ปฏิรูปประเทศเริ่มที่ 'ปฐมวัย' ลงทุนวันนี้อนาคตได้คืน10เท่า

แสดงความคิดเห็น

กลุ่มเด็กนักเรียนชั้นประถมศึกษา

“หากจะปฏิรูปประเทศไทยไม่ว่าจะเกิดจากภาคประชาชนหรือรัฐบาลชุดใหม่ เห็นว่าเรื่องแรกที่ควรปฏิรูปคือ การพัฒนาเด็กปฐมวัยให้มีคุณภาพ เพราะคุณภาพของประเทศไทยขึ้นอยู่กับเด็ก” ความในใจของ น.ส.ธนพร วิจันทร์ ประธานกลุ่มบูรณาการแรงงานสตรี หนึ่งในแกนนำแรงงานสตรีที่เอ่ยขึ้นในวงสัมมนา "การพัฒนาและดูแลเด็กปฐมวัยกับการคุ้มครองทางสังคมแก่เด็ก ครั้งที่ 2” จัดขึ้นโดยสำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน (สสค.) ร่วมกับสถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และองค์การยูนิเซฟ ที่อาคารประชาธิปก รำไพพรรณี จุฬาฯ กทม. เมื่อวันที่ 9 มกราคม ที่ผ่านมา

สอดรับกับความเห็นของ ศ.นพ.ศุภสิทธิ์ พรรณารุโณทัย คณบดีคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร(มน.) ซึ่งนำเสนอว่า ช่วงอายุ 0-5 ปีเป็นช่วงสำคัญในการพัฒนาการเรียนรู้ของเด็กเล็ก ดังนั้นการลงทุนเพื่อพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ตั้งแต่ยังเป็นเด็กเล็ก จึงถือเป็นการลงทุนที่คุ้มค่าที่สุด โดยจากผลการศึกษาของเจมส์ เฮกแมน นักเศรษฐศาสตร์ ชาวอเมริกา เจ้าของรางวัลโนเบลปี 2542 ได้ศึกษาการพัฒนาเด็กปฐมวัยโดยให้เรียนครึ่งวัน มีพี่เลี้ยงไปเยี่ยมบ้านทุกสัปดาห์ และติดตามดูอย่างต่อเนื่องไปจนอายุ 27-30 ปี หรืออีกงานวิจัยให้เด็กเล็ก 4-5 ปีเรียนทั้งวันในเวลา 5 วัน มีครูพี่เลี้ยง 1 คนต่อเด็ก 3 คน

“ผลการศึกษาเหล่านี้พบว่า การลงทุนในเด็กปฐมวัยจะได้รับกลับคืนในอนาคต 7-10 เท่า หรือหากลงทุนไป 1 ดอลลาร์ จะได้ผลกลับคืน 7-10 ดอลลาร์ เด็กที่ได้รับสารอาหารและการดูแลสุขภาพที่ดีในช่วงแรกของชีวิตจะมีพัฒนาทาง ร่างกาย อารมณ์และสติปัญญาที่ดี มีโอกาสเข้าเรียนจนถึงอุดมศึกษา มีการทำงานที่ดี รายได้สูง และการก่ออาชญากรรม การใช้เงินสวัสดิการรัฐมีน้อย” ศ.นพ.ศุภสิทธิ์ กล่าว

ศ.นพ.ศุภสิทธิ์ ยังสะท้อนด้วยว่า ประเทศไทยมีการลงทุนในเด็กปฐมวัยค่อนข้างน้อย เพียงร้อยละ 12 เฉลี่ยอยู่ที่คนละ 23,282 บาทต่อปี ประถมศึกษาร้อยละ 54 อยู่ที่คนละ 37,194 บาทต่อปี มัธยมศึกษาร้อยละ 29 อยู่ที่คนละ 26,332 บาทต่อปี หากเทียบกับการลงทุนของสากลนั้น ระดับปฐมวัยอยู่ที่ร้อยละ 24 ประถมศึกษาอยู่ที่ร้อยละ 36 และมัธยมศึกษาอยู่ที่ร้อยละ 41 และหากคำนวณจากเงินลงทุน 100 บาท ในจำนวนนี้เป็นเงินเดือนครู 71 บาท และงบพัฒนาตัวเด็กเพียง 11 บาท ส่วนที่เหลือ 18 บาท เป็นงบบริหารและครุภัณฑ์

