สพฐ.พบนักเรียนมีปัญหาจิตเวชนับหมื่น

แสดงความคิดเห็น

นายธีร์ ภวังคนันท์ หัวหน้าศูนย์เฉพาะกิจคุ้มครองและช่วยเหลือนักเรียน (ฉก.ชน.) สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.)

บางรายถึงขั้นทำร้ายตัวเอง-ดับชีวิต จี้ครูผู้ปกครองสังเกตพฤติกรรม นายธีร์ ภวังคนันท์ หัวหน้าศูนย์เฉพาะกิจคุ้มครองและช่วยเหลือนักเรียน (ฉก.ชน.) สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) เปิดเผยว่า ฉก.ชน.ได้ร่วมกับพนักงานเจ้าหน้าที่ของ สพฐ.ทำการสำรวจติดตามข้อมูลที่เกี่ยวกับงานคุ้มครองเด็กนักเรียนช่วง 8 เดือนที่ผ่านมาใน 4 ด้าน ทั้งเรื่องละเมิดทางเพศ ซึ่งพบ 200-300 คน ความรุนแรง 100-200 คน ความไม่เป็นธรรม เช่น ถูกครูกลั่นแกล้งให้ ติด ร หรือ มส หรือไม่ให้จบการศึกษา 100 คน และกรณีอื่นๆ เช่น ตั้งครรภ์ระหว่างเรียนพบว่ามีตัวเลข 200-300 คน ทั้งที่ไม่มีความพร้อม ซึ่งเด็กบางคนท้องเพราะถูกละเมิด ขณะที่บางคนท้องเพราะพลาดพลั้งจากการสมยอม นอกจากนี้ยังพบกลุ่มเด็กที่มีปัญหาทางจิตเวชหรือมีภาวะทางจิตอีกนับหมื่นคน ทั้งที่เป็นโรคซึมเศร้า ชอบทำร้ายตัวเอง เป็นโรคไบโพล่าหรือแม้แต่เป็นเด็กไฮเปอร์ เป็นต้น

“กลุ่มเด็กที่มีปัญหาทางจิต ถือเป็นกลุ่มที่น่าเป็นห่วงมากที่สุด เนื่องจากมีเป็นจำนวนมากซึ่งสอดคล้องกับข้อมูลของกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ที่พบเด็กในกลุ่มวัยเรียนมีปัญหาทางจิตถึงร้อยละ 20 และจะต้องได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิด เพราะบางรายมีปัญหาหนักชอบทำร้ายตัวเอง และนำไปสู่การฆ่าตัวตายตามมาในที่สุด จึงเป็นเรื่องที่ทุกโรงเรียนครู อาจารย์ที่ปรึกษาจะต้องติดตามพฤติกรรมของนักเรียนอย่างใกล้ชิด เช่นเดียวกับผู้ปกครอง หากพบสิ่งผิดปกติและรู้แน่ชัดว่าเด็กนักเรียนกำลังมีปัญหาทางจิตจะได้เข้าไปดูแลและนำไปบำบัดรักษาต่อไป ซึ่งขณะนี้ สพฐ.มีความร่วมมือกับ สธ.เพื่อดูแลปัญหาอยู่แล้ว” หัวหน้า ฉก.ชน.กล่าว

นายธีร์กล่าวต่อไปว่า การติดตามสำรวจข้อมูลของ ฉก.ชน.ครั้งนี้ได้วิเคราะห์และสังเคราะห์เปรียบเทียบข้อมูลเป็นรายเดือน และย้อนเปรียบเทียบกับปีที่ผ่านๆ มาด้วย ทำให้เห็นชัดว่าแต่ละเดือนช่วงเวลาไหนมักจะเกิดปัญหาอะไรกับเด็กนักเรียน เช่น ช่วงเปิดเทอมใหม่จะมีปัญหาการทะเลาะวิวาทเกิดขึ้น เป็นต้น ซึ่งข้อมูลดังกล่าวตนได้จัดทำเป็นรายงานเสนอ ดร.กมล รอดคล้าย เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) ไปแล้ว และอาจจะเสนอที่ประชุม กพฐ.ได้ทราบด้วย จากนั้นจะนำเผยแพร่เพื่อประโยชน์ในการกำกับดูแลนักเรียนต่อไป.

