เมล็ดพันธุ์แห่งการอ่าน นำหนังสือสู่เด็ก นำเด็กสู่หนังสือ
"สิงที่เราทำมากว่า 15-16 ปี เหมือนกับเราไปหย่อนเมล็ดพันธุ์แห่งการอ่านทิ้งไว้ แล้วมันก็เติบโตงอกงาม เมล็ดไหนที่ลีบฝ่อ เราจะไม่เสียเวลา เราเป็นคนบอกตัวเองเสมอว่าเรามีเวลาล้มเหลว แต่จะต้องรีบลุกขึ้นมา เพราะฉะนั้น ใครที่ทำจริง แล้วงอกงามก็ทำกันต่อ แต่คนไหนที่ลีบฝ่อไป เราจะไม่ไปเสียเวลากับการฟื้นตัว เพราะทำให้เสียงบประมาณ เสียเวลา และเสียกำลังคน เพราะเรายังมีเด็ก ๆ อีกมากมายที่ต้องเข้าไปช่วยเหลือให้พวกเขารู้หนังสือ"
คำกล่าวเบื้องต้นเป็นคำพูดที่บอกความจริงใจอย่างชัดเจนของ "เรืองศักดิ์ ปิ่นประทีป" กรรมการผู้จัดการมูลนิธิหนังสือเพื่อเด็ก ทั้งนั้นเพราะตลอดเวลาผ่านมานับตั้งแต่ปี 2544-2560 มูลนิธิหนังสือเพื่อเด็กมีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในการสร้างความตระหนักรู้ต่อเรื่องการส่งเสริมการอ่านสำหรับเด็กก่อนวัยเรียน
ทั้งยังจัดหาหนังสือดีสำหรับเด็กและครอบครัวที่ด้อยโอกาสที่อยู่ในเมืองและถิ่นทุรกันดารรวมถึงสามเณรในโรงเรียนพระปริยัติธรรมทั่วประเทศ ในการจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่านที่ครอบคลุมประชากรกว่า 13 ล้านคน โดยแยกเป็นเด็กและเยาวชน 5,668,379 คน พ่อแม่ผู้ปกครอง ครู พี่เลี้ยง ผู้ดูแลเด็ก คนทำงานด้านการพัฒนาเด็กสื่อมวลชนและผู้สนใจทั่วไปรวม7,775,308คน
เพราะ "เรืองศักดิ์" เชื่อว่า หนังสือคืออาหารสมอง หนังสือคืออาหารใจ และหนังสือคืออาหารธรรม ที่สำคัญ "เรืองศักดิ์" เชื่อว่า หากทุกคนช่วยกันทำให้เด็กรักการอ่าน สังคมไทยจะได้เด็กพันธุ์ใหม่ที่พร้อมจะเติบโตเป็นเยาวชนพันธุ์ใหม่ที่มีตัวตนชัด มีอนาคตชัดรักตนเอง รักสังคม และพร้อมที่จะสร้างอนาคตที่ดีในวันข้างหน้า
ตามพันธกิจที่วางไว้คือ "นำหนังสือสู่เด็ก นำเด็กสู่หนังสือ" โดยมีกลุ่มพันธมิตรจากภาครัฐและภาคเอกชนต่าง ๆ เข้ามาให้ความช่วยเหลือในการส่งมอบหนังสือและปัจจัยในการสนับสนุนต่าง ๆ โดยเฉพาะบริษัท สตาร์บัคส์คอฟฟี่(ประเทศไทย)จำกัด
ในประเด็นนี้ "สุมนพินทุ์ โชติกะพุกกณะ" ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาดและสื่อสารองค์กร บริษัท สตาร์บัคส์ คอฟฟี่ (ประเทศไทย) จำกัด เล่าให้ฟังถึงการเข้ามาเป็นพาร์ตเนอร์ในการสนับสนุนมูลนิธิหนังสือเพื่อเด็กว่า ในเรื่องของการทำกิจกรรมเพื่อสังคมเราทำอยู่ 3 ส่วนด้วยกันคือ การสนับสนุนชาวไร่กาแฟ และชุมชนชาวไร่กาแฟ,สิ่งแวดล้อมและชุมชน
