“โยชิมิ โฮริอูชิ” สาวตาบอดชาวญี่ปุ่น จัดคาราวานหนอนหนังสือ แก้เด็กไทย “อ่านเขียนไม่ออก”

แสดงความคิดเห็น

ผลสำรวจการอ่านออกเขียนได้ของนักเรียนไทยชั้น ป.1 ที่ผ่านมาจะพบว่ายังมีจำนวนหนึ่งที่ยังอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ ถือเป็นปัญหาสำคัญของระบบการศึกษาไทย เพราะหากรากฐานทางภาษาไม่แน่นพอ การเรียนในระดับชั้นที่สูงขึ้นก็ย่อมส่งผลกระทบตามมา

โยชิมิ โฮริอูชิ สาวตาบอดชาวญี่ปุ่นผู้ก่อตั้งสมาคมคาราวานหนอนหนังสือ

“ปัญหาเด็กไทยอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ มักจะพบมากในพื้นที่ห่างไกล โดยเฉพาะชาวเขาชาวดอย เนื่องจากในชุมชนไม่ได้ใช้ภาษาไทยเป็นหลัก ดังนั้น เมื่อเด็กเหล่านี้ลงมาเรียนหนังสือในโรงเรียนบนที่ราบด้านล่าง จึงเรียนไม่ทันเพื่อน เพราะภาษาไทยยังไม่แข็งแรง ไม่เหมือนเด็กในเมืองที่พ่อแม่สอนอ่านเขียนภาษาไทยมาตั้งแต่ก่อนเข้าเรียน” โยชิมิ โฮริอูชิ สาวชาวญี่ปุ่นผู้พิการทางสายตา สะท้อนมุมมองปัญหาการอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ของเด็กไทย

เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนการแก้ปัญหาดังกล่าว โยชิมิ ได้ก่อตั้งสมาคมคาราวานหนอนหนังสือ (Always Reading Caravan : ARC) เพื่อที่จะสนับสนุนการอ่านและการเรียนรู้ผ่านกิจกรรมต่างๆ รวมถึงบริการห้องสมุดเคลื่อนที่ให้แก่คนทุกเพศ ทุกวัย ทั้งคนปกติ รวมถึงคนพิการในพื้นที่ห่างไกลด้วย โดยเฉพาะเด็กและเยาวชนบนเขาบนดอย ก็ได้ขึ้นไปทำกิจกรรม เพื่อปูพื้นฐานภาษาให้เด็กเหล่านี้อ่านออกเขียนได้ ก่อนที่จะลงมาเรียนในโรงเรียน

โยชิมิ เล่าว่า องค์กรได้ขึ้นไปเปิดศูนย์การเรียนรู้ 2 แห่งบนดอย เพื่อเตรียมความพร้อมให้แก่เด็กชาวเขาให้ได้รู้ภาษาก่อนเข้าเรียน คือ ศูนย์การเรียนรู้บ้านพระอาทิตย์ สำหรับเด็กชาวเขาเผ่าอาข่า อ.เวียงปาเป้า จ.เชียงราย สอนอ่านเขียนและคณิตแก่เด็กวัย 2-6 ขวบ สัปดาห์ละ 5 วัน และศูนย์การเรียนรู้บ้านผึ้งน้อย สำหรับเด็กๆ เผ่าปกากาญอ หรือกะเหรี่ยง ในบ้านแม่สูน ต.แม่ปั๋ง อ.พร้าว จ.เชียงใหม่ สอนการอ่านเขียนเบื้องต้นและคณิตแก่เด็กวัย2-4ขวบสัปดาห์ละ5วัน

“ผลการดำเนินการพบว่า เด็กในศูนย์การเรียนรู้เมื่อลงไปเรียนร่วมกับเพื่อนบนที่ราบก็เรียนทันเพื่อนมากกว่าเดิม ซึ่งตรงนี้ถือเป็นผลในระยะสั้น แต่จริงๆ แล้วการรณรงค์เรื่องการอ่านต้องวัดผลกันในยุคหน้า ซึ่งเป็นผลระยะยาวว่า เมื่อเด็กเติบโตไปเป็นผู้ใหญ่เขาใส่ใจกับเรื่องการอ่านหรือไม่ มีลูกแล้วพาลูกมาเข้าห้องสมุด อ่านเขียนหนังสือหรือไม่และสามารถคิดวิเคราะห์การใช้ชีวิตของตนเองได้อย่างดีหรือไม่มากกว่า”

