‘กองทุนคนพิการ 7 พันล้าน’ใช้ทำอะไร?
ปัจจุบันไทยมีคนพิการลงทะเบียนทั้งหมด 1.66 ล้านคน ส่วนใหญ่เป็นความบกพร่องทางร่างกายและการเคลื่อนไหวมากถึงร้อยละ 48 จำนวน 8 แสนคน อันดับ 2 ด้านการได้ยินหรือสื่อความหมาย ร้อยละ 16 จำนวน 2.7 แสนคน และอันดับ 3 ด้านการมองเห็น ร้อยละ 11 หรือประมาณ 1.8 แสนคน อยู่ในกลุ่มผู้สูงอายุมากที่สุด สำหรับกลุ่มคนพิการตั้งแต่กำเนิดร้อยละ 8.4 ประมาณ 1.4 แสนคน
ข้อมูลจากกรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พบว่า ส่วนใหญ่คนพิการกว่าครึ่งหนึ่งไม่ได้เรียนหนังสือ และหากได้เรียนหนังสือก็จบเพียงชั้นประถมศึกษาร้อยละ 42 ผู้จบระดับปริญญาตรีมีเพียง 1 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น
ปัญหาเด็กพิการไม่ได้เรียนหนังสือนั้น เนื่องจากการเดินทางไปโรงเรียนเป็นไปด้วยความยากลำบาก โดยเฉพาะในต่างจังหวัด แม้ว่าประเทศไทยจะมี “พระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ”ตั้งแต่ปี2550และปรับปรุงเพิ่มเติมปี2556ที่กำหนดไว้ในมาตรา20สรุปใจความได้ว่า
“ให้มีสถานศึกษาเฉพาะ หรือสถานศึกษาทั่วไปที่เหมาะสม หรือการศึกษาทางเลือก หรือการศึกษานอกระบบ โดยให้หน่วยงานที่รับผิดชอบอำนวยความสะดวก สื่อ บริการและความช่วยเหลืออื่นใดทางการศึกษาสำหรับคนพิการ”
แต่ข้อเท็จจริงนั้น เด็กพิการส่วนใหญ่เข้าไม่ถึงระบบการศึกษา โดยเฉพาะครอบครัวที่อาศัยอยู่ต่างจังหวัดตามที่กฎหมายกำหนดไว้ หลายคนจึงมีความหวังว่ารัฐธรรมนูญฉบับใหม่จะช่วยให้คนพิการมีโอกาสดีขึ้นโดยใช้เงินกองทุนสำหรับคนพิการที่สะสมได้มากถึง7,000ล้านบาท
พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงมนุษย์ ให้ข้อมูลว่า ที่ผ่านมารัฐบาลได้ผลักดันนโยบายเงินอุดหนุนคนพิการรายเดือนเพิ่มจาก 500 เป็น 800 บาท แม้ว่ายังไม่ได้ครบทั่วประเทศ เพราะยังติดปัญหาเรื่องการเบิกจ่าย แต่อีกไม่กี่เดือนคนพิการจะได้ 800 บาทอย่างแน่นอน
สำหรับปัญหาเด็กพิการไม่ค่อยได้ไปโรงเรียนนั้น พล.ต.อ.อดุลย์ ยอมรับว่า เป็นเพราะการเดินทางไม่สะดวก โดยกระทรวงกำลังมีโครงการส่งเสริมให้คนพิการออกจากบ้าน และเพิ่มสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ โดยเฉพาะเส้นทางการเดินเท้า การสร้างทางลาดขึ้นลงเรือหรือท่าเรือ ส่วนรถโดยสารประจำทางได้ร่วมมือกับ กทม.และกระทรวงคมนาคม กระทรวงมหาดไทย เทศบาล รวมถึงมหาวิทยาลัยกว่า 10 แห่ง ให้ช่วยออกแบบเส้นทางให้คนพิการเดินทางได้สะดวก
