พม. ช่วยเหลือคนพิการบ้านครูน้อย ๘ ราย พร้อมเร่งช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาส และประสบปัญหาทางสังคมที่จ.นราธิวาสและสระแก้ว
วันที่ (๒๓ ก.ค.๕๘) เวลา ๐๘.๐๐ น. ที่กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ สะพานขาว กรุงเทพฯ พลตำรวจเอก อดุลย์ แสงสิงแก้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคง ของมนุษย์ เป็นประธานการประชุมศูนย์ปฏิบัติการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (ศปก.พม.) ครั้งที่ ๒๐๕/๕๗-๕๘ เพื่อรับทราบปัญหาทางสังคมต่างๆที่เกิดขึ้นในแต่ละวัน และร่วมหาแนวทางการแก้ไขและป้องกันปัญหาดังกล่าว
โดยมีผู้แทนจากหน่วยงานในกระทรวงฯเข้าร่วมประชุม พลตำรวจเอก อดุลย์ กล่าวว่า สำหรับการลงพื้นที่เมื่อวานวันที่ (๒๒ ก.ค.๕๘) เพื่อพบปะให้กำลังใจนางนวลน้อย ทิมกุล (ครูน้อย) และรับฟังปัญหาการดำเนินงานของครูน้อย พบว่ามีผู้พิการในชุมชนจำนวน ๘ คน ที่ขอรับความช่วยเหลือจากบ้านครูน้อยนั้น กรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ (พก.) ได้ให้การช่วยเหลือในเบื้องต้นตามภารกิจกระทรวงฯ และประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดูแลเรื่องการรักษาพยาบาลแล้ว ซึ่งคนพิการจำนวน ๘ คนประสบปัญหาความเดือดร้อนในการครองชีพ แบ่งเป็นเด็กชายที่มีความพิการซ้ำซ้อน ๑ คน อายุ ๑๑ ปี และมีความพิการทางสติปัญญาและการเรียนรู้ พิการออทิสติก และพิการซ้ำซ้อน (ทางการเห็น การได้ยิน ทางสติปัญญา และการเคลื่อนไหว) จำนวน ๗ คน อายุระหว่าง ๑๘-๓๙ ปี ซึ่งครอบครัวคนพิการดังกล่าว มีฐานะยากจน และมีรายได้น้อย กระทรวงการพัฒนาสังคมฯ ได้เร่งดำเนินการช่วยเหลือดังนี้ ๑)เงินสงเคราะห์เพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนในเบื้องต้น ๒)ต่ออายุบัตรประจำตัวคนพิการจำนวน ๒ คน ๓)สนับสนุนเงินทุนประกอบอาชีพสำหรับคนพิการ ซึ่งมีแนวทางส่งเสริมให้คนพิการและครอบครัวกู้ยืมเงินจากกองทุนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ โดยไม่เสียดอกเบี้ย ๔)ส่งเสริมให้เด็กชายที่พิการซ้ำซ้อน ได้เข้าถึงสิทธิด้านการศึกษาและมีระบบอำนวยความสะดวกสำหรับเด็กพิการในสถานศึกษาต่อไป และ ๕)ให้ความรู้ในเรื่องการดำรงชีวิตของคนตาบอด (Orientation and Mobility: O&M) รวมทั้ง ส่งเสริมการฝึกทักษะและพัฒนาศักยภาพให้กับคนพิการรายอื่นเช่นเดียวกัน
พลตำรวจเอก อดุลย์ กล่าวต่อไปว่า จากกรณีชาย อายุ ๔๕ ปี ป่วยเป็นโรคกระดูกทับเส้นประสาท ไม่สามารถทำงานได้ อาศัยอยู่กับลูกชาย อายุ ๑๔ ปี ป่วยเป็นอัมพาต ช่วยเหลือตนเองไม่ได้ ในบ้านสภาพเก่าทรุดโทรม ครอบครัวมีฐานะยากจนไม่มีค่ารักษาพยาบาล ที่จังหวัดนราธิวาส ตนได้กำชับให้พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดนราธิวาส (พมจ.นราธิวาส) ลงพื้นที่ตรวจสอบข้อเท็จจริงและให้การช่วยเหลือในเบื้องต้นตามภารกิจกระทรวงฯ และประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดูแลเรื่องการรักษาพยาบาลอย่างต่อเนื่อง อีกกรณีเจ้าหน้าที่ตำรวจจับกุมชายอายุ ๓๗ ปี หลังก่อเหตุข่มขืนกระทำชำเราหลานสาวอายุ๑๖ปีนักเรียนชั้นม.๓ซึ่งขณะนี้ตั้งครรภ์๕เดือนแล้ว
ที่จังหวัดสระแก้ว ตนได้กำชับให้พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดสระแก้ว (พมจ.สระแก้ว) ลงพื้นที่ตรวจสอบข้อเท็จจริงและเร่งเยียวยาฟื้นฟูสภาพจิตใจของเด็กสาวและครอบครัวโดยด่วน “และขอชื่นชมกรณีชายชรา อายุ ๗๘ ปี ชาวจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ที่สู้ชีวิตทำงานหาเลี้ยงตนเอง และภรรยา โดยการเดินขายหนังสือพิมพ์บนรถไฟมานานกว่า ๑๑ ปี ซึ่งมีความขยันหมั่นเพียร ถึงแม้จะชราภาพแล้ว แต่ยังทำงานเลี้ยงชีพอย่างสุจริต”พลตำรวจเอกอดุลย์กล่าวท้าย
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
