ศิลปะ&ดนตรี สไตล์เด็กออทิสติก
นอกจากพฤติกรรมที่คนส่วนใหญ่ไม่คุ้นเคยนักกับเด็กออทิสติก ยังมีเรื่องดีๆ ที่ซ่อนอยู่ หากใครได้ชมภาพยนตร์เรื่อง I am Sam คงจะนึกถึงบุคลิกใส ซื่อ บริสุทธิ์ของแซม ดอว์สัน ได้ เขามีลูกสาวคนหนึ่ง ที่แม่ผู้ให้กำเนิดทิ้งไว้ให้แซมเลี้ยง แซมจึงต้องดูแลลูกสาวลำพังคนเดียว แซมทำตั้งแต่เปลี่ยนผ้าอ้อม ป้อนนม เล่นกับลูก และอ่านนิทานให้ลูกฟัง นอกจากนี้เขายังมีแก๊งเพื่อนที่แต่ละคนไม่สมประกอบนัก แต่แซมก็มีความสุข
แซมทำงานในร้านกาแฟ มีหน้าที่จัดเรียงสิ่งของในร้าน และจัดได้เป็นระเบียบมากกว่าคนทั่วไป เพราะแซมมีอายุเท่าเด็ก 7 ขวบ แต่เขารักลูก รักเพื่อน และรักงาน แซม เป็นออทิสติกที่ทำงานเลี้ยงตัวเองได้ ไม่ต่างจากเทเล่อร์ที่เล่นเปียโนในโรงพยาบาล หรือออทิสติกอีกหลายคนที่ทำงานที่ตัวเองรัก ว่ากันว่า คนเป็นพ่อแม่ ครู และคนที่ใกล้ชิดกับเด็กออทิสติกจะรู้สึกเหนื่อยกับพฤติกรรมของพวกเขา เพราะออทิสติกจำนวนไม่น้อยไม่สามารถสื่อสารความต้องการของตัวเอง และส่วนใหญ่ไม่ปฏิสัมพันธ์กับคนรอบข้าง สร้างความลำบากใจและความปั่นป่วนให้คนพบเห็นอยู่เนื่องๆ ในปัจจุบันคนในสังคมเริ่มทำความเข้าใจกับเด็กพิเศษ หรือเด็กที่มีความบกพร่องทางร่างกายมากขึ้นเรื่อยๆ มีการเปิดโอกาสให้คนบกพร่องทางหู คนออทิสติก เข้าทำงานในร้านกาแฟ หรือร้านเบเกอรี่ ให้โอกาสเด็กออทิสติกเล่นดนตรีในโรงพยาบาล ฯลฯ
แม้เรื่องราวเหล่านี้จะเป็นส่วนน้อย แต่ก็เป็นเรื่องดีๆ ที่เกิดขึ้นในสังคม “ตอนลูกเรียนประถมสอง เรียนวิชาดนตรีที่โรงเรียน และกลับมาบ้านก็ฝึกเป่ารีคอร์เดอร์ โดยใช้มือซ้ายเล่นคีย์บอร์ดในเพลงเดียวกัน เราก็สังเกตเห็นสองสามครั้ง ก็เลยรู้ว่า ลูกมีความชอบและถนัดด้านดนตรี” วลัยพร สิริพูนผล (เจ้าของเพจแม่ต่ายสายชิล ปั้นลูกออทิสติก) เล่าถึงเทเล่อร์ ลูกชายวัย 17 ปีที่รู้ตัวดีว่า เป็นออทิสติก
1.ถ้าลูกเป็นออทิสติก คนเป็นพ่อแม่ ก็ต้องหาความรู้ และทำความเข้าใจเรื่องเหล่านี้ และต้องช่วยพัฒนาลูกในด้านต่างๆ เพื่อให้เขาอยู่กับสังคมได้ แม่ต่าย-วลัยพร ก็ไม่ต่างจากพ่อแม่หลายคนคือ เมื่อรู้ว่า ลูกเป็นออทิสติก ก็ทุกข์ใจ และจมอยู่กับความเศร้าหลายปี จนเริิ่มปรับตัว เพราะรู้ว่าทำแบบนั้นไม่เกิดประโยชน์ เป็นการทำร้ายตัวเองและลูก
