สปสช.เผย “คนพิการ” ประกันสังคมใช้สิทธิรักษา “บัตรทอง” ไร้ปัญหา
สปสช. ฟุ้งไร้ปัญหา “คนพิการ” ประกันสังคมใช้สิทธิบัตรทองตามคำสั่ง ม.44 ชี้ ให้ รพ. ส่งข้อมูลเบิกมาที่ สปสช. แต่ให้ประกันสังคมรับผิดชอบค่าใช้จ่าย เผย คนพิการสิทธิประกันสังคมที่ไม่เคยมีสิทธิบัตรทองมาก่อน คาด มี 12,000 คน เร่งหารือ สปส. ให้ตัดสินใจเลือกใช้สิทธิใด เหตุบางรายอาจเคยชินใช้สิทธิเดิม
นพ.ประจักษวิช เล็บนาค รองเลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) กล่าวถึงความคืบหน้าการดำเนินการภายหลังมีคำสั่งตามมาตรา 44 ให้คนพิการในระบบประกันสังคมมีสิทธิรับบริการสาธารณสุขในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (บัตรทอง) ว่า จากการหารือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) สำนักงานประกันสังคม (สปส.) สปสช. และกระทรวงการคลัง มีหลักการว่า คนพิการสามารถเข้ารับการรักษาพยาบาล และบริการสาธารณสุขได้ตามปกติภายใต้สิทธิประโยชน์หลักประกันสุขภาพแห่ชาติที่ รพ. ภายใต้ระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ส่วนค่าใช้จ่ายนั้น รพ. จะส่งข้อมูลเพื่อเบิกจ่ายมายัง สปสช. ตามปกติ โดย สปส. จะรับผิดชอบค่ารักษาพยาบาลในส่วนนี้ การดำเนินงานช่วง 1 เดือนที่ผ่านมา กรณีคนพิการที่ใช้สิทธิรักษาใน รพ. ที่ขึ้นทะเบียนทั้งในระบบประกันสังคม และระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ กลุ่มนี้ไม่เป็นปัญหาเพราะเป็นเพียงการเปลี่ยนเฉพาะสิทธิมาเป็นระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติเท่านั้นจึงยังคงรักษาที่รพ.เดิม
“ส่วนคนพิการที่เคยใช้สิทธิบัตรทอง เมื่อมีงานทำและต้องเปลี่ยนเป็นสิทธิประกันสังคม และ รพ. ตามสิทธิประกันสังคมเป็น รพ. เอกชน ที่ไม่ได้อยู่ในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ กรณีนี้จะกลับไปรับบริการยัง รพ. เดิมที่เคยใช้สิทธิบัตรทองก่อนที่จะมีงานทำ ซึ่งคนพิการจะมีความคุ้นเคยการรับบริการยัง รพ. นั้นอยู่แล้ว ส่วนกรณีคนพิการที่ใช้ประกันสังคม และก่อนหน้านี้ ไม่เคยใช้สิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติมาก่อน กลุ่มนี้อยู่ระหว่างตรวจสอบจำนวน คาดว่า มีจำนวนประมาณ 12,000 คน แนวโน้มจะให้คนพิการกลุ่มนี้เลือกว่าจะใช้สิทธิใด เนื่องจากอาจมีบางรายที่มีความคุ้นเคยกับการได้รับบริการเดิมอยู่แล้ว แต่ความชัดเจนทั้งหมด สปสช. อยู่ระหว่างหารือกับ สปส. เพื่อกำหนดแนวทางการดำเนินการ เบื้องต้นคาดว่าจะให้เลือกว่าจะใช้สิทธิใด หากเลือกใช้สิทธิประกันสังคมก็ได้รับบริการตามเดิม แต่หากต้องการมาใช้บัตรทอง ก็จะให้เลือก รพ. เพื่อลงทะเบียน ซึ่งกรณีที่เลือกใช้สิทธิบัตรทองยังสามารถไปรับบริการที่ รพ.ในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติใดก็ได้ ซึ่งเป็นสิทธิประโยชน์เพื่ออำนวยความสะดวกให้คนพิการที่อาจมีข้อจำกัดในการเดินทาง”นพ.ประจักษวิชกล่าว
นพ.ประจักษวิช กล่าวว่า หลังการประกาศ ม.44 ให้คนพิการในระบบประกันสังคมโอนย้ายสิทธิรักษาพยาบาลมายังหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า คำถามส่วนใหญ่ที่เข้ามาคือเมื่อโอนย้ายสิทธิแล้วจะเข้ารับบริการรักษาพยาบาลที่ไหน คำตอบคือเคยใช้สิทธิหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าที่ใด ให้กลับไปรับบริการที่เดิม ส่วนคนที่ไม่ประสงค์ย้าย จะมีการหารือกับสำนักงานประกันสังคมให้ชัดเจนอีกครั้ง แต่แนวโน้มคือขึ้นอยู่กับความประสงค์ของคนพิการว่าจะเลือกใช้สิทธิใด สามารถสอบถามผ่านสายด่วน สปสช. 1330 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง
ขอบคุณ... http://www.manager.co.th/Qol/ViewNews.aspx?NewsID=9590000108255 (ขนาดไฟล์: 164)
