ปฏิรูปการเมืองท้องถิ่น
แม้อีกนานกว่าจะเห็นแสงสว่างที่ปลายอุโมงค์ ปฏิรูปการเมืองระดับชาติจะเกิดขึ้นจริง เพราะเวลาผ่านไปนานนับเดือนยังเถียงกันไม่จบ ปฏิรูปตั้งไข่ไม่ได้สักที แต่ต้องมองในแง่ดีและอย่าเพิ่งสิ้นหวัง เพราะประเด็นเรื่องการปฏิรูปถูกที่จุดพลุขึ้นจนกลายเป็นกระแส ที่คนทุกภาคส่วนให้การตอบรับ ขณะนี้เหลือเพียงแค่ปรับจูนแนวคิดซึ่งอาจจะแตกต่างกันบ้างให้สามารถเดินหน้าได้ แม้จำเป็นต้องใช้เวลาก็ยังดีกว่าปล่อยให้ไฟขัดแย้งลุกลามบานปลายจนไม่มี ทางออก
ขณะเดียวกัน นอกจากต้องเร่งปฏิรูปการเมืองระดับชาตินำพาประเทศฝ่ามรสุมก่อนถึงทางตันแล้ว ภารกิจที่รออยู่เบื้องหน้าและมีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่า คือ การปฏิรูปการเมืองระดับท้องถิ่น เพราะที่ผ่านมาหลายปัญหาถูกหมักหมมไม่เคยได้รับการแก้ไขอย่างจริงจัง ทั้ง ๆ ที่กลิ่นอายการทุจริตคอร์รัปชั่น การเรียกผลประโยชน์ เล่นพรรคเล่นพวก ฯลฯ มีไม่แพ้การเมืองระดับชาติ
ปลายปีที่ผ่านมา รายงานผลการตรวจสอบกรณีเงินขาดบัญชีหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐทุจริต ประจำปีงบประมาณ 2556 รอบ 6 เดือนหลัง ระหว่างวันที่ 1 เมษายน 2556-30 กันยายน 2556 ของสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ระบุว่า ในช่วงเวลาดังกล่าว สตง.ตรวจสอบพบว่ามีกรณีเงินขาดบัญชี หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐทุจริตรวมทั้งสิ้น 167 เรื่อง จำนวนเงินที่เสียหายรวม 158 ล้านบาท ในจำนวนนี้หน่วยงานของรัฐที่มีจำนวนเรื่องได้รับแจ้งสูงสุด คือ หน่วยงานราชการส่วนท้องถิ่นจำนวน 82 เรื่อง จำนวนเงินรวม 107 ล้านบาท
ขณะ เดียวกัน มีเรื่องที่อยู่ระหว่างดำเนินการ ตั้งแต่ช่วงก่อนหน้านี้จนถึง 30 กันยายน 2556 รวมทั้งสิ้น 2,249 เรื่อง คิดเป็นมูลค่าความเสียหาย 6,758 ล้านบาท ในจำนวนนี้เป็นเรื่องขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) มากที่สุด1,167 เรื่อง พิจารณาประเภทของการทุจริตที่ทำให้รัฐเกิด ความเสียหาย พบว่าการทุจริตยักยอกเงินหรือทรัพย์สินของทางราชการมีปัญหามากที่สุด รองลงไปคือการทุจริตจัดซื้อจัดจ้าง การปฏิบัติผิดระเบียบ ฯลฯ ชี้ให้เห็นว่าปัญหาการทุจริตคอร์รัปชั่นซึ่งหยั่งรากฝังลึกในสังคมไทย กำลังแพร่ระบาดลงสู่การเมืองในระดับท้องถิ่น ไม่ว่าจะเป็นองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) องค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) เทศบาล ไม่เว้นแม้แต่การปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ อย่างกรุงเทพมหานคร (กทม.) และเมืองพัทยา