“มีโครงการนำร่องในพื้นที่เกาะเกร็ด แล้วขยายไปอีก 6 จังหวัดรอบนอกกรุงเทพฯ กำลังจัดหารถเมล์ชานต่ำให้รองรับคนพิการขึ้นลงได้สะดวก ปีนี้จะมีมาประมาณ 400 คัน พร้องกับปรับเส้นทางการเดินรถเมล์ 20 สาย เพิ่มป้ายสัญลักษณ์คนพิการ 1,000 จุด ปรับปรุงสะพานทางเดินสำหรับคนพิการ 11 แห่งขึ้นลงสะดวก และต่อยอดไปถึงแท็กซี่สำหรับคนพิการและผู้สูงอายุด้วย เหมือนที่ประเทศอังกฤษ สามารถเข็นรถวีลแชร์ขึ้นแท็กซี่ได้เลย นอกจากนี้ยังมีเงินให้ปรับปรุงบ้านคนพิการ โดยเฉพาะพื้นบ้านและห้องน้ำ ตั้งเป้าหมายปีนี้ 2,498 หลัง ประมาณหลังละ 2 หมื่นบาท ใช้งบประมาณ 40 ล้านบาท" พล.ต.อ.อดุลย์ กล่าว
นอกจากนี้ ยังมีการใช้เงินกองทุนฯ เพื่อจัดฝึกอบรมอาชีพอีก 129 ล้านบาท ปี 2558 มีผู้รับการฝึก 6,000 ราย เช่น โครงการเพาะเห็ด สานตะกร้า ทำขนม นวดแผนโบราณ ฯลฯ พร้อมด้วยเปิด “ศูนย์ออนไลน์” หรือตลาดอาชีพคนพิการให้ผู้พิการสามารถค้นหาอาชีพที่เหมาะสมกับตัวเองได้โดยไม่ต้องเดินทาง
“สุชาติ โอวาทวรรณสกุล” สมาคมเพื่อคนพิการทางสติปัญญาแห่งประเทศไทย เสนอความเห็นในฐานะ “คณะกรรมการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตและคนพิการแห่งชาติ” (กพช.) ว่า ประเทศไทยมีกฎหมายช่วยให้พัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการหลายฉบับโดยเฉพาะเด็กที่พิการตั้งแต่กำเนิด และปัจจุบันมีเงินสะสมให้ช่วยเหลือคนพิการไม่ต่ำกว่า 7,000 ล้านบาท จาก “กองทุนกองทุนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ” ที่ตั้งแต่ปี2550ตามมาตรา23ของพ.ร.บ.ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ
“ปัญหาคือ เงินกองทุนฯ มีข้อจำกัดในการใช้ เน้นเพื่อให้กู้ยืมเงินรายละไม่เกิน 4 หมื่นบาทเท่านั้น มีเงื่อนไขต้องมีคนค้ำประกัน ผ่อนชำระ 5 ปี ไม่มีดอกเบี้ย หรือบางครั้งก็เอาไปฝึกสอนอาชีพ จัดซ้ำๆ กันทุกปี ทั้งที่ความจริงแล้ว ควรเปิดกว้างให้เอาเงินก้อนนี้มาพัฒนาคนพิการอย่างจริงจัง โดยเฉพาะเด็กๆ ที่มีอนาคตอีกยาวไกล เช่น ให้อุปกรณ์การศึกษา อุปกรณ์ไอทีต่างๆ เพื่อส่งเสริมให้เด็กได้ฝึกฝนอาชีพที่อยากทำในอนาคต ผมอยากเสนอให้กำหนดกติการะเบียบการใช้กองทุนใหม่ เช่น บางครอบครัวสามารถฝึกตัดเย็บเสื้อผ้าครบวงจร แล้วให้ลูกช่วยติดสติกเกอร์หรือตัดด้าย ใส่ถุง ติดกระดุม ฯลฯ แต่พอทำเสร็จไม่มีที่วางขาย เพราะไม่มีเงินไปเช่าโลเกชั่นดีๆ บางครั้งห้างสรรพสินค้าจัดที่ให้แต่ก็เป็นมุมที่ไม่มีคนเดินผ่านหรือหน้าห้องน้ำไกลๆ"
สุชาติ แสดงความเห็นทิ้งท้ายว่า เงินกองทุน 7,000 ล้านบาท ขณะนี้เน้นไปที่การฝากสถาบันการเงินหรือลงทุนในสินทรัพย์ที่ไม่มีความเสี่ยง เพื่อหวังได้ดอกเบี้ยให้เงินกองทุนเพิ่มพูนขึ้นเรื่อยๆ ทั้งที่เงินก้อนนี้ควรนำมาลงทุนอย่างจริงจังเพื่อให้คนพิการได้พัฒนาตนเองมากกว่า
