คุณภาพชีวิตคนพิการไทยต้องดีกว่าเดิม
คณะกรรมาธิการสังคม กิจการ เด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ คนพิการและผู้ด้อยโอกาส สภานิติบัญญัติแห่งชาติ ได้มอบหมายให้คณะอนุกรรมาธิการกิจการ ด้านคนพิการ ภายใต้การนำของนายมณเฑียร บุญตัน พิจารณาศึกษาประเด็นการส่งเสริมและ พัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ คณะอนุกรรมาธิการ ได้รวบรวมและจัดทำข้อเสนอแนะ"ต่อการดำเนินงานด้านส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ" เพื่อเสนอต่อกรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ และ คณะกรรมการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ อันจะเป็นการแก้ไขปัญหาที่เป็นอุปสรรคในการส่งเสริมคุณภาพชีวิตคนพิการเพื่อให้"คนพิการมีที่ยืนอย่างมีศักดิ์ศรีในสังคม"ดังนี้
๑.สิ่งอำนวยความสะดวก
๑.๑ ควรสนับสนุนให้ออกกฎหมายว่า ด้วยการเข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้จาก สภาพแวดล้อมอันเป็นสาธารณะ(AccessibilityAct)
๑.๒ควรบังคับใช้กฎหมาย เพื่อสร้างสภาพแวดล้อมรวมทั้งพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศ และเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกให้คนพิการทุกประเภทสามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากการเดินทาง สื่อสาร และข้อมูลข่าวสาร เป็นต้น อย่างมีประสิทธิภาพและทันสมัย
๑.๓ควรประสานกระทรวงศึกษาธิการให้เร่งผลิตและพัฒนาล่ามภาษามือให้มีมาตรฐานและสามารถบริการคนหูหนวกและคนหูตึงได้อย่างมีประสิทธิภาพและเหมาะสม ทั้งการแปลสลับไป-มาระหว่างภาษามือไทย ภาษามืออเมริกัน ภาษามือของประเทศในอาเซียน กับภาษาไทย ภาษาอเมริกัน และภาษาของประเทศในอาเซียน เป็นต้น
๑.๔ควรส่งเสริมการสื่อสารของคนหูหนวกโดยสนับสนุนการใช้บริการของศูนย์บริการถ่ายทอดการสื่อสารแห่งประเทศไทย (Thai Telecommunication Relay Service : TTRS)
๑.๕ควรกำหนดให้ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง บริการสิ่งอำนวยความสะดวก ในการเดินทางของคนพิการโดยยานพาหนะ ทุกประเภท
๑.๖ควรส่งเสริมและสนับสนุนการจัดตั้งสถาบันเทคโนโลยีเพื่อคนพิการและผู้สูงอายุ(องค์การมหาชน) สังกัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อเป็นองค์กร แห่งชาติในการกำหนดแนวทางการวิจัยพัฒนา ด้านเทคโนโลยีกระแสหลักโดยใช้หลักการออกแบบที่เป็นสากลและเป็นธรรมรวมไปถึงเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกตามอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิคนพิการ" (Convention on the Rights of Persons with Disabilities : CRPD) และพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ มาตรา ๒๐ เพื่อให้คนพิการเข้าถึงสภาพแวดล้อมด้านต่างๆ ในสังคมได้อย่างอิสระและพึ่งตนเองได้
๒.กองทุนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ
๒.๑ ควรสนับสนุนการจัดตั้งกองทุนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการเป็นนิติบุคคล เพื่อให้การดำเนินงานของกองทุนสามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและคล่องตัวมากขึ้น
๒.๒ ควรส่งเสริม"มูลนิธิสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการประเทศไทย (สวทพ.) หรือThailand Research Institute for Empowerment of Persons with Disabilities Foundation (TRIP)ให้สนับสนุนการศึกษาวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการในทุกมิติ
๓.การจัดตั้งศูนย์บริการคนพิการ
