'The guidelight' เพื่อนช่วยเรียนของคนตาบอด
“The guidelight” พื้นที่ช่วยกันเรียนของเพื่อนตาดีและเพื่อนตาบอด ให้ใช้ใจอาสาและการแบ่งปัน เพื่อประสบความสำเร็จในการเรียนไปด้วยกัน
ตำราเรียนเล่มโตไม่มีเสียง ชีทเลคเชอร์ดีๆ ก็คงไม่มีใครแปลเป็นอักษรเบรลล์ให้อ่าน บางครั้งได้หนังสือมา 7 วันก่อนสอบ ถามว่าจะอ่านจะเก็งกันทันไหม นี่คืออุปสรรคสำคัญในการเรียนมหาวิทยาลัยของน้องๆ ผู้พิการทางสายตา ที่จุดประกายให้ “จูน-เมธาวี ทัศนาเสถียรกิจ”อดีตนิสิตนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ วัย 24 ปี คิดก่อตั้ง “The guidelight” (เดอะไกด์ไลท์) ขึ้น เพื่อช่วยเพื่อนตาบอดให้ประสบความสำเร็จในการเรียน
ระหว่างเรียนกฎหมาย เธอช่วยอ่านชีทและตำราเรียนให้เพื่อนตาบอดได้ฟังก่อนสอบ สิ่งเล็กๆ ที่ทำในตอนนั้น ช่วยให้ “นิว-นุวัตร ตาตุ” นิสิตปริญญาโทผู้พิการทางสายตาที่ฝันอยากเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัยสามารถเรียนจบได้
“วันที่สอบผ่าน พี่นิวโทรมาหา บอกว่า พี่โทรหาพ่อ หาแม่ แล้วโทรหาจูนเป็นคนที่สามเลยนะ พี่อยากให้จูนรู้ว่า จูนทำให้พี่เข้าใกล้ความฝันมากขึ้น ถ้าไม่มีจูนพี่ก็คงไม่เข้าใกล้ความฝันขนาดนี้ วันนั้นรู้สึกขนลุก คิดว่าชีวิตเรามีค่ากับคนอื่นขนาดนี้เลยเหรอ เลยเป็นแรงบันดาลใจว่า คงต้องลงมือทำอะไรสักอย่างเสียที เพื่อช่วยเพื่อนตาบอดและคนอื่นๆ” แต่คนตัวเล็ก มีแค่ความฝัน เธอจะไปทำอะไรได้ จูนเลยตัดสินใจไปลงเรียนหลักสูตรผู้ประกอบการทางสังคม ที่มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว) แล้วหอบเอาความฝันไปให้เหล่าผู้เชี่ยวชาญได้ร่วมกันก่อประกอบ
การได้ลงเรียนวิชากิจการเพื่อสังคมกับรุ่นพี่ มูลนิธิอโชก้า สอนให้เธอรู้จักการ “ขุดปัญหา” เธอได้เรียนรู้ว่า โครงการเพื่อสังคมไหนที่เกิดจากการมโนขึ้นเองว่านั่นคือปัญหา โครงการนั้นจะเกิดและโตไม่ได้ หรือแม้โตได้ก็จะตายในที่สุด นั่นเองที่ทำให้เธอเริ่มทำวิจัยอย่างจริงจัง ทั้งหาข้อมูล และสอบถามผู้คน เพื่อให้เข้าใจปัญหาของคนตาบอดมากขึ้น
ในตอนแรกก็คิดแบบเด็กใจร้อนที่แค่อยากให้โครงการเกิดขึ้นเร็วๆ เลยคิดทำทริปที่ให้คนตาบอดนำคนตาดีเที่ยว ทว่าความฝันแบบโลกสวยก็แตกสลาย เมื่อได้เจอกูรูจากกิจกรรม HelpDesk โปรแกรมช่วยให้คำปรึกษาสำหรับคนเริ่มทำกิจการเพื่อสังคมของ School of Changemakers คนมีประสบการณ์มากกว่าบอกเธอว่า สิ่งที่ทำดูวุ่นวายและเป็นไปได้ยาก เลยให้ลองเล่าเหตุผลที่อยากทำกิจการเพื่อสังคมเพื่อคนตาบอดอีกครั้ง..