แม้โยชิมิจะพิการทางสายตามาตั้งแต่กำเนิด แต่เธอก็ให้ความสำคัญกับการอ่านมากที่สุด โดยโยชิมิ เล่าว่า ตั้งแต่ 2-3 ขวบ เธอหลงใหลเข้าไปในโลกของหนังสือจากการที่ญาติๆ ของเธออ่านหนังสือให้เธอฟัง จนเมื่อเติบโตขึ้นได้เรียนอักษรเบลล์ จึงเริ่มอ่านหนังสือด้วยตนเอง และรู้สึกชื่นชอบการอ่านหนังสือมาก และเมื่อได้เจอกับคนไทยระหว่างไปเรียนที่สหรัฐอเมริกาก็มีความสนใจในภาษาไทย เพราะรู้สึกว่ามีความเพราะ ทั้งวัฒนธรรมต่างๆ ก็ใกล้เคียงกันเมื่อเข้าสู่ช่วงวัยทำงานจึงทำตามความฝันตนเองว่าอยากเข้ามาทำงานในเมืองไทยด้านสังคม

“การเข้ามาทำงานด้านสังคมแบบเอ็นจีโอไม่ใช่ว่าจะเข้ามาทำงานได้เลย แต่ต้องมีการศึกษาก่อน โดยก่อนเข้ามาทำงานได้ไปเรียนรู้ที่อินเดียเป็นเวลา 1 ปี ถึงวิธีการบริหารองค์กรแบบไม่แสวงผลกำไร เพื่อจะเรียนรู้วิธีการหาทุน การประสานงานกับหน่วยงานต่างๆ การเขียนโครงการ การบริหารงบประมาณ ซึ่งเป็นทักษะที่จำเป็นต้องใช้ เมื่อเรียนจบแล้วจึงเข้ามาตั้งองค์กรทำงานที่ประเทศไทย โดยมุ่งเน้นในเรื่องของการอ่านหนังสือ เพราะเราคนหนึ่งเป็นคนที่ได้รับโอกาสจากผู้อื่นมามากจึงอยากเป็นผู้ให้แก่คนอื่นบ้าง”

เมื่อเริ่มแรกที่เข้ามาทำงาน โยชิมิ บอกว่า ได้เข้าไปทำกิจกรรมด้วยตนเอง เช่น อ่านหนังสือให้เด็กฟัง โดยต้องแปลงหนังสือปกติให้กลายเป็นอักษรเบลล์เพื่อจะได้ไปอ่านให้เด็กคนอื่นฟัง ซึ่งขั้นตอนถือว่ายากมากกว่าคนสายตาปกติทั่วไป รวมไปถึงจัดทำห้องสมุดเคลื่อนที่ไปตามสวนสาธารณะวันเสาร์ อาทิตย์ จากนั้นจึงขยับขยายโครงการ เช่น ทำห้องสมุดที่มีชีวิต ศูนย์การเรียนรู้บนดอย ซึ่งตัวเธอให้ความสำคัญพอๆ กันทั้งในเรื่องการส่งเสริมการอ่านของเด็กและคนทั่วไปที่อ่านออกเขียนได้อยู่แล้ว และการสร้างพื้นฐานอ่านออกเขียนได้บนดอย ซึ่งปัจจุบันเธอพลิกบทบาทจากคนลงไปทำกิจกรรมเองมาเป็นผู้บริหารการจัดการทั้งหมด

โยชิมิ ยังฝากทิ้งท้ายอีกว่า ค่านิยมเรื่องการอ่านหนังสือของไทยต่างจากญี่ปุ่น โดยคนญี่ปุ่นมองว่าการอ่านเป็นงานอดิเรก เป็นความสนุก มีหนังสือหลากหลายที่ให้อ่าน แต่คนไทยมักมองว่าการอ่านหนังสือจะต้องเป็นการอ่านหนังสือสอบ ขณะที่หนังสือทั่วๆ ไปในประเทศไทยมีราคาแพงมาก ทำให้คนไทยไม่นิยมซื้อหนังสืออ่าน เมื่อเทียบกับราคาอาหารจะพบว่าแพงกว่าหลายเท่า แต่สำหรับญี่ปุ่นราคาหนังสือแพงกว่าราคาอาหารไม่มากนัก ทำให้คนเข้าถึงหนังสือได้มาก จึงมองว่าหากจะส่งเสริมการอ่านในไทย ก็ต้องปรับแก้ปัญหาเหล่านี้ด้วย

โดย...สิรวุฒิ รวีไชยวัฒน์

ขอบคุณ... http://www.manager.co.th/Qol/ViewNews.aspx?NewsID=9580000087041 (ขนาดไฟล์: 164)