๓.๑ ควรเร่งสนับสนุนการจัดตั้งศูนย์บริการคนพิการทั่วไปขององค์กรด้านคนพิการ และศูนย์บริการคนพิการระดับจังหวัด โดยให้บริการอย่างหลากหลาย รวมถึงด้านฝึกอบรม การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ และเทคโนโลยี สิ่งอำนวยความสะดวก เป็นต้นรวมถึงเร่งดำเนินการจัดทำหลักเกณฑ์การสนับสนุน งบประมาณสำหรับศูนย์บริการคนพิการให้เหมาะสมและสอดคล้องกับประเภทศูนย์บริการคนพิการ เพื่อให้การจัดตั้งศูนย์บริการคนพิการสามารถดำเนินการได้ตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย
๓.๒ ควรประสานกระทรวงสาธารณสุข ให้จัดตั้งกลุ่มงานจิตเวชในทุกโรงพยาบาล พร้อมทั้ง สนับสนุนให้อาสาสมัครหมู่บ้าน (อสม.) หรือผู้ช่วยคนพิการ ช่วยเหลือดูแลคนพิการที่มีอาการทางจิตให้รับประทานยาสม่ำเสมอเพื่อช่วยให้คนพิการทางจิตมีอาการที่ดีขึ้น
๓.๓ ควรจัดสอนภาษาอังกฤษให้ คนพิการเพื่อใช้ติดต่อสื่อสาร ก้าวเข้าสู่การเป็นประชาคมอาเซียน และเป็นเครื่องมือประกอบอาชีพเป็นต้น
๓.๔ ควรสนับสนุนงบประมาณจัดจ้างเจ้าหน้าที่ประจำองค์กรด้านคนพิการเพื่อช่วยเหลืองานด้านเอกสารต่างๆ ขององค์กร
๓.๕ ควรส่งเสริมให้สภาคนพิการ ทุกประเภทในระดับจังหวัดเป็นแกนหลัก ในการสร้างความเข้มแข็งให้องค์กรของ คนพิการในท้องถิ่น
๔.องค์กรขับเคลื่อนและประสานงานเชิงนโยบายภาครัฐระดับชาติ
๔.๑ ควรสนับสนุนให้กรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการเป็นองค์กร ขับเคลื่อนและประสานงานเชิงนโยบายภาครัฐ ระดับชาติอย่างแท้จริง ตามเจตนารมณ์ของ "อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิคนพิการ" (Convention on the Rights of PersonswithDisabilities:CRPD)ข้อบทที่๓๓
๔.๒ ควรเร่งรัดดำเนินการเกี่ยวกับการเตรียมการให้ประเทศไทยเข้าเป็นภาคีในพิธีสารเลือกรับของอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิคนพิการ (Convention on the Rights of Persons with Disabilities : CRPD)
๔.๓ ควรเร่งดำเนินการจัดทำร่างแผนพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการคนพิการแห่งชาติ ฉบับที่ ๕ โดยคำนึงถึงหลักการตามอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิคนพิการและการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง
๔.๔ ควรประสานกระทรวงแรงงานให้จัดฝึกอาชีพอิสระให้คนพิการควบคู่กับการพัฒนาฝีมือแรงงาน พร้อมทั้งฝึกคนพิการให้เป็นผู้ประกอบการธุรกิจเพื่อสังคม (Social Enterprise) และจัดหาตลาดรองรับผลิตภัณฑ์
๔.๕ ควรประสานกระทรวงศึกษาธิการส่งเสริมให้คนพิการได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพทุกระดับ รวมทั้งสร้างแรงจูงใจให้ครูการศึกษาพิเศษโดยรับค่าตอบแทนพิเศษที่เหมาะสมและสอดคล้องกับการทำงาน
๔.๖ ควรดำเนินการสร้างหลักประกัน ว่าการจัดการภัยพิบัติหรือภาวะฉุกเฉินใดๆ ต้องครอบคลุมการคุ้มครองและส่งเสริมสิทธิ คนพิการตามหลักการในกรอบการลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติเซนไดขององค์การสหประชาชาติที่ประเทศไทยเป็นรัฐภาคี
๔.๗ควรส่งเสริมการปฏิรูปการให้บริการคนพิการโดยสถานสงเคราะห์
๕.คณะอนุกรรมการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อคนพิการ
-ควรยกระดับคณะอนุกรรมการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อคนพิการเป็น คณะกรรมการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อ คนพิการพร้อมทั้งย้ายไปสังกัดกระทรวงยุติธรรม เพื่อเข้าสู่การเป็นกลไกผลักดัน สังคมฐานสิทธิอย่างเสมอภาคและเท่าเทียม
