หญิงไทยป่วยโรคซึมเศร้าอันดับ 1 เปิดปฏิบัติการ “สติ” คืนความสุขสตรี

แสดงความคิดเห็น

งานแถลงข่าว ‘สตรี คือ สติ’ โดย ม.ล.ปุณฑริก สมิติ ปลัดกระทรวงแรงงาน

สสส.-ก.แรงงาน-เสถียรธรรมสถาน เปิดปฏิบัติการ ‘สตรี คือ สติ’ คืนความสุขแก่สตรีวัยแรงงาน ยกระดับประสิทธิภาพการทำงาน หลังพบความเครียดปัญหาอันดับแรกของสตรีวัยแรงงาน ส่งผล ‘โรคซึมเศร้า’ สาเหตุอันดับ1การสูญเสียปีสุขภาวะจากความเจ็บป่วยและพิการของหญิงไทย

เมื่อวันที่ 1 กันยายน ที่เสถียรธรรมสถาน กระทรวงแรงงาน ร่วมกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และเสถียรธรรมสถาน จัดงานแถลงข่าว ‘สตรี คือ สติ’ โดย ม.ล.ปุณฑริก สมิติ ปลัดกระทรวงแรงงาน กล่าวว่า แรงงานสตรีถือเป็นแรงงานที่มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาองค์กรและประเทศ เพราะปัจจุบันมีแรงงานสตรีไทยถึง 27 ล้านคน หรือเกือบครึ่งหนึ่งของแรงงานไทยที่มีจำนวน 60.5 ล้านคน

อย่างไรก็ตาม ความเครียดและโรคซึมเศร้ากำลังเป็นภัยเงียบของสตรีวัยทำงานที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตและประสิทธิภาพการทำงาน จากการสำรวจของสายด่วนกรมสุขภาพจิต ปี 59 พบว่า ปัญหาความเครียดหรือวิตกกังวล เป็นปัญหาสำคัญอันดับ 1 ของสตรีวัยแรงงาน ตามด้วยปัญหาทางจิตเวช ปัญหาความรัก และปัญหาเกี่ยวกับการทำงาน นอกจากนี้ยังพบว่า โรคซึมเศร้ากลายเป็นสาเหตุอันดับ 1 ของการสูญเสียปีสุขภาวะจากความเจ็บป่วยและพิการของหญิงไทย นโยบายของกระทรวงแรงงานจึงเน้นเรื่องการพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีของวัยแรงงานตามแนวคิดงานดีมีคุณค่าจึงร่วมกับ สสส.ในฐานะหน่วยงานที่มีองค์ความรู้ในการทำงานสร้างเสริมสุขภาพโดยเฉพาะการพัฒนาองค์กรแห่งความสุขร่วมกับองค์กรภาครัฐและเอกชน และประสานความร่วมมือกับภาคีเครือข่ายที่มีความเชี่ยวชาญในการผลักดันสร้างสุขภาวะแก่สตรีวัยแรงงาน

นพ.ชาญวิทย์ วสันต์ธนารัตน์ ผู้อำนวยการสำนักสร้างเสริมสุขภาวะในองค์กร สสส.กล่าวว่า แนวทางการเสริมสร้างสุขภาวะสตรีวัยทำงานต้องทำคู่ขนาน 2 ด้าน คือ 1. การสร้างการรับรู้และทัศนคติที่ดีในการพัฒนาคุณภาพแรงงานสตรีทั้งนายจ้าง ลูกจ้าง และกระทรวงแรงงานเพื่อให้เกิดการขับเคลื่อนนโยบายที่สอดคล้องกับบริบทและลักษณะงานที่แตกต่างกัน 2. การส่งเสริมให้สถานประกอบการปรับปรุงสิ่งที่ส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตสตรีในที่ทำงาน สนับสนุนข้อมูลข่าวสาร ที่ปรึกษาในการแก้ปัญหาสุขภาพกายและจิตที่สตรีสามารถเข้าถึงได้ สสส.จึงร่วมกับกระทรวงแรงงาน และเสถียรธรรมสถาน จัดอบรมแกนนำจากภาครัฐและเอกชนเพื่อสนับสนุนให้เกิดองค์กรต้นแบบด้านการสร้างเสริมคุณภาพชีวิตสตรีวัยทำงานที่ดี โดยมีเป้าหมายในการสร้าง Health Promoter จำนวน 1,000 คน ใน 15 พื้นที่เป้าหมาย พร้อมกับถอดบทเรียนองค์ความรู้พัฒนาเป็นเครื่องมือการฝึกอบรมเพื่อถ่ายทอดไปยังกลไกการทำงานร่วมกับภาคีเครือข่ายทั้งภาครัฐภาคเอกชนต่อไป

