รอดตาย...เพราะสระเดินได้คมคิดช่วยชีวิต'พายุ'ณัฐศักดิ์...ครูจิตอาสา สอนเด็กพิเศษ
คมคิดจิตอาสา เรื่อง/ชาญยุทธ ปะวะขัง ภาพ/วันชัย ไกรศรขจิต : สถิติน่าตกใจพบเด็กไทยจมน้ำเสียชีวิตกว่า 1,500 คนต่อปี มากกว่าตัวเลขเด็กเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนถึง 2 เท่า และในจำนวนนี้เป็นเด็กพิการอยู่ไม่น้อย สะกิดหัวใจของอดีตนักกีฬาว่ายน้ำเยาวชนทีมชาติ “พายุ” ณัฐศักดิ์ ท้าวอุดม ให้ต้องตัดสินใจลงมือทำอะไรบางอย่างเพื่อลดความสูญเสียอย่างที่ไม่ควรจะเป็น ด้วยการอาสาเป็น “ครูสอนว่ายน้ำ” หรือที่เขามักเรียกตัวเองว่า “สายช่วยชีวิต” เน้นเด็กด้อยโอกาสและเด็กพิการทุกประเภท สุดแต่พละกำลัง และ “สระว่ายน้ำเดินได้” จะลำเลียงไปถึง...
ราว 6 ปีก่อน “ครูพายุ” ของเด็กๆ บุกเบิกโครงการสอนว่ายน้ำแก่เด็กหูหนวกจากโรงเรียนโสตศึกษา อนุสารสุนทร จ.เชียงใหม่ บ้านเกิด ต่อด้วยสอนว่ายน้ำเด็กตาบอด เด็กพิการต่างๆ และเด็กด้อยโอกาสอื่นๆ พาตัวเองตระเวนไปถ่ายทอดวิชา (ช่วยชีวิต) ว่ายน้ำเรื่องถนัดแทบทุกที่ก่อนจะมาถึงโครงการสระว่ายน้ำเดินได้ โดยฉลามหนุ่มนักบุญเปิดใจให้ฟังว่า หลังจากรู้ตัวเองว่าเป็นออทิสติก และเอดีเอชดี (Attention deficit-hyperactivity disorder) หรือ “โรคสมาธิสั้น” แล้ว รู้เลยว่าเด็กๆ ที่กำลังช่วยสอนว่ายน้ำอยู่เป็นพวกเดียวกันก็อยากส่งต่อโอกาส
"เป็นความไม่ยุติธรรม คนเหมือนกันทำไมต้องแบ่งแยก ใช่ว่าเด็กปกติเวลาเกิดจมน้ำแล้วถึงต้องมาเรียน เด็กพิเศษจมน้ำแล้วลอยได้เองอย่างนั้นหรือ ทุกคนที่จมน้ำก็ตายเหมือนกัน ก็ต้องมีโอกาสได้เรียนอย่างเท่าเทียมกัน เมื่อก่อนผมมีปัญหาด้านสุขภาพเยอะ เป็นลมชัก ไมเกรน พ่อเลยตัดสินใจพาไปว่ายน้ำ ด้วยความคิดที่อยากให้สุขภาพดีขึ้น ว่ายจนติดเยาวชนทีมชาติ พื้นฐานผมเป็นคนเรียนหนังสือไม่เก่ง ช่วงขึ้นปี 2 (คณะการสื่อสารมวลชน ม.เชียงใหม่) ก็มานั่งคิดว่ามีอะไรบ้างที่เราถนัดในชีวิต จึงตัดสินใจสอนว่ายน้ำ สักพักก็มีผู้ปกครองนำลูกที่เป็นออทิสติกมาฝากเรียน ตอนนั้นไม่รู้ว่าออทิสติกคืออะไร รู้แต่ว่าเด็กอะไรพูดคุยไม่รู้เรื่อง แล้วจะว่ายน้ำเป็นไหม จำได้ว่าหมดชั่วโมงแล้วบอกคุณแม่ของน้องว่าเด็กว่ายน้ำไม่เป็นหรอก เอาตังค์คืนไปเถอะ แต่ด้วยความเกรงใจก็สอนต่อจนจบ แล้วพบว่าน้องคนนี้เริ่มฉายแววอะไรหลายอย่าง จดจำได้มากขึ้น มีความรู้เพิ่มขึ้น ช่วยตัวเองได้ ผมก็เลยสนใจการสอนว่ายน้ำเด็กพิเศษ