“ในตอนนั้น คีย์เวิร์ดที่จูนพูดถึงมากที่สุดคือ เพื่อนตาบอด เรียนหนังสือ และเรียนจบ พี่เขาเลยบอกว่า ทำไมไม่ทำเรื่องการศึกษาให้เด็กตาบอดเรียนจบล่ะ ในเมื่อมีความต้องการอยู่ และยังไม่มีคนทำ ที่สำคัญจูนเป็นคนนั้นที่รู้แล้วว่าทำอย่างไรให้เด็กตาบอดเรียนจบได้ ครบทั้ง 3 องค์ประกอบ คือ ปัญหามีอยู่จริง ยังไม่มีใครทำ และจูนก็มีสกิลตรงนั้น”
คำแนะนำในตอนนั้นเปิดโลกที่มืดมิดของเธอให้สว่างไสวขึ้น จนได้ผลผลิตจากความฝันที่ชื่อ “The guidelight” พื้นที่ช่วยกันเรียนของเพื่อนตาดีและเพื่อนตาบอด แพลทฟอร์มออนไลน์ เว็บไซต์ The guidelight http://theguide-light.com/ ที่รวบรวมสื่อการเรียนให้กับนักศึกษาตาบอด โดยเปิดพื้นที่ให้อาสาสมัครตาดีมาช่วยกันพิมพ์ตำราเรียน เอกสารประกอบการเรียนและตัวอย่างข้อสอบกันคนละ 5 หน้า พอพิมพ์เสร็จก็จะมีโปรแกรมช่วยแปลงเนื้อหานั้นให้เป็นไฟล์เสียง เพื่อให้นิสิตตาบอดได้ฟัง “จากเดิมที่เขาได้หนังสือ 7 วันก่อนสอบ หรือหลายๆ เดือน กว่าจะได้ ตอนนี้แค่ 1-2 สัปดาห์ เด็กตาบอดก็ได้หนังสือครบแล้ว ซึ่งการได้หนังสือเร็วก็แปลว่า เขามีเวลามากขึ้น และมีสิทธิที่จะสอบผ่านได้มากขึ้นด้วย” เธอบอกผลลัพธ์
พอได้ลงมือทำอย่างจริงจัง และมุ่งมั่นจนทุกคนมองเห็น จากการทำงานแบบโดดเดี่ยว ก็เริ่มมีผู้คนมากมายยื่นมือเข้ามาช่วยเหลือ อย่าง มูลนิธิอโชก้าที่เป็นทั้งโค้ชและผู้สนับสนุนทางด้านการเงิน มีรุ่นพี่ที่เขียนเว็บไซต์ให้ในราคาที่ถูกกว่าอัตราปกติ มีอาจารย์นักการตลาดแห่งศศินทร์ อย่าง “กฤตินี ณัฎฐวุฒิสิทธิ์” มาช่วยเป็นที่ปรึกษาให้ กับความช่วยเหลืออีกนานัป ที่ช่วยสร้างความมั่นใจให้กับเธอ และก่อประกอบฝันให้เป็นรูปร่างขึ้นอย่างรวดเร็ว
“ช่วงเดือนแรกที่เปิดเว็บไซต์ และต้องการอาสาอย่างจริงจัง ปรากฏว่ามีคนเข้ามาสมัครและช่วยกันแชร์เรื่องของเราไปเยอะมาก จนภายใน 2 เดือนมีอาสาถึง 350 คน ที่มาช่วยกันพิมพ์อย่างสม่ำเสมอ ส่วนหนึ่งยังพิมพ์ข้อความมาให้กำลังใจกันอีกด้วย”
และนั่นคือกำลังใจชั้นดี ให้คนทำงานไม่ทดท้อหรือหมดใจ ยิ่งได้เห็นว่า The guidelight มีประโยชน์กับคนหลายกลุ่มไม่ใช่แค่น้องๆ ผู้พิการทางสายตาเท่านั้น จูนเล่าว่า ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของ The guidelight มีตั้งแต่นิสิตตาบอดที่จะได้ประโยชน์จากสื่อการเรียนมีเสียงซึ่งปัจจุบันเริ่มที่หลักสูตรของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ แต่อนาคตจะขยายไปที่มหาวิทยาลัยรามคำแหง และสวนดุสิตต่อไป ซึ่งเป็นสถาบันที่มีการสอนน้องๆ ตาบอดเช่นเดียวกัน