“ตอนลูกอายุ 3 ปีกว่าๆ รู้สึกว่าเขาซนผิดปกติ ตอนนั้นยังไม่ชัด เพราะเขาพูดได้และสบตา เหมือนเด็กสมาธิสั้น พอลูกขึ้นประถมหนึ่ง ปัญหาเริ่มเยอะขึ้น ไม่มีระเบียบวินัยเหมือนคนทั่วไป ครูก็เรียกพบ พอรู้ชัดว่า ลูกเป็นเด็กออทิสติก ตอนแรกก็ตกใจ ตั้งตัวไม่ทัน เพราะสมัยนั้น คนยังไม่ค่อยเข้าใจเรื่องนี้” แม่ต่ายใช้เวลาหลายปี กว่าจะยอมรับเต็มหัวใจว่า ลูกเป็นออทิสติก เธอพยายามปรึกษาหมอ คุณครูและคุยกับพ่อแม่ที่มีลูกออทิสติก
“เมื่อก่อนยอมรับแค่ครึ่งหนึ่ง เพราะเราใช้มาตรฐานเด็กปกติเป็นตัววัด กดดันทั้งตัวเราและลูก จนย้ายไปอยู่โรงเรียนรัฐบาลที่มีการศึกษาพิเศษ จากที่ลูกเราเป็นคนส่วนน้อยที่เป็นแบบนั้น เขากลายเป็นส่วนหนึ่ง ซึ่งลูกเองก็ยอมรับว่า ตัวเองเป็นเด็กพิเศษ และเขาก็มีความสุข บอกว่าเป็นออทิสติกก็ดีนะ เราก็เริ่มยอมรับเต็มหัวใจเมื่อเขาอายุ 13-14 ปี”
เมื่อยอมรับว่า ลูกเป็นออทิสติก เธอตั้งเป้าหมายใหม่ว่า ลูกไม่จำเป็นต้องร่ำเรียนด้านวิชาการ แค่เขาอ่านออก เขียนได้ ใช้เงินเป็น เธอก็พอใจแล้ว เธอจึงให้ลูกเรียนดนตรีตั้งแต่อายุ 8 ปีเพราะเห็นว่าลูกชอบ แม้จะมีอุปสรรคมากมาย แต่เธอก็ไม่ท้อ
“ครูดนตรีส่วนใหญ่เอาไม่อยู่ เปลี่ยนครูมา 5-6 คน ทั้งๆ ที่ครูบางคนสอนเด็กพิเศษมาก่อน แต่ลูกเราไม่ค่อยให้ความร่วมมือ เวลาเรียนไม่นิ่งเลย และเรียนร่วมกับกลุ่มใหญ่ไม่ได้ ตอนไปเรียนเคยขอครูไปเข้าห้องน้ำ แล้วหายไปเลย ก็เลยให้เลิกเรียนเปียโนไปเดือนสองเดือน จนในที่สุดลูกเดินมาบอกว่า อยากเรียนเปียโน จนได้มาเจอครูคนใหม่"
2.“เขาก็เรียนได้เหมือนคนทั่วไป แต่ต้องย้ำบ่อยๆ และเวลาสอนต้องมองหน้ามองตาว่า เขามีสมาธิอยู่ตรงนั้นไหม เพราะเวลาเรียนเขาอาจกำลังคิดเรื่องอื่น เราต้องสะกิดเตือน และต้องสังเกต” วิมล กมลาศน์ อาจารย์พิเศษ ภาควิชาเปียโน โครงการศึกษาดนตรีสำหรับบุคคลทั่วไป วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าว
ปกติแล้ว อาจารย์วิมลจะสอนดนตรีให้คนทั่วไป มีเพียงเทเล่อร์คนเดียวที่เป็นเด็กออทิสติก เพราะแม่ต่ายขอร้องให้ช่วยสอนลูกของเธอ และเขาก็ทำให้เด็กออทิสติกคนนี้ สามารถอยู่กับดนตรีได้ “เรียนกับครูคนนี้ นั่งเรียนได้เป็นชั่วโมง ไม่ลุกไปไหนเลย แต่ละอาทิตย์ก้าวต่อไปเรื่อยๆ เราก็ต้องเอาสิ่งที่ครูสอนมา ไปให้เขาซ้อมเปียโนทุกวัน” แม่ต่าย เล่า