ต่อมามีโอกาสนั่งคุยกับนักกิจกรรมบำบัด แล้วก็เริ่มอ่านหนังสือเพิ่มขึ้น แล้วไปเจอลิสต์ที่เป็นเรื่องราวของเราหมดเลย ผมตกใจมาก เช่น ตอนเด็กๆ ชอบกัดปากกา ชอบสั่นขา อยู่นิ่งๆ ไม่ได้ ตาเหม่อมองไปรอบข้างตลอดเวลา สมองแล่นมากกว่าคนปกติ เลยถามนักกิจกรรมบำบัดว่ามันคืออะไร เขาบอกว่าเป็นลิสต์ของเอดีเอชดี เป็นกลุ่มเด็กสมาธิสั้นต้องรักษา ก็เลยรู้สึกว่าถ้าเราดีขึ้นกับโรคพวกนี้ผ่านน้ำได้ ก็น่าจะทำให้เด็กพิเศษกลุ่มอื่นดีขึ้นได้ ก็เริ่มศึกษาการว่ายน้ำในเด็กสมาธิสั้นในต่างประเทศเพิ่มขึ้น หลังจากนั้นก็เริ่มสอน เด็กกลุ่มสมาธิสั้นและออทิสติก มากขึ้น แล้วก็สนใจ เด็กกลุ่มหูหนวกภายใต้แนวคิดที่ว่าถ้า เด็กหูหนวก ตกน้ำจะทำอย่างไร ตะโกนให้คนช่วยก็ไม่ได้ เลยตัดสินใจไปเรียนภาษามือจากความช่วยเหลือของพี่ๆ ที่ขายของที่ถนนคนเดิน เชียงใหม่ ก่อนจะส่งเรื่องราวทั้งหมดที่กำลังจะทำไปที่โรงเรียนโสตศึกษาฯ เชียงใหม่ ก็ได้รับอนุญาตให้ทำโครงการแรกสอนว่ายน้ำฟรีแก่เด็กหูหนวก ค่าใช้จ่ายส่วนใหญ่มาจากเงินบริจาคของผู้ปกครองที่ส่งเด็กกลุ่มนี้มาเรียนและองค์กรที่มีจิตกุศลต่างๆ” ครูสอนว่ายน้ำวัย 29 ปี บุตรชายคนโตของ คุณพ่อณรงค์ และ คุณแม่วิไลวรรณ ท้าวอุดม เล่าที่มาของงานจิตอาสา
แต่ใช่ว่าจะเป็นเรื่องง่ายในการสอนเด็กพิเศษให้เรียนรู้ทักษะว่ายน้ำตามแบบแผน ครูพายุ อธิบายวิธีการโดยยกเป็นกรณีให้เข้าใจง่ายๆ เริ่มจากเด็กหูหนวก เป็นกลุ่มที่มีสมองปกติเพียงแต่มีภาษามือเข้ามาเกี่ยวข้อง อุปสรรคคือเวลาเด็กหันหลังให้การเรียกหาจะเป็นอะไรที่ยากมากอาจจะต้องเดินไปแตะตัวทีละคน
ขณะที่ เด็กตาบอด นั้นเป็นกลุ่มที่ฟังคำสั่งได้ แต่อธิบายด้วยคำสั่งล้วนๆ หรือภาษาท่าทางอาจจะไม่รู้เรื่อง เพราะมองไม่เห็น เพราะฉะนั้นอาจใช้เทคนิคการจับให้ทำ ซึ่งกลุ่มนี้อาจกินระยะเวลาเรียนรู้นานกว่ากลุ่มอื่น มาที่ เด็กออทิสติก หรือบกพร่องทางสติปัญญา ถ้าเป็นประเภทมีอาการค่อนข้างมาก สั่งอะไรทำไม่ได้เลย การเรียนการสอนจะเป็นเรื่องของนันทนาการค่อนข้างมาก อาจจะให้เล่นเก็บของในน้ำ ฝึกเตะขา แล้วค่อยนำมาผสมผสานกัน สรุปง่ายๆ หากมีเรื่องของสติปัญญามาเกี่ยวการเรียนรวมกันเป็นเรื่องยากทันที
จากเดินไปสอนสู่สระว่ายน้ำเดินได้ : ครูพายุ เล่าว่า ตั้งแต่ปี 2555 ที่เริ่มไปทำโครงการที่ขอนแก่น ก่อนไปจะพิจารณาว่าที่ไหนสมควรไปก่อนหลัง โดยแทนสัญลักษณ์ด้วยจำนวนดาว มีหลายแห่งให้ 5 ดาวเพราะต้องรีบทำ แต่จนแล้วจนเล่าต้องตัดใจเพราะไม่มีสระว่ายน้ำให้สอน จึงตัดสินใจเขียนโครงการในฝันชื่อ “สระว่ายน้ำเดินได้” เป็นสระว่ายน้ำพลาสติกขนาดใหญ่ 5x10 เมตร ถอดประกอบได้ โดยทราบว่ามีสระลักษณะนี้ผลิตอยู่ พยายามไปเสาะหาแต่ส่วนใหญ่มีขนาดเล็กท้ายที่สุดเมื่อปี2557รอไม่ไหวต้องตัดสินใจทำทันที