“วันนี้หลายคนตั้งคำถามว่า การลงทุนพัฒนาเด็กปฐมวัยของรัฐบาลไทยน้อยไปและคุ้มค่าหรือไม่เพราะไทยจัดงบลงทุนด้านการศึกษามากกว่าประเทศอื่นๆ ในอาเซียน แต่คุณภาพการศึกษากลับแทบจะรั้งท้าย 10 ประเทศอาเซียน” ศ.นพ.ศุภสิทธิ์ บอกทิ้งท้าย

นายแอนดรูว์ เคลย์โปล หัวหน้าแผนกวิเคราะห์นโยบายสังคม องค์การยูนิเซฟ ประจำประเทศไทย เสนอให้รัฐบาลไทยจัดเงินอุดหนุนการเลี้ยงดูบุตรให้แก่คนไทยเช่นเดียวกับใน หลายประเทศ เช่น บราซิล แอฟริกาใต้ โดยจากการศึกษาร่วมกับหน่วยงานต่างๆ ในไทยเห็นว่าควรอุดหนุนเด็กอายุ 0-6 ปีทั่วประเทศในอัตราคนละ 600 บาทต่อเดือน ซึ่งต้องใช้งบเดือนละกว่า 1,600 ล้านบาท

น.ส.ปรียานุช ป้องภัย กรรมการผู้ประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชน (กป.อพช.) ภาคอีสานฉายภาพชีวิตเด็กเล็กในชนบทว่า ใน จ.ขอนแก่น มีชุมนุมแห่งหนึ่งมี 80 หลังคาเรือน เด็กเล็กเกินร้อยละ 50 ต้องอยู่กับปู่ย่าตายาย เพราะพ่อแม่อพยพไปทำงานในเมืองใหญ่ เด็กสุขภาพไม่แข็งแรง เพราะต้องดื่มนมผงแทนนมแม่ ไม่ได้รับความรักความอบอุ่นจากพ่อแม่ ปู่ย่าตายายเลี้ยงแบบตามใจ ไม่สามารถสอนการบ้านหลานได้ ทำให้เด็กมีทักษะชีวิต การเข้าสังคมและการพัฒนาการเรียนรู้ไม่สมกับวัย

โดยภาพรวมเสียงสะท้อนในวงสัมมนาครั้งนี้ ทั้งนักวิชาการ คณะทำงานด้านเด็ก แรงงานสตรี มูลนิธิภาคเอกชนที่ดูแลเด็กเล็กได้เสนอแนวทางการพัฒนาเด็กปฐมวัยต่อรัฐบาล กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) โดยส่งเสริมให้พ่อแม่และเด็กเห็นความสำคัญของอาหารมื้อเช้า ผู้หญิงที่เตรียมจะมีลูกและหญิงตั้งครรภ์ได้รับสารอาหารที่มีผลต่อการพัฒนา สมองของเด็ก ได้แก่ โปรตีน ไอโอดีน ธาตุเหล็ก และโฟเลตตั้งแต่ก่อนตั้งครรภ์ และส่งเสริมให้เด็กได้ดื่มนมแม่ตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 2-3 เดือน ปลูกฝังเด็กกินผักและผลไม้ พ่อแม่ไม่ใช้สื่อเทคโนโลยี เช่น สมาร์ทโฟน ไอแพดเลี้ยงเด็กเล็ก แต่ใช้วิธีเล่านิทานและการเล่นเพื่อกระตุ้นประสาทสัมผัสเด็ก

