ร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ส่งเสริมอารยสถาปัตย์ ขจัดความเหลื่อมล้ำในสังคม
คอลัมน์ กฤษนะทัวร์ยกล้อ โดย... กฤษนะ ละไล : สัปดาห์นี้ ผมขอบันทึกประวัติศาสตร์การต่อสู้เพื่อสิทธิเสรีภาพ และความเสมอภาคในสังคมของผู้พิการ ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยพักฟื้น ตำรวจทหารผ่านศึก เมื่อช่วงเช้าวันที่ 17 มิถุนายน ท่ามกลางสายฝนพรำ เย็นฉ่ำชื่นใจในกรุงเทพมหานคร กลุ่มภาคีเครือข่ายจิตอาสา เพื่อนคนพิการ ผู้สูงอายุ และเยาวชนทูตอารยสถาปัตย์ ได้พากันเดินทางฝ่าสายฝนและการจราจรที่ติดขัดไปยังรัฐสภา ด้านหลังพระที่นั่งอนันตสมาคมที่สวยสง่าอลังการ เพื่อยื่นแถลงการณ์และให้กำลังใจ ศ.ดร.บวรศักดิ์ อุวรรณโณ ประธานคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ รองประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) และคณะ
ในแถลงการณ์ที่ภาคีเครือข่ายเพื่อนคนพิการและเยาวชนทูตอารยสถาปัตย์ทำวันนี้ เพื่อสังคมที่ดีในวันข้างหน้า ยื่นต่อประธานคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ และรองประธาน สปช.นั้น ได้กล่าวถึงสภาพสังคมไทยที่ถูกออกแบบให้เกิดความเหลื่อมล้ำ ส่งผลให้ผู้สูงอายุ ผู้พิการ ผู้ป่วยพักฟื้น สตรีมีครรภ์ และเด็กเล็ก ประสบปัญหาอย่างมากในการเข้าไม่ถึงและใช้ประโยชน์ไม่ได้ในตึกอาคาร สถานที่ ระบบขนส่งมวลชน บริการสาธารณะ ตลอดจนบริการข้อมูลข่าวสารต่างๆ จึงก่อให้เกิดปัญหาสภาพแวดล้อมที่พิการ กีดกันและลิดรอนสิทธิความเสมอภาคเท่าเทียมและการอยู่ร่วมกันของพลเมืองอย่างผาสุก
“จึงเป็นที่น่ายินดียิ่งที่คณะกรรมาธิการยกร่าง มีวิสัยทัศน์กว้างไกล คำนึงถึงหลักสิทธิเสรีภาพและความเสมอภาค เคารพเกียรติศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ได้ตระหนักและเล็งเห็นคุณค่าความสำคัญในเรื่องนี้ จึงได้บรรจุคำว่า “อารยสถาปัตย์” (Friendly Design) ซึ่งหมายถึงหลักการออกแบบที่มีความเป็นสากล คำนึงถึงสิทธิเสรีภาพ และความเสมอภาคเท่าเทียมในการเข้าถึงบริการข้อมูลข่าวสาร ผลิตภัณฑ์ ตึกอาคาร สถานที่ บริการสาธารณะ ระบบขนส่งมวลชน ที่ทำให้ทุกคน ทุกเพศ ทุกวัย ทุกประเภทความพิการ สามารถเข้าถึงได้ ใช้ประโยชน์ได้ โดยสะดวก ปลอดภัย และเป็นมิตรไมตรี ไว้ในร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ในมาตรา 295 (2) อันเป็นสาระสำคัญที่จะนำไปสู่ “สังคมที่เป็นธรรม” และ “การสร้างพลเมืองให้เป็นใหญ่” นี่คือเนื้อหาส่วนหนึ่งในแถลงการณ์ที่ตัวแทนภาคีเครือข่ายเพื่อนคนพิการยื่นต่อประธานคณะกรรมาธิการยกร่างในวันนั้น