"โดยในส่วนของการช่วยเหลือชุมชน เรามองเห็นตรงกันกับมูลนิธิหนังสือเพื่อเด็กว่า เรื่องของการศึกษาเป็นเรื่องสำคัญ โดยเฉพาะเรื่องของการอ่าน เพราะมีส่วนอย่างมากที่จะทำให้ชุมชนเข้มแข็งและยั่งยืนเพราะเยาวชนเป็นจุดเริ่มต้นในการเพาะบ่มความรู้เพื่อสร้างครอบครัวให้เข้มแข็งต่อไป"
"เราคุยกับพี่ปอง(เรืองศักดิ์) ว่า สตาร์บัคส์ขอเป็นจุดเริ่มต้นในการรับบริจาคหนังสือดีไหม ทั้ง ๆ ที่ตอนนั้น (ราว 12 ปีผ่านมา) สตาร์บัคส์มีอยู่เพียง 20-30 สาขาเท่านั้นเอง แต่เราเชื่อว่าลูกค้าของเรา พนักงานของเราน่าจะอยากมีส่วนร่วมตรงนี้ จึงตัดสินใจทำกล่องรับบริจาคหนังสือขึ้นมา ตอนแรกประเภทของหนังสือสะเปะสะปะมาก แต่ตอนหลัง ๆ หนังสือเด็กมีเยอะขึ้น และลูกค้าก็ดีมาก ช่วยกันบริจาคหนังสือใหม่ ๆ มากขึ้นด้วย เราจึงนำหนังสือเหล่านี้ไปให้มูลนิธิหนังสือเพื่อเด็กเพื่อนำไปให้กับห้องสมุดครอบครัวและห้องสมุดชุมชน"
ถึงตรงนี้ "เรืองศักดิ์" กล่าวเสริมว่า ตอนนั้นยังไม่ได้ตั้งกล่องบริจาคหนังสือ แต่เรากับสตาร์บัคส์ช่วยกันรณรงค์การรับบริจาคหนังสือ พร้อมงบประมาณในการจัดกิจกรรมห้องสมุดโรงเรียน ห้องสมุดครอบครัว และห้องสมุดเคลื่อนที่ไปตามชุมชนต่าง ๆ เช่น ร้านก๋วยเตี๋ยว, ร้านซ่อมจักรยาน, ลานเปตอง ที่โรงเรียนบ้านหาดใหญ่ อ.พรหมพิรามจ.พิษณุโลกจากนั้นเราก็มาทำต่อที่โรงเรียนบ้านแม่สาวอ.แม่อายจ.เชียงใหม่
"เพราะที่แม่อายมี 2 นัยยะ หนึ่งเป็นพื้นที่ที่สตาร์บัคส์เข้าไปสนับสนุนชาวไร่กาแฟ และชุมชนกาแฟ ขณะเดียวกันก็มีร้านกาแฟชุมชนอยู่ที่นั่นด้วย จึงกลายเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้เราทำงานเพื่อชุมชน ด้วยการทำห้องสมุดเพื่อเด็ก แต่ตอนนั้นหนังสือยังน้อย เราจึงมาคุยกับทางสตาร์บัคส์อีกครั้งเพื่อขอรับบริจาคหนังสือตามสาขาต่างๆที่สตาร์บัคส์มีอยู่"
"ก็เลยคิกออฟที่หน้าอัมรินทร์พลาซ่า เพราะตอนนั้นอยู่ในช่วงแห่งการเฉลิมฉลองเทศกาลคริสมาสต์ด้วย เราชวนน้องบอล ซึ่งเป็นอาสาสมัครนักอ่าน ทั้งยังเคยไปอ่านหนังสือให้คนไข้ติดเตียง และอ่านหนังสือให้คนพิการในชุมชนของเขาฟังเราก็เลยชวนเขามาเปิดตัวโครงการนี้ด้วย"
