เด็กเล็ก4.8แสนขาดโอกาสการศึกษา

แสดงความคิดเห็น

ภายในห้องเรียนของเด็กชั้นอนุบาล

วงสัมมนาพัฒนาเด็กเล็กชี้เด็กกว่า 4.8 แสนคนขาดโอกาสการศึกษา ร้อยละ 30 มีพัฒนาล่าช้า ส่งผลทักษะอ่าน เขียน ภาษาแย่ ไอคิวต่ำ แนะรัฐจัดงบอุดหนุน

เมื่อวันที่ 9 ม.ค.57 นางสุธาทิพ ธัชยพงษ์ ประธานคณะทำงานด้านเด็ก กล่าวในการสัมมนา ”การพัฒนาและดูแลเด็กปฐมวัยกับการคุ้มครองทางสังคมแก่เด็ก”ครั้งที่ 2 ที่อาคารประชาธิปก รำไพพรรณี จุฬาฯ กทม.ว่า จากข้อมูลของสำนักงานสถิติแห่งชาติพบว่าปัจจุบันคนไทยมีลูกเฉลี่ย 1.5 คนต่อครอบครัว และมีเด็กอายุ 0-5 ปี กว่า 4.5 ล้านคนโดยในจำนวนนี้ เด็กเล็กกว่า 4.8 แสนคน หรือคิดเป็นร้อยละ 20 ยังไม่มีโอกาสได้รับการศึกษา และจากการประเมินศูนย์เด็กเล็กทั่วประเทศพบว่ามีปัญหาด้านการดำเนินงาน ความพร้อมของทรัพยากรคุณภาพของครูพี่เลี้ยงและบุคลากรทางการศึกษาและไม่ได้มีการประเมินตัวเด็ก เพื่อให้ได้รับการพัฒนาที่เหมาะสมอย่างรอบด้านตามวัย

นพ.สุริยเดว ทรีปาตี ผอ.สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า สถานการณ์พัฒนาเด็กปฐมวัยไทย 0-5 ปี ในรอบ 15 ปีที่ผ่านมามีเด็กปฐมวัยที่มีพัฒนาการที่ดีร้อยละ 70 อีกร้อยละ 30 หรือ 1 ใน 3 ของเด็กเล็กมีพัฒนาการล่าช้า โดยพบว่ามีพัฒนาทางการภาษาล่าช้าถึงร้อยละ 20 พัฒนาการทางปฏิภาณไหวพริบและการเข้าสังคมอีกร้อยละ 6 ซึ่งพัฒนาการทั้ง 2 ด้านจะมีผลกระทบต่อระดับสติปัญญา (ไอคิว) ทักษะอ่าน เขียนและคำนวณ

นพ.สุริยเดว กล่าวอีกว่า สาเหตุที่เด็กเล็กมีพัฒนาการล่าช้าเพราะขาดภาวะโภชนาการที่ดีและมีคุณค่า พ่อแม่และเด็กไม่เห็นความสำคัญของอาหารเช้าและสารอาหารที่มีผลต่อการพัฒนาสมอง ได้แก่ โปรตีน ไอโอดีน ธาตุเหล็ก และโฟเลต โดยเฉพาะโฟเลตนั้นผู้หญิงที่เตรียมตั้งครรภ์ควรกินตั้งแต่ก่อนตั้งครรภ์ 2 เดือนต่อเนื่องไปจนถึงตั้งครรภ์ 3 เดือน แต่ผู้หญิงแค่ร้อยละ 3 ของประเทศที่เข้าใจเรื่องนี้ และในปี 2556 ยังมีเด็กขาดไอโอดีนถึงร้อยละ 4 รวมทั้งขาดการส่งเสริมให้เด็กกินผัก ผลไม้ ทำให้เด็กชอบดื่มน้ำอัดลม กินขนมกรุบกรอบ นอกจากนี้เด็กส่วนหนึ่งได้รับการเลี้ยงดูจากปู่ย่าตายายทั้งที่ช่วงเด็กเกิด 2 ปีแรกควรอยู่กับพ่อแม่ รวมทั้งไม่ควรให้เด็กอายุต่ำกว่า 3 ปีใช้สื่อเทคโนโลยี เช่น สมาร์ทโฟน ควรใช้วิธีเล่านิทาน หรือการเล่นเพื่อกระตุ้นประสาทสัมผัสทั้งหมด