“วิธีการทำงานของผมคือ ไปถึงสถานที่ที่จะสอนว่ายน้ำแล้วจินตนาการว่ามีสระโผล่ขึ้นมาตรงนี้ตรงนั้น สุดท้ายตัดสินใจประกาศว่าขอรับบริจาคเพื่อทำโครงการสระว่ายน้ำเดินได้ ปรากฏว่ามีบริษัทหนึ่งชื่อบริษัท ซาคานา พูล แอนด์ สวิม ส่งข้อความมาว่าเคยนำเข้าสระแบบนี้ อยากได้ไซส์เท่าไหร่ เขาเลยอาสาประสานให้โดยจะไปซื้อหน้าโรงงานราคาทุนให้เลย เลยได้มาด้วยเงินบริจาค 2 แสนบาทของนักแสดงชื่อดังชาวสวีเดนชื่อ แชลล์ เบอร์กควิส์ท ที่ผมเคยไปช่วยงานเขาสมัยที่เขามาทำสระว่ายน้ำให้คนในชนบทได้เรียนว่ายน้ำที่เมืองไทย ที่ต้องเดินได้ อย่างแรกเป็นเรื่องของภูมิศาสตร์ อย่างที่อ่างขางที่ตั้งใจจะไปทำ มีเด็กเคยจมน้ำเสียชีวิตที่อ่างเก็บน้ำมาแล้ว 3 คนในรอบ 5 ปี หรือที่โรงเรียนน่านปัญญานุกูล หลังโรงเรียนก็มีอ่างเก็บน้ำมีเด็กจมน้ำเสียชีวิตเช่นกัน เป็นเด็กบกพร่องทางปัญญา พวกเขาไม่มีสระฝึกว่ายน้ำ เราจะยกสระไปให้พวกเขาได้อย่างไร หรือจะเรียนที่ห้วยหนองคลองบึง คงไม่ใช่วิสัยของครูสอนว่ายน้ำ เพราะฉะนั้นต้องยกสระว่ายน้ำไปให้เด็ก" เจ้าของแนวคิดสระว่ายน้ำเคลื่อนที่ บอกพร้อมกับเผยว่า โครงการแรกเริ่มที่โรงเรียนน่านปัญญานุกูล ก่อนจะไปที่โรงเรียนสอนคนตาบอดลำปาง จากนั้นจะขึ้นไปอ่างขาง โดยสระนี้ใช้เวลาประกอบ 3 ชั่วโมง เติมน้ำอีก 6 ชั่วโมง ใช้น้ำประปาธรรมดา เติมคลอรีนฆ่าเชื้อและมีระบบกรองน้ำเหมือนสระถาวร อายุใช้งานประมาณ 2 ปี แต่หากรักษาดีๆอาจอยู่ได้ถึง7ปีเลยทีเดียว
ทว่าความตั้งใจจริงๆ นั้น เจ้าตัวเผยสระว่ายน้ำเดินได้เป็นเพียงโครงการนำร่อง ความฝันสูงสุดคือไม่ต้องการให้สระเดินได้ แต่อยากให้มีสระถาวรมากกว่า เป็นต้นแบบ ตัวเองเพียงไปสร้างโอกาสของการว่ายน้ำที่ไม่ต้องลงทุนเป็นหลักล้าน อยากให้โรงเรียนมีสระแบบนี้ไว้ที่โรงเรียนแบบถาวร ลงทุนเพียง 2 แสนกว่าบาท แรกเริ่มจะมีทีมงานเข้ามาช่วยเทรนนิ่งให้ จากนั้นก็ให้โรงเรียนสอนกันเอง
