเพศสัมพันธ์โดยไม่พร้อมและไม่ปลอดภัย ความท้าทายจะเพิ่มขึ้นทวีคูณหากต้องสื่อสารเรื่องสุขภาวะทางเพศให้กับวัยรุ่นผู้ที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน เพราะความพิการทำให้พวกเขามีความแตกต่างทางทัศนคติและมุมมองจากคนทั่วไปเนื่องจากได้รับข้อมูลผ่านช่องทางที่จำกัดมากกว่า จนทำให้อาจมีการตัดสินใจในด้านสัมพันธภาพทางเพศด้วยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์โดยบริสุทธิ์ใจ หรืออาจทำให้เกิดเหตุการณ์ที่ผู้ที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน โดยเฉพาะเยาวชนวัยเรียนอาจได้รับการทำร้ายทางเพศทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจทั้งจากผู้มีความบกพร่องทางการได้ยินด้วยกันเองและจากคนทั่วไป ส่งผลให้เกิดปัญหา จนต้องลาออกจากสถาบันการศึกษาทำให้โอกาสทางสังคมต่อของคนพิการยิ่งน้อยลงกว่าเดิม

วัยรุ่นต่างประเทศสื่อสารภาษามือ

ด้วยเล็งเห็นถึงปัญหาการขาดโอกาสของเยาวชนที่หูหนวกในการเข้าถึงข้อมูลสุขภาวะทางเพศ บริษัท แกล็กโซสมิทไคล์น (ประเทศไทย) จำกัด หรือ GSK จึงร่วมกับ วิทยาลัยราชสุดา มหาวิทยาลัยมหิดล จัด โครงการ “สุขภาวะทางเพศสำหรับนักศึกษา” เพื่อให้ความรู้แก่นักศึกษาชั้นปีที่หนึ่งและตัวแทนอาจารย์จากโรงเรียนโสตศึกษา เกี่ยวกับสุขภาวะทางเพศที่เหมาะกับวัยรุ่นและการป้องกันโรคอันเกิดจากการมีเพศสัมพันธ์ โดยมุ่งหวังให้นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการมีเพศสัมพันธ์ในวัยรุ่น ตระหนักถึงปัญหาและแง่คิดหากมีเพศสัมพันธ์ และการมีเพศสัมพันธ์โดยปราศจากความรุนแรง และสามารถถ่ายทอดความรู้ดังกล่าวให้แก่ผู้ที่มีความบกพร่องทางการได้ยินต่อไป

ดร.ปรเมศวร์ บุญยืน รองคณบดีฝ่ายพัฒนาคุณภาพ ระบบเครือข่าย และกิจการนักศึกษา วิทยาลัยราชสุดา มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า โครงการนี้เป็นประโยชน์กับนักศึกษาที่มีความบกพร่องทางการได้ยินเป็นอย่างมาก เด็กเหล่านี้นับเป็นทรัพยากรบุคคลของชาติเช่นเดียวกับเด็กปกติ หากเขามีความรู้ความเข้าใจในเรื่องสุขภาวะทางเพศที่ถูกต้อง ปลอดภัยจากการรับและใช้ข้อมูลจากสื่อในรูปแบบต่างๆ ที่ไม่เหมาะสม เขาก็สามารถเติบโตเป็นอีกแรงหนึ่งที่ช่วยพัฒนาสังคมและประเทศชาติได้”