แม้อาจารย์วิมลจะบอกว่า ไม่ได้ยากอะไรมากที่จะสอนเด็กออทิสติก แรกๆ ก็สอนให้อ่านโน้ตเหมือนคนทั่วไป แต่สิ่งที่เขาต่างจากครูทั่วไปคือ ความใส่ใจ “ขั้นแรกผมสอนให้อ่านโน้ต อ่านจังหวะและเข้าใจดนตรี และทำใจว่า ถ้าวันนี้เขาเล่นไม่ได้ วันต่อไปเขาก็คงเล่นได้ ทำแบบนี้ไปเรื่อยๆ ผมจะใส่ใจเป็นพิเศษ เฝ้าติดตามตลอด แม่เขาก็ให้ความร่วมมือดี เขาก็เรียนรู้ได้เหมือนคนธรรมดา อาจช้ากว่าคนปกติ ผมมองว่า ดนตรีช่วยพัฒนาอารมณ์ ผมก็ช่วยในแง่ทำให้เขาอยู่กับดนตรี ผมสอนมา 5-6 ปี สองปีหลัง เขาเริ่มเล่นเพลงสนุกๆ และเพลงที่คนทั่วไปรู้จักได้”
3.หากใครไปโรงพยาบาลสมิติเวช อาจได้เห็นเขานั่งเล่นเปียโน แม้จะมีคนเดินผ่านไปมาฟังไม่กี่คน แต่ก็สร้างสีสันให้โรงพยาบาลดูมีชีวิตชีวา เขาเคยเล่นเพลงโดราเอมอน แล้วมีเด็กสองคนเต้นและฟังอยู่ข้างๆ หรือเวลาเล่นเพลงเก่าๆ ก็มีคนป่วยคนหนึ่งมานั่งฟัง และฮัมเพลงไปตามจังหวะ แม้เขาจะมีพัฒนาการทางสมองช้ากว่าคนทั่วไป แต่เทเล่อร์ก็สามารถเล่นดนตรีในโรงพยาบาลได้ ซึ่งทำให้เขามีความมั่นใจมากขึ้น และทำให้แม่ต่ายมีความสุข
“ตั้งแต่เล็กๆ เราเชื่อว่า ลูกพัฒนาตัวเองได้ เคยให้เขาไปเป็นจิตอาสาเล่นเปียโนในโรงพยาบาล เมื่อคนรู้ว่าเป็นเด็กออทิสติก ก็ยิ่งชื่นชม ถ้าเขาได้ทำสิ่งที่เขารัก เขาจะอยู่ได้นาน เรารู้สึกว่าดนตรีมีส่วนทำให้เขามีความคิดเป็นของตัวเองมากขึ้น เวลาไปโชว์เปียโนที่โรงพยาบาลสมิติเวช เขาจะกระตือรือร้น ถ้าเพลงไหน เขาเล่นเป็นแล้วเขาก็จะเล่นซ้ำๆ อย่างเพลงพระราชาที่ทรงธรรม เขาชอบก็จะเล่นให้เราฟัง ”
เมื่อเข้าใจลูกออทิสติกมากขึ้น ความทุกข์ของแม่ต่ายก็ค่อยๆจางหายไป และลืมไปว่า ลูกเป็นออทิสติก เธอเล่าว่า บางทีก็รู้สึกว่า มีลูกเป็นแบบนี้ก็ดีเหมือนกัน เพราะเขามีความน่ารัก ใสๆ จริงใจบริสุทธิ์ “อนาคตคิดแค่ว่า ถ้าวันหนึ่งแม่ตายก่อนลูก เราก็อยากให้เขาเป็นภาระกับผู้อื่นน้อยที่สุด เพราะเขาต้องอยู่ โดยมีคนดูแล ซึ่งกว่าจะถึงจุดนั้น เราก็ต้องพัฒนาลูกของเราไปเรื่อยๆ เพื่อให้เขาช่วยเหลือตัวเองให้ดีที่สุดเท่าที่เขาจะทำได้”
4.ส่วนใหญ่พ่อแม่ที่มีลูกออทิสติกมักจะถอดใจ เพราะไม่รู้ว่าจะพัฒนาลูกอย่างไร แค่การดำรงอยู่ร่วมกับสังคมก็ยากแล้ว ด้วยเหตุผลดังกล่าว ทางคณะกรรมการมูลนิธิคุณพุ่ม จึงได้ตั้งศูนย์การเรียนสำหรับบุคคลออทิสติก โดยวางแนวทางไว้ว่า พวกเขาควรมีอาชีพของตัวเอง และต้องเป็นสิ่งที่พวกเขารัก
“บางครอบครัวไม่เคยฝึกเด็กเลย ก็ค้นหาศักยภาพเด็กไม่เจอ การสร้างอาชีพให้เด็กกลุ่มนี้ เราต้องดูความชอบและความสามารถของเด็ก และดูอาชีพของครอบครัวด้วย ซึ่งเมื่อก่อนเราไม่ได้คิดแบบนี้ เราเอาครูเป็นตัวตั้งแล้วสอนอาชีพเด็กไปเลย แต่ตอนนี้เราเอาเด็กเป็นตัวตั้ง เด็กชอบด้านไหน เราก็ให้ครูไปเรียน เพื่อมาสอนเด็ก อย่างมีรายหนึ่งที่บ้านเขามีอาชีพปักหมวกขาย แต่เด็กไม่ยอมเรียนกับผู้ปกครอง เราก็เลยขอแบบจากผู้ปกครองมาให้ครูสอน ปรากฎว่า เด็กยอมเรียนกับครู และกลับไปทำอาชีพที่บ้านได้ เรื่องเหล่านี้ครูต้องใส่ใจและสังเกต ”อุมาพร รังสิยานนท์ นักจิตวิทยา และหัวหน้าศูนย์การเรียนสำหรับบุคคลออทิสติกในมูลนิธิคุณพุ่ม เล่า และบอกว่า
ศูนย์การเรียนแห่งนี้ ตั้งอยู่ในโรงเรียนโสตศึกษา ทุ่งมหาเมฆ (โรงเรียนสอนคนหูหนวกแห่งที่สองของประเทศไทย) เปิดสอนเด็กออทิสติกตั้งแต่ปี 2556 ปัจจุบันมีเด็กออทิสติกที่อยู่ในความดูแล 20 คน สามารถรับเด็กออทิสติกได้ปีละห้าคน โดยมีครูสอนเต็มเวลาสี่คน และสอนอาชีพอีกสี่คน
เมื่อตั้งคำถามว่า ทำไมแต่ละปีเปิดรับเด็กออทิสติกได้น้อยมาก อุมาพร บอกว่า ศูนย์การเรียนแห่งนี้ เพิ่งเปิดได้ไม่นาน ตอนนี้ยังอยู่ในขั้นทดลองหลักสูตร “เราโชคดีที่มีคุณหมอที่เป็นผู้เชี่ยวชาญและเป็นกรรมการมูลนิธิฯ คอยให้คำปรึกษา เด็กพิเศษเหล่านี้ควรเรียนเพื่อมีอาชีพทำ ซึ่งดีกว่าเรียนต่อมหาวิทยาลัย อย่างบางคนชอบทำเบเกอรี่ บางคนชอบเย็บผ้าเช็ดมือ เราก็ส่งครูไปเรียนกลับมาสอนเด็กให้ตรงกับความชอบ เราได้ทดลองมาแล้ว ถ้าเราสอนในสิ่งที่เราเป็นแต่เด็กไม่ถนัด ก็ไม่เกิดผล เราบอกผู้ปกครองว่า เราจะสอนตามสภาพตามความพอเพียงของเรา"
ในฐานะนักจิตวิทยาและครูที่มีความเข้าใจเด็กออทิสติกเป็นอย่างดี อุทุมพร เล่าต่อว่า อย่างเทเล่อร์ จะเด่นในเรื่อง ดนตรี กีฬา และภาษาอังกฤษ เขาสื่อสารกับชาวต่างชาติได้เลย หรือน้องอีกคน จำศัพท์ภาษาอังกฤษได้ทุกคำ ถ้าไม่อยากเปิดพจนานุกรม ถามเบนนี่เป็นภาษาไทย เขาจะตอบเราเป็นภาษาอังกฤษ แต่ถ้ารวมประโยคตอบไม่ได้
“เด็กบางคนดูการ์ตูนครั้งเดียว เลียนเสียงการ์ตูนได้เลย และมีความสามารถพิมพ์เอกสาร สอนครั้งเดียวก็ทำได้เลยและเร็วด้วย จนมารับจ้างพิมพ์งาน เด็กบางคนสามารถวาดสิ่งของได้เหมือนก็อปปี้หรือบางคนมองเห็นสีมากกว่าคนปกติ เวลาวาดรูปจึงดูแปลกตา หรือถ้าคนปกติจัดเรียงสิ่งของได้ตรงแล้ว เด็กออทิสติกจะจัดได้ตรงเปะกว่า