๖.ประเด็นปัญหาคนพิการไม่มีสถานะทางการทะเบียนราษฎร
๖.๑ ควรปรับปรุงแก้ไขระเบียบ คณะกรรมการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ ว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการยื่นคำขอมีบัตรประจำตัว คนพิการ การออกบัตรและการกำหนดเจ้าหน้าที่ ผู้มีอำนาจออกบัตรประจำตัวคนพิการ การกำหนดสิทธิหรือการเปลี่ยนแปลงสิทธิและ การขอสละสิทธิของคนพิการ และอายุบัตร ประจำตัวคนพิการ พ.ศ.๒๕๕๖ ซึ่งออกตาม ความ ในมาตรา ๑๙ แห่งพระราชบัญญัติ ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. ๒๕๕๐ ให้สอดคล้องกับบุคคลที่มีสถานะทางทะเบียนทุกกลุ่ม ซึ่งในระเบียบสามารถกำหนดลำดับชั้นของสิทธิประโยชน์ของบุคคลที่มีสถานะแตกต่างกันได้
๖.๒ ควรเร่งรัดการดำเนินการออกระเบียบตามมาตรา ๑๙/๑ แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิต คนพิการ (ฉบับที่๒) พ.ศ. ๒๕๕๖ เพื่อเป็น การให้ความช่วยเหลือคนพิการซึ่งไม่มีสถานะทางทะเบียน ตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎรให้ได้รับความช่วยเหลือที่เหมาะสมจากรัฐตามหลักศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์
ร่วมแสดงความคิดเห็นได้ที่ คณะกรรมาธิการสังคม กิจการเด็ก เยาวชน สตรีผู้สูงอายุ คนพิการและ ผู้ด้อยโอกาส สภานิติบัญญัติแห่งชาติ โทร.๐๒-๘๓๑-๙๒๒๕-๖โทรสาร๐๒-๘๓๑-๙๒๒๖ สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา ถนนอู่ทองใน ดุสิต กทม. 10300 email : dek_senate@hotmail.co.th หรือ Facebook : กมธ.พัฒนาสังคมหรือ กลุ่มงานคณะกรรมาธิการการพัฒนาสังคมและกิจการเด็กฯ วุฒิสภา โทร.02-831-9225-6 แฟกซ์02-831-9226
ขอบคุณ... http://www.ryt9.com/s/nnd/2281367
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
โลโก้คนพิการทุกประเภท คณะกรรมาธิการสังคม กิจการ เด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ คนพิการและผู้ด้อยโอกาส สภานิติบัญญัติแห่งชาติ ได้มอบหมายให้คณะอนุกรรมาธิการกิจการ ด้านคนพิการ ภายใต้การนำของนายมณเฑียร บุญตัน พิจารณาศึกษาประเด็นการส่งเสริมและ พัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ คณะอนุกรรมาธิการ ได้รวบรวมและจัดทำข้อเสนอแนะ"ต่อการดำเนินงานด้านส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ" เพื่อเสนอต่อกรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ และ คณะกรรมการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ อันจะเป็นการแก้ไขปัญหาที่เป็นอุปสรรคในการส่งเสริมคุณภาพชีวิตคนพิการเพื่อให้"คนพิการมีที่ยืนอย่างมีศักดิ์ศรีในสังคม"ดังนี้ ๑.สิ่งอำนวยความสะดวก ๑.๑ ควรสนับสนุนให้ออกกฎหมายว่า ด้วยการเข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้จาก สภาพแวดล้อมอันเป็นสาธารณะ(AccessibilityAct) ๑.๒ควรบังคับใช้กฎหมาย เพื่อสร้างสภาพแวดล้อมรวมทั้งพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศ และเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกให้คนพิการทุกประเภทสามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากการเดินทาง สื่อสาร และข้อมูลข่าวสาร เป็นต้น อย่างมีประสิทธิภาพและทันสมัย ๑.๓ควรประสานกระทรวงศึกษาธิการให้เร่งผลิตและพัฒนาล่ามภาษามือให้มีมาตรฐานและสามารถบริการคนหูหนวกและคนหูตึงได้อย่างมีประสิทธิภาพและเหมาะสม ทั้งการแปลสลับไป-มาระหว่างภาษามือไทย ภาษามืออเมริกัน ภาษามือของประเทศในอาเซียน กับภาษาไทย ภาษาอเมริกัน และภาษาของประเทศในอาเซียน เป็นต้น ๑.