ยธ.สั่งเร่งศึกษาผู้ต้องขังกลุ่มพิการ ชรา และตั้งครรภ์ ขังนอกเรือนจำ

แสดงความคิดเห็น

“บิ๊กต๊อก” นำทีมกระทรวงยุติธรรมไทยประชุมกฎหมายนานาชาติ เซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก ลีกัล ฟอรัม ครั้งที่ 5 จำนวน 9 ประเทศ พร้อมสั่งเร่งศึกษาแนวทางการนำตัวผู้ต้องขังกลุ่มพิการ ชรา และตั้งครรภ์ไปคุมขังนอกเรือนจำ

เมื่อวันที่ (27พ.ค.) ที่ประเทศรัสเซีย กรุงเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก พล.อ.ไพบูลย์ คุ้มฉายา รัฐมนตรีว่ากระทรวงยุติธรรม พร้อมด้วย พล.ต.อ.ชัชวาลย์ สุขสมจิตร์ ปลัดกระทรวงยุติธรรม นายชาญเชาวน์ ไชยานุกิจ รองปลัดกระทรวงยุติธรรม และนายวิทยา สุริยะวงค์ นำคณะผู้แทนกระทรวงยุติธรรม ประเทศไทยเข้าร่วมประชุม เซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก ลีเกิล ฟอรัม ครั้งที่ 5 (Saint-Petersburg Legal Forum) ระหว่างวันที่ 27-30 พ.ค. โดยการประชุมครั้งนี้เป็นการมุ่งส่งเสริมแนวคิดในการปรับปรุงกฎหมายให้มีความทันสมัยขึ้น อีกทั้งยังเป็นเวทีที่เปิดโอกาสให้มีการพบปะกันระหว่างรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม หัวหน้าหน่วยงานด้านกระบวนการยุติธรรมจากประเทศต่างๆ ทั่วโลก และผู้นำองค์การระหว่างประเทศด้านกฎหมายและการยุติธรรม การประชุมครั้งนี้ มีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมเป็นหัวหน้าคณะมีจำนวน 9 ประเทศ ได้แก่ ออสเตรีย อาร์เจนตินา อาร์เมเนีย เบลารุส อิตาลี คาซัคสถาน สาธารณรัฐคีร์กีซประเทศไทยและศรีลังกา

ประชุม เซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก ลีเกิล ฟอรัม ครั้งที่ 5 (Saint-Petersburg Legal Forum)

พล.อ.ไพบูลย์กล่าวว่า การประชุมครั้งนี้นับเป็นโอกาสที่ประเทศไทยจะได้นำเสนอพัฒนาการด้านกฎหมายของประเทศไทยโดยเฉพาะกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับกระทรวงยุติธรรม และกระบวนการปฏิรูปกฎหมาย รวมถึงการวางรากฐานการยกร่างรัฐธรรมนูญของประเทศไทยเพื่อสร้างความเข้าใจและความเชื่อมั่นให้แก่นานาประเทศในเรื่องหลักนิติธรรมได้อีกด้วย สำหรับผู้แทนประเทศ ที่จะนำเสนอให้ที่ประชุมรับทราบเรื่องการพัฒนากฎหมายของประเทศไทย คือ นายวิทยา สุริยะวงค์ อธิบดีกรมราชทัณฑ์ และนายวงศ์เทพ อรรถไกวัลวที ผู้อำนวยการกองการต่างประเทศ สำนักงานปลัดกระทรวงยุติธรรม นำเสนอประเด็นการแก้ไขกฎหมายของประเทศไทย และในส่วนของกระทรวงยุติธรรม รวมถึงแนวทางการแก้ไข พ.ร.บ.ราชทัณฑ์ฉบับใหม่ นอกจากนี้ยังมีประเทศเรื่องการแก้ไขกฎหมายยาเสพติดและกฎหมายการคุมประพฤติ ที่เน้นการฟื้นฟูบำบัดรักษาอย่างเป็นระบบมากขึ้นเป็นมาตรฐานสากล

นอกจากนี้ พล.อ.ไพบูลย์ยังกล่าวถึงความคืบหน้าการนำตัวผู้ต้องขังพิการ ชรา ตั้งครรภ์ไปคุมขังยังนอกเรือนจำว่า ได้สั่งการให้นายวิทยาไปศึกษาแนวทางการดำเนินการว่ามีแนวทางแบบใดบ้างและต้องการปรับแก้ในส่วนใดบ้าง ทั้งนี้จะรีบนำผลการศึกษาเสนอไปยัง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี

ด้านนายวิทยากล่าวว่า การแก้ไข พ.ร.บ.ราชทัณฑ์ที่ใช้มานานกว่า 80 ปี เพื่อรับมือกับปัญหาการบริหารจัดการเรือนจำและผู้ต้องขังที่สะสมมานาน และการแก้ไขปัญหาจำนวนผู้ต้องขังคดียาเสพติด ซึ่งกระบวนการยกร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้คำนึงถึงคอนเซ็ปต์ การบริหารงานราชทัณฑ์อย่างมีประสิทธิภาพเพื่อประโยชน์ของประชาชนและประเทศชาติ อีกทั้งยังให้ความสำคัญกับปรัชญาการพัฒนาพฤตินิสัยผู้ต้องขัง เพื่อเป็นกลไกในการแก้ไขปัญหาผู้ต้องขังคดียาเสพติด และการมียาเสพติดภายในเรือนจำได้อย่างเป็นระบบ โดยมีเป้าหมายเพื่อคืนทรัพยากรมนุษย์อันมีค่าให้แก่สังคม และให้เขาเหล่านั้นอยู่ร่วมกับสังคมได้อย่างสงบสุขโดยไม่หวนกลับมากระทำผิดซ้ำ อย่างไรก็ตาม ขณะนี้กรมราชทัณฑ์กำลังเร่งศึกษาแนวทางการนำตัวผู้ต้องขังกลุ่มพิการ ชรา และตั้งครรภ์ ไปคุมขังนอกเรือนจำว่ามีวิธีการใดบ้าง เบื้องต้นคือการพักโทษ และการอภัยโทษ สิ่งสำคัญคือคนกลุ่มนี้เป็นกลุ่มคนที่ไม่เข้าเงื่อนไขหลักเกณฑ์ ดังนั้น ต้องดูในเนื้อหารายละเอียดว่าจะต้องปรับแก้ส่วนใดบ้าง

“ทำอย่างไรจึงเปลี่ยนแปลงกฎหมายได้ ที่มีกรอบความคิดซึ่งเป็นสิ่งสำคัญในการเปลี่ยน เพราะเราไม่สามารถเปลี่ยนกฎหมายแบบปะผุได้เพราะมันจะไม่สามารถตอบ เป้าหมายที่แท้จริงได้ เนื่องจากสิ่งสำคัญสุดคือเป้าหมายและทิศทาง เพราะกฎหมายเป็นเครื่องมือหนึ่งในการพาไปสู่เป้าหมายนั้น ถ้าคอนเซ็ปต์ผิด ทิศทางและเป้าหมายจะผิด ทุกคนที่เกี่ยวข้องต้องมีคอนเซ็ปต์เดียวกันก่อน เห็นภาพเดียวกันก่อนถึงจะสามารถร่างกฎหมายได้อย่างที่ต้องการ สำหรับกฎหมายราชทัณฑ์ที่มาเป็นกรณีศึกษาในครั้งนี้มีความพอดีหลายอย่าง”นายวิทยากล่าว

นายวงศ์เทพกล่าวว่า นโยบายและกฎหมายยาเสพติดที่ส่งผลกระทบต่อกระบวนการยุติธรรมทางอาญาของประเทศไทย โดยเฉพาะการเพิ่มขึ้นของจำนวนผู้ต้องขังคดียาเสพติดแบบก้าวกระโดด ภายหลังการดำเนินนโยบายปราบปราม หรือสงครามยาเสพติด แทนการป้องกันและฟื้นฟูแก้ไขผู้ติดยาเสพติด ซึ่งหน่วยงานในกระทรวงยุติธรรมที่มีส่วนได้เสียกับนโยบายดังกล่าว ได้แก่ สำนักงานป้องกันและปราบปรามยาเสพติด กรมราชทัณฑ์ กรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน และกรมคุมประพฤติ ต่างก็กำลังเร่งพิจารณาถึงการแก้ไขกฎหมายของตนให้สามารถสอดรับกับการแก้ไขปัญหายาเสพติดและนโยบายที่เปลี่ยนไปในอนาคตกลไกที่สำคัญในการแก้ไขปัญหายาเสพติดไม่ใช่เพียงกฎหมาย สิ่งเดียวที่กระทรวงยุติธรรมกำลังดำเนินการ กระทรวงยุติธรรมกำลังเร่งสร้างโรดแมปในการแก้ไขปัญหายาเสพติดทั้งระบบ โดยบูรณาการหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วนให้ร่วมมือร่วมใจกันแก้ไขปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน เพราะกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติดซึ่งส่งผลต่อกระบวนการยุติธรรมทางอาญาของประเทศไทย

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในวันที่ 28 พ.ค. พล.อ.ไพบูลย์จะเข้าพบรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมรัสเซียเพื่อหารือทวิภาคีอีกด้วย

ขอบคุณ... http://www.manager.co.th/Crime/ViewNews.aspx?NewsID=9580000060281 (ขนาดไฟล์: 166)

