อาชีพสร้างคุณค่าคืนผู้ป่วยจิตเวชสู่สังคม

แสดงความคิดเห็น

คุณอุดม ผู้ป่วยจิตเวชรุ่นนำร่อง ทำหน้าที่เป็นบาริสต้า ของ ร้านกาแฟหลังคาแดง

จากอดีต ถึงปัจจุบัน ผู้ป่วยจิตเวชในสังคมไทยก็ยังไม่ได้รับการยอมรับเท่าที่ควร “ความหวาดกลัว การตีตรา” กลายเป็นกำแพงขนาดใหญ่ ที่ทำให้ผู้ป่วยจิตเวชซุกตัวเงียบ ๆ ปฏิเสธการรักษา หรือหันหน้าไปพึ่งเหล้า ยา ส่งผลให้อาการกำเริบ และกระทำการในสิ่งที่สังคมไม่ให้การยอมรับตามมา

การแก้ปัญหาวงจรอันเลวร้ายนี้ จำเป็นต้องได้รับความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ตั้งแต่ระดับบนสุดของประเทศ ไปจนถึงท้องถิ่น ในการสร้างที่ยืนทางสังคมให้กับผู้ป่วยจิตเวช ทั้งนี้ แม้จะเป็นเรื่องยาก แต่สถาบันจิตเวชศาสตร์ สมเด็จ เจ้าพระยา หรือที่รับรู้กันในนามของ “หลังคาแดง” ก็ได้มีโครงการนำร่อง ตั้ง “ร้านกาแฟหลังคาแดง” เพื่อฟื้นฟูทักษะการเข้าสังคม การสร้างอาชีพ และความภาคภูมิใจของผู้ป่วยจิตเวช โดยมี นพ.นพดล วาณิชฤดี รอง ผอ.ฝ่ายการแพทย์ ของ รพ. รับอาสาเป็นผู้จัดการร้านฯ

นพ.นพดล เล่าให้ฟังว่า การสร้างอาชีพให้กับผู้ป่วยจิตเวชนั้น ความสำคัญไม่ได้อยู่ที่การมีงานทำ แต่คือการสร้าง “ความภาคภูมิใจ” ของผู้ป่วย สร้างความรู้สึกเท่าเทียม และความสามารถไม่แตกต่างจากผู้อื่น นี่คือเป็นภูมิคุ้มกันอย่างดีที่ทำให้ผู้ป่วยไม่มีอาการกำเริบ “ถ้าเขาป่วยแล้วคนไม่ยอมรับเขาก็ต่อต้าน ไม่กินยา ก็ป่วยมากขึ้น แต่ถ้าสังคมยอมรับ เขาก็รับรู้ว่าเขามีความสามารถ มีคุณค่า มีศักดิ์ศรี ความป่วยเป็นเรื่องธรรมดาที่ใคร ๆ ก็เป็นได้ เขาก็จะไม่หนี รพ.ยอมรักษา เมื่อรับการรักษาต่อเนื่องก็ไม่มีปัญหา ก็สามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติ นี่คือความสำคัญของมัน ฉะนั้นความภาคภูมิใจนั้นจะเป็นภูมิต้านทานสำคัญที่สุดที่ทำให้ผู้ป่วยอยู่ในอาการสงบ”

ทั้งนี้ การสร้างความภาคภูมิใจด้วยกิจกรรมบำบัดผ่านการฝึกทักษะทางสังคม เป็นโปรแกรมที่มีมาตั้งแต่แรกอยู่แล้ว หลากหลายรูปแบบ เช่น ทำเกษตรกรรม ปลูกพืช ปลูกผักขาย หรือทำหัตกรรม ทอเสื่อ ทอผ้า ล้างรถ และการฝึกอาชีพอื่น ๆ แต่ปัญหาคือ เมื่อฟื้นฟูผู้ป่วยจนถึงระยะที่สามารถคืนการใช้ชีวิตในสังคม แต่กลับไม่มีที่ยืนให้คนเหล่านี้อย่างชัดเจน