ในช่วงท้ายของแถลงการณ์ยังได้ยืนยันความถูกต้องดีงามของหลักการออกแบบที่จะช่วยทำให้ ทุกคน ทุกเพศ ทุกวัย ทุกประเภทความพิการ สามารถเข้าถึง และใช้ประโยชน์ได้ โดยสะดวก ปลอดภัย ทันสมัย เป็นธรรม ทั่วถึง เท่าเทียม ทั่วไทย อีกทั้งยังขอความร่วมมือไปยังทุกภาคส่วนในสังคมให้เห็นความสำคัญจำเป็นของอารยสถาปัตย์ที่จะช่วยขจัดความเหลื่อมล้ำในสังคม นำสังคมไทยสู่สังคมอารยะที่เห็นคุณค่าในสิทธิมนุษยชน เป็นสังคมวิถีไทยที่มีความเป็นสากลและเสริมศักยภาพการท่องเที่ยวเพื่อคนทั้งมวลในระดับโลก เพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจและสร้างรายได้ให้แก่คนไทยมากขึ้นอีกทางหนึ่ง
ด้าน ศ.ดร.บวรศักดิ์ อุวรรณโณ ประธานคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ได้กล่าวถึงคำว่า "อารยสถาปัตย์" ในร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ว่า “อารยสถาปัตย์” กับ “พลเมือง” มีลักษณะคล้ายกัน คือ ไม่ใช่วาทกรรม เพียงเพื่อให้ดูเท่ หรือ เก๋ แต่ 2 คำนี้ บอกนัยสำคัญที่จะต้องมีการเปลี่ยนแปลงในความคิดและการกระทำในชาติบ้านเมืองของเรา
“อารยสถาปัตย์ คือการเปลี่ยนความคิด สังคมไทยเป็นเมืองพุทธ แต่คนจำนวนหนึ่งกลับมองว่าคนพิการและคนแก่ควรอยู่บ้านเฉยๆ ไม่ควรออกจากบ้านไปไหน หากเจอพวกเขาออกมาเดินข้างนอก ก็พูดอีกว่าไม่เจียมตัว ยังจะออกมาเดินเหมือนคนอื่น ซึ่งเป็นความคิดที่ไม่มีมนุษยธรรม ซึ่งฝรั่งกลับเห็นว่าคนเหล่านี้ก็มีเกียรติศักดิ์ศรีความเป็นคนเท่ากับคนปกติทุกอย่าง เราจึงต้องพยายามช่วยกันทำให้เขาใช้ชีวิตได้เหมือนคนปกติ เราจึงควรออกแบบตึกอาคารและสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ สำหรับผู้สูงอายุ และผู้พิการ อย่าไปคิดแบบมองไม่เห็นความทุกข์ของคนอื่น”
“พลเมือง คือ สำนึกของประชาชน สำนึกของพลเมือง ต้องรู้หน้าที่ รักสิทธิ์ มีจิตสาธารณะ มีส่วนร่วมที่เหมาะสม ดังนั้นคำว่าอารยสถาปัตย์กับพลเมือง จึงเป็นการบอกสังคมว่าเราควรเปลี่ยนวิธีคิดวิธีทำได้แล้ว คำว่า “อารยสถาปัตย์” ไม่ใช่วาทกรรมว่างเปล่า แต่เป็นการส่งสารถึงสังคมไทยและคนไทยทุกคนว่า มนุษย์ทุกคนไม่ว่าสภาพร่างกายจะเป็นอย่างไรก็เป็นมนุษย์เหมือนกัน เมื่อเราต้องการไปเที่ยว เขาก็ต้องการไปเที่ยวเหมือนกัน เมื่อเราต้องการไปดู เขาก็ต้องการไปดูเหมือนกัน เพียงแต่เขาไม่ได้โชคดีเท่าเรา ผมขอยืนยันว่ารัฐธรรมนูญฉบับใหม่จะเป็นรัฐธรรมนูญมนุษยนิยม ไม่ใช่อำนาจนิยม” ศ.ดร.บวรศักดิ์ ร่ายยาวเพื่อส่งสารไปถึงทุกคนในสังคมให้ได้ตระหนักถึงคุณค่า และความหมายของคำว่าอารยสถาปัตย์
ขอกราบขอบคุณคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญทั้ง 36 ท่านอีกครั้ง ตลอดจนทุกท่าน ทุกองค์กร ทุกภาคส่วนในสังคมที่ได้ตระหนักและเข้าใจดีว่าประเทศไทยถึงเวลาต้องเปลี่ยนแปลงแล้ว ร่วมกันแก้ไขปัญหาสภาพแวดล้อมพิการ สนับสนุนร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ส่งเสริมอารยสถาปัตย์ ขจัดความเหลื่อมล้ำในสังคมครับ
ขอบคุณ... http://www.komchadluek.net/detail/20150622/208416.html (ขนาดไฟล์: 167)
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