วันที่ (๒๓ ก.ค.๕๘) เวลา ๐๘.๐๐ น. ที่กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ สะพานขาว กรุงเทพฯ พลตำรวจเอก อดุลย์ แสงสิงแก้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคง ของมนุษย์ เป็นประธานการประชุมศูนย์ปฏิบัติการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (ศปก.พม.) ครั้งที่ ๒๐๕/๕๗-๕๘ เพื่อรับทราบปัญหาทางสังคมต่างๆที่เกิดขึ้นในแต่ละวัน และร่วมหาแนวทางการแก้ไขและป้องกันปัญหาดังกล่าว พลตำรวจเอก อดุลย์ แสงสิงแก้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคง ของมนุษย์ โดยมีผู้แทนจากหน่วยงานในกระทรวงฯเข้าร่วมประชุม พลตำรวจเอก อดุลย์ กล่าวว่า สำหรับการลงพื้นที่เมื่อวานวันที่ (๒๒ ก.ค.๕๘) เพื่อพบปะให้กำลังใจนางนวลน้อย ทิมกุล (ครูน้อย) และรับฟังปัญหาการดำเนินงานของครูน้อย พบว่ามีผู้พิการในชุมชนจำนวน ๘ คน ที่ขอรับความช่วยเหลือจากบ้านครูน้อยนั้น กรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ (พก.) ได้ให้การช่วยเหลือในเบื้องต้นตามภารกิจกระทรวงฯ และประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดูแลเรื่องการรักษาพยาบาลแล้ว ซึ่งคนพิการจำนวน ๘ คนประสบปัญหาความเดือดร้อนในการครองชีพ แบ่งเป็นเด็กชายที่มีความพิการซ้ำซ้อน ๑ คน อายุ ๑๑ ปี และมีความพิการทางสติปัญญาและการเรียนรู้ พิการออทิสติก และพิการซ้ำซ้อน (ทางการเห็น การได้ยิน ทางสติปัญญา และการเคลื่อนไหว) จำนวน ๗ คน อายุระหว่าง ๑๘-๓๙ ปี ซึ่งครอบครัวคนพิการดังกล่าว มีฐานะยากจน และมีรายได้น้อย กระทรวงการพัฒนาสังคมฯ ได้เร่งดำเนินการช่วยเหลือดังนี้ ๑)เงินสงเคราะห์เพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนในเบื้องต้น ๒)ต่ออายุบัตรประจำตัวคนพิการจำนวน ๒ คน ๓)สนับสนุนเงินทุนประกอบอาชีพสำหรับคนพิการ ซึ่งมีแนวทางส่งเสริมให้คนพิการและครอบครัวกู้ยืมเงินจากกองทุนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ โดยไม่เสียดอกเบี้ย ๔)ส่งเสริมให้เด็กชายที่พิการซ้ำซ้อน ได้เข้าถึงสิทธิด้านการศึกษาและมีระบบอำนวยความสะดวกสำหรับเด็กพิการในสถานศึกษาต่อไป และ ๕)ให้ความรู้ในเรื่องการดำรงชีวิตของคนตาบอด (Orientation and Mobility: O&M) รวมทั้ง ส่งเสริมการฝึกทักษะและพัฒนาศักยภาพให้กับคนพิการรายอื่นเช่นเดียวกัน พลตำรวจเอก อดุลย์ กล่าวต่อไปว่า จากกรณีชาย อายุ ๔๕ ปี ป่วยเป็นโรคกระดูกทับเส้นประสาท ไม่สามารถทำงานได้ อาศัยอยู่กับลูกชาย อายุ ๑๔ ปี ป่วยเป็นอัมพาต ช่วยเหลือตนเองไม่ได้ ในบ้านสภาพเก่าทรุดโทรม ครอบครัวมีฐานะยากจนไม่มีค่ารักษาพยาบาล ที่จังหวัดนราธิวาส ตนได้กำชับให้พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดนราธิวาส (พมจ.นราธิวาส) ลงพื้นที่ตรวจสอบข้อเท็จจริงและให้การช่วยเหลือในเบื้องต้นตามภารกิจกระทรวงฯ และประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดูแลเรื่องการรักษาพยาบาลอย่างต่อเนื่อง อีกกรณีเจ้าหน้าที่ตำรวจจับกุมชายอายุ ๓๗ ปี หลังก่อเหตุข่มขืนกระทำชำเราหลานสาวอายุ๑๖ปีนักเรียนชั้นม.๓ซึ่งขณะนี้ตั้งครรภ์๕เดือนแล้ว ที่จังหวัดสระแก้ว ตนได้กำชับให้พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดสระแก้ว (พมจ.สระแก้ว) ลงพื้นที่ตรวจสอบข้อเท็จจริงและเร่งเยียวยาฟื้นฟูสภาพจิตใจของเด็กสาวและครอบครัวโดยด่วน “และขอชื่นชมกรณีชายชรา อายุ ๗๘ ปี ชาวจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ที่สู้ชีวิตทำงานหาเลี้ยงตนเอง และภรรยา โดยการเดินขายหนังสือพิมพ์บนรถไฟมานานกว่า ๑๑ ปี ซึ่งมีความขยันหมั่นเพียร ถึงแม้จะชราภาพแล้ว แต่ยังทำงานเลี้ยงชีพอย่างสุจริต”พลตำรวจเอกอดุลย์กล่าวท้าย ขอบคุณ… http://www.ryt9.com/s/prg/2212191
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)