สพฐ.เติมรู้ครูรับมือโรคจิตเวชเด็ก
วันที่ ( 25 ม.ค.) นายการุณ สกุลประดิษฐ์ เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) เปิดเผยว่า ศูนย์เฉพาะกิจคุ้มครองช่วยเหลือนักเรียน (ฉก.ชน.) ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ได้รายงานผลงานคุ้มครองและช่วยเหลือเด็กนักเรียนของ ฉก.ชน.ทั่วประเทศ จำนวน 226 ศูนย์ ระหว่างเดือนตุลาคม-ธันวาคม 2558 ที่ผ่านมาว่า ภาพรวมเป็นที่น่าพอใจ แก้ปัญหาให้นักเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะกรณีความรุนแรง การล่วงละเมิดทางเพศ และไม่ได้รับความเป็นธรรมทางการศึกษา โดยกรณีที่ได้รับการคุ้มครองช่วยเหลือมากที่สุด คือ จิตเวช จำนวน7,667ราย ซึ่งในกรณีนี้ สพฐ.มีความเป็นห่วงมาก และพยายามหาแนวทางป้องกันไม่ให้เด็กกลุ่มนี้หลุดออกนอกระบบ เพราะได้รับแจ้งจากกรมสุขภาพจิตว่า มีเด็กที่อยู่ในภาวะจิตเวช ประมาณ20% ดังนั้น สพฐ.ต้องเร่งแก้ปัญหาดังกล่าว ส่วนการป้องกันเหตุนักเรียนทะเลาะวิวาทนั้น สพฐ.ได้วางมาตรการป้องกันอย่างเข้มข้น อาทิ เพิ่มจำนวนเจ้าหน้าที่ส่งเสริมความประพฤตินักเรียน ออกแผนปฎิบัติการเฝ้าระวังจุดเสี่ยง การเยี่ยมบ้านนักเรียน รวมถึงการเฝ้าระวังสื่อออนไลน์
“เด็กที่มีภาวะป่วยทางจิตเป็นอาการที่น่าเป็นห่วงอย่างมาก ซึ่งบางครั้งครูผู้สอนเองก็ยังไม่รู้ว่าลูกศิษย์ตัวเองมีอาการป่วย เพราะโรคประเภทนี้มีอาการป่วยหลายรูปแบบ เช่น ออทิสติก ไบโพล่าร์หรืออารมณ์ 2 ขั้ว และภาวะซึมเศร้า เป็นต้น ดังนั้น ในปี 2559นี้ สพฐ.จะนำร่องเติมเต็มความรู้เรื่องเหล่านี้ให้แก่ครูมากขึ้น โดยจัดอบรมความรู้เรื่องโรคจิตเวชเด็ก พร้อมจัดนักจิตวิทยาประจำเขตพื้นที่เพื่อช่วยให้คำแนะนำครู” เลขาธิการ กพฐ. กล่าว.
ขอบคุณ... http://www.dailynews.co.th/education/375320 (ขนาดไฟล์: 167)
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
นายการุณ สกุลประดิษฐ์ เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) วันที่ ( 25 ม.ค.) นายการุณ สกุลประดิษฐ์ เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) เปิดเผยว่า ศูนย์เฉพาะกิจคุ้มครองช่วยเหลือนักเรียน (ฉก.ชน.) ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ได้รายงานผลงานคุ้มครองและช่วยเหลือเด็กนักเรียนของ ฉก.ชน.ทั่วประเทศ จำนวน 226 ศูนย์ ระหว่างเดือนตุลาคม-ธันวาคม 2558 ที่ผ่านมาว่า ภาพรวมเป็นที่น่าพอใจ แก้ปัญหาให้นักเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะกรณีความรุนแรง การล่วงละเมิดทางเพศ และไม่ได้รับความเป็นธรรมทางการศึกษา โดยกรณีที่ได้รับการคุ้มครองช่วยเหลือมากที่สุด คือ จิตเวช จำนวน7,667ราย ซึ่งในกรณีนี้ สพฐ.มีความเป็นห่วงมาก และพยายามหาแนวทางป้องกันไม่ให้เด็กกลุ่มนี้หลุดออกนอกระบบ เพราะได้รับแจ้งจากกรมสุขภาพจิตว่า มีเด็กที่อยู่ในภาวะจิตเวช ประมาณ20% ดังนั้น สพฐ.ต้องเร่งแก้ปัญหาดังกล่าว ส่วนการป้องกันเหตุนักเรียนทะเลาะวิวาทนั้น สพฐ.ได้วางมาตรการป้องกันอย่างเข้มข้น อาทิ เพิ่มจำนวนเจ้าหน้าที่ส่งเสริมความประพฤตินักเรียน ออกแผนปฎิบัติการเฝ้าระวังจุดเสี่ยง การเยี่ยมบ้านนักเรียน รวมถึงการเฝ้าระวังสื่อออนไลน์ “เด็กที่มีภาวะป่วยทางจิตเป็นอาการที่น่าเป็นห่วงอย่างมาก ซึ่งบางครั้งครูผู้สอนเองก็ยังไม่รู้ว่าลูกศิษย์ตัวเองมีอาการป่วย เพราะโรคประเภทนี้มีอาการป่วยหลายรูปแบบ เช่น ออทิสติก ไบโพล่าร์หรืออารมณ์ 2 ขั้ว และภาวะซึมเศร้า เป็นต้น ดังนั้น ในปี 2559นี้ สพฐ.จะนำร่องเติมเต็มความรู้เรื่องเหล่านี้ให้แก่ครูมากขึ้น โดยจัดอบรมความรู้เรื่องโรคจิตเวชเด็ก พร้อมจัดนักจิตวิทยาประจำเขตพื้นที่เพื่อช่วยให้คำแนะนำครู” เลขาธิการ กพฐ. กล่าว. ขอบคุณ... http://www.dailynews.co.th/education/375320
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)