กลุ่มที่สองคือ เหล่าอาสาสมัครที่มาช่วยกันพิมพ์ข้อมูล ซึ่งส่วนใหญ่เป็นคนในวัยทำงานที่มีใจอาสาอยากทำอะไรเพื่อสังคม คนเหล่านี้ก็จะได้ความอิ่มเอมใจกลับไปเต็มที่ กลุ่มที่สามคือ เด็กเรียนที่ทำชีทมาแชร์ให้กับเพื่อนๆ ใน The guidelight นอกจากจะได้เครดิต ได้ความภูมิใจ ยังจะได้รับการโปรโมทจากพวกเขาอีกด้วย
นอกจากผู้พิการทางสายตา เพื่อนตาดี และเหล่าจิตอาสา The guidelight ยังเป็นช่องทางให้นิสิตตาดีได้มาโหลดตำราเรียนและชีทมีเสียงไว้ฟังเพื่อเตรียมสอบด้วย เลยกลายเป็นช่องทางช่วยกันเรียน ที่ “สมประโยชน์” ทั้งคนตาดี และคนตาบอด
แต่เท่านี้จะทำให้กิจการยั่งยืนได้ไหม คนที่เป็นอาสาจะแค่มาชั่วครั้งชั่วคราวแล้วหายไปหรือไม่ โจทย์นี้เองที่ทำให้เธอคิดพัฒนาระบบ “พิมพ์ได้แต้ม” เพื่อให้คนทำดีไม่ได้แค่ความภูมิใจ แต่สามารถได้แต้มไปใช้ประโยชน์ได้อีกด้วย “สำหรับอาสาที่มาช่วยพิมพ์ เพื่อให้มีคนเข้ามาอย่างต่อเนื่อง เราต้องทำให้เขารู้สึกว่า มาแล้วได้ประโยชน์ อนาคตเลยจะทำเป็นระบบที่ให้มาพิมพ์แล้วได้แต้ม ซึ่งแต้มนี้สามารถไปแลกพอยท์เพื่อโหลดชีทเลคเชอร์หรือตำราต่างๆ ได้ฟรี เพื่อไม่ใช่แค่ได้ความรู้สึกดี แต่ยังได้เรียนดีไปพร้อมกับเพื่อนตาบอดด้วย” เธอบอกสถานการณ์ที่ วิน-วิน
อีกโจทย์ยากของการปรับโครงการเพื่อสังคมให้เป็น “กิจการเพื่อสังคม” (Social Enterprise :SE) แบบเต็มตัว คือการคิดโมเดลธุรกิจเพื่อให้สามารถเลี้ยงตัวเองได้ เธอว่า อนาคตช่องทางในการหารายได้ อาจเป็นการจำหน่ายหนังสือเรียนมีเสียง และชีทเลคเชอร์ให้กับทั้งเด็กตาดีและน้องตาบอด เพื่อไปใช้ในการเตรียมสอบ ส่วนใครที่ไม่อยากเสียเงิน ก็แค่มาอาสาช่วยพิมพ์ เพื่อให้ได้แต้มไปแลกพอยท์โหลดใช้ฟรีก็สามารถทำได้เช่นกัน
ในปีนี้ The guidelight มีแผนเข้าหาสำนักพิมพ์ที่ผลิตสื่อการเรียน เพื่อทำหนังสือเรียนมีเสียงที่หลากหลายขึ้นให้กับน้องๆ ตาบอด “ทุกวันนี้คนตาบอดแม้มีเงิน ก็ซื้อหนังสือเรียนที่เป็นหนังสือเสียงไม่ได้ เพราะไม่มีคนขายให้กับเขา” เธอบอกปัญหาที่ผ่านมา จุดประกายให้คิดปิดจุดอ่อนนี้ด้วยการทำหนังสือเรียนมีเสียงที่หลากหลายขึ้น เพื่อสนองนิสิตตาบอด
วันที่คิดลงมือทำความฝัน น้องจูนตัดสินใจลาออกจากงาน และมาทำโครงการเพื่อสังคมแบบฟูลไทม์ ในวันนั้นมีแต่เสียงต่อต้าน กระทั่งคนใกล้ตัวอย่างพ่อ ที่เป็นห่วงในอนาคตของลูกสาว เธอเลยต้องฟันฝ่าอะไรมากมาย กว่าจะพิสูจน์ตัวเองและทำให้ทุกคนยอมรับได้ ถามว่า ทำไมไม่ล้มพับความฝันเสียตั้งแต่ตอนนั้น เจ้าตัวบอกเราว่า
