‘ณรงค์’โชว์ผลงานด้านสังคม ดูแลคนพิการ-ผู้สูงอายุ ผลงานยับยั้งเอดส์ระดับโลก
“ณรงค์” โชว์ผลงานด้านสังคมช่วง 2 ปีที่ผ่านมา เมื่อเวลา 11.00 น. วันที่ 15 กันยายน ที่ทำเนียบรัฐบาล พล.อ.ณรงค์ พิพัฒนาศัย รองนายกรัฐมนตรี แถลงผลงาน 2 ปี ด้านสังคมว่า รัฐบาลมุ่งเน้นการดำเนินงานเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนควบคู่ไปกับการวางรากฐานทางสังคมให้มีความเข้มแข็งและมั่นคง โดยมีทิศทางการพัฒนาที่ชัดเจนตามกรอบยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี เพื่อมุ่งสู่การบรรลุวิสัยทัศน์ประเทศที่ได้กำหนดไว้ ซึ่งนายกรัฐมนตรีได้มอบหมายให้ตนรับผิดชอบงานด้านสังคม โดยการกำกับการบริหารราชการแผ่นดินใน 2 กระทรวงหลัก ได้แก่ กระทรวงสาธารณสุข และกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ และ 1 ส่วนราชการที่สำคัญ คือ สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค รวมทั้งให้ตนรับผิดชอบงานการขับเคลื่อนเชิงนโยบายของคณะกรรมการระดับชาติด้านสังคม 17 คณะ ตลอดจนรับผิดชอบงานการขับเคลื่อนและปฏิรูปด้านระบบสาธารณสุข ซึ่งนับว่าเป็นงานสำคัญและมีเป้าหมายหลักเพื่อลดความเหลื่อมล้ำในสังคมและยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนโดยตรง ทั้งนี้ การแก้ไขปัญหาและการพัฒนาด้านสังคมของรัฐบาล ตลอดช่วงระยะเวลา 2 ปีที่ผ่านมา มีความก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็ว และมีผลงานเป็นที่ปรากฏชัดและเป็นรูปธรรมหลายเรื่อง โดยจะขอกล่าวสรุปภาพรวมผลงานแบ่งตามนโยบายสำคัญ 2 ประการ ดังนี้ ผลการดำเนินงานตามนโยบายการยกระดับคุณภาพและเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงระบบบริการสุขภาพ รัฐบาลได้พัฒนาและวางระบบการดูแลสุขภาพของประชาชนให้มีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น โดยได้จัดให้มีแพทย์ ทันตแพทย์ พยาบาล เภสัชกร นักวิชาการสาธารณสุข นักกายภาพบำบัด และแพทย์แผนไทย ในระดับตำบล เรียกว่า “ทีมหมอครอบครัว” ซึ่งทีมหมอครอบครัว 1 ทีม จะรับผิดชอบดูแลประชาชน 10,000 คน รวมทั้งได้ยกระดับศูนย์สุขภาพชุมชนและโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเป็น “คลินิกหมอครอบครัว (Primary Care Cluster : PCC)” เพื่อให้บริการประชาชนทุกกลุ่มวัยตั้งแต่การดูแลสุขภาพขั้นพื้นฐาน ป้องกันและรักษาโรค ฟื้นฟูสมรรถภาพ และคุ้มครองผู้บริโภค