“อยากให้ลองทำโครงการไปเลย เช่น ปีนี้ลงทุน 3,000 ล้านบาท กระจายให้คนพิการทั่วประเทศเอาไปใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ดูว่ากลุ่มคนพิการหรือครอบครัวคนพิการได้ประโยชน์มากน้อยแค่ไหน มีตัวชี้วัดที่ชัดเจน เด็กพิการกี่หมื่นคนจะได้มีโอกาสอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน เช่น จ้างครูผู้ช่วยในโรงเรียน สนับสนุนการรวมตัวของครอบครัวคนพิการให้มีอาชีพ ที่สามารถให้คนพิการช่วยทำได้ด้วย ไม่อยากให้คิดแค่ผลกำไรจากดอกเบี้ยของกองทุน”
ล่าสุด กลุ่มรับผิดชอบร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ได้เพิ่มเติมเนื้อหาเกี่ยวข้องกับสิทธิคนพิการ โดยเฉพาะเด็กพิการไว้อย่างน้อย 3 มาตรา ถือเป็นอีกหนึ่งความหวังว่า คนพิการ 1.6 ล้านคนทั่วประเทศไทยจะได้รับสิทธิและมีโอกาสได้พัฒนาตัวเอง เพื่อดำรงชีวิตอย่างเท่าเทียมผู้อื่นในสังคมอย่างแท้จริง ไม่ได้เป็นเพียงนโยบายในแผ่นกระดาษเหมือนที่ผ่านมา...
สิทธิคนพิการใน“ร่างรธณ.ฉบับใหม่” มาตรา 34 บุคคลย่อมเสมอกันในกฎหมายและได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายเท่าเทียมกัน ชายและหญิงมีสิทธิและเสรีภาพเท่าเทียมกัน การเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อบุคคลเพราะเหตุแห่งความแตกต่างในเรื่องถิ่นกำเนิด เชื้อชาติ ภาษา เพศ เพศสภาพ อายุ ความพิการ สภาพทางกาย สุขภาพ สถานะของบุคคล ฐานะทางเศรษฐกิจหรือสังคม ความเชื่อทางศาสนา การศึกษาอบรม หรือความคิดเห็นทางการเมืองอันไม่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญจะกระทำมิได้
มาตรา 46 ครอบครัวย่อมมีสิทธิได้รับความคุ้มครองและช่วยเหลือจากรัฐให้อยู่ร่วมกันอย่างเป็นปึกแผ่นและเป็นสุข และมีมาตรฐานการดำรงชีวิตที่เหมาะสม ซึ่งรวมถึงอาหาร เครื่องนุ่งห่ม และที่อยู่อาศัย...เด็ก เยาวชน สตรี บุคคลซึ่งมีอายุเกินหกสิบปีบริบูรณ์และไม่มีรายได้เพียงพอแก่การยังชีพ และบุคคล ซึ่งพิการหรือทุพพลภาพ ย่อมมีสิทธิได้รับสวัสดิการ สิ่งอำนวยความสะดวกอันเป็นสาธารณะ และความช่วยเหลือ ที่เหมาะสมจากรัฐ
มาตรา 52...ผู้พิการหรือทุพพลภาพ ผู้ยากไร้ หรือผู้อยู่ในสภาวะยากลำบาก ต้องได้รับการสนับสนุนจากรัฐเพื่อให้ได้รับการศึกษาโดยทัดเทียมกับบุคคลอื่น…
“สิทธิคนพิการ” 1.สิทธิรับการศึกษาฟรีตั้งแต่แรกเกิดจนตลอดชีวิต 2.การรักษาพยาบาล-ฟื้นฟูร่างกายฟรี 3.สิทธิมีงานทำ 4.สิทธิการใช้ประโยชน์สาธารณะ เช่น รถเมล์ รถไฟ ฯลฯ 5.สิทธิลดหย่อนภาษีเงินได้ 6.สิทธิเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร 7.สิทธิรับเบี้ยพิการเดือนละ800บาท 8.สิทธิการใช้ล่ามภาษามือ 9.สิทธิด้านที่อยู่อาศัยรายละไม่เกิน 20,000 บาท 10.สิทธิในการไม่เลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรม 11.สิทธิได้รับคำปรึกษาทางกฎหมายและเงินประกันศาลฟรี
ขอบคุณ... http://www.komchadluek.net/detail/20150622/208427.html (ขนาดไฟล์: 167)
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