กฤษนะ ละไล พร้อมกลุ่มภาคีเครือข่ายจิตอาสา เพื่อนคนพิการ ผู้สูงอายุ และเยาวชนทูตอารยสถาปัตย์ คอลัมน์ กฤษนะทัวร์ยกล้อ โดย... กฤษนะ ละไล : สัปดาห์นี้ ผมขอบันทึกประวัติศาสตร์การต่อสู้เพื่อสิทธิเสรีภาพ และความเสมอภาคในสังคมของผู้พิการ ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยพักฟื้น ตำรวจทหารผ่านศึก เมื่อช่วงเช้าวันที่ 17 มิถุนายน ท่ามกลางสายฝนพรำ เย็นฉ่ำชื่นใจในกรุงเทพมหานคร กลุ่มภาคีเครือข่ายจิตอาสา เพื่อนคนพิการ ผู้สูงอายุ และเยาวชนทูตอารยสถาปัตย์ ได้พากันเดินทางฝ่าสายฝนและการจราจรที่ติดขัดไปยังรัฐสภา ด้านหลังพระที่นั่งอนันตสมาคมที่สวยสง่าอลังการ เพื่อยื่นแถลงการณ์และให้กำลังใจ ศ.ดร.บวรศักดิ์ อุวรรณโณ ประธานคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ รองประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) และคณะ ในแถลงการณ์ที่ภาคีเครือข่ายเพื่อนคนพิการและเยาวชนทูตอารยสถาปัตย์ทำวันนี้ เพื่อสังคมที่ดีในวันข้างหน้า ยื่นต่อประธานคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ และรองประธาน สปช.นั้น ได้กล่าวถึงสภาพสังคมไทยที่ถูกออกแบบให้เกิดความเหลื่อมล้ำ ส่งผลให้ผู้สูงอายุ ผู้พิการ ผู้ป่วยพักฟื้น สตรีมีครรภ์ และเด็กเล็ก ประสบปัญหาอย่างมากในการเข้าไม่ถึงและใช้ประโยชน์ไม่ได้ในตึกอาคาร สถานที่ ระบบขนส่งมวลชน บริการสาธารณะ ตลอดจนบริการข้อมูลข่าวสารต่างๆ จึงก่อให้เกิดปัญหาสภาพแวดล้อมที่พิการ กีดกันและลิดรอนสิทธิความเสมอภาคเท่าเทียมและการอยู่ร่วมกันของพลเมืองอย่างผาสุก กฤษนะ ละไล พร้อมกลุ่มภาคีเครือข่ายจิตอาสา เพื่อนคนพิการ ผู้สูงอายุ และเยาวชนทูตอารยสถาปัตย์ “จึงเป็นที่น่ายินดียิ่งที่คณะกรรมาธิการยกร่าง มีวิสัยทัศน์กว้างไกล คำนึงถึงหลักสิทธิเสรีภาพและความเสมอภาค เคารพเกียรติศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ได้ตระหนักและเล็งเห็นคุณค่าความสำคัญในเรื่องนี้ จึงได้บรรจุคำว่า “อารยสถาปัตย์” (Friendly Design) ซึ่งหมายถึงหลักการออกแบบที่มีความเป็นสากล คำนึงถึงสิทธิเสรีภาพ และความเสมอภาคเท่าเทียมในการเข้าถึงบริการข้อมูลข่าวสาร ผลิตภัณฑ์ ตึกอาคาร สถานที่ บริการสาธารณะ ระบบขนส่งมวลชน ที่ทำให้ทุกคน ทุกเพศ ทุกวัย ทุกประเภทความพิการ สามารถเข้าถึงได้ ใช้ประโยชน์ได้ โดยสะดวก ปลอดภัย และเป็นมิตรไมตรี ไว้ในร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ในมาตรา 295 (2) อันเป็นสาระสำคัญที่จะนำไปสู่ “สังคมที่เป็นธรรม” และ “การสร้างพลเมืองให้เป็นใหญ่” นี่คือเนื้อหาส่วนหนึ่งในแถลงการณ์ที่ตัวแทนภาคีเครือข่ายเพื่อนคนพิการยื่นต่อประธานคณะกรรมาธิการยกร่างในวันนั้น ในช่วงท้ายของแถลงการณ์ยังได้ยืนยันความถูกต้องดีงามของหลักการออกแบบที่จะช่วยทำให้ ทุกคน ทุกเพศ ทุกวัย ทุกประเภทความพิการ สามารถเข้าถึง และใช้ประโยชน์ได้ โดยสะดวก ปลอดภัย ทันสมัย เป็นธรรม ทั่วถึง เท่าเทียม ทั่วไทย อีกทั้งยังขอความร่วมมือไปยังทุกภาคส่วนในสังคมให้เห็นความสำคัญจำเป็นของอารยสถาปัตย์ที่จะช่วยขจัดความเหลื่อมล้ำในสังคม นำสังคมไทยสู่สังคมอารยะที่เห็นคุณค่าในสิทธิมนุษยชน เป็นสังคมวิถีไทยที่มีความเป็นสากลและเสริมศักยภาพการท่องเที่ยวเพื่อคนทั้งมวลในระดับโลก เพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจและสร้างรายได้ให้แก่คนไทยมากขึ้นอีกทางหนึ่ง ด้าน ศ.