“จูนรู้สึกว่า ถ้าไม่ทำสิ่งนี้ คงตายตาไม่หลับ จูนอยากทำ แม้ทำแล้วล้ม ทำแล้วไม่สำเร็จ แต่จะไม่เสียใจเลยที่ได้ลงมือทำ ฉะนั้นแม้ใครจะบอกว่าอย่าทำ จูนก็จะทำ จูนรู้สึกว่าวันหนึ่งที่เราทำมากพอ และชัดเจนขึ้น จะมีคนอีกเยอะแยะที่มาช่วยเราทำให้สำเร็จเอง” เธอบอกความเชื่อและพิสูจน์ให้เห็นจริงแล้วด้วยการลงมือทำ
สำหรับใครที่อยากเข้าสู่วงการนี้ เธอแนะว่า ให้ลงมือทำ เพราะถ้าแค่คิดแล้วไม่ลงมือ คนอื่นก็คงไม่รู้ว่าเราเอาจริงแค่ไหน ใครอยากช่วยก็อาจจะยังลังเล และไม่รู้ว่าควรสละเวลาหรือต้นทุนของเขามาช่วยเราดีไหม ฉะนั้นต้องลงมือทำ และทำจริง เพื่อเรียกความเชื่อมั่นให้คนอื่นได้เห็น นอกจากลงมือทำ ยังต้องหาโค้ชที่ถูก และลดอีโก้ของตัวเองลงบ้าง เธอว่าเด็กรุ่นใหม่ประสบการณ์ยังน้อย ก็ต้องเปิดใจรับฟังผู้รู้ ฟังด้วยใจเป็นกลาง และตัดอารมณ์ที่ยึดถือแต่ตัวเองลง เท่านี้ก้อนความฝันก็จะเป็นรูปเป็นร่างขึ้นมาได้เอง
ขอบคุณ... http://www.bangkokbiznews.com/news/detail/682900 (ขนาดไฟล์: 167)
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
จูน-เมธาวี ทัศนาเสถียรกิจ”อดีตนิสิตนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ วัย 24 ปี ผู้ก่อตั้ง The guidelight” (เดอะไกด์ไลท์) ขึ้น เพื่อช่วยเพื่อนตาบอดให้ประสบความสำเร็จในการเรียน “The guidelight” พื้นที่ช่วยกันเรียนของเพื่อนตาดีและเพื่อนตาบอด ให้ใช้ใจอาสาและการแบ่งปัน เพื่อประสบความสำเร็จในการเรียนไปด้วยกัน ตำราเรียนเล่มโตไม่มีเสียง ชีทเลคเชอร์ดีๆ ก็คงไม่มีใครแปลเป็นอักษรเบรลล์ให้อ่าน บางครั้งได้หนังสือมา 7 วันก่อนสอบ ถามว่าจะอ่านจะเก็งกันทันไหม นี่คืออุปสรรคสำคัญในการเรียนมหาวิทยาลัยของน้องๆ ผู้พิการทางสายตา ที่จุดประกายให้ “จูน-เมธาวี ทัศนาเสถียรกิจ”อดีตนิสิตนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ วัย 24 ปี คิดก่อตั้ง “The guidelight” (เดอะไกด์ไลท์) ขึ้น เพื่อช่วยเพื่อนตาบอดให้ประสบความสำเร็จในการเรียน ระหว่างเรียนกฎหมาย เธอช่วยอ่านชีทและตำราเรียนให้เพื่อนตาบอดได้ฟังก่อนสอบ สิ่งเล็กๆ ที่ทำในตอนนั้น ช่วยให้ “นิว-นุวัตร ตาตุ” นิสิตปริญญาโทผู้พิการทางสายตาที่ฝันอยากเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัยสามารถเรียนจบได้ “วันที่สอบผ่าน พี่นิวโทรมาหา บอกว่า พี่โทรหาพ่อ หาแม่ แล้วโทรหาจูนเป็นคนที่สามเลยนะ พี่อยากให้จูนรู้ว่า จูนทำให้พี่เข้าใกล้ความฝันมากขึ้น ถ้าไม่มีจูนพี่ก็คงไม่เข้าใกล้ความฝันขนาดนี้ วันนั้นรู้สึกขนลุก คิดว่าชีวิตเรามีค่ากับคนอื่นขนาดนี้เลยเหรอ เลยเป็นแรงบันดาลใจว่า คงต้องลงมือทำอะไรสักอย่างเสียที เพื่อช่วยเพื่อนตาบอดและคนอื่นๆ” แต่คนตัวเล็ก มีแค่ความฝัน เธอจะไปทำอะไรได้ จูนเลยตัดสินใจไปลงเรียนหลักสูตรผู้ประกอบการทางสังคม ที่มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว) แล้วหอบเอาความฝันไปให้เหล่าผู้เชี่ยวชาญได้ร่วมกันก่อประกอบ การได้ลงเรียนวิชากิจการเพื่อสังคมกับรุ่นพี่ มูลนิธิอโชก้า สอนให้เธอรู้จักการ “ขุดปัญหา” เธอได้เรียนรู้ว่า โครงการเพื่อสังคมไหนที่เกิดจากการมโนขึ้นเองว่านั่นคือปัญหา โครงการนั้นจะเกิดและโตไม่ได้ หรือแม้โตได้ก็จะตายในที่สุด นั่นเองที่ทำให้เธอเริ่มทำวิจัยอย่างจริงจัง ทั้งหาข้อมูล และสอบถามผู้คน เพื่อให้เข้าใจปัญหาของคนตาบอดมากขึ้น ในตอนแรกก็คิดแบบเด็กใจร้อนที่แค่อยากให้โครงการเกิดขึ้นเร็วๆ เลยคิดทำทริปที่ให้คนตาบอดนำคนตาดีเที่ยว ทว่าความฝันแบบโลกสวยก็แตกสลาย เมื่อได้เจอกูรูจากกิจกรรม HelpDesk โปรแกรมช่วยให้คำปรึกษาสำหรับคนเริ่มทำกิจการเพื่อสังคมของ School of Changemakers คนมีประสบการณ์มากกว่าบอกเธอว่า สิ่งที่ทำดูวุ่นวายและเป็นไปได้ยาก เลยให้ลองเล่าเหตุผลที่อยากทำกิจการเพื่อสังคมเพื่อคนตาบอดอีกครั้ง.. “ในตอนนั้น คีย์เวิร์ดที่จูนพูดถึงมากที่สุดคือ เพื่อนตาบอด เรียนหนังสือ และเรียนจบ พี่เขาเลยบอกว่า ทำไมไม่ทำเรื่องการศึกษาให้เด็กตาบอดเรียนจบล่ะ ในเมื่อมีความต้องการอยู่ และยังไม่มีคนทำ ที่สำคัญจูนเป็นคนนั้นที่รู้แล้วว่าทำอย่างไรให้เด็กตาบอดเรียนจบได้ ครบทั้ง 3 องค์ประกอบ คือ ปัญหามีอยู่จริง ยังไม่มีใครทำ และจูนก็มีสกิลตรงนั้น” คำแนะนำในตอนนั้นเปิดโลกที่มืดมิดของเธอให้สว่างไสวขึ้น จนได้ผลผลิตจากความฝันที่ชื่อ “The guidelight” พื้นที่ช่วยกันเรียนของเพื่อนตาดีและเพื่อนตาบอด แพลทฟอร์มออนไลน์ เว็บไซต์ The guidelight http://theguide-light.com/ ที่รวบรวมสื่อการเรียนให้กับนักศึกษาตาบอด โดยเปิดพื้นที่ให้อาสาสมัครตาดีมาช่วยกันพิมพ์ตำราเรียน เอกสารประกอบการเรียนและตัวอย่างข้อสอบกันคนละ 5 หน้า พอพิมพ์เสร็จก็จะมีโปรแกรมช่วยแปลงเนื้อหานั้นให้เป็นไฟล์เสียง เพื่อให้นิสิตตาบอดได้ฟัง “จากเดิมที่เขาได้หนังสือ 7 วันก่อนสอบ หรือหลายๆ เดือน กว่าจะได้ ตอนนี้แค่ 1-2 สัปดาห์ เด็กตาบอดก็ได้หนังสือครบแล้ว ซึ่งการได้หนังสือเร็วก็แปลว่า เขามีเวลามากขึ้น และมีสิทธิที่จะสอบผ่านได้มากขึ้นด้วย” เธอบอกผลลัพธ์ ภาพประกอบจากเว็บไซต์ The guidelight พอได้ลงมือทำอย่างจริงจัง และมุ่งมั่นจนทุกคนมองเห็น จากการทำงานแบบโดดเดี่ยว ก็เริ่มมีผู้คนมากมายยื่นมือเข้ามาช่วยเหลือ อย่าง มูลนิธิอโชก้าที่เป็นทั้งโค้ชและผู้สนับสนุนทางด้านการเงิน มีรุ่นพี่ที่เขียนเว็บไซต์ให้ในราคาที่ถูกกว่าอัตราปกติ มีอาจารย์นักการตลาดแห่งศศินทร์ อย่าง “กฤตินี ณัฎฐวุฒิสิทธิ์” มาช่วยเป็นที่ปรึกษาให้ กับความช่วยเหลืออีกนานัป ที่ช่วยสร้างความมั่นใจให้กับเธอ และก่อประกอบฝันให้เป็นรูปร่างขึ้นอย่างรวดเร็ว “ช่วงเดือนแรกที่เปิดเว็บไซต์ และต้องการอาสาอย่างจริงจัง ปรากฏว่ามีคนเข้ามาสมัครและช่วยกันแชร์เรื่องของเราไปเยอะมาก จนภายใน 2 เดือนมีอาสาถึง 350 คน ที่มาช่วยกันพิมพ์อย่างสม่ำเสมอ ส่วนหนึ่งยังพิมพ์ข้อความมาให้กำลังใจกันอีกด้วย” และนั่นคือกำลังใจชั้นดี ให้คนทำงานไม่ทดท้อหรือหมดใจ ยิ่งได้เห็นว่า The guidelight มีประโยชน์กับคนหลายกลุ่มไม่ใช่แค่น้องๆ ผู้พิการทางสายตาเท่านั้น จูนเล่าว่า ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของ The guidelight มีตั้งแต่นิสิตตาบอดที่จะได้ประโยชน์จากสื่อการเรียนมีเสียงซึ่งปัจจุบันเริ่มที่หลักสูตรของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ แต่อนาคตจะขยายไปที่มหาวิทยาลัยรามคำแหง และสวนดุสิตต่อไป ซึ่งเป็นสถาบันที่มีการสอนน้องๆ ตาบอดเช่นเดียวกัน กลุ่มที่สองคือ เหล่าอาสาสมัครที่มาช่วยกันพิมพ์ข้อมูล ซึ่งส่วนใหญ่เป็นคนในวัยทำงานที่มีใจอาสาอยากทำอะไรเพื่อสังคม คนเหล่านี้ก็จะได้ความอิ่มเอมใจกลับไปเต็มที่ กลุ่มที่สามคือ เด็กเรียนที่ทำชีทมาแชร์ให้กับเพื่อนๆ ใน The guidelight นอกจากจะได้เครดิต ได้ความภูมิใจ ยังจะได้รับการโปรโมทจากพวกเขาอีกด้วย นอกจากผู้พิการทางสายตา เพื่อนตาดี และเหล่าจิตอาสา The guidelight ยังเป็นช่องทางให้นิสิตตาดีได้มาโหลดตำราเรียนและชีทมีเสียงไว้ฟังเพื่อเตรียมสอบด้วย เลยกลายเป็นช่องทางช่วยกันเรียน ที่ “สมประโยชน์” ทั้งคนตาดี และคนตาบอด แต่เท่านี้จะทำให้กิจการยั่งยืนได้ไหม คนที่เป็นอาสาจะแค่มาชั่วครั้งชั่วคราวแล้วหายไปหรือไม่ โจทย์นี้เองที่ทำให้เธอคิดพัฒนาระบบ “พิมพ์ได้แต้ม” เพื่อให้คนทำดีไม่ได้แค่ความภูมิใจ แต่สามารถได้แต้มไปใช้ประโยชน์ได้อีกด้วย “สำหรับอาสาที่มาช่วยพิมพ์ เพื่อให้มีคนเข้ามาอย่างต่อเนื่อง