"สภาการศึกษา"เร่งจัดทำมาตรฐานการประเมินผลสมรรถนะการเรียนรู้ของผู้ใหญ่

แสดงความคิดเห็น

การศึกษาในศตวรรษที่ 21 มุ่งเน้นไปที่ การศึกษาที่พัฒนาการเรียนรู้ให้ผู้เรียนมีทักษะที่จำเป็นต่อการพัฒนาตน เองอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต ซึ่งไม่เจาะจงไปที่คนในวัยเรียนอย่างเดียว แต่ยังหมายถึงคนในวัยทำงานด้วย ที่สำคัญมากต่อภาคการผลิต การลงทุน และ การพัฒนาเศรษฐกิจในภาพรวมของประเทศเป็นอย่างมาก

ปัจจุบันหลายประเทศประสบปัญหาคนตกงาน ขาดทักษะ ไม่มีศักยภาพในการทำงาน การอยู่ร่วมกันในสังคม โดยเฉพาะประเทศไทย พบว่าปัญหาของ วัยรุ่นและนักศึกษาในช่วงอายุ 15- 21 ปี คือ ผู้เรียนที่สำเร็จการศึกษาในแต่ละระดับขาดทักษะที่จำเป็น การคิดวิเคราะห์ การแก้ไขปัญหาและการคิด เชื่อมโยง การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการแสวงหาความรู้ด้วยตนเองส่งผลต่อการขาดแคลนแรงงานที่มีศักยภาพ และช่วงวัยแรงงานในช่วงอายุ 15 - 59 ปี พบว่าจำนวนแรงงานและคุณภาพของแรงงานยังไม่สอดคล้องกับความต้องการของประเทศขาดทักษะความสามารถที่จำเป็นต่อการปฏิบัติงาน

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษาได้เล็งเห็นความสำคัญในปัญหาข้างต้น จึงได้เร่งจัดทำการประเมินทางการศึกษาระดับนานาชาติด้านสมรรถนะผู้ใหญ่ โดยได้ดำเนินโครงการพัฒนาเครื่องมือวัดและประเมินผล ทางการศึกษาเทียบเคียงกับมาตรฐานสากลในบริบทของไทย ซึ่งได้มีการดำเนินการศึกษาข้อมูลที่เกี่ยวข้อง และเตรียมพร้อมที่จะดำเนินโครงการโดยจะทำการสำรวจใน 4 มิติ คือ

มิติการรู้หนังสือ (Literacy)

มิติทักษะองค์ประกอบการอ่าน (Reading Component Skills)

มิติความรู้พื้นฐานทางการคำนวณ (Numeracy)

มิติการแก้ปัญหาภายใต้สภาพแวดล้อมที่เปี่ยมไปด้วยเทคโนโลยี (Problem Solving in Technology-rich environments)

ทักษะเหล่านี้จะเป็นทักษะที่สำคัญอย่างมากต่อการพัฒนาตัวเองอย่างสม่ำเสมอ และจะส่งผลดีต่อการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันในระดับเวทีอาเซียนและระดับนานาชาติของประเทศไทยต่อไป

สำหรับกลุ่มตัวอย่าง จะครอบคลุมกลุ่มอาชีพ ที่เป็นความต้องการเร่งด่วนของประเทศ ทั้งด้านอุตสาหกรรม ด้านบริการ และการท่องเที่ยว โดยยึดตามกรอบการกำหนดกลุ่มอาชีพตามมาตรฐานสากลขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ (International Labour Organization-ILO) และกรอบของสำนักงานสถิติแห่งชาติ

นอกจากนี้การพัฒนาเครื่องมือได้กำหนดลำดับความสำคัญของมิติที่ใช้ในการ ประเมินสมรรถนะผู้ใหญ่ โดยมุ่งเน้นด้านกระบวนการคิดและทักษะที่ใช้ใน การทำงานเพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับการก้าวเข้าสู่ประชาคมอาเซียน และเศรษฐกิจและสังคม ในศตวรรษที่ 21 เช่น มิติเทคโนโลยี เพราะจะได้นำผลการประเมินสมรรถนะที่ได้ไปพัฒนาสมรรถนะคนไทยต่อไป

ผลการประเมินทักษะและสมรรถนะของผู้ใหญ่นี้ จะเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการสะท้อนขีดความสามารถ สมรรถนะเฉพาะตัวบุคคล และ ภาพนโยบายที่เกี่ยวกับการพัฒนาคนในวัยทำงานของรัฐบาลที่กำลังดำเนินการอยู่ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ อย่างยิ่งต่อการพัฒนาระบบการศึกษาและการพัฒนา กำลังคน เพื่อรองรับการเติบโตทางเศรษฐกิจและสังคมในศตวรรษที่ 21 ต่อไปในอนาคต

ที่มาของข่าว: หนังสือพิมพ์คมชัดลึก

ขอบคุณ... http://www.kruwandee.com/details.php?NewsID=8831

kruwandee.comออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 17 ม.ค.57

ที่มา: kruwandee.comออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 17 ม.ค.57
วันที่โพสต์: 18/01/2557 เวลา 02:44:55