ผศ.ดร.กนกวรรณ ธราวรรณ จากสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านเพศวิถีศึกษา ได้กล่าวไว้ว่า ปัญหาสุขภาวะทางเพศของเยาวชนไทยในปัจจุบันนี้อยู่ที่ผู้ใหญ่ กล่าวคือผู้ใหญ่มักมองว่าเรื่องเพศไม่ใช่เรื่องของเด็ก จึงไม่เปิดโอกาสเรื่องเพศให้แก่เด็กเลย ไม่ว่าจะเป็นที่บ้านหรือที่สถานศึกษา สาเหตุหลักเพราะผู้ใหญ่คิดว่าเมื่อพูดถึงเรื่องเพศย่อมหมายถึงการพูดถึงเรื่องเพศสัมพันธ์ ผู้ใหญ่จึงไม่พอใจที่จะให้เด็กเข้าใกล้เรื่องเพศ ซึ่งแท้จริงแล้วเรื่องเพศมีเนื้อหาสาระมากกว่าเรื่องเพศสัมพันธ์มากมาย กล่าวได้ว่าทุกคนควรได้เรียนรู้เรื่องเพศของตนเอง ควรได้เรียนรู้ที่จะมีความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้อื่น และควรได้เรียนรู้ที่จะตัดสินใจด้วยตนเองได้ว่าจะมีเพศสัมพันธ์ที่พร้อมและปลอดภัยเมื่อใด กระบวนการความคิดเช่นนี้เป็นเรื่องที่ทุกคนต้องเรียนรู้และทำความเข้าใจ คนทั่วไปหรือคนพิการก็ควรได้เรียนรู้ เด็กอายุน้อย วัยรุ่น หรือแม้กระทั่งวัยผู้ใหญ่ก็ยังต้องเรียนรู้เกี่ยวกับเรื่องนี้ตลอดเวลา ถ้าพ่อแม่ผู้ปกครองและครูอาจารย์ไม่ให้โอกาสบุตรหลานและลูกศิษย์ได้เรียนรู้แล้วสังคมไทยจะหวังให้เด็กได้เรียนรู้จากที่ไหน

“สุขภาวะทางเพศเป็นเรื่องของทุกคน ทุกเพศ ทุกวัย สุขภาวะทางเพศเป็นสภาวะที่บุคคลสามารถเป็นเพศที่ตนต้องการได้อย่างมีความสุข มีความสัมพันธ์และเพศสัมพันธ์ในวิถีที่เป็นอิสระ ไม่ถูกใครครอบงำบังคับและไม่ไปครอบงำบังคับใคร ที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งคือต้องเป็นความสัมพันธ์และเพศสัมพันธ์ที่ปลอดภัยปราศจากโรค แต่พบว่าปัจจุบันนี้สังคมไทยอ่อนด้อยเรื่องสุขภาวะทางเพศอย่างมาก ในกลุ่มเยาวชนเองพบว่าเยาวชนมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ป้องกันกันเลย ทั้งที่รู้วิธีป้องกันและอุปกรณ์ป้องกันก็หาได้ง่ายมาก ถุงยางอนามัยมีทั้งแจกฟรีและขายทั่วไป แต่เยาวชนก็ไม่สนใจที่จะรับผิดชอบเพศสัมพันธ์ของตัวเอง จึงอยากฝากให้เยาวชนดูแลตัวเองและอนาคตของตัวเองด้วยการมีเพศสัมพันธ์อย่างปลอดภัย น้องผู้หญิงต้องไม่ยอมหากผู้ชายไม่ยอมใช้ถุงยางอนามัย

นอกจากนี้ น้องผู้หญิงควรคำนึงถึงสุขภาพเฉพาะของผู้หญิงบางอย่าง เช่น เรื่องการคุมกำเนิดที่ปัจจุบันมีหลายรูปแบบให้เลือกใช้ โดยสามารถถามได้ที่คลินิกวัยรุ่นในโรงพยาบาลอำเภอทั่วประเทศ อีกทั้ง ยังมีวัคซีนป้องกันการติดเชื้อเอชพีวีซึ่งเป็นเชื้อที่นำไปสู่การเป็นมะเร็งปากมดลูก สิ่งเหล่านี้เป็นเทคโนโลยีสำหรับผู้หญิงโดยเฉพาะ ประเทศไทยควรสนับสนุนให้ผู้หญิงทุกคนสามารถเข้าถึงเทคโนโลยีเหล่านี้เพื่อป้องกันโรค ป้องกันการตั้งครรภ์ไม่พร้อม และป้องกันการเสียชีวิตจะอยากดีมีจนอย่างไรก็เป็นสิทธิที่ผู้หญิงทุกคนพึงควรได้รับอย่างเท่าเทียมกัน”