เราต้องทำให้เขารู้สึกว่า มาแล้วได้ประโยชน์ อนาคตเลยจะทำเป็นระบบที่ให้มาพิมพ์แล้วได้แต้ม ซึ่งแต้มนี้สามารถไปแลกพอยท์เพื่อโหลดชีทเลคเชอร์หรือตำราต่างๆ ได้ฟรี เพื่อไม่ใช่แค่ได้ความรู้สึกดี แต่ยังได้เรียนดีไปพร้อมกับเพื่อนตาบอดด้วย” เธอบอกสถานการณ์ที่ วิน-วิน อีกโจทย์ยากของการปรับโครงการเพื่อสังคมให้เป็น “กิจการเพื่อสังคม” (Social Enterprise :SE) แบบเต็มตัว คือการคิดโมเดลธุรกิจเพื่อให้สามารถเลี้ยงตัวเองได้ เธอว่า อนาคตช่องทางในการหารายได้ อาจเป็นการจำหน่ายหนังสือเรียนมีเสียง และชีทเลคเชอร์ให้กับทั้งเด็กตาดีและน้องตาบอด เพื่อไปใช้ในการเตรียมสอบ ส่วนใครที่ไม่อยากเสียเงิน ก็แค่มาอาสาช่วยพิมพ์ เพื่อให้ได้แต้มไปแลกพอยท์โหลดใช้ฟรีก็สามารถทำได้เช่นกัน ในปีนี้ The guidelight มีแผนเข้าหาสำนักพิมพ์ที่ผลิตสื่อการเรียน เพื่อทำหนังสือเรียนมีเสียงที่หลากหลายขึ้นให้กับน้องๆ ตาบอด “ทุกวันนี้คนตาบอดแม้มีเงิน ก็ซื้อหนังสือเรียนที่เป็นหนังสือเสียงไม่ได้ เพราะไม่มีคนขายให้กับเขา” เธอบอกปัญหาที่ผ่านมา จุดประกายให้คิดปิดจุดอ่อนนี้ด้วยการทำหนังสือเรียนมีเสียงที่หลากหลายขึ้น เพื่อสนองนิสิตตาบอด วันที่คิดลงมือทำความฝัน น้องจูนตัดสินใจลาออกจากงาน และมาทำโครงการเพื่อสังคมแบบฟูลไทม์ ในวันนั้นมีแต่เสียงต่อต้าน กระทั่งคนใกล้ตัวอย่างพ่อ ที่เป็นห่วงในอนาคตของลูกสาว เธอเลยต้องฟันฝ่าอะไรมากมาย กว่าจะพิสูจน์ตัวเองและทำให้ทุกคนยอมรับได้ ถามว่า ทำไมไม่ล้มพับความฝันเสียตั้งแต่ตอนนั้น เจ้าตัวบอกเราว่า “จูนรู้สึกว่า ถ้าไม่ทำสิ่งนี้ คงตายตาไม่หลับ จูนอยากทำ แม้ทำแล้วล้ม ทำแล้วไม่สำเร็จ แต่จะไม่เสียใจเลยที่ได้ลงมือทำ ฉะนั้นแม้ใครจะบอกว่าอย่าทำ จูนก็จะทำ จูนรู้สึกว่าวันหนึ่งที่เราทำมากพอ และชัดเจนขึ้น จะมีคนอีกเยอะแยะที่มาช่วยเราทำให้สำเร็จเอง” เธอบอกความเชื่อและพิสูจน์ให้เห็นจริงแล้วด้วยการลงมือทำ สำหรับใครที่อยากเข้าสู่วงการนี้ เธอแนะว่า ให้ลงมือทำ เพราะถ้าแค่คิดแล้วไม่ลงมือ คนอื่นก็คงไม่รู้ว่าเราเอาจริงแค่ไหน ใครอยากช่วยก็อาจจะยังลังเล และไม่รู้ว่าควรสละเวลาหรือต้นทุนของเขามาช่วยเราดีไหม ฉะนั้นต้องลงมือทำ และทำจริง เพื่อเรียกความเชื่อมั่นให้คนอื่นได้เห็น นอกจากลงมือทำ ยังต้องหาโค้ชที่ถูก และลดอีโก้ของตัวเองลงบ้าง เธอว่าเด็กรุ่นใหม่ประสบการณ์ยังน้อย ก็ต้องเปิดใจรับฟังผู้รู้ ฟังด้วยใจเป็นกลาง
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)