“หลายคนจะมองว่า เด็กออทิสติกชอบเก็บตัว ไม่มีปฎิสัมพันธ์ ถ้าเราเข้าใจเขา เขาจะสื่อสารกับเรา และมีมุมมองเหมือนคนปกติ เด็กออทิสติกหลายคนชอบสังคม อย่างเทเล่อร์จะชอบอยู่กับผู้คน หรือออทิสติกบางคนมีทักษะบางอย่าง ในงานๆ หนึ่งเขาจะรู้ว่า ใครเป็นคนสำคัญของงาน ก็จะพุ่งไปหาคนๆ นั้นเลย ถ้ามีกล้องทีวีหรือกล้องถ่ายรูป เขาจะเข้าไปอยู่จุดนั้นทันที
แต่บางคนก็จะมีพฤติกรรมซ้ำๆ แปลกๆ นั่งโยกตัวตลอดเวลา หรือบางคนชอบพูดคนเดียว ก็เลยไม่มีคนกล้าเข้าหา หรือบางคนนึกยังไง ก็พูดอย่างนั้น อย่างเห็นผู้หญิงอ้วนเดินผ่านมา เขาก็จะพูดขึ้นทันทีว่า “ทำไมอ้วนจัง กินอะไรหรือครับ" ดังนั้นเราต้องหาจุดบกพร่องให้เจอ แล้วร่วมมือกันระหว่างแพทย์ พ่อแม่ ครู เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรม” นักจิตวิทยาคนเดิม เล่า และบอกว่า “ทุกคนจะมองว่าเด็กออทิสติกคือเด็กที่มีปัญหา แต่เราไม่ได้มองว่ามีปัญหา เราจะหาจุดเด่นของเขา แล้วจุดด้อยจะค่อยๆ หายไป”
ขอบคุณ... http://www.bangkokbiznews.com/news/detail/758224 (ขนาดไฟล์: 167)
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
ผลงานศิลปะ บนถุงผ้าจากฝีมือเด็กออทิสติก นอกจากพฤติกรรมที่คนส่วนใหญ่ไม่คุ้นเคยนักกับเด็กออทิสติก ยังมีเรื่องดีๆ ที่ซ่อนอยู่ หากใครได้ชมภาพยนตร์เรื่อง I am Sam คงจะนึกถึงบุคลิกใส ซื่อ บริสุทธิ์ของแซม ดอว์สัน ได้ เขามีลูกสาวคนหนึ่ง ที่แม่ผู้ให้กำเนิดทิ้งไว้ให้แซมเลี้ยง แซมจึงต้องดูแลลูกสาวลำพังคนเดียว แซมทำตั้งแต่เปลี่ยนผ้าอ้อม ป้อนนม เล่นกับลูก และอ่านนิทานให้ลูกฟัง นอกจากนี้เขายังมีแก๊งเพื่อนที่แต่ละคนไม่สมประกอบนัก แต่แซมก็มีความสุข แซมทำงานในร้านกาแฟ มีหน้าที่จัดเรียงสิ่งของในร้าน และจัดได้เป็นระเบียบมากกว่าคนทั่วไป เพราะแซมมีอายุเท่าเด็ก 7 ขวบ แต่เขารักลูก รักเพื่อน และรักงาน แซม เป็นออทิสติกที่ทำงานเลี้ยงตัวเองได้ ไม่ต่างจากเทเล่อร์ที่เล่นเปียโนในโรงพยาบาล หรือออทิสติกอีกหลายคนที่ทำงานที่ตัวเองรัก ว่ากันว่า คนเป็นพ่อแม่ ครู และคนที่ใกล้ชิดกับเด็กออทิสติกจะรู้สึกเหนื่อยกับพฤติกรรมของพวกเขา เพราะออทิสติกจำนวนไม่น้อยไม่สามารถสื่อสารความต้องการของตัวเอง และส่วนใหญ่ไม่ปฏิสัมพันธ์กับคนรอบข้าง สร้างความลำบากใจและความปั่นป่วนให้คนพบเห็นอยู่เนื่องๆ ในปัจจุบันคนในสังคมเริ่มทำความเข้าใจกับเด็กพิเศษ หรือเด็กที่มีความบกพร่องทางร่างกายมากขึ้นเรื่อยๆ มีการเปิดโอกาสให้คนบกพร่องทางหู คนออทิสติก เข้าทำงานในร้านกาแฟ หรือร้านเบเกอรี่ ให้โอกาสเด็กออทิสติกเล่นดนตรีในโรงพยาบาล ฯลฯ แม้เรื่องราวเหล่านี้จะเป็นส่วนน้อย แต่ก็เป็นเรื่องดีๆ ที่เกิดขึ้นในสังคม “ตอนลูกเรียนประถมสอง เรียนวิชาดนตรีที่โรงเรียน และกลับมาบ้านก็ฝึกเป่ารีคอร์เดอร์ โดยใช้มือซ้ายเล่นคีย์บอร์ดในเพลงเดียวกัน เราก็สังเกตเห็นสองสามครั้ง ก็เลยรู้ว่า ลูกมีความชอบและถนัดด้านดนตรี” วลัยพร สิริพูนผล (เจ้าของเพจแม่ต่ายสายชิล ปั้นลูกออทิสติก) เล่าถึงเทเล่อร์ ลูกชายวัย 17 ปีที่รู้ตัวดีว่า เป็นออทิสติก 1.ถ้าลูกเป็นออทิสติก คนเป็นพ่อแม่ ก็ต้องหาความรู้ และทำความเข้าใจเรื่องเหล่านี้ และต้องช่วยพัฒนาลูกในด้านต่างๆ เพื่อให้เขาอยู่กับสังคมได้ แม่ต่าย-วลัยพร ก็ไม่ต่างจากพ่อแม่หลายคนคือ เมื่อรู้ว่า ลูกเป็นออทิสติก ก็ทุกข์ใจ และจมอยู่กับความเศร้าหลายปี จนเริิ่มปรับตัว เพราะรู้ว่าทำแบบนั้นไม่เกิดประโยชน์ เป็นการทำร้ายตัวเองและลูก “ตอนลูกอายุ 3 ปีกว่าๆ รู้สึกว่าเขาซนผิดปกติ ตอนนั้นยังไม่ชัด เพราะเขาพูดได้และสบตา เหมือนเด็กสมาธิสั้น พอลูกขึ้นประถมหนึ่ง ปัญหาเริ่มเยอะขึ้น ไม่มีระเบียบวินัยเหมือนคนทั่วไป ครูก็เรียกพบ พอรู้ชัดว่า ลูกเป็นเด็กออทิสติก ตอนแรกก็ตกใจ ตั้งตัวไม่ทัน เพราะสมัยนั้น คนยังไม่ค่อยเข้าใจเรื่องนี้” แม่ต่ายใช้เวลาหลายปี กว่าจะยอมรับเต็มหัวใจว่า ลูกเป็นออทิสติก เธอพยายามปรึกษาหมอ คุณครูและคุยกับพ่อแม่ที่มีลูกออทิสติก “เมื่อก่อนยอมรับแค่ครึ่งหนึ่ง เพราะเราใช้มาตรฐานเด็กปกติเป็นตัววัด กดดันทั้งตัวเราและลูก จนย้ายไปอยู่โรงเรียนรัฐบาลที่มีการศึกษาพิเศษ จากที่ลูกเราเป็นคนส่วนน้อยที่เป็นแบบนั้น เขากลายเป็นส่วนหนึ่ง ซึ่งลูกเองก็ยอมรับว่า ตัวเองเป็นเด็กพิเศษ และเขาก็มีความสุข บอกว่าเป็นออทิสติกก็ดีนะ เราก็เริ่มยอมรับเต็มหัวใจเมื่อเขาอายุ 13-14 ปี” เมื่อยอมรับว่า ลูกเป็นออทิสติก เธอตั้งเป้าหมายใหม่ว่า ลูกไม่จำเป็นต้องร่ำเรียนด้านวิชาการ แค่เขาอ่านออก เขียนได้ ใช้เงินเป็น เธอก็พอใจแล้ว เธอจึงให้ลูกเรียนดนตรีตั้งแต่อายุ 8 ปีเพราะเห็นว่าลูกชอบ แม้จะมีอุปสรรคมากมาย แต่เธอก็ไม่ท้อ “ครูดนตรีส่วนใหญ่เอาไม่อยู่ เปลี่ยนครูมา 5-6 คน ทั้งๆ ที่ครูบางคนสอนเด็กพิเศษมาก่อน แต่ลูกเราไม่ค่อยให้ความร่วมมือ เวลาเรียนไม่นิ่งเลย และเรียนร่วมกับกลุ่มใหญ่ไม่ได้ ตอนไปเรียนเคยขอครูไปเข้าห้องน้ำ แล้วหายไปเลย ก็เลยให้เลิกเรียนเปียโนไปเดือนสองเดือน จนในที่สุดลูกเดินมาบอกว่า อยากเรียนเปียโน จนได้มาเจอครูคนใหม่" 2.