“การดูแลเด็กเล็กให้มีคุณภาพนั้นต้องเริ่มจากครอบครัว ซึ่งเป็นหัวใจของการพัฒนาการเรียนรู้ของเด็ก พ่อแม่ต้องปฏิสัมพันธ์กับลูก ไม่ใช้เทคโนโลยีเลี้ยงลูก และการพัฒนาระบบบริหารจัดการคลินิกสุขภาพเด็กที่มีการคัดกรองและจัดการกรณี พบว่าเด็กมีภาวะบกพร่องอย่างรวดเร็วโดยเฉพาะการส่งเสริมให้ผู้นำชุมนมชนและ ชาวบ้านรู้จักคัดกรองเด็กเป็นเรื่องที่ดีและควรสนับสนุน และการพัฒนาคุณภาพของศูนย์เด็กเล็กและโรงเรียนอนุบาลก็เป็นสิ่งสำคัญมาก ส่วนที่กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ปรับปรุงหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน ผมคิดว่าไม่มีประโยชน์อะไร ถ้ากระบวนการเรียนการสอนและการประเมินวัดผลยังเหมือนเดิม ทุกวันนี้เด็กอนุบาลยังถูกสอนเน้นวิชาการเพื่อสอบเข้าป.1 พ่อแม่จ่ายเงินให้เรียนพิเศษติวเพื่อสอบเข้าป.1 เฉลี่ยคนละ 3,700 บาทต่อปี หากคิดตั้งแต่อนุบาลจนถึงอุดมศึกษาค่าติวเพื่อสอบเข้าของเด็กทั่วประเทศรวม แล้วประมาณ 12,000 ล้านบาทต่อปี” นพ.สุริยเดว กล่าว

ศ.นพ.ศุภสิทธิ์ พรรณารุโณทัย คณบดีคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร (มน.) กล่าวว่า ช่วงอายุ 0-5 ปีเป็นช่วงสำคัญในการพัฒนาการเรียนรู้ของเด็กเล็ก ดังนั้น การลงทุนเพื่อพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ตั้งแต่ยังเป็นเด็กเล็ก จึงถือเป็นการลงทุนที่คุ้มค่าที่สุดโดยจากผลการศึกษาของเจมส์ เฮกแมน นักเศรษฐศาสตร์รางวัลโนเบลปี 2542 พบว่า การลงทุนในเด็กปฐมวัย จะได้รับกลับคืนในอนาคต 7-10 เท่า หรือหากลงทุน 1 บาท จะได้ผลกลับคืนถึง 7-10 บาท โดยพบว่าเด็กที่ได้รับสารอาหารและการดูแลสุขภาพที่ดีในช่วงแรกของชีวิตจะมี พัฒนาทางร่างกาย อารมณ์และสติปัญญาที่ดีกว่า มีโอกาสเข้าเรียนจนถึงอุดมศึกษา มีโอกาสทำงานที่ดี มีรายได้สูง และการก่ออาชญากรรม การใช้เงินสวัสดิการรัฐมีน้อย

ศ.นพ.ศุภสิทธิ์ กล่าวอีกว่า ส่วนประเทศไทยมีการลงทุนในเด็กปฐมวัยค่อนข้างน้อยเพียงร้อยละ 12 เฉลี่ย อยู่ที่คนละ 23,282 บาทต่อปี ประถมศึกษาร้อยละ 54 อยู่ที่คนละ 37,194 ต่อปี มัธยมศึกษาร้อยละ 29 อยู่ที่คนละ 26,332 บาทต่อปี อาชีวศึกษาร้อยละ 5 อยู่ที่คนละ 24,933 บาทต่อปี หากเทียบกับการลงทุนของสากลนั้นระดับปฐมวัยอยู่ที่ร้อยละ 24 ประถมศึกษาอยู่ที่ร้อยละ 36 และมัธยมศึกษาอยู่ที่ร้อยละ41 อย่างไรก็ตาม หากคำนวณจากเงินลงทุน 100 บาทในจำนวนนี้เป็นเงินเดือนครู 71 บาท และงบพัฒนาตัวเด็กเพียง 11 บาท ที่เหลือเป็นงบบริหารและครุภัณฑ์

“วันนี้หลายคนมีคำถามว่าการลงทุนพัฒนาเด็กปฐมวัยของรัฐบาลน้อยไปและคุ้มค่าหรือไม่เพราะไทยลงทุนด้านการศึกษามากกว่าประเทศอื่นๆ ในอาเซียนแต่คุณภาพการศึกษากลับแทบจะรั้งท้าย 10 ประเทศอาเซียน ผมจึงเห็นว่ารัฐบาลควรจัดเงินอุดหนุนพัฒนาเด็กปฐมวัยให้เด็กแต่ละคนโดยผ่าน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) แต่มีเงื่อนไขแต่ละอาทิตย์ต้องให้อปท.ไปเยี่ยมบ้านเด็ก อีกทั้งรัฐบาลและอปท.ควรจัดงบพัฒนาโรงเรียนอนุบาล ศูนย์เด็กเล็ก และพัฒนาครูพี่เลี้ยงเด็กเล็กให้มีคุณภาพ มีการจัดทำและเก็บข้อมูลการตรวจสุขภาพเด็กเล็กแต่ละคนตั้งแต่ 0-3 ปีให้ชัดเจน หากเด็กมีปัญหาบกพร่องด้านร่างกาย สติปัญญาหรือการเรียนรู้จะได้ช่วยพัฒนาเด็กได้ทัน” ศ.นพ.ศุภสิทธิ์ กล่าว

นายแอนดรูว์ เคลย์โปล หัวหน้าแผนกวิเคราะห์นโยบายสังคม องค์การยูนิเซฟ ประจำประเทศไทย กล่าวว่า หลายประเทศเช่น บราซิล แอฟริกาใต้มีการให้เงินอุดหนุนการเลี้ยงดูบุตรแก่ประชาชนซึ่งผลที่ได้กลับมา ช่วยลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม ทำให้เด็กมีโอกาสเข้าถึงปัจจัยพื้นฐานที่เด็กต้องการ สารอาหาร การศึกษาและได้รับการดูแลอย่างเหมาะสม จึงขอเสนอให้รัฐบาลไทยจัดเงินอุดหนุนการเลี้ยงดูบุตรให้แก่คนไทยเช่นกันโดย จากการศึกษาร่วมกับหน่วยงานต่างๆในไทยเห็นว่าอัตราที่เหมาะสมควรจะอุดหนุน เด็กอายุ 0-6 ปีทั่วประเทศในอัตราคนละ 600 บาทต่อเดือน ซึ่งรัฐบาลใช้งบเดือนละกว่า 1.6 พันล้านบาท

น.ส.ธนพร วิจันทร์ ประธานกลุ่มบูรณาการแรงงานสตรี กล่าวว่า หากจะมีการปฏิรูปประเทศไทยไม่ว่าจะเกิดจากภาคประชาชนหรือรัฐบาลชุดใหม่เห็น ว่าเรื่องแรกที่ควรปฏิรูปคือการพัฒนาเด็กปฐมวัยให้มีคุณภาพเพราะคุณภาพของ ประเทศไทยขึ้นอยู่กับเด็ก

ขอบคุณ... http://www.komchadluek.net/detail/20140109/176495.html (ขนาดไฟล์: 167)

( คมชัดลึกออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 9 ม.ค.57 )

