แฉตุกติกขุดทางเท้ามั่วสร้างลิฟท์คนพิการสถานีรถไฟฟ้า
จากกรณีความล่าช้าในการติดตั้งลิฟท์สำหรับคนพิการในสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอส ส่วนสัมปทานเดิม 19 สถานี ของสำนักการจราจรและขนส่ง (สจส.) กทม.ตามที่ได้นำเสนอข่าวไปนั้น ปรากฏว่าการดำเนินการของผู้รับเหมาที่ขณะนี้อยู่ในขั้นเตรียมพื้นที่และรื้อย้ายสาธารณูปโภค ประกอบด้วย ท่อประปา ท่อระบายน้ำ สายไฟฟ้าทั้งใต้ดินและบนดิน สายสื่อสาร โดยมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง คือ สำนักการระบายน้ำกทม. บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) บริษัท กสท.โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) บริษัท ทศท.คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) และการประปานครหลวง (กปน.) ปรากฏว่ามีการดำเนินการที่ไม่เป็นไปตามระเบียบขั้นตอน ซึ่งล่าสุดได้มีคำสั่งจากทางผู้บริหารที่เกี่ยวข้อง ให้ระงับการดำเนินการ จนกว่าจะมีการประสานงานให้ถูกต้อง อย่างไรก็ตามที่ผ่านมา ในการรื้อย้ายสิ่งกีดขวางบนทางเท้าในจุดก่อสร้าง ทำให้ทรัพย์สินของทางราชการสูญหาย อาทิ โคมไฟ เสาไฟ ป้ายจราจรต่างๆ
ทั้งนี้มีรายงานข่าวแจ้งว่า ในหลายสถานีผู้รับเหมาของกทม. ได้เข้าไปดำเนินการโดยพลการ รวมทั้งมีการจ้างเหมาช่วงให้กับผู้รับเหมารายอื่นมาดำเนินการ ซึ่งเป็นการผิดเงื่อนไขสัญญาเลขที่ 22-5-57 ข้อ 9 ระหว่างกทม.กับผู้รับเหมา ที่ระบุว่า "ผู้รับจ้างต้องไม่เอางานทั้งหมดหรือบางส่วนแห่งสัญญานี้ ไปจ้างช่วงอีกต่อหนึ่งโดยไม่ได้รับความยินยอมเป็นหนังสือจากผู้ว่าจ้างก่อน" และยังพบว่ามีการเทคอนกรีตหุ้มท่อสายสื่อสาร รวมถึงการก่อสร้างที่ไม่เป็นไปตามขั้นตอน ส่งผลให้สายสื่อสารเสียหาย อาทิ สถานีราชดำริ สถานีราชเทวี สถานีอารีย์ เป็นต้น ซึ่งในโครงการนี้มีการตั้งงบเป็นค่างานรื้อย้ายสาธารณูปโภค เป็นเงิน 82,747,640 บาท ซึ่งตามปกติหน่วยงานเจ้าของโครงการ จะต้องแจ้งให้สำนักการระบายน้ำ (สนน.) ผู้รับผิดชอบท่อระบายน้ำ ตลอดจน กฟน. กปน. และหน่วยงานต้นสังกัดเจ้าของสายสื่อสาร ว่าจ้างผู้รับเหมามาดำเนินการเอง และคิดค่าใช้จ่ายกับสจส.ตามแต่กรณี โดยที่สจส.ไม่มีสิทธินำผู้รับเหมาของตนเองเข้าไปดำเนินการ เพราะอาจส่งผลให้การดำเนินการเกิดข้อผิดพลาดเกิดความเสียหายได้
ในเรื่องนี้นายทวีศักดิ์ เลิศประพันธ์ ผู้อำนวยการสำนักการจราจรและขนส่ง กล่าวว่า โครงการนี้ตั้งงบประมาณรื้อย้ายสาธารณูปโภคเป็นเงิน 82 ล้านบาทจริง ซึ่งในส่วนของหน่วยงานภายนอกนั้น ตามปกติก็จะให้หน่วยงานภายนอกจ้างผู้รับเหมาดำเนินการ แล้วกทม.จ่ายเงินค่าดำเนินการให้ จากงบรื้อย้ายสาธารณูปโภคที่ตั้งไว้ในโครงการ สำหรับข้อมูลดังกล่าวตนจะสอบถามรายละเอียดจากผู้ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งกรณีการจ้างเหมาช่วงนั้น ต้องดูเงื่อนไขสัญญาก่อนว่าได้ระบุครอบคลุมไว้อย่างไร
รายงานข่าวแจ้งว่า กทม.มีแนวโน้มที่จะต่อสัญญาก่อสร้างให้กับผู้รับเหมาจากเดิมที่จะครบกำหนดสัญญาในกลางเดือนพ.ย.นี้ ส่งผลประชาชนต้องเดือดร้อนจากปัญหาการก่อสร้างยาวนานออกไปรวมทั้งการเปิดใช้ลิฟท์ล่าช้าออกไปอีก.