ที่มา: ASTVผู้จัดการออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 02 ส.ค.58
วันที่โพสต์: 3/08/2558 เวลา 10:52:09 ดูภาพสไลด์โชว์ “โยชิมิ โฮริอูชิ” สาวตาบอดชาวญี่ปุ่น จัดคาราวานหนอนหนังสือ แก้เด็กไทย “อ่านเขียนไม่ออก”

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

ผลสำรวจการอ่านออกเขียนได้ของนักเรียนไทยชั้น ป.1 ที่ผ่านมาจะพบว่ายังมีจำนวนหนึ่งที่ยังอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ ถือเป็นปัญหาสำคัญของระบบการศึกษาไทย เพราะหากรากฐานทางภาษาไม่แน่นพอ การเรียนในระดับชั้นที่สูงขึ้นก็ย่อมส่งผลกระทบตามมา โยชิมิ โฮริอูชิ สาวตาบอดชาวญี่ปุ่นผู้ก่อตั้งสมาคมคาราวานหนอนหนังสือ “ปัญหาเด็กไทยอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ มักจะพบมากในพื้นที่ห่างไกล โดยเฉพาะชาวเขาชาวดอย เนื่องจากในชุมชนไม่ได้ใช้ภาษาไทยเป็นหลัก ดังนั้น เมื่อเด็กเหล่านี้ลงมาเรียนหนังสือในโรงเรียนบนที่ราบด้านล่าง จึงเรียนไม่ทันเพื่อน เพราะภาษาไทยยังไม่แข็งแรง ไม่เหมือนเด็กในเมืองที่พ่อแม่สอนอ่านเขียนภาษาไทยมาตั้งแต่ก่อนเข้าเรียน” โยชิมิ โฮริอูชิ สาวชาวญี่ปุ่นผู้พิการทางสายตา สะท้อนมุมมองปัญหาการอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ของเด็กไทย เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนการแก้ปัญหาดังกล่าว โยชิมิ ได้ก่อตั้งสมาคมคาราวานหนอนหนังสือ (Always Reading Caravan : ARC) เพื่อที่จะสนับสนุนการอ่านและการเรียนรู้ผ่านกิจกรรมต่างๆ รวมถึงบริการห้องสมุดเคลื่อนที่ให้แก่คนทุกเพศ ทุกวัย ทั้งคนปกติ รวมถึงคนพิการในพื้นที่ห่างไกลด้วย โดยเฉพาะเด็กและเยาวชนบนเขาบนดอย ก็ได้ขึ้นไปทำกิจกรรม เพื่อปูพื้นฐานภาษาให้เด็กเหล่านี้อ่านออกเขียนได้ ก่อนที่จะลงมาเรียนในโรงเรียน โยชิมิ เล่าว่า องค์กรได้ขึ้นไปเปิดศูนย์การเรียนรู้ 2 แห่งบนดอย เพื่อเตรียมความพร้อมให้แก่เด็กชาวเขาให้ได้รู้ภาษาก่อนเข้าเรียน คือ ศูนย์การเรียนรู้บ้านพระอาทิตย์ สำหรับเด็กชาวเขาเผ่าอาข่า อ.เวียงปาเป้า จ.เชียงราย สอนอ่านเขียนและคณิตแก่เด็กวัย 2-6 ขวบ สัปดาห์ละ 5 วัน และศูนย์การเรียนรู้บ้านผึ้งน้อย สำหรับเด็กๆ เผ่าปกากาญอ หรือกะเหรี่ยง ในบ้านแม่สูน ต.แม่ปั๋ง อ.พร้าว จ.เชียงใหม่ สอนการอ่านเขียนเบื้องต้นและคณิตแก่เด็กวัย2-4ขวบสัปดาห์ละ5วัน “ผลการดำเนินการพบว่า เด็กในศูนย์การเรียนรู้เมื่อลงไปเรียนร่วมกับเพื่อนบนที่ราบก็เรียนทันเพื่อนมากกว่าเดิม ซึ่งตรงนี้ถือเป็นผลในระยะสั้น แต่จริงๆ แล้วการรณรงค์เรื่องการอ่านต้องวัดผลกันในยุคหน้า ซึ่งเป็นผลระยะยาวว่า เมื่อเด็กเติบโตไปเป็นผู้ใหญ่เขาใส่ใจกับเรื่องการอ่านหรือไม่ มีลูกแล้วพาลูกมาเข้าห้องสมุด