ดร.บวรศักดิ์ อุวรรณโณ ประธานคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ได้กล่าวถึงคำว่า "อารยสถาปัตย์" ในร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ว่า “อารยสถาปัตย์” กับ “พลเมือง” มีลักษณะคล้ายกัน คือ ไม่ใช่วาทกรรม เพียงเพื่อให้ดูเท่ หรือ เก๋ แต่ 2 คำนี้ บอกนัยสำคัญที่จะต้องมีการเปลี่ยนแปลงในความคิดและการกระทำในชาติบ้านเมืองของเรา “อารยสถาปัตย์ คือการเปลี่ยนความคิด สังคมไทยเป็นเมืองพุทธ แต่คนจำนวนหนึ่งกลับมองว่าคนพิการและคนแก่ควรอยู่บ้านเฉยๆ ไม่ควรออกจากบ้านไปไหน หากเจอพวกเขาออกมาเดินข้างนอก ก็พูดอีกว่าไม่เจียมตัว ยังจะออกมาเดินเหมือนคนอื่น ซึ่งเป็นความคิดที่ไม่มีมนุษยธรรม ซึ่งฝรั่งกลับเห็นว่าคนเหล่านี้ก็มีเกียรติศักดิ์ศรีความเป็นคนเท่ากับคนปกติทุกอย่าง เราจึงต้องพยายามช่วยกันทำให้เขาใช้ชีวิตได้เหมือนคนปกติ เราจึงควรออกแบบตึกอาคารและสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ สำหรับผู้สูงอายุ และผู้พิการ อย่าไปคิดแบบมองไม่เห็นความทุกข์ของคนอื่น” กฤษนะ ละไล พร้อมกลุ่มภาคีเครือข่ายจิตอาสา เพื่อนคนพิการ ผู้สูงอายุ และเยาวชนทูตอารยสถาปัตย์ “พลเมือง คือ สำนึกของประชาชน สำนึกของพลเมือง ต้องรู้หน้าที่ รักสิทธิ์ มีจิตสาธารณะ มีส่วนร่วมที่เหมาะสม ดังนั้นคำว่าอารยสถาปัตย์กับพลเมือง จึงเป็นการบอกสังคมว่าเราควรเปลี่ยนวิธีคิดวิธีทำได้แล้ว คำว่า “อารยสถาปัตย์” ไม่ใช่วาทกรรมว่างเปล่า แต่เป็นการส่งสารถึงสังคมไทยและคนไทยทุกคนว่า มนุษย์ทุกคนไม่ว่าสภาพร่างกายจะเป็นอย่างไรก็เป็นมนุษย์เหมือนกัน เมื่อเราต้องการไปเที่ยว เขาก็ต้องการไปเที่ยวเหมือนกัน เมื่อเราต้องการไปดู เขาก็ต้องการไปดูเหมือนกัน เพียงแต่เขาไม่ได้โชคดีเท่าเรา ผมขอยืนยันว่ารัฐธรรมนูญฉบับใหม่จะเป็นรัฐธรรมนูญมนุษยนิยม ไม่ใช่อำนาจนิยม” ศ.ดร.บวรศักดิ์ ร่ายยาวเพื่อส่งสารไปถึงทุกคนในสังคมให้ได้ตระหนักถึงคุณค่า และความหมายของคำว่าอารยสถาปัตย์ ขอกราบขอบคุณคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญทั้ง 36 ท่านอีกครั้ง ตลอดจนทุกท่าน ทุกองค์กร ทุกภาคส่วนในสังคมที่ได้ตระหนักและเข้าใจดีว่าประเทศไทยถึงเวลาต้องเปลี่ยนแปลงแล้ว ร่วมกันแก้ไขปัญหาสภาพแวดล้อมพิการ สนับสนุนร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ส่งเสริมอารยสถาปัตย์ ขจัดความเหลื่อมล้ำในสังคมครับ ขอบคุณ... http://www.komchadluek.net/detail/20150622/208416.html
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)