อาจารย์สมชาย วิจิตรไพศาล ครูระดับมัธยมศึกษา โรงเรียนเศรษฐเสถียร ในพระราชูปถัมภ์ กล่าวว่า “การเรียนการสอนในโรงเรียนโสตศึกษาโดยทั่วไปเป็นการป้อนเนื้อหาให้อย่างเดียว บางทีเราก็ไม่รู้ว่านักศึกษาเข้าใจสิ่งที่เราต้องการบอกแค่ไหน แต่โครงการอบรมนี้นำผู้เชี่ยวชาญในการเข้าถึงวัยรุ่นและสามารถให้ความรู้เกี่ยวกับสุขภาวะทางเพศได้อย่างตรงประเด็นและในวันนี้มีการยกตัวอย่าง ให้นักศึกษาจำลองเหตุการณ์ ทำให้เราเข้าใจความรู้สึกนึกคิดของเขาคิดว่าเป็นวิธีการที่ดีที่จะนำไปปรับใช้ในหลักสูตรการสอนที่โรงเรียน”

นางสาวพัชชา มิเกลี้ยง นักศึกษาที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน ชั้นปีที่หนึ่ง วิทยาลัยราชสุดา มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวผ่านล่ามภาษามือว่า “เคยเรียนเรื่องโรคเอดส์สมัยมัธยม รู้สึกแปลกๆ ว่า โรคนี้คืออะไร และไม่ค่อยรู้วิธีในการป้องกันตัวเอง ได้รับคำแนะนำแต่ก็ยังไม่เข้าใจ แต่วันนี้ได้รับการอบรบเกี่ยวกับวิธีการป้องกันเป็นลำดับขั้นตอน ทำให้เข้าใจมากขึ้น และสามารถถ่ายทอดให้เพื่อน ๆ และรุ่นน้องคนอื่น ๆ รับรู้ได้ ว่าจะจัดการกับความต้องการทางเพศอย่างไร วิธีไหนถึงจะปลอดภัย เพื่อลดความเสี่ยงของการติดโรคและการตั้งครรภ์ได้”

การให้ความรู้ความเข้าใจเรื่องสุขภาวะทางเพศที่ถูกต้องแก่เด็กและเยาวชน โดยเฉพาะผู้ที่มีความบกพร่องทางการได้ยินที่ควรได้รับการดูแลพิเศษ จะเป็นภูมิคุ้มกันให้กับตัวเด็กและเยาวชน และสังคมต่อไปในอนาคต นายวิริยะ จงไพศาล กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท แกล็กโซสมิทไคล์น (ประเทศไทย) จำกัด หรือ GSK กล่าวถึงเหตุผลในการริเริ่มสนับสนุนโครงการให้ความรู้ด้านสุขภาวะทางเพศแก่เยาวชนที่หูหนวกว่า “GSK ร่วมจัดทำโครงการนี้ โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อให้นักศึกษาที่มีความบกพร่องทางการได้ยินได้รับความรู้และทักษะในการสร้างสัมพันธภาพทางเพศที่ปลอดภัย และสร้างทัศนคติที่ถูกต้องเพื่อให้เขาคิดแล้วตัดสินใจในชีวิตประจำวันอย่างเหมาะสม และหวังว่านักศึกษาเหล่านี้จะถ่ายทอดความรู้และทักษะดังกล่าวต่อไปยังเพื่อนที่มีความบกพร่องทางการได้ยินเช่นเดียวกันต่อไป เพราะ GSK ยืนหยัดในการสนับสนุนการเพิ่มโอกาสการเข้าถึงความรู้เพื่อสุขภาพที่ดีของคนในสังคมมาโดยตลอด และมุ่งมั่นที่จะดำเนินการเช่นนี้ต่อไป”

ขอบคุณ... http://www.bangkokbiznews.com/news/detail/667323 (ขนาดไฟล์: 167)

ที่มา: bangkokbiznews.comออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 30 ก.ย.58
วันที่โพสต์: 1/10/2558 เวลา 11:38:28 ดูภาพสไลด์โชว์ ความเสี่ยงด้านสุขภาวะทางเพศกับคนหูหนวก