งบประมาณแผ่นดินนับหมื่นนับแสนล้านบาท แทนที่จะนำไปพัฒนาสาธารณูปโภคสาธารณูปการ ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อท้องถิ่นและชุมชนอย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วย ก็ถูกเบียดบังเข้ากระเป๋านักการเมืองท้องถิ่น นายทุน ผู้มีอิทธิพล ผู้รับเหมาซึ่งเป็นพวกพ้อง นอกจากการเมืองระดับชาติจะถูกจำลองโมเดลหรือรูป แบบวิธีการไปใช้กับการเมืองท้องถิ่นแล้ว นักการเมืองท้องถิ่นยังลอกเลียนแบบการทุจริตโกงกินของนักการเมืองในระดับชาติอีกด้วย รวมทั้งการซื้อสิทธิซื้อเสียงจากชาวบ้านเพื่อช่วงชิงที่นั่งในสภาเทศบาล อบจ. อบต. ฯลฯ ไม่เว้นแม้แต่การเลือกตั้งผู้ใหญ่บ้าน ที่เวลานี้บางพื้นที่ทุ่มซื้อเสียงหนักกว่าเวทีการเมืองระดับชาติ แย่งกันนั่งเก้าอี้ยิ่งกว่าการเมืองท้องถิ่นอย่าง อบจ. อบต. เพราะได้ตำแหน่งแล้วอยู่ยาวจนเกษียณ ไม่แปลกที่เพื่อนพี่น้องซึ่งเป็นคนต่าง จังหวัดย้ำชัด ๆ ดัง ๆ ว่า 1 สิทธิ 1 เสียง แลกกับแบงก์พันบาทได้อย่างต่ำ 2-4 พันบาท สำหรับผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่ทำงานอยู่ในกรุงเทพฯก็พร้อมจ่ายค่ารถราให้กลับ บ้านในต่างจังหวัดเสร็จสรรพ ไม่รวมการเลี้ยงดูปูเสื่อทั้งเหล้ายา ล้มโค ล้มหมู
แม้ต้องลงทุนเป็นแสน ๆ แต่ผู้สมัครตำแหน่งผู้ใหญ่บ้านส่วนใหญ่ก็มองว่าสุดคุ้ม และกล้าทุ่ม เพราะนอกจากจะมีเงินเดือนกินจนอายุ 60 ปีแล้ว ยังลงทุนน้อยเพราะจำนวนคนใช้สิทธิน้อย จึงคาดหวังผลได้สูง ไม่รวมอภิสิทธิ์ ค่ากินหัวคิวที่จะมีตามมาอีกจิปาถะ ไม่เร่งปฏิรูปการเมืองท้องถิ่น ล้างบางโกงกินทั้งระบบสิ้นซากพร้อมปฏิรูปการเมืองระดับชาติ ก็ยิ่งน่าห่วงว่ามะเร็งร้ายจะขยายวงถึงระดับรากหญ้าจนยากจะแก้…โดย พิเชษฐ์ ณ นคร
ขอบคุณ... http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1390208247
(prachachat ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 20 ม.ค.57)
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
แม้อีกนานกว่าจะเห็นแสงสว่างที่ปลายอุโมงค์ ปฏิรูปการเมืองระดับชาติจะเกิดขึ้นจริง เพราะเวลาผ่านไปนานนับเดือนยังเถียงกันไม่จบ ปฏิรูปตั้งไข่ไม่ได้สักที แต่ต้องมองในแง่ดีและอย่าเพิ่งสิ้นหวัง เพราะประเด็นเรื่องการปฏิรูปถูกที่จุดพลุขึ้นจนกลายเป็นกระแส ที่คนทุกภาคส่วนให้การตอบรับ ขณะนี้เหลือเพียงแค่ปรับจูนแนวคิดซึ่งอาจจะแตกต่างกันบ้างให้สามารถเดินหน้าได้ แม้จำเป็นต้องใช้เวลาก็ยังดีกว่าปล่อยให้ไฟขัดแย้งลุกลามบานปลายจนไม่มี ทางออก ขณะเดียวกัน นอกจากต้องเร่งปฏิรูปการเมืองระดับชาตินำพาประเทศฝ่ามรสุมก่อนถึงทางตันแล้ว ภารกิจที่รออยู่เบื้องหน้าและมีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่า คือ การปฏิรูปการเมืองระดับท้องถิ่น เพราะที่ผ่านมาหลายปัญหาถูกหมักหมมไม่เคยได้รับการแก้ไขอย่างจริงจัง ทั้ง ๆ ที่กลิ่นอายการทุจริตคอร์รัปชั่น การเรียกผลประโยชน์ เล่นพรรคเล่นพวก ฯลฯ มีไม่แพ้การเมืองระดับชาติ รวมภาพชนบทท้องถิ่น ปลายปีที่ผ่านมา รายงานผลการตรวจสอบกรณีเงินขาดบัญชีหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐทุจริต ประจำปีงบประมาณ 2556 รอบ 6 เดือนหลัง ระหว่างวันที่ 1 เมษายน 2556-30 กันยายน 2556 ของสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ระบุว่า ในช่วงเวลาดังกล่าว สตง.