หลายมือประสาน งานสำเร็จ... จากที่เคยขับเคลื่อนงานอาสาเพียงลำพัง วันนี้ครูหนุ่มจิตอาสาขยายเครือข่ายเป็นมวลชนกลุ่มใหญ่ขึ้น โดยจับมือกับภาคเอกชนและโรงเรียนที่ต้องการความช่วยเหลือเดินเครื่องทำงาน อีกทั้งชักชวนอดีตนักกีฬาว่ายน้ำทีมชาติรุ่นพี่ อย่าง “โอ” ชลธร วรธำรง, “วูดดี้” วรวุฒิ อำไพวรรณ และ “เซฟ” วิชา รัตนโชติ มาร่วมสร้างแรงบันดาลใจให้เด็กๆ ซึ่งนอกจากจะช่วยให้งานไหลลื่นขึ้นแล้วยังเป็นการลบคำครหาต่างๆจากผู้ไม่หวังดี
"เคยท้อนะ แต่ไม่ใช่เพราะเด็ก เป็นการท้อจากคนรอบข้าง เวลาเข้าไปตามโรงเรียนสอนคนพิการมีทั้งเห็นด้วยไม่เห็นด้วย มีคำนินทาว่ามาทำไม มาแสวงหาผลประโยชน์อะไรหรือเปล่า คงต้องสร้างความเข้าใจว่าถ้าหวังผลตรงนั้นผมไปหวังทางอื่นดีกว่า กับคนพิการคงไม่ได้อะไร ผมก็เป็นคนทำบุญคนหนึ่ง แค่อยากทำบุญให้กับตัวเองและคนอื่น ทำแล้วจบโดยไม่มีผลประโยชน์แอบแฝงใดๆ เวลาทำโครงการถ้ามีคนเหนื่อย 1 คนแล้วมีคนโชคดีอีก 300 คน คิดว่าคุ้มก็ทำ คิดว่าไม่คุ้มก็ไม่ทำ วันนี้ผมลำบากนะ และเหนื่อยในการหาทุน แต่ทำแล้วมีคนได้ประโยชน์เยอะก็อยากสู้ต่อ คิดง่ายๆ แบบนี้" ครูสอนว่ายน้ำจิตอาสา กล่าว ซึ่งตอนนี้เขาได้ช่วยเด็กๆ ให้ว่ายน้ำเป็นไปแล้วราว1,200คนในรอบ6ปี
อดีตนักว่ายน้ำเยาวชนทีมชาติที่ตอนนี้กลายเป็นนักบุญของเด็กๆ ไปแล้ว สารภาพหมดเปลือก ไม่เคยหวังชื่อเสียงเงินทองเพราะทุกวันนี้เลี้ยงตัวได้จากการรับสอนว่ายน้ำเด็กปกติ แต่สำหรับเด็กพิการให้เต็มที่ด้วยใจ และสิ่งที่กลับมาคือ ระหว่างการเดินทางได้เพื่อนใหม่มหาศาล ได้เห็นน้ำใจของคน ได้รู้จักผู้ใหญ่ เห็นครูสอนว่ายน้ำที่มีน้ำใจ ทำให้รู้ว่าไม่ได้เดินอยู่คนเดียว ที่สำคัญได้เจอเด็กพิการซึ่งมีความใสซื่อบริสุทธิ์มากที่รู้สึกคุ้นเคยกันเหมือนญาติซึ่งสิ่งนี้มีค่ามากเงินทองก็ซื้อหาไม่ได้
และเหนือสิ่งอื่นใด เป็นความภาคภูมิใจที่ได้พิสูจน์ให้เห็นว่าสามารถก้าวผ่านสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ อย่างกรณีเด็กพิการแขนขาใครจะคิดว่าสามารถว่ายน้ำได้ แต่เมื่อได้ลองทำดูก็พบว่าพวกเขาก็ทำได้ ลบคำสบประมาทสำเร็จ แน่นอนว่าผลจากตรงนี้ไม่ใช่แค่เรื่องว่ายน้ำแต่เป็นตัวอย่างของเรื่องอื่นๆ วันหน้าที่ใครคิดว่าเด็กพิการไม่น่าจะทำงานได้ หากให้โอกาสและพื้นที่ในการโชว์ศักยภาพทุกอย่างย่อมเป็นไปได้
จิตอาสาส่งต่อความปรารถนาดี “เชื่อไหมหลังจากทำโครงการไปแล้วมีอินบ็อกในเฟซบุ๊กเข้ามากมายว่าครูพายุโรงเรียนเราเริ่มรับเด็กพิเศษแล้วนะ ถ้ามีคนมีจิตอาสาเพิ่มขึ้นในอนาคตย่อมเป็นสิ่งที่ตีมูลค่าไม่ได้ จิตอาสาทำไม่ยาก ผมบอกโดยไม่ต้องคิดมากเลย ให้เริ่มต้นจากสิ่งที่เราถนัดก่อน เพื่อนผมคนหนึ่งเป็นนักดนตรีก็ไปเป็นนักดนตรีจิตอาสาไปสีไวโอลินให้เด็กตาบอดฟัง