ที่มา: คมชัดลึกออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 9 ม.ค.57
วันที่โพสต์: 10/01/2557 เวลา 03:21:15 ดูภาพสไลด์โชว์ เด็กเล็ก4.8แสนขาดโอกาสการศึกษา

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

ภายในห้องเรียนของเด็กชั้นอนุบาล วงสัมมนาพัฒนาเด็กเล็กชี้เด็กกว่า 4.8 แสนคนขาดโอกาสการศึกษา ร้อยละ 30 มีพัฒนาล่าช้า ส่งผลทักษะอ่าน เขียน ภาษาแย่ ไอคิวต่ำ แนะรัฐจัดงบอุดหนุน เมื่อวันที่ 9 ม.ค.57 นางสุธาทิพ ธัชยพงษ์ ประธานคณะทำงานด้านเด็ก กล่าวในการสัมมนา ”การพัฒนาและดูแลเด็กปฐมวัยกับการคุ้มครองทางสังคมแก่เด็ก”ครั้งที่ 2 ที่อาคารประชาธิปก รำไพพรรณี จุฬาฯ กทม.ว่า จากข้อมูลของสำนักงานสถิติแห่งชาติพบว่าปัจจุบันคนไทยมีลูกเฉลี่ย 1.5 คนต่อครอบครัว และมีเด็กอายุ 0-5 ปี กว่า 4.5 ล้านคนโดยในจำนวนนี้ เด็กเล็กกว่า 4.8 แสนคน หรือคิดเป็นร้อยละ 20 ยังไม่มีโอกาสได้รับการศึกษา และจากการประเมินศูนย์เด็กเล็กทั่วประเทศพบว่ามีปัญหาด้านการดำเนินงาน ความพร้อมของทรัพยากรคุณภาพของครูพี่เลี้ยงและบุคลากรทางการศึกษาและไม่ได้มีการประเมินตัวเด็ก เพื่อให้ได้รับการพัฒนาที่เหมาะสมอย่างรอบด้านตามวัย นพ.สุริยเดว ทรีปาตี ผอ.สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า สถานการณ์พัฒนาเด็กปฐมวัยไทย 0-5 ปี ในรอบ 15 ปีที่ผ่านมามีเด็กปฐมวัยที่มีพัฒนาการที่ดีร้อยละ 70 อีกร้อยละ 30 หรือ 1 ใน 3 ของเด็กเล็กมีพัฒนาการล่าช้า โดยพบว่ามีพัฒนาทางการภาษาล่าช้าถึงร้อยละ 20 พัฒนาการทางปฏิภาณไหวพริบและการเข้าสังคมอีกร้อยละ 6 ซึ่งพัฒนาการทั้ง 2 ด้านจะมีผลกระทบต่อระดับสติปัญญา (ไอคิว) ทักษะอ่าน เขียนและคำนวณ นพ.สุริยเดว กล่าวอีกว่า สาเหตุที่เด็กเล็กมีพัฒนาการล่าช้าเพราะขาดภาวะโภชนาการที่ดีและมีคุณค่า พ่อแม่และเด็กไม่เห็นความสำคัญของอาหารเช้าและสารอาหารที่มีผลต่อการพัฒนาสมอง ได้แก่ โปรตีน ไอโอดีน ธาตุเหล็ก และโฟเลต โดยเฉพาะโฟเลตนั้นผู้หญิงที่เตรียมตั้งครรภ์ควรกินตั้งแต่ก่อนตั้งครรภ์ 2 เดือนต่อเนื่องไปจนถึงตั้งครรภ์ 3 เดือน แต่ผู้หญิงแค่ร้อยละ 3 ของประเทศที่เข้าใจเรื่องนี้ และในปี 2556 ยังมีเด็กขาดไอโอดีนถึงร้อยละ 4 รวมทั้งขาดการส่งเสริมให้เด็กกินผัก ผลไม้ ทำให้เด็กชอบดื่มน้ำอัดลม กินขนมกรุบกรอบ นอกจากนี้เด็กส่วนหนึ่งได้รับการเลี้ยงดูจากปู่ย่าตายายทั้งที่ช่วงเด็กเกิด 