พลวัตรของการเมืองไทยที่เปลี่ยนไปและความรุนแรงจากการเลื่อนการเลือกตั้ง

แสดงความคิดเห็น

ตราสัญลักษณ์วุฒิสภา และเหล่าข้าราชการยืนโบกธง

ในขณะที่เขียนบทความนี้อยู่ เป็นเวลาไม่กี่ชั่วโมงก่อนศาลรัฐธรรมนูญจะตัดสินประเด็นอำนาจในการเลื่อนการ เลือกตั้งทั่วไป 2 กุมภาพันธ์ 2557 แม้แนวคิดดังกล่าวจะถูกหยิบยกขึ้นมาถกเถียงสักระยะแล้ว แต่พัฒนาการล่าสุดที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วภายใน 24 ชั่วโมงที่ผ่านมามีลักษณะน่าวิตก เพราะเปลี่ยนจากข้อเสนอทางการเมือง มาเป็นอำนาจตามกฎหมาย จึงจำเป็นต้องทบทวนกันถึงสถานการณ์ที่เปราะบางของการเมืองไทย และอันตรายจากการอนุญาตให้องค์กรใดองค์กรหนึ่งมีอำนาจที่ไม่เคยปรากฏขึ้นใน รัฐธรรมนูญ

แนวคิดเรื่องพลวัตรการเมืองไทย - แนวคิดเรื่องพลวัตรการเมืองไทยอธิบายปรากฏการณ์ทางการเมืองของไทยว่ามาจากความสัมพันธ์เชิงอำนาจของคนสี่กลุ่ม คือ สถาบันพระมหากษัตริย์ ข้าราชการประจำทั้งทหารและพลเรือน ชนชั้นกลางในเมืองใหญ่ และชนชั้นล่างจากชนบท นอกจากพระมหากษัตริย์แล้ว ที่เหลือต่างต่อสู้แย่งชิงอำนาจการเมืองกันตลอดมาแนวคิดนี้อธิบายความล้มเหลวของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2540 ว่ามาจากการที่รัฐธรรมนูญลดพื้นที่การเมืองของชนชั้นกลางลง เพิ่มพื้นที่ให้กับชนชั้นล่าง ประกอบกับรัฐบาลพรรคไทยรักไทยที่เปลี่ยนชนชั้นล่างจากฐานเสียงเป็นฐานนโยบาย สภาพที่เกิดขึ้นทำให้ดุลยภาพการเมืองไทยที่เคยมีอยู่เสียไป และส่งผลให้ชนชั้นกลางลุกฮือ จนรัฐธรรมนูญเองต้องสิ้นผลไปในที่สุด

ชนชั้นกลางบนกระแสประชาธิปไตยไทย คำอธิบายในแนวทางนี้ยังใช้ได้อยู่สำหรับการวิเคราะห์สถานการณ์การเมืองในปัจจุบันเช่นกัน แม้เส้นแบ่งเรื่องคนชั้นล่างกับชนชั้นกลางจะจางลงไปมากเพราะต้องยอมรับว่ามีคนจากทุกชนชั้นปนอยู่ในกลุ่มการเมืองทั้งสองฝ่าย ไม่ว่า กปปส. หรือ นปช. ก็มีปัญญาชนและชนชั้นล่างปะปนกันไปทั้งสิ้น

ดุลยภาพการเมืองครั้งใหม่ - รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 พยายามสร้างดุลยภาพการเมืองขึ้นมาใหม่หลังการรัฐประหาร ถึงแม้จะถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างมากก็ตาม ก็ต้องยอมรับว่านี่คือสมดุลของการเมืองไทย แต่เป็นสมดุลที่เปราะบางมาก เป็นชนวนระเบิดเมื่อใดก็ได้ เพราะฉะนั้น ศาลรัฐธรรมนูญจึงสมควรทบทวนสมดุลใหม่ของการเมืองไทย ว่ามีอะไรเปลี่ยนแปลงไปจากก่อนวันที่ 19 กันยายน 2549 บ้าง