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

การศึกษาในศตวรรษที่ 21 มุ่งเน้นไปที่ การศึกษาที่พัฒนาการเรียนรู้ให้ผู้เรียนมีทักษะที่จำเป็นต่อการพัฒนาตน เองอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต ซึ่งไม่เจาะจงไปที่คนในวัยเรียนอย่างเดียว แต่ยังหมายถึงคนในวัยทำงานด้วย ที่สำคัญมากต่อภาคการผลิต การลงทุน และ การพัฒนาเศรษฐกิจในภาพรวมของประเทศเป็นอย่างมาก ปัจจุบันหลายประเทศประสบปัญหาคนตกงาน ขาดทักษะ ไม่มีศักยภาพในการทำงาน การอยู่ร่วมกันในสังคม โดยเฉพาะประเทศไทย พบว่าปัญหาของ วัยรุ่นและนักศึกษาในช่วงอายุ 15- 21 ปี คือ ผู้เรียนที่สำเร็จการศึกษาในแต่ละระดับขาดทักษะที่จำเป็น การคิดวิเคราะห์ การแก้ไขปัญหาและการคิด เชื่อมโยง การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการแสวงหาความรู้ด้วยตนเองส่งผลต่อการขาดแคลนแรงงานที่มีศักยภาพ และช่วงวัยแรงงานในช่วงอายุ 15 - 59 ปี พบว่าจำนวนแรงงานและคุณภาพของแรงงานยังไม่สอดคล้องกับความต้องการของประเทศขาดทักษะความสามารถที่จำเป็นต่อการปฏิบัติงาน สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษาได้เล็งเห็นความสำคัญในปัญหาข้างต้น จึงได้เร่งจัดทำการประเมินทางการศึกษาระดับนานาชาติด้านสมรรถนะผู้ใหญ่ โดยได้ดำเนินโครงการพัฒนาเครื่องมือวัดและประเมินผล ทางการศึกษาเทียบเคียงกับมาตรฐานสากลในบริบทของไทย ซึ่งได้มีการดำเนินการศึกษาข้อมูลที่เกี่ยวข้อง และเตรียมพร้อมที่จะดำเนินโครงการโดยจะทำการสำรวจใน 4 มิติ คือ มิติการรู้หนังสือ (Literacy) มิติทักษะองค์ประกอบการอ่าน (Reading Component Skills) มิติความรู้พื้นฐานทางการคำนวณ (Numeracy) มิติการแก้ปัญหาภายใต้สภาพแวดล้อมที่เปี่ยมไปด้วยเทคโนโลยี (Problem Solving in Technology-rich environments) ทักษะเหล่านี้จะเป็นทักษะที่สำคัญอย่างมากต่อการพัฒนาตัวเองอย่างสม่ำเสมอ และจะส่งผลดีต่อการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันในระดับเวทีอาเซียนและระดับนานาชาติของประเทศไทยต่อไป สำหรับกลุ่มตัวอย่าง จะครอบคลุมกลุ่มอาชีพ ที่เป็นความต้องการเร่งด่วนของประเทศ ทั้งด้านอุตสาหกรรม ด้านบริการ และการท่องเที่ยว โดยยึดตามกรอบการกำหนดกลุ่มอาชีพตามมาตรฐานสากลขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ (International Labour Organization-ILO) และกรอบของสำนักงานสถิติแห่งชาติ นอกจากนี้การพัฒนาเครื่องมือได้กำหนดลำดับความสำคัญของมิติที่ใช้ในการ ประเมินสมรรถนะผู้ใหญ่ โดยมุ่งเน้นด้านกระบวนการคิดและทักษะที่ใช้ใน การทำงานเพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับการก้าวเข้าสู่ประชาคมอาเซียน และเศรษฐกิจและสังคม ในศตวรรษที่ 21 เช่น มิติเทคโนโลยี เพราะจะได้นำผลการประเมินสมรรถนะที่ได้ไปพัฒนาสมรรถนะคนไทยต่อไป ผลการประเมินทักษะและสมรรถนะของผู้ใหญ่นี้ จะเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการสะท้อนขีดความสามารถ สมรรถนะเฉพาะตัวบุคคล และ ภาพนโยบายที่เกี่ยวกับการพัฒนาคนในวัยทำงานของรัฐบาลที่กำลังดำเนินการอยู่ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ อย่างยิ่งต่อการพัฒนาระบบการศึกษาและการพัฒนา กำลังคน เพื่อรองรับการเติบโตทางเศรษฐกิจและสังคมในศตวรรษที่ 21 ต่อไปในอนาคต ที่มาของข่าว: หนังสือพิมพ์คมชัดลึก ขอบคุณ... http://www.kruwandee.com/details.php?NewsID=8831 kruwandee.comออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 17 ม.ค.57

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...