๔ควรส่งเสริมการสื่อสารของคนหูหนวกโดยสนับสนุนการใช้บริการของศูนย์บริการถ่ายทอดการสื่อสารแห่งประเทศไทย (Thai Telecommunication Relay Service : TTRS) ๑.๕ควรกำหนดให้ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง บริการสิ่งอำนวยความสะดวก ในการเดินทางของคนพิการโดยยานพาหนะ ทุกประเภท ๑.๖ควรส่งเสริมและสนับสนุนการจัดตั้งสถาบันเทคโนโลยีเพื่อคนพิการและผู้สูงอายุ(องค์การมหาชน) สังกัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อเป็นองค์กร แห่งชาติในการกำหนดแนวทางการวิจัยพัฒนา ด้านเทคโนโลยีกระแสหลักโดยใช้หลักการออกแบบที่เป็นสากลและเป็นธรรมรวมไปถึงเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกตามอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิคนพิการ" (Convention on the Rights of Persons with Disabilities : CRPD) และพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ มาตรา ๒๐ เพื่อให้คนพิการเข้าถึงสภาพแวดล้อมด้านต่างๆ ในสังคมได้อย่างอิสระและพึ่งตนเองได้ ๒.กองทุนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ ๒.๑ ควรสนับสนุนการจัดตั้งกองทุนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการเป็นนิติบุคคล เพื่อให้การดำเนินงานของกองทุนสามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและคล่องตัวมากขึ้น ๒.๒ ควรส่งเสริม"มูลนิธิสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการประเทศไทย (สวทพ.) หรือThailand Research Institute for Empowerment of Persons with Disabilities Foundation (TRIP)ให้สนับสนุนการศึกษาวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการในทุกมิติ ๓.การจัดตั้งศูนย์บริการคนพิการ ๓.๑ ควรเร่งสนับสนุนการจัดตั้งศูนย์บริการคนพิการทั่วไปขององค์กรด้านคนพิการ และศูนย์บริการคนพิการระดับจังหวัด โดยให้บริการอย่างหลากหลาย รวมถึงด้านฝึกอบรม การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ และเทคโนโลยี สิ่งอำนวยความสะดวก เป็นต้นรวมถึงเร่งดำเนินการจัดทำหลักเกณฑ์การสนับสนุน งบประมาณสำหรับศูนย์บริการคนพิการให้เหมาะสมและสอดคล้องกับประเภทศูนย์บริการคนพิการ เพื่อให้การจัดตั้งศูนย์บริการคนพิการสามารถดำเนินการได้ตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย ๓.๒ ควรประสานกระทรวงสาธารณสุข ให้จัดตั้งกลุ่มงานจิตเวชในทุกโรงพยาบาล พร้อมทั้ง สนับสนุนให้อาสาสมัครหมู่บ้าน (อสม.) หรือผู้ช่วยคนพิการ ช่วยเหลือดูแลคนพิการที่มีอาการทางจิตให้รับประทานยาสม่ำเสมอเพื่อช่วยให้คนพิการทางจิตมีอาการที่ดีขึ้น ๓.๓ ควรจัดสอนภาษาอังกฤษให้ คนพิการเพื่อใช้ติดต่อสื่อสาร ก้าวเข้าสู่การเป็นประชาคมอาเซียน และเป็นเครื่องมือประกอบอาชีพเป็นต้น ๓.๔ ควรสนับสนุนงบประมาณจัดจ้างเจ้าหน้าที่ประจำองค์กรด้านคนพิการเพื่อช่วยเหลืองานด้านเอกสารต่างๆ ขององค์กร ๓.๕ ควรส่งเสริมให้สภาคนพิการ ทุกประเภทในระดับจังหวัดเป็นแกนหลัก ในการสร้างความเข้มแข็งให้องค์กรของ คนพิการในท้องถิ่น ๔.องค์กรขับเคลื่อนและประสานงานเชิงนโยบายภาครัฐระดับชาติ ๔.๑ ควรสนับสนุนให้กรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการเป็นองค์กร ขับเคลื่อนและประสานงานเชิงนโยบายภาครัฐ ระดับชาติอย่างแท้จริง ตามเจตนารมณ์ของ "อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิคนพิการ" (Convention on the Rights of PersonswithDisabilities:CRPD)ข้อบทที่๓๓ ๔.