2 ปีแรกควรอยู่กับพ่อแม่ รวมทั้งไม่ควรให้เด็กอายุต่ำกว่า 3 ปีใช้สื่อเทคโนโลยี เช่น สมาร์ทโฟน ควรใช้วิธีเล่านิทาน หรือการเล่นเพื่อกระตุ้นประสาทสัมผัสทั้งหมด “การดูแลเด็กเล็กให้มีคุณภาพนั้นต้องเริ่มจากครอบครัว ซึ่งเป็นหัวใจของการพัฒนาการเรียนรู้ของเด็ก พ่อแม่ต้องปฏิสัมพันธ์กับลูก ไม่ใช้เทคโนโลยีเลี้ยงลูก และการพัฒนาระบบบริหารจัดการคลินิกสุขภาพเด็กที่มีการคัดกรองและจัดการกรณี พบว่าเด็กมีภาวะบกพร่องอย่างรวดเร็วโดยเฉพาะการส่งเสริมให้ผู้นำชุมนมชนและ ชาวบ้านรู้จักคัดกรองเด็กเป็นเรื่องที่ดีและควรสนับสนุน และการพัฒนาคุณภาพของศูนย์เด็กเล็กและโรงเรียนอนุบาลก็เป็นสิ่งสำคัญมาก ส่วนที่กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ปรับปรุงหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน ผมคิดว่าไม่มีประโยชน์อะไร ถ้ากระบวนการเรียนการสอนและการประเมินวัดผลยังเหมือนเดิม ทุกวันนี้เด็กอนุบาลยังถูกสอนเน้นวิชาการเพื่อสอบเข้าป.1 พ่อแม่จ่ายเงินให้เรียนพิเศษติวเพื่อสอบเข้าป.1 เฉลี่ยคนละ 3,700 บาทต่อปี หากคิดตั้งแต่อนุบาลจนถึงอุดมศึกษาค่าติวเพื่อสอบเข้าของเด็กทั่วประเทศรวม แล้วประมาณ 12,000 ล้านบาทต่อปี” นพ.สุริยเดว กล่าว ศ.นพ.ศุภสิทธิ์ พรรณารุโณทัย คณบดีคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร (มน.) กล่าวว่า ช่วงอายุ 0-5 ปีเป็นช่วงสำคัญในการพัฒนาการเรียนรู้ของเด็กเล็ก ดังนั้น การลงทุนเพื่อพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ตั้งแต่ยังเป็นเด็กเล็ก จึงถือเป็นการลงทุนที่คุ้มค่าที่สุดโดยจากผลการศึกษาของเจมส์ เฮกแมน นักเศรษฐศาสตร์รางวัลโนเบลปี 2542 พบว่า การลงทุนในเด็กปฐมวัย จะได้รับกลับคืนในอนาคต 7-10 เท่า หรือหากลงทุน 1 บาท จะได้ผลกลับคืนถึง 7-10 บาท โดยพบว่าเด็กที่ได้รับสารอาหารและการดูแลสุขภาพที่ดีในช่วงแรกของชีวิตจะมี พัฒนาทางร่างกาย อารมณ์และสติปัญญาที่ดีกว่า มีโอกาสเข้าเรียนจนถึงอุดมศึกษา มีโอกาสทำงานที่ดี มีรายได้สูง และการก่ออาชญากรรม การใช้เงินสวัสดิการรัฐมีน้อย ศ.นพ.