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

สร้างความเข้าใจเรื่องความเสี่ยงด้านสุขภาวะทางเพศกับคนหูหนวก เพื่อความปลอดภัยทางเพศ ในสถานการณ์สังคมปัจจุบันที่มีสิ่งเร้าต่างๆ มากมาย กอปรกับช่องทางรับ-ส่งข้อมูลข่าวสารที่มากขึ้นและเข้าถึงได้อย่างง่ายดายส่งผลให้การอบรมเลี้ยงดูวัยรุ่น เพื่อให้เกิดความนึกคิดและพฤติกรรมที่เหมาะสมกับวัยเป็นเรื่องที่ท้าทาย สำหรับพ่อแม่ผู้ปกครองเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะการให้ความรู้แก่วัยรุ่นในการหลีกเลี่ยงการมีสัมพันธภาพทางเพศและเพศสัมพันธ์โดยไม่พร้อมและไม่ปลอดภัย ความท้าทายจะเพิ่มขึ้นทวีคูณหากต้องสื่อสารเรื่องสุขภาวะทางเพศให้กับวัยรุ่นผู้ที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน เพราะความพิการทำให้พวกเขามีความแตกต่างทางทัศนคติและมุมมองจากคนทั่วไปเนื่องจากได้รับข้อมูลผ่านช่องทางที่จำกัดมากกว่า จนทำให้อาจมีการตัดสินใจในด้านสัมพันธภาพทางเพศด้วยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์โดยบริสุทธิ์ใจ หรืออาจทำให้เกิดเหตุการณ์ที่ผู้ที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน โดยเฉพาะเยาวชนวัยเรียนอาจได้รับการทำร้ายทางเพศทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจทั้งจากผู้มีความบกพร่องทางการได้ยินด้วยกันเองและจากคนทั่วไป ส่งผลให้เกิดปัญหา จนต้องลาออกจากสถาบันการศึกษาทำให้โอกาสทางสังคมต่อของคนพิการยิ่งน้อยลงกว่าเดิม วัยรุ่นต่างประเทศสื่อสารภาษามือ ด้วยเล็งเห็นถึงปัญหาการขาดโอกาสของเยาวชนที่หูหนวกในการเข้าถึงข้อมูลสุขภาวะทางเพศ บริษัท แกล็กโซสมิทไคล์น (ประเทศไทย) จำกัด หรือ GSK จึงร่วมกับ วิทยาลัยราชสุดา มหาวิทยาลัยมหิดล จัด โครงการ “สุขภาวะทางเพศสำหรับนักศึกษา” เพื่อให้ความรู้แก่นักศึกษาชั้นปีที่หนึ่งและตัวแทนอาจารย์จากโรงเรียนโสตศึกษา เกี่ยวกับสุขภาวะทางเพศที่เหมาะกับวัยรุ่นและการป้องกันโรคอันเกิดจากการมีเพศสัมพันธ์ โดยมุ่งหวังให้นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการมีเพศสัมพันธ์ในวัยรุ่น ตระหนักถึงปัญหาและแง่คิดหากมีเพศสัมพันธ์ และการมีเพศสัมพันธ์โดยปราศจากความรุนแรง และสามารถถ่ายทอดความรู้ดังกล่าวให้แก่ผู้ที่มีความบกพร่องทางการได้ยินต่อไป ดร.ปรเมศวร์ บุญยืน รองคณบดีฝ่ายพัฒนาคุณภาพ ระบบเครือข่าย และกิจการนักศึกษา วิทยาลัยราชสุดา มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า โครงการนี้เป็นประโยชน์กับนักศึกษาที่มีความบกพร่องทางการได้ยินเป็นอย่างมาก เด็กเหล่านี้นับเป็นทรัพยากรบุคคลของชาติเช่นเดียวกับเด็กปกติ หากเขามีความรู้ความเข้าใจในเรื่องสุขภาวะทางเพศที่ถูกต้อง ปลอดภัยจากการรับและใช้ข้อมูลจากสื่อในรูปแบบต่างๆ ที่ไม่เหมาะสม เขาก็สามารถเติบโตเป็นอีกแรงหนึ่งที่ช่วยพัฒนาสังคมและประเทศชาติได้” ผศ.