ตราสัญลักษณ์ศาลรัฐธรรมนูญ (1)ฝ่ายนิติบัญญัติ - ฝ่ายนิติบัญญัติเป็นทั้งผู้ออกกฎหมาย และแต่งตั้งฝ่ายบริหาร ดังนั้นการกำหนดนโยบายบริหารราชการแผ่นดินจึงอยู่ที่ฝ่ายนิติบัญญัติเป็นหลัก ในรัฐธรรมนูญ 2540 นั้น ทั้งสภาล่างและสภาบนมาจากการเลือกตั้ง นั่นเป็นความผิดพลาดที่ใหญ่หลวงของรัฐธรรมนูญ 2540 เพราะทำให้คนกลุ่มเดียวที่กุมอำนาจในการกำหนดนโยบายบริหารราชการแผ่นดินอยู่ ที่ชนชั้นล่าง ซึ่งเป็นเสียงส่วนใหญ่ของประเทศ ทั้งที่วุฒิสภานั้นควรทำหน้าที่ตรวจสอบนักการเมือง จึงไม่ควรมาจากการเลือกตั้งเสียเอง

ในรัฐธรรมนูญ 2550 วุฒิสภามาจากการแต่งตั้งและเลือกตั้งอย่างละครึ่ง นั่นหมายความว่า ชนชั้นกลางมีพื้นที่ทางการเมืองมากขึ้น จะเห็นได้ว่า สมาชิกวุฒิสภาที่มีที่มาต่างกันนั้นไม่สามารถเข้ากันได้ดีนัก ตรงกันข้าม สมาชิกวุฒิสภาที่มาจากการแต่งตั้งมีบทบาทแข้มแข็งในการตรวจสอบ ขัดขวางการดำเนินนโยบายใดๆของรัฐบาล จนเป็นที่รู้จักกันดีในนามของกลุ่ม 40 สว.

อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย (2) องค์กรอิสระต่างๆ วุฒิสภา ที่มาจากการเลือกตั้งเคยมีบทบาทสำคัญในการกำหนดทิศทางการทำงานขององค์กร อิสระ เนื่องจากเข้าไปมีส่วนร่วมในการสรรหา นอกจากนั้น การส่งชื่อในวุฒิสภานั้นส่งจำนวนมากกว่าตำแหน่งสองเท่าและให้วุฒิสภาเป็นผู้ เลือกให้เหลือครึ่งเดียว นั่นจึงเปิดโอกาสให้วุฒิสภาสามารถเลือกผู้ดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระได้และทำให้องค์กรเหล่านี้ไม่ทำหน้าที่ได้ดีเท่าที่ควร เพราะตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของฝ่ายการเมือง หรืออีกนับหนึ่ง อิทธิพลของชนชั้นล่าง

แต่เมื่อรัฐธรรมนูญ 2550 กำหนดให้ศาลเป็นผู้มีอำนาจหลักในการสรรหาผู้ดำรงตำแหน่งเหล่านี้ และยังกำหนดให้วุฒิสภามีอำนาจเพียงแค่เห็นชอบหรือไม่เห็นชอบชื่อที่เสนอ โดยไม่มีสิทธิเลือก นั่นหมายความว่าอำนาจในการเลือกองค์กรอิสระ ซึ่งทำหน้าที่ตรวจสอบการทำงานของรัฐบาล กลับมาอยู่ในมือของข้าราชการประจำและชนชั้นกลางอีกครั้งหนึ่ง ดังนั้น เราจะเห็นว่า โดยภาพรวมแล้ว ภายหลังรัฐประหาร ชนชั้นกลางสามารถยึดอำนาจนิติบัญญัติกลับมาไว้ได้ครึ่งหนึ่ง และองค์กรอิสระทั้งหมด ในขณะที่ชนชั้นล่างนั้น นับแต่รัฐประหารเป็นต้นมา สูญเสียอำนาจในการควบคุมสภาสูงและองค์กรอิสระไป มีเพียงสภาผู้แทนราษฎร และคณะรัฐมนตรีเท่านั้นที่เป็นช่องทางการแสดงออกทางการเมืองของตนเอง ซึ่งรัฐธรรมนูญ 2550 เองได้สร้างกลไกขัดขวางการทำงานของรัฐไว้จำนวนมาก ประกอบกับการใช้อำนาจตุลาการอย่างแข็งกร้าว ขยายออกไปอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน ยิ่งทำให้การใช้อำนาจการเมืองของชนชั้นล่างลำบากมากขึ้น