ตรวจสอบพบว่ามีกรณีเงินขาดบัญชี หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐทุจริตรวมทั้งสิ้น 167 เรื่อง จำนวนเงินที่เสียหายรวม 158 ล้านบาท ในจำนวนนี้หน่วยงานของรัฐที่มีจำนวนเรื่องได้รับแจ้งสูงสุด คือ หน่วยงานราชการส่วนท้องถิ่นจำนวน 82 เรื่อง จำนวนเงินรวม 107 ล้านบาท ขณะ เดียวกัน มีเรื่องที่อยู่ระหว่างดำเนินการ ตั้งแต่ช่วงก่อนหน้านี้จนถึง 30 กันยายน 2556 รวมทั้งสิ้น 2,249 เรื่อง คิดเป็นมูลค่าความเสียหาย 6,758 ล้านบาท ในจำนวนนี้เป็นเรื่องขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) มากที่สุด1,167 เรื่อง พิจารณาประเภทของการทุจริตที่ทำให้รัฐเกิด ความเสียหาย พบว่าการทุจริตยักยอกเงินหรือทรัพย์สินของทางราชการมีปัญหามากที่สุด รองลงไปคือการทุจริตจัดซื้อจัดจ้าง การปฏิบัติผิดระเบียบ ฯลฯ ชี้ให้เห็นว่าปัญหาการทุจริตคอร์รัปชั่นซึ่งหยั่งรากฝังลึกในสังคมไทย กำลังแพร่ระบาดลงสู่การเมืองในระดับท้องถิ่น ไม่ว่าจะเป็นองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) องค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) เทศบาล ไม่เว้นแม้แต่การปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ อย่างกรุงเทพมหานคร (กทม.) และเมืองพัทยา งบประมาณแผ่นดินนับหมื่นนับแสนล้านบาท แทนที่จะนำไปพัฒนาสาธารณูปโภคสาธารณูปการ ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อท้องถิ่นและชุมชนอย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วย ก็ถูกเบียดบังเข้ากระเป๋านักการเมืองท้องถิ่น นายทุน ผู้มีอิทธิพล ผู้รับเหมาซึ่งเป็นพวกพ้อง นอกจากการเมืองระดับชาติจะถูกจำลองโมเดลหรือรูป แบบวิธีการไปใช้กับการเมืองท้องถิ่นแล้ว นักการเมืองท้องถิ่นยังลอกเลียนแบบการทุจริตโกงกินของนักการเมืองในระดับชาติอีกด้วย รวมทั้งการซื้อสิทธิซื้อเสียงจากชาวบ้านเพื่อช่วงชิงที่นั่งในสภาเทศบาล อบจ. อบต. ฯลฯ ไม่เว้นแม้แต่การเลือกตั้งผู้ใหญ่บ้าน ที่เวลานี้บางพื้นที่ทุ่มซื้อเสียงหนักกว่าเวทีการเมืองระดับชาติ แย่งกันนั่งเก้าอี้ยิ่งกว่าการเมืองท้องถิ่นอย่าง อบจ. อบต. เพราะได้ตำแหน่งแล้วอยู่ยาวจนเกษียณ ไม่แปลกที่เพื่อนพี่น้องซึ่งเป็นคนต่าง จังหวัดย้ำชัด ๆ ดัง ๆ ว่า 1 สิทธิ 1 เสียง แลกกับแบงก์พันบาทได้อย่างต่ำ 2-4 พันบาท สำหรับผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่ทำงานอยู่ในกรุงเทพฯก็พร้อมจ่ายค่ารถราให้กลับ บ้านในต่างจังหวัดเสร็จสรรพ ไม่รวมการเลี้ยงดูปูเสื่อทั้งเหล้ายา ล้มโค ล้มหมู แม้ต้องลงทุนเป็นแสน ๆ แต่ผู้สมัครตำแหน่งผู้ใหญ่บ้านส่วนใหญ่ก็มองว่าสุดคุ้ม และกล้าทุ่ม เพราะนอกจากจะมีเงินเดือนกินจนอายุ 60 ปีแล้ว ยังลงทุนน้อยเพราะจำนวนคนใช้สิทธิน้อย จึงคาดหวังผลได้สูง ไม่รวมอภิสิทธิ์ ค่ากินหัวคิวที่จะมีตามมาอีกจิปาถะ ไม่เร่งปฏิรูปการเมืองท้องถิ่น ล้างบางโกงกินทั้งระบบสิ้นซากพร้อมปฏิรูปการเมืองระดับชาติ ก็ยิ่งน่าห่วงว่ามะเร็งร้ายจะขยายวงถึงระดับรากหญ้าจนยากจะแก้…โดย พิเชษฐ์ ณ นคร ขอบคุณ... http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1390208247 (prachachat ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 20 ม.ค.57)
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)