“ร้านกาแฟหลังคาแดง” ก็เป็นหนึ่งในโปรแกรมฟื้นฟูผู้ป่วยจิตเวช ที่ไม่ใช่เรื่องแปลกใหม่ แต่มีจุดต่างที่เป็นนิมิตหมายที่ดี คือ เป็นโครงการที่เกิดขึ้นได้จาก 3 ภาคส่วนสำคัญ ทั้งรัฐ เอกชน (บริษัท ซีพี รีเทลลิงค์ คอฟฟี่) และภาคประชาชน ดังนั้น จึงมั่นใจได้ว่า เมื่อผู้ป่วยได้รับการฟื้นฟูจนสามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติ แล้วเมื่อออกสู่สังคมก็มีที่ให้ยืนได้อย่างภาคภูมิใจ คุณหมอผู้จัดการร้านฯ ยังได้ตั้ง ความหวังว่าร้านกาแฟหลังคาแดงจะเป็นจุดเริ่มต้นในการจุดประกายให้หน่วยงานทางสังคมอื่น ๆ เกิดการยอมรับศักยภาพของผู้ป่วยจิตเวชได้ในวงกว้าง เพราะความภาคภูมิใจของผู้ป่วยจะเกิดขึ้นได้จากการยอมรับของสังคม หากสังคมยังไม่ยอมรับ ต่อให้มี รพ.จิตเวชเป็นร้อย ๆ แห่งก็ไม่สามารถที่จะดูแลผู้ป่วยได้ทั้งหมด

อีกด้านหนึ่งคือ “คุณอุดม” ผู้ป่วยจิตเวชรุ่นนำร่อง ที่ทำหน้าที่เป็นบาริสต้ามือทองที่ทั้งหมอ พยาบาล ต่างมาฝากท้องเป็นขาประจำ ได้เล่าให้ฟังถึงประสบการณ์ในการเข้ารับการฟื้นฟูว่า ตัวเขาเอง มีปัญหาด้านการรับรู้ และตีความหมายแตกต่างจากคนปกติทั่วไป หลาย ๆ ครั้งที่มักคิดว่าจะมีคนพยายามเข้ามาทำร้ายอยู่ตลอด แต่หลังเข้ารับการรักษาที่สถาบันฯ จนอาการดีขึ้น สามารถมาใช้ชีวิตได้ค่อนข้างปกติ โดยในทุก ๆ วันต้องตื่นตั้งแต่ตีห้า เพื่อมาเปิดร้านกาแฟเอง บางครั้งก็ทำได้โดยไม่ต้องมีพี่เลี้ยง แถมปัจจุบันยังสามารถชงกาแฟได้ทุกเมนู โดยเฉพาะเมนูปั่น คุณอุดมการันตีว่าเด็ด

คุณอุดมบอกว่า อนาคตก็ฝันอยากจะมีร้านกาแฟเป็นของตัวเอง แต่ติดที่ว่างบลงทุนค่อนข้างสูง โดยเฉพาะเครื่องทำกาแฟราคาหลักแสน แต่เมื่อพี่เลี้ยงระบุว่า หากคุณอุดมรับการฟื้นฟูได้ระดับหนึ่ง จะเปลี่ยนจากการใช้เครื่องชงกาแฟราคาแพง มาเป็นแบบ “ทำมือ” ซึ่งค่าเครื่องถูกกว่านี้มากก็ทำให้เจ้าตัวดูมีสีหน้ามีความหวังมากขึ้น “กาแฟหลังคาแดง” เป็นมากกว่าร้านขายเครื่องดื่มตามสมัยนิยม แต่คือจุดเริ่มต้นการฟูมฟักผู้ป่วยจิตเวชให้ใช้ชีวิตในสังคมได้อย่างมีศักดิ์ศรี ขอเพียงโอกาส และที่ยืน. อภิวรรณ เสาเวียง“

ขอบคุณ http://www.dailynews.co.th/article/353474 (ขนาดไฟล์: 167)