ขอบคุณ... http://www.dailynews.co.th/bangkok/337830 (ขนาดไฟล์: 167)
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
รับเหมาก่อสร้างกำลังขุด เจาะถนน จากกรณีความล่าช้าในการติดตั้งลิฟท์สำหรับคนพิการในสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอส ส่วนสัมปทานเดิม 19 สถานี ของสำนักการจราจรและขนส่ง (สจส.) กทม.ตามที่ได้นำเสนอข่าวไปนั้น ปรากฏว่าการดำเนินการของผู้รับเหมาที่ขณะนี้อยู่ในขั้นเตรียมพื้นที่และรื้อย้ายสาธารณูปโภค ประกอบด้วย ท่อประปา ท่อระบายน้ำ สายไฟฟ้าทั้งใต้ดินและบนดิน สายสื่อสาร โดยมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง คือ สำนักการระบายน้ำกทม. บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) บริษัท กสท.โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) บริษัท ทศท.คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) และการประปานครหลวง (กปน.) ปรากฏว่ามีการดำเนินการที่ไม่เป็นไปตามระเบียบขั้นตอน ซึ่งล่าสุดได้มีคำสั่งจากทางผู้บริหารที่เกี่ยวข้อง ให้ระงับการดำเนินการ จนกว่าจะมีการประสานงานให้ถูกต้อง อย่างไรก็ตามที่ผ่านมา ในการรื้อย้ายสิ่งกีดขวางบนทางเท้าในจุดก่อสร้าง ทำให้ทรัพย์สินของทางราชการสูญหาย อาทิ โคมไฟ เสาไฟ ป้ายจราจรต่างๆ ทั้งนี้มีรายงานข่าวแจ้งว่า ในหลายสถานีผู้รับเหมาของกทม. ได้เข้าไปดำเนินการโดยพลการ รวมทั้งมีการจ้างเหมาช่วงให้กับผู้รับเหมารายอื่นมาดำเนินการ ซึ่งเป็นการผิดเงื่อนไขสัญญาเลขที่ 22-5-57 ข้อ 9 ระหว่างกทม.กับผู้รับเหมา ที่ระบุว่า "ผู้รับจ้างต้องไม่เอางานทั้งหมดหรือบางส่วนแห่งสัญญานี้ ไปจ้างช่วงอีกต่อหนึ่งโดยไม่ได้รับความยินยอมเป็นหนังสือจากผู้ว่าจ้างก่อน" และยังพบว่ามีการเทคอนกรีตหุ้มท่อสายสื่อสาร รวมถึงการก่อสร้างที่ไม่เป็นไปตามขั้นตอน ส่งผลให้สายสื่อสารเสียหาย อาทิ สถานีราชดำริ สถานีราชเทวี สถานีอารีย์ เป็นต้น ซึ่งในโครงการนี้มีการตั้งงบเป็นค่างานรื้อย้ายสาธารณูปโภค เป็นเงิน 82,747,640 บาท ซึ่งตามปกติหน่วยงานเจ้าของโครงการ จะต้องแจ้งให้สำนักการระบายน้ำ (สนน.) ผู้รับผิดชอบท่อระบายน้ำ ตลอดจน กฟน. กปน. และหน่วยงานต้นสังกัดเจ้าของสายสื่อสาร ว่าจ้างผู้รับเหมามาดำเนินการเอง และคิดค่าใช้จ่ายกับสจส.ตามแต่กรณี โดยที่สจส.ไม่มีสิทธินำผู้รับเหมาของตนเองเข้าไปดำเนินการ เพราะอาจส่งผลให้การดำเนินการเกิดข้อผิดพลาดเกิดความเสียหายได้ ในเรื่องนี้นายทวีศักดิ์ เลิศประพันธ์ ผู้อำนวยการสำนักการจราจรและขนส่ง กล่าวว่า โครงการนี้ตั้งงบประมาณรื้อย้ายสาธารณูปโภคเป็นเงิน 82 ล้านบาทจริง ซึ่งในส่วนของหน่วยงานภายนอกนั้น ตามปกติก็จะให้หน่วยงานภายนอกจ้างผู้รับเหมาดำเนินการ แล้วกทม.จ่ายเงินค่าดำเนินการให้ จากงบรื้อย้ายสาธารณูปโภคที่ตั้งไว้ในโครงการ สำหรับข้อมูลดังกล่าวตนจะสอบถามรายละเอียดจากผู้ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งกรณีการจ้างเหมาช่วงนั้น ต้องดูเงื่อนไขสัญญาก่อนว่าได้ระบุครอบคลุมไว้อย่างไร รายงานข่าวแจ้งว่า กทม.มีแนวโน้มที่จะต่อสัญญาก่อสร้างให้กับผู้รับเหมาจากเดิมที่จะครบกำหนดสัญญาในกลางเดือนพ.ย.นี้ ส่งผลประชาชนต้องเดือดร้อนจากปัญหาการก่อสร้างยาวนานออกไปรวมทั้งการเปิดใช้ลิฟท์ล่าช้าออกไปอีก. ขอบคุณ... http://www.dailynews.co.th/bangkok/337830
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)