นอกจากนี้จะต้องให้เด็กเล็กทุกคนได้รับโอกาสทางการศึกษาและสุขภาพ การพัฒนาด้านทักษะการเข้าสังคม ภาษา การอ่าน เขียน คำนวณและระดับสติปัญญา(ไอคิว)สมตามวัย จัดสรรทรัพยากรด้านการศึกษาและสื่อในการพัฒนาด้านร่างกาย อารมณ์ สติปัญญาและจิตใจของเด็กเล็กอย่างเต็มที่ จัดตั้งศูนย์เด็กเล็กให้ครอบคลุมทุกพื้นที่ทั้งในกรุงเทพฯ และจังหวัดต่างๆ โดยเฉพาะจังหวัดที่มีสถานประกอบการจำนวนมาก มีการประเมินผลและพัฒนาคุณภาพโรงเรียนอนุบาล ศูนย์เด็กเล็กทั่วประเทศ ครูปฐมวัยและพี่เลี้ยงเด็กเล็ก รวมทั้งตัวเด็กเอง มีการไปเยี่ยมบ้านเด็กแต่ละคนในทุกสัปดาห์เพื่อให้คำแนะนำและช่วยเหลือผู้ ปกครองในการดูแลและพัฒนาเด็กเล็ก

รวมทั้งจัดเงินอุดหนุนพัฒนาเด็กปฐมวัยให้เด็กแต่ละคน อีกทั้งมีการจัดทำและเก็บข้อมูลการตรวจสุขภาพเด็กเล็กแต่ละคนตั้งแต่ 0-3 ปี ให้ชัดเจน และครบวงจร หากเด็กมีปัญหาบกพร่องด้านร่างกาย สติปัญญาหรือการเรียนรู้จะได้ช่วยพัฒนาเด็กได้ทัน

หากถามหาความคุ้มค่า ณ วันนี้มีคำตอบแล้ว!! รัฐบาล ครอบครัวและทุกฝ่ายควรถามตัวเองว่า ถึงเวลาแล้วหรือยัง??...ที่จะหันมาผนึกกำลังกันพัฒนาเด็กปฐมวัยอย่างจริงจัง ให้เติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพเพื่อพร้อมรองรับสังคมผู้สูงอายุและการแข่ง ขันในเวทีประชาคมอาเซียน(เอซี)และโลก

ขอบคุณ http://www.komchadluek.net/detail/20140120/177141.html (ขนาดไฟล์: 167)

(คมชัดลึกออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 18 ม.ค.57)

ที่มา: คมชัดลึกออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 18 ม.ค.57
วันที่โพสต์: 20/01/2557 เวลา 03:36:49 ดูภาพสไลด์โชว์ ปฏิรูปประเทศเริ่มที่ 'ปฐมวัย' ลงทุนวันนี้อนาคตได้คืน10เท่า