มันคืองานของคุณอยู่แล้ว ผมพูดตรงนี้เลยว่าผมไม่เก่งเลยแถมเป็นเด็กสมาธิสั้น ทำอะไรก็ได้ไม่นาน แต่ผมฝันแล้วรีบลงมือทำ วันนี้หลายงานไม่สำเร็จเพราะขาดการลงมือทำ เราคิดกันอย่างเดียวแต่ไม่ลงมือทำ” ครูพายุ แสดงทัศนะพร้อมกับเผยว่า เคยมีคนมาจีบไปเป็นโค้ชนักกีฬาคนพิการอยู่เหมือนกัน แต่เขาเลือกที่จะทำในส่วนนี้ ด้วยมองว่าหากเป็นโค้ชก็จะคนโชคดีเพียงไม่กี่สิบคน ขณะที่ทำตรงนี้มีคนโชคดีรอดชีวิตได้เป็นร้อยเป็นพัน จึงเลือกที่จะเป็นสายช่วยชีวิตมากกว่าสายกีฬาเพื่อการแข่งขัน ที่แน่ๆ ไม่เคยคิดพาเด็กไปโอลิมปิกแค่คิดอยากช่วยให้มีชีวิตรอดจากการจมน้ำก็พอใจแล้ว
“ความฝันในอนาคตของผมคือ อยากจะจัดตั้งมูลนิธิ แต่ลำพังคนเดียวคงไม่มีเพาเวอร์พอ ถ้าเสียงนี้ไปถึงผู้ใหญ่ท่านไหนที่พอจะยื่นมือมาช่วยเหลือได้ อยากให้มาก่อตั้งมูลนิธิร่วมกัน เพราะไม่อยากให้โครงการสอนว่ายน้ำเด็กด้อยโอกาสจบไปหากผมไม่อยู่แล้ว เป็นความฝัน 5 ปีต่อจากนี้” ?ครูพายุกล่าวในที่สุด**สำหรับผู้สนใจเป็นแนวร่วมหรืออยากทราบข้อมูลเพิ่มเติมติดต่อได้ทาง www.facebook.com/krupayufc (ขนาดไฟล์: 0 ) หรือโทร.08-1594-7648
ขอบคุณ... http://www.komchadluek.net/detail/20150708/209400.html (ขนาดไฟล์: 167)
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
คมคิดจิตอาสา เรื่อง/ชาญยุทธ ปะวะขัง ภาพ/วันชัย ไกรศรขจิต : สถิติน่าตกใจพบเด็กไทยจมน้ำเสียชีวิตกว่า 1,500 คนต่อปี มากกว่าตัวเลขเด็กเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนถึง 2 เท่า และในจำนวนนี้เป็นเด็กพิการอยู่ไม่น้อย สะกิดหัวใจของอดีตนักกีฬาว่ายน้ำเยาวชนทีมชาติ “พายุ” ณัฐศักดิ์ ท้าวอุดม ให้ต้องตัดสินใจลงมือทำอะไรบางอย่างเพื่อลดความสูญเสียอย่างที่ไม่ควรจะเป็น ด้วยการอาสาเป็น “ครูสอนว่ายน้ำ” หรือที่เขามักเรียกตัวเองว่า “สายช่วยชีวิต” เน้นเด็กด้อยโอกาสและเด็กพิการทุกประเภท สุดแต่พละกำลัง และ “สระว่ายน้ำเดินได้” จะลำเลียงไปถึง... ณัฐศักดิ์ ท้าวอุดม ครูสอนว่ายน้ำจิตอาสาวัย 29 ปี ราว 6 ปีก่อน “ครูพายุ” ของเด็กๆ บุกเบิกโครงการสอนว่ายน้ำแก่เด็กหูหนวกจากโรงเรียนโสตศึกษา อนุสารสุนทร จ.