"เหตุผลที่เราเริ่มจากห้องสมุดครอบครัวเพราะห้องสมุดโรงเรียนมีเงื่อนไขเยอะเสาร์-อาทิตย์ปิด เย็นมากก็อ่านไม่ได้ เราจึงถามชุมชนต่าง ๆ ที่เราเข้าไปว่าใครอยากจะทำห้องสมุดครอบครัวบ้าง เราจะมีมุมหนังสือให้ และจะซื้อชั้นหนังสือให้เป็นส่วนตัว เพื่อนำหนังสือไปวางและให้เขาดูแล ดังนั้นพอตอนเย็นของทุกวัน รวมถึงเสาร์-อาทิตย์เขาจะเปิดให้ทุกคนได้อ่านหนังสือกันเพราะเราต้องการจุดประกายการอ่านหนังสือให้กับพวกเขา"
"เรืองศักดิ์" บอกว่า ทุกชุมชนที่เราเข้าไปทำโครงการ พอเกิดความเข้มแข็ง เราจะถอยออกมา เพราะต้องการให้พวกเขาบริหารจัดการดูแลกันเอง แต่เราไม่ได้ทอดทิ้งไปเสียทีเดียว เรายังมีหนังสือบริจาคให้อย่างต่อเนื่อง ขณะเดียวกันเราก็ไปเปิดพื้นที่ใหม่ ๆ เพิ่มเติม เหมือนอย่างที่เราเข้าไปทำโครงการอาสาสมัครนักอ่านเพื่อการบำบัดหนังสือเล่มแรกเพื่อเด็กที่ต้องการดูแลพิเศษโดยร่วมกับสตาร์บัคส์และสถาบันราชานุกูล
"เด็กพวกนี้เป็นเด็กพิเศษ ดาวน์ซินโดรมบ้าง ออทิสติกบ้าง แต่เราก็ได้พนักงานจิตอาสาของสตาร์บัคส์ไปช่วยอ่านหนังสือให้พวกน้อง ๆ ฟัง ปรากฏว่าพอหลังจากที่เราเข้าไปช่วยทำโครงการประมาณ 5 ปี น้อง ๆ เด็กพิเศษเหล่านี้กลับมีโอกาสร่วมงานกับสตาร์บัคส์ถึง 5 คน ตรงนี้เป็นผลพวงจากการบำบัดด้วยหนังสือซึ่งเราภูมิใจมาก"
"ฉะนั้น ถ้าถามว่า เป้าหมายต่อไปของมูลนิธิหนังสือเพื่อเด็กจะทำอะไรต่อ เราก็คงยังทำโครงการเหล่านี้อยู่ เพราะตอนนี้สตาร์บัคส์มีสาขาทั้งหมด 290 สาขา นั่นหมายความว่าปีหนึ่ง ๆ เราจะมีกล่องบริจาคหนังสือถึง 290 กล่องทั่วประเทศเพื่อรองรับน้อง ๆ จากพื้นที่ต่าง ๆ แต่ที่เราคิดต่อคือภายในปีหน้าหนังสือที่ได้รับบริจาคจากสตาร์บัคส์จะเข้าไปอยู่ใน 600 ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในต่างจังหวัดทั่วประเทศ โดยเราจะร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น(อปท.)และยูนิเซฟอีกทางหนึ่งด้วย"
"ส่วน กทม.คิดว่าภายใน 5 ปีต่อจากนี้ (2560-2565) เราน่าจะทำศูนย์พัฒนาเด็กเล็กได้อีกประมาณ 300 ศูนย์ และที่เพิ่มเข้ามานอกเหนือจากที่เราทำที่ต่างจังหวัด 12 จังหวัด เช่น เชียงใหม่, ลำปาง, เพชรบุรี, ระยอง ฯลฯ เรายังเข้าไปทำในพื้นที่อุทกภัยทางภาคใต้อีก 11 จังหวัดอีกด้วย เพราะคีย์เวิร์ดที่เราวางไว้คือเมื่อประสบอุทกภัยจิตใจเด็กต้องได้รับการเยียวยาเราจึงนำหนังสือไปให้น้องๆเหล่านั้นและใน"