ศุภสิทธิ์ กล่าวอีกว่า ส่วนประเทศไทยมีการลงทุนในเด็กปฐมวัยค่อนข้างน้อยเพียงร้อยละ 12 เฉลี่ย อยู่ที่คนละ 23,282 บาทต่อปี ประถมศึกษาร้อยละ 54 อยู่ที่คนละ 37,194 ต่อปี มัธยมศึกษาร้อยละ 29 อยู่ที่คนละ 26,332 บาทต่อปี อาชีวศึกษาร้อยละ 5 อยู่ที่คนละ 24,933 บาทต่อปี หากเทียบกับการลงทุนของสากลนั้นระดับปฐมวัยอยู่ที่ร้อยละ 24 ประถมศึกษาอยู่ที่ร้อยละ 36 และมัธยมศึกษาอยู่ที่ร้อยละ41 อย่างไรก็ตาม หากคำนวณจากเงินลงทุน 100 บาทในจำนวนนี้เป็นเงินเดือนครู 71 บาท และงบพัฒนาตัวเด็กเพียง 11 บาท ที่เหลือเป็นงบบริหารและครุภัณฑ์ “วันนี้หลายคนมีคำถามว่าการลงทุนพัฒนาเด็กปฐมวัยของรัฐบาลน้อยไปและคุ้มค่าหรือไม่เพราะไทยลงทุนด้านการศึกษามากกว่าประเทศอื่นๆ ในอาเซียนแต่คุณภาพการศึกษากลับแทบจะรั้งท้าย 10 ประเทศอาเซียน ผมจึงเห็นว่ารัฐบาลควรจัดเงินอุดหนุนพัฒนาเด็กปฐมวัยให้เด็กแต่ละคนโดยผ่าน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) แต่มีเงื่อนไขแต่ละอาทิตย์ต้องให้อปท.ไปเยี่ยมบ้านเด็ก อีกทั้งรัฐบาลและอปท.ควรจัดงบพัฒนาโรงเรียนอนุบาล ศูนย์เด็กเล็ก และพัฒนาครูพี่เลี้ยงเด็กเล็กให้มีคุณภาพ มีการจัดทำและเก็บข้อมูลการตรวจสุขภาพเด็กเล็กแต่ละคนตั้งแต่ 0-3 ปีให้ชัดเจน หากเด็กมีปัญหาบกพร่องด้านร่างกาย สติปัญญาหรือการเรียนรู้จะได้ช่วยพัฒนาเด็กได้ทัน” ศ.นพ.ศุภสิทธิ์ กล่าว นายแอนดรูว์ เคลย์โปล หัวหน้าแผนกวิเคราะห์นโยบายสังคม องค์การยูนิเซฟ ประจำประเทศไทย กล่าวว่า หลายประเทศเช่น บราซิล แอฟริกาใต้มีการให้เงินอุดหนุนการเลี้ยงดูบุตรแก่ประชาชนซึ่งผลที่ได้กลับมา ช่วยลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม ทำให้เด็กมีโอกาสเข้าถึงปัจจัยพื้นฐานที่เด็กต้องการ สารอาหาร การศึกษาและได้รับการดูแลอย่างเหมาะสม จึงขอเสนอให้รัฐบาลไทยจัดเงินอุดหนุนการเลี้ยงดูบุตรให้แก่คนไทยเช่นกันโดย จากการศึกษาร่วมกับหน่วยงานต่างๆในไทยเห็นว่าอัตราที่เหมาะสมควรจะอุดหนุน เด็กอายุ 0-6 ปีทั่วประเทศในอัตราคนละ 600 บาทต่อเดือน ซึ่งรัฐบาลใช้งบเดือนละกว่า 1.6 พันล้านบาท น.ส.ธนพร วิจันทร์ ประธานกลุ่มบูรณาการแรงงานสตรี กล่าวว่า หากจะมีการปฏิรูปประเทศไทยไม่ว่าจะเกิดจากภาคประชาชนหรือรัฐบาลชุดใหม่เห็น ว่าเรื่องแรกที่ควรปฏิรูปคือการพัฒนาเด็กปฐมวัยให้มีคุณภาพเพราะคุณภาพของ ประเทศไทยขึ้นอยู่กับเด็ก ขอบคุณ... http://www.komchadluek.net/detail/20140109/176495.html ( คมชัดลึกออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 9 ม.ค.57 )

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...