แม่ชีศันสนีย์ เสถียรสุต เสถียรธรรมสถาน กล่าวว่า สำหรับชุดความรู้ที่เหมาะสำหรับสตรีทุกกลุ่ม เพื่อรับมือกับทุกสภาวะที่ต้องเผชิญในชีวิต ประกอบด้วย 5 ชุดความรู้ ดังนี้ อานาปานสติภาวนา หลักสูตรพื้นฐานสำหรับปลุกหัวใจทุกคน ใช้ลมหายใจเป็นศิลปะในการดำรงชีวิตอยู่กับโลกอย่างที่โลกเป็น จิตประภัสสรตั้งแต่นอนอยู่ในครรภ์ สำหรับสตรีตั้งครรภ์เพื่อสร้างเซลล์สมองให้กับลูก โรงเรียนพ่อแม่ สำหรับสตรีที่มีลูกแรกเกิด-วัยรุ่น เพื่อสร้างสติ เลี้ยงลูกอย่างที่ลูกเป็น ส่งเสริมพัฒนาตามวัยและปรับพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ ธรรมชาติบำบัด สำหรับสตรีที่ป่วยหรืออยู่ในฐานะดูแลผู้ป่วยและผู้สูงวัยในครอบครัว จิตปรึกษา หลักสูตรสำหรับสตรีมีความเครียดทั่วไป ไปจนถึงผู้ป่วยจิตเวช เช่น โรคซึมเศร้า ไบโพลา จิตเภท รวมถึงสตรีที่มีบุคคลในครอบครัวมีภาวะดังกล่าว นอกจากนี้ยังได้พัฒนาเครื่องมือในการเรียนรู้ ได้แก่ วิถีแห่งสติ กิจกรรมศิลปะแห่งสติ การเล่นบทบาทสมมุติเมื่อเผชิญภาวะวิกฤตชีวิตสตรี และเรื่องเล่าเร้าพลัง รวมถึงสื่อการเรียนรู้ออนไลน์ อาทิ คลื่นเสียงบำบัดด้วยคริสตัลโบว์ เป็นต้น

นางจันทนา สุขุมานนท์ อดีตผู้บริหารบริษัท ปูนซีเมนต์นครหลวง จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า การมีสติอยู่เสมอจะทำให้เราประสบความสำเร็จ ลดความผิดพลาด ซึ่งเป็นเรื่องยากจึงต้องฝึกฝนอยู่เสมอ โดยรู้จักดึงความคิดของตัวเองกลับมา เพราะความคิดเหมือนฝูงลิงต้องจับให้นิ่ง ตนมักจะสอนน้องในที่ทำงานว่าการจะทำงานให้มีประสิทธิภาพต้องมีสติ โดยหาจุดที่เหมาะสมกับตัวเองในการดึงสติกลับมา เช่น ถือปากกาในมือเวลาเกิดความคิดฟุ้งก็ดีดปากกาเพื่อฝึกให้เป็นชีวิตประจำวัน

ขอบคุณ... http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9590000087830 (ขนาดไฟล์: 164)

ที่มา: ASTVผู้จัดการออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 1 ก.ย.59
วันที่โพสต์: 2/09/2559 เวลา 11:11:56 ดูภาพสไลด์โชว์ หญิงไทยป่วยโรคซึมเศร้าอันดับ 1 เปิดปฏิบัติการ “สติ” คืนความสุขสตรี

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

งานแถลงข่าว ‘สตรี คือ สติ’ โดย ม.ล.ปุณฑริก สมิติ ปลัดกระทรวงแรงงาน สสส.-ก.แรงงาน-เสถียรธรรมสถาน เปิดปฏิบัติการ ‘สตรี คือ สติ’ คืนความสุขแก่สตรีวัยแรงงาน ยกระดับประสิทธิภาพการทำงาน หลังพบความเครียดปัญหาอันดับแรกของสตรีวัยแรงงาน ส่งผล ‘โรคซึมเศร้า’ สาเหตุอันดับ1การสูญเสียปีสุขภาวะจากความเจ็บป่วยและพิการของหญิงไทย เมื่อวันที่ 1 กันยายน ที่เสถียรธรรมสถาน กระทรวงแรงงาน ร่วมกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และเสถียรธรรมสถาน จัดงานแถลงข่าว ‘สตรี คือ สติ’ โดย ม.ล.ปุณฑริก สมิติ ปลัดกระทรวงแรงงาน กล่าวว่า แรงงานสตรีถือเป็นแรงงานที่มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาองค์กรและประเทศ เพราะปัจจุบันมีแรงงานสตรีไทยถึง 27 ล้านคน หรือเกือบครึ่งหนึ่งของแรงงานไทยที่มีจำนวน 60.5 ล้านคน อย่างไรก็ตาม ความเครียดและโรคซึมเศร้ากำลังเป็นภัยเงียบของสตรีวัยทำงานที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตและประสิทธิภาพการทำงาน จากการสำรวจของสายด่วนกรมสุขภาพจิต ปี 59 พบว่า ปัญหาความเครียดหรือวิตกกังวล เป็นปัญหาสำคัญอันดับ 1 ของสตรีวัยแรงงาน ตามด้วยปัญหาทางจิตเวช ปัญหาความรัก และปัญหาเกี่ยวกับการทำงาน นอกจากนี้ยังพบว่า โรคซึมเศร้ากลายเป็นสาเหตุอันดับ 1 ของการสูญเสียปีสุขภาวะจากความเจ็บป่วยและพิการของหญิงไทย นโยบายของกระทรวงแรงงานจึงเน้นเรื่องการพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีของวัยแรงงานตามแนวคิดงานดีมีคุณค่าจึงร่วมกับ สสส.ในฐานะหน่วยงานที่มีองค์ความรู้ในการทำงานสร้างเสริมสุขภาพโดยเฉพาะการพัฒนาองค์กรแห่งความสุขร่วมกับองค์กรภาครัฐและเอกชน และประสานความร่วมมือกับภาคีเครือข่ายที่มีความเชี่ยวชาญในการผลักดันสร้างสุขภาวะแก่สตรีวัยแรงงาน นพ.ชาญวิทย์ วสันต์ธนารัตน์ ผู้อำนวยการสำนักสร้างเสริมสุขภาวะในองค์กร สสส.กล่าวว่า แนวทางการเสริมสร้างสุขภาวะสตรีวัยทำงานต้องทำคู่ขนาน 2 ด้าน คือ 1. การสร้างการรับรู้และทัศนคติที่ดีในการพัฒนาคุณภาพแรงงานสตรีทั้งนายจ้าง ลูกจ้าง และกระทรวงแรงงานเพื่อให้เกิดการขับเคลื่อนนโยบายที่สอดคล้องกับบริบทและลักษณะงานที่แตกต่างกัน 2. การส่งเสริมให้สถานประกอบการปรับปรุงสิ่งที่ส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตสตรีในที่ทำงาน สนับสนุนข้อมูลข่าวสาร ที่ปรึกษาในการแก้ปัญหาสุขภาพกายและจิตที่สตรีสามารถเข้าถึงได้ สสส.จึงร่วมกับกระทรวงแรงงาน และเสถียรธรรมสถาน จัดอบรมแกนนำจากภาครัฐและเอกชนเพื่อสนับสนุนให้เกิดองค์กรต้นแบบด้านการสร้างเสริมคุณภาพชีวิตสตรีวัยทำงานที่ดี โดยมีเป้าหมายในการสร้าง Health Promoter จำนวน 1,000 คน ใน 15 พื้นที่เป้าหมาย พร้อมกับถอดบทเรียนองค์ความรู้พัฒนาเป็นเครื่องมือการฝึกอบรมเพื่อถ่ายทอดไปยังกลไกการทำงานร่วมกับภาคีเครือข่ายทั้งภาครัฐภาคเอกชนต่อไป แม่ชีศันสนีย์ เสถียรสุต เสถียรธรรมสถาน กล่าวว่า สำหรับชุดความรู้ที่เหมาะสำหรับสตรีทุกกลุ่ม เพื่อรับมือกับทุกสภาวะที่ต้องเผชิญในชีวิต ประกอบด้วย 5 ชุดความรู้ ดังนี้ อานาปานสติภาวนา หลักสูตรพื้นฐานสำหรับปลุกหัวใจทุกคน ใช้ลมหายใจเป็นศิลปะในการดำรงชีวิตอยู่กับโลกอย่างที่โลกเป็น จิตประภัสสรตั้งแต่นอนอยู่ในครรภ์ สำหรับสตรีตั้งครรภ์เพื่อสร้างเซลล์สมองให้กับลูก โรงเรียนพ่อแม่ สำหรับสตรีที่มีลูกแรกเกิด-วัยรุ่น เพื่อสร้างสติ เลี้ยงลูกอย่างที่ลูกเป็น ส่งเสริมพัฒนาตามวัยและปรับพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ ธรรมชาติบำบัด สำหรับสตรีที่ป่วยหรืออยู่ในฐานะดูแลผู้ป่วยและผู้สูงวัยในครอบครัว จิตปรึกษา หลักสูตรสำหรับสตรีมีความเครียดทั่วไป ไปจนถึงผู้ป่วยจิตเวช เช่น โรคซึมเศร้า ไบโพลา จิตเภท รวมถึงสตรีที่มีบุคคลในครอบครัวมีภาวะดังกล่าว นอกจากนี้ยังได้พัฒนาเครื่องมือในการเรียนรู้ ได้แก่ วิถีแห่งสติ กิจกรรมศิลปะแห่งสติ การเล่นบทบาทสมมุติเมื่อเผชิญภาวะวิกฤตชีวิตสตรี และเรื่องเล่าเร้าพลัง รวมถึงสื่อการเรียนรู้ออนไลน์ อาทิ คลื่นเสียงบำบัดด้วยคริสตัลโบว์ เป็นต้น นางจันทนา สุขุมานนท์ อดีตผู้บริหารบริษัท ปูนซีเมนต์นครหลวง จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า การมีสติอยู่เสมอจะทำให้เราประสบความสำเร็จ ลดความผิดพลาด ซึ่งเป็นเรื่องยากจึงต้องฝึกฝนอยู่เสมอ โดยรู้จักดึงความคิดของตัวเองกลับมา เพราะความคิดเหมือนฝูงลิงต้องจับให้นิ่ง ตนมักจะสอนน้องในที่ทำงานว่าการจะทำงานให้มีประสิทธิภาพต้องมีสติ โดยหาจุดที่เหมาะสมกับตัวเองในการดึงสติกลับมา เช่น ถือปากกาในมือเวลาเกิดความคิดฟุ้งก็ดีดปากกาเพื่อฝึกให้เป็นชีวิตประจำวัน ขอบคุณ... http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9590000087830

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...