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

กลุ่มเด็กนักเรียนชั้นประถมศึกษา “หากจะปฏิรูปประเทศไทยไม่ว่าจะเกิดจากภาคประชาชนหรือรัฐบาลชุดใหม่ เห็นว่าเรื่องแรกที่ควรปฏิรูปคือ การพัฒนาเด็กปฐมวัยให้มีคุณภาพ เพราะคุณภาพของประเทศไทยขึ้นอยู่กับเด็ก” ความในใจของ น.ส.ธนพร วิจันทร์ ประธานกลุ่มบูรณาการแรงงานสตรี หนึ่งในแกนนำแรงงานสตรีที่เอ่ยขึ้นในวงสัมมนา "การพัฒนาและดูแลเด็กปฐมวัยกับการคุ้มครองทางสังคมแก่เด็ก ครั้งที่ 2” จัดขึ้นโดยสำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน (สสค.) ร่วมกับสถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และองค์การยูนิเซฟ ที่อาคารประชาธิปก รำไพพรรณี จุฬาฯ กทม. เมื่อวันที่ 9 มกราคม ที่ผ่านมา สอดรับกับความเห็นของ ศ.นพ.ศุภสิทธิ์ พรรณารุโณทัย คณบดีคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร(มน.) ซึ่งนำเสนอว่า ช่วงอายุ 0-5 ปีเป็นช่วงสำคัญในการพัฒนาการเรียนรู้ของเด็กเล็ก ดังนั้นการลงทุนเพื่อพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ตั้งแต่ยังเป็นเด็กเล็ก จึงถือเป็นการลงทุนที่คุ้มค่าที่สุด โดยจากผลการศึกษาของเจมส์ เฮกแมน นักเศรษฐศาสตร์ ชาวอเมริกา เจ้าของรางวัลโนเบลปี 2542 ได้ศึกษาการพัฒนาเด็กปฐมวัยโดยให้เรียนครึ่งวัน มีพี่เลี้ยงไปเยี่ยมบ้านทุกสัปดาห์ และติดตามดูอย่างต่อเนื่องไปจนอายุ 27-30 ปี หรืออีกงานวิจัยให้เด็กเล็ก 4-5 ปีเรียนทั้งวันในเวลา 5 วัน มีครูพี่เลี้ยง 1 คนต่อเด็ก 3 คน “ผลการศึกษาเหล่านี้พบว่า การลงทุนในเด็กปฐมวัยจะได้รับกลับคืนในอนาคต 7-10 เท่า หรือหากลงทุนไป 1 ดอลลาร์ จะได้ผลกลับคืน 7-10 ดอลลาร์ เด็กที่ได้รับสารอาหารและการดูแลสุขภาพที่ดีในช่วงแรกของชีวิตจะมีพัฒนาทาง ร่างกาย อารมณ์และสติปัญญาที่ดี มีโอกาสเข้าเรียนจนถึงอุดมศึกษา มีการทำงานที่ดี รายได้สูง และการก่ออาชญากรรม การใช้เงินสวัสดิการรัฐมีน้อย” ศ.นพ.ศุภสิทธิ์ กล่าว ศ.นพ.ศุภสิทธิ์ ยังสะท้อนด้วยว่า ประเทศไทยมีการลงทุนในเด็กปฐมวัยค่อนข้างน้อย เพียงร้อยละ 12 เฉลี่ยอยู่ที่คนละ 23,282 บาทต่อปี ประถมศึกษาร้อยละ 54 อยู่ที่คนละ 37,194 บาทต่อปี มัธยมศึกษาร้อยละ 29 อยู่ที่คนละ 26,332 บาทต่อปี หากเทียบกับการลงทุนของสากลนั้น ระดับปฐมวัยอยู่ที่ร้อยละ 24 ประถมศึกษาอยู่ที่ร้อยละ 36 และมัธยมศึกษาอยู่ที่ร้อยละ 41 และหากคำนวณจากเงินลงทุน 100 บาท ในจำนวนนี้เป็นเงินเดือนครู 71 บาท และงบพัฒนาตัวเด็กเพียง 11 บาท ส่วนที่เหลือ 18 บาท เป็นงบบริหารและครุภัณฑ์ “วันนี้หลายคนตั้งคำถามว่า การลงทุนพัฒนาเด็กปฐมวัยของรัฐบาลไทยน้อยไปและคุ้มค่าหรือไม่เพราะไทยจัดงบลงทุนด้านการศึกษามากกว่าประเทศอื่นๆ ในอาเซียน แต่คุณภาพการศึกษากลับแทบจะรั้งท้าย 10 ประเทศอาเซียน” ศ.นพ.ศุภสิทธิ์ บอกทิ้งท้าย นายแอนดรูว์ เคลย์โปล หัวหน้าแผนกวิเคราะห์นโยบายสังคม องค์การยูนิเซฟ ประจำประเทศไทย เสนอให้รัฐบาลไทยจัดเงินอุดหนุนการเลี้ยงดูบุตรให้แก่คนไทยเช่นเดียวกับใน หลายประเทศ เช่น บราซิล แอฟริกาใต้ โดยจากการศึกษาร่วมกับหน่วยงานต่างๆ ในไทยเห็นว่าควรอุดหนุนเด็กอายุ 0-6 ปีทั่วประเทศในอัตราคนละ 600 บาทต่อเดือน ซึ่งต้องใช้งบเดือนละกว่า 1,600 ล้านบาท น.