เชียงใหม่ บ้านเกิด ต่อด้วยสอนว่ายน้ำเด็กตาบอด เด็กพิการต่างๆ และเด็กด้อยโอกาสอื่นๆ พาตัวเองตระเวนไปถ่ายทอดวิชา (ช่วยชีวิต) ว่ายน้ำเรื่องถนัดแทบทุกที่ก่อนจะมาถึงโครงการสระว่ายน้ำเดินได้ โดยฉลามหนุ่มนักบุญเปิดใจให้ฟังว่า หลังจากรู้ตัวเองว่าเป็นออทิสติก และเอดีเอชดี (Attention deficit-hyperactivity disorder) หรือ “โรคสมาธิสั้น” แล้ว รู้เลยว่าเด็กๆ ที่กำลังช่วยสอนว่ายน้ำอยู่เป็นพวกเดียวกันก็อยากส่งต่อโอกาส "เป็นความไม่ยุติธรรม คนเหมือนกันทำไมต้องแบ่งแยก ใช่ว่าเด็กปกติเวลาเกิดจมน้ำแล้วถึงต้องมาเรียน เด็กพิเศษจมน้ำแล้วลอยได้เองอย่างนั้นหรือ ทุกคนที่จมน้ำก็ตายเหมือนกัน ก็ต้องมีโอกาสได้เรียนอย่างเท่าเทียมกัน เมื่อก่อนผมมีปัญหาด้านสุขภาพเยอะ เป็นลมชัก ไมเกรน พ่อเลยตัดสินใจพาไปว่ายน้ำ ด้วยความคิดที่อยากให้สุขภาพดีขึ้น ว่ายจนติดเยาวชนทีมชาติ พื้นฐานผมเป็นคนเรียนหนังสือไม่เก่ง ช่วงขึ้นปี 2 (คณะการสื่อสารมวลชน ม.เชียงใหม่) ก็มานั่งคิดว่ามีอะไรบ้างที่เราถนัดในชีวิต จึงตัดสินใจสอนว่ายน้ำ สักพักก็มีผู้ปกครองนำลูกที่เป็นออทิสติกมาฝากเรียน ตอนนั้นไม่รู้ว่าออทิสติกคืออะไร รู้แต่ว่าเด็กอะไรพูดคุยไม่รู้เรื่อง แล้วจะว่ายน้ำเป็นไหม จำได้ว่าหมดชั่วโมงแล้วบอกคุณแม่ของน้องว่าเด็กว่ายน้ำไม่เป็นหรอก เอาตังค์คืนไปเถอะ แต่ด้วยความเกรงใจก็สอนต่อจนจบ แล้วพบว่าน้องคนนี้เริ่มฉายแววอะไรหลายอย่าง จดจำได้มากขึ้น มีความรู้เพิ่มขึ้น ช่วยตัวเองได้ ผมก็เลยสนใจการสอนว่ายน้ำเด็กพิเศษ ต่อมามีโอกาสนั่งคุยกับนักกิจกรรมบำบัด แล้วก็เริ่มอ่านหนังสือเพิ่มขึ้น แล้วไปเจอลิสต์ที่เป็นเรื่องราวของเราหมดเลย ผมตกใจมาก เช่น ตอนเด็กๆ ชอบกัดปากกา ชอบสั่นขา อยู่นิ่งๆ ไม่ได้ ตาเหม่อมองไปรอบข้างตลอดเวลา สมองแล่นมากกว่าคนปกติ เลยถามนักกิจกรรมบำบัดว่ามันคืออะไร เขาบอกว่าเป็นลิสต์ของเอดีเอชดี เป็นกลุ่มเด็กสมาธิสั้นต้องรักษา ก็เลยรู้สึกว่าถ้าเราดีขึ้นกับโรคพวกนี้ผ่านน้ำได้ ก็น่าจะทำให้เด็กพิเศษกลุ่มอื่นดีขึ้นได้ ก็เริ่มศึกษาการว่ายน้ำในเด็กสมาธิสั้นในต่างประเทศเพิ่มขึ้น หลังจากนั้นก็เริ่มสอน เด็กกลุ่มสมาธิสั้นและออทิสติก มากขึ้น แล้วก็สนใจ เด็กกลุ่มหูหนวกภายใต้แนวคิดที่ว่าถ้า เด็กหูหนวก ตกน้ำจะทำอย่างไร ตะโกนให้คนช่วยก็ไม่ได้ เลยตัดสินใจไปเรียนภาษามือจากความช่วยเหลือของพี่ๆ ที่ขายของที่ถนนคนเดิน เชียงใหม่ ก่อนจะส่งเรื่องราวทั้งหมดที่กำลังจะทำไปที่โรงเรียนโสตศึกษาฯ เชียงใหม่ ก็ได้รับอนุญาตให้ทำโครงการแรกสอนว่ายน้ำฟรีแก่เด็กหูหนวก ค่าใช้จ่ายส่วนใหญ่มาจากเงินบริจาคของผู้ปกครองที่ส่งเด็กกลุ่มนี้มาเรียนและองค์กรที่มีจิตกุศลต่างๆ” ครูสอนว่ายน้ำวัย 29 ปี บุตรชายคนโตของ คุณพ่อณรงค์ และ คุณแม่วิไลวรรณ ท้าวอุดม เล่าที่มาของงานจิตอาสา แต่ใช่ว่าจะเป็นเรื่องง่ายในการสอนเด็กพิเศษให้เรียนรู้ทักษะว่ายน้ำตามแบบแผน ครูพายุ อธิบายวิธีการโดยยกเป็นกรณีให้เข้าใจง่ายๆ เริ่มจากเด็กหูหนวก เป็นกลุ่มที่มีสมองปกติเพียงแต่มีภาษามือเข้ามาเกี่ยวข้อง อุปสรรคคือเวลาเด็กหันหลังให้การเรียกหาจะเป็นอะไรที่ยากมากอาจจะต้องเดินไปแตะตัวทีละคน ขณะที่ เด็กตาบอด นั้นเป็นกลุ่มที่ฟังคำสั่งได้ แต่อธิบายด้วยคำสั่งล้วนๆ หรือภาษาท่าทางอาจจะไม่รู้เรื่อง เพราะมองไม่เห็น เพราะฉะนั้นอาจใช้เทคนิคการจับให้ทำ ซึ่งกลุ่มนี้อาจกินระยะเวลาเรียนรู้นานกว่ากลุ่มอื่น มาที่ เด็กออทิสติก หรือบกพร่องทางสติปัญญา ถ้าเป็นประเภทมีอาการค่อนข้างมาก สั่งอะไรทำไม่ได้เลย การเรียนการสอนจะเป็นเรื่องของนันทนาการค่อนข้างมาก อาจจะให้เล่นเก็บของในน้ำ ฝึกเตะขา แล้วค่อยนำมาผสมผสานกัน สรุปง่ายๆ หากมีเรื่องของสติปัญญามาเกี่ยวการเรียนรวมกันเป็นเรื่องยากทันที จากเดินไปสอนสู่สระว่ายน้ำเดินได้ : ครูพายุ เล่าว่า ตั้งแต่ปี 2555 ที่เริ่มไปทำโครงการที่ขอนแก่น ก่อนไปจะพิจารณาว่าที่ไหนสมควรไปก่อนหลัง โดยแทนสัญลักษณ์ด้วยจำนวนดาว มีหลายแห่งให้ 5 ดาวเพราะต้องรีบทำ แต่จนแล้วจนเล่าต้องตัดใจเพราะไม่มีสระว่ายน้ำให้สอน จึงตัดสินใจเขียนโครงการในฝันชื่อ “สระว่ายน้ำเดินได้” เป็นสระว่ายน้ำพลาสติกขนาดใหญ่ 5x10 เมตร ถอดประกอบได้ โดยทราบว่ามีสระลักษณะนี้ผลิตอยู่ พยายามไปเสาะหาแต่ส่วนใหญ่มีขนาดเล็กท้ายที่สุดเมื่อปี2557รอไม่ไหวต้องตัดสินใจทำทันที ครูสอนว่ายน้ำจิตอาสา กำลังสอนเด็กพิเศษว่ายน้ำ “วิธีการทำงานของผมคือ ไปถึงสถานที่ที่จะสอนว่ายน้ำแล้วจินตนาการว่ามีสระโผล่ขึ้นมาตรงนี้ตรงนั้น สุดท้ายตัดสินใจประกาศว่าขอรับบริจาคเพื่อทำโครงการสระว่ายน้ำเดินได้ ปรากฏว่ามีบริษัทหนึ่งชื่อบริษัท ซาคานา พูล แอนด์ สวิม ส่งข้อความมาว่าเคยนำเข้าสระแบบนี้ อยากได้ไซส์เท่าไหร่ เขาเลยอาสาประสานให้โดยจะไปซื้อหน้าโรงงานราคาทุนให้เลย เลยได้มาด้วยเงินบริจาค 2 แสนบาทของนักแสดงชื่อดังชาวสวีเดนชื่อ แชลล์ เบอร์กควิส์ท ที่ผมเคยไปช่วยงานเขาสมัยที่เขามาทำสระว่ายน้ำให้คนในชนบทได้เรียนว่ายน้ำที่เมืองไทย ที่ต้องเดินได้ อย่างแรกเป็นเรื่องของภูมิศาสตร์ อย่างที่อ่างขางที่ตั้งใจจะไปทำ มีเด็กเคยจมน้ำเสียชีวิตที่อ่างเก็บน้ำมาแล้ว 3 คนในรอบ 5 ปี หรือที่โรงเรียนน่านปัญญานุกูล