เด็กพิการขา 2 ข้างใส่ขาเทียมและฝึกเดิน ปัจจุบันไทยมีคนพิการลงทะเบียนทั้งหมด 1.66 ล้านคน ส่วนใหญ่เป็นความบกพร่องทางร่างกายและการเคลื่อนไหวมากถึงร้อยละ 48 จำนวน 8 แสนคน อันดับ 2 ด้านการได้ยินหรือสื่อความหมาย ร้อยละ 16 จำนวน 2.7 แสนคน และอันดับ 3 ด้านการมองเห็น ร้อยละ 11 หรือประมาณ 1.8 แสนคน อยู่ในกลุ่มผู้สูงอายุมากที่สุด สำหรับกลุ่มคนพิการตั้งแต่กำเนิดร้อยละ 8.4 ประมาณ 1.4 แสนคน ข้อมูลจากกรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พบว่า ส่วนใหญ่คนพิการกว่าครึ่งหนึ่งไม่ได้เรียนหนังสือ และหากได้เรียนหนังสือก็จบเพียงชั้นประถมศึกษาร้อยละ 42 ผู้จบระดับปริญญาตรีมีเพียง 1 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น ปัญหาเด็กพิการไม่ได้เรียนหนังสือนั้น เนื่องจากการเดินทางไปโรงเรียนเป็นไปด้วยความยากลำบาก โดยเฉพาะในต่างจังหวัด แม้ว่าประเทศไทยจะมี “พระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ”ตั้งแต่ปี2550และปรับปรุงเพิ่มเติมปี2556ที่กำหนดไว้ในมาตรา20สรุปใจความได้ว่า “ให้มีสถานศึกษาเฉพาะ หรือสถานศึกษาทั่วไปที่เหมาะสม หรือการศึกษาทางเลือก หรือการศึกษานอกระบบ โดยให้หน่วยงานที่รับผิดชอบอำนวยความสะดวก สื่อ บริการและความช่วยเหลืออื่นใดทางการศึกษาสำหรับคนพิการ” แต่ข้อเท็จจริงนั้น เด็กพิการส่วนใหญ่เข้าไม่ถึงระบบการศึกษา โดยเฉพาะครอบครัวที่อาศัยอยู่ต่างจังหวัดตามที่กฎหมายกำหนดไว้ หลายคนจึงมีความหวังว่ารัฐธรรมนูญฉบับใหม่จะช่วยให้คนพิการมีโอกาสดีขึ้นโดยใช้เงินกองทุนสำหรับคนพิการที่สะสมได้มากถึง7,000ล้านบาท พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงมนุษย์ ให้ข้อมูลว่า ที่ผ่านมารัฐบาลได้ผลักดันนโยบายเงินอุดหนุนคนพิการรายเดือนเพิ่มจาก 500 เป็น 800 บาท แม้ว่ายังไม่ได้ครบทั่วประเทศ เพราะยังติดปัญหาเรื่องการเบิกจ่าย แต่อีกไม่กี่เดือนคนพิการจะได้ 800 บาทอย่างแน่นอน สำหรับปัญหาเด็กพิการไม่ค่อยได้ไปโรงเรียนนั้น พล.ต.อ.อดุลย์ ยอมรับว่า เป็นเพราะการเดินทางไม่สะดวก โดยกระทรวงกำลังมีโครงการส่งเสริมให้คนพิการออกจากบ้าน และเพิ่มสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ โดยเฉพาะเส้นทางการเดินเท้า การสร้างทางลาดขึ้นลงเรือหรือท่าเรือ ส่วนรถโดยสารประจำทางได้ร่วมมือกับ กทม.และกระทรวงคมนาคม กระทรวงมหาดไทย เทศบาล รวมถึงมหาวิทยาลัยกว่า 10 แห่ง ให้ช่วยออกแบบเส้นทางให้คนพิการเดินทางได้สะดวก “มีโครงการนำร่องในพื้นที่เกาะเกร็ด แล้วขยายไปอีก 6 จังหวัดรอบนอกกรุงเทพฯ กำลังจัดหารถเมล์ชานต่ำให้รองรับคนพิการขึ้นลงได้สะดวก ปีนี้จะมีมาประมาณ 400 คัน พร้องกับปรับเส้นทางการเดินรถเมล์ 20 สาย เพิ่มป้ายสัญลักษณ์คนพิการ 1,000 จุด ปรับปรุงสะพานทางเดินสำหรับคนพิการ 11 แห่งขึ้นลงสะดวก และต่อยอดไปถึงแท็กซี่สำหรับคนพิการและผู้สูงอายุด้วย เหมือนที่ประเทศอังกฤษ สามารถเข็นรถวีลแชร์ขึ้นแท็กซี่ได้เลย นอกจากนี้ยังมีเงินให้ปรับปรุงบ้านคนพิการ โดยเฉพาะพื้นบ้านและห้องน้ำ ตั้งเป้าหมายปีนี้ 2,498 หลัง ประมาณหลังละ 2 หมื่นบาท ใช้งบประมาณ 40 ล้านบาท" พล.