สำคัญไปกว่านั้น ในปีนี้ทางมูลนิธิหนังสือเพื่อเด็กยังได้รับการบริจาคเงินจำนวน 500,000 บาท จากบริษัท สตาร์บัคส์ คอฟฟี่ (ประเทศไทย) จำกัด "เรืองศักดิ์" จึงคิดว่าน่าจะนำเงินจำนวนนี้ไปมุ่งพัฒนาและส่งเสริมการอ่านพร้อมเป็นกำลังใจให้เยาวชนในการศึกษาเล่าเรียนของเยาวชนที่ประสบอุทกภัยในภาคใต้
ขณะเดียวกันก็ซื้อหนังสือเพิ่มเติมให้กับโรงเรียนที่อยู่ในพื้นที่่ห่างไกลเพราะนักเรียนเป็นชาวเขาเผ่าต่าง ๆ ที่ขาดโอกาสในการเรียนรู้หนังสือ ซึ่งผ่านมาโรงเรียนเหล่านี้ได้รับอุปถัมภ์จากสมเด็จย่า แต่ตอนหลังสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ทรงเข้ามาอุปถัมภ์ เราจึงนำหนังสือต่าง ๆเหล่านี้ไปให้พวกเขาอ่าน เพราะเราเชื่อว่าเมื่อเขาอ่านเล่มนอกเขาก็จะบอกเล่มใน"
ตรงนี้เป็นสิ่งที่ทำอยู่ขณะนี้ ทั้งยังเชื่อแน่ว่าเมล็ดพันธุ์แห่งการอ่านที่มูลนิธิหนังสือเพื่อเด็กพันธมิตรจากหน่วยงานต่าง ๆ ของรัฐและบริษัท สตาร์บัคส์ คอฟฟี่ (ประเทศไทย) จำกัด บ่มเพาะลงไปในจิตใจของเด็ก ๆ จะงอกงาม ผลิบาน จนทำให้เด็ก ๆ ที่ขาดโอกาสกลายเป็นบุคลากรที่มีคุณภาพสำหรับประเทศชาติต่อไปในอนาคตด้วย
ขอบคุณ... http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1488185503
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
เมล็ดพันธุ์แห่งการอ่าน นำหนังสือสู่เด็ก นำเด็กสู่หนังสือ "สิงที่เราทำมากว่า 15-16 ปี เหมือนกับเราไปหย่อนเมล็ดพันธุ์แห่งการอ่านทิ้งไว้ แล้วมันก็เติบโตงอกงาม เมล็ดไหนที่ลีบฝ่อ เราจะไม่เสียเวลา เราเป็นคนบอกตัวเองเสมอว่าเรามีเวลาล้มเหลว แต่จะต้องรีบลุกขึ้นมา เพราะฉะนั้น ใครที่ทำจริง แล้วงอกงามก็ทำกันต่อ แต่คนไหนที่ลีบฝ่อไป เราจะไม่ไปเสียเวลากับการฟื้นตัว เพราะทำให้เสียงบประมาณ เสียเวลา และเสียกำลังคน เพราะเรายังมีเด็ก ๆ อีกมากมายที่ต้องเข้าไปช่วยเหลือให้พวกเขารู้หนังสือ" คำกล่าวเบื้องต้นเป็นคำพูดที่บอกความจริงใจอย่างชัดเจนของ "เรืองศักดิ์ ปิ่นประทีป" กรรมการผู้จัดการมูลนิธิหนังสือเพื่อเด็ก ทั้งนั้นเพราะตลอดเวลาผ่านมานับตั้งแต่ปี 2544-2560 มูลนิธิหนังสือเพื่อเด็กมีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในการสร้างความตระหนักรู้ต่อเรื่องการส่งเสริมการอ่านสำหรับเด็กก่อนวัยเรียน ทั้งยังจัดหาหนังสือดีสำหรับเด็กและครอบครัวที่ด้อยโอกาสที่อยู่ในเมืองและถิ่นทุรกันดารรวมถึงสามเณรในโรงเรียนพระปริยัติธรรมทั่วประเทศ ในการจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่านที่ครอบคลุมประชากรกว่า 