หลังโรงเรียนก็มีอ่างเก็บน้ำมีเด็กจมน้ำเสียชีวิตเช่นกัน เป็นเด็กบกพร่องทางปัญญา พวกเขาไม่มีสระฝึกว่ายน้ำ เราจะยกสระไปให้พวกเขาได้อย่างไร หรือจะเรียนที่ห้วยหนองคลองบึง คงไม่ใช่วิสัยของครูสอนว่ายน้ำ เพราะฉะนั้นต้องยกสระว่ายน้ำไปให้เด็ก" เจ้าของแนวคิดสระว่ายน้ำเคลื่อนที่ บอกพร้อมกับเผยว่า โครงการแรกเริ่มที่โรงเรียนน่านปัญญานุกูล ก่อนจะไปที่โรงเรียนสอนคนตาบอดลำปาง จากนั้นจะขึ้นไปอ่างขาง โดยสระนี้ใช้เวลาประกอบ 3 ชั่วโมง เติมน้ำอีก 6 ชั่วโมง ใช้น้ำประปาธรรมดา เติมคลอรีนฆ่าเชื้อและมีระบบกรองน้ำเหมือนสระถาวร อายุใช้งานประมาณ 2 ปี แต่หากรักษาดีๆอาจอยู่ได้ถึง7ปีเลยทีเดียว ทว่าความตั้งใจจริงๆ นั้น เจ้าตัวเผยสระว่ายน้ำเดินได้เป็นเพียงโครงการนำร่อง ความฝันสูงสุดคือไม่ต้องการให้สระเดินได้ แต่อยากให้มีสระถาวรมากกว่า เป็นต้นแบบ ตัวเองเพียงไปสร้างโอกาสของการว่ายน้ำที่ไม่ต้องลงทุนเป็นหลักล้าน อยากให้โรงเรียนมีสระแบบนี้ไว้ที่โรงเรียนแบบถาวร ลงทุนเพียง 2 แสนกว่าบาท แรกเริ่มจะมีทีมงานเข้ามาช่วยเทรนนิ่งให้ จากนั้นก็ให้โรงเรียนสอนกันเอง หลายมือประสาน งานสำเร็จ... จากที่เคยขับเคลื่อนงานอาสาเพียงลำพัง วันนี้ครูหนุ่มจิตอาสาขยายเครือข่ายเป็นมวลชนกลุ่มใหญ่ขึ้น โดยจับมือกับภาคเอกชนและโรงเรียนที่ต้องการความช่วยเหลือเดินเครื่องทำงาน อีกทั้งชักชวนอดีตนักกีฬาว่ายน้ำทีมชาติรุ่นพี่ อย่าง “โอ” ชลธร วรธำรง, “วูดดี้” วรวุฒิ อำไพวรรณ และ “เซฟ” วิชา รัตนโชติ มาร่วมสร้างแรงบันดาลใจให้เด็กๆ ซึ่งนอกจากจะช่วยให้งานไหลลื่นขึ้นแล้วยังเป็นการลบคำครหาต่างๆจากผู้ไม่หวังดี "เคยท้อนะ แต่ไม่ใช่เพราะเด็ก เป็นการท้อจากคนรอบข้าง เวลาเข้าไปตามโรงเรียนสอนคนพิการมีทั้งเห็นด้วยไม่เห็นด้วย มีคำนินทาว่ามาทำไม มาแสวงหาผลประโยชน์อะไรหรือเปล่า คงต้องสร้างความเข้าใจว่าถ้าหวังผลตรงนั้นผมไปหวังทางอื่นดีกว่า กับคนพิการคงไม่ได้อะไร ผมก็เป็นคนทำบุญคนหนึ่ง แค่อยากทำบุญให้กับตัวเองและคนอื่น ทำแล้วจบโดยไม่มีผลประโยชน์แอบแฝงใดๆ เวลาทำโครงการถ้ามีคนเหนื่อย 1 คนแล้วมีคนโชคดีอีก 300 คน คิดว่าคุ้มก็ทำ คิดว่าไม่คุ้มก็ไม่ทำ วันนี้ผมลำบากนะ และเหนื่อยในการหาทุน แต่ทำแล้วมีคนได้ประโยชน์เยอะก็อยากสู้ต่อ คิดง่ายๆ แบบนี้" ครูสอนว่ายน้ำจิตอาสา กล่าว ซึ่งตอนนี้เขาได้ช่วยเด็กๆ ให้ว่ายน้ำเป็นไปแล้วราว1,200คนในรอบ6ปี
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)