ความรุนแรงจากการเลื่อนการเลือกตั้ง - เสียดายที่การเลือกตั้งครั้งนี้ไม่สามารถบรรลุหน้าที่หลักของมันในการ เป็นตัวเลือกในการตัดสินใจของประชาชนได้ เพราะพรรคประชาธิปัตย์ไม่ยอมลงแข่งขันด้วย ทำให้ตัวเลือกที่แท้จริงของคนจำนวนมากหายหายสิ้นไป พรรคขนาดเล็กที่ลงแข่งในครั้งนี้คงไม่อาจเรียกว่าเป็นตัวเลือกอะไรได้นอกจาก ไม้ประดับเท่านั้นแต่นั่นหมายความว่าการเลือกตั้งครั้งนี้ไม่มีความหมายเช่นนั้นหรือ การเลือกตั้งยังมีหน้าที่อื่นอีก เช่น เป็นกลไกหลีกเลี่ยงความรุนแรงทางการเมือง โดยเป็นช่องทางให้คู่ขัดแย้งชี้ขาดข้อพิพาทกันด้วยวิธีอารยะ แทนสงครามกลางเมือง ถ้าเราสามารถหลีกเลี่ยงความตายของพี่น้องร่วมชาติไทยได้ นั่นหมายความว่าการเลือกตั้งน่าจะคุ้มค่า ไม่ว่าผลการเลือกตั้งจะออกมาเป็นอย่างไร อย่างน้อยที่สุด เราสามารถจัดการเลือกตั้งใหม่ได้ในขณะที่สงครามการเมืองนั้นไม่อาจเรีย ชีวิตผู้ตายกลับคืนมาได้อีก

ในปัจจุบัน สมการการเมืองไทยเปราะบางมากพออยู่แล้ว การขยับใดๆก็ตามอาจทำให้ดุลแห่งอำนาจนี้เสียไป ซึ่งประวัติศาสตร์สอนเราว่า ผู้เสียประโยชน์ไม่มีทางยอมรับได้โดยง่ายหรือโดยสันติ

การเลื่อนการเลือกตั้งครั้งนี้ไม่ได้ทำด้วยความยินยอมพร้อมใจของประชาชนทั้งชาติ กล่าวให้ถึงที่สุด นี่คือการขืนใจเสียงข้างมากด้วยเสียงข้างน้อย ซึ่งเสียงข้างน้อยไม่มีหลักประกันใดๆให้เสียงข้างมากกว่าอำนาจการเมืองดัง กล่าวจะไม่ถูกพรากจากพวกเขาไปตลอดกาล หรือไม่ลดน้อยลง ความหวาดระแวงเช่นนี้พร้อมจะระเบิดเป็นความรุนแรงได้ทุกเมื่อ ในปี 2549 ชนชั้นกลางผู้สูญเสียอำนาจแสดงออกผ่านการชุมนุมประท้วงของพันธมิตรประชาชน เพื่อประชาธิปไตย และรัฐประหาร ในครั้งนี้ หากชนชั้นล่างรู้สึกสูญเสียอำนาจทางการเมืองไปบ้าง คำถามคือ พวกเขาจะแสดงออกด้วยวิถีทางใด และศาลรัฐธรรมนูญ ซึ่งเป็นผู้ขยับสมดุลแห่งอำนาจนี้เอง พร้อมจะรับผิดชอบความเสียหายใดๆที่จะเกิดขึ้นนี้หรือไม่

ที่จริง ผลกระทบของคำพิพากษาไม่ควรถูกนำมาเป็นเหตุผลหลักในการตัดสินคดี เนื่องจากจะเป็นการนำผลไปตั้งเป็นเหตุ แทนที่จะตัดสินจากถ้อยคำตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ แต่หากตุลาการจะตัดสินแบบอภิวัฒน์ สร้างสิ่งที่มีขึ้นมาจากสิ่งที่ไม่มี ศาลรัฐธรรมนูญก็ควรจะวิเคราะห์ผลกระทบจากการกระทำของตนเองให้รอบคอบก่อนจะ ตัดสินใจดังกล่าวลงไป…โดย เข็มทอง ต้นสกุลรุ่งเรือง

ขอบคุณ... http://prachatai.com/journal/2014/01/51387 (ขนาดไฟล์: 167)

(prachataiออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 24 ม.ค.57 )