ขอบคุณ... http://www.thairath.co.th/content/516201 (ขนาดไฟล์: 167)

ที่มา: ไทยรัฐออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 5 ส.ค.58
วันที่โพสต์: 18/08/2558 เวลา 13:33:31 ดูภาพสไลด์โชว์ สพฐ.พบนักเรียนมีปัญหาจิตเวชนับหมื่น

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

นายธีร์ ภวังคนันท์ หัวหน้าศูนย์เฉพาะกิจคุ้มครองและช่วยเหลือนักเรียน (ฉก.ชน.) สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) บางรายถึงขั้นทำร้ายตัวเอง-ดับชีวิต จี้ครูผู้ปกครองสังเกตพฤติกรรม นายธีร์ ภวังคนันท์ หัวหน้าศูนย์เฉพาะกิจคุ้มครองและช่วยเหลือนักเรียน (ฉก.ชน.) สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) เปิดเผยว่า ฉก.ชน.ได้ร่วมกับพนักงานเจ้าหน้าที่ของ สพฐ.ทำการสำรวจติดตามข้อมูลที่เกี่ยวกับงานคุ้มครองเด็กนักเรียนช่วง 8 เดือนที่ผ่านมาใน 4 ด้าน ทั้งเรื่องละเมิดทางเพศ ซึ่งพบ 200-300 คน ความรุนแรง 100-200 คน ความไม่เป็นธรรม เช่น ถูกครูกลั่นแกล้งให้ ติด ร หรือ มส หรือไม่ให้จบการศึกษา 100 คน และกรณีอื่นๆ เช่น ตั้งครรภ์ระหว่างเรียนพบว่ามีตัวเลข 200-300 คน ทั้งที่ไม่มีความพร้อม ซึ่งเด็กบางคนท้องเพราะถูกละเมิด ขณะที่บางคนท้องเพราะพลาดพลั้งจากการสมยอม นอกจากนี้ยังพบกลุ่มเด็กที่มีปัญหาทางจิตเวชหรือมีภาวะทางจิตอีกนับหมื่นคน ทั้งที่เป็นโรคซึมเศร้า ชอบทำร้ายตัวเอง เป็นโรคไบโพล่าหรือแม้แต่เป็นเด็กไฮเปอร์ เป็นต้น “กลุ่มเด็กที่มีปัญหาทางจิต ถือเป็นกลุ่มที่น่าเป็นห่วงมากที่สุด เนื่องจากมีเป็นจำนวนมากซึ่งสอดคล้องกับข้อมูลของกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ที่พบเด็กในกลุ่มวัยเรียนมีปัญหาทางจิตถึงร้อยละ 20 และจะต้องได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิด เพราะบางรายมีปัญหาหนักชอบทำร้ายตัวเอง และนำไปสู่การฆ่าตัวตายตามมาในที่สุด จึงเป็นเรื่องที่ทุกโรงเรียนครู อาจารย์ที่ปรึกษาจะต้องติดตามพฤติกรรมของนักเรียนอย่างใกล้ชิด เช่นเดียวกับผู้ปกครอง หากพบสิ่งผิดปกติและรู้แน่ชัดว่าเด็กนักเรียนกำลังมีปัญหาทางจิตจะได้เข้าไปดูแลและนำไปบำบัดรักษาต่อไป ซึ่งขณะนี้ สพฐ.มีความร่วมมือกับ สธ.เพื่อดูแลปัญหาอยู่แล้ว” หัวหน้า ฉก.ชน.กล่าว นายธีร์กล่าวต่อไปว่า การติดตามสำรวจข้อมูลของ ฉก.ชน.ครั้งนี้ได้วิเคราะห์และสังเคราะห์เปรียบเทียบข้อมูลเป็นรายเดือน และย้อนเปรียบเทียบกับปีที่ผ่านๆ มาด้วย ทำให้เห็นชัดว่าแต่ละเดือนช่วงเวลาไหนมักจะเกิดปัญหาอะไรกับเด็กนักเรียน เช่น ช่วงเปิดเทอมใหม่จะมีปัญหาการทะเลาะวิวาทเกิดขึ้น เป็นต้น ซึ่งข้อมูลดังกล่าวตนได้จัดทำเป็นรายงานเสนอ ดร.กมล รอดคล้าย เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) ไปแล้ว และอาจจะเสนอที่ประชุม กพฐ.ได้ทราบด้วย จากนั้นจะนำเผยแพร่เพื่อประโยชน์ในการกำกับดูแลนักเรียนต่อไป. ขอบคุณ... http://www.thairath.co.th/content/516201

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...