13 ล้านคน โดยแยกเป็นเด็กและเยาวชน 5,668,379 คน พ่อแม่ผู้ปกครอง ครู พี่เลี้ยง ผู้ดูแลเด็ก คนทำงานด้านการพัฒนาเด็กสื่อมวลชนและผู้สนใจทั่วไปรวม7,775,308คน เพราะ "เรืองศักดิ์" เชื่อว่า หนังสือคืออาหารสมอง หนังสือคืออาหารใจ และหนังสือคืออาหารธรรม ที่สำคัญ "เรืองศักดิ์" เชื่อว่า หากทุกคนช่วยกันทำให้เด็กรักการอ่าน สังคมไทยจะได้เด็กพันธุ์ใหม่ที่พร้อมจะเติบโตเป็นเยาวชนพันธุ์ใหม่ที่มีตัวตนชัด มีอนาคตชัดรักตนเอง รักสังคม และพร้อมที่จะสร้างอนาคตที่ดีในวันข้างหน้า ตามพันธกิจที่วางไว้คือ "นำหนังสือสู่เด็ก นำเด็กสู่หนังสือ" โดยมีกลุ่มพันธมิตรจากภาครัฐและภาคเอกชนต่าง ๆ เข้ามาให้ความช่วยเหลือในการส่งมอบหนังสือและปัจจัยในการสนับสนุนต่าง ๆ โดยเฉพาะบริษัท สตาร์บัคส์คอฟฟี่(ประเทศไทย)จำกัด ในประเด็นนี้ "สุมนพินทุ์ โชติกะพุกกณะ" ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาดและสื่อสารองค์กร บริษัท สตาร์บัคส์ คอฟฟี่ (ประเทศไทย) จำกัด เล่าให้ฟังถึงการเข้ามาเป็นพาร์ตเนอร์ในการสนับสนุนมูลนิธิหนังสือเพื่อเด็กว่า ในเรื่องของการทำกิจกรรมเพื่อสังคมเราทำอยู่ 3 ส่วนด้วยกันคือ การสนับสนุนชาวไร่กาแฟ และชุมชนชาวไร่กาแฟ,สิ่งแวดล้อมและชุมชน "โดยในส่วนของการช่วยเหลือชุมชน เรามองเห็นตรงกันกับมูลนิธิหนังสือเพื่อเด็กว่า เรื่องของการศึกษาเป็นเรื่องสำคัญ โดยเฉพาะเรื่องของการอ่าน เพราะมีส่วนอย่างมากที่จะทำให้ชุมชนเข้มแข็งและยั่งยืนเพราะเยาวชนเป็นจุดเริ่มต้นในการเพาะบ่มความรู้เพื่อสร้างครอบครัวให้เข้มแข็งต่อไป" "เราคุยกับพี่ปอง(เรืองศักดิ์) ว่า สตาร์บัคส์ขอเป็นจุดเริ่มต้นในการรับบริจาคหนังสือดีไหม ทั้ง ๆ ที่ตอนนั้น (ราว 12 ปีผ่านมา) สตาร์บัคส์มีอยู่เพียง 20-30 สาขาเท่านั้นเอง แต่เราเชื่อว่าลูกค้าของเรา พนักงานของเราน่าจะอยากมีส่วนร่วมตรงนี้ จึงตัดสินใจทำกล่องรับบริจาคหนังสือขึ้นมา ตอนแรกประเภทของหนังสือสะเปะสะปะมาก แต่ตอนหลัง ๆ หนังสือเด็กมีเยอะขึ้น และลูกค้าก็ดีมาก ช่วยกันบริจาคหนังสือใหม่ ๆ มากขึ้นด้วย เราจึงนำหนังสือเหล่านี้ไปให้มูลนิธิหนังสือเพื่อเด็กเพื่อนำไปให้กับห้องสมุดครอบครัวและห้องสมุดชุมชน" ถึงตรงนี้ "เรืองศักดิ์" กล่าวเสริมว่า ตอนนั้นยังไม่ได้ตั้งกล่องบริจาคหนังสือ แต่เรากับสตาร์บัคส์ช่วยกันรณรงค์การรับบริจาคหนังสือ พร้อมงบประมาณในการจัดกิจกรรมห้องสมุดโรงเรียน ห้องสมุดครอบครัว และห้องสมุดเคลื่อนที่ไปตามชุมชนต่าง ๆ เช่น ร้านก๋วยเตี๋ยว, ร้านซ่อมจักรยาน, ลานเปตอง ที่โรงเรียนบ้านหาดใหญ่ อ.