ที่มา: prachataiออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 24 ม.ค.57
วันที่โพสต์: 25/01/2557 เวลา 04:09:38 ดูภาพสไลด์โชว์ พลวัตรของการเมืองไทยที่เปลี่ยนไปและความรุนแรงจากการเลื่อนการเลือกตั้ง

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

ตราสัญลักษณ์วุฒิสภา และเหล่าข้าราชการยืนโบกธง ในขณะที่เขียนบทความนี้อยู่ เป็นเวลาไม่กี่ชั่วโมงก่อนศาลรัฐธรรมนูญจะตัดสินประเด็นอำนาจในการเลื่อนการ เลือกตั้งทั่วไป 2 กุมภาพันธ์ 2557 แม้แนวคิดดังกล่าวจะถูกหยิบยกขึ้นมาถกเถียงสักระยะแล้ว แต่พัฒนาการล่าสุดที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วภายใน 24 ชั่วโมงที่ผ่านมามีลักษณะน่าวิตก เพราะเปลี่ยนจากข้อเสนอทางการเมือง มาเป็นอำนาจตามกฎหมาย จึงจำเป็นต้องทบทวนกันถึงสถานการณ์ที่เปราะบางของการเมืองไทย และอันตรายจากการอนุญาตให้องค์กรใดองค์กรหนึ่งมีอำนาจที่ไม่เคยปรากฏขึ้นใน รัฐธรรมนูญ แนวคิดเรื่องพลวัตรการเมืองไทย - แนวคิดเรื่องพลวัตรการเมืองไทยอธิบายปรากฏการณ์ทางการเมืองของไทยว่ามาจากความสัมพันธ์เชิงอำนาจของคนสี่กลุ่ม คือ สถาบันพระมหากษัตริย์ ข้าราชการประจำทั้งทหารและพลเรือน ชนชั้นกลางในเมืองใหญ่ และชนชั้นล่างจากชนบท นอกจากพระมหากษัตริย์แล้ว ที่เหลือต่างต่อสู้แย่งชิงอำนาจการเมืองกันตลอดมาแนวคิดนี้อธิบายความล้มเหลวของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2540 ว่ามาจากการที่รัฐธรรมนูญลดพื้นที่การเมืองของชนชั้นกลางลง เพิ่มพื้นที่ให้กับชนชั้นล่าง ประกอบกับรัฐบาลพรรคไทยรักไทยที่เปลี่ยนชนชั้นล่างจากฐานเสียงเป็นฐานนโยบาย สภาพที่เกิดขึ้นทำให้ดุลยภาพการเมืองไทยที่เคยมีอยู่เสียไป และส่งผลให้ชนชั้นกลางลุกฮือ จนรัฐธรรมนูญเองต้องสิ้นผลไปในที่สุด ชนชั้นกลางบนกระแสประชาธิปไตยไทย คำอธิบายในแนวทางนี้ยังใช้ได้อยู่สำหรับการวิเคราะห์สถานการณ์การเมืองในปัจจุบันเช่นกัน แม้เส้นแบ่งเรื่องคนชั้นล่างกับชนชั้นกลางจะจางลงไปมากเพราะต้องยอมรับว่ามีคนจากทุกชนชั้นปนอยู่ในกลุ่มการเมืองทั้งสองฝ่าย ไม่ว่า กปปส. หรือ นปช. ก็มีปัญญาชนและชนชั้นล่างปะปนกันไปทั้งสิ้น ดุลยภาพการเมืองครั้งใหม่ - รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 พยายามสร้างดุลยภาพการเมืองขึ้นมาใหม่หลังการรัฐประหาร ถึงแม้จะถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างมากก็ตาม ก็ต้องยอมรับว่านี่คือสมดุลของการเมืองไทย แต่เป็นสมดุลที่เปราะบางมาก เป็นชนวนระเบิดเมื่อใดก็ได้ เพราะฉะนั้น ศาลรัฐธรรมนูญจึงสมควรทบทวนสมดุลใหม่ของการเมืองไทย ว่ามีอะไรเปลี่ยนแปลงไปจากก่อนวันที่ 19 กันยายน 2549 บ้าง ตราสัญลักษณ์ศาลรัฐธรรมนูญ (1)ฝ่ายนิติบัญญัติ - ฝ่ายนิติบัญญัติเป็นทั้งผู้ออกกฎหมาย และแต่งตั้งฝ่ายบริหาร ดังนั้นการกำหนดนโยบายบริหารราชการแผ่นดินจึงอยู่ที่ฝ่ายนิติบัญญัติเป็นหลัก ในรัฐธรรมนูญ 2540 นั้น ทั้งสภาล่างและสภาบนมาจากการเลือกตั้ง นั่นเป็นความผิดพลาดที่ใหญ่หลวงของรัฐธรรมนูญ 2540 เพราะทำให้คนกลุ่มเดียวที่กุมอำนาจในการกำหนดนโยบายบริหารราชการแผ่นดินอยู่ ที่ชนชั้นล่าง ซึ่งเป็นเสียงส่วนใหญ่ของประเทศ ทั้งที่วุฒิสภานั้นควรทำหน้าที่ตรวจสอบนักการเมือง จึงไม่ควรมาจากการเลือกตั้งเสียเอง ในรัฐธรรมนูญ 2550 วุฒิสภามาจากการแต่งตั้งและเลือกตั้งอย่างละครึ่ง นั่นหมายความว่า ชนชั้นกลางมีพื้นที่ทางการเมืองมากขึ้น จะเห็นได้ว่า สมาชิกวุฒิสภาที่มีที่มาต่างกันนั้นไม่สามารถเข้ากันได้ดีนัก ตรงกันข้าม สมาชิกวุฒิสภาที่มาจากการแต่งตั้งมีบทบาทแข้มแข็งในการตรวจสอบ ขัดขวางการดำเนินนโยบายใดๆของรัฐบาล จนเป็นที่รู้จักกันดีในนามของกลุ่ม 40 สว. อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย (2) องค์กรอิสระต่างๆ วุฒิสภา ที่มาจากการเลือกตั้งเคยมีบทบาทสำคัญในการกำหนดทิศทางการทำงานขององค์กร อิสระ เนื่องจากเข้าไปมีส่วนร่วมในการสรรหา นอกจากนั้น การส่งชื่อในวุฒิสภานั้นส่งจำนวนมากกว่าตำแหน่งสองเท่าและให้วุฒิสภาเป็นผู้ เลือกให้เหลือครึ่งเดียว นั่นจึงเปิดโอกาสให้วุฒิสภาสามารถเลือกผู้ดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระได้และทำให้องค์กรเหล่านี้ไม่ทำหน้าที่ได้ดีเท่าที่ควร เพราะตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของฝ่ายการเมือง หรืออีกนับหนึ่ง อิทธิพลของชนชั้นล่าง แต่เมื่อรัฐธรรมนูญ 2550 กำหนดให้ศาลเป็นผู้มีอำนาจหลักในการสรรหาผู้ดำรงตำแหน่งเหล่านี้ และยังกำหนดให้วุฒิสภามีอำนาจเพียงแค่เห็นชอบหรือไม่เห็นชอบชื่อที่เสนอ โดยไม่มีสิทธิเลือก นั่นหมายความว่าอำนาจในการเลือกองค์กรอิสระ ซึ่งทำหน้าที่ตรวจสอบการทำงานของรัฐบาล กลับมาอยู่ในมือของข้าราชการประจำและชนชั้นกลางอีกครั้งหนึ่ง ดังนั้น เราจะเห็นว่า โดยภาพรวมแล้ว ภายหลังรัฐประหาร ชนชั้นกลางสามารถยึดอำนาจนิติบัญญัติกลับมาไว้ได้ครึ่งหนึ่ง และองค์กรอิสระทั้งหมด ในขณะที่ชนชั้นล่างนั้น นับแต่รัฐประหารเป็นต้นมา สูญเสียอำนาจในการควบคุมสภาสูงและองค์กรอิสระไป มีเพียงสภาผู้แทนราษฎร และคณะรัฐมนตรีเท่านั้นที่เป็นช่องทางการแสดงออกทางการเมืองของตนเอง ซึ่งรัฐธรรมนูญ 2550 เองได้สร้างกลไกขัดขวางการทำงานของรัฐไว้จำนวนมาก ประกอบกับการใช้อำนาจตุลาการอย่างแข็งกร้าว ขยายออกไปอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน ยิ่งทำให้การใช้อำนาจการเมืองของชนชั้นล่างลำบากมากขึ้น ความรุนแรงจากการเลื่อนการเลือกตั้ง - เสียดายที่การเลือกตั้งครั้งนี้ไม่สามารถบรรลุหน้าที่หลักของมันในการ เป็นตัวเลือกในการตัดสินใจของประชาชนได้ เพราะพรรคประชาธิปัตย์ไม่ยอมลงแข่งขันด้วย ทำให้ตัวเลือกที่แท้จริงของคนจำนวนมากหายหายสิ้นไป พรรคขนาดเล็กที่ลงแข่งในครั้งนี้คงไม่อาจเรียกว่าเป็นตัวเลือกอะไรได้นอกจาก ไม้ประดับเท่านั้นแต่นั่นหมายความว่าการเลือกตั้งครั้งนี้ไม่มีความหมายเช่นนั้นหรือ การเลือกตั้งยังมีหน้าที่อื่นอีก เช่น เป็นกลไกหลีกเลี่ยงความรุนแรงทางการเมือง โดยเป็นช่องทางให้คู่ขัดแย้งชี้ขาดข้อพิพาทกันด้วยวิธีอารยะ แทนสงครามกลางเมือง ถ้าเราสามารถหลีกเลี่ยงความตายของพี่น้องร่วมชาติไทยได้ นั่นหมายความว่าการเลือกตั้งน่าจะคุ้มค่า ไม่ว่าผลการเลือกตั้งจะออกมาเป็นอย่างไร อย่างน้อยที่สุด เราสามารถจัดการเลือกตั้งใหม่ได้ในขณะที่สงครามการเมืองนั้นไม่อาจเรีย ชีวิตผู้ตายกลับคืนมาได้อีก ในปัจจุบัน สมการการเมืองไทยเปราะบางมากพออยู่แล้ว การขยับใดๆก็ตามอาจทำให้ดุลแห่งอำนาจนี้เสียไป ซึ่งประวัติศาสตร์สอนเราว่า ผู้เสียประโยชน์ไม่มีทางยอมรับได้โดยง่ายหรือโดยสันติ การเลื่อนการเลือกตั้งครั้งนี้ไม่ได้ทำด้วยความยินยอมพร้อมใจของประชาชนทั้งชาติ กล่าวให้ถึงที่สุด นี่คือการขืนใจเสียงข้างมากด้วยเสียงข้างน้อย ซึ่งเสียงข้างน้อยไม่มีหลักประกันใดๆให้เสียงข้างมากกว่าอำนาจการเมืองดัง กล่าวจะไม่ถูกพรากจากพวกเขาไปตลอดกาล หรือไม่ลดน้อยลง ความหวาดระแวงเช่นนี้พร้อมจะระเบิดเป็นความรุนแรงได้ทุกเมื่อ ในปี 2549 ชนชั้นกลางผู้สูญเสียอำนาจแสดงออกผ่านการชุมนุมประท้วงของพันธมิตรประชาชน เพื่อประชาธิปไตย และรัฐประหาร ในครั้งนี้ หากชนชั้นล่างรู้สึกสูญเสียอำนาจทางการเมืองไปบ้าง คำถามคือ พวกเขาจะแสดงออกด้วยวิถีทางใด และศาลรัฐธรรมนูญ ซึ่งเป็นผู้ขยับสมดุลแห่งอำนาจนี้เอง พร้อมจะรับผิดชอบความเสียหายใดๆที่จะเกิดขึ้นนี้หรือไม่ ที่จริง ผลกระทบของคำพิพากษาไม่ควรถูกนำมาเป็นเหตุผลหลักในการตัดสินคดี เนื่องจากจะเป็นการนำผลไปตั้งเป็นเหตุ แทนที่จะตัดสินจากถ้อยคำตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ แต่หากตุลาการจะตัดสินแบบอภิวัฒน์ สร้างสิ่งที่มีขึ้นมาจากสิ่งที่ไม่มี ศาลรัฐธรรมนูญก็ควรจะวิเคราะห์ผลกระทบจากการกระทำของตนเองให้รอบคอบก่อนจะ ตัดสินใจดังกล่าวลงไป…โดย เข็มทอง ต้นสกุลรุ่งเรือง ขอบคุณ... http://prachatai.com/journal/2014/01/51387 (prachataiออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 24 ม.ค.57 )

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...