ซึ่งทีมหมอครอบครัวที่ได้จัดตั้งขึ้นนี้ จะทำงานทั้งในที่คลินิกหมอครอบครัว ออกเยี่ยมประชาชนตามบ้าน และให้คำปรึกษาปัญหาด้านสุขภาพผ่านทางโทรศัพท์และโซเชียลมีเดียต่างๆ ตลอดเวลา และในอนาคตรัฐบาลจะพัฒนาระบบนี้ให้มีความครอบคลุมประชาชนมากขึ้น เพิ่มช่องทางให้ประชาชนเข้าถึงระบบบริการสุขภาพได้โดยสะดวกมากยิ่งขึ้น และพัฒนาบุคลากรให้มีความเชี่ยวชาญสูงขึ้นต่อไป นอกจากนี้ ยังได้พัฒนาระบบการรักษาพยาบาลเจ็บป่วยฉุกเฉินใช้สิทธิได้ทุกโรงพยาบาลตามนโยบาย “เจ็บป่วยฉุกเฉิน รักษาทุกที่ ดีทุกสิทธิ์” ซึ่งทำให้ประชาชนที่เจ็บป่วยฉุกเฉินถึงมือแพทย์ได้อย่างรวดเร็ว ทุกโรงพยาบาลมีความพร้อมในระบบการสำรองเตียง และประชาชนไม่ต้องจ่ายเงิน โดยไม่ได้จำกัดเฉพาะการเข้ารับบริการในโรงพยาบาลของรัฐอีกต่อไป โดยในปัจจุบันมีโรงพยาบาลเอกชนเข้าร่วมแล้วประมาณร้อยละ 70 ส่วนระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินได้พัฒนาให้มีความรวดเร็วในการให้บริการเพิ่มมากขึ้นด้วยการเพิ่มช่องทางการติดต่อ 1169 ซึ่งเป็นความร่วมมือกันตามกลไกประชารัฐที่มีส่วนร่วมทั้งโรงพยาบาลรัฐ โรงพยาบาลเอกชน กองทุน ศูนย์ 1169 จังหวัด และภาคประชาชน
พล.ร.อ.ณรงค์กล่าวว่า การพัฒนาสู่การเป็น Innovation Thailand 4.0 ซึ่งดำเนินการควบคู่ไปกับการส่งเสริมการใช้ภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยที่โดดเด่น และเป็นที่ยอมรับทางการแพทย์มาดูแลผู้ป่วยแบบผสมผสานกับการแพทย์แผนปัจจุบันเพื่อเพิ่มทางเลือกในการดูแลสุขภาพให้แก่ประชาชน โดยมีเป้าหมายให้โรงพยาบาลศูนย์และโรงพยาบาลทั่วไป จัดคลินิกบริการแพทย์แผนไทยอย่างน้อย 1 คลินิก เพื่อรักษาโรคทั่วไปและเฉพาะโรค เช่น อัมพฤกษ์ อัมพาต ไมเกรน ข้อเข่าเสื่อม และภูมิแพ้ เป็นต้น ซึ่งในอนาคตรัฐบาลจะส่งเสริมการวิจัยในด้านนี้ให้เพิ่มมากขึ้นและจะจัดตั้งกลุ่มงานการแพทย์แผนไทยในสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดต่อไป ส่วนระบบการป้องกันการระบาดของโรคอุบัติใหม่นั้น ได้พัฒนาศักยภาพทั้งในส่วนของการเตรียมความพร้อม การเฝ้าระวัง ตรวจจับ และตอบโต้ จนมีมาตรฐานและเป็นที่ยอมรับของนานาอารยประเทศ ทั้งนี้ ก็เพื่อลดความเสี่ยงและผลกระทบต่อสุขภาพและชีวิตความเป็นอยู่ของพี่น้องประชาชน และสร้างความเชื่อมั่นในสายตาของคนต่างชาติที่มีผลอย่างมากต่อระบบเศรษฐกิจในภาคการท่องเที่ยวและบริการโดยรวมของประเทศ
ทั้งนี้ ความสำเร็จของการสาธารณสุขของประเทศไทยที่ได้รับเกียรติบัตรจากองค์การอนามัยโลกรับรองว่าประเทศไทยประสบความสำเร็จ ในการยุติการถ่ายทอดเชื้อเอชไอวีและซิฟิลิสจากแม่สู่ลูกตามเป้าหมาย คือ มีอัตราต่ำกว่าร้อยละ 2 โดยประเทศไทยเป็นประเทศแรกของเอเชียและเป็นประเทศที่สองของโลก ในเดือนเมษายน 2559 ที่ผ่านมา ซึ่งรัฐบาลจะรักษามาตรฐานการทำงานมุ่งสู่การยุติปัญหาเอดส์ในกลุ่มเป้าหมายอื่นๆ ต่อไปในอนาคต
พล.ร.อ.ณรงค์กล่าวว่า ส่วนผลการดำเนินงานตามนโยบายการพัฒนาระบบสวัสดิการและลดความเหลื่อมล้ำในสังคมนั้น ตลอดช่วงระยะเวลา 2 ปีที่ผ่านมา ประชาชนได้รับประโยชน์จากการดำเนินนโยบายเรื่องนี้หลายประการที่สำคัญ เช่น การพัฒนาที่อยู่อาศัยที่ได้มาตรฐานและมีความเหมาะสมสำหรับผู้มีรายได้น้อย ประมาณ 2.7 ล้านครัวเรือน ตามโครงการสำคัญในปี 2559 ได้แก่ โครงการฟื้นฟูเมืองชุมชนดินแดง การพัฒนาที่อยู่อาศัยชุมชนริมคลองลาดพร้าว แก้ไขปัญหาที่อยู่อาศัย “ปทุมธานีโมเดล” และการจัดหาที่อยู่อาศัยให้กับชุมชนผู้ได้รับผลกระทบจากโครงการริมแม่น้ำเจ้าพระยา นอกจากนี้ ยังสนับสนุนเงินอุดหนุนการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิดในครัวเรือนยากจนให้ได้รับการเลี้ยงดูที่มีคุณภาพ รัฐบาลได้เพิ่มเงินอุดหนุนจากรายละ 400 บาทต่อเดือน เป็น 600 บาทต่อเดือน ครอบคลุมเด็กตั้งแต่ 1-3 ขวบ ซึ่งในปี 2558 มีผู้ลงทะเบียนขอรับเงินอุดหนุนแล้วจำนวนทั้งสิ้น 136,490 คน การพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ รัฐบาลได้ปรับเพิ่มสวัสดิการเบี้ยความพิการจากเดิมเดือนละ 500 บาท เป็นเดือนละ 800 บาทต่อคน ปัจจุบันมีผู้พิการได้รับประโยชน์แล้วจำนวน 1,384,734 คน และได้ส่งเสริมให้เกิดการจ้างงานคนพิการในหน่วยงานของรัฐและสถานประกอบการต่างๆ รวมทั้งได้จัดสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับคนพิการและทุกคนในสังคม หรืออารยสถาปัตย์ โดยได้ขยายไปยังพื้นที่ชุมชนต้นแบบใน 33 จังหวัดทั่วประเทศ
นอกจากนี้ ยังมีการเตรียมความพร้อมรองรับสังคมผู้สูงอายุ โดยรัฐบาลได้มีการบูรณาการหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการเตรียมความพร้อมคนทุกวัยเพื่อเข้าสู่วัยสูงอายุอย่างมีคุณภาพ พัฒนาศักยภาพผู้สูงอายุ เพิ่มโอกาสในการทำงานและสร้างความมั่นคงด้านรายได้ สร้างความเข้มแข็งของชมรมคลังปัญญาผู้สูงอายุ โดยการปรับปรุงทะเบียนคลังปัญญาผู้สูงอายุให้เป็นปัจจุบัน และส่งเสริมให้ผู้สูงอายุมีกิจกรรมทำประโยชน์เพื่อสังคม อย่างต่อเนื่อง
พล.ร.อ.ณรงค์กล่าวอีกว่า สำหรับการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์นั้น ประเทศไทยได้รับการปรับระดับให้ดีขึ้นจากระดับ 3 มาอยู่ในระดับ 2 ที่ต้องจับตามอง อันมีผลสืบเนื่องมาจากการดำเนินนโยบายของรัฐบาลในการผนึกกำลังจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในการปิดจุดอ่อนทางกฎหมาย เร่งรัดการบังคับใช้กฎหมาย ให้การคุ้มครองช่วยเหลือตามหลักสิทธิมนุษยชน และป้องกันกลุ่มเสี่ยงในทุกรูปแบบอย่างเป็นระบบและจริงจัง
ขอบคุณ... http://www.matichon.co.th/news/286639 (ขนาดไฟล์: 167)
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
พล.อ.ณรงค์ พิพัฒนาศัย รองนายกรัฐมนตรี แถลงผลงาน 2 ปี ด้านสังคม “ณรงค์” โชว์ผลงานด้านสังคมช่วง 2 ปีที่ผ่านมา เมื่อเวลา 11.00 น. วันที่ 15 กันยายน ที่ทำเนียบรัฐบาล พล.อ.ณรงค์ พิพัฒนาศัย รองนายกรัฐมนตรี แถลงผลงาน 2 ปี ด้านสังคมว่า รัฐบาลมุ่งเน้นการดำเนินงานเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนควบคู่ไปกับการวางรากฐานทางสังคมให้มีความเข้มแข็งและมั่นคง โดยมีทิศทางการพัฒนาที่ชัดเจนตามกรอบยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี เพื่อมุ่งสู่การบรรลุวิสัยทัศน์ประเทศที่ได้กำหนดไว้ ซึ่งนายกรัฐมนตรีได้มอบหมายให้ตนรับผิดชอบงานด้านสังคม โดยการกำกับการบริหารราชการแผ่นดินใน 2 กระทรวงหลัก ได้แก่ กระทรวงสาธารณสุข และกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ และ 1 ส่วนราชการที่สำคัญ คือ สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค รวมทั้งให้ตนรับผิดชอบงานการขับเคลื่อนเชิงนโยบายของคณะกรรมการระดับชาติด้านสังคม 17 คณะ ตลอดจนรับผิดชอบงานการขับเคลื่อนและปฏิรูปด้านระบบสาธารณสุข ซึ่งนับว่าเป็นงานสำคัญและมีเป้าหมายหลักเพื่อลดความเหลื่อมล้ำในสังคมและยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนโดยตรง ทั้งนี้ การแก้ไขปัญหาและการพัฒนาด้านสังคมของรัฐบาล ตลอดช่วงระยะเวลา 2 ปีที่ผ่านมา มีความก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็ว และมีผลงานเป็นที่ปรากฏชัดและเป็นรูปธรรมหลายเรื่อง โดยจะขอกล่าวสรุปภาพรวมผลงานแบ่งตามนโยบายสำคัญ 2 ประการ ดังนี้ ผลการดำเนินงานตามนโยบายการยกระดับคุณภาพและเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงระบบบริการสุขภาพ รัฐบาลได้พัฒนาและวางระบบการดูแลสุขภาพของประชาชนให้มีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น โดยได้จัดให้มีแพทย์ ทันตแพทย์ พยาบาล เภสัชกร นักวิชาการสาธารณสุข นักกายภาพบำบัด และแพทย์แผนไทย ในระดับตำบล เรียกว่า “ทีมหมอครอบครัว” ซึ่งทีมหมอครอบครัว 1 ทีม จะรับผิดชอบดูแลประชาชน 10,000 คน รวมทั้งได้ยกระดับศูนย์สุขภาพชุมชนและโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเป็น “คลินิกหมอครอบครัว (Primary Care Cluster : PCC)” เพื่อให้บริการประชาชนทุกกลุ่มวัยตั้งแต่การดูแลสุขภาพขั้นพื้นฐาน ป้องกันและรักษาโรค ฟื้นฟูสมรรถภาพ และคุ้มครองผู้บริโภค ซึ่งทีมหมอครอบครัวที่ได้จัดตั้งขึ้นนี้ จะทำงานทั้งในที่คลินิกหมอครอบครัว ออกเยี่ยมประชาชนตามบ้าน และให้คำปรึกษาปัญหาด้านสุขภาพผ่านทางโทรศัพท์และโซเชียลมีเดียต่างๆ ตลอดเวลา และในอนาคตรัฐบาลจะพัฒนาระบบนี้ให้มีความครอบคลุมประชาชนมากขึ้น เพิ่มช่องทางให้ประชาชนเข้าถึงระบบบริการสุขภาพได้โดยสะดวกมากยิ่งขึ้น และพัฒนาบุคลากรให้มีความเชี่ยวชาญสูงขึ้นต่อไป นอกจากนี้ ยังได้พัฒนาระบบการรักษาพยาบาลเจ็บป่วยฉุกเฉินใช้สิทธิได้ทุกโรงพยาบาลตามนโยบาย “เจ็บป่วยฉุกเฉิน รักษาทุกที่ ดีทุกสิทธิ์” ซึ่งทำให้ประชาชนที่เจ็บป่วยฉุกเฉินถึงมือแพทย์ได้อย่างรวดเร็ว ทุกโรงพยาบาลมีความพร้อมในระบบการสำรองเตียง และประชาชนไม่ต้องจ่ายเงิน โดยไม่ได้จำกัดเฉพาะการเข้ารับบริการในโรงพยาบาลของรัฐอีกต่อไป โดยในปัจจุบันมีโรงพยาบาลเอกชนเข้าร่วมแล้วประมาณร้อยละ 70 ส่วนระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินได้พัฒนาให้มีความรวดเร็วในการให้บริการเพิ่มมากขึ้นด้วยการเพิ่มช่องทางการติดต่อ 1169 ซึ่งเป็นความร่วมมือกันตามกลไกประชารัฐที่มีส่วนร่วมทั้งโรงพยาบาลรัฐ โรงพยาบาลเอกชน กองทุน ศูนย์ 1169 จังหวัด และภาคประชาชน พล.ร.อ.ณรงค์กล่าวว่า การพัฒนาสู่การเป็น Innovation Thailand 4.0 ซึ่งดำเนินการควบคู่ไปกับการส่งเสริมการใช้ภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยที่โดดเด่น และเป็นที่ยอมรับทางการแพทย์มาดูแลผู้ป่วยแบบผสมผสานกับการแพทย์แผนปัจจุบันเพื่อเพิ่มทางเลือกในการดูแลสุขภาพให้แก่ประชาชน โดยมีเป้าหมายให้โรงพยาบาลศูนย์และโรงพยาบาลทั่วไป จัดคลินิกบริการแพทย์แผนไทยอย่างน้อย 1 คลินิก เพื่อรักษาโรคทั่วไปและเฉพาะโรค เช่น อัมพฤกษ์ อัมพาต ไมเกรน ข้อเข่าเสื่อม และภูมิแพ้ เป็นต้น ซึ่งในอนาคตรัฐบาลจะส่งเสริมการวิจัยในด้านนี้ให้เพิ่มมากขึ้นและจะจัดตั้งกลุ่มงานการแพทย์แผนไทยในสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดต่อไป ส่วนระบบการป้องกันการระบาดของโรคอุบัติใหม่นั้น ได้พัฒนาศักยภาพทั้งในส่วนของการเตรียมความพร้อม การเฝ้าระวัง ตรวจจับ และตอบโต้ จนมีมาตรฐานและเป็นที่ยอมรับของนานาอารยประเทศ ทั้งนี้ ก็เพื่อลดความเสี่ยงและผลกระทบต่อสุขภาพและชีวิตความเป็นอยู่ของพี่น้องประชาชน และสร้างความเชื่อมั่นในสายตาของคนต่างชาติที่มีผลอย่างมากต่อระบบเศรษฐกิจในภาคการท่องเที่ยวและบริการโดยรวมของประเทศ ทั้งนี้ ความสำเร็จของการสาธารณสุขของประเทศไทยที่ได้รับเกียรติบัตรจากองค์การอนามัยโลกรับรองว่าประเทศไทยประสบความสำเร็จ ในการยุติการถ่ายทอดเชื้อเอชไอวีและซิฟิลิสจากแม่สู่ลูกตามเป้าหมาย คือ มีอัตราต่ำกว่าร้อยละ 2 โดยประเทศไทยเป็นประเทศแรกของเอเชียและเป็นประเทศที่สองของโลก ในเดือนเมษายน 2559 ที่ผ่านมา ซึ่งรัฐบาลจะรักษามาตรฐานการทำงานมุ่งสู่การยุติปัญหาเอดส์ในกลุ่มเป้าหมายอื่นๆ ต่อไปในอนาคต พล.ร.อ.ณรงค์กล่าวว่า ส่วนผลการดำเนินงานตามนโยบายการพัฒนาระบบสวัสดิการและลดความเหลื่อมล้ำในสังคมนั้น ตลอดช่วงระยะเวลา 2 ปีที่ผ่านมา ประชาชนได้รับประโยชน์จากการดำเนินนโยบายเรื่องนี้หลายประการที่สำคัญ เช่น การพัฒนาที่อยู่อาศัยที่ได้มาตรฐานและมีความเหมาะสมสำหรับผู้มีรายได้น้อย ประมาณ 2.7 ล้านครัวเรือน ตามโครงการสำคัญในปี 2559 ได้แก่ โครงการฟื้นฟูเมืองชุมชนดินแดง การพัฒนาที่อยู่อาศัยชุมชนริมคลองลาดพร้าว แก้ไขปัญหาที่อยู่อาศัย “ปทุมธานีโมเดล” และการจัดหาที่อยู่อาศัยให้กับชุมชนผู้ได้รับผลกระทบจากโครงการริมแม่น้ำเจ้าพระยา นอกจากนี้ ยังสนับสนุนเงินอุดหนุนการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิดในครัวเรือนยากจนให้ได้รับการเลี้ยงดูที่มีคุณภาพ รัฐบาลได้เพิ่มเงินอุดหนุนจากรายละ 400 บาทต่อเดือน เป็น 600 บาทต่อเดือน ครอบคลุมเด็กตั้งแต่ 1-3 ขวบ ซึ่งในปี 2558 มีผู้ลงทะเบียนขอรับเงินอุดหนุนแล้วจำนวนทั้งสิ้น 136,490 คน การพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ รัฐบาลได้ปรับเพิ่มสวัสดิการเบี้ยความพิการจากเดิมเดือนละ 500 บาท เป็นเดือนละ 800 บาทต่อคน ปัจจุบันมีผู้พิการได้รับประโยชน์แล้วจำนวน 1,384,734 คน และได้ส่งเสริมให้เกิดการจ้างงานคนพิการในหน่วยงานของรัฐและสถานประกอบการต่างๆ รวมทั้งได้จัดสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับคนพิการและทุกคนในสังคม หรืออารยสถาปัตย์ โดยได้ขยายไปยังพื้นที่ชุมชนต้นแบบใน 33 จังหวัดทั่วประเทศ นอกจากนี้ ยังมีการเตรียมความพร้อมรองรับสังคมผู้สูงอายุ โดยรัฐบาลได้มีการบูรณาการหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการเตรียมความพร้อมคนทุกวัยเพื่อเข้าสู่วัยสูงอายุอย่างมีคุณภาพ พัฒนาศักยภาพผู้สูงอายุ เพิ่มโอกาสในการทำงานและสร้างความมั่นคงด้านรายได้ สร้างความเข้มแข็งของชมรมคลังปัญญาผู้สูงอายุ โดยการปรับปรุงทะเบียนคลังปัญญาผู้สูงอายุให้เป็นปัจจุบัน และส่งเสริมให้ผู้สูงอายุมีกิจกรรมทำประโยชน์เพื่อสังคม อย่างต่อเนื่อง พล.ร.อ.ณรงค์กล่าวอีกว่า สำหรับการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์นั้น ประเทศไทยได้รับการปรับระดับให้ดีขึ้นจากระดับ 3 มาอยู่ในระดับ 2 ที่ต้องจับตามอง อันมีผลสืบเนื่องมาจากการดำเนินนโยบายของรัฐบาลในการผนึกกำลังจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในการปิดจุดอ่อนทางกฎหมาย เร่งรัดการบังคับใช้กฎหมาย ให้การคุ้มครองช่วยเหลือตามหลักสิทธิมนุษยชน และป้องกันกลุ่มเสี่ยงในทุกรูปแบบอย่างเป็นระบบและจริงจัง ขอบคุณ... http://www.matichon.co.th/news/286639
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)