พรหมพิรามจ.พิษณุโลกจากนั้นเราก็มาทำต่อที่โรงเรียนบ้านแม่สาวอ.แม่อายจ.เชียงใหม่ "เพราะที่แม่อายมี 2 นัยยะ หนึ่งเป็นพื้นที่ที่สตาร์บัคส์เข้าไปสนับสนุนชาวไร่กาแฟ และชุมชนกาแฟ ขณะเดียวกันก็มีร้านกาแฟชุมชนอยู่ที่นั่นด้วย จึงกลายเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้เราทำงานเพื่อชุมชน ด้วยการทำห้องสมุดเพื่อเด็ก แต่ตอนนั้นหนังสือยังน้อย เราจึงมาคุยกับทางสตาร์บัคส์อีกครั้งเพื่อขอรับบริจาคหนังสือตามสาขาต่างๆที่สตาร์บัคส์มีอยู่" "ก็เลยคิกออฟที่หน้าอัมรินทร์พลาซ่า เพราะตอนนั้นอยู่ในช่วงแห่งการเฉลิมฉลองเทศกาลคริสมาสต์ด้วย เราชวนน้องบอล ซึ่งเป็นอาสาสมัครนักอ่าน ทั้งยังเคยไปอ่านหนังสือให้คนไข้ติดเตียง และอ่านหนังสือให้คนพิการในชุมชนของเขาฟังเราก็เลยชวนเขามาเปิดตัวโครงการนี้ด้วย" "เหตุผลที่เราเริ่มจากห้องสมุดครอบครัวเพราะห้องสมุดโรงเรียนมีเงื่อนไขเยอะเสาร์-อาทิตย์ปิด เย็นมากก็อ่านไม่ได้ เราจึงถามชุมชนต่าง ๆ ที่เราเข้าไปว่าใครอยากจะทำห้องสมุดครอบครัวบ้าง เราจะมีมุมหนังสือให้ และจะซื้อชั้นหนังสือให้เป็นส่วนตัว เพื่อนำหนังสือไปวางและให้เขาดูแล ดังนั้นพอตอนเย็นของทุกวัน รวมถึงเสาร์-อาทิตย์เขาจะเปิดให้ทุกคนได้อ่านหนังสือกันเพราะเราต้องการจุดประกายการอ่านหนังสือให้กับพวกเขา" "เรืองศักดิ์" บอกว่า ทุกชุมชนที่เราเข้าไปทำโครงการ พอเกิดความเข้มแข็ง เราจะถอยออกมา เพราะต้องการให้พวกเขาบริหารจัดการดูแลกันเอง แต่เราไม่ได้ทอดทิ้งไปเสียทีเดียว เรายังมีหนังสือบริจาคให้อย่างต่อเนื่อง ขณะเดียวกันเราก็ไปเปิดพื้นที่ใหม่ ๆ เพิ่มเติม เหมือนอย่างที่เราเข้าไปทำโครงการอาสาสมัครนักอ่านเพื่อการบำบัดหนังสือเล่มแรกเพื่อเด็กที่ต้องการดูแลพิเศษโดยร่วมกับสตาร์บัคส์และสถาบันราชานุกูล "เด็กพวกนี้เป็นเด็กพิเศษ ดาวน์ซินโดรมบ้าง ออทิสติกบ้าง แต่เราก็ได้พนักงานจิตอาสาของสตาร์บัคส์ไปช่วยอ่านหนังสือให้พวกน้อง ๆ ฟัง ปรากฏว่าพอหลังจากที่เราเข้าไปช่วยทำโครงการประมาณ 5 ปี น้อง ๆ เด็กพิเศษเหล่านี้กลับมีโอกาสร่วมงานกับสตาร์บัคส์ถึง 5 คน ตรงนี้เป็นผลพวงจากการบำบัดด้วยหนังสือซึ่งเราภูมิใจมาก" "ฉะนั้น ถ้าถามว่า