ต.อ.อดุลย์ กล่าว นอกจากนี้ ยังมีการใช้เงินกองทุนฯ เพื่อจัดฝึกอบรมอาชีพอีก 129 ล้านบาท ปี 2558 มีผู้รับการฝึก 6,000 ราย เช่น โครงการเพาะเห็ด สานตะกร้า ทำขนม นวดแผนโบราณ ฯลฯ พร้อมด้วยเปิด “ศูนย์ออนไลน์” หรือตลาดอาชีพคนพิการให้ผู้พิการสามารถค้นหาอาชีพที่เหมาะสมกับตัวเองได้โดยไม่ต้องเดินทาง “สุชาติ โอวาทวรรณสกุล” สมาคมเพื่อคนพิการทางสติปัญญาแห่งประเทศไทย เสนอความเห็นในฐานะ “คณะกรรมการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตและคนพิการแห่งชาติ” (กพช.) ว่า ประเทศไทยมีกฎหมายช่วยให้พัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการหลายฉบับโดยเฉพาะเด็กที่พิการตั้งแต่กำเนิด และปัจจุบันมีเงินสะสมให้ช่วยเหลือคนพิการไม่ต่ำกว่า 7,000 ล้านบาท จาก “กองทุนกองทุนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ” ที่ตั้งแต่ปี2550ตามมาตรา23ของพ.ร.บ.ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ “ปัญหาคือ เงินกองทุนฯ มีข้อจำกัดในการใช้ เน้นเพื่อให้กู้ยืมเงินรายละไม่เกิน 4 หมื่นบาทเท่านั้น มีเงื่อนไขต้องมีคนค้ำประกัน ผ่อนชำระ 5 ปี ไม่มีดอกเบี้ย หรือบางครั้งก็เอาไปฝึกสอนอาชีพ จัดซ้ำๆ กันทุกปี ทั้งที่ความจริงแล้ว ควรเปิดกว้างให้เอาเงินก้อนนี้มาพัฒนาคนพิการอย่างจริงจัง โดยเฉพาะเด็กๆ ที่มีอนาคตอีกยาวไกล เช่น ให้อุปกรณ์การศึกษา อุปกรณ์ไอทีต่างๆ เพื่อส่งเสริมให้เด็กได้ฝึกฝนอาชีพที่อยากทำในอนาคต ผมอยากเสนอให้กำหนดกติการะเบียบการใช้กองทุนใหม่ เช่น บางครอบครัวสามารถฝึกตัดเย็บเสื้อผ้าครบวงจร แล้วให้ลูกช่วยติดสติกเกอร์หรือตัดด้าย ใส่ถุง ติดกระดุม ฯลฯ แต่พอทำเสร็จไม่มีที่วางขาย เพราะไม่มีเงินไปเช่าโลเกชั่นดีๆ บางครั้งห้างสรรพสินค้าจัดที่ให้แต่ก็เป็นมุมที่ไม่มีคนเดินผ่านหรือหน้าห้องน้ำไกลๆ" สุชาติ แสดงความเห็นทิ้งท้ายว่า เงินกองทุน 7,000 ล้านบาท ขณะนี้เน้นไปที่การฝากสถาบันการเงินหรือลงทุนในสินทรัพย์ที่ไม่มีความเสี่ยง เพื่อหวังได้ดอกเบี้ยให้เงินกองทุนเพิ่มพูนขึ้นเรื่อยๆ ทั้งที่เงินก้อนนี้ควรนำมาลงทุนอย่างจริงจังเพื่อให้คนพิการได้พัฒนาตนเองมากกว่า “อยากให้ลองทำโครงการไปเลย เช่น ปีนี้ลงทุน 3,000 ล้านบาท กระจายให้คนพิการทั่วประเทศเอาไปใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ดูว่ากลุ่มคนพิการหรือครอบครัวคนพิการได้ประโยชน์มากน้อยแค่ไหน