๒ ควรเร่งรัดดำเนินการเกี่ยวกับการเตรียมการให้ประเทศไทยเข้าเป็นภาคีในพิธีสารเลือกรับของอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิคนพิการ (Convention on the Rights of Persons with Disabilities : CRPD) ๔.๓ ควรเร่งดำเนินการจัดทำร่างแผนพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการคนพิการแห่งชาติ ฉบับที่ ๕ โดยคำนึงถึงหลักการตามอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิคนพิการและการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ๔.๔ ควรประสานกระทรวงแรงงานให้จัดฝึกอาชีพอิสระให้คนพิการควบคู่กับการพัฒนาฝีมือแรงงาน พร้อมทั้งฝึกคนพิการให้เป็นผู้ประกอบการธุรกิจเพื่อสังคม (Social Enterprise) และจัดหาตลาดรองรับผลิตภัณฑ์ ๔.๕ ควรประสานกระทรวงศึกษาธิการส่งเสริมให้คนพิการได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพทุกระดับ รวมทั้งสร้างแรงจูงใจให้ครูการศึกษาพิเศษโดยรับค่าตอบแทนพิเศษที่เหมาะสมและสอดคล้องกับการทำงาน ๔.๖ ควรดำเนินการสร้างหลักประกัน ว่าการจัดการภัยพิบัติหรือภาวะฉุกเฉินใดๆ ต้องครอบคลุมการคุ้มครองและส่งเสริมสิทธิ คนพิการตามหลักการในกรอบการลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติเซนไดขององค์การสหประชาชาติที่ประเทศไทยเป็นรัฐภาคี ๔.๗ควรส่งเสริมการปฏิรูปการให้บริการคนพิการโดยสถานสงเคราะห์ ๕.คณะอนุกรรมการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อคนพิการ -ควรยกระดับคณะอนุกรรมการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อคนพิการเป็น คณะกรรมการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อ คนพิการพร้อมทั้งย้ายไปสังกัดกระทรวงยุติธรรม เพื่อเข้าสู่การเป็นกลไกผลักดัน สังคมฐานสิทธิอย่างเสมอภาคและเท่าเทียม ๖.ประเด็นปัญหาคนพิการไม่มีสถานะทางการทะเบียนราษฎร ๖.๑ ควรปรับปรุงแก้ไขระเบียบ คณะกรรมการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ ว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการยื่นคำขอมีบัตรประจำตัว คนพิการ การออกบัตรและการกำหนดเจ้าหน้าที่ ผู้มีอำนาจออกบัตรประจำตัวคนพิการ การกำหนดสิทธิหรือการเปลี่ยนแปลงสิทธิและ การขอสละสิทธิของคนพิการ และอายุบัตร ประจำตัวคนพิการ พ.ศ.๒๕๕๖ ซึ่งออกตาม ความ ในมาตรา ๑๙ แห่งพระราชบัญญัติ ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. ๒๕๕๐ ให้สอดคล้องกับบุคคลที่มีสถานะทางทะเบียนทุกกลุ่ม ซึ่งในระเบียบสามารถกำหนดลำดับชั้นของสิทธิประโยชน์ของบุคคลที่มีสถานะแตกต่างกันได้ ๖.๒ ควรเร่งรัดการดำเนินการออกระเบียบตามมาตรา ๑๙/๑ แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิต คนพิการ (ฉบับที่๒) พ.ศ. ๒๕๕๖ เพื่อเป็น การให้ความช่วยเหลือคนพิการซึ่งไม่มีสถานะทางทะเบียน ตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎรให้ได้รับความช่วยเหลือที่เหมาะสมจากรัฐตามหลักศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ร่วมแสดงความคิดเห็นได้ที่ คณะกรรมาธิการสังคม กิจการเด็ก เยาวชน สตรีผู้สูงอายุ คนพิการและ ผู้ด้อยโอกาส สภานิติบัญญัติแห่งชาติ โทร.๐๒-๘๓๑-๙๒๒๕-๖โทรสาร๐๒-๘๓๑-๙๒๒๖ สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา ถนนอู่ทองใน ดุสิต กทม. 10300 email : dek_senate@hotmail.co.th หรือ Facebook : กมธ.พัฒนาสังคมหรือ กลุ่มงานคณะกรรมาธิการการพัฒนาสังคมและกิจการเด็กฯ วุฒิสภา โทร.02-831-9225-6 แฟกซ์02-831-9226 ขอบคุณ... http://www.ryt9.com/s/nnd/2281367
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)