ดร.กนกวรรณ ธราวรรณ จากสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านเพศวิถีศึกษา ได้กล่าวไว้ว่า ปัญหาสุขภาวะทางเพศของเยาวชนไทยในปัจจุบันนี้อยู่ที่ผู้ใหญ่ กล่าวคือผู้ใหญ่มักมองว่าเรื่องเพศไม่ใช่เรื่องของเด็ก จึงไม่เปิดโอกาสเรื่องเพศให้แก่เด็กเลย ไม่ว่าจะเป็นที่บ้านหรือที่สถานศึกษา สาเหตุหลักเพราะผู้ใหญ่คิดว่าเมื่อพูดถึงเรื่องเพศย่อมหมายถึงการพูดถึงเรื่องเพศสัมพันธ์ ผู้ใหญ่จึงไม่พอใจที่จะให้เด็กเข้าใกล้เรื่องเพศ ซึ่งแท้จริงแล้วเรื่องเพศมีเนื้อหาสาระมากกว่าเรื่องเพศสัมพันธ์มากมาย กล่าวได้ว่าทุกคนควรได้เรียนรู้เรื่องเพศของตนเอง ควรได้เรียนรู้ที่จะมีความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้อื่น และควรได้เรียนรู้ที่จะตัดสินใจด้วยตนเองได้ว่าจะมีเพศสัมพันธ์ที่พร้อมและปลอดภัยเมื่อใด กระบวนการความคิดเช่นนี้เป็นเรื่องที่ทุกคนต้องเรียนรู้และทำความเข้าใจ คนทั่วไปหรือคนพิการก็ควรได้เรียนรู้ เด็กอายุน้อย วัยรุ่น หรือแม้กระทั่งวัยผู้ใหญ่ก็ยังต้องเรียนรู้เกี่ยวกับเรื่องนี้ตลอดเวลา ถ้าพ่อแม่ผู้ปกครองและครูอาจารย์ไม่ให้โอกาสบุตรหลานและลูกศิษย์ได้เรียนรู้แล้วสังคมไทยจะหวังให้เด็กได้เรียนรู้จากที่ไหน “สุขภาวะทางเพศเป็นเรื่องของทุกคน ทุกเพศ ทุกวัย สุขภาวะทางเพศเป็นสภาวะที่บุคคลสามารถเป็นเพศที่ตนต้องการได้อย่างมีความสุข มีความสัมพันธ์และเพศสัมพันธ์ในวิถีที่เป็นอิสระ ไม่ถูกใครครอบงำบังคับและไม่ไปครอบงำบังคับใคร ที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งคือต้องเป็นความสัมพันธ์และเพศสัมพันธ์ที่ปลอดภัยปราศจากโรค แต่พบว่าปัจจุบันนี้สังคมไทยอ่อนด้อยเรื่องสุขภาวะทางเพศอย่างมาก ในกลุ่มเยาวชนเองพบว่าเยาวชนมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ป้องกันกันเลย ทั้งที่รู้วิธีป้องกันและอุปกรณ์ป้องกันก็หาได้ง่ายมาก ถุงยางอนามัยมีทั้งแจกฟรีและขายทั่วไป แต่เยาวชนก็ไม่สนใจที่จะรับผิดชอบเพศสัมพันธ์ของตัวเอง จึงอยากฝากให้เยาวชนดูแลตัวเองและอนาคตของตัวเองด้วยการมีเพศสัมพันธ์อย่างปลอดภัย น้องผู้หญิงต้องไม่ยอมหากผู้ชายไม่ยอมใช้ถุงยางอนามัย นอกจากนี้ น้องผู้หญิงควรคำนึงถึงสุขภาพเฉพาะของผู้หญิงบางอย่าง เช่น เรื่องการคุมกำเนิดที่ปัจจุบันมีหลายรูปแบบให้เลือกใช้ โดยสามารถถามได้ที่คลินิกวัยรุ่นในโรงพยาบาลอำเภอทั่วประเทศ อีกทั้ง ยังมีวัคซีนป้องกันการติดเชื้อเอชพีวีซึ่งเป็นเชื้อที่นำไปสู่การเป็นมะเร็งปากมดลูก สิ่งเหล่านี้เป็นเทคโนโลยีสำหรับผู้หญิงโดยเฉพาะ ประเทศไทยควรสนับสนุนให้ผู้หญิงทุกคนสามารถเข้าถึงเทคโนโลยีเหล่านี้เพื่อป้องกันโรค ป้องกันการตั้งครรภ์ไม่พร้อม และป้องกันการเสียชีวิตจะอยากดีมีจนอย่างไรก็เป็นสิทธิที่ผู้หญิงทุกคนพึงควรได้รับอย่างเท่าเทียมกัน” อาจารย์สมชาย วิจิตรไพศาล ครูระดับมัธยมศึกษา โรงเรียนเศรษฐเสถียร ในพระราชูปถัมภ์ กล่าวว่า “การเรียนการสอนในโรงเรียนโสตศึกษาโดยทั่วไปเป็นการป้อนเนื้อหาให้อย่างเดียว บางทีเราก็ไม่รู้ว่านักศึกษาเข้าใจสิ่งที่เราต้องการบอกแค่ไหน แต่โครงการอบรมนี้นำผู้เชี่ยวชาญในการเข้าถึงวัยรุ่นและสามารถให้ความรู้เกี่ยวกับสุขภาวะทางเพศได้อย่างตรงประเด็นและในวันนี้มีการยกตัวอย่าง ให้นักศึกษาจำลองเหตุการณ์ ทำให้เราเข้าใจความรู้สึกนึกคิดของเขาคิดว่าเป็นวิธีการที่ดีที่จะนำไปปรับใช้ในหลักสูตรการสอนที่โรงเรียน” นางสาวพัชชา มิเกลี้ยง นักศึกษาที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน ชั้นปีที่หนึ่ง วิทยาลัยราชสุดา มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวผ่านล่ามภาษามือว่า “เคยเรียนเรื่องโรคเอดส์สมัยมัธยม รู้สึกแปลกๆ ว่า โรคนี้คืออะไร และไม่ค่อยรู้วิธีในการป้องกันตัวเอง ได้รับคำแนะนำแต่ก็ยังไม่เข้าใจ แต่วันนี้ได้รับการอบรบเกี่ยวกับวิธีการป้องกันเป็นลำดับขั้นตอน ทำให้เข้าใจมากขึ้น และสามารถถ่ายทอดให้เพื่อน ๆ และรุ่นน้องคนอื่น ๆ รับรู้ได้ ว่าจะจัดการกับความต้องการทางเพศอย่างไร วิธีไหนถึงจะปลอดภัย เพื่อลดความเสี่ยงของการติดโรคและการตั้งครรภ์ได้” การให้ความรู้ความเข้าใจเรื่องสุขภาวะทางเพศที่ถูกต้องแก่เด็กและเยาวชน โดยเฉพาะผู้ที่มีความบกพร่องทางการได้ยินที่ควรได้รับการดูแลพิเศษ จะเป็นภูมิคุ้มกันให้กับตัวเด็กและเยาวชน และสังคมต่อไปในอนาคต นายวิริยะ จงไพศาล กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท แกล็กโซสมิทไคล์น (ประเทศไทย) จำกัด หรือ GSK กล่าวถึงเหตุผลในการริเริ่มสนับสนุนโครงการให้ความรู้ด้านสุขภาวะทางเพศแก่เยาวชนที่หูหนวกว่า “GSK ร่วมจัดทำโครงการนี้ โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อให้นักศึกษาที่มีความบกพร่องทางการได้ยินได้รับความรู้และทักษะในการสร้างสัมพันธภาพทางเพศที่ปลอดภัย และสร้างทัศนคติที่ถูกต้องเพื่อให้เขาคิดแล้วตัดสินใจในชีวิตประจำวันอย่างเหมาะสม และหวังว่านักศึกษาเหล่านี้จะถ่ายทอดความรู้และทักษะดังกล่าวต่อไปยังเพื่อนที่มีความบกพร่องทางการได้ยินเช่นเดียวกันต่อไป เพราะ GSK ยืนหยัดในการสนับสนุนการเพิ่มโอกาสการเข้าถึงความรู้เพื่อสุขภาพที่ดีของคนในสังคมมาโดยตลอด และมุ่งมั่นที่จะดำเนินการเช่นนี้ต่อไป” ขอบคุณ... http://www.bangkokbiznews.com/news/detail/667323

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...