มีตัวชี้วัดที่ชัดเจน เด็กพิการกี่หมื่นคนจะได้มีโอกาสอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน เช่น จ้างครูผู้ช่วยในโรงเรียน สนับสนุนการรวมตัวของครอบครัวคนพิการให้มีอาชีพ ที่สามารถให้คนพิการช่วยทำได้ด้วย ไม่อยากให้คิดแค่ผลกำไรจากดอกเบี้ยของกองทุน” ล่าสุด กลุ่มรับผิดชอบร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ได้เพิ่มเติมเนื้อหาเกี่ยวข้องกับสิทธิคนพิการ โดยเฉพาะเด็กพิการไว้อย่างน้อย 3 มาตรา ถือเป็นอีกหนึ่งความหวังว่า คนพิการ 1.6 ล้านคนทั่วประเทศไทยจะได้รับสิทธิและมีโอกาสได้พัฒนาตัวเอง เพื่อดำรงชีวิตอย่างเท่าเทียมผู้อื่นในสังคมอย่างแท้จริง ไม่ได้เป็นเพียงนโยบายในแผ่นกระดาษเหมือนที่ผ่านมา... สิทธิคนพิการใน“ร่างรธณ.ฉบับใหม่” มาตรา 34 บุคคลย่อมเสมอกันในกฎหมายและได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายเท่าเทียมกัน ชายและหญิงมีสิทธิและเสรีภาพเท่าเทียมกัน การเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อบุคคลเพราะเหตุแห่งความแตกต่างในเรื่องถิ่นกำเนิด เชื้อชาติ ภาษา เพศ เพศสภาพ อายุ ความพิการ สภาพทางกาย สุขภาพ สถานะของบุคคล ฐานะทางเศรษฐกิจหรือสังคม ความเชื่อทางศาสนา การศึกษาอบรม หรือความคิดเห็นทางการเมืองอันไม่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญจะกระทำมิได้ มาตรา 46 ครอบครัวย่อมมีสิทธิได้รับความคุ้มครองและช่วยเหลือจากรัฐให้อยู่ร่วมกันอย่างเป็นปึกแผ่นและเป็นสุข และมีมาตรฐานการดำรงชีวิตที่เหมาะสม ซึ่งรวมถึงอาหาร เครื่องนุ่งห่ม และที่อยู่อาศัย...เด็ก เยาวชน สตรี บุคคลซึ่งมีอายุเกินหกสิบปีบริบูรณ์และไม่มีรายได้เพียงพอแก่การยังชีพ และบุคคล ซึ่งพิการหรือทุพพลภาพ ย่อมมีสิทธิได้รับสวัสดิการ สิ่งอำนวยความสะดวกอันเป็นสาธารณะ และความช่วยเหลือ ที่เหมาะสมจากรัฐ มาตรา 52...ผู้พิการหรือทุพพลภาพ ผู้ยากไร้ หรือผู้อยู่ในสภาวะยากลำบาก ต้องได้รับการสนับสนุนจากรัฐเพื่อให้ได้รับการศึกษาโดยทัดเทียมกับบุคคลอื่น… “สิทธิคนพิการ” 1.สิทธิรับการศึกษาฟรีตั้งแต่แรกเกิดจนตลอดชีวิต 2.การรักษาพยาบาล-ฟื้นฟูร่างกายฟรี 3.สิทธิมีงานทำ 4.สิทธิการใช้ประโยชน์สาธารณะ เช่น รถเมล์ รถไฟ ฯลฯ 5.สิทธิลดหย่อนภาษีเงินได้ 6.สิทธิเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร 7.สิทธิรับเบี้ยพิการเดือนละ800บาท 8.สิทธิการใช้ล่ามภาษามือ 9.สิทธิด้านที่อยู่อาศัยรายละไม่เกิน 20,000 บาท 10.สิทธิในการไม่เลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรม 11.สิทธิได้รับคำปรึกษาทางกฎหมายและเงินประกันศาลฟรี ขอบคุณ... http://www.komchadluek.net/detail/20150622/208427.html
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)