เป้าหมายต่อไปของมูลนิธิหนังสือเพื่อเด็กจะทำอะไรต่อ เราก็คงยังทำโครงการเหล่านี้อยู่ เพราะตอนนี้สตาร์บัคส์มีสาขาทั้งหมด 290 สาขา นั่นหมายความว่าปีหนึ่ง ๆ เราจะมีกล่องบริจาคหนังสือถึง 290 กล่องทั่วประเทศเพื่อรองรับน้อง ๆ จากพื้นที่ต่าง ๆ แต่ที่เราคิดต่อคือภายในปีหน้าหนังสือที่ได้รับบริจาคจากสตาร์บัคส์จะเข้าไปอยู่ใน 600 ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในต่างจังหวัดทั่วประเทศ โดยเราจะร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น(อปท.)และยูนิเซฟอีกทางหนึ่งด้วย" "ส่วน กทม.คิดว่าภายใน 5 ปีต่อจากนี้ (2560-2565) เราน่าจะทำศูนย์พัฒนาเด็กเล็กได้อีกประมาณ 300 ศูนย์ และที่เพิ่มเข้ามานอกเหนือจากที่เราทำที่ต่างจังหวัด 12 จังหวัด เช่น เชียงใหม่, ลำปาง, เพชรบุรี, ระยอง ฯลฯ เรายังเข้าไปทำในพื้นที่อุทกภัยทางภาคใต้อีก 11 จังหวัดอีกด้วย เพราะคีย์เวิร์ดที่เราวางไว้คือเมื่อประสบอุทกภัยจิตใจเด็กต้องได้รับการเยียวยาเราจึงนำหนังสือไปให้น้องๆเหล่านั้นและใน" สำคัญไปกว่านั้น ในปีนี้ทางมูลนิธิหนังสือเพื่อเด็กยังได้รับการบริจาคเงินจำนวน 500,000 บาท จากบริษัท สตาร์บัคส์ คอฟฟี่ (ประเทศไทย) จำกัด "เรืองศักดิ์" จึงคิดว่าน่าจะนำเงินจำนวนนี้ไปมุ่งพัฒนาและส่งเสริมการอ่านพร้อมเป็นกำลังใจให้เยาวชนในการศึกษาเล่าเรียนของเยาวชนที่ประสบอุทกภัยในภาคใต้ ขณะเดียวกันก็ซื้อหนังสือเพิ่มเติมให้กับโรงเรียนที่อยู่ในพื้นที่่ห่างไกลเพราะนักเรียนเป็นชาวเขาเผ่าต่าง ๆ ที่ขาดโอกาสในการเรียนรู้หนังสือ ซึ่งผ่านมาโรงเรียนเหล่านี้ได้รับอุปถัมภ์จากสมเด็จย่า แต่ตอนหลังสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ทรงเข้ามาอุปถัมภ์ เราจึงนำหนังสือต่าง ๆเหล่านี้ไปให้พวกเขาอ่าน เพราะเราเชื่อว่าเมื่อเขาอ่านเล่มนอกเขาก็จะบอกเล่มใน" ตรงนี้เป็นสิ่งที่ทำอยู่ขณะนี้ ทั้งยังเชื่อแน่ว่าเมล็ดพันธุ์แห่งการอ่านที่มูลนิธิหนังสือเพื่อเด็กพันธมิตรจากหน่วยงานต่าง ๆ ของรัฐและบริษัท สตาร์บัคส์ คอฟฟี่ (ประเทศไทย) จำกัด บ่มเพาะลงไปในจิตใจของเด็ก ๆ จะงอกงาม ผลิบาน จนทำให้เด็ก ๆ ที่ขาดโอกาสกลายเป็นบุคลากรที่มีคุณภาพสำหรับประเทศชาติต่อไปในอนาคตด้วย ขอบคุณ... http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1488185503
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)