ที่มา: เดลินิวส์ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 11 ต.ค.58
วันที่โพสต์: 13/10/2558 เวลา 15:01:49 ดูภาพสไลด์โชว์ อาชีพสร้างคุณค่าคืนผู้ป่วยจิตเวชสู่สังคม

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

คุณอุดม ผู้ป่วยจิตเวชรุ่นนำร่อง ทำหน้าที่เป็นบาริสต้า ของ ร้านกาแฟหลังคาแดง จากอดีต ถึงปัจจุบัน ผู้ป่วยจิตเวชในสังคมไทยก็ยังไม่ได้รับการยอมรับเท่าที่ควร “ความหวาดกลัว การตีตรา” กลายเป็นกำแพงขนาดใหญ่ ที่ทำให้ผู้ป่วยจิตเวชซุกตัวเงียบ ๆ ปฏิเสธการรักษา หรือหันหน้าไปพึ่งเหล้า ยา ส่งผลให้อาการกำเริบ และกระทำการในสิ่งที่สังคมไม่ให้การยอมรับตามมา การแก้ปัญหาวงจรอันเลวร้ายนี้ จำเป็นต้องได้รับความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ตั้งแต่ระดับบนสุดของประเทศ ไปจนถึงท้องถิ่น ในการสร้างที่ยืนทางสังคมให้กับผู้ป่วยจิตเวช ทั้งนี้ แม้จะเป็นเรื่องยาก แต่สถาบันจิตเวชศาสตร์ สมเด็จ เจ้าพระยา หรือที่รับรู้กันในนามของ “หลังคาแดง” ก็ได้มีโครงการนำร่อง ตั้ง “ร้านกาแฟหลังคาแดง” เพื่อฟื้นฟูทักษะการเข้าสังคม การสร้างอาชีพ และความภาคภูมิใจของผู้ป่วยจิตเวช โดยมี นพ.นพดล วาณิชฤดี รอง ผอ.ฝ่ายการแพทย์ ของ รพ. รับอาสาเป็นผู้จัดการร้านฯ นพ.นพดล เล่าให้ฟังว่า การสร้างอาชีพให้กับผู้ป่วยจิตเวชนั้น ความสำคัญไม่ได้อยู่ที่การมีงานทำ แต่คือการสร้าง “ความภาคภูมิใจ” ของผู้ป่วย สร้างความรู้สึกเท่าเทียม และความสามารถไม่แตกต่างจากผู้อื่น นี่คือเป็นภูมิคุ้มกันอย่างดีที่ทำให้ผู้ป่วยไม่มีอาการกำเริบ “ถ้าเขาป่วยแล้วคนไม่ยอมรับเขาก็ต่อต้าน ไม่กินยา ก็ป่วยมากขึ้น แต่ถ้าสังคมยอมรับ เขาก็รับรู้ว่าเขามีความสามารถ มีคุณค่า มีศักดิ์ศรี ความป่วยเป็นเรื่องธรรมดาที่ใคร ๆ ก็เป็นได้ เขาก็จะไม่หนี รพ.ยอมรักษา เมื่อรับการรักษาต่อเนื่องก็ไม่มีปัญหา ก็สามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติ นี่คือความสำคัญของมัน ฉะนั้นความภาคภูมิใจนั้นจะเป็นภูมิต้านทานสำคัญที่สุดที่ทำให้ผู้ป่วยอยู่ในอาการสงบ” ทั้งนี้ การสร้างความภาคภูมิใจด้วยกิจกรรมบำบัดผ่านการฝึกทักษะทางสังคม เป็นโปรแกรมที่มีมาตั้งแต่แรกอยู่แล้ว หลากหลายรูปแบบ เช่น ทำเกษตรกรรม ปลูกพืช ปลูกผักขาย หรือทำหัตกรรม ทอเสื่อ ทอผ้า ล้างรถ และการฝึกอาชีพอื่น ๆ แต่ปัญหาคือ เมื่อฟื้นฟูผู้ป่วยจนถึงระยะที่สามารถคืนการใช้ชีวิตในสังคม แต่กลับไม่มีที่ยืนให้คนเหล่านี้อย่างชัดเจน “ร้านกาแฟหลังคาแดง” ก็เป็นหนึ่งในโปรแกรมฟื้นฟูผู้ป่วยจิตเวช ที่ไม่ใช่เรื่องแปลกใหม่ แต่มีจุดต่างที่เป็นนิมิตหมายที่ดี คือ เป็นโครงการที่เกิดขึ้นได้จาก 3 ภาคส่วนสำคัญ ทั้งรัฐ เอกชน (บริษัท ซีพี รีเทลลิงค์ คอฟฟี่) และภาคประชาชน ดังนั้น จึงมั่นใจได้ว่า เมื่อผู้ป่วยได้รับการฟื้นฟูจนสามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติ แล้วเมื่อออกสู่สังคมก็มีที่ให้ยืนได้อย่างภาคภูมิใจ คุณหมอผู้จัดการร้านฯ ยังได้ตั้ง ความหวังว่าร้านกาแฟหลังคาแดงจะเป็นจุดเริ่มต้นในการจุดประกายให้หน่วยงานทางสังคมอื่น ๆ เกิดการยอมรับศักยภาพของผู้ป่วยจิตเวชได้ในวงกว้าง เพราะความภาคภูมิใจของผู้ป่วยจะเกิดขึ้นได้จากการยอมรับของสังคม หากสังคมยังไม่ยอมรับ ต่อให้มี รพ.จิตเวชเป็นร้อย ๆ แห่งก็ไม่สามารถที่จะดูแลผู้ป่วยได้ทั้งหมด อีกด้านหนึ่งคือ “คุณอุดม” ผู้ป่วยจิตเวชรุ่นนำร่อง ที่ทำหน้าที่เป็นบาริสต้ามือทองที่ทั้งหมอ พยาบาล ต่างมาฝากท้องเป็นขาประจำ ได้เล่าให้ฟังถึงประสบการณ์ในการเข้ารับการฟื้นฟูว่า ตัวเขาเอง มีปัญหาด้านการรับรู้ และตีความหมายแตกต่างจากคนปกติทั่วไป หลาย ๆ ครั้งที่มักคิดว่าจะมีคนพยายามเข้ามาทำร้ายอยู่ตลอด แต่หลังเข้ารับการรักษาที่สถาบันฯ จนอาการดีขึ้น สามารถมาใช้ชีวิตได้ค่อนข้างปกติ โดยในทุก ๆ วันต้องตื่นตั้งแต่ตีห้า เพื่อมาเปิดร้านกาแฟเอง บางครั้งก็ทำได้โดยไม่ต้องมีพี่เลี้ยง แถมปัจจุบันยังสามารถชงกาแฟได้ทุกเมนู โดยเฉพาะเมนูปั่น คุณอุดมการันตีว่าเด็ด คุณอุดมบอกว่า อนาคตก็ฝันอยากจะมีร้านกาแฟเป็นของตัวเอง แต่ติดที่ว่างบลงทุนค่อนข้างสูง โดยเฉพาะเครื่องทำกาแฟราคาหลักแสน แต่เมื่อพี่เลี้ยงระบุว่า หากคุณอุดมรับการฟื้นฟูได้ระดับหนึ่ง จะเปลี่ยนจากการใช้เครื่องชงกาแฟราคาแพง มาเป็นแบบ “ทำมือ” ซึ่งค่าเครื่องถูกกว่านี้มากก็ทำให้เจ้าตัวดูมีสีหน้ามีความหวังมากขึ้น “กาแฟหลังคาแดง” เป็นมากกว่าร้านขายเครื่องดื่มตามสมัยนิยม แต่คือจุดเริ่มต้นการฟูมฟักผู้ป่วยจิตเวชให้ใช้ชีวิตในสังคมได้อย่างมีศักดิ์ศรี ขอเพียงโอกาส และที่ยืน. อภิวรรณ เสาเวียง“ ขอบคุณ… http://www.dailynews.co.th/article/353474

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...