“เขาก็เรียนได้เหมือนคนทั่วไป แต่ต้องย้ำบ่อยๆ และเวลาสอนต้องมองหน้ามองตาว่า เขามีสมาธิอยู่ตรงนั้นไหม เพราะเวลาเรียนเขาอาจกำลังคิดเรื่องอื่น เราต้องสะกิดเตือน และต้องสังเกต” วิมล กมลาศน์ อาจารย์พิเศษ ภาควิชาเปียโน โครงการศึกษาดนตรีสำหรับบุคคลทั่วไป วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าว ปกติแล้ว อาจารย์วิมลจะสอนดนตรีให้คนทั่วไป มีเพียงเทเล่อร์คนเดียวที่เป็นเด็กออทิสติก เพราะแม่ต่ายขอร้องให้ช่วยสอนลูกของเธอ และเขาก็ทำให้เด็กออทิสติกคนนี้ สามารถอยู่กับดนตรีได้ “เรียนกับครูคนนี้ นั่งเรียนได้เป็นชั่วโมง ไม่ลุกไปไหนเลย แต่ละอาทิตย์ก้าวต่อไปเรื่อยๆ เราก็ต้องเอาสิ่งที่ครูสอนมา ไปให้เขาซ้อมเปียโนทุกวัน” แม่ต่าย เล่า แม้อาจารย์วิมลจะบอกว่า ไม่ได้ยากอะไรมากที่จะสอนเด็กออทิสติก แรกๆ ก็สอนให้อ่านโน้ตเหมือนคนทั่วไป แต่สิ่งที่เขาต่างจากครูทั่วไปคือ ความใส่ใจ “ขั้นแรกผมสอนให้อ่านโน้ต อ่านจังหวะและเข้าใจดนตรี และทำใจว่า ถ้าวันนี้เขาเล่นไม่ได้ วันต่อไปเขาก็คงเล่นได้ ทำแบบนี้ไปเรื่อยๆ ผมจะใส่ใจเป็นพิเศษ เฝ้าติดตามตลอด แม่เขาก็ให้ความร่วมมือดี เขาก็เรียนรู้ได้เหมือนคนธรรมดา อาจช้ากว่าคนปกติ ผมมองว่า ดนตรีช่วยพัฒนาอารมณ์ ผมก็ช่วยในแง่ทำให้เขาอยู่กับดนตรี ผมสอนมา 5-6 ปี สองปีหลัง เขาเริ่มเล่นเพลงสนุกๆ และเพลงที่คนทั่วไปรู้จักได้” 3.หากใครไปโรงพยาบาลสมิติเวช อาจได้เห็นเขานั่งเล่นเปียโน แม้จะมีคนเดินผ่านไปมาฟังไม่กี่คน แต่ก็สร้างสีสันให้โรงพยาบาลดูมีชีวิตชีวา เขาเคยเล่นเพลงโดราเอมอน แล้วมีเด็กสองคนเต้นและฟังอยู่ข้างๆ หรือเวลาเล่นเพลงเก่าๆ ก็มีคนป่วยคนหนึ่งมานั่งฟัง และฮัมเพลงไปตามจังหวะ แม้เขาจะมีพัฒนาการทางสมองช้ากว่าคนทั่วไป แต่เทเล่อร์ก็สามารถเล่นดนตรีในโรงพยาบาลได้ ซึ่งทำให้เขามีความมั่นใจมากขึ้น และทำให้แม่ต่ายมีความสุข “ตั้งแต่เล็กๆ เราเชื่อว่า ลูกพัฒนาตัวเองได้ เคยให้เขาไปเป็นจิตอาสาเล่นเปียโนในโรงพยาบาล เมื่อคนรู้ว่าเป็นเด็กออทิสติก ก็ยิ่งชื่นชม ถ้าเขาได้ทำสิ่งที่เขารัก เขาจะอยู่ได้นาน เรารู้สึกว่าดนตรีมีส่วนทำให้เขามีความคิดเป็นของตัวเองมากขึ้น เวลาไปโชว์เปียโนที่โรงพยาบาลสมิติเวช