อ่านเขียนหนังสือหรือไม่และสามารถคิดวิเคราะห์การใช้ชีวิตของตนเองได้อย่างดีหรือไม่มากกว่า” แม้โยชิมิจะพิการทางสายตามาตั้งแต่กำเนิด แต่เธอก็ให้ความสำคัญกับการอ่านมากที่สุด โดยโยชิมิ เล่าว่า ตั้งแต่ 2-3 ขวบ เธอหลงใหลเข้าไปในโลกของหนังสือจากการที่ญาติๆ ของเธออ่านหนังสือให้เธอฟัง จนเมื่อเติบโตขึ้นได้เรียนอักษรเบลล์ จึงเริ่มอ่านหนังสือด้วยตนเอง และรู้สึกชื่นชอบการอ่านหนังสือมาก และเมื่อได้เจอกับคนไทยระหว่างไปเรียนที่สหรัฐอเมริกาก็มีความสนใจในภาษาไทย เพราะรู้สึกว่ามีความเพราะ ทั้งวัฒนธรรมต่างๆ ก็ใกล้เคียงกันเมื่อเข้าสู่ช่วงวัยทำงานจึงทำตามความฝันตนเองว่าอยากเข้ามาทำงานในเมืองไทยด้านสังคม “การเข้ามาทำงานด้านสังคมแบบเอ็นจีโอไม่ใช่ว่าจะเข้ามาทำงานได้เลย แต่ต้องมีการศึกษาก่อน โดยก่อนเข้ามาทำงานได้ไปเรียนรู้ที่อินเดียเป็นเวลา 1 ปี ถึงวิธีการบริหารองค์กรแบบไม่แสวงผลกำไร เพื่อจะเรียนรู้วิธีการหาทุน การประสานงานกับหน่วยงานต่างๆ การเขียนโครงการ การบริหารงบประมาณ ซึ่งเป็นทักษะที่จำเป็นต้องใช้ เมื่อเรียนจบแล้วจึงเข้ามาตั้งองค์กรทำงานที่ประเทศไทย โดยมุ่งเน้นในเรื่องของการอ่านหนังสือ เพราะเราคนหนึ่งเป็นคนที่ได้รับโอกาสจากผู้อื่นมามากจึงอยากเป็นผู้ให้แก่คนอื่นบ้าง” เมื่อเริ่มแรกที่เข้ามาทำงาน โยชิมิ บอกว่า ได้เข้าไปทำกิจกรรมด้วยตนเอง เช่น อ่านหนังสือให้เด็กฟัง โดยต้องแปลงหนังสือปกติให้กลายเป็นอักษรเบลล์เพื่อจะได้ไปอ่านให้เด็กคนอื่นฟัง ซึ่งขั้นตอนถือว่ายากมากกว่าคนสายตาปกติทั่วไป รวมไปถึงจัดทำห้องสมุดเคลื่อนที่ไปตามสวนสาธารณะวันเสาร์ อาทิตย์ จากนั้นจึงขยับขยายโครงการ เช่น ทำห้องสมุดที่มีชีวิต ศูนย์การเรียนรู้บนดอย ซึ่งตัวเธอให้ความสำคัญพอๆ กันทั้งในเรื่องการส่งเสริมการอ่านของเด็กและคนทั่วไปที่อ่านออกเขียนได้อยู่แล้ว และการสร้างพื้นฐานอ่านออกเขียนได้บนดอย ซึ่งปัจจุบันเธอพลิกบทบาทจากคนลงไปทำกิจกรรมเองมาเป็นผู้บริหารการจัดการทั้งหมด โยชิมิ ยังฝากทิ้งท้ายอีกว่า ค่านิยมเรื่องการอ่านหนังสือของไทยต่างจากญี่ปุ่น โดยคนญี่ปุ่นมองว่าการอ่านเป็นงานอดิเรก เป็นความสนุก มีหนังสือหลากหลายที่ให้อ่าน แต่คนไทยมักมองว่าการอ่านหนังสือจะต้องเป็นการอ่านหนังสือสอบ ขณะที่หนังสือทั่วๆ ไปในประเทศไทยมีราคาแพงมาก ทำให้คนไทยไม่นิยมซื้อหนังสืออ่าน เมื่อเทียบกับราคาอาหารจะพบว่าแพงกว่าหลายเท่า แต่สำหรับญี่ปุ่นราคาหนังสือแพงกว่าราคาอาหารไม่มากนัก ทำให้คนเข้าถึงหนังสือได้มาก จึงมองว่าหากจะส่งเสริมการอ่านในไทย ก็ต้องปรับแก้ปัญหาเหล่านี้ด้วย โดย...สิรวุฒิ รวีไชยวัฒน์ ขอบคุณ... http://www.manager.co.th/Qol/ViewNews.aspx?NewsID=9580000087041

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...