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
กลุ่มคนพิการ สปสช. ฟุ้งไร้ปัญหา “คนพิการ” ประกันสังคมใช้สิทธิบัตรทองตามคำสั่ง ม.44 ชี้ ให้ รพ. ส่งข้อมูลเบิกมาที่ สปสช. แต่ให้ประกันสังคมรับผิดชอบค่าใช้จ่าย เผย คนพิการสิทธิประกันสังคมที่ไม่เคยมีสิทธิบัตรทองมาก่อน คาด มี 12,000 คน เร่งหารือ สปส. ให้ตัดสินใจเลือกใช้สิทธิใด เหตุบางรายอาจเคยชินใช้สิทธิเดิม นพ.ประจักษวิช เล็บนาค รองเลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) กล่าวถึงความคืบหน้าการดำเนินการภายหลังมีคำสั่งตามมาตรา 44 ให้คนพิการในระบบประกันสังคมมีสิทธิรับบริการสาธารณสุขในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (บัตรทอง) ว่า จากการหารือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) สำนักงานประกันสังคม (สปส.) สปสช. และกระทรวงการคลัง มีหลักการว่า คนพิการสามารถเข้ารับการรักษาพยาบาล และบริการสาธารณสุขได้ตามปกติภายใต้สิทธิประโยชน์หลักประกันสุขภาพแห่ชาติที่ รพ. ภายใต้ระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ส่วนค่าใช้จ่ายนั้น รพ. จะส่งข้อมูลเพื่อเบิกจ่ายมายัง สปสช. ตามปกติ โดย สปส. จะรับผิดชอบค่ารักษาพยาบาลในส่วนนี้ การดำเนินงานช่วง 1 เดือนที่ผ่านมา กรณีคนพิการที่ใช้สิทธิรักษาใน รพ. ที่ขึ้นทะเบียนทั้งในระบบประกันสังคม และระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ กลุ่มนี้ไม่เป็นปัญหาเพราะเป็นเพียงการเปลี่ยนเฉพาะสิทธิมาเป็นระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติเท่านั้นจึงยังคงรักษาที่รพ.เดิม “ส่วนคนพิการที่เคยใช้สิทธิบัตรทอง เมื่อมีงานทำและต้องเปลี่ยนเป็นสิทธิประกันสังคม และ รพ. ตามสิทธิประกันสังคมเป็น รพ. เอกชน ที่ไม่ได้อยู่ในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ กรณีนี้จะกลับไปรับบริการยัง รพ. เดิมที่เคยใช้สิทธิบัตรทองก่อนที่จะมีงานทำ ซึ่งคนพิการจะมีความคุ้นเคยการรับบริการยัง รพ. นั้นอยู่แล้ว ส่วนกรณีคนพิการที่ใช้ประกันสังคม และก่อนหน้านี้ ไม่เคยใช้สิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติมาก่อน กลุ่มนี้อยู่ระหว่างตรวจสอบจำนวน คาดว่า มีจำนวนประมาณ 12,000 คน แนวโน้มจะให้คนพิการกลุ่มนี้เลือกว่าจะใช้สิทธิใด เนื่องจากอาจมีบางรายที่มีความคุ้นเคยกับการได้รับบริการเดิมอยู่แล้ว แต่ความชัดเจนทั้งหมด สปสช. อยู่ระหว่างหารือกับ สปส. เพื่อกำหนดแนวทางการดำเนินการ เบื้องต้นคาดว่าจะให้เลือกว่าจะใช้สิทธิใด หากเลือกใช้สิทธิประกันสังคมก็ได้รับบริการตามเดิม แต่หากต้องการมาใช้บัตรทอง ก็จะให้เลือก รพ. เพื่อลงทะเบียน ซึ่งกรณีที่เลือกใช้สิทธิบัตรทองยังสามารถไปรับบริการที่ รพ.ในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติใดก็ได้ ซึ่งเป็นสิทธิประโยชน์เพื่ออำนวยความสะดวกให้คนพิการที่อาจมีข้อจำกัดในการเดินทาง”นพ.ประจักษวิชกล่าว นพ.ประจักษวิช กล่าวว่า หลังการประกาศ ม.44 ให้คนพิการในระบบประกันสังคมโอนย้ายสิทธิรักษาพยาบาลมายังหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า คำถามส่วนใหญ่ที่เข้ามาคือเมื่อโอนย้ายสิทธิแล้วจะเข้ารับบริการรักษาพยาบาลที่ไหน คำตอบคือเคยใช้สิทธิหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าที่ใด ให้กลับไปรับบริการที่เดิม ส่วนคนที่ไม่ประสงค์ย้าย จะมีการหารือกับสำนักงานประกันสังคมให้ชัดเจนอีกครั้ง แต่แนวโน้มคือขึ้นอยู่กับความประสงค์ของคนพิการว่าจะเลือกใช้สิทธิใด สามารถสอบถามผ่านสายด่วน สปสช. 1330 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง ขอบคุณ... http://www.manager.co.th/Qol/ViewNews.aspx?NewsID=9590000108255
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)