ส.ปรียานุช ป้องภัย กรรมการผู้ประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชน (กป.อพช.) ภาคอีสานฉายภาพชีวิตเด็กเล็กในชนบทว่า ใน จ.ขอนแก่น มีชุมนุมแห่งหนึ่งมี 80 หลังคาเรือน เด็กเล็กเกินร้อยละ 50 ต้องอยู่กับปู่ย่าตายาย เพราะพ่อแม่อพยพไปทำงานในเมืองใหญ่ เด็กสุขภาพไม่แข็งแรง เพราะต้องดื่มนมผงแทนนมแม่ ไม่ได้รับความรักความอบอุ่นจากพ่อแม่ ปู่ย่าตายายเลี้ยงแบบตามใจ ไม่สามารถสอนการบ้านหลานได้ ทำให้เด็กมีทักษะชีวิต การเข้าสังคมและการพัฒนาการเรียนรู้ไม่สมกับวัย โดยภาพรวมเสียงสะท้อนในวงสัมมนาครั้งนี้ ทั้งนักวิชาการ คณะทำงานด้านเด็ก แรงงานสตรี มูลนิธิภาคเอกชนที่ดูแลเด็กเล็กได้เสนอแนวทางการพัฒนาเด็กปฐมวัยต่อรัฐบาล กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) โดยส่งเสริมให้พ่อแม่และเด็กเห็นความสำคัญของอาหารมื้อเช้า ผู้หญิงที่เตรียมจะมีลูกและหญิงตั้งครรภ์ได้รับสารอาหารที่มีผลต่อการพัฒนา สมองของเด็ก ได้แก่ โปรตีน ไอโอดีน ธาตุเหล็ก และโฟเลตตั้งแต่ก่อนตั้งครรภ์ และส่งเสริมให้เด็กได้ดื่มนมแม่ตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 2-3 เดือน ปลูกฝังเด็กกินผักและผลไม้ พ่อแม่ไม่ใช้สื่อเทคโนโลยี เช่น สมาร์ทโฟน ไอแพดเลี้ยงเด็กเล็ก แต่ใช้วิธีเล่านิทานและการเล่นเพื่อกระตุ้นประสาทสัมผัสเด็ก นอกจากนี้จะต้องให้เด็กเล็กทุกคนได้รับโอกาสทางการศึกษาและสุขภาพ การพัฒนาด้านทักษะการเข้าสังคม ภาษา การอ่าน เขียน คำนวณและระดับสติปัญญา(ไอคิว)สมตามวัย จัดสรรทรัพยากรด้านการศึกษาและสื่อในการพัฒนาด้านร่างกาย อารมณ์ สติปัญญาและจิตใจของเด็กเล็กอย่างเต็มที่ จัดตั้งศูนย์เด็กเล็กให้ครอบคลุมทุกพื้นที่ทั้งในกรุงเทพฯ และจังหวัดต่างๆ โดยเฉพาะจังหวัดที่มีสถานประกอบการจำนวนมาก มีการประเมินผลและพัฒนาคุณภาพโรงเรียนอนุบาล ศูนย์เด็กเล็กทั่วประเทศ ครูปฐมวัยและพี่เลี้ยงเด็กเล็ก รวมทั้งตัวเด็กเอง มีการไปเยี่ยมบ้านเด็กแต่ละคนในทุกสัปดาห์เพื่อให้คำแนะนำและช่วยเหลือผู้ ปกครองในการดูแลและพัฒนาเด็กเล็ก รวมทั้งจัดเงินอุดหนุนพัฒนาเด็กปฐมวัยให้เด็กแต่ละคน อีกทั้งมีการจัดทำและเก็บข้อมูลการตรวจสุขภาพเด็กเล็กแต่ละคนตั้งแต่ 0-3 ปี ให้ชัดเจน และครบวงจร หากเด็กมีปัญหาบกพร่องด้านร่างกาย สติปัญญาหรือการเรียนรู้จะได้ช่วยพัฒนาเด็กได้ทัน หากถามหาความคุ้มค่า ณ วันนี้มีคำตอบแล้ว!! รัฐบาล ครอบครัวและทุกฝ่ายควรถามตัวเองว่า ถึงเวลาแล้วหรือยัง??...ที่จะหันมาผนึกกำลังกันพัฒนาเด็กปฐมวัยอย่างจริงจัง ให้เติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพเพื่อพร้อมรองรับสังคมผู้สูงอายุและการแข่ง ขันในเวทีประชาคมอาเซียน(เอซี)และโลก ขอบคุณ… http://www.komchadluek.net/detail/20140120/177141.html (คมชัดลึกออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 18 ม.ค.57)

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...