เขาจะกระตือรือร้น ถ้าเพลงไหน เขาเล่นเป็นแล้วเขาก็จะเล่นซ้ำๆ อย่างเพลงพระราชาที่ทรงธรรม เขาชอบก็จะเล่นให้เราฟัง ” เมื่อเข้าใจลูกออทิสติกมากขึ้น ความทุกข์ของแม่ต่ายก็ค่อยๆจางหายไป และลืมไปว่า ลูกเป็นออทิสติก เธอเล่าว่า บางทีก็รู้สึกว่า มีลูกเป็นแบบนี้ก็ดีเหมือนกัน เพราะเขามีความน่ารัก ใสๆ จริงใจบริสุทธิ์ “อนาคตคิดแค่ว่า ถ้าวันหนึ่งแม่ตายก่อนลูก เราก็อยากให้เขาเป็นภาระกับผู้อื่นน้อยที่สุด เพราะเขาต้องอยู่ โดยมีคนดูแล ซึ่งกว่าจะถึงจุดนั้น เราก็ต้องพัฒนาลูกของเราไปเรื่อยๆ เพื่อให้เขาช่วยเหลือตัวเองให้ดีที่สุดเท่าที่เขาจะทำได้” 4.ส่วนใหญ่พ่อแม่ที่มีลูกออทิสติกมักจะถอดใจ เพราะไม่รู้ว่าจะพัฒนาลูกอย่างไร แค่การดำรงอยู่ร่วมกับสังคมก็ยากแล้ว ด้วยเหตุผลดังกล่าว ทางคณะกรรมการมูลนิธิคุณพุ่ม จึงได้ตั้งศูนย์การเรียนสำหรับบุคคลออทิสติก โดยวางแนวทางไว้ว่า พวกเขาควรมีอาชีพของตัวเอง และต้องเป็นสิ่งที่พวกเขารัก “บางครอบครัวไม่เคยฝึกเด็กเลย ก็ค้นหาศักยภาพเด็กไม่เจอ การสร้างอาชีพให้เด็กกลุ่มนี้ เราต้องดูความชอบและความสามารถของเด็ก และดูอาชีพของครอบครัวด้วย ซึ่งเมื่อก่อนเราไม่ได้คิดแบบนี้ เราเอาครูเป็นตัวตั้งแล้วสอนอาชีพเด็กไปเลย แต่ตอนนี้เราเอาเด็กเป็นตัวตั้ง เด็กชอบด้านไหน เราก็ให้ครูไปเรียน เพื่อมาสอนเด็ก อย่างมีรายหนึ่งที่บ้านเขามีอาชีพปักหมวกขาย แต่เด็กไม่ยอมเรียนกับผู้ปกครอง เราก็เลยขอแบบจากผู้ปกครองมาให้ครูสอน ปรากฎว่า เด็กยอมเรียนกับครู และกลับไปทำอาชีพที่บ้านได้ เรื่องเหล่านี้ครูต้องใส่ใจและสังเกต ”อุมาพร รังสิยานนท์ นักจิตวิทยา และหัวหน้าศูนย์การเรียนสำหรับบุคคลออทิสติกในมูลนิธิคุณพุ่ม เล่า และบอกว่า ศูนย์การเรียนแห่งนี้ ตั้งอยู่ในโรงเรียนโสตศึกษา ทุ่งมหาเมฆ (โรงเรียนสอนคนหูหนวกแห่งที่สองของประเทศไทย) เปิดสอนเด็กออทิสติกตั้งแต่ปี 2556 ปัจจุบันมีเด็กออทิสติกที่อยู่ในความดูแล 20 คน สามารถรับเด็กออทิสติกได้ปีละห้าคน โดยมีครูสอนเต็มเวลาสี่คน และสอนอาชีพอีกสี่คน เมื่อตั้งคำถามว่า ทำไมแต่ละปีเปิดรับเด็กออทิสติกได้น้อยมาก อุมาพร บอกว่า ศูนย์การเรียนแห่งนี้ เพิ่งเปิดได้ไม่นาน ตอนนี้ยังอยู่ในขั้นทดลองหลักสูตร “เราโชคดีที่มีคุณหมอที่เป็นผู้เชี่ยวชาญและเป็นกรรมการมูลนิธิฯ คอยให้คำปรึกษา
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)