ที่มา: ASTVผู้จัดการออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 27 พ.ค.58
วันที่โพสต์: 29/05/2558 เวลา 11:17:09 ดูภาพสไลด์โชว์ ยธ.สั่งเร่งศึกษาผู้ต้องขังกลุ่มพิการ ชรา และตั้งครรภ์ ขังนอกเรือนจำ

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

“บิ๊กต๊อก” นำทีมกระทรวงยุติธรรมไทยประชุมกฎหมายนานาชาติ เซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก ลีกัล ฟอรัม ครั้งที่ 5 จำนวน 9 ประเทศ พร้อมสั่งเร่งศึกษาแนวทางการนำตัวผู้ต้องขังกลุ่มพิการ ชรา และตั้งครรภ์ไปคุมขังนอกเรือนจำ เมื่อวันที่ (27พ.ค.) ที่ประเทศรัสเซีย กรุงเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก พล.อ.ไพบูลย์ คุ้มฉายา รัฐมนตรีว่ากระทรวงยุติธรรม พร้อมด้วย พล.ต.อ.ชัชวาลย์ สุขสมจิตร์ ปลัดกระทรวงยุติธรรม นายชาญเชาวน์ ไชยานุกิจ รองปลัดกระทรวงยุติธรรม และนายวิทยา สุริยะวงค์ นำคณะผู้แทนกระทรวงยุติธรรม ประเทศไทยเข้าร่วมประชุม เซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก ลีเกิล ฟอรัม ครั้งที่ 5 (Saint-Petersburg Legal Forum) ระหว่างวันที่ 27-30 พ.ค. โดยการประชุมครั้งนี้เป็นการมุ่งส่งเสริมแนวคิดในการปรับปรุงกฎหมายให้มีความทันสมัยขึ้น อีกทั้งยังเป็นเวทีที่เปิดโอกาสให้มีการพบปะกันระหว่างรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม หัวหน้าหน่วยงานด้านกระบวนการยุติธรรมจากประเทศต่างๆ ทั่วโลก และผู้นำองค์การระหว่างประเทศด้านกฎหมายและการยุติธรรม การประชุมครั้งนี้ มีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมเป็นหัวหน้าคณะมีจำนวน 9 ประเทศ ได้แก่ ออสเตรีย อาร์เจนตินา อาร์เมเนีย เบลารุส อิตาลี คาซัคสถาน สาธารณรัฐคีร์กีซประเทศไทยและศรีลังกา ประชุม เซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก ลีเกิล ฟอรัม ครั้งที่ 5 (Saint-Petersburg Legal Forum) พล.อ.ไพบูลย์กล่าวว่า การประชุมครั้งนี้นับเป็นโอกาสที่ประเทศไทยจะได้นำเสนอพัฒนาการด้านกฎหมายของประเทศไทยโดยเฉพาะกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับกระทรวงยุติธรรม และกระบวนการปฏิรูปกฎหมาย รวมถึงการวางรากฐานการยกร่างรัฐธรรมนูญของประเทศไทยเพื่อสร้างความเข้าใจและความเชื่อมั่นให้แก่นานาประเทศในเรื่องหลักนิติธรรมได้อีกด้วย สำหรับผู้แทนประเทศ ที่จะนำเสนอให้ที่ประชุมรับทราบเรื่องการพัฒนากฎหมายของประเทศไทย คือ นายวิทยา สุริยะวงค์ อธิบดีกรมราชทัณฑ์ และนายวงศ์เทพ อรรถไกวัลวที ผู้อำนวยการกองการต่างประเทศ สำนักงานปลัดกระทรวงยุติธรรม นำเสนอประเด็นการแก้ไขกฎหมายของประเทศไทย และในส่วนของกระทรวงยุติธรรม รวมถึงแนวทางการแก้ไข พ.ร.บ.ราชทัณฑ์ฉบับใหม่ นอกจากนี้ยังมีประเทศเรื่องการแก้ไขกฎหมายยาเสพติดและกฎหมายการคุมประพฤติ ที่เน้นการฟื้นฟูบำบัดรักษาอย่างเป็นระบบมากขึ้นเป็นมาตรฐานสากล นอกจากนี้ พล.อ.ไพบูลย์ยังกล่าวถึงความคืบหน้าการนำตัวผู้ต้องขังพิการ ชรา ตั้งครรภ์ไปคุมขังยังนอกเรือนจำว่า ได้สั่งการให้นายวิทยาไปศึกษาแนวทางการดำเนินการว่ามีแนวทางแบบใดบ้างและต้องการปรับแก้ในส่วนใดบ้าง ทั้งนี้จะรีบนำผลการศึกษาเสนอไปยัง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ด้านนายวิทยากล่าวว่า การแก้ไข พ.ร.บ.ราชทัณฑ์ที่ใช้มานานกว่า 80 ปี เพื่อรับมือกับปัญหาการบริหารจัดการเรือนจำและผู้ต้องขังที่สะสมมานาน และการแก้ไขปัญหาจำนวนผู้ต้องขังคดียาเสพติด ซึ่งกระบวนการยกร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้คำนึงถึงคอนเซ็ปต์ การบริหารงานราชทัณฑ์อย่างมีประสิทธิภาพเพื่อประโยชน์ของประชาชนและประเทศชาติ อีกทั้งยังให้ความสำคัญกับปรัชญาการพัฒนาพฤตินิสัยผู้ต้องขัง เพื่อเป็นกลไกในการแก้ไขปัญหาผู้ต้องขังคดียาเสพติด และการมียาเสพติดภายในเรือนจำได้อย่างเป็นระบบ โดยมีเป้าหมายเพื่อคืนทรัพยากรมนุษย์อันมีค่าให้แก่สังคม และให้เขาเหล่านั้นอยู่ร่วมกับสังคมได้อย่างสงบสุขโดยไม่หวนกลับมากระทำผิดซ้ำ อย่างไรก็ตาม ขณะนี้กรมราชทัณฑ์กำลังเร่งศึกษาแนวทางการนำตัวผู้ต้องขังกลุ่มพิการ ชรา และตั้งครรภ์ ไปคุมขังนอกเรือนจำว่ามีวิธีการใดบ้าง เบื้องต้นคือการพักโทษ และการอภัยโทษ สิ่งสำคัญคือคนกลุ่มนี้เป็นกลุ่มคนที่ไม่เข้าเงื่อนไขหลักเกณฑ์ ดังนั้น ต้องดูในเนื้อหารายละเอียดว่าจะต้องปรับแก้ส่วนใดบ้าง “ทำอย่างไรจึงเปลี่ยนแปลงกฎหมายได้ ที่มีกรอบความคิดซึ่งเป็นสิ่งสำคัญในการเปลี่ยน เพราะเราไม่สามารถเปลี่ยนกฎหมายแบบปะผุได้เพราะมันจะไม่สามารถตอบ เป้าหมายที่แท้จริงได้ เนื่องจากสิ่งสำคัญสุดคือเป้าหมายและทิศทาง เพราะกฎหมายเป็นเครื่องมือหนึ่งในการพาไปสู่เป้าหมายนั้น ถ้าคอนเซ็ปต์ผิด ทิศทางและเป้าหมายจะผิด ทุกคนที่เกี่ยวข้องต้องมีคอนเซ็ปต์เดียวกันก่อน เห็นภาพเดียวกันก่อนถึงจะสามารถร่างกฎหมายได้อย่างที่ต้องการ สำหรับกฎหมายราชทัณฑ์ที่มาเป็นกรณีศึกษาในครั้งนี้มีความพอดีหลายอย่าง”นายวิทยากล่าว นายวงศ์เทพกล่าวว่า นโยบายและกฎหมายยาเสพติดที่ส่งผลกระทบต่อกระบวนการยุติธรรมทางอาญาของประเทศไทย โดยเฉพาะการเพิ่มขึ้นของจำนวนผู้ต้องขังคดียาเสพติดแบบก้าวกระโดด ภายหลังการดำเนินนโยบายปราบปราม หรือสงครามยาเสพติด แทนการป้องกันและฟื้นฟูแก้ไขผู้ติดยาเสพติด ซึ่งหน่วยงานในกระทรวงยุติธรรมที่มีส่วนได้เสียกับนโยบายดังกล่าว ได้แก่ สำนักงานป้องกันและปราบปรามยาเสพติด กรมราชทัณฑ์ กรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน และกรมคุมประพฤติ ต่างก็กำลังเร่งพิจารณาถึงการแก้ไขกฎหมายของตนให้สามารถสอดรับกับการแก้ไขปัญหายาเสพติดและนโยบายที่เปลี่ยนไปในอนาคตกลไกที่สำคัญในการแก้ไขปัญหายาเสพติดไม่ใช่เพียงกฎหมาย สิ่งเดียวที่กระทรวงยุติธรรมกำลังดำเนินการ กระทรวงยุติธรรมกำลังเร่งสร้างโรดแมปในการแก้ไขปัญหายาเสพติดทั้งระบบ โดยบูรณาการหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วนให้ร่วมมือร่วมใจกันแก้ไขปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน เพราะกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติดซึ่งส่งผลต่อกระบวนการยุติธรรมทางอาญาของประเทศไทย ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในวันที่ 28 พ.ค. พล.อ.ไพบูลย์จะเข้าพบรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมรัสเซียเพื่อหารือทวิภาคีอีกด้วย ขอบคุณ... http://www.manager.co.th/Crime/ViewNews.aspx?NewsID=9580000060281

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...