‘เด็กพิเศษ’ป่วยบอกใครไม่ได้!?!
ปฏิญญา เอี่ยมตาล ทีมข่าวรายงานพิเศษ หลังจาก “คมชัดลึก” รายงานข่าวปัญหา สิทธิเด็กพิการที่ถูกละเลย อย่างต่อเนื่อง ล่าสุด พบว่า มีเด็กพิเศษหรือเด็กออทิสติก ประมาณ 7,000 กว่าคนทั่วประเทศไทย ไม่ได้รับการดูแลรักษาสุขภาพเหมือนเด็กทั่วไป
กลุ่มคนพิการทางออทิสติก เป็น 1 ใน 7 ประเภทความพิการ หมายถึง บุคคลที่มีข้อจำกัดในการทำกิจกรรมในชีวิตประจำวัน หรือการเข้าไปมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางสังคม ซึ่งเป็นผลจากความบกพร่องทางพัฒนาการด้านสังคม การสื่อความหมาย พฤติกรรมและอารมณ์ โดยมีสาเหตุจากความผิดปกติของสมองและความผิดปกตินั้นแสดงก่อนอายุ 2 ปีครึ่ง
ปัญหาที่เกิดขึ้นคือ เมื่อเด็กกลุ่มนี้รู้สึกเจ็บป่วย พวกเขาจะไม่สามารถสื่อความหมายหรือบอกพ่อแม่ผู้ปกครองได้ว่ารู้สึกไม่สบายแบบไหน เช่น ปวดท้อง ปวดหัว ปวดฟัน เด็กกลุ่มนี้จะไม่รู้เลยว่า มันคืออาการอะไร ขณะที่ผู้ปกครองส่วนใหญ่เองก็ขาดความรู้ ความเข้าใจในการดูแล หรือบางรายละเลยไม่ใส่ใจ
จากข้อมูลโรงเรียนลพบุรีปัญญานุกูล จ.ลพบุรี พบว่า “เด็กพิเศษ” ส่วนใหญ่มีปัญหา สุขภาพปากและฟัน ฟันผุ ปวดฟัน เหงือกอักเสบ ฯลฯ บางรายมีปัญหาโรคติดต่อ เช่น ไข้หวัด หิด เหา หรืออาจมีอาการป่วยของโรคเรื้อรัง เช่น ปวดท้อง โรคกระเพาะเบาหวาน ความดันหัวใจ ฯลฯ
“ทีมข่าวคมชัดลึก” ลงพื้นที่สังเกตการณ์ โรงเรียนข้างต้นที่เป็นโรงเรียนเฉพาะของเด็กพิเศษ มีนักเรียนกว่า 200 คน เมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 2558 เป็นวันตรวจสุขภาพ โดยนักเรียนยืนต่อคิวพร้อมสมุดประเมินสุขภาพ แต่งกายในชุดกีฬาสะดวกต่อการยกแขนขา เมื่อผ่านการตรวจคัดกรองแล้ว แพทย์พยาบาลจะประเมินว่า จัดอยู่ในกลุ่มใดบ้างใน 3 กลุ่ม คือ 1 กลุ่มปกติ 2 กลุ่มตรวจพบความผิดปกติควรเฝ้าระวังและทำการรักษา และ 3 กลุ่มร้ายแรงควรได้รับการรักษาทันที
เด็กหลายคนให้ความร่วมมือในการตรวจดีขณะที่บางคนไม่เข้าใจว่า มาทำอะไรกันในวันนี้จึงแสดงท่าทีขัดขืน บ่ายเบี่ยงไม่ยอมให้ตรวจโดยเฉพาะจุดตรวจวัดความดันและตรวจฟันและช่องปาก เด็กบางคนร้องไห้ไม่ยอมรับการตรวจ ทำให้เจ้าหน้าที่ต้องเข้าไปช่วย
ครูผู้รับผิดชอบงานอนามัย ให้ข้อมูลว่า ปัญหาที่พบคือ หลังตรวจสุขภาพแล้ว เมื่อแจ้งให้ผู้ปกครองทราบ ปรากฏว่า ส่วนใหญ่ไม่ค่อยให้ความร่วมมือพาเด็กไปรักษา ไม่ให้ความสำคัญสุขภาพเด็ก “ผู้ปกครองจะชอบอ้างว่า ไม่มีเวลาพาไปหาหมอ หรือเด็กไม่ยอมไป เด็กไม่ให้ความร่วมมือ ไม่มีเงิน บางครั้งก็บอกว่าโรงพยาบาลไม่ให้ความสำคัญกับเด็กให้นั่งรอนานเด็กไม่ยอมต้องพากลับ”
ทั้งนี้ เพื่อแก้ปัญหาเด็กพิเศษไม่ได้รับการรักษาสุขภาพอนามัยอย่างถูกต้อง องค์การยูนิเซฟ ร่วมกับ องค์กร “สเปเชียล โอลิมปิก ไทยแลนด์” จัดโครงการตรวจสุขภาพเด็กพิการทางสติปัญญา (ออทิสติก) ประเทศไทยเป็น 1 ใน 33 ประเทศสมาชิกทั่วโลก ที่มีโครงการตรวจสุขภาพเด็กพิการทางสติปัญญา ระยะเวลา 3 ปี เริ่มเมื่อปี 2556 นำร่องเด็กพิเศษ 1,359 คน จาก 6 จังหวัด ที่มีโรงเรียนการศึกษาพิเศษ ได้แก่ กทม. ลพบุรี สุพรรณบุรี เชียงใหม่ อุบลราชธานี และภูเก็ต
“รัชนีวรรณ บูลกุล" ผู้จัดการโครงการสเปเชียล โอลิมปิก ไทยแลนด์ เล่าว่า ปัจจุบันมีคนพิการทางสติปัญญาส่วนใหญ่มีฐานะยากจน มักเป็นกลุ่มที่ถูกลืมและขาดโอกาสในสังคม โดยเฉพาะกลุ่มเด็กจำนวนมากที่ประสบปัญหาด้านสุขภาพ
“ข้อมูลกรมสุขภาพจิตระบุ มีเด็กออทิสติกแค่ร้อยละ 3.4 เท่านั้น ที่เข้ารับการรักษาพยาบาลของรัฐ มีเด็กอีกหลายคน ที่ไม่เคยรับการตรวจสุขภาพเลย อยากให้รัฐผลักดันให้มีโครงการตรวจสุขภาพเด็กออทิสติกทั่วประเทศ ร่วมกัน 3 ฝ่ายคือ หน่วยการแพทย์ท้องถิ่น กระทรวงศึกษาธิการและกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์”
การตรวจสุขภาพเด็กพิเศษในโรงเรียนแห่งนี้เป็นความร่วมมือจากโรงเรียน สาธารณสุขจังหวัด รพ.สต.พื้นที่ ต.ป่าตาล อ.เมือง จ.ลพบุรี โรงพยาบาลประจำจังหวัด และอาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) เป็นอย่างดี ในการตรวจคัดกรองแบบฟูลสเกลครอบคลุม 5 ส่วน คือ 1.การตรวจร่างกายทั่วไป เริ่มจากการลงทะเบียนซักประวัติ ชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง วัดอุณหภูมิความอิ่มตัวของออกซิเจนและวัดความดันโลหิต 2.การตรวจสมรรถภาพการมองเห็น โดยใช้รูปภาพเป็นสื่อ ให้เด็กมองในระยะห่างทั้งใกล้ไกลคือระยะ 1 ฟุตและระยะ 2 เมตร บอกรูปสัญลักษณ์ที่ชี้ว่าเป็นรูปอะไร เช่น สามเหลี่ยม วงกลม สี่เหลี่ยม 3.การตรวจร่างกายทางกายภาพ เช่น การยกแขนขาเพื่อดูว่ามีการคดงอหรือไม่ การก้มเงย ดูความผิดปกติของกระดูกสันหลัง 4.การตรวจสิ่งผิดปกติในช่องท้องของนักเรียนหญิงว่ามีสิ่งผิดปกติหรือไม่ และ 5.การตรวจสุขภาพปากและฟัน มุ่งหวังแก้ปัญหาเรื่องฟันผุ โรคในช่องปาก คราบหินปูน โรคเหงือกอักเสบ ฯลฯ
ตัวแทนกลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุข รพ.สต.ป่าตาล บอกว่า เริ่มแรกที่รู้ว่าจะต้องมีการตรวจสุขภาพเด็กพิเศษ รู้สึกกังวลว่าเขาจะสื่อสารกับเรารู้เรื่องหรือไม่ จะต้องใช้วิธีการพูดหรือจิตวิทยาอย่างไรดีเพื่อจะบอกเขา แต่เมื่อได้มาสัมผัสเด็กจริงๆ แล้วพบว่าเด็กๆ น่ารัก พูดคุยรู้เรื่อง เด็กเข้าใจและยอมให้ตรวจสุขภาพโดยดี จะมีบางคนที่ไม่เข้าใจ จึงต้องชมว่าเก่งครับ เก่งค่ะ ดีมากค่ะ เด็กหลายคนบอกไม่ได้ว่าเจ็บป่วยตรงไหน เห็นแล้วรู้สึกสงสารเพราะเขาไม่เหมือนเด็กทั่วไป อยากให้พ่อแม่ผู้ปกครองใส่ใจดูแลสุขภาพของเด็กๆ เหล่านี้ด้วย
ด้าน "หัวหน้างานอนามัยโรงเรียน“ ยอมรับว่า หลังจากตรวจสุขภาพแล้ว ได้เรียกประชุมผู้ปกครองแจ้งให้ทราบ ส่วนใหญ่ไม่ค่อยร่วมมือ บอกแล้วก็แล้วกันไป ไม่พาลูกหลานไปรักษา ให้ข้อมูลไปแล้วก็ไม่เห็นความสำคัญสุขภาพเด็ก ไม่เปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดี
“ผู้ปกครองส่วนใหญ่อ้างว่าไม่มีเวลาพาไป เด็กไม่ยอมไป เด็กไม่ให้ความร่วมมือ ไม่มีทุนทรัพย์ โรงพยาบาลไม่ให้ความสำคัญกับเด็ก และนั่งรอนานเด็กไม่ยอม จึงต้องพากลับ อยากให้โครงการมีต่อเนื่อง ไม่ใช่สิ้นสุดแค่ 3 ปีนี้เท่านั้น อยากให้ขยายผลไปสู่ความยั่งยืนในอนาคต”
แม้ว่า ปลายปี 2558 นี้ จะสิ้นสุดการดำเนินโครงการตรวจสุขภาพเด็กออทิสติก 6 โรงเรียนนำร่องประเทศไทย ตามกำหนดระยะเวลา 3 ปีแล้วก็ตาม แต่สิ่งหนึ่งที่องค์การยูนิเซฟ และสเปเชียลโอลิมปิกไทย คาดหวังในอนาคต คือ โมเดลแห่งความร่วมมือ 3 ฝ่ายที่ทำงานร่วมกันอย่างเป็นระบบในการดูแลสุขภาพเด็กออทิสติกทั้งประเทศ ทั้งที่ก่อนหน้าต่างคนต่างทำ ได้แก่ กระทรวงสาธารณสุข (หน่วยการแพทย์สาธารณสุขจังหวัด, หน่วยการแพทย์ท้องถิ่น (สพ.สต. รพ.ประจำจังหวัด) กระทรวงศึกษาธิการ (โรงเรียน) และกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.จว.) ชุมชน, พ่อแม่ผู้ปกครอง ร่วมกันขับเคลื่อน ผลักดัน การดูแลแก้ไขปัญหาสุขภาพเด็กออทิสติกไทยอย่างเป็นระบบให้ดีขึ้นต่อไป
ขอบคุณ... http://www.komchadluek.net/detail/20150909/213054.html (ขนาดไฟล์: 167)
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
โรงเรียนลพบุรีปัญญานุกูล จ.ลพบุรี ปฏิญญา เอี่ยมตาล ทีมข่าวรายงานพิเศษ หลังจาก “คมชัดลึก” รายงานข่าวปัญหา สิทธิเด็กพิการที่ถูกละเลย อย่างต่อเนื่อง ล่าสุด พบว่า มีเด็กพิเศษหรือเด็กออทิสติก ประมาณ 7,000 กว่าคนทั่วประเทศไทย ไม่ได้รับการดูแลรักษาสุขภาพเหมือนเด็กทั่วไป กลุ่มคนพิการทางออทิสติก เป็น 1 ใน 7 ประเภทความพิการ หมายถึง บุคคลที่มีข้อจำกัดในการทำกิจกรรมในชีวิตประจำวัน หรือการเข้าไปมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางสังคม ซึ่งเป็นผลจากความบกพร่องทางพัฒนาการด้านสังคม การสื่อความหมาย พฤติกรรมและอารมณ์ โดยมีสาเหตุจากความผิดปกติของสมองและความผิดปกตินั้นแสดงก่อนอายุ 2 ปีครึ่ง ปัญหาที่เกิดขึ้นคือ เมื่อเด็กกลุ่มนี้รู้สึกเจ็บป่วย พวกเขาจะไม่สามารถสื่อความหมายหรือบอกพ่อแม่ผู้ปกครองได้ว่ารู้สึกไม่สบายแบบไหน เช่น ปวดท้อง ปวดหัว ปวดฟัน เด็กกลุ่มนี้จะไม่รู้เลยว่า มันคืออาการอะไร ขณะที่ผู้ปกครองส่วนใหญ่เองก็ขาดความรู้ ความเข้าใจในการดูแล หรือบางรายละเลยไม่ใส่ใจ จากข้อมูลโรงเรียนลพบุรีปัญญานุกูล จ.ลพบุรี พบว่า “เด็กพิเศษ” ส่วนใหญ่มีปัญหา สุขภาพปากและฟัน ฟันผุ ปวดฟัน เหงือกอักเสบ ฯลฯ บางรายมีปัญหาโรคติดต่อ เช่น ไข้หวัด หิด เหา หรืออาจมีอาการป่วยของโรคเรื้อรัง เช่น ปวดท้อง โรคกระเพาะเบาหวาน ความดันหัวใจ ฯลฯ “ทีมข่าวคมชัดลึก” ลงพื้นที่สังเกตการณ์ โรงเรียนข้างต้นที่เป็นโรงเรียนเฉพาะของเด็กพิเศษ มีนักเรียนกว่า 200 คน เมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 2558 เป็นวันตรวจสุขภาพ โดยนักเรียนยืนต่อคิวพร้อมสมุดประเมินสุขภาพ แต่งกายในชุดกีฬาสะดวกต่อการยกแขนขา เมื่อผ่านการตรวจคัดกรองแล้ว แพทย์พยาบาลจะประเมินว่า จัดอยู่ในกลุ่มใดบ้างใน 3 กลุ่ม คือ 1 กลุ่มปกติ 2 กลุ่มตรวจพบความผิดปกติควรเฝ้าระวังและทำการรักษา และ 3 กลุ่มร้ายแรงควรได้รับการรักษาทันที เด็กหลายคนให้ความร่วมมือในการตรวจดีขณะที่บางคนไม่เข้าใจว่า มาทำอะไรกันในวันนี้จึงแสดงท่าทีขัดขืน บ่ายเบี่ยงไม่ยอมให้ตรวจโดยเฉพาะจุดตรวจวัดความดันและตรวจฟันและช่องปาก เด็กบางคนร้องไห้ไม่ยอมรับการตรวจ ทำให้เจ้าหน้าที่ต้องเข้าไปช่วย ครูผู้รับผิดชอบงานอนามัย ให้ข้อมูลว่า ปัญหาที่พบคือ หลังตรวจสุขภาพแล้ว เมื่อแจ้งให้ผู้ปกครองทราบ ปรากฏว่า ส่วนใหญ่ไม่ค่อยให้ความร่วมมือพาเด็กไปรักษา ไม่ให้ความสำคัญสุขภาพเด็ก “ผู้ปกครองจะชอบอ้างว่า ไม่มีเวลาพาไปหาหมอ หรือเด็กไม่ยอมไป เด็กไม่ให้ความร่วมมือ ไม่มีเงิน บางครั้งก็บอกว่าโรงพยาบาลไม่ให้ความสำคัญกับเด็กให้นั่งรอนานเด็กไม่ยอมต้องพากลับ” ทั้งนี้ เพื่อแก้ปัญหาเด็กพิเศษไม่ได้รับการรักษาสุขภาพอนามัยอย่างถูกต้อง องค์การยูนิเซฟ ร่วมกับ องค์กร “สเปเชียล โอลิมปิก ไทยแลนด์” จัดโครงการตรวจสุขภาพเด็กพิการทางสติปัญญา (ออทิสติก) ประเทศไทยเป็น 1 ใน 33 ประเทศสมาชิกทั่วโลก ที่มีโครงการตรวจสุขภาพเด็กพิการทางสติปัญญา ระยะเวลา 3 ปี เริ่มเมื่อปี 2556 นำร่องเด็กพิเศษ 1,359 คน จาก 6 จังหวัด ที่มีโรงเรียนการศึกษาพิเศษ ได้แก่ กทม. ลพบุรี สุพรรณบุรี เชียงใหม่ อุบลราชธานี และภูเก็ต “รัชนีวรรณ บูลกุล" ผู้จัดการโครงการสเปเชียล โอลิมปิก ไทยแลนด์ เล่าว่า ปัจจุบันมีคนพิการทางสติปัญญาส่วนใหญ่มีฐานะยากจน มักเป็นกลุ่มที่ถูกลืมและขาดโอกาสในสังคม โดยเฉพาะกลุ่มเด็กจำนวนมากที่ประสบปัญหาด้านสุขภาพ “ข้อมูลกรมสุขภาพจิตระบุ มีเด็กออทิสติกแค่ร้อยละ 3.4 เท่านั้น ที่เข้ารับการรักษาพยาบาลของรัฐ มีเด็กอีกหลายคน ที่ไม่เคยรับการตรวจสุขภาพเลย อยากให้รัฐผลักดันให้มีโครงการตรวจสุขภาพเด็กออทิสติกทั่วประเทศ ร่วมกัน 3 ฝ่ายคือ หน่วยการแพทย์ท้องถิ่น กระทรวงศึกษาธิการและกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์” การตรวจสุขภาพเด็กพิเศษในโรงเรียนแห่งนี้เป็นความร่วมมือจากโรงเรียน สาธารณสุขจังหวัด รพ.สต.พื้นที่ ต.ป่าตาล อ.เมือง จ.ลพบุรี โรงพยาบาลประจำจังหวัด และอาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) เป็นอย่างดี ในการตรวจคัดกรองแบบฟูลสเกลครอบคลุม 5 ส่วน คือ 1.การตรวจร่างกายทั่วไป เริ่มจากการลงทะเบียนซักประวัติ ชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง วัดอุณหภูมิความอิ่มตัวของออกซิเจนและวัดความดันโลหิต 2.การตรวจสมรรถภาพการมองเห็น โดยใช้รูปภาพเป็นสื่อ ให้เด็กมองในระยะห่างทั้งใกล้ไกลคือระยะ 1 ฟุตและระยะ 2 เมตร บอกรูปสัญลักษณ์ที่ชี้ว่าเป็นรูปอะไร เช่น สามเหลี่ยม วงกลม สี่เหลี่ยม 3.การตรวจร่างกายทางกายภาพ เช่น การยกแขนขาเพื่อดูว่ามีการคดงอหรือไม่ การก้มเงย ดูความผิดปกติของกระดูกสันหลัง 4.การตรวจสิ่งผิดปกติในช่องท้องของนักเรียนหญิงว่ามีสิ่งผิดปกติหรือไม่ และ 5.การตรวจสุขภาพปากและฟัน มุ่งหวังแก้ปัญหาเรื่องฟันผุ โรคในช่องปาก คราบหินปูน โรคเหงือกอักเสบ ฯลฯ ตัวแทนกลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุข รพ.สต.ป่าตาล บอกว่า เริ่มแรกที่รู้ว่าจะต้องมีการตรวจสุขภาพเด็กพิเศษ รู้สึกกังวลว่าเขาจะสื่อสารกับเรารู้เรื่องหรือไม่ จะต้องใช้วิธีการพูดหรือจิตวิทยาอย่างไรดีเพื่อจะบอกเขา แต่เมื่อได้มาสัมผัสเด็กจริงๆ แล้วพบว่าเด็กๆ น่ารัก พูดคุยรู้เรื่อง เด็กเข้าใจและยอมให้ตรวจสุขภาพโดยดี จะมีบางคนที่ไม่เข้าใจ จึงต้องชมว่าเก่งครับ เก่งค่ะ ดีมากค่ะ เด็กหลายคนบอกไม่ได้ว่าเจ็บป่วยตรงไหน เห็นแล้วรู้สึกสงสารเพราะเขาไม่เหมือนเด็กทั่วไป อยากให้พ่อแม่ผู้ปกครองใส่ใจดูแลสุขภาพของเด็กๆ เหล่านี้ด้วย ด้าน "หัวหน้างานอนามัยโรงเรียน“ ยอมรับว่า หลังจากตรวจสุขภาพแล้ว ได้เรียกประชุมผู้ปกครองแจ้งให้ทราบ ส่วนใหญ่ไม่ค่อยร่วมมือ บอกแล้วก็แล้วกันไป ไม่พาลูกหลานไปรักษา ให้ข้อมูลไปแล้วก็ไม่เห็นความสำคัญสุขภาพเด็ก ไม่เปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดี “ผู้ปกครองส่วนใหญ่อ้างว่าไม่มีเวลาพาไป เด็กไม่ยอมไป เด็กไม่ให้ความร่วมมือ ไม่มีทุนทรัพย์ โรงพยาบาลไม่ให้ความสำคัญกับเด็ก และนั่งรอนานเด็กไม่ยอม จึงต้องพากลับ อยากให้โครงการมีต่อเนื่อง ไม่ใช่สิ้นสุดแค่ 3 ปีนี้เท่านั้น อยากให้ขยายผลไปสู่ความยั่งยืนในอนาคต” แม้ว่า ปลายปี 2558 นี้ จะสิ้นสุดการดำเนินโครงการตรวจสุขภาพเด็กออทิสติก 6 โรงเรียนนำร่องประเทศไทย ตามกำหนดระยะเวลา 3 ปีแล้วก็ตาม แต่สิ่งหนึ่งที่องค์การยูนิเซฟ และสเปเชียลโอลิมปิกไทย คาดหวังในอนาคต คือ โมเดลแห่งความร่วมมือ 3 ฝ่ายที่ทำงานร่วมกันอย่างเป็นระบบในการดูแลสุขภาพเด็กออทิสติกทั้งประเทศ ทั้งที่ก่อนหน้าต่างคนต่างทำ ได้แก่ กระทรวงสาธารณสุข (หน่วยการแพทย์สาธารณสุขจังหวัด, หน่วยการแพทย์ท้องถิ่น (สพ.สต. รพ.ประจำจังหวัด) กระทรวงศึกษาธิการ (โรงเรียน) และกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.จว.) ชุมชน, พ่อแม่ผู้ปกครอง ร่วมกันขับเคลื่อน ผลักดัน การดูแลแก้ไขปัญหาสุขภาพเด็กออทิสติกไทยอย่างเป็นระบบให้ดีขึ้นต่